การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2005 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย ฯลฯ

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. สัญญาเช่าที่ดินระหว่างนายหนุ่มและนางสวยมีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า “นายหนุ่มผู้ให้เช่าขอให้สัญญาว่าหากนางสวยผู้เช่ามีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงนี้เมื่อใด นายหนุ่มจะขายให้ในราคา 1,000,000 บาท และเมื่อนางสวยยอมซื้อนายหนุ่มจะขายที่ดินให้ผู้อื่นไม่ได้จะต้องขายให้นางสวย และจะโอนกรรมสิทธิ์กันทันที” เมื่อนายหนุ่มผู้ให้เช่าได้ส่งจดหมายบอกกล่าวให้นางสวยทราบแล้วว่า ถ้าประสงค์จะซื้อที่ดินให้แจ้งให้นายหนุ่มทราบภายใน 15 วัน นางสวยผู้เช่าได้รับหนังสือแล้วจึง ตอบกลับมาในวันที่ 16 ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าการที่นายหนุ่มปฏิเสธที่จะขายที่ดินให้นางสวยรับฟัง ได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 454 “การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้คํามั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายนั้น จะมีผลเป็นการซื้อขาย ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้บอกกล่าวความจํานงว่าจะทําการซื้อขายนั้นให้สําเร็จตลอดไปและคําบอกกล่าวเช่นนั้นได้ ไปถึงบุคคลผู้ให้คํามั่นแล้ว
ถ้าในคํามั่นมิได้กําหนดเวลาไว้เพื่อการบอกกล่าวเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ให้คํามั่นจะ กําหนดเวลาพอสมควร และบอกกล่าวไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งให้ตอบมาเป็นแน่นอนภายในเวลากําหนดนั้นก็ได้ ว่าจะทําการซื้อขายให้สําเร็จตลอดไปหรือไม่ ถ้าและไม่ตอบเป็นแน่นอนภายในกําหนดเวลานั้นไซร้ คํามั่นซึ่งได้ให้ ไว้ก่อนนั้นก็เป็นอันไร้ผล”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สัญญาเช่าที่ดินระหว่างนายหนุ่มและนางสวยมีข้อความตอนหนึ่งว่า “นายหนุ่มผู้ให้เช่าขอให้สัญญาว่า หากนางสวยผู้เช่ามีความประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงนี้เมื่อใด นายหนุ่มจะขายให้ ในราคา 1,000,000 บาท” นั้น ข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นคํามั่นในการซื้อขาย เพราะเป็นความผูกพันก่อนเกิด สัญญาซื้อขายที่นายหนุ่มผู้ให้คํามั่นผูกพันตนแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าจะขายที่ดินให้แก่นางสวยผู้รับการแสดงเจตนา ตามคํามั่นที่นายหนุ่มให้ไว้ ซึ่งโดยหลักแล้ว ถ้านางสวยได้ตอบรับและคํามั่นได้มาถึงนายหนุ่มแล้วย่อมเกิดเป็นสัญญาซื้อขายขึ้นตามมาตรา 454 วรรคหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนายหนุ่มได้บอกกล่าวให้นางสวยทราบแล้วว่า ถ้าประสงค์จะซื้อที่ดิน ให้แจ้งให้นายหนุ่มทราบภายใน 15 วัน แต่นางสวยผู้เช่าได้รับหนังสือแล้วได้ตอบกลับมาในวันที่ 16 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่นายหนุ่มได้กําหนดขึ้น ย่อมทําให้คํามั่นที่นายหนุ่มได้ให้ไว้ดังกล่าวนั้นเป็นอันไร้ผลตามมาตรา 454 วรรคสอง ดังนั้น การที่นายหนุ่มปฏิเสธที่จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางสวยจึงสามารถรับฟังได้

สรุป การที่นายหนุ่มปฏิเสธที่จะขายที่ดินให้แก่นางสวยรับฟังได้

 

ข้อ 2. นายหนึ่งนักสะสมรถยนต์มินิคาร์นํารถยนต์ออกขายทอดตลาด จํานวน 10 คัน นายสามประมูล
ซื้อไป 1 คัน นายสองประมูลซื้อไป 1 คัน ภายหลังจากการส่งมอบชําระราคา ปรากฏว่ารถยนต์ ซึ่งนายสองซื้อไปสตาร์ทให้รถยนต์เครื่องติดลําบากมาก ติด ๆ ดับ ๆ ส่วนคันที่นายสามซื้อไปต่อมามี นายดํานําพยานหลักฐานพร้อมมูลมาแสดงทําให้นายสามเชื่อว่าเป็นรถยนต์ของนายดําซึ่งถูกขโมย มาจึงยอมคืนรถยนต์ให้แก่นายดําไป นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดชอบในความชํารุดบกพร่อง และนายสามจะฟ้องนายหนึ่งให้ รับผิดชอบว่าตนถูกรอนสิทธิได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ถ้าฟ้องได้จะต้องฟ้องภายในกําหนดระยะเวลา เท่าใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 472 “ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้ เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่า ผู้ขายต้องรับผิด
ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชํารุดบกพร่องมีอยู่”

มาตรา 473 “ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(3) ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด”

มาตรา 475 “หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สิน โดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ในเวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ท่านว่าผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

มาตรา 481 “ถ้าผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม หรือถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความ กับบุคคลภายนอก หรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องไซร้ ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ เมื่อพ้นกําหนดสามเดือนนับแต่วันคําพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด หรือนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือวันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้องนั้น”

วินิจฉัย

ความรับผิดในความชํารุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายตามมาตรา 472 นั้น ผู้ขายต้องรับผิด ถ้าทรัพย์สินที่ขายชํารุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องเกิดขึ้นก่อนที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อ

อย่างไรก็ดีผู้ขายก็ไม่จําต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้น หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 473 เช่น ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด เป็นต้น

ส่วนการรอนสิทธินั้นเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิให้ผู้ซื้อไม่สามารถครองทรัพย์สินโดยปกติสุขได้ ซึ่งตามมาตรา 475 กําหนดให้ผู้ขาย ต้องรับผิดเพราะเหตุการรอนสิทธินั้น แต่ถ้าหากผู้ซื้อได้ยอมตามที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือกว่านั้นเรียกร้องแล้ว ผู้ซื้อจะต้องฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธินั้นภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ยอมตามบุคคลภายนอกเรียกร้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟ้องคดีได้ตามมาตรา 481

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีนายสอง การที่นายสองได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายหนึ่งมา 1 คัน และเมื่อสตาร์ทรถยนต์เครื่องติดลําบากมาก คือ ติด ๆ ดับ ๆ นั้น ถือว่ามีความชํารุดบกพร่องเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน ที่นายสองซื้อมาอันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ โดยหลักแล้ว นายหนึ่งผู้ขายจะต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องนั้นตามมาตรา 472

แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้นายหนึ่งจะต้องรับผิดต่อนายสองเพื่อความชํารุดบกพร่องนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่นายสองซื้อมานั้นเป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาด จึงเข้าข้อยกเว้นที่นายหนึ่งผู้ขายไม่ต้อง รับผิดในความชํารุดบกพร่องตามมาตรา 473 (3) ดังนั้น นายสองจะฟ้องนายหนึ่งให้รับผิดในความชํารุดบกพร่อง ที่เกิดขึ้นไม่ได้

กรณีนายสาม การที่นายสามได้ซื้อรถยนต์มาจากการขายทอดตลาดของนายหนึ่งมา 1 คัน แต่ต่อมานายดําได้นําพยานหลักฐานพร้อมมูลมาแสดง ทําให้นายสามเชื่อว่าเป็นรถยนต์ของนายดําซึ่งถูกขโมยมา จึงยอมคืนรถยนต์ให้แก่นายดําไปนั้นถือว่าเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ใน เวลาซื้อขายได้เข้ามาขัดสิทธิทําให้ผู้ซื้อคือนายสามไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข จึงเป็นกรณีที่ผู้ซื้อ ถูกรอนสิทธิตามมาตรา 475 ซึ่งผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อ ดังนั้นนายสามจึงสามารถฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดที่ตน ถูกรอนสิทธิได้ แต่นายสามจะต้องฟ้องภายในกําหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้ยอมคืนรถยนต์ให้แก่นายดําไป ตามมาตรา 481

สรุป

(1) นายสองจะฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในความชํารุดบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่ได้
(2) นายสามสามารถฟ้องให้นายหนึ่งรับผิดในกรณีที่นายสามถูกรอนสิทธิได้ แต่จะต้องฟ้องภายในกําหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ยอมคืนรถยนต์ให้แก่นายดําไป

 

ข้อ 3. นายไก่นําช้างแม่และช้างลูกไปทําเป็นหนังสือจดทะเบียนขายฝากช้างแม่ในราคา 5 แสนบาท ไถ่คืนภายในกําหนด 1 ปี ในราคา 4 แสนบาท ส่วนช้างลูกทําสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายไข่ ผู้รับซื้อฝากไว้เป็นสําคัญในราคา 3 แสนบาท ไถ่คืนภายใน 1 ปี ไถ่คืนในราคา 5 แสนบาท เมื่อเวลาผ่านไปใกล้ครบ 1 ปี นายไก่ไปขอใช้สิทธิในการไถ่ช้างแม่ลูกคืน โดยนําเงิน 4 แสนบาท สําหรับช้างแม่ และ 3 แสน 4 หมื่น 5 พันบาทถ้วน ไปไถ่สําหรับช้างลูก แต่นายไข่ผู้รับซื้อฝาก ปฏิเสธโดยอ้างว่า

1) ช้างแม่และช้างลูก ทําสัญญาขายฝากไว้ 1 ปี ยังไม่ถึงกําหนดไถ่

2) สินไถ่ช้างแม่ไม่ควรรับซื้อไว้ 5 แสน ก็ต้องไถ่คืน 5 แสน ช้างลูกรับซื้อฝากไว้ 3 แสน กําหนด
ไถ่คืน 5 แสน ก็ต้องเป็นไปตามนั้น

3) สัญญารับซื้อฝากช้างลูกทําไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ

คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่รับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 456 วรรคหนึ่ง “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย”

มาตรา 491 “อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้”

มาตรา 494 “ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้

(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กําหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย

(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กําหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย”

มาตรา 499 “สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กําหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก

ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกิน อัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี”

วินิจฉัย

สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์ นั้นคืนได้ เมื่อเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องนําบทบัญญัติว่าด้วยซื้อขายมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การขายฝาก อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพที่อยู่อาศัยและสัตว์พาหนะ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

กรณีตามอุทาหรณ์ คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่รับฟังได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1) การที่นายไก่นําช้างแม่ซึ่งเป็นสัตว์พาหนะไปทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนขายฝากไว้ กับนายไข่ และนําช้างลูกไปทําสัญญาเป็นหนังสือขายฝากไว้กับนายไข่นั้น สัญญาขายฝากช้างแม่และช้างลูกย่อม มีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 วรรคหนึ่ง

และเมื่อตามสัญญาขายฝากได้กําหนดเวลาไถ่คืนไว้ 1 ปี ซึ่งไม่เกินกําหนดเวลาตามที่ กฎหมายได้กําหนดไว้ (มาตรา 494) จึงต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ และเมื่อเวลาผ่านไปใกล้ครบ 1 ปี การที่นายไก่ ไปขอใช้สิทธิในการไถ่ช้างแม่และช้างลูกคืนนั้น นายไก่ย่อมสามารถทําได้ เพราะเป็นสิทธิของนายไก่ผู้ขายฝากแต่เพียง ฝ่ายเดียวที่จะเลือกไถ่เมื่อใดก็ได้ภายในกําหนด 1 ปี ตามมาตรา 491 และ 494 ดังนั้น การที่นายไข่ผู้รับซื้อฝาก ปฏิเสธโดยอ้างว่ายังไม่ถึงกําหนดไถ่นั้น คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่จึงรับฟังไม่ได้

2) การที่นายไก่นําช้างแม่ขายฝากไว้กับนายไข่ในราคา 5 แสนบาท และไถ่คืนในราคา 4 แสนบาทนั้น แม้สินไถ่ที่กําหนดไว้จะต่ำกว่าราคาขายฝากก็สามารถตกลงกันได้ และเมื่อตกลงกันไว้อย่างไรก็ต้อง เป็นไปตามนั้น ดังนั้น นายไก่จึงสามารถไถ่ช้างแม่ได้ในราคา 4 แสนบาท การที่นายไข่ปฏิเสธโดยอ้างว่าต้องไถ่คืน ในราคา 5 แสนบาท นั้น คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่กรณีนี้จึงรับฟังไม่ได้

ส่วนช้างลูกเมื่อขายฝากไว้ในราคา 3 แสนบาท และไถ่คืนในราคา 5 แสนบาทนั้น สินไถ่ ที่กําหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นายไก่จึงสามารถไถ่ช้างลูกได้ในราคา 3 แสนบาท บวกประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ตามมาตรา 499 กล่าวคือ นายไก่สามารถไถ่คืนช้างลูกได้ในราคา 3 แสน 4 หมื่น 5 พันบาท ดังนั้นการที่นายไข่ปฏิเสธโดยอ้างว่าต้องไถ่คืน 5 แสนบาทนั้น คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ กรณีนี้จึงรับฟังไม่ได้เช่นเดียวกัน

3) การที่นายไข่อ้างว่าสัญญารับซื้อฝากช้างลูกทําไม่ถูกต้องคือไม่ได้ทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะนั้นรับฟังไม่ได้ เพราะช้างลูกไม่ใช่สัตว์พาหนะ คือไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ดังนั้น การขายฝากช้างลูกที่ทําเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์

สรุป

1) คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ที่ว่ายังไม่ถึงกําหนดไถ่รับฟังไม่ได้

2) คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ที่ว่าช้างแม่และช้างถูกต้องไถ่คืนในราคา 5 แสนบาท รับฟังไม่ได้

3) คําปฏิเสธและข้ออ้างของนายไข่ที่ว่าสัญญารับซื้อฝากช้างลูกทําไม่ถูกต้องเป็นโมฆะรับฟังไม่ได้

Advertisement