การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 1004  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1. การควบคุมลักษณะใดเป็นการควบคุมจากภายในจิตใจของบุคคล

(1) จารีตประเพณี              

(2) ศาสนา          

(3) ศีลธรรม        

(4) กฎหมาย

ตอบ 3 หน้า 19 ศีลธรรม หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ชอบการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ผิด ซึ่งศีลธรรมจะควบคุมความประพฤติทั้งภายนอกและภายในจิตใจของมนุษย์ ทำให้ศีลธรรมมีความมุ่งหมายหรือความดาดหวังจากมนุษย์สูงกว่ากฎหมาย ดังนั้น ศีลธรรมจึงทำให้มนุษย์คิดดีและทำความดีควบคู่กันไป

2. หากศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นมิได้รู้ข้อกฎหมายเช่นนั้น โดยมีเหตุอันสมควร จะมีผลอย่างไร

(1) ไม่มีโทษ        

(2) ไม่มีความผิด                 

(3) ลงโทษ          

(4) ภาคทัณฑ์

ตอบ 3  หน้า 2-3  ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 64 “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความผิดในทางอาญาไม่ได้ แค่ถ้าศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” (แต่จะไม่ลงโทษเลยไม่ได้) ดังนั้น การอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย แม้ศาลจะเชื่อและรับฟังก็ไม่ทำให้ผู้ยกข้ออ้างนี้หลุดพ้นจากความรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด

3. การบัญญัติกฎหมายที่จำต้องมีโทษหนักเพื่อให้บังคับใช้ได้ผลนั้น เป็นกฎหมายในยุคใด

(1) กฎหมายชาวบ้าน        

(2) กฎหมายเทคนิค          

(3) กฎหมายนักกฎหมาย 

(4) กฎหมายปกครอง

ตอบ 2 หน้า 9-11 ยุคกฎหมายเทคนิค เป็นยุคที่มีการบัญญัติกฎหมายขึ้นโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมหรือจารีตประเพณี แต่เป็นการบัญญัติกฎหมายขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่งตลอดจนเพื่อบังคับให้บุคคลต้องปฏิบัติตามกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้นๆด้วย โดยจะกำหนดโทษไว้ค่อนข้างสูงเพื่อให้บุคคลเกรงกลัวต่อการกระทำความผิดและให้การบังคับใช้ได้ผล เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการจราจร เป็นต้น

4. ข้อใดถูกต้องที่สุด

(1) ระบบคอมมอน ลอว์ (Common Law) ศาลจะเป็นผู้สร้างหลักกฎหมาย

(2) ระบบซีวิล ลอว์ (Civil Law) คำพิพากษาเป็นที่มาของกฎหมาย

(3) ระบบคอมมอน ลอว์ (Common Law) ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบังคับใช้

(4) ระบบซีวิล ลอว์ (Civil Law) จะตีความกฎหมายตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด

ตอบ 1  หน้า 22-23  ตามหลักของระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ นั้น

1. ถ้ามีหลักกฎหมายซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปอยู่แล้ว ศาลหรือผู้พิพากษาเป็นแต่เพียงผู้แสดงหลักเกณฑ์นั้นๆแล้วนำมาปรับแก่คดีเท่านั้น

2.ถ้าไม่มีหลักกฎหมายดังกล่าว ก็ให้ศาลหรือผู้พิพากษาเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายขึ้นมาโดยคำพิพากษาและคำพิพากษาของศาลดังกล่าวถือเป็นบรรทัดฐานของศาลต่อๆมา ซึ่งเรียกว่า “Judge Law”

5. ลักษณะที่แตกต่างของระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ (Civil Law) และระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law)

(1) ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ (Civil Law) มีการแบ่งกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน

(2) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) ใช้ระบบศาลคู่

(3) ระบบกฎหมายซีวิล ลวอ์ (Civil Law) ใช้ระบบศาลเดี่ยว

(4) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรใช้

ตอบ 1 หน้า 43, (LW 104 เลขพิมพ์ 44289 หน้า 8 ) กฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย(ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์) จะแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน ส่วนระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ จะไม่มีการแยกประเภทไว้

 6. ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) ได้แก่

(1) ประเทศสหรัฐอเมริกา                               

(2) ประเทศไทย

(3) ประเทศเยอรมัน                                          

(4) ประเทศฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 23, (คำบรรยาย) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ นิยมใช้กันในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และเครือจักรภพอังกฤษ (ประเทศไทย เยอรมัน และฝรั่งเศส ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์)

7. ข้อใดไม่ใช่ความผิดทางเทคนิค

(1) การฆ่าผู้อื่น                                                   

(2) การขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดง

(3) การหลบเลี่ยงภาษี                                       

(4) การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ

ตอบ 1  (คำบรรยาย) ความผิดทางเทคนิค (Technical Offence) คือ ความผิดอาญาที่ไม่ผิดศีลธรรมแต่ผิดเพราะกฎห้าม ซึ่งกฎหมายดังกล่าว คือกฎหมายเทคนิคที่เกิดขึ้นในยุคกฎหมายเทคนิค เช่น กฎหมายจราจร กฎหมายป่าไม้ กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน เป็นต้น (ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเป็นความผิดอาญาและผิดศีลธรรมด้วยจึงไม่ใช่ความผิดทางเทคนิค)

8. เหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์มักหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา และทำให้ศาสนาแตกต่างจากกฎหมาย

(1) สภาพบังคับ (Sanction)                             

(2) ควบคุมภายในจิตใจของมนุษย์ด้วย

(3) กฎหมายเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน                       

(4) ควบคุมการกระทำของมนุษย์ไม่ได้เลย

ตอบ 1  หน้า 18-19  หลักศาสนา หมายถึง กฎข้อบังคับที่ศาสนาต่างได้กำหนดไว้เพื่อให้มนุษย์ประพฤติคุณงามความดี ซึ่งแม้ว่าหลักศาสนาจะเป็นกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความประพฤติของมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมาย แค่สภาพบังคับของหลักศาสนาจะไม่มีผลจริงจังในปัจจุบันจะเน้นไปที่ชาติหน้าหรือภพหน้า ส่วนทางด้านกฎหมายนั้นหากผู้ใดฝ่าฝืนก็จะมีสภาพบังคับ (บทลงโทษ) เกิดขึ้นทันที จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์มักหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา

9. ข้อใดไม่ใช่สภาพบังคับทางกฎหมายอาญา

(1) อายัดทรัพย์สิน            

(2) ปรับ               

(3) ริบทรัพย์สิน                 

(4) กักขังแทนค่าปรับ

ตอบ 1  หน้า 16-17 , (คำบรรยาย) สภาพบังคับของกฎหมายนั้น ถ้าเป็นกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือโทษนั่นเอง ซึ่งเรียงจากหนักที่สุดไปเบาที่สุด ได้แก่                1.ประหารชีวิต     2. จำคุก 3. กักขัง               

4.ปรับ   และ         5. ริบทรัพย์สิน  ส่วนสภาพบังคับในทางกฎหมายแพ่ง ได้แก่ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือความเป็นโมฆะกรรม หรือโมฆียกรรม ซึ่งเป็นสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย ส่วนสภาพบังคับที่เป็นผลดี เช่น การได้รับลดหย่อนภาษี เป็นต้น

10. วิวัฒนาการของกฎหมายยุคใดที่กฎหมายเกิดจากการบัญญัติขึ้น มิได้เกิดจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีโดยตรง

(1) ยุคกฎหมายชาวบ้าน                                                   

(2) ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย

(3) ยุคกฎหมายเทคนิค                                                     

(4) ยุคกฎหมายประเพณี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3.ประกอบ

11. รูปแบบกฎหมายใดที่จะต้องอาศัยความสำนึกในหน้าที่ของพลเมืองที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัดเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

(1) กฎหมายประเพณี       

(2) หลักกฎหมาย

(3) กฎหมายที่บัญญัติขึ้น                 

(4) กฎหมายชาวบ้าน

ตอบ 3  หน้า 10-11  การที่จะบังคับให้คนปฏิบัติตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร (กฎหมายที่บัญญัติขึ้นในยุคกฎหมายเทคนิค) หรือการทำให้กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีประสิทธิภาพนั้น สามารถทำได้โดย

1.จะต้องมีบทกำหนดโทษค่อนข้างสูง            

2. ต้องมีการบังคับการลงโทษที่มีประสิทธิภาพ

3. รัฐต้องมีเครื่องมือในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย และ                 

4. ประชาชนจะต้องมีความรู้สึกในหน้าที่ของตนที่จะปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด

12. ข้อใดเป็นที่มาของกฎหมายในระบบกฎหมาย Civil Law(1) คำพิพากษาของศาล                                    

(2) จารีตประเพณี

(3) ความเห็นนักวิชาการ                                 

(4) หลักความยุติธรรม

ตอบ 2 หน้า 19,93-94, (คำบรรยาย) ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ คือระบบกฎหมายที่ได้มีการรวบรวมเอากฎหมายจารีตประเพณีมาบันทึกกฎหมายลายลักษณ์อักษร และนำกฎหมายนั้นไปใช้ปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่าช่องว่างแห่งกฎหมาย ก็สามารถที่จะอุดช่องว่างแห่งกฎหมายนั้นได้ โดยการนำเอาจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาปรับใช้

13. ข้อใดเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีที่มาของกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ

(1) พระราชกำหนด          

(2) พระราชกฤษฎีกา        

(3) พระราชบัญญัติ           

(4) กฎกระทรวง

ตอบ 3  หน้า 28-29,32  พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) โดยผู้ที่มีอำนาจตรา คือ พระมหากษัตริย์ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีผลใช้บังคับเมื่อประกาศให้ประชาชนทราบแล้วในราชกิจจานุเบกษา และตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 มาตรา 142(3) ให้สิทธิแก่ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญสามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ แต่เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการเท่านั้น

14. กฎหมายใดที่ลำดับศักดิ์ต่ำที่สุด

(1) พระราชกฤษฎีกา        

(2) พระราชกำหนด           

(3) พระราชบัญญัติ           

(4) ประมวลกฎหมาย

ตอบ 1 หน้า 71-73  ในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั้น จะมีการจัดลำดับชั้นของกฎหมาย (Hierarchy of Law) โดยเรียงตามลำดับชั้นสูงที่สุดไปต่ำที่สุด ดังต่อไปนี้

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด

2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด

3. พระราชกฤษฎีกา                                            4. กฎกระทรวง

5. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นต่างๆได้แก่ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นต้น

(ประมวลกฎหมายมีศักดิ์เทียบเท่าพระราชบัญญัติ)

15. หากไม่พบกฎหมายแพ่งพาณิชย์ในการปรับแก่คดี ต้องเริ่มวินิจฉัยอย่างไร

(1) บทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง                                   

(2) จารีตประเพณี

(3) หลักกฎหมายทั่วไป                                                    

(4) สุภาษิตกฎหมาย

ตอบ 2  หน้า 93-95  ในกรณีที่ไม่พบกฎหมายแพ่งพาณิชย์ในการปรับแก่คดีนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายไว้ดังนี้ เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้นให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

16. นายฟ้าคิดและตกลงใจที่จะเผาบ้านนายชมพู นายฟ้าจึงได้ตระเตรียมการโดยหาซื้อเชื้อเพลิง และไปแอบซุ่มที่หน้าบ้านนายชมพู พอดีตำรวจพบเห็นเสียก่อนจึงถูกจับกุมตัวไปสถานีตำรวจ ดังนี้ การกระทำของนายฟ้าเป็นความผิดและถูกลงโทษหรือไม่

(1) ไม่ เพราะการกระทำของนายฟ้ายังไม่ถึงขั้นลงมือกระทำ

(2) ไม่ เพราะการกระทำของนายฟ้ายังไม่เป็นความผิดสำเร็จ

(3) ต้องรับผิด เพราะกฎหมายบัญญัติไว้แม้จะเป็นการกระทำเพียงขึ้นตระเตรียมการก็ตาม

(4) ต้องรับผิดฐานพยายาม เพราะการกระทำของนายฟ้าถึงขั้นลงมือกระทำผิดแล้ว

ตอบ 3  หน้า 60  การตระเตรียมที่จะกระทำผิด โดยหลักกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดและต้องได้รับโทษแต่อย่างใด เว้นแต่การตระเตรียมที่จะกระทำความผิดบางประเภทที่กฎหมายถือว่าเป็นความผิดและต้องรับโทษ เช่น ความผิดฐานปลงพระชนม์หรือประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น เป็นต้น เพราะถือเป็นความผิดร้ายแรง ซึ่งหากกระทำจนสำเร็จจะกระทบกระเทือนถึงความสงบสุขและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ

17. โทษทางอาญาที่เบาที่สุด ได้แก่

(1) ปรับ               

(2) กักขัง             

(3) ริบทรัพย์สิน                  

(4) อายัดทรัพย์

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

18. เขียวคนใช้ของเหลืองโกรธเหลือง จึงเปิดหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้คนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ คนร้ายก็เข้ามาลักทรัพย์โดยทางหน้าต่างที่เขียวเปิดทิ้งไว้ ดังนี้ เขียวต้องรับโทษในความผิดลักทรัพย์ในฐานะ

(1) ตัวการ           

(2) ผู้สนับสนุน                  

(3) ผู้ใช้               

(4) ผู้ประกาศหรือโฆษณา

ตอบ 2  หน้า 62  เขียวมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 เพราะการกระทำของเขียว ถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดนั้นแล้ว แม้ว่าผู้อื่น (คนร้าย) จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม

19. หากกฎหมายมีลำดับชั้นต่ำกว่ามีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่าจะมีผลอย่างไร

(1) กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่านั้นจะใช้บังคับไม่ได้

(2) กฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะใช้ได้ต่อไปหากได้แก้ไขให้ข้อความไม่ขัดแย้ง

(3) กฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นจะต้องแก้ไขมิให้มีข้อความขัดแย้งกัน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1  หน้า 72,(บรรยาย) กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าหรือกฎหมายลำดับรอง จะออกได้ก็จะต้องอาศัยกฎหมายแม่บท เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายในลำดับชั้นที่สูงกว่า ดังนั้นกฎหมายในลำดับชั้นที่ต่ำกว่าจะออกมาโดยมีข้อความขัดหรือแย้งกฎหมายในลำดับชั้นที่สูงกว่าไม่ได้ ถ้ามีข้อความขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับชั้นที่สูงกว่าแล้ว กฎหมายในลำดับชั้นที่ต่ำกว่าจะใช้บังคับไม่ได้เลย

20. การนำบทบัญญัติกฎหมายแห่งกฎหมายที่เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปมาปรับแก่ข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่อง ทำให้ทราบได้ทันทีว่าผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษในทางแพ่งหรือทางอาญา หลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ในระบบกฎหมายใด

(1) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์                                    

(2) ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์

(3) ระบบกฎหมายจารีตประเพณี                                   

(4) ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ตอบ 2   กฎหมายระบบซีวิล ลอว์ หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นการพิจารณาจากหลักเกณฑ์ทั่วไปมาสู่เรื่องเฉพาะเรื่อง ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายระบบคอมมอน ลอว์ ที่พิจารณาเรื่องเฉพาะเรื่องไปเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในภายหลัง

21. ข้อใดเป็นลักษณะกฎหมายมหาชน

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณียึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

(2) รัฐสามารถสั่งการได้ฝ่ายเดียว โดยเอกชนไม่ต้องยินยอม

(3) มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของเอกชนรายบุคคลเท่านั้น

(4) รัฐและเอกชนสามารถตกลงผูกพันเป็นอย่างอื่นได้

ตอบ 2   หน้า 44-45  กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎรในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎร รัฐจำต้องตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับความประพฤติของพลเมืองภายในรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ และในการออกกฎหมายนั้นสามารถออกได้โดยไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของผู้ก่อนิติสัมพันธ์ทั้งสองฝ่าย และกฎหมายมหาชนจะมีลักษณะเป็นกฎหมายที่เป็นบทบังคับเด็ดขาด คือ จะไม่ยอมให้คู่กรณีตกลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นได้เลย และมาตรการในการบังคับนั้นรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจบังคับเอากับคู่กรณีได้โดยไม่ต้องดำเนินคดีต่อศาล

22. การประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษามีผลต่อประชาชนอย่างไร

(1) เมื่อประชาชนได้ทราบข้อความในกฎหมาย

(2) เฉพาะสภาพบังคับที่เป็นคุณเท่านั้น

(3) สามารถอ้างความไม่รู้กฎหมายได้จนกว่าจะทราบข้อความในกฎหมาย

(4) ถือว่าประชาชนรับทราบความมีอยู่ของกฎหมายแล้ว

ตอบ 4  (คำบรรยาย) กฎหมายจะมีผลบังคับใช้กับประชาชนได้ก็ต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเมื่อได้ทำการประกาศฯ แล้ว ให้ถือว่าประชาชนได้ทราบถึงความมีอยู่ของกฎหมายนั้นแล้วจะอ้างความไม่รู้กฎหมายมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได

23. กฎหมายที่ใช้บังคับกับเจ้ามรดก หรือทายาทเจ้ามรดก ถือว่าเป็นกฎหมายประเภทใด

(1) กฎหมายแพ่ง               

(2) กฎหมายพาณิชย์         

(3) กฎหมายสังคม              

(4) กฎหมายธุรกิจ

ตอบ 1  หน้า 46,(LW 104 เลขพิมพ์ 44289 หน้า 73 ) “กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่ และความสัมพันธ์ของบุคคลนับตั้งแต่เกิดไปจนตาย เช่น สถานะและความสามารถของบุคคล การทำนิติกรรม สัญญา สิทธิในทรัพย์สิน ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการตกทอดทางมรดก เป็นต้น

 24. ข้อใดถูกต้องในการเรียงอัตราโทษตามประมวลกฎหมายอาญาจากสูงสุดไปเบาสุด

(1) จำคุก ปรับ ริบทรัพย์สิน                             

(2) กักขัง ริบทรัพย์สิน ปรับ

(3) ริบทรัพย์สิน กักขัง ปรับ                            

(4) ปรับ ริบทรัพย์สิน กักขัง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 9.ประกอบ

25. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ประชาชนจะควบคุมการบริหารราชการของรัฐมนตรีได้โดย

(1) การจัดการชุมนุมทางการเมือง                 

(2) การฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง

(3) การยื่นกระทู้ถาม                                          

(4) การถอดถอนออกจากตำแหน่ง

ตอบ 4  รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 164 กำหนดไว้ว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า สองหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามติตามมาตรา 274 ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา 270 ออกจากตำแหน่งได้ หากเข้าเงื่อนไขในการถอดถอนให้ถอดถอน (บุคคลตามมาตรา 270 เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

26. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ได้แก่

(1) 15 คน            

(2) 20 คน            

(3) 25 คน            

(4) 30 คน

ตอบ 2  หน้า 29  รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา 142,163 ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดย (1) คณะรัฐมนตรี                (2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน    (3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ       (4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้… ถ้าร่างพระราชบัญญัติซึ่งมีผู้เสนอตาม (2) (3) หรือ (4) เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี

27. การที่นักศึกษาต้องเสียค่าปรับเนื่องจากบัตรประชาชนขาดอายุ เป็นความผิดอาญาหรือไม่

(1) เป็นความผิดอาญาที่เป็นความผิดศีลธรรมด้วย      

(2) เป็นความผิดอาญาในทางเทคนิค

(3) เป็นความผิดอาญาที่ผิดทั้งศีลธรรมและผิดเพราะกฎหมายห้าม        

(4) ไม่เป็นความผิดอาญาใดๆ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7.ประกอบ

28. การนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปมาปรับแก่ข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่อง ทำให้ทราบได้ทันทีว่าผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษในทางแพ่งหรือทางอาญา หลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ในระบบกฎหมายใด

(1) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์                                   

(2) ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์

(3) ระบบกฎหมายจารีตประเพณี                                    

(4) ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 20.ประกอบ (คำถามและตัวเลือกจะเหมือนกัน)

29.ข้อใดเป็นลักษณะกฎหมายมหาชน

(1) ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณียึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

(2) รัฐสามารถสั่งการได้ฝ่ายเดียว โดยเอกชนไม่ต้องยินยอม

(3) มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของเอกชนรายบุคคลเท่านั้น

(4) รัฐและเอกชนสามารถตกลงผูกพันเป็นอย่างอื่นได้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 21.ประกอบ (คำถามและตัวเลือกจะเหมือนกัน)

30. ส่วนราชการที่จัดระเบียบบริหารราชการแบบกระจายศูนย์รวมอำนาจปกครอง หรือหลักการแบ่งอำนาจปกครอง ได้แก่

(1) จังหวัด อำเภอ                                              

(2) กระทรวง ทบวง กรม

(3) จังหวัด กรุงเทพมหานคร                          

(4) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา

ตอบ 1   หน้า 50-51  การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งมีการจัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นจังหวัด และอำเภอ เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการรวมอำนาจ(แบบกระจายศูนย์รวมอำนาจปกครองหรือแบบแบ่งอำนาจปกครอง) ส่วนการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจการปกครอง

31. นายดำและนายขาวซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปด้วยกัน นายเขียวต้องการยิงนายดำ จึงยิงไปแต่กลับถูกนายขาวตาย ดังนี้ การกระทำของนายเขียวเป็นความผิดฐานใด

(1) ฆ่าคนตายโดยประมาท                                              

(2) ฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล

(3) ฆ่าคนตายโดยเจตนาประสงค์ต่อผล                       

(4) ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา

ตอบ 2  หน้า 57-58 , (คำบรรยาย) การกระทำของนายเขียวเป็นการกระทำโดยเจตนาโดยหลักย่อมเล็งเห็นผล คือไม่ได้ประสงค์ต่อผลของการกระทำ แต่โดยลักษณะของการกระทำย่อมเล็งเห็นได้ว่าการกระทำของตนจะเกิดผลขี้นอย่างไร คือ ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าลูกกระสุนปืนอาจถูกนายขาวตาย ดังนั้น นายเขียวจึงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล

32. การกระทำองขาวขั้นตอนใดที่ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนด

(1) ขาวเตรียมอาวุธจะไปปล้นบ้านแดง        

(2) ขาวมียาพิษไว้เพื่อฆ่าแดงตาย

(3) ขาวเตรียมวางเพลิงบ้านแดง                     

(4) ขาวเทยานอนหลับอย่างแรงลงในแก้วน้ำเพื่อจะชิงทรัพย์แดง

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 16.ประกอบ

33. การที่นายเขียวใช้ปืนขู่บังคับให้นายแดงขับรถเร็วเพื่อหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจ ทำให้นายแดงขับรถชนนายดำซึ่งกำลังข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ดังนี้ นายแดงมีการกระทำหรือไม่

(1) ไม่มี เพราะกระทำตามที่ถูกบังคับ ไม่ใช่เจตนาของตน

(2) มี เพราะมีการคิด ตัดสินใจ และตกลงกระทำตามที่ได้ตัดสินใจ

(3) ไม่มี เพราะการเคลื่อนไหวไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ

(4) มี เพราะมีผลเสียหายเกิดขึ้นกับนายดำ เนื่องจากนายแดงขับรถชน

ตอบ 2   หน้า 55,(คำบรรยาย) การกระทำในทางกฎหมายอาญานั้น หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก หรืออยู่ในอำนาจของจิตใจ กล่าวคือ 1. มีการคิดที่จะกระทำ          2. การตกลงใจที่จะกระทำ 3. มีการกระทำตามที่ตกลงใจนั้น (แต่การกระทำของนายแดงเป็นการกระทำเพราะความจำเป็นจึงได้รับการยกเว้นโทษตาม ป.อ. มาตรา 67)

34. กฎหมายอาญา หมายถึง

(1) กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่

(2) กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิด

(3) กฎหมายที่บัญญัติว่าการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิด

(4) กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิดและมีโทษกำหนดไว้

ตอบ 4 หน้า 53  กฎหมายอาญา คือกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิด และกำหนดโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้นๆไว้ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. พระราชบัญญัติต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติการพนัน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น

2. ประมวลกฎหมายอาญา

35. ลักษณะพิเศษของกฎหมายอาญา

(1) กฎหมายอาญาย้อนหลังให้ผลร้ายมิได้                   

(2) ย้อนหลังเป็นคุณได้

(3) กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด                 

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4  หน้า 54,90  สาระสำคัญทางกฎหมายอาญา ได้แก่ 1. ต้องมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิด และกำหนดโทษสำหรับความผิดนั้น 3. ต้องไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษหรือเพิ่มโทษบุคคลให้หนักขึ้นเป็นอันขาด แต่อาจย้อนหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดได้     4. ต้องตีความตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด

36. ข้อใดไม่เป็นการกระทำในกฎหมายอาญา

(1) นายดำยกปืนขึ้นเล็งนายแดง แต่เปลี่ยนใจไม่ยิง เพราะเกิดสงสารนายแดง

(2) นายดำจำเป็นต้องตีศีรษะนายแดงเนื่องจากนายเหลืองใช้ปืนขู่บังคับ

(3) นายดำนอนละเมอถีบนายขาวตกจากเตียงได้รับบาดเจ็บ

(4) นางแดงแกล้งให้บุตรอดนมจนบุตรตาย

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ (การละเมอไม่ถือว่าอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของจิตใจ)

37. นายดำใช้อาวุธปืนขู่นายขาวให้เอาเหล็กตีหัวนายแดง นายขาวกลัวตายจึงตีหัวนายแดงจนเลือดแดงเพราะหัวแตก ดังนี้ นายขาว

(1) มีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย รับโทษไปตามปกติ

(2) การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น จึงรับโทษเพียง 1 ใน 3

(3) การกระทำผิดด้วยความจำเป็น จึงไม่ต้องรับโทษ

(4) ไม่มีความผิด เพราะการกระทำด้วยความจำเป็น

ตอบ 3 หน้า 58,(LW 104  เลขพิมพ์ 44289 หน้า 91)  การกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพราะอยู่ในบังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ ตามกฎหมายถือว่า ผู้กระทำผิดมีความผิด แต่ได้รับยกเว้นโทษ (ป.อ. มาตรา 67 )

38. นายดำกับนายขาวตกลงกันไปฆ่านายหนึ่ง โดยนายขาวรับอาสาเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ให้นายดำนั่งและเป็นคนยิง ดังนี้ ถ้านายดำยิงนายหนึ่งตาย

(1) นายขาวต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน                 

(2) นายขาวไม่มีความผิดเพราะไม่ได้เป็นคนยิง

(3) นายขาวมีความผิดเป็นตัวการในการฆ่านายหนึ่ง

(4) นายขาวมีความผิดเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด

ตอบ 3  หน้า 62  กรณีดังกล่าวถือว่า ความผิดฐานฆ่านายหนึ่งตาย ได้เกิดจากการกระทำของนายดำและนายขาวทั้งสองคน ซึ่งได้ร่วมกันกระทำความผิดด้วยกัน โดยมีเจตนาที่จะกระทำความผิดร่วมกัน ดังนั้นนายดำและนายขาวจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฆ่านายหนึ่งตายโดยเจตนา

39. ผู้พิพากษาในศาลประเทศอังกฤษใช้กฎหมายใดในการวินิจฉัยคดี

(1) กฎหมายโรมัน                                              

(2) คำพิพากษาของศาลที่เป็นบรรทัดฐาน

(3) กฎหมายสิบสองโต๊ะ                                  

(4) ประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน

ตอบ 2  หน้า //22-23  กฎหมายคอมมอน ลอว์ (กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร) เป็นกฎหมายที่ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นตัวบทกฎหมาย ดังนั้นบ่อเกิดของกฎหมายในระบบนี้จึงมาจากคำพิพากษา ซึ่งประเทศที่นิยมใช้กฎหมายระบบนี้ได้แก่ ประเทศอังกฤษและเครือจักรภพอังกฤษ

40. ระบบกฎหมายใดที่ศาลสามารถใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงแห่งคดีได้กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้

(1) ระบบคอมมอน ลอว์                                   

(2) ระบบซีวิล ลอว์

(3) ระบบกฎหมายจารีตประเพณี                   

(4) ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ตอบ 2  หน้า 19  การที่ศาลสามารถใช้จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงแห่งคดีได้ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้นั้น เป็นวิธีอุดช่องว่าวงแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิล ลอว์ หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร

41. ระบบกฎหมายใดที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส

(1) ระบบกฎหมายโรมัน                                  

(2) ระบบกฎหมายอังกฤษ

(3) ระบบกฎหมายจารีตประเพณี                   

(4) ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์

ตอบ 1 หน้า 21-22, (คำบรรยาย) ระบบกฎหมายซีวีล ลอว์ หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นระบบกฎหมายที่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน หรือมีกฎหมายโรมันเป็นรากฐานเกิดขึ้นครั้งแรกในภาคพื้นยุโรป (สมัยโรมัน) โดยกษัตริย์จัสติเนียนได้ทรงรวบรวมนักกฎหมายให้ช่วยกันบัญญัติออกมาในรูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งต่อมาประเทศฝรั่งเศสได้นำเอากฎหมายนี้มาจัดทำเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในภาคพื้นยุโรป และได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นวิชานิติศาสตร์เพื่อใช้ศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ

42. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย ประกาศใช้ครั้งแรกในรัชสมัยใด  

(1) รัชกาลที่ 4    

(2) รัชกาลที่ 5    

(3) รัชกาลที่ 6                    

(4) รัชกาลที่ 9

ตอบ 3  หน้า 23,(คำบรรยาย) เดิมประเทศไทยจะรับหลักกฎหมายและหลักปฏิบัติของอังกฤษเข้ามาใช้บังคับ จนถึงปลายรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบของกฎหมายไทยโดยรัฐได้ตัดสินใจทำประมวลกฎหมายขึ้นคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพที่ 1 และบรรพที่ 2 ซึ่งร่างโดยที่ปรึกษากฎหมายชาวฝรั่งเศสและได้ประกาศใช้เป็นเวลา 2 ปีจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง โดยเปลี่ยนจากการใช้ประมวลกฎหมายตามอย่างประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศสมาใช้ประมวลกฎหมายแบบเยอรมัน

43. การตราพระราชกำหนดเรื่องใดที่ต้องกระทำโดยด่วนและลับ

(1) ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ                                         

(2) ความปลอดภัยของประเทศ

(3) ภาษีอากร                                                                       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3   หน้า 32-33 พระราชกำหนด มี 2 ประเภท ได้แก่

1. พระราชกำหนดทั่วไป เป็นกรณีที่ตราพระราชกำหนดเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และให้ตราได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้  และ

2. พระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีและเงินตรา  เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินในระหว่างสมัยประชุมสภาเท่านั้น

44. องค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบการตราพระราชกำหนดเป็นไปตามเงื่อนไขว่ามีความจำเป็นรีบด่วนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

(1) สภาผู้แทนราษฎร       

(2) วุฒิสภา         

(3) รัฐสภา          

(4) ศาลรัฐธรรมนูญ

ตอบ 4  หน้า 33  ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่าในการตราพระราชกำหนดนั้นเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ (รัฐธรรมนูญฯ ฉบับ พ.ศ. 2550 มาตรา 185)

45. ยุคกฎหมายใดที่เกิดกฎเกณฑ์จากการที่นักกฎหมายใช้เหตุผลสร้างขึ้นนอกเหนือไปจากกฎหมายประเพณี

(1) ยุคกฎหมายลายลักษณ์อักษร                     

(2) ยุคกฎหมายชาวบ้าน

(3) ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย                     

(4) ยุคกฎหมายเทคนิค

ตอบ 3  หน้า 8-9 เนื่องจากกฎหมายในยุคแรกคือกฎหมายชาวบ้านหรือกฎหมายประเพณีมีไม่เพียงพอ ดังนั้นนักกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นในยุคที่ 2 (ยุคนักกฎหมาย) จึงได้สร้างหลักกฎหมายขึ้นมาเพื่อเสริมกับกฎหมายประเพณี ซึ่งหลักกฎหมายของนักกฎหมายนี้จะเกิดจากการปรุงแต่งเหตุผลในทางกฎหมายที่เกิดจากความคิดในทางกฎหมายของตน ดังนั้นจึงเป็นกฎหมายที่สามัญชนใช้สามัญสำนึกคิดเอาเองไม่ได้ ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ด้วยเหตุผลจึงเข้าใจซึ่งกฎหมายของนักกฎหมายดังกล่าวที่ยังมีใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ เรื่องการครอบครองปรปักษ์ และเรื่องสิทธิเรียกร้องขาดอายุความ เป็นต้น

46. ดำแย่งการครอบครองที่ดินของขาวติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี จนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นหลักกฎหมายที่สร้างขึ้นในยุคกฎหมายใด

(1) ยุคกฎหมายชาวบ้าน                                   

 (2) ยุคกฎหมายประเพณี

(3) ยุคกฎหมายเทคนิค                                     

(4) ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย

ตอบ 4  ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47. ประเทศที่นิยมให้มีการแยกกฎหมายเป็นประเภทต่างๆได้แก่

(1) สหรัฐอเมริกา              

(2) อังกฤษ          

(3) ไทย                

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 3  หน้า 43  การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นประเภทต่างๆนั้น นิยมทำกันในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และไทย เป็นต้น

48. ข้อใดเป็นสาขาย่อยของกฎหมายมหาชน

(1) กฎหมายรัฐธรรมนูญ                                 

(2) กฎหมายปกครอง        

(3) กฎหมายอาญา                                              

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4  หน้า 46-47,50,53 กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา ฯลฯ ส่วนกฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างเอกชนในฐานะเท่าเทียมกัน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายแรงงาน เป็นต้น

49. แดงใช้ปืนยิงดำ ดำจึงยิงสวนกลับ แดงถึงแก่ความตาย ดังนี้

(1) ดำไม่ต้องรับโทษ เพราะทำด้วยความจำเป็น          

(2) ดำไม่มีความผิด เพราะกระทำด้วยความจำเป็น

(3) ดำไม่ต้องรับโทษ เพราะเป็นการป้องกันโดยชอบ

(4) ดำไม่มีความผิด เพราะเป็นการป้องกันโดยชอบ

ตอบ 4 หน้า 55-56  การกระทำของดำ เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เมื่อได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ ถือว่าการกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้กระทำไม่มีความผิด (ป.อ. มาตรา 68)

50. ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์การตีความหมายกฎหมายอาญา

(1) ตีความให้เป็นผลร้ายแก่ผู้ต้องหา                             

(2) ตีความตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด

(3) ตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย                        

(4) ตีความขยายความเพื่อลงโทษผู้กระทำผิด

ตอบ 2  หน้า 90 กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายพิเศษ การตีความจึงมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกับกฎหมายทั่วไป คือ

1. ต้องตีความตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด       

2. จะตีความในทางขยายความให้เป็นการลงโทษหรือเพิ่มโทษผู้กระทำให้หนักขึ้นไม่ได้ และ

3. ในกรณีเป็นที่สงสัย ศาลต้องตีความให้เป็นผลดีแก่ผู้ต้องหาว่าไม่ได้กระทำความผิด

51. การที่นายเขียวนอนละเมอถีบนายแดงตกเตียง ดังนี้ นายเขียวมี การกระทำหรือไม่

(1) ไม่มี เพราะไม่ใช่เจตนาของตน

(2) มี เพราะมีการคิด ตัดสินใจ และตกลงกระทำตามที่ได้ตัดสินใจ

(3) ไม่มี เพราะการเคลื่อนไหวไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ

(4) มี เพราะทำให้นายแดงได้รับบาดเจ็บ

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 33.และ 36. ประกอบ

52. ข้อใดที่ทำให้กฎหมายมหาชนแตกต่างจากกฎหมายเอกชน

(1) กฎหมายมหาชนมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะเรื่อง

(2) กฎหมายมหาชนใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ไม่ต้องอาศัยความสมัครใจ

(3) กฎหมายมหาชนมุ่งรักษาผลประโยชน์ของประชาชนแต่ละคน

(4) กฎหมายมหาชนใช้กับคู่กรณีที่เป็นเอกชนเท่านั้นไม่รวมถึงหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง

ตอบ 2  ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

53. ตามหลักกฎหมายอาญา หากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำใดเป็นความผิด

(1) ต้องวินิจฉัยโดยใช้จารีตประเพณี            

(2) ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง

(3) ไม่ต้องวินิจฉัยเพราะไม่มีความผิดเกิดขึ้น              

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 3  หน้า 54,90 กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำใดเป็นความผิด ย่อมไม่มีความผิด และไม่มีโทษ (อีกทั้งไม่อาจนำวิธีการอุดช่องว่างตามกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับในคดีอาญาได้)

54. ข้อใดเป็นลักษณะของกฎหมายอาญา

(1) ออกกฎหมายย้อนหลังลงโทษได้                            

(2) ออกกฎหมายย้อนหลังลงโทษไม่ได้

(3) ย้อนหลังลงโทษได้แล้วแต่ดุลยพินิจศาล

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2  ดูคำอธิบายข้อ 53.ประกอบ

55. ข้อใดไม่เป็นความผิดอาญา

(1) นายเออายุ 15 ปี ทำนิติกรรมรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

(2) นายหนึ่งอายุ 14 ปี ทำพินัยกรรม

(3) นายหนุ่มกับนางสาวสวยอายุ 18 ปี ทำการสมรสกันเองโดยบิดามารดาไม่ยินยอม

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 136 นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ 1. นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้มาซึ่งสิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การทำนิติกรรมรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้ โดยปราศจากเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน

2. นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เล่น การจดทะเบียนรับรองบุตร

3. นิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการดำรงชีวิตตามสมควร เช่น ซื้ออาหารรับประทาน

4. ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์

57. สภาพบุคคลเริ่มต้นเมื่อ

(1) นางขาวแท้งบุตรขณะตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน             

(2) นางดำตั้งครรภ์บุตรเป็นเวลา 8 เดือน

(3) นางเทาคลอดบุตรแล้วแต่หมอยังไม่ตัดสายสะดือ

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3   หน้า 125-126   สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก (โดยจะตัดสายสะดือหรือไม่ไม่สำคัญ) ซึ่งการอยู่รอดเป็นทารกนั้น อาจจะดูการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ หรือดูที่การหายใจ ซึ่งการหายใจนั้นไม่จำกัดว่าจะมีระยะเวลาเท่าใด ดังนั้นทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาจึงยังไม่มีสภาพบุคคล

58. นายน้อยไม่รู้ว่าเกิดเมื่อใด ทราบแต่เกิดปี พ.ศ. 2520 ดังนี้ตามกฎหมายถือว่านายน้อยเกิดเมื่อใด

(1) 1 มกราคม 2520                           

(2) แล้วแต่นายอำเภอท้องที่จะกำหนดว่าเกิดเมื่อใดในปี 2520

(3) 1 เมษายน 2520                           

(4) แล้วแต่นายน้อยจะเลือกว่าเกิดเมื่อใดในปี 2520

ตอบ 1    หน้า 128, (คำบรรยาย) ในกรณีที่ไม่รู้ว่าบุคคลเกิดวันใด เดือนใด แต่รู้ปีเกิด ให้ว่าถือว่าบุคคลนั้นได้เกิดในวันต้นปี ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด ในกรณีที่เกิดก่อนวันที่ 18 ตุลาคม 2483 ให้ถือเอา วันที 1 เมษายน เป็นวันต้นปี หากเกิดภายหลังจากนั้นให้ถือเอาวันที่ 1มกราคม เป็นวันต้นปี ดังนั้นการที่นายน้อยไม่รู้ว่าเกิดเมื่อใดทราบแต่เกิดปี พ.ศ. 2520 ดังนี้ตามกฎหมายถือว่านายน้อยเกิดเมื่อวันที่ 1มกราคม 2520

59. นิติบุคคลมีสิทธิ

(1) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง                               

(2) รับโทษทางอาญาทุกโทษ

(3) รับรองบุตร                                                    

(4) สมรส

ตอบ 1  หน้า 150-151 นิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของตน เช่น อาจเป็นโจทก์ฟ้งคดี หรืออาจถูกฟ้องต่อศาล อีกทั้งยังมีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้แก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น การสมรส การรับรองบุตร หรือรับโทษทางอาญาบางประเภท ฯลฯ

60. กรณีใดที่แม้ผู้กระทำความผิดจะมิใช่บุคคลสัญชาติไทยก็อาจถูกดำเนินคดีโดยศาลไทยได้

(1) นายจอห์นขโมยเงินไทยที่ร้านค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา

(2) นายจอห์นปลอมแปลงธนบัตรของไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา

(3) นายจอห์นส่งจดหมายมีข้อความหมิ่นประมาทคนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา

(4) นายจอห์นเขียนข้อความไม่สุภาพบนกำแพงวัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา

ตอบ 2  หน้า 81-83  ความผิดใดที่แม้ได้กระทำนอกราชอาณาจักรและไม่ว่าจะโดยบุคคลสัญชาติใด หากเข้าข้อยกเว้นต่อไปนี้แล้วย่อมอยู่ในอำนาจศาลไทยที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ซึ่งมีกฎหมายที่สำคัญอยู่ 2 ฉบับ ได้แก่

1. ตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและแปลงเงินตรา เป็นต้น

2. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 เช่น การทำนิติกรรมหรือสัญญาที่มีคู่สัญญาคนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว เป็นต้น

61. กรณีใดเป็นการได้สิทธิโดยนิติเหตุ

(1) สัญญาซื้อขาย              

(2) การเช่าซื้อ    

(3) จัดการงานนอกสั่ง      

(4) พินัยกรรม

ตอบ 3  หน้า 115-118  การได้สิทธิโดยนิติเหตุนั้น ได้แก่           

1. สิทธิอันได้มาจากพฤติการณ์ตามธรรมชาติ ได้แก่ การเกิด การตาย       

2. สิทธิอันได้มาจากการกระทำของบุคคล โดยปราศจากเจตนามุ่งผลในทางกฎหมาย ได้แก่ การจัดการงานนอกคำสั่ง ลาภมิควรได้ และละเมิด                

3. สิทธิอันได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะทรัพย์และทรัพย์สิน เช่น การได้กรรมสิทธิ์โดยหลักส่วนควบ การได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความ เป็นต้น

62. บุคคลธรรมดาจะเริ่มมีสิทธิตามกฎหมายเมื่อใด

(1) เมื่อปฏิสนธิ  

(2) ทันทีที่คลอดและหายใจ            

(3) เมื่ออยู่รอดครบ 310 วัน             

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 57.ประกอบ (เมื่อมีสภาพบุคคล บุคคลธรรมดาผู้นั้นจะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายทันที)

63. นายดำคนวิกลจริตซึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้สามารถ ศาลตั้งนายขาวเป็นผู้อนุบาล ต่อมานายดำต้องการซื้อไอศกรีมจากนายเขียวคนขาย จึงมาขอเงินจากนายขาว นายขาวให้เงินนายดำไปซื้อไอศกรีมจากนายเขียวได้ เช่นนี้ นิติกรรมการซื้อขายไอศกรีมนั้นมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆะ            

(3) โมฆียะ          

(4) แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน

ตอบ 3 หน้า 137 คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมใดๆ นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้ทำนิติกรรมในขณะจริตวิกลหรือไม่ก็ตาม หรือได้ทำนิติกรรมโดยผู้อนุบาลจะได้ยินยอมหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมที่เกี่ยวกับคนไร้ความสามารถต้องให้ผู้อนุบาลทำแทน เว้นแต่นิติกรรม ซึ่งผู้อนุบาลไม่อาจทำแทนได้ เพราะการทำพินัยกรรมเป็นสิทธิเฉพาะตัว ดังนั้น พินัยกรรมที่คนไร้ความสามารถสามารถได้ทำขึ้น หรือให้ผู้อนุบาลทำแทนย่อมตกเป็นโมฆะ

64. นายดำคนวิกลจริตซื้อไอศกรีมจากนายเขียวคนขาย ในขณะที่กำลังมีอาการทางประสาท โดยนึกว่าไอศกรีมนั้นเป็นยาวิเศษที่จะทำให้เหาะได้ เช่นนี้ นิติกรรมการซื้อขายไอศกรีมนั้นมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆะ            

(3) โมฆียะ          

(4) แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน

ตอบ 1  หน้า 137-138 คนวิกลจริตทำนิติกรรมใดๆมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อได้ทำในขณะวิกลจริต และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต (จากโจทย์ไม่ปรากฏว่านายเขียวรู้ว่านายดำเป็นคนวิกลจริตแต่อย่างใด)

65. ด.ช.แดง อายุ 14 ปี 11 เดือน ทำพินัยกรรมโดยบิดาและมารดาให้ความยินยอม เช่นนี้ พินัยกรรมจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆะ             

(3) โมฆียะ          

(4) แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน

ตอบ 2  หน้า 136,176  ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้และมีผลสมบูรณ์โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมในขณะที่มีอายุไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมจะตกเป็นโมฆะ แม้ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ตาม

66. คนเสมือนไร้ความสามารถทำพินัยกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ พินัยกรรมย่อม

(1) สมบูรณ์  

 (2) ตกเป็นโมฆียะ            

 (3) ตกเป็นโมฆะ

 (4) จะสมบูรณ์หากได้รับอนุญาตจากศาลด้วย

ตอบ 1  หน้า 177 คนเสมือนไร้ความสามารถทำนินัยกรรมได้สมบูรณ์โดยลำพังตนเอง เพราะพินัยกรรมที่คนเสมือนไร้ความสามารถได้ทำขึ้นนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้าม หรือวางเงื่อนไขไว้แต่อย่างใด

67. นายขาวไม่อยู่บ้าน นายดำเพื่อนบ้านเห็นว่ามีพายุพัดหลังคาบ้านนายขาวเสียหาย จึงเข้าจัดการเข้าซ่อมแซมให้โดยพลการจนเรียบร้อย ดังนี้

(1) นายขาวต้องชดใช้เงินแก่นายดำในสิ่งที่นายดำได้ทำไป

(2) นายขาวไม่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่นายดำทำไปเพราะมิได้วานให้ทำ

(3) นายขาวจะชดใช้เงินให้นายดำถ้านายขาวพอใจในสิ่งที่นายดำทำไป

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ1  หน้า 116  การกระทำของนายดำถือว่าเป็นการจัดการงานนอกสั่ง คือการเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยที่เจ้าของมิได้ขานวานหรือใช้ให้ทำ และเมื่อการกระทำของนายดำสมประโยชน์ของเจ้าของกิจการคือนายขาว นายขาวจึงต้องชดใช้เงินหรือค่าใช้จ่ายที่นายดำได้ออกไป

68. โมฆียกรรม เมื่อบอกล้างแล้ว

(1) เป็นโมฆะทันที                           

(2) เป็นโมฆะเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายได้รู้การบอกล้าง

(3) เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก             

(4) เป็นโมฆะในวันที่บอกล้าง

ตอบ 3   หน้า 108 นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ เมื่อมีการบอกล้างแล้ว ก็เท่ากับว่านิติกรรมนั้นได้ถูกทำลายสูญสิ้นไปเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการทำนิติกรรมนั้นเลย และตามกฎหมายให้ถือว่าโมฆียกรรมนั้นได้ตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก

69. พินัยกรรมเป็น

(1) นิติกรรมฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด

(2) นิติกรรมฝ่ายเดียวซึ่งต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา

(3) นิติกรรมมีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว                  

(4) ถูกข้อ 1 และ 3

 ตอบ 4  หน้า 100-101 พินัยกรรม เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด ซึ่งไม่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา และเป็นนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตายแล้ว

70. โมฆะกรรม หมายถึงนิติกรรมที่

(1) ตกเป็นอันเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ เสมือนหนึ่งมิได้มีอะไรเกิดขึ้นเลย

(2) ตกเป็นอันเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แต่อาจได้รับสัตยาบันให้กลับสมบูรณ์ได้

(3) มีผลในกฎหมายผูกพันกัน แต่อาจถูกกล่าวอ้างได้

(4) มีผลในกฎหมายผูกพันกัน แต่อาจถูกบอกล้างได้

ตอบ 1  หน้า 106-107  โมฆะกรรม หมายถึง นิติกรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่าใช้บังคับกันไม่ได้เลยเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีอะไรเกิดขึ้นเลย และจะให้สัตยาบันก็ไม่ได้ ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะยกเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมนั้นขึ้นกล่าวอ้างก็ได้

71. การแสดงเจตนาทำนิติกรรม ทำได้โดย

(1) เป็นลายลักษณ์อักษร  

(2) โดยวาจา       

(3) โดยกิริยาอาการ           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4   หน้า 104  ในการแสดงเจตนาทำนิติกรรมนั้น อาจเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง คือ กระทำด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยกิริยาอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยาย หรือในบางกรณีอาจเป็นการแสดงเจตนาโดยการนิ่งก็ได้

72. ข้อใดมิใช่ผู้หย่อนความสามารถ

(1) คนล้มละลาย    

(2) คนตาบอดขายล็อตเตอรี่ 

 (3) คนไร้ความสามารถ   

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 133  ผู้หย่อนความสามารถตามกฎหมาย(บุคคลที่ถูกกฎหมายจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิ) มี 4 ประเภท ได้แก่                           

1. ผู้เยาว์                 2. คนไร้ความสามารถ

3. คนเสมือนไร้ความสามารถ และ   4. บุคคลวิกลจริต

73. บุคคลที่อายุ 19 ปี

(1) บรรลุนิติภาวะ                             

(2) มีสิทธิสมรสได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม

(3) บิดามารดาทั้งสองฝ่ายต้องให้ความยินยอมถึงจะสมรสได้ 

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4  หน้า 139,159  ตามกฎหมายบุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ (ป.พ.พ. มาตรา 19 ) ดังนั้นบุคคลที่มีอายุ 19 ปี จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะและถือว่ายังเป็นผู้เยาว์ แต่สามารถทำการสมรสได้ (เพราะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว) ถ้าได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์นั้น (โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง)

74. ถ้าศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ ถือว่าบุคคลนั้นตายตั้งแต่

(1) เมื่อศาลสั่ง                    

(2) เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(3) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจากภูมิลำเนาตามที่กฎหมายกำหนด 

(4) เมื่อวันที่ร้องขอต่อศาล

ตอบ 3  หน้า 144-147  บุคคลที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณีนับแต่การจากภูมิลำเนาตามที่กำหมายกำหนด

75. ข้อใดต่อไปนี้เป็นโมฆะ

(1) คนไร้ความสามารถทำสัญญารับการให้โดยมีค่าภาระติดพัน

(2) คนไร้ความสามารถทำสัญญาให้เช่าบ้านมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี

(3) คนไร้ความสามารถทำพินัยกรรม

(4) คนไร้ความสามารถทำสัญญากู้

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 63.ประกอบ

76. ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) บุคคลใดถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้วกฎหมายถือว่าถึงแก่ความตาย

(2) เมื่อบุคคลใดถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

(3) เมื่อบุคคลใดถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ทำให้การสมรสขาดจากกัน

(4) การเป็นคนสาบสูญอาจมีการเพิกถอนคำสั่งได้

ตอบ 3  หน้า 146  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญแล้วจะมีผลตามกฎหมาย คือ

1. คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ (แต่ไม่ทำให้การสมรสสิ้นสุดลง)

2. ถือเป็นการสิ้นสุดอำนาจปกครองบุตร        3. มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท

4. ถือเสมือนว่าบุคคลนั้นสิ้นสภาพบุคคลหรือถึงแก่ความตาย อย่างไรก็ตามหากคนสาบสูญยังมีชีวิตอยู่หรือตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานไว้ ศาลก็อาจเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้

77. กฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ของบุคคลนับแต่เกิดไปจนตาย ได้แก่

(1) กฎหมายแพ่ง               

(2) กฎหมายพาณิชย์         

(3) กฎหมายอาญา             

(4) กฎหมายธุรกิจ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 23.ประกอบ

78. บ้านทรงไทยที่ซื้อขายกันโดยซื้อเป็นส่วนๆไปประกอบในที่ดินอีกแห่ง คือ

(1) อสังหาริมทรัพย์          

(2) อุปกรณ์         

(3) ส่วนควบ       

(4) สังหาริมทรัพย์

ตอบ 4  (คำบรรยาย) ทรัพย์ใดแม้จะเป็นอสังหาริมทรัพย์แต่ก็อาจจะโอนกันในรูปสังหาริมทรัพย์ก็ได้ เช่น บ้านทรงไทยที่ซื้อขายกันเป็นส่วนๆ ดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการซื้อขายทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน จึงไม่เป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นการซื้อขายทรัพย์ในสภาพของสังหาริมทรัพย์ทั่วไป

79. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรม คือ

(1) การครอบครองปรปักษ์                               

(2) สัญญาซื้อขาย

(3) การแย่งสิทธิครอบครอง                            

(4) คำพิพากษาของศาล

ตอบ 2   หน้า 195  การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มี 2 กรณี คือ

1. การได้มาโดยทางนิติกรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เป็นต้น และ

2. การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เช่น การได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยอาศัยหลักส่วนควบ หรือโดยทางมรดก เป็นต้น

80. ข้อใดต่อไปนี้มิใช่ทรัพยสิทธิ

(1) สิทธิครอบครอง          

(2) ภาระจำยอม 

(3) กรรมสิทธิ์     

(4) ส่วนควบ

ตอบ 4  หน้า 192   ทรัพยสิทธิ คือ สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินโดยตรง เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น (ส่วนควบถือเป็นส่วนอันประกอบของทรัพย์)

81. ข้อใดต่อไปนี้ถูกที่สุด

(1) การครอบครองปรปักษ์สามารถเกิดได แม้เป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง

(2) หากเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ในอสังหาริมทรัพย์ 7 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์

(3) หากเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ในอสังหาริมทรัพย์ 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์

(4) ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ตอบ 4  หน้า 204-206  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382  ซึ่งได้บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์จะได้กรรมสิทธิ์ต้องครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของด้วย

82. ทรัพย์ใดต่อไปนี้มิอาจเป็นของหมั้นได้

(1) อาคารพาณิชย์ของชายคู่หมั้น                  

(2) รถยนต์ของชายคู่หมั้น

(3) เงินที่ชายคู่หมั้นกู้ยืมมาเพื่อหมั้น             

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4  หน้า 157 “ของหมั้นหมายถึงทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์สินประเภทใดก็ได้ (ทรัพย์ตาม (1)(2) และ (3) เป็นของหมั้นได้)

83. เมื่อหมั้นแล้ว หากต่อมาคู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมสมรสด้วย เช่นนี้

(1) ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการสมรสได้              

(2) เรียกเบี้ยปรับได้

(3) ฝ่ายที่มิใช่ฝ่ายผิดเรียกค่าทดแทนได้                         

(4) แม้ฝ่ายหญิงเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น ก็ริบของหมั้นไว้ได้

ตอบ 3  หน้า 157-158  ถ้าคู่หมั้นฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับเพื่อให้มีการสมรสไม่ได้ มีสิทธิก็แต่เฉพาะเรียกค่าทดแทนเนื่องจากมีการผิดสัญญาหมั้นเท่านั้น และหากหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นก็จะต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายด้วย

84. การสมรสอาจสมบูรณ์ได้เลยหาก

(1) มิได้มีการหมั้นมาก่อน

(2) ชายหญิงอายุ 19 ปี ที่ทำการสมรสโดยมิได้รับความยินยอม

(3) มิได้ส่งมอบสินสอด                   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2  หน้า 159-160  เงื่อนไขที่จะทำให้การสมรสตกเป็นโมฆียะ (การสมรสมิอาจสมบูรณ์) มี 5 ประการ คือ             1. ชายและหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์                           2. ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยมิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือ ผู้ปกครอง        3. การสมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรส        4. สมรสโดยถูกกฉ้อฉล 5. การสมรสเพราะถูกข่มขู่ (การสมรสสามารถทำได้โดยมิต้องมีการหมั้นก่อนแต่งแต่อย่างใด)

85. หญิงอายุ 21 ปี ที่สามีที่ชอบด้วยกฎหมายถึงแก่ความตาย

(1) หากสมรสใหม่ก่อน 310 วันนับแต่การสมรสเดิมสิ้นสุด การสมรสย่อมตกเป็นโมฆียะ

(2) สมรสใหม่ได้ทันที และการสมรสนั้นสมบูรณ์

(3) หากสมรสใหม่ก่อน 310 วันนับแต่การสมรสเดิมสิ้นสุด การสมรสย่อมตกเป็นโมฆะ

(4) หากจะสมรสใหม่ก่อน 310 วัน ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน

ตอบ 4  หน้า 160 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ก็ต่อเมื่อระยะเวลา 310 วันนับตั้งแต่วันสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้ว เว้นแต่

1. คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น                      2. สมรสกับคู่สมรสเดิม

3. มีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์                4. มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้ (แต่ถ้ามีการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ให้ถือว่าการสมรสยังคงสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆะ)

86. เงื่อนไขใดที่ไม่ทำให้การสมรสตกเป็นโมฆะ

(1) ผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรม             

(2) บุคคลวิกลจริตสมรสกับบุคคลที่มีสภาพจิตปกติ

(3) สมรสโดยปราศจากความยินยอม                             

(4) สมรสซ้อน

ตอบ 1  หน้า 159-160  เงื่อนไขที่จะทำให้การสมรสตกเป็นโมฆะ มี 4 ประการ คือ

1. สมรสกับบุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถตามคำสั่งศาล

2. สมรสกับญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือกับพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

3. สมรสโดยปราศจากความยินยอมของชายหญิงคู่สมรส และ

4. สมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วหรือที่เรียกว่า สมรสซ้อน

(ผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรมมีผลสมบูรณ์ แต่การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกไป)

87. เงื่อนไขใดที่ไม่ทำให้การสมรสตกเป็นโมฆียะ

(1) ชายหญิงอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์           

(2) สมรสโดยสำคัญผิดแล้ว

(3) สมรสเพราะถูกข่มขู่                                   

(4) คู่สมรสที่มีบิดาคนเดียวกัน แต่ต่างมารดากัน

ตอบ 4  ดูคำอธิบายข้อ 84. และ 86.ประกอบ  (การสมรสตามข้อ (4) เป็นโมฆะ ส่วนการสมรสตามข้อ (1)(2) และ (3)_ เป็นโมฆียะ)

88. หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ได้แก่

(1) สามีกู้ยืมเงินภริยาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว

(2) ภริยากู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อจ่ายค่ารักษาพยาบาลบุตร

(3) สามีกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อซื้อวิทยุไว้ฟังที่ทำงาน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 164-165  หนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ถือว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ซึ่งสามีและภริยาจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ (ข้อ (1) เป็นหนี้ระหว่างสามีภริยา ข้อ (3) เป็นหนี้ส่วนตัว)

89. สินสมรส ได้แก่

(1) เงินเดือนที่คู่สมรสได้รับก่อนสมรส

(2) ดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารที่หญิงได้มาก่อนสมรส

(3) ลูกหมูซึ่งแม่หมูของภริยาตกลูกเมื่อมีการสมรส

(4) เงินมรดกที่ได้รับในขณะสมรสในฐานะทายาทโดยธรรม

ตอบ 3  หน้า 163  สินสมรส ได้แก่

1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือนหรือรางวัลที่ได้จากการถูกลอตเตอรี่

2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมระบุว่าเป็นสินสมรส

3. ดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งเกิดมีขึ้นเมื่อมีการสมรส เช่น ลูกหมูซึ่งแม่หมูตกลูกเมื่อสมรสแล้ว

(ดอกเบี้ยแม้จะเป็นดอกผลของสินส่วนตัว แต่ได้มาก่อนสมรสจึงไม่เป็นสินสมรส แต่เป็นสินส่วนตัว)

90. กรณีใดต่อไปนี้มิใช่การสิ้นสุดการสมรส

(1) หย่า               

(2) ตาย                

(3) ทิ้งร้าง           

(4) ศาลพิพากษาให้เพิกถอน

ตอบ 3  หน้า 166-167  การสมรสสิ้นสุดลงได้โดยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสและการหย่า (การทิ้งร้างเป็นเพียงเหตุฟ้องหย่าเท่านั้น)

91. อุปกรณ์ คือ

(1) พวงมาลัยรถยนต์        

(2) ยางอะไหล่ที่อยู่ท้ายรถ

(3) วิทยุติดรถยนต์              

(4) บัวรดน้ำ

ตอบ 2   หน้า 188-189  “อุปกรณ์หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน… จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีการร่วมสภาพกับทรัพย์ที่เป็นประธานจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งแตกต่างจากส่วนควบ เช่น ยางอะไหล่ที่อยู่ท้ายรถ ปลอกแว่นตา เป็นต้น พวงมาลัยรถยนต์ถือเป็นส่วนควบของรถยนต์

92. กรณีใดมิใช่มรดก

(1) สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมของเจ้ามรดก            

(2) สิทธิตามสัญญาเช่า

(3) ที่ดินของเจ้ามรดก                                                       

(4) กำไลทองคำของเจ้ามรดก

ตอบ 2  หน้า 171-172   “มรดกหมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆด้วย เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ (สิทธิตามสัญญาเช่า เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ตาย)

93. มรดกย่อมตกทอดเมื่อ

(1) เปิดพินัยกรรมออกอ่าน                             

(2) ทายาทแสดงเจตนายอมรับมรดก

(3) ทายาทได้ทราบถึงการตายของเจ้ามรดก 

(4) ทันทีที่เจ้ามรดกตาย

ตอบ 4  หน้า 172, (คำบรรยาย) ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาทซึ่งการตกทอดของมรดกนั้น จะตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้ามรดกตาย

94. บุคคลใดต่อไปนี้มิอาจรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรม

(1) คู่สมรส                                          

(2) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว

(3) คนรับใช้ของเจ้ามรดก

(4) ชมรมอนุรักษ์ป่าไม้

ตอบ 4  หน้า 173-175  บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติของผู้ตายและคู่สมรสของผู้ตาย ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้นและที่สำคัญต้องมีสภาพบุคคลในขณะที่เจ้ามรดกตายด้วย แต่บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมนั้นเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นญาติหรือคู่สมรสของผู้ตายหรือไม่ก็ได้ หรืออาจจะเป็นนิติบุคคล เช่น วัด มูลนิธิ ก็ได้ (ชมรมอนุรักษ์ป่าไม้ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล)

95. ผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่

(1) บุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้ใช้นามสกุล                 

(2) บุตรบุญธรรมได้จดทะเบียน

(3) บุตรที่เกิดจากบิดาและมารดาที่ได้จดทะเบียนสมรส             

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4  หน้า 173-174  ผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่ บุตร หลาน เหลน ลื้อ ของเจ้ามรดก ซึ่งทายาทชั้นบุตรที่จะมีสิทธิรับมรดกนั้นหมายถึงบุคคล 3 ประเภท คือ

1. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่จดทะเบียนสมรสกัน

2. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤติการณ์ เช่น ให้ใช้นามสกุล แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา เป็นต้น

3. บุตรบุญธรรมที่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว

96. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

(1) หากไม่มีทายาทเป็นผู้รับมรดก ทรัพย์มรดกย่อมตกแก่แผ่นดิน

(2) ทวดเป็นทายาทโดยธรรม

(3) บุคคลที่เป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีสิทธิรับมรดกเมื่อเจ้ามรดกตาย

(4) ผู้รับพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ใดกับเจ้ามรดกก็ได้

ตอบ 2  หน้า 173-175,(คำบรรยาย) ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกมี 6 ลำดับเท่านั้น ได้แก่

1. ผู้สืบสันดาน                     2. บิดามารดา        3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน              5. ปู่ ย่า ตา ยาย                      6. ลุง ป้า น้า อา

ดังนั้น ทวดจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรม

97. นางดาวและนายหนุ่มอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตร 1 คนชื่อ ด.ช.หนึ่ง ซึ่งนายหนุ่มไปแจ้งเกิดว่าตนเองเป็นบิดา และให้ ด.ช.หนึ่งใช้นามสกุลของนายหนุ่มตลอดมา ดังนี้

(1) ด.ช.หนึ่งเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนางดาว

(2) ด.ช.หนึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว

(3) ด.ช.หนึ่งไม่มีสิทธิรับมรดกของนายหนุ่มในฐานะผู้สืบสันดาน

(4) ด.ช.หนึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหนุ่ม

ตอบ 2   หน้า 174, (คำบรรยาย)  บุตรที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดา แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของบิดา และถ้าบิดาได้รับรองแล้ว เช่น ให้ใช้นามสกุลหรือแจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาในฐานะผู้สืบสันดาน

98. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ได้แก่

(1) หนักงานอัยการ          

(2) เจ้าหน้าที่กรมศุลกาการ             

(3) ตำรวจ            

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1  หน้า 220-221  หน่วยงานของรัฐผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ได้แก่

1. ศาล                    2. พนักงานอัยการ               3. พนักงานบังคับคดี

99. นางสวยมีบุตรอายุเก้าเดือน นางสวยมัวแต่ดูละครไม่สนดูแลลูก ทำให้บุตรนางสวยคลานออกไปตกท่อบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ นางสวยมีความผิดทางอาญาอย่างไร

(1) เป็นการกระทำโดยงดเว้นโดยประมาท                  

(2) เป็นการกระทำโดยละเว้นโดยเจตนา

(3) เป็นการกระทำโดยงดเว้นโดยเจตนา                      

(4) เป็นการกระทำโดยละเว้นโดยประมาท

ตอบ 1  หน้า 55,58  การกระทำโดยงดเว้น หมายถึง กรณีที่บุคคลมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้ผลเกิดขึ้น แต่ได้งดเว้นการกระทำนั้น เช่น มารดามีหน้าที่ให้นมบุตรกินเพื่อป้องกันมิให้บุตรตายแต่กลับไม่ให้นมบุตรจนบุตรอดนมตาย เป็นต้น (จากโจทย์ การกระทำของนางสวยเป็นการกระทำโดยประมาท ดังนั้นนางสวยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยงดเว้นโดยประมาท)

 100. นายเอกจ้างนายโทให้ไปฆ่านายตรี นายโทตกลง แต่ต่อมานายโทกลับเปลี่ยนใจไม่ไปฆ่านายตรี เช่นนี้ นายเอกจะมีความผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร

(1) ไม่ผิด เพราะผู้ถูกใช้ยังไม่ลงมือกระทำความผิด   

(2) ผิด เพราะได้มีการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดแล้ว

(3) ไม่ผิด เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด     

(4) ผิด เพราะเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันแล้ว

ตอบ 2   หน้า 62-63   การกระทำของนายเอกถือว่าเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดแล้ว นายเอกจึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ ตาม ป.อ. มาตรา 84 วรรคแรก และในวรรคสองได้กำหนดความรับผิดในฐานผู้ใช้ไว้ว่า ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิด ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ หรือเพราะเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

101. นายหนึ่งอายุ 16 ปี ตกลงหมั้นกับ น.ส.สองอายุ 16 ปี โดยบิดามารดาของนายหนึ่ง และ น.ส.สอง ยินยอม เช่นนี้ การหมั้นจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ            

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 3  หน้า 155 กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องอายุของชายหญิงที่จะทำการหมั้นไว้ว่า จะหมั้นกันได้ชายและหญิงจะต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว หากฝ่าฝืน การหมั้นนั้นจะตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 1435) แม้ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ตาม

102. การสมรสโดยปราศจากความยินยอมอันแท้จริงของชายหญิงคู่สมรส เช่นนี้ การสมรสจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ              

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 86.ประกอบ

103. การสมรสโดยถูกข่มขู่ เช่นนี้ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ            

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 2  ดูคำอธิบายข้อ 84.ประกอบ

104. การสมรสโดยถูกฉ้อฉล เช่นนี้ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ            

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 2  ดูคำอธิบายข้อ 84.ประกอบ

105. การสมรสกับญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา เช่นนี้ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ            

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

106. การสมรสกับพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาแล้ว เช่นนี้ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ            

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

107. การสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เช่นนี้ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ             

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

108. ชายหญิงอายุ 16 ปี สมรสกัน โดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมของชายและหญิงนั้น เช่นนี้ จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

(1) สมบูรณ์         

(2) โมฆียะ          

(3) โมฆะ             

(4) ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาล

ตอบ 2  ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ

109. บุคคลใดๆต่อไปนี้มิอาจรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้

(1) บุคคลที่มีอายุ 24 ปี                                      

(2) บุคคลที่มีอายุ 25 ปี

(3) บุคคลที่มีอายุ 26 ปี                                       

(4) บุคคลที่มีอายุ 27 ปี

ตอบ 1  หน้า 169   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/19 กำหนดว่า บุคคลที่จะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมได้นั้นจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนอย่างน้อย 15 ปี ส่วนอายุของผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมนั้นจะมีอายุกี่ปีก็ได้กฎหมายมิได้กำหนดไว้

110. ในการรับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุห่างกันอย่างน้อยกี่ปี

(1) 5 ปี                 

(2) 7 ปี                 

(3) 10 ปี                

(4) 15 ปี

ตอบ 4   ดูคำอธิบายข้อ 109. ประกอบ

111. บุคคลใดต่อไปนี้มิอาจเป็นบุตรบุญธรรมได้

(1) บุคคลที่มีอายุ 1 เดือน                                 

(2) บุคคลที่มีอายุ 1 ปี

(3) บุคคลที่มีอายุ 5 ปี                                         

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4  ดูคำอธิบายข้อ 109. ประกอบ

112. กรณีต่อไปนี้ ที่ทำให้ทายาทเสียสิทธิโดยการที่เจ้ามรดกทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ให้ทายาทคนใดคนหนึ่งได้รับมรดก

(1) การสละมรดก                                              

(2) การตัดมิให้รับมรดก

(3) การถูกกำจัดมิให้มรดก               

(4) ไม่ใช่สิทธิภายในอายุความมรดก

ตอบ 2  หน้า 179  การตัดมิให้รับมรดก เป็นกรณีที่เจ้ามรดกมีความประสงค์จะไม่ให้ทายาทของตนได้รับมรดกโดยการแสดงเจตนาชัดแจ้งไว้ในพินัยกรรม หรือโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

113. การที่ทายาทแอบเอาทรัพย์สินของเจ้ามรดกไปซ่อนหลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้ว เพื่อไม่ให้ทายาทคนอื่นได้รับมรดกด้วย เช่นนี้ ทายาทคนนั้นอาจเสียสิทธิรับมรดกเพราะเหตุใด

(1) การสละมรดก                                               

(2) การตัดมิให้รับมรดก

(3) การถูกกำจัดมิให้มรดก               

(4) ไม่ใช่สิทธิภายในอายุความมรดก

ตอบ 3   หน้า 179 การถูกกำจัดมิให้รับมรดก เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ทายาทโดยธรรม หรือโดยพินัยกรรมหมดความเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิในการรับมรดก ทั้งนี้เพราะทายาทดังกล่าว ได้ยักยอก ปิดบังทรัพย์มรดก หรือเป็นประพฤติไม่สมควร เช่น การที่ทายาทฆ่าเจ้ามรดกและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทายาทนั้นเจตนาฆ่าเจ้ามรดก เป็นต้น

114. การที่ทายาทฆ่าเจ้ามรดกและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทายาทนั้นมีเจตนาฆ่าเจ้ามรดก เช่นนี้ ทายาทย่อมเสียสิทธิรับมรดก เพราะเหตุใด

(1) การสละมรดก                                              

(2) การตัดมิให้รับมรดก

(3) การถูกกำจัดมิให้มรดก               

(4) ไม่ใช่สิทธิภายในอายุความมรดก

ตอบ 3  ดูคำอธิบายข้อ 113.ประกอบ

115. บุคคลใดต่อไปนี้มิอาจรับมรดกตามพินัยกรรมได้

(1) คู่สมรสของเจ้ามรดก                                  

(2) บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก

(3) ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม               

(4) เจ้าหนี้ของเจ้ามรดก

ตอบ 3  หน้า 178  ผู้เขียนพินัยกรรม และพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมไม่ได้

116. บุคคลใดต่อไปนี้ คือ ทนายแผ่นดิน

(1) ตำรวจ            

(2) ผู้พิพากษา    

(3) เจ้าพนักงานบังคับคดี                

(4) พนักงานอัยการ

ตอบ 4   หน้า 216-217  พนักงานอัยการ หมายถึง ข้าราชการสังกัดกรมอัยการผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดี เช่น การฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลในคดีอาญา หรืออำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลในคดีแพ่ง เป็นต้น พนักงานอัยการจึงได้ชื่อว่าเป็น ทนายแผ่นดิน

117. เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ยังคงครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ แต่มีหน้าที่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพย์สินไปให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เช่นนี้ เป็นลักษณะของทรัพยสิทธิลักษณะใด

(1) ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์                              

(2) สิทธิเก็บกิน

(3)สิทธิเหนือพื้นดิน                                                        

(4) สิทธิอาศัย

ตอบ 1  หน้า 210  ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ยังคงครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ แต่มีหน้าที่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นไปให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เช่น ลูกหนี้เจ้าของห้องแถวทำหนังสือและจดทะเบียนยอมให้เจ้าหนี้มีสิทธิในค่าเช่าห้องแถวของตน เป็นต้น

118. ผู้ทรงสิทธิมีเพียงสิทธิครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้ เช่นนี้ เป็นลักษณะของทรัพยสิทธิลักษณะใด

(1) ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์                              

(2) ภาระจำยอม

(3) สิทธิเก็บกิน                                                                  

(4) สิทธิอาศัย

ตอบ 3  หน้า 210 สิทธิเก็บกิน คือ ทรัพยสิทธิที่ผู้ทรงสิทธิครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยอาจกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้

119. เจ้าของที่ดินอาจก่อให้เกิดขึ้นเป็นคุณแก่บุคคลอื่นโดยให้บุคคลนั้นมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดิน เช่นนี้ เป็นลักษณะของสิทธิลักษณะใด

(1) สิทธิเหนือพื้นดิน       

(2) สิทธิอาศัย     

(3) สิทธิเก็บกิน  

(4) ภาระจำยอม

ตอบ 1  หน้า 209-210  สิทธิเหนือพื้นดิน คือ ทรัพยสิทธิที่เจ้าของที่ดินอาจก่อให้เกิดขึ้นเป็นคุณแก่บุคคลอื่น โดยให้บุคคลนั้นมีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น

120. หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้กู้ยืมเงินของนักศึกษา เจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อเป็นคนแรก เพื่อบังคับคดีให้ชำระหนี้คือใคร

(1) พนักงานอัยการ          

(2) ตำรวจ            

(3) ศาล                

(4) เจ้าพนักงานบังคับคดี

ตอบ หน้า 220  ในกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งนั้น เมื่อคู่กรณีมีข้อพิพาทคู่ความฝ่ายหนึ่งจะริเริ่มทำคำฟ้อง หรือคำร้องยื่นต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งนั้น และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ก็จะมีการบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป (ดูคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ)

 

Advertisement