การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2001 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์

Advertisement

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายเอกครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดของนายโทจนได้กรรมสิทธิ์ แต่ไม่ได้จดทะเบียนการได้มา ภายหลังต่อมานายโทได้จดทะเบียนโอนที่ดินแปลงเดียวกันนี้ให้นายตรีโดยเสน่หา ครั้นนายตรีจะ เข้าอยู่ในที่ดิน จึงพบว่านายเอกได้อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว นายตรีจึงฟ้องขับไล่นายเอกต่อศาล นายเอกยกข้อต่อสู้ว่าตนครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว นายโทย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แปลงดังกล่าวอีกต่อไป ดังนั้นการที่นายตรีรับโอนที่ดินจากนายโทซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ นายตรีย่อม ไม่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วย ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน หากท่านเป็นผู้พิพากษา จะวินิจฉัยคดีนี้เช่นไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

ตามหลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1299 วรรคสอง “ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการ เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดของนายโทโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ถือว่านายเอกเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรมตามมาตรา 1299 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่านายเอกยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิดังกล่าว นายเอกจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ และสิทธิอันยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น นายเอกจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การที่นายโทได้จดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าว ให้แก่นายตรีนั้นเป็นการโอนให้โดยเสน่หา จึงถือว่านายตรีซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับโอนที่ดินมาโดย ไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น ถึงแม้นายตรีจะได้รับโอนที่ดินมาโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม นายตรี ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย นายเอกจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกว่านายตรี นายตรี จะฟ้องขับไล่นายเอกไม่ได้

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล จะวินิจฉัยให้นายเอกเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกว่า นายตรี

 

ข้อ 2. นายจรัลซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 5 ใบในราคา 400 บาท จากร้านนางดําซึ่งมีอาชีพขายสลากกินแบ่งฯ ที่ตลาดบางกะปิมานานกว่า 5 ปีแล้ว โดยนายจรัลไม่รู้ว่าเป็นสลากฯ ของนางพลอย ที่ตกหายขณะเดินผ่านแผงขายสลากฯ ของนางดํา แล้วนางดําเก็บมาวางขายรวมกับสลากฯ ในแผง ของตน และนางพลอยได้แจ้งขออายัดสลากฯ ไว้แล้ว หลังออกรางวัลปรากฏว่าสลากฯ ดังกล่าว ถูกรางวัลที่สอง นายจรัลจึงนําสลากฯ ไปขอรับเงินรางวัลที่สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่ถูกปฏิเสธ การจ่ายเงินรางวัลเพราะมีการแจ้งขออายัดสลากฯ เพื่อประวิ่งการจ่ายเงินรางวัลไว้ ดังนี้ นายจรัล และนางพลอยมีสิทธิหรือข้อเรียกร้องใด ๆ เหนือสลากฯ ที่ถูกรางวัลดังกล่าว

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1332 “บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จําต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดของเอกชน หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1332 คือ แม้เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงจะ ติดตามทวงคืน ก็ไม่จําต้องคืนทรัพย์สินให้แก่เจ้าของ เว้นแต่เจ้าของทรัพย์สินนั้นจะชดใช้ราคาที่ตนซื้อมา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจรัลได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 5 ใบในราคา 400 บาท มาจากร้านของนางดําซึ่งมีอาชีพขายสลากกินแบ่งฯ ที่ตลาดบางกะปิมานานกว่า 5 ปีแล้ว โดยนายจรัลไม่รู้ว่า เป็นสลากฯ ของนางพลอยที่ทําตกหายแล้วนางดําเก็บมาวางขายรวมกับสลากฯ ในแผงของตน ถือว่านายจรัล เป็นผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตจากนางดําแม่ค้าซึ่งมีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลตามมาตรา 1332 ดังนั้น นายจรัลจึงได้รับการคุ้มครองคือไม่ต้องคืนสลากกินแบ่งฯ ให้กับนางพลอยซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่นางพลอย จะชดใช้ราคาสลากกินแบ่งฯ จํานวน 400 บาทให้แก่นายจรัล

สรุป

นายจรัลไม่ต้องคืนสลากกินแบ่งฯ ที่ถูกรางวัลให้แก่นางพลอย เว้นแต่นางพลอยจะ ชดใช้ราคาสลากกินแบ่งฯ จํานวน 400 บาทให้แก่นายจรัล

 

ข้อ 3. สี แสง เสียง ทั้งสามได้ร่วมกันออกเงินซื้อที่ดินแปลงหนึ่งเพื่อขุดสระน้ำไว้ใช้ร่วมกัน โดยสีออกเงินซื้อ 2 ส่วน แสงและเสียงร่วมกันออกเงินซื้อคนละหนึ่งส่วน แต่เมื่อซื้อมาแล้วยังไม่ได้ลงมือขุดสระน้ำ และปล่อยที่ดินทิ้งร้างไว้ ต่อมาสดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของสีมาขอใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงนี้โดยตกลงนํา ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์มาหักหนี้ที่สีเป็นหนี้สดอยู่ สีจึงตกลงให้สดเข้าทําประโยชน์โดยไม่ได้บอก ให้แสงกับเสียงทราบแต่อย่างใด เมื่อสดเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้มาได้ระยะหนึ่ง แสงจึงทราบว่าสดเข้าไปครอบครองทําประโยชน์ที่ดินแปลงนี้อยู่ แสงจึงบอกให้สดออกไปจาก ที่ดินแปลงนี้ แต่สุดไม่ยอมโดยอ้างว่าสีตกลงให้ตนเข้าครอบครองทําประโยชน์ได้และตนก็ครอบครอง ทําประโยชน์แค่ครึ่งแปลงตามที่สีมีส่วน 2 ส่วนในที่ดินแปลงนี้ แสงจึงต้องการที่จะฟ้องขับไล่สด ให้ออกไปจากที่ดินแปลงนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าแสงจะฟ้องขับไล่สดให้ออกไปจากที่ดินแปลงนี้ ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1359 “เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สิน ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก แต่ในการเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนนั้น ท่านว่าต้องอยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขที่ระบุไว้ ในมาตรา 302 แห่งประมวลกฎหมายนี้”

มาตรา 1361 “เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจําหน่ายส่วนของตน หรือจํานอง หรือก่อให้เกิด ภาระติดพันก็ได้

แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจําหน่าย จํานํา จํานอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอม แห่งเจ้าของรวมทุกคน

ถ้าเจ้าของรวมคนใดจําหน่าย จํานํา จํานอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันทรัพย์สินโดยมิได้รับ ความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน แต่ภายหลังเจ้าของรวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่ผู้เดียวไซร้ ท่านว่า นิติกรรมอันนั้นเป็นอันสมบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สี แสง และเสียง ได้ร่วมกันออกเงินซื้อที่ดินแปลงหนึ่งเพื่อขุดสระน้ำไว้ใช้ร่วมกัน โดยสีออกเงินซื้อสองส่วน แสงและเสียงออกเงินซื้อคนละหนึ่งส่วน เมื่อซื้อมาแล้วยังไม่ได้ลงมือขุดสระน้ํา และปล่อยที่ดินทิ้งร้างไว้ ต่อมาสดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของสีมาขอใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้โดยตกลงนําค่าตอบแทน การใช้ประโยชน์มาหักหนี้ที่สีเป็นหนี้สดอยู่ สีจึงตกลงให้สดเข้าทําประโยชน์โดยไม่ได้บอกให้แสงและเสียงทราบนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่สีซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินได้ก่อให้เกิดภาระติดพันกับตัวทรัพย์สิน ซึ่งตามมาตรา 1361 วรรคสอง สีจะทําได้ก็ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน เมื่อสีได้ให้สดเข้าครอบครองทําประโยชน์โดยไม่ได้บอก ให้แสงและเสียงทราบแต่อย่างใด การเข้าครอบครองที่ดินของสดจึงไม่ผูกพันตัวทรัพย์สินคือที่ดินแปลงดังกล่าว

เมื่อสดเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้ระยะหนึ่ง แสงมาทราบว่าสดเข้าไปครอบครอง ทําประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้ แสงย่อมสามารถฟ้องขับไล่สดให้ออกจากที่ดินแปลงนี้ได้ เพราะแม้การที่สีให้สดเข้ามา ทําประโยชน์ในที่ดินครึ่งหนึ่งตามสิทธิ 2 ส่วนที่สีมีอยู่ แต่การเข้าทําประโยชน์ในที่ดินเป็นการผูกพันตัวทรัพย์ ซึ่งสีทํา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากแสงและเสียงไม่ได้ และเมื่อแสงไม่ได้ยินยอมด้วยจึงไม่ผูกพันแสงและตัวทรัพย์ด้วย ดังนั้น แสงจึงสามารถใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก คือการฟ้อง ขับไล่สดได้ตามมาตรา 1359

สรุป

แสงสามารถฟ้องขับไล่สดให้ออกไปจากที่ดินแปลงนี้ได้เลย

 

ข้อ 4. ที่ดินของอาทิตย์ได้อาศัยสูบน้ำในคลองประปามากักเก็บในที่ดินเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือนและใช้ในสวนผลไม้ที่ปลูกไว้ขายตลอดมา นอกจากสูบน้ำมาใช้แล้วยังระบายน้ำในครัวเรือนและสวนลง คลองประปาด้วย อาทิตย์ใช้น้ำและระบายน้ำมาได้ 8 ปี อาทิตย์จึงได้ขายที่ดินแปลงนี้ให้กับเสาร์ เสาร์ก็ยังใช้น้ำและระบายน้ำที่ใช้ในครัวเรือนและสวนลงคลองประปา ต่อมาอีก 3 ปีกว่า เมื่อ เจ้าพนักงานมาเตือนและห้ามไม่ให้ใช้น้ำในคลองและระบายน้ำลงคลอง เสาร์ไม่ยอมอ้างว่าตนได้ภาระจํายอมในการใช้น้ำในคลองประปาแล้วโดยการครอบครองปรปักษ์ ข้ออ้างของเสาร์ใช้ได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1304 “สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น

(2) ทรัพย์สินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ”

มาตรา 1306 “ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน”

วินิจฉัย

โดยหลัก ทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น กฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความ ขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิ์เหนือทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 1306

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ที่ดินของอาทิตย์ได้อาศัยสูบน้ําในคลองประปามากักเก็บในที่ดิน เพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน และใช้ในสวนผลไม้ที่ปลูกไว้ขายตลอดมา และนอกจากสูบน้ํามาใช้แล้วยังระบายน้ำในครัวเรือน และสวนลงคลองประปาด้วย เมื่ออาทิตย์ได้ใช้น้ําและระบายน้ำมาได้ 8 ปี อาทิตย์จึงได้ขายที่ดินแปลงนี้ให้กับเสาร์ และเสาร์ก็ได้ใช้น้ําและระบายน้ำที่ใช้ในครัวเรือนและสวนลงคลองประปาอีก 3 ปีกว่านั้น เมื่อคลองประปาเป็น ทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 (2) เสาร์จะอ้างว่าตนได้ภาระจํายอมในการใช้น้ำในคลองประปาแล้วโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งถือเป็นทรัพยสิทธิโดยอายุความปรปักษ์ไม่ได้ เพราะตามมาตรา 1306 ได้บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน

ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานมาเตือนและห้ามไม่ให้ใช้น้ำในคลองและระบายน้ำลงคลอง เสาร์จะ อ้างว่าตนได้ภาระจํายอมในการใช้น้ำในคลองแล้วโดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้

สรุป

ข้ออ้างของเสาร์ใช้ไม่ได้

 

Advertisement