การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         กษัตริย์สุโขทัยพระองค์ใดที่ส่งพระเถระผู้ใหญ่ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในล้านนา

(1)       พ่อขุนรามคำแหง

(2) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

(3) พระมหาธรรมราชาลิไทย

(4) พ่อขุนบานเมือง

ตอบ 3 หน้า 27105584 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย สุโขทัยมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาลนา และวรรณกรรมเป็นอย่างมาก เช่น ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จออกผนวชเป็น พระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 1905 และทรงเป็นนักปราชญ์แต่งคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิกถา นอกจากนี้ยังทรงส่งพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระสุมณเถระไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในอาณาจักรล้านนาด้วย

2.         ข้อใดไมใช่ชาติพันธุ์ที่เคยอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

(1)       มองโกลอยด์

(2) คอเคซอยด์

(3) ออสโตรลอยด์

(4) นิกรอยด์

ตอบ 2 หน้า 8 นักวิชาการเชื่อว่ามนุษย์ที่เคยอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้  1. มองโกลอยด์ (Mongoloid)

2.         ออสโตรลอยด์ (Australoid)      3. นิโกรลอยด์ (Nigroloid) หรือนิกรอยด์ (Nigroid)

3.         ข้อใดคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแคว้นศรีวิชัย         

(1) นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน

(2)       ใช้ช้างเป็นพาหนะ

(3) มีนิสัยดุร้าย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 15 แคว้นศรีวิชัย เจริญขึ้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 ในบริเวณที่เป็น จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้า ที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลานั้น ทำหน้าที่เป็นคนกลางติดต่อระหว่างอินเดียและจีน จึงทำให้ รับวัฒนธรรมอินเดียเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ส่วนศาสนาฮินดูก็มีผู้นับถือเช่นกัน

4.         ข้อใดไม่ใช่แว่นแคว้นที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

(1)       หริภุญไชย       (2) โยนกเชียงแสน      (3) พะเยา        (4) ศรีจนาศะ

ตอบ 4 หน้า 14 – 1520 แว่นแคว้นที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในสมัย พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 มีดังนี้     1. แคว้นหริภุญไชย      2. แคว้นโยนกเชียงแสน

3.         แคว้นเงินยางเชียงแสน          4. แคว้นพะเยา (ส่วนแคว้นศรีจนาศะ เป็นแว่นแคว้นบริเวณ จ.นครราชสีมา จนถึงบริเวณบุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15)

5.         พ่อขุนศรีนาวนำถม มีความเกี่ยวข้องกับพ่อขุนผาเมืองในฐานะอะไร

(1)       พระบิดา          (2) พระโอรส    (3) พระเชษฐา (4) สหาย

ตอบ 1 หน้า 23, (คำบรรยาย) หลักฐานสุโขทัยเท่าที่มีปรากฏ ได้กล่าวถึงกษัตริย์พระองค์แรกของ กรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซงเป็นพระราชบิดาของพ่อขุนผาเมือง ผู้ปกครองเมืองราด ส่วนกษัตริย์สุโขทัยพระองค์ต่อมา คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นพระสหายของพ่อขุนผาเมือง

6.         ข้อใดคือเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเยว่

(1)       ใช้ม้าเป็นพาหนะ         (2) ทำไร่เลื่อนลอย

(3)       ทำกลองมโหระทึก       (4) ปลูกข้าวนาหว่าน

ตอบ 3 หน้า 5-7 ชนชาติไทเผ่าต่าง ๆ เช่น จ้วง ฯลฯ จัดอยู่ในกลุ่มชนที่พูดภาษาไทยที่จีนเรียก รวมกันว่า เยว่” ซึ่งเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเยว่ ได้แก่ การสักตามร่างกาย ทาฟันเป็นสีดำ ทำกลองมโหระทึก ปลูกข้าวนาดำ ใช้ช้างเป็นพาหนะ และอยู่บ้านใต้ถุนสูง

7.         ยุคทองของล้านนา ตรงกับสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด

(1)       พระยามังราย  (2) พระยาติโลกราช

(3) พระยากือนา          (4) พระยาสามฝั่งแกน

ตอบ 2 หน้า 32 สมัยของพระยาติโลกราช (พ.ศ. 1984 – 2030) ถือได้ว่าเป็นยุคทองของล้านนา เพราะสามารถฟื้นฟูอำนาจของล้านนาขึ้นมาได้อีกครั้งหนี้ง และเนื่องจากพระยาติโลกราชเป็น ผู้มีความสามารถในการรบและขยันรบ จึงมีนโยบายขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ทางเหนือขึ้นไปถึงเขตไทยใหญ่ คือ เมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางใต้ลงมาถึงเมืองแพร่และน่าน

8.         อาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาในสมัยกษัตริย์อยุธยาพระองค์ใด

(1)       เจ้าสามพระยา            (2) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

(3) พระนเรศวรมหาราช           (4) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

ตอบ 2 หน้า 39161 ในสมัยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเป็นกษัตริย์อยุธยานั้น พระองค์ได้เสด็จ มาปกครองอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2006 – 2031 เพื่อใช้เป็นฐานในการทำสงคราม กับล้านนาและคุมดินแดนหัวเมืองเหนือ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่ง ของอยุธยาได้อย่างแท้จริง

9.         พระมหากษัตริย์พระองค์ใดในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีความสามารถในงานช่างและกวีนิพนธ์

(1)       รัชกาลที่ 1       (2) รัชกาลที่ 2  (3) รัชกาลที่ 3  (4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 2 หน้า 51 – 52, (คำบรรยาย) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ที่ประสูติ จากกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ โดยพระองค์ทรงมีความสามารถในงานช่างและกวีนิพนธ์ จนอาจถวายพระสมญานามว่า กษัตริย์ศิลปิน

10.       ข้อใดคือผลที่ได้รับจากการปกครองแบบนครรัฐ        

(1) เจ้านายเท่านั้นที่จะเป็นเจ้าเมืองได้

(2)       เจ้าเมืองชั้นนอกมีอิสระมากจากการควบคุมของเมืองหลวง

(3)       อาณาจักรรวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้น   (4) แก้ปัญหาการกบฏของเมืองลูกหลวงได้

ตอบ 2 หน้า 104 – 105273 การปกครองแบบนครรัฐ (City State) คือ การปกครองส่วนภูมิภาค ในลักษณะที่เมืองหรือนครมีอิสระดุจเป็นรัฐของตัวเอง แว่นแคว้นจึงรวมตัวกันแต่เพียงหลวม ๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ โดยกษัตริย์คงจะยินยอมให้ลูกเจ้าลูกขุน ดังเช่นพระราชโอรสได้เป็น เจ้าเมืองชั้นนอกหรือเมืองลูกหลวงที่สำคัญ ซึ่งเจ้าเมืองเหล่านี้จะมีอำนาจเป็นอิสระมาก จากการควบคุมของเมืองหลวง ทำให้สามารถก่อกบฏขึ้นอยู่บ่อยครั้ง

11.       ประเทศไทยได้เข้าร่วมการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยกษัตริย์พระองค์ใด

(1)       รัชกาลที่ 5

(2) รัชกาลที่ 6

(3) รัชกาลที่ 7

(4) รัชกาลที่ 8

ตอบ 2 หน้า 54 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกที่ได้เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ จึงทำให้พระองค์ทรงนำลัทธิชาตินิยมแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย และทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมการทำสงครามโลก ครั้งที่ 1 เพื่อหาทางแก้ไขสัญญาไม่เสมอภาคที่ไทยทำไว้กับนานาประเทศตะวันตก

12.       ข้อใดคือหลักฐานที่ใช้ศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

(1)       พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

(2)       โองการแช่งน้ำ

(3) กฎมณเฑียรบาล

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 149 การศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลางภายหลังการปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและ พระไอยการตำแหนงนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เชื่อว่าได้ตราขึ้นในสมัยของพระองค์

13.       ข้อใดถูก

(1)       สุโขทัยไม่มีการปกครองแบบทหาร

(2)       การปกครองแบบทหารแก้ปัญหาประชากรมีมากเกินไปได้

(3)       อยุธยาสามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้ในบางช่วงเวลา

(4)       อยุธยาไม่มีปัญหาจากการกบฏของเมืองพระยามหานคร

ตอบ 3 หน้า 148163 – 164 ในสมัยอยุธยา เมืองหลวงสามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง(Centralization) ได้ในบางช่วงเวลา เช่น ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมัยสมเด็จพระนเรศวร แต่การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางก็มิได้มีผลอย่างถาวร เพราะ ภายหลังต่อมาเมืองในเขตชั้นนอกก็ค่อย ๆ มีอิสระจากเมืองหลวงมากขึ้น และกลับไปสู่การปกครอง แบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐอีก

14.       ข้อใดคือที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนทิศทั้ง 8ในจักรวาล

(1)       แนวความคิดเรื่องพระจักรพรรดิราชตามคติพุทธศาสนา         (2) คติทางศาสนาพราหมณ์

(3)       อิทธิพลของระบอบพ่อปกครองลูก      (4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 หน้า 120123 แนวความคิดเรื่องพระจักรพรรดิราชตามคติธรรมราชาทางพุทธศาสนานั้น ถือเป็นที่มาของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับบนพระที่นังอัฐทิศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนทิศทั้ง 8 ในจักรวาล ในพระราชพิธิบรมราชาภิเษก รวมทั้งยังเป็นที่มาของพระราชพิธี เสด็จเลียบพระนครทั้งทางชลมารคและสถลมารคภายหลังพระราชพิธีราชาภิเษก ซึ่งเป็น การแสดงว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงครอบครองดินแดนทั่วทุกทิศแล้ว

15.       ข้อใดคือกฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะเทวราชาของพระมหากษัตริย์อยุธยา

(1) พระราชศาสตร์      (2) กฎมณเฑียรบาล   (3) พระธรรมศาสตร์    (4) พระราชกำหนด

ตอบ 2 หน้า 124 กฎหมายสำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรก ที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จึงถือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเทวราชาของกษัตริย์อยุธยาได้อย่างดี

16.       เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์

(1)       กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท

(2)       กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหาร ถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน

(3)       เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 155 – 156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัย

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้

1.         กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน

2.         เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง

3.         กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงาบนเป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร

17.       ในสมัยอยุธยา คดีศาลรับสั่งหมายถึงคดีอะไร

(1)       คดีที่พระมหากษัตริย์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน

(2)       คดีนครบาล    (3) คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ศาลตัดสิน

(4)       คดีพิพาทระหว่างคนไทยและคนต่างชาติ

ตอบ 1 หน้า 135 – 136 คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย จะเรียกว่า ความรับสั่ง” แต่ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรถวายฎีกาขึ้นมา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมอบให้ กรมพระตำรวจเป็นผู้สอบสวน และพระองค์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน คดีเช่นนี้จะเรียกว่า คดีศาลรับสั่ง

18.       การแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาคเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) ต้นอยุธยา  (2) อยุธยาตอนปลาย

(3)       ต้นรัตนโกสินทร์          (4) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ 2 หน้า 157 – 158 ในสมัยอยุธยาตอนบ่ลาย ระบบบริหารราชการส่วนกลางจะเป็นการบริหารแบบแบ่งหน้าที่กันตามเขตแดนหรือภูมิภาค (Territorial Basis) ดังนี้

1.         กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้

2.         กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ

3.         กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก

19.       การปฏิรูปการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีหลักการสำคัญอย่างไร

(1) รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง (2) กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

(3) เสริมสร้างอำนาจให้เมืองลูกหลวงในเขตหัวเมืองชั้นใน     (4) แบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี

ตอบ 1 หน้า 148 นโยบายการปฏิรูปการปกครองและระบบบริหารราชการชองสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้

1.         แบ่งแยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน

2.         จัดการปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงในเขต หัวเมืองชั้นใน (แต่มิได้ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไปควบคุมโดยตรง

20.       ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ข้อใดหมายถึงเขตมณฑลราชธานี

(1) เมืองลูกหลวง        (2) เขตเมืองชั้นในที่เมืองหลวงควบคุมโดยตรง

(3) เมืองประเทศราช   (4) เขตหัวเมืองชั้นนอก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21.       การปรับปรุงระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีผลอย่างไร

(1) มีการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค

(2) มีการจัดตั้งเมืองพระยามหานคร

(3)       เมืองหลวงสามารถควบคุมส่วนภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพชั่วระยะเวลาหนึ่ง

(4)       ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมืองส่วนภูมิภาค

ตอบ 3 หน้า 162 – 164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้

1.         รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหลวงควบคุมส่วนภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ (แต่มีผลเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง มิได้มีผลถาวร)

2.         ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอก และจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ

3.         จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ

22.       ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

(1)       ไม่เน้นบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์

(2)       ไม่ให้ความสำคัญเรื่องบารมีของผู้ปกครอง

(3)       ลดความสำคัญของเทวราชา และทำให้สถาบันกษัตริย์มีลักษณะเป็นมนุษย์มากขึ้น

(4)       เน้นอุดมการณ์พ่อปกครองลูก

ตอบ 3 หน้า 183 – 189197 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีดังนี้

1.         การเน้นอุดมการณ์ธรรมราชา เช่น เน้นบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงธรรมและปกครองโดยธรรม รวมทั้งให้ควมสำคัญเรื่องบารมีของผู้ปกครอง

2.         การลดความสำคัญของเทวราชา และทำให้สถาบันกษัตริย์มีลักษณะเป็นมนุษย์มากขึ้น

3.         มีร่องรอยของคติความเชื่อดั้งเดิม คือ ระบบพ่อปกครองลูก แต่จะเห็นได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นไป

23.       ข้อใดคือลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย

(1) ลักษณะเทวราชามีความสำคัญมากขึ้น

(2) ลดความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(3) ลดความสำคัญในเรื่องผู้นำที่มีบารมีสูง

(4) เน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก

ตอบ 4 หน้า 197202 – 204 ลักษณะสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย มีดังนี้

1.         การเน้นคติธรรมราชาและพ่อปกครองลูก 2. ความเชื่อในเรื่องบารมีของพระมหากษัตริย์ยังคง มีอยู่ 3. ความเสื่อมของลักษณะเทวราขา      4. ความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสมบูรณ์

24.       ราชกิจจานุเบกษาเริ่มพิมพ์เผยแพร่ในรัชกาลใดของสมัยรัตนโกสินทร์

(1) รัชกาลที่ 4  (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 1 หน้า 199 – 200 รัชกาลที่ 4 ทรงจัดพิมพ์หนังสือทางราชการออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ ที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” โดยได้ความคิดและแบบอย่างมาจากตะวันตก ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูล แก่ประชาชนเกี่ยวกับประกาศราชการและกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปิดหนทางที่ขุนนางจะทำดวงตราปลอมเพื่ออ้างรับสั่งกับรษฎร

25.       ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนปฏิรูปการปกครอง สมัยรัชกาลที่ 5

(1)       กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ

(2)       กรมกองต่าง ๆ ได้รับงบประมาณมากเกินไป

(3)       เสนาบดีกรมวังและนครบาลมีรายได้มากเกินไป

(4)       กองทัพประจำการมีอำนาจมากเกินไป

ตอบ 1 หน้า 222 – 225 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         กรมกองต่าง ๆ มีงานหลายประเภทอยู่ในความรับผิดชอบ

2.         กรมกองตาง ๆ ไม่สามารถพัฒนาความชำนาญเฉพาะอย่างขึ้นได้

3.         การปฏิบัติราชการก้าวก่ายสับสน ไม่มีประสิทธิภาพ และข้าราชการทุจริตกันแพร่หลาย

4.         ไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละกรมกอง และไม่มีเงินเดือนให้ข้าราชการ

26.       ข้อใดคือปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคก่อนการปฏิรูปการปกครอง

(1)       เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีอำนาจในการเก็บภาษี

(2)       หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป

(3)       ระบบมณฑลเทศาภิบาลขาดประสิทธิภาพ

(4)       เมืองประเทศราชไม่มีอำนาจปกครองตนเอง

ตอบ 2 หน้า 225 – 226 ปัญหาในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคและเขตประเทศราช ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้

1.         หัวเมืองชั้นนอกมีความเป็นอิสระมากเกินไป ทำให้เมืองหลวงไม่สามารถควบคุมได้อย่างใกล้ชิด

2.         เจ้าเมืองและกรมการเมืองไม่มีเงินเดือน ทำให้ต้องหารายได้จากการ กินเมือง

3.         ราชธานีให้เขตประเทศราชปกครองตนเอง จึงเปิดโอกาสให้มหาอำนาจเข้าแทรกแซงได้ง่าย

27.       ข้อใดคือผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก

(1) การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง            (2) ระบบทาสถูกยกเลิกโดยเด็ดขาด

(3) มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน 2 สภา   (4) มีการปฏิรูประบบการศาลอย่างแท้จริง

ตอบ 3 หน้า 227 – 228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารส่วนกลางในระยะแรก (พ.ศ. 2417 – 2418) โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราการแผ่นดิน (State Council หรือ Council of State) และสภาองคมนตรี (Privy Council)

28.       ข้อใดถูกในสมัยรัตนโกสินทร์

(1)       มีการยกเลิกระบบเมืองประเทศราชโดยเด็ดขาดในสมัยรัชกาลที่ 5

(2)       ระบบมณฑลเทศาภิบาลสามารถแก้ปัญหาระบบนครรัฐได้

(3)       การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลไม่ได้ทำพร้อมกันทีเดียวทั้งหมด           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 56234 – 235 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบบรวมศูนย์ อำนาจ โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น แต่มิได้จัดทำพร้อมกันทีเดียวทั่วประเทศ ส่งผลให้ระบบเมืองพระยามหานครหรือนครรัฐสิ้นสุดลง และระบบเมืองประเทศราชถูกยกเลิก โดยเด็ดขาด ทำให้ประเทศไทยสามารถรวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในลักษณะ รัฐประชาชาติ (National State) ได้สำเร็จ

29.       ข้อใดคืออุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

(1)       การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง

(2)       ขุนนางในเมืองหลวงไม่ต้องการยกเลิกระบบกินเมือง

(3)       รัฐบาลไม่สามารถปราบารจลาจลตามหัวเมืองได้

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 236 – 237 อุปสรรคในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากจะมีปัญหาเรื่องบุคลากรและเงินที่จะใช้ในระบบราชการแบบใหม่แล้ว ยังเกิดปัญหา การต่อต้านของฝ่ายอนุรักษนิยมในหัวเมือง ซึ่งได้แก่ พวกเจ้าเมืองและจ้าประเทศราชเดิม ทั้งในมณฑลอีสาน พายัพ และปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2445 แต่รัฐบาลก็สามารถ ปราบปรามลงได้สำเร็จ

30.       ข้อใดคือความแตกต่างในการปครองส่วนท้องถิ่นระหวางสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา

(1)       มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยการปกครองแบบเดิม

(2)       ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน  

(3) ผู้ใหญ่บ้านและกำนันไม่มีสิทธิเป็นกรรมการสุขาภิบาลตำบล

(4)       มีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบลสมัยอยุธยา และเทศบาลในสมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 168 – 169236 การปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยรัตนโกสินทร์ จะมีหน่วยการปกครอง แบบเดิมเหมือนสมัยอยุธยา คือ เป็นหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่มาของผู้ปกครอง โดยให้ประชาชนได้เลือกผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันเลือกกำนัน ส่วนนายอำเภอนั้นแต่งตั้งมาโดยมหาดไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสุขาภิบาลตำบล ซึ่งกรรมการสุขาภิบาลตำบลจะมาจากผู้ใหญ่บ้านและกำนันที่มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง

31.       พระมหากษัตริย์สุโขทัยมิวิธีควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนอย่างไร

(1) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนครองเมือง

(2) ไม่ให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นแม่ทัพ

(3)       ให้ราษฎรฟ้องร้องลูกเจ้าลูกขุนได้

(4) ออกกฎหมายให้ลูกเจ้าลูกขุนเป็นขุนธรรม 

ตอบ 3 หน้า 276 พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงควบคุมอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนด้วยวิธีการดังนี้

1.         ให้ไพร่หรือราษฎรฟ้องร้องกล่าวโทษลูกเจ้าลูกขุนได้โดยตรงต่อพระมหากษัตริย์ และ พยายามตัดสินความให้อย่างยุติธรรม

2.         ปลูกฝังให้ลูกเจ้าลูกขุนทำตัวเป็นขุนธรรม มิใช่ขุนมาร เพราะขุนธรรมเท่านั้นจึงจะอยู่ในอำนาจได้นาน (แต่ไม่ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ)

32.       เหตุใดลูกเจ้าลูกขุนต้องมีความรู้ดีทางศาสนา

(1) เพื่อประโยชน์ในการปกครอง

(2) ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สนับสนุนพุทธศาสนา

(3) ลูกเจ้าลูกขุนมีหน้าที่สั่งสอน

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 272, (คำบรรยาย) ความรู้ทางศาสนาเป็นศาสตร์อีกด้านหนึ่งที่สำคัญสำหรับลูกเจ้าลูกขุน เนื่องจากศาสนามีอิทธิพลสำคัญและมีประโยชน์ต่อแนวทางการปกครองของสุโขทัยเป็นอย่างมาก เช่น หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และราชจรรยานุวัตร ทั้งนี้เพราะหน้าที่สำคัญของกษัตริย์ และลูกเจ้าลูกขุน คือ เป็นผู้สั่งสอนประชาชนให้รู้บุญรู้ศีลธรรม และเสริมสร้างบารมีด้วยการ บำรุงและสนับสนุนพุทธศาสนา

33.       ข้อใดถูกต้องตามกฎหมายล้านนา    

(1) ลูกเจ้าลูกขุนทำผิดมีโทษหนักกว่าสามัญชน

(2)       ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าให้ต่ำกว่าสามัญชน

(3)       นายช้างต้องหลีกทางให้นายม้า

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 275295 กฎหมายล้านนาได้กำหนดสิทธิและวิธีคานอำนาจของลูกเจ้าลูกขุนไว้ดังนี้

1.         มีสิทธิหาผลประโยชน์จากนาขุมราขการหรือนาขุมการเมือง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น อย่างแท้จริง          2. ทรัพย์สินของลูกเจ้าลูกขุนถูกตีค่าหรือตีราคาสูงกว่าของสามัญชน

3.         เมื่อทำความผิดลูกเจ้าลูกขุนจะถูกลงโทษปรับหนักกว่าสามัญชน แม้จะเป็นความผิดชนิดเดียวกัน

4.         มีกฎหมายกำหนดให้ผู้น้อยต้องหลีกทางให้แก่ผู้ใหญ่กว่าตน เช่น ให้นายม้าหลีกให้นายช้าง ผู้มียศสูงกว่าตน ฯลฯ

34.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา

(1)       ทำให้รัฐได้ใช้แรงงานไพร่ได้เต็มที่        (2) ทำให้ไพร่ไม่ต้องเสียภาษี

(3) ทำให้ไพร่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว         (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 273283 ระบบไพร่ของสุโขทัยและล้านนา คือ การจัดไพร่ให้สังกัดมูลนายที่เป็น ลูกเจ้าลูกขุน โดยมูลนายจะต้องคอยดูแลให้ไพร่อยู่ในภูมิลำเนา คอยเกณฑ์ไพร่มาทำงาน ตามกำหนดเวลา ควบคุมให้ไพร่อยู่ในกฎหมาย และควบคุมเรื่องการเก็บภาษีอากรจากไพร่ ซึ่งระบบไพร่ที่มีการจัดการที่ดีถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้รัฐสามารถดึงประโยชน์ทั้งด้านแรงงาน และส่วยจากไพร่มาใช้ได้อย่างเต็มที่

35.       หลักฐานใดที่แสดงว่าสุโขทัยมีทาส

(1) มีหลักฐานเกี่ยวกับการหลบหนีของข้า      (2) มีหลักฐานเกี่ยวกับข้าพระอาราม

(3) มีการเลี้ยงดูเชลยศึกไว้ใช้งาน       (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 289 – 290 หลักฐานสุโขทัยได้กล่าวถึงทาสอยู่หลายแห่ง ได้แก่

1.         จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวถึงการกวาดต้อนเชลยศึก มาเลี้ยงมาขุน” โดยไม่ฆ่า และนำมาใช้งานเมื่อต้องการ

2.         จารึกหลักที่ 2 กล่าวถึงการซื้อคนปล่อยที่ตลาด

3.         จารึกหลักที่ 38 กล่าวถึงข้าหลบหนีนาย

4.         จารึกหลักที่ 15 กล่าวถึงการยกข้าและลูกสาวลูกชายให้เป็นข้าพระอาราม ฯลฯ

36.       เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึงสิ่งใด

(1) จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยอยุธยา        (2) จำนวนวันการเกณฑ์ไพร่สมในสมัยอยุธยา

(3) การเกณฑ์ไพร่หลวงในสมัยรัตนโกสินทร์   (4) การเกณฑ์ไพร่สมในสมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 340 คำว่า เข้าเดือน ออกเดือน” หมายถึง จำนวนวันการเกณฑ์แรงงานไพร่หลวง ในสมัยอยุธยา โดยไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 6 เดือน แต่อาจมาทำงาน 1 เดือน ออกไปอยู่บ้าน 1 เดือน สลับกันไปได้ และเวลามาทำงานต้องนำข้าวปลาอาหารมาเอง เพราะทางราชการจะไม่เลี้ยงดูอย่างใด แต่ถ้าไพร่หลวงไม่ต้องการมาใช้แรงงานจะส่งเงิน มาแทนก็ได้ เรียกว่า เงินค่าราชการ

37.       ข้อยมาเป็นข้า” สมัยล้านนา เทียบได้กับทาสชนิดใดในสมัยอยุธยา

(1) ทาสสินไถ่  (2) ทาสขัดดอก           (3) ทาสเชลย   (4) ทาสในเรือนเบี้ย

ตอบ 3 หน้า 290351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสของล้านนามี 5 ชนิด คือ

1.         ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา

2.         ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา

3.         มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา

4.         ฉิบหายด้วยความผิดจึงเข้าเป็นข้ ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา

5.         ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา

38.       ชนชั้นใดในสมัยสุโขทัยไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ

(1)ไพร่ (2)ขุนนางชั้นผู้น้อย      (3) ลูกเจ้าลูกขุน          (4) ถูกเฉพาะข้อ2และ3

ตอบ 4 หน้า 274 – 275278, (คำบรรยาย) สิทธิพิเศษของลูกเจ้าลูกขุนในสมัยสุโขทัย คือ ไม่ถูก เกณฑ์แรงงาน มีไพร่อยู่ในสังกัดได้ และไม่ต้องเสียภาษี เพราะในหลักฐานสุโขทัยกล่าวเฉพาะ แต่การที่ลูกเจ้าลูกขุนเป็นผู้เก็บภาษีจากไพร่เท่านั้น ส่วนข้าราชการระดับล่างหรือขุนนางชั้นผู้น้อย จะมีฐานะความเป็นอยู่ไม่ต่างจากไพร่มากมัก เพียงแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน และ ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ

39.       พบศพชายไทยนอนตายอยู่ริมแม่น้ำ พลิกศพดูพบว่าปรากฏชื่อมูลนายติดอยู่ที่ข้อมือ ถามว่าศพดังกล่าว น่าจะเป็นคนไทยสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) ล้านนา       (3) อยุธยา       (4) ต้นรัตนโกสินทร์

ตอบ 4 หน้า 392417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี และใช้ต่อมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยได้กำหนดให้ สักข้อมือไพร่ไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันมิให้ ไพร่หลวงสูญหาย หรือมิให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน

40.       การสักข้อมือไพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ

(1) เพื่อความงาม         (2) เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี

(3) เพื่อรู้ชื่อมูลนาย      (4) เพื่อรู้จักภูมิลำเนาไพร่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41.       ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของคนถวายตัวเป็นขุนนาง

(1) วุฒิ 4

(2) อธิบดี 4

(3) พรหมวิหาร 4

(4) คุณานุรูป

ตอบ 3 หน้า 316 คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยา มีอยู่ 9 ประการ ดังนี้

1.         วุฒิ 4 ประการ ได้แก่ ชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ และปัญญาวุฒิ

2.         อธิบดี 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาธิบดี วิริยาธิบดี จิตาธิบดี และวิมังสาธิบดี

3.         คุณานุรูป 1 ประการ หมายถึง เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะดี น่าไว้วางพระทัยแก่พระมหากษัตริย์ และน่าเคารพนับถือแก่ประชาชนทั่วไป

42.       การถวายตัวเป็นขุนนางในสมัยอยุธยาเมื่ออายุเท่าไร

(1)21ปี

(2)25ปี

(3) 31ปี

(4) 35ปี

อบ 3 หน้า 316, (ตูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ) คุณสมบัติของผู้ที่จะถวายตัวเป็นขุนนาง ในสมัยอยุธยาประการหนึ่ง คือ ต้อประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ ได้แก่

1.ชาติวุฒิ คือ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอัครมหาเสนาบดี

2.         วัยวุฒิ คือ มีอายุตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไป

3.         คุณวุฒิ คือ เป็นผู้มีความรู้ฝ่ายทหารและพลเรือนชำนิชำนาญ

4.         ปัญญาวุฒิ คือ มีสติปัญญาตดี รอบรู้ในกิจการบ้านเมือง และเรื่องนานาประเทศ

43.       ลักษณะการไหว้โดยการประนมมือให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว ผู้หญิงถอยเท้า ข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลง ประนมมือไหว้ ถามว่าเป็นการไหว้ผู้ใด

(1) ไหว้คนทั่วไป

(2) ไหว้คนเสมอกัน

(3) ไหว้ผู้อาวุโส

(4) ไหว้พระ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การไหว้บิดามารดาหรือผู้ที่มีพระคุณและผู้อาวุโสอันเป็นที่เคารพยิ่ง คือลักษณะการไหว้โดยการยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว ผู้ชายให้ค้อมตัวลง ประนมมือไหว้ ส่วนผู้หญิงถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง ย่อเข่าลง ประนมมือไหว้

44.       การทำความเคารพศพแบบไทย ข้อใดถูก

(1) กราบ 3 ครั้งแบมือ (2) กราบ 1 ครั้งแบมือ

(3) กราบ 1 ครั้งไม่แบมือ         (4) ถวายคำนับหรือถอนสายบัว

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การทำความเคารพศพแบบไทยที่ถูกต้อง ให้นั่งคุกเข่าราบทั้งชายและหญิงจากนั้นจุดธูป 1 ดอก (ถ้าเป็นศพพระจุด 3 ดอก) ประนมมือยกธูปขึ้นให้ปลายนิ้วชี้อยู่หว่างคิ้ว ตั้งจิตขอขมาต่อศพ แล้วปักธูปลงบนที่สำหรับปักธูป จากนั้นนั่งพับเพียบหมอบกราบแบบกระพุ่ม มือตั้ง 1 ครั้ง (ไม่แบมือ) พร้อมอธิษฐานให้ดวงวิญญาณศพไปสู่สุคติ แล้วลุกขึ้น ถ้าเป็นศพ ของผู้ที่มีอายุน้อยกว่าไม่ต้องกราบหรือไหว้ เมื่อปักธูปลงแล้วให้นิ่งสงบและอธิษฐานเท่านั้น

45.       ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้แก่เรื่องใด

(1) อย่านั่งชิดผู้ใหญ่    (2) ท่านสอนอย่าสอนตอบ

(3) ผู้ใหญ่ต้องควบคุมอารมณ์เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้น้อย    (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 294 ค่านิยมของสังคมสุโขทัยได้กำหนดหลักปฏิบัติระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อยไว้ คือ ผู้ใหญ่ซึ่งเป็นฝ่ายมีอำนาจ ถูกกำหนดให้มีความยุติธรรม เมตตากรุณา ให้รางวัลแก่ผู้น้อยที่มี ความดีความชอบ และรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองเวลาอยู่ต่อหน้าผู้น้อย ส่วนผู้น้อยถูกกำหนดให้มีความจงรักภักดี กตัญญกตเวที และเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ ดังคำสอนให้ อย่านั่งชิดผู้ใหญ่” และ ทำนสอนอย่าสอนตอบ” เป็นต้น

46.       พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายเกี่ยวกับเจ้านายอย่างไร

(1) ให้เจ้านายทุกองค์มีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง         (2) ให้เจ้านายได้ควบคุมอำนาจบริหารมากกว่าขุนนาง

(3) พยายามควบคุมจำนวนเจ้านายไว้ด้วย      (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 305313322 – 323 พระมหากษัตริย์อยุธยามีนโยบายคานอำนาจเจ้านาย ดังนี้

1.         ควบคุมจำนวนเจ้านาย โดยกำหนดผู้มีสิทธิเป็นเจ้านายมีได้เพียง 3 ชั่วอายุคน คือ ในชั่วลูก หลาน และเหลนเท่านั้น

2.         ลดความสูงศักดิ์ของเจ้านายลงทุกชั่วคน จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเจ้านายมีความสูงศักดิ์กว่าขุนนาง

3.         ไม่ให้เจ้านายได้ควบคุมการบริหารกรมกองสำคัญในส่วนกลาง และไม่ให้เป็นเจ้าเมือง ในส่วนภูมิภาค แต่ให้ขุนนางมีอำนาจหน้าที่นี้แทน

4.         ควบคุมจำนวนไพร่สมของเจ้านาย ฯลฯ

47.       เหตุใดเจ้านายในสมัยอยุธยาจึงได้ ทรงกรม

(1) เพื่อให้เจ้านายได้เป็นเสนาบดี       (2) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่หลวง

(3) เพื่อให้เจ้านายได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง        (4) เพื่อให้เจ้านายเป็นเจ้าเมือง

ตอบ 3 หน้า 308 การทรงกรมของเจ้านายในสมัยอยุธยา คือ การปกครองบังคับบัญชากรม ซึ่งเริ่มเกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรฯ เป็นต้นมา เพื่อเป็นสิ่งทดแทนการที่เจ้านายเคยได้ครองเมือง ในอดีต และเพื่อไม่ให้เจ้านายหมดอำนาจไปเสียทีเดียว พระมหากษัตริย์จึงทรงให้เจ้านาย ได้บังคับบัญชากรมและได้ปกครองไพร่สมจำนวนหนึ่ง แต่จะมีจำนวนมากน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับศักดินาของเจ้านาย

48.       ไพร่ในสมัยอยุธยาทำสิ่งใดไม่ได้

(1) ยกมรดกให้ลูกหลาน         (2) เดินทางย้ายถิ่นอย่างเสรี

(3) เข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 345350, (คำบรรยาย) สิทธิของไพร่ในสมัยอยุธยามีอยู่หลายประการ เช่น ไพร่มีสิทธิ ในที่ดินที่ได้หักร้างถางพงไว้ และมีสิทธิเข้าหาผลประโยชน์จากที่ดินนั้น รวมถึงมีสิทธิที่จะขาย หรือยกเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานได้ ฯลฯ แต่เมื่อไพร่ต้องอยู่ในระบบไพร่ ทำให้สิทธิบางอย่าง ของไพร่ถูกลิดรอนไป เช่น ไพร่ถูกควบคุมเรื่องการเคลื่อนไหว จึงไม่สามารถเดินทางย้ายถิ่น อย่างเสรี และต้องมาให้แรงงานตามกำหนด ฯลฯ

49.       พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงมีนโยบายเกี่ยวกับไพร่สมอย่างไร

(1) เกณฑ์แรงงานไพร่สมมาใช้ทางราชการมากกว่าไพร่หลวง (2) พยายามลดจำนวนไพร่สม

(3) พยายามเพิ่มจำนวนไพร่สม           (4) ไม่ให้ไพร่สมย้ายไปเป็นไพร่หลวง

ตอบ 2 หน้า 339 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงพยายามลดจำนวนไพร่สม เพื่อลิดรอนอำนาจของเจ้านาย ซึ่งเป็นมูลนายของไพร่สมส่วนใหญ่ และเพิ่มจำนวนไพร่หลวงเพื่อความมั่นคงของพระมหากษัตริย์ จึงมีการออกกฎหมายห้ามจดทะเบียนลูกหลานของไพร่หลวงเป็นไพร่สม แต่ไพร่สมสามารถ ย้ายไปเป็นไพร่หลวงได้เสมอ

50.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบทาสในสมัยอยุธยา

(1) นายเงินเพิ่มค่าตัวทาสไม่ได้           (2) นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาสได้

(3) นายเงินใช้ทาสเข้าคุกแทนตัวเองไม่ได้       (4) ไม่มีข้าพระอาราม

ตอบ 1 หน้า 352 – 354356 ระบบทาสในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้

1.         ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง 2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้

3.         ใช้ทาสไปรบแทนตนได้            4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป

5.         ขายทาสต่อไปได้ แต่เพิ่มค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะ ไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้    6. ในกรณีที่เป็นข้าพระอารามหรือทาสวัดให้อยู่ใต้การดูแลของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นมูลนายที่แท้จริง ฯลฯ

51.       การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร

(1) ใช้กำหนดบทลงโทษบุคคล

(2) ใช้กำหนดยศให้กับบุคคล

(3) ใช้กำหนดที่ดินที่จะให้บุคคลถือครอง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 309359 – 360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคมและกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่าง ๆ ดังนี้   1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่าง ๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม

2.         เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พล ในสังกัด     4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง

52.       ข้อใดที่ศักดินาของบุคคลมีการเปลี่ยนแปลง

(1)       เมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศ

(2) เมื่อบุคคลนั้นได้ทรงกรม

(3) เมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษลดยศ ลดตำแหน่ง

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 309358, (คำบรรยาย) การกำหนดให้บุคคลมีศักดินากันคนละเท่าใดนั้นจะกำหนดจากยศ ตำแหน่ง และความรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ ดังนั้นศักดินาของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือได้ทรงกรม และศักดินาจะมีการเปลี่ยนแปลง ลดต่ำลงเมื่อบุคคลนั้นถูกลงโทษโดยลดยศลดตำแหน่ง

53.       ในระบบศักดินาของไทย ใครคือผู้ที่มีศักดินาสูงสุดในแผ่นดิน          

(1) พระเจ้าแผ่นดิน

(2)       สมเด็จพระสังฆราช

(3) กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

(4) สมเด็จเจ้าพระยา

ตอบ 3 หน้า 309357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์ จะได้รับพระราชทานศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่งโดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่

54.       ยศสูงสุดของขุนนางคือ สมเด็จเจ้าพระยา” ถามว่าในประวัติศาสตร์ไทยมีกี่องค์

(1) 2 องค์        (2) 3 องค์        (3) 4 องค์        (4) 5 องค์

ตอบ 3 หน้า 319405, (คำบรรยาย) ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนาง ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยา ในประวัติศาสตร์ไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 4 องค์ คือ

1.         สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง) หรือรัชกาลที่ 1 ในเวลาต่อมา

2.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงค์ (ดิส บุนนาค)

3.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)

4.         สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

55.       ข้อใดถูกต้องในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

(1) ขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์           (2) ขุนนางตระกูลบุนนาคหมดบทบาทไป

(3)       ขุนนางไม่ได้ประโยชน์จากเจ้าภาษีเลย          (4) ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางหนีไปเป็นไพร่สมกันมาก

ตอบ 1 หน้า 400 – 404 ปัจจัยที่ทำให้ขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ได้แก่

1.         ขุนนางมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์

2.         ไพร่หลวงในสังกัดขุนนางที่หลบหนีไปเป็นไพร่สมมีจำนวนลดลง ทำให้ขุนนางมีความมั่นคงมากขึ้น

3.         คณะเสนาบดีซึ่งสวนใหญ่เป็นขุนนางได้เลือกสรรพระมหากษัตริย์

4.         ขุนนางจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากระบบเจ้าภาษีนายอากร

5.         ขุนนางตระถูลบุนนาคมีอำนาจโดดเด่นที่สุดตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 ฯลฯ

56.       ไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสิทธิเข้ารับราชการครั้งแรกในรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 1  (2) รัชกาลที่ 2  (3) รัชกาลที่ 3  (4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 1 หน้า 408, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การถวายตัว

เป็นฃุนนาง โดยไม่มีข้อขีดคั่นในเรื่องชาติวุฒิเหมือนสมัยอยุธยา ทำให้ไพร่หรือสามัญชนมีสิทธิ เข้ารับราชการเป็นครั้งแรก แต่โอกาสที่ไพร่จะเข้าสู่ระบบขุนนางก็ยังยากอยู่ เพราะลูกหลานขุนนาง มักจะได้เป็นขุนนางต่อมานั่นเอง

57.       การเปิดประเทศมีผลต่อไพร่อย่างไร

(1) ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานมากขึ้น         (2) ไพร่เสียเงินค่าราชการมากขึ้น

(3) ไพร่ปลูกข้าวมากขึ้น           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 416424 ภายหลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากระบบผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง มาเป็นระบบผลิตเพื่อส่งออก ทำให้ความสำคัญของไพร่ในฐานะแรงงาน และผู้ส่งส่วยลดลงไปมาก แตไพร่จะมีบทบาทสำคัญยิ่งในด้านการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร เพื่อส่งออก โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย

58.       ปัญหาการเมืองที่เกิดจากชาวจีนในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ได้แก่เรื่องใด

(1) ชาวจีนมักแข็งข้อต่อขุนนางไทย     (2) ชาวจีนต่อต้านชาวตะวันตก

(3) ชาวจีนนิยมไปเป็นคนในบังคับตะวันตก    (4) ชาวจีนต่อต้านระบบเจ้าภาษีนายอากร

ตอบ 3 หน้า 439 ในสมัยพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ชาวจีนได้ก่อปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลไทย โดยการตั้งสมาคมลับของชาวจีนหรืออั้งยี่ขึ้นมาหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิดกฎหมายไทย แตพวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้ เพราะคนจีนจำนวนมาก นิยมไปจดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อ มีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียนไว้ และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่านั้น

59.       การเลิกทาสในเมืองไทยไม่มีการนองเลือดเหมือนอย่างในสหรัฐอเมริกา เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินนโยบาย เลิกทาสอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ใช้เวลากว่า.. ปี จึงเลิกทาสได้สำเร็จ

(1)10   (2)15   (3)20   (4)30

ตอบ 4 หน้า 432 – 435516 รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการเลิกทาสด้วยความระมัดระวังยิ่ง เพราะ เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะสังคมอันสำคัญที่มีการยึดถือกันมานับตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพระองค์ ได้ใช้นโยบายทางสายกลางค่อย ๆ ดำเนินการเลิกทาสไปทีละขั้น รวมเวลาที่ใช้ทั้งหมดกว่า 30 ปี จึงทรงสามารถเลิกทาสได้สำเร็จโดยไม่มีการนองเลือดเหมือนการเลิกทาสในประเทศสหรัฐอเมริกา

60.       คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะเด่นของคนไทย ถามว่าข้อใดเป็นลักษณะด้อยที่สุดของคนไทย

(1) จิตใจโอบอ้อมอารี  (2) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่        (3) อ่อนน้อมถ่อมตน    (4) มีระเบียบวินัย

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ลักษณะนิสัยเด่นที่เป็นจุดด้อยที่สุดของคนไทย คือ ความมีระเบียบวินัย ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ซึ่งทำให้มีลักษณะยืดหยุ่น ไม่ยึดอะไร เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ดังนั้นคนไทยจึงมีระเบียบวินัยค่อนข้างน้อย และชอบทำอะไรตามใจตัวเอง ดังคำพังเพยที่ว่า ทำอะไรตามใจคือไทยแท้

61.       ระบบเศรษฐกิจของไทยมีวิวัฒนาการอย่างไร

(1) หมู่บ้านตลาดเงินตราทุนนิยม

(2) หมู่บ้านตลาดเงินตราพอเพียง

(3) พอเพียงตลาดการค้ายังชีพ

(4) พอเพียงหมู่บ้านยังชีพตลาด

ตอบ 1 หน้า 469 – 471558 พื้นฐานระบบเศรษฐกิจไทยมีวิวัฒนาการ ดังนี้

1.         เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจแบบหมู่บ้านในสมัยสุโขทัย ซึ่งผลิตเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยน

2.         เศรษฐกิจแบบตลาดในสมัยอยุธยา ซึ่งผูกพันกับการแสวงหาตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ 3. เศรษฐกิจแบบเงินตรา ซึ่งเริ่มปรากฏชัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐเก็บส่วยจากไพร่ในรูปแบบเงินตรา   4. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ซึ่งเป็นระบบการผลิตเพื่อการส่งออกในปัจจุบัน

62.       พื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยเริ่มต้นจากลักษณะเศรษฐกิจแบบใด

(1) เศรษฐกิจแบบหมู่บ้าน

(2) เศรษฐกิจแบบตลาด

(3) เศรษฐกิจเงินตรา

(4) เศรษฐกิจการค้า

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัย

(1) เพาะปลูกได้ผลดี

(2) อุดมสมบูรณ์มากแต่ขาดแคลนเกษตรกร

(3) มีข้อจำกัดเรื่องผลผลิต

(4) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 3 หน้า 474 การเกษตรกรรมใบสมัยสุโขทัยจะมีข้อจำกัดในเรื่องผลผลิต โดยเฉพาะผลิตผลที่สำคัญที่สุด คือ ข้าวนั้นคงจะกระทำกันได้ในปริมาณที่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น เพราะเนื้อที่การเพาะปลูกมีจำกัด กำลังคนก็มีจำกัด และงานชลประทานก็ทำในปริมาณจำกัดเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้ในบางครั้งบางคราวเกิดขาดแคลนข้าวขึ้นในสุโขทัย จนต้องสั่งซื้อข้าวมาจากอยุธยา

64.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสภาพการค้าของสุโขทัย

(1) มีเสรีภาพทางการค้า          (2) การค้าไม่ค่อยรุ่งเรือง

(3) เป็นรัฐผู้นำด้านการค้าในภูมิภาคแหลมทอง          (4) ข้อ 1 และ 3 ถูก

ตอบ 1 หน้า 480 – 481 นโยบายส่งเสริมด้านการค้าและเศรษฐกิจของผู้ปกครองสมัยสุโขทัย มีดังนี้

1.         ส่งเสริมให้มีการค้าอย่างเสรี    2. ไม่เก็บ จกอบ” หมายถึง ภาษีผ่านด่านที่เก็บจากผู้นำสินค้า สัตว์ หรือสิ่งของไปขายในที่ต่าง ๆ         3. ให้ทุนรอนแก่ผู้ไม่มีทุนรอน

4.         ส่งเสริมทักษะพิเศษ โดยการนำช่างทำเครื่องปั้นดินเผาชาวจีนเข้ามาเผยแพร่ความรู้ ให้แก่ชาวไทย  5. สร้างถนนสายสำคัญขึ้น คือ ถนนพระร่วง

65.       แหล่งรายได้ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยมาจากอะไร

(1) ภาษีข้าว     (2) ส่วย           (3) ฤชา            (4) อากร

ตอบ 1 หน้า 479. 481 – 483 แหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญที่สุดของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา ที่เรียกว่า เครื่องสังคโลก” ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญ และเป็นกิจการที่ใหญ่โตรุ่งเรืองมาก คงจะทำรายได้ให้รัฐมากทีเดียว ส่วนแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งจะมาจากการเก็บภาษีข้าว โดยให้เก็บภาษีข้าว 1 ส่วน จากผลผลิตข้าว 10 ส่วน ซึ่งแม้จะไมมากนักแต่ก็เป็นรายได้ส่วนหนึ่ง

66.       สินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัยคือข้อใด

(1) ของป่า       (2) เครื่องดินเผา          (3) ข้าว            (4) กระทง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

67.       ข้อใดอธิบายลักษณะของเศรษฐกิจแบบการตลาดของประเทศไทยได้ถูกต้องที่สุด

(1)       ผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน         (2) ผลิตเพื่อการค้าขาย

(3) ผูกพันกับการค้าทั้งภายในและภายนอก   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

68.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา

(1)       มีแหล่งเพาะปลูกมากกว่าสุโขทัย        (2) พม่าเป็นแรงงานสำคัญ

(3) ข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ          (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 488510 -511 พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาเป็นการเกษตรกรรมเช่นเดียวกับสุโขทัย แต้มีข้อแตกต่างดังนี้

1.         อยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกข้าว

2.         อยุธยามีแหล่งเพาะปลูกที่กว้างขวางกว่า โดยเฉพาะบริเวณตอนลางของแม่นํ้าเจ้าพระยา จะใช้พื้นที่ทำนามากที่สุด

3.         อยุธยามีปัจจัยการผลิตที่เข้มแข็งเนื่องจากระบบไพร่ ทำให้มีผลผลิตจำนวนมาก

4.         รัฐบาลสมัยอยุธยามีนโยบายสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ฯลฯ

69.       ปัจจัยใดส่งผลต่อการทำการเกษตรกรรมสมัยอยุธยา

(1) สภาพภูมิศาสตร์    (2) สภาพภูมิอากาศ    (3) ระบบไพร่   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

70.       ข้อใดอธิบายลักษณะของเศรษฐกิจแบบเงินตราได้ถูกต้อง

(1) การแสวงหาตลาด (2) ผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน

(3) รัฐเรียกเก็บส่วยในรูปแบบเงินตรา            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

71.       แหล่งรายได้ที่สำคัญของอยุธยานอกเหนือจากการเกษตรคือ

(1) การค้าภายใน

(2) การค้าภายนอก

(3) การเก็บค่านา

(4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 2 หน้า 500503510 แหล่งรายได้ที่สำคัญของอยุธยานอกเหนือจากการเกษตร คือ ผลกำไร จากการค้าภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการค้าสำเภา คือ การนำสินค้าบรรทุกสำเภาแล่นไปยัง ประเทศที่ทำการค้าด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศทางตะวันออกโดยเฉพาะจีน จึงนับเป็น ผลประโยชน์แผ่นดินที่ได้รับมากที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งรายได้ประเภทอื่น ๆ

72.       ปัจจัยที่ทำให้การค้าของอยุธยาเจริญรุ่งเรือง

(1) อยุธยาตั้งอยู่ติดทะเล

(2) มีสินค้าที่หลากหลาย

(3) มีสินค้าจากอเมริกาจำหน่าย

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 497510, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้การค้าภายในของอยุธยาเจริญรุ่งเรือง มีดังนี้

1.         ที่ตั้งของอยุธยาเป็นเกาะมีแม่นํ้าล้อมรอบ ทำให้การคมนาคมสะดวก อยุธยาจึงเป็นศูนย์กลาง การค้าภายในที่ดีมาก และเป็น ปากนํ้าและประตูบ้านของเมืองเหนือทั้งปวง

2.         มีสินค้าที่หลากหลาย ซึ่งนอกจากจะมีสินค้าปัจจัยสี่ครบถ้วนแล้ว ยังมีสินค้าที่ใช้ประกอบ กิจการอื่น ๆ อีกมากมาย

73.       สภาพทางเศรษฐกิจสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นเช่นไร

(1) เหมือนอยุธยาทุกประการ

(2) การขยายตัวของเศรษฐกิจเงินตรา

(3) การมีเสรีทางการค้า

(4) ทุนนิยม

ตอบ 2 หน้า 557 – 558 สภาพเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะคล้ายกับสมัยอยุธยา แต่ก็มีลักษณะ หลายอย่างก่อรูปขึ้นเป็นความเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดการขยายตัว ของเศรษฐกิจเงินตราและเศรษฐกิจแบบตลาด การค้ากับต่างประเทศทั้งกับตะวันออกและ ตะวันตกขยายตัวกว้างทั้งปริมาณและสินค้าที่หลากหลาย และการเกษตรกรรมเริ่มเปลี่ยนเป็น ผลิตเพื่อส่งออก เป็นต้น

74.       การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสยามเป็นผลมาจากอะไร

(1) สนธิสัญญาบาวริ่ง   (2) สนธิสัญญาครอฟอร์ด

(3) สนธิสัญญาแวร์ซายส์        (4) สนธิสัญญาเบอร์นี่

ตอบ 1 หน้า 470547 – 548558 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยเกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 ซึ่งมีผลดังนี้

1.         ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแทนนํ้าตาล

2.         สามารถยกเลิกระบบพระคลังสินค้า และการค้าแบบผูกขาดที่ดำเนินมาทั้งแต่สมัยอยุธยา (ยกเว้นการค้าฝิ่น)

3.         ไทยเปิดการค้าอย่างเสรี ไม่มีสินค้าต้องห้ามเหมือนแต่ก่อน (ยกเว้นอาวุธยุทธภัณฑ์ ปืน และกระสุนดินดำต้องขายให้รัฐบาล) ฯลฯ

75.       ผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริ่งคือข้อใด

(1) ข้าวกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ          (2) อ้อยและนํ้าตาลกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญ

(3) ยกเลิกการผูกขาดการค้าฝิ่น         (4) อนุญาตให้ซื้อขายสินค้าต้องห้ามได้อย่างเสรี

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76.       สนธิสัญญาบาวริ่งยกเลิกการผูกขาดสินค้า ยกเว้นสินค้าประเภทใด

(1) ข้าว            (2) อาวุธ          (3) ชา  (4) ฝิ่น

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77.       การทำสนธิสัญญาบาวริ่งของสยามแสดงให้เห็นภาวะอะไรที่สำคัญ

(1) ระบบเศรษฐกิจไทยผูกพันกับเศรษฐกิจโลก          (2) การพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจ

(3) ทุนนิยมข้ามชาติ    (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 547 – 549558, (คำบรรยาย) การทำสนธิสัญญาบาวริ่งของไทยแสดงให้เห็นภาวะสำคัญดังนี้

1.         การพ่ายแพ้ทางเศรษฐกิจแก่มหาอำนาจ ทำให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากการผลิต เพื่อเลี้ยงตนเอง มาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก

2.         การเกิดระบบทุนนิยมตะวันตก หรือทุนนิยมข้ามชาติ

3.         ระบบเศรษฐกิจไทยต้องผูกพันกับเศรษฐกิจโลกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

78.       ใครคือผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในระบบการผลิตเพื่อการค้าของสยาม

(1) นายทุนขุนศึก         (2) นายทุนจีน  (3) นายทุนข้ามชาติ     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 537 – 538558, (คำบรรยาย) ภายหลังสนธิสัญญาบาวริ่งเมื่อ พ.ศ. 2398 ระบบการผลิต เพื่อการค้าของไทยได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ นายทุนจีน ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจไทยมากนับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นต้นมา เช่น การได้เป็นเจ้าภาษีและนายอากร เป็นผู้ควบคุมการค้าภายใน และยังเป็นพ่อค้าทุกระดับ ในระบบเศรษฐกิจไทย

79.       การเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดเป็นผลมาจากการขยายตัวของระบบการผลิตเพื่อการค้า

(1) ว่าจ้างแรงงานเพื่อนบ้าน    (2) การยกเลิกระบบไพร่

(3) การเลิกทาส           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 419424429 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทย โดยมีการขยายตัวของระบบการผลิต เพื่อการค้า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนี้ 1. รัฐต้องการเพิมผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวที่เป็นสินค้าออก จึงมีการยกเลิกระบบไพร่และทาส เพื่อเป็นแรงงานเสรีที่จะ ทำการผลิตได้เต็มเวลา 2. รัฐบาลว่าจ้างแรงงานกรรมกรจีน เป็นแรงงานชดเชยแทนแรงงาน จากไพร่และทาส เพื่อใช้ทำงานโครงการใหญ่ๆ

80.       ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์คือ

(1) อิทธิพลตะวันตก    (2) การริเริ่มของชนชั้นนำสยาม

(3) ระบบการปกครอง (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ 1. ระบบการปกครอง          2. ภาวะสงครามหมดสิ้นไป

3.         ภัยคุกคามจากตะวันตก          4. อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก

5.         การริเริ่มของชนชั้นนำสยาม เช่น การปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 ที่เน้นขยายการศึกษาให้ทั่วถึง

81.       พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมครั้งพุทธกาลเรียกว่าแบบใด

(1) เถรวาท

(2) อาจาริยวาท

(3) มหายาน

(4) วัชรยาน

ตอบ 1 หน้า 574 – 576, (คำบรรยาย) พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมเมื่อครั้งพุทธกาล เรียกว่า พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แต่ต่อมาได้เกิดการแตกแยกขึ้นในสังฆมณฑลในอินเดิย ทำให้คณะสงฆ์แตกออกเป็น 2 คณะ (2 นิกาย) ได้แก่

1.         เถรวาท ซึ่งยึดถึอตามพระธรรมวินัยที่พระอริยสาวกได้ทำสังคายนาไว้แต่ดั้งเดิม โดยภิกษุคณะนี้จะถูกเรียกชื่อว่า หินยาน

2.         อาจาริยวาท ซึ่งยึดถือตามพระธรรมวินัยที่มีการแก้ไข โดยภิกษุคณะนี้มีชื่อว่า มหายาน

82.       พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิในสมัยใด

(1) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

(2) กุบไลข่าน

(3) พระเจ้าอโศกมหาราช

(4) พระเจ้าอชาตศัตรู

ตอบ 3 หน้า 574 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงมีพระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ จึงโปรดให้จัดภิกษุออกเป็น 9 คณะ โดยมีคณะที่สำคัญอยู่ 2 คณะ ได้แก่ 1. คณะที่หนึ่ง มีพระมหินทรเถระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้า นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานที่ลังกา 2. คณะที่สอง มีพระโสณะเถระกับพระอุตตระเถระ เป็นหัวหน้านำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิเมื่อประมาณ พ.ศ. 300

83.       หัวหน้าพระภิกษุที่มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อ พ.ศ. 300 ชื่ออะไร

(1)       พระโมคคัลลีบุตร

(2) พระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ

(3) พระมหินทรเถระ

(4) พระติสสะเถระ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84.       คนไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งแรกได้รับพระพุทธศาสนาแบบใด

(1) เถรวาท      (2)       มหายาน          (3)       อาจาริยวาท     (4) มหานิกาย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 82.       ประกอบ

85.       การสังคายนาพระธรรมวินัยพุทธศาสนาแบบเถรวาทครั้งที่ 7 ซึ่งทำที่ลังกา จารึกด้วยภาษาใด

(1) มคธ           (2)       สันสกฤต         (3)       บาลี     (4) ขอม

ตอบ 3 หน้า 581 – 582 พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราชกษัตริย์แห่งลังกา ทรงมีพระประสงค์ให้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ จึงทรงอาราธนา พระมหากัสสปะเถระให้เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 7 ของการทำสังคายนาทั้งหมดที่ผ่านมา โดยให้ใช้ภาษาบาลีในการจารึกพระไตรปิฎก

86.       พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกานำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์มาเผยแผ่ที่ใดก่อน

(1) ไชยา สุราษฎร์ธานี (2)       นครศรีธรรมราช (3)     สงขลา (4) อยุธยา

ตอบ 2 หน้า 582 พระสงฆ์ไทยที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา ได้นำพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ มาเผยแผ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน จนกระทั่ง พ.ศ. 1800 เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ ทรงเกิดความเลื่อมใสในพระสงฆ์เหล่านี้ จึงทรงอาราธนาให้พระสงฆ์ นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์มาเผยแผ่และประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย

87.       ข้อความในข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์ในคณะเหนือสมัยสุโขทัย

(1) มักอยู่วัดในเมือง    (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า    (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย

ตอบ 1 หน้า 582 – 583 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนาในสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะ ได้แก่

1.         คณะเหนือ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ซึ่งเป็นคณะเดิมที่นับถือกันอยู่ โดยจะใช้ภาษาสันสกฤต และพระสงฆ์มักอยู่วัดในเมือง

2.         คณะใต้ คือ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นรากฐานของมหานิกายในปัจจุบัน โดยพระสงฆ์จะใช้ภาษาบาลี และมักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา จึงทำให้ผู้คนเลื่อมใสใน พระจริยวัตรมากกว่า

88.       ข้อความในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระสงฆ์คณะใต้สมัยสุโขทัย

(1) มักอยู่วัดในเมือง    (2) มักถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) ผู้คนเลื่อมใสในจริยวัตรมากกว่า    (4) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหานิกาย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

89.       พระขะพุงผีที่กล่าวถึงในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง หมายถึงอะไร

(1) ผีบรรพบุรุษ            (2) พระที่ถือสันโดษอยู่ตามป่าเขา

(3) วิญญาณกษัตริย์ต้นราชวงศ์          (4) เทพยดาที่เป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองสุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 583589 แม้คนสุโขทัยจะรับพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ความเชื่อเรื่องการนับถือผีสางเทวดาก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะการนับถือ พระขะพุงผี” ซึ่งเป็นเทพยดาประจำชาติ ที่เป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองสุโขทัย ดังข้อความในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า พระขะพุงผี เทพยดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้…

90.       ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ของกษัตริย์พระองค์ใด

(1)       พระบรมไตรโลกนาถ   (2) พระมหาธรรมราชาลิไทย

(3) พ่อขุนรามคำแหง   (4) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

91.       ข้อความใดแสดงถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของคนไทยในสมัยอยุธยา

(1) การสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด

(2) พิธีกรรมต่าง ๆ มีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ

(3) การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 589 – 592, (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงถึงความเจริญและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ของคนไทยในสมัยอยุธยา จะสังเกตได้จากการที่พระมหกษัตริย์และประชาชนทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาด้วยการสร้างวัดและปฏิสังขรณ์วัด รวมทั้งรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญทำทาน การตักบาตร การบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่าง ๆ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีพิธีสงฆ์เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น

92.       เจดีย์สององค์ที่หน้าโบสถ์ของวัดอนุสาวรีย์ สร้างไว้เพื่อจุดประสงค์ใด

(1)       บรรจุอัฐิธาตุของบิดาและมารดาของผู้สร้างวัด

(2)       บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

(3) บรรจุอัฐิธาตุของคนในสกุล

(4) แทนองค์พระพุทธเจ้าซึ่งสำคัญที่สุด จึงตั้งอยู่หน้าโบสถ์

ตอบ 1 หน้า 592 ในสมัยอยุธยาที่มีวัดอยู่มากมายนั้น เป็นเพราะใครตั้งวงค์สกุลได้มั่นคง ก็มักจะสร้างวัดไว้ เป็นอนุสาวรีย์สำหรับบรรจุอัฐิธาตุของคนในวงค์สกุลนั้น ๆ โดยจะสร้างเจดีย์สององค์ไว้ที่หน้าโบสถ์ หรือพระอุโบสถ องค์หนึ่งสำหรับบรรจุอัฐิธาตุของบิดา อีกองค์หนึ่งบรรจุอัฐิธาตุของมารดา ส่วนบรรดาคนในวงศ์สกุลก็จะสร้างเป็นพระเจดีย์เรียงรายไว้รอบ ๆ พระอุโบสถ

93.       พระสงฆ์ทยที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่ลังกา กลับมาตั้งนิกายใหม่แบบลังกาในอยุธยาเรียกว่านิกายอะไร

(1) คณะอรัญญวาสี

(2) คณะคามวาสี

(3)       คณะมหานิกาย

(4) วันรัตนวงษ์ (คณะป่าแก้ว)

ตอบ 4 หน้า 592 – 593 ในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช ได้มีพระสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปศึกษา พระธรรมวินัยที่ลังกาอยู่หลายปี จึงกลับมายังกรุงศรีอยุธยา และได้แยกย้ายกันไปตั้งนิกายใหม่ แบบลังกา คือ นิกายวันรัตนวงษ์ (คณะป่าแก้ว) ทำให้ในสมัยนี้พระสงฆ์นกรุงศรีอยุธยาจึงแบ่งออก เป็น 3 คณะ คือ 1. คณะคามวาสี 2. คณะอรัญญวาสี 3. คณะป่าแก้ว (วันรัตนวงษ์)

94.       ข้อความใดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา

(1)       วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ

(2)       เป็นธรรมเนียมที่ลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา

(3)       วัดเบรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษา

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 590, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ระหว่างวัดในพระพุทธศาสนากับคนไทยสมัยอยุธยา มีดังนี้  1. วัดเป็นที่ที่ผู้คนมีโอกาสพบปะกันในวันทำบุญและเทศกาลต่าง ๆ

2.         วัดเป็นที่ระงับคดีวิวาทของชาวบ้าน    3. วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางสงฆ์ โดยเฉพาะประเพณีการบวชเรียน ซึ่งในสมัยอยุธยาถือเป็นธรรมเนียมว่าลูกผู้ชายต้องบวชเรียน 1 พรรษา

4.         วัดเปรียบเสมือนโรงเรียนให้การศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวิชาอาชีพอื่น ๆ แก่กุลบุตร

95.       กษัตริย์องค์ใดในสมัยอยุธยาที่ออกผนวชในขณะครองราชย์

(1) พระนครินทราธิราช            (2) พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

(3) พระบรมไตรโลกนาถ         (4) พระเจ้าทรงธรรม

ตอบ 3 หน้า 593 – 594 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาดังนี้

1.         ทรงอุทิศที่พระราชวังเดิมถวายสร้างเป็นวัด ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า วัดพระศรีสรรเพชญ

2.         ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 ที่ออกผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์

3.         ทรงเปลี่ยนแปลงแบบอย่างการสร้างพุทธเจดีย์ให้เป็นแบบศิลปกรรมสุโขทัย เช่น การสร้างพระสถูปเจดีย์ทรงระฆังตามแบบลังกา ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย ฯลฯ

96.       พระบรมไตรโลกนาถอุทิศพระราชวังเดิม ถวายสร้างเป็นวัดชื่อวัดอะไร

(1) วัดพระศรีสรรเพชญ           (2) วัดพระศรีมหาธาตุ

(3) วัดราชบูรณะ         (4) วัดกษัตราธิราช

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       การเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปกรรมทางศาสนาตามแบบศิลปะสุโขทัย เช่น เปลี่ยนแบบพุทธเจดีย์เป็นทรงระฆัง เกิดขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ใด

(1) พระบรมราชาธิราช            (2) พระบรมไตรโลกนาถ

(3) พระนารายณ์มหาราช        (4) พระเจ้าปราสาททอง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

98.       ประเพณีการบวชของคนไทยเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) อู่ทอง         (3) อยุธยา       (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 3 หน้า 587591594 – 596 ในสมัยอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไดัมีความเคลื่อนไหวทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญดังนี้   1. การประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิสยามวงค์ในลังกา 2. การปฏิสังขรณ์วัด 3. การเกิดประเพณีการบวชของคนไทยทั่วไป (การบวชเรียนนี้แม้ว่าจะเคยมีขึ้นในสมัยสุโขทัยมาก่อน แต่ก็ยังไม่แพร่หลายจนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญเหมือนกับสมัยอยุธยา)

99.       วรรณคดีทางพุทธศาสนาเรื่องใดที่แต่งในสมัยอยุธยา แต่จบในสมัยรัตนโกสินทร์

(1) พระมาลัยคำหลวง (2) มหาชาติคำหลวง   (3) เทศน์มหาชาติ        (4) สมุทรโฆษคำฉันท์

ตอบ 4 (คำบรรยาย) สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่เริ่มแต่งตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่แต่งไม่จบ เพิ่งมาจบในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อเรื่องเป็นเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นนิยายเล่าสืบต่อกันมา ดังนั้นฉันท์เรื่องนี้ จึงนับเป็นเรื่องแรกที่นำมาบรรยายชาดก

100.    พระไตรปิฎกที่ทำการสังคายนาในสมัยรัชกาลที่ 1 เรียกว่าอะไร

(1) พระไตรปิฎกฉบับใบลาน  (2) พระไตรปิฎกฉบับทอง

(3) พระไตรปิฎกฉบับรดนํ้าแดง          (4) พระไตรปิฎกฉบับ 3 คัมภีร์

ตอบ 2 หน้า 596 – 599 พระราชกรณียกิจทางด้านศาสนาของรัชกาลที่ 1 ได้แก่

1.         จัดระเบียบคณะสงฆ์ตามแบบครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย

2.         ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 พ.ศ. 2331 เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง

ซึ่งถือเป็นกิจทางศาสนาที่สำคัญยิ่ง

3.         ทรงเป็นผู้ตรากฎหมายพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก

4.         ทรงสร้างพระอารามหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และวัดสุทัศน์เทพวราราม

101.    หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิที่มีอายุเก่าที่สุดเท่าที่พบเป็นงานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะสมัยใดของอินเดีย

(1) อมราวดี

(2) คุปตะ

(3) หลังคุปตะ

(4) ปาละ-เสนะ

ตอบ 1 หน้า 684,686, (คำบรรยาย) ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นในช่วงแรกสุดของไทย โดยงานศิลปกรรมทวารวดีส่วนใหญ่จะแสดงถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ ได้แก่ งานศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพล ศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ต่อมาก็มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะ-หลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 – 13) และศิลปะปาละ-เสนะ (พุทธศตวรรษที่ 14 – 17) ตามลำดับ

102.    พระพุทธรูปแบบทวารวดีตอนปลาย มีลักษณะอิทธิพลของศิลปะใดเข้ามาปน

(1) ศิลปะอินเดียแบบปัลลวะ

(2) ศิลปะลังกา

(3) ศิลปะขอมในประเทศไทย

(4) ศิลปะชวา

ตอบ 3 หน้า 686 – 687698 พระพุทธรูปสมัยทวารวดีส่วนใหญ่สลักจากศิลา ที่หล่อด้วยสำริด ก็มีอยู่บ้างแต่มักมีขนาดเล็ก ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 แบบ ได้แก่

1.         แบบแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดี และแบบคุปตะ-หลังคุปตะอย่างชัดเจน

2.         แบบที่สอง มีลักษณะเป็นพื้นเมืองหรือเป็นลักษณะเฉพาะของทวารวดี

3.         แบบที่สาม เป็นพระพุทธรูปทวารวดีตอนปลาย มีอิทธิพลของศิลปะขอมสมัยบาปวน หรือศิลปะลพบุรีตอนต้น (ซึ่งเรียกว่า ศิลปะขอมในประเทศไทย) เข้ามาปะปน

103.    ศิลปะทวารวดีเป็นงานช่างที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด

(1) พุทธศาสนาเถรวาท

(2) พุทธศาสนามหายาน

(3) พุทธศาสนาวัชรยาน

(4) ศาสนาพราหมณ์

ตอบ 1 หน้า 685 ศิลปะสมัยทวารวดีจะสะท้อนการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนามหายาบ และศาสนาฮินดู แต่ศิลปะที่พบมักเป็นงานช่างที่แสดงพุทธศิลป์นิกายเถรวาท (หินยาน) มากที่สุด โดยหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท คือ จารึกคาถา เย ธัมมา” และจารึกอื่น ๆ ที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้เฉพาะพุทธศาสนาเถรวาท รวมทั้งงานประติมากรรมอื่นในพุทธศาสนาเถรวาท ที่พบอยู่ทั่วไป

104.    ธรรมจักรและกวางหมอบที่พบในศิลปะทวารวดี สร้างขึ้นในความหมายใด

(1)       พระพุทธองค์ทรงประทานปฐมเทศนา ณ อิสิปตนมฤคทายวัน

(2)       พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

(3)       พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้โปรดเวไนยสัตว์

(4)       พระพุทธองค์ทรงแสดงสัจธรรมถึงวัฏสงสารเหมือนการหมุนของวงล้อ

ตอบ 1 หน้า 689 ศิลาสลักรูปธรรมจักรในศิลปะทวารวดี คงมีความหมายถึงพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เนื่องจากมักพบพร้อมกับกวางหมอบ อันหมายถึง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ทั้งนี้การที่แสดงภาพเป็นธรรมจักรก็เนื่องด้วยพระสูตรที่ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร หรือพระสูตรแห่งการหมุนธรรมจักรนั่นเอง

105.    เทวรูปรุ่นเก่าส่วนใหญ่พบในภูมิภาคใดของประเทศไทย

(1) ภาคตะวันออกและภาคกลาง        (2) ภาคตะวันออกและภาคใต้

(3) ภาคใต้และภาคกลาง        (4) ภาคตะวันตกและภาคใต้

ตอบ 2 หน้า 683691, (คำบรรยาย) ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า หรือวัตถุรุ่นเก่า (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา โดยเทวรูป รุ่นเก่าส่วนใหญ่มักพบในภาคใต้ของไทยแถบเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี และทางภาคตะวันออก แถบดงศรีมหาโพธ จ.ปราจีนบุรี นอกจากนี้ที่เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ก็พบด้วยเช่นกัน

106.    เทวรูปพระนารายณ์ สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาใด

(1) พราหมณ์สมัยโบราณ        (2) ฮินดู ไศวนิกาย

(3) ฮินดู ไวษณพนิกาย            (4) พุทธหินยาน

ตอบ 3 หน้า 691 – 692 เทวรูปพระนารายณ์ ซึ่งเป็นศิลปะแบบเทวรูปรุ่นเก่า มักสร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่) เช่น เทวรูปพระนารายณ์ 4 กร ศิลา (2 กรหลังหักหายไป) พบที่เขาศรีวิชัย อ.พุมพิน จ.สุราษฎร์ธานี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 13

107.    ศิลปะศรีวิชัย ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาใด

(1) พราหมณ์สมัยโบราณ        (2) พุทธศาสนามหายาน

(3) พุทธศาสนาหินยาน           (4) ฮินดู

ตอบ 2 หน้า 694 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 – 18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยโบราณวัตถุ ไม่ว่าจะสลักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสำริดจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับของที่พบในเกาะชวาภาคกลาง เป็นอย่างมาก

108.    พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์ที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงปลายของศิลปะศรีวิชัย มีส่วนของทรงระฆังป้อมเตี้ย ซึ่งเป็นลักษณะที่แสดงถึงการรับอิทธิพลของศิลปะใด

(1) ศิลปะจาม  (2) ศิลปะชวา

(3) ศิลปะอินเดียภาคตะวันตก            (4) ศิลปะลังกา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ในสมัยศิลปะศรีวิชัยตอนปลาย พุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ได้เผยแผ่เข้ามา เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 18 แทนที่พุทธศาสนามหายาน ดังจะเห็นได้จากพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีส่วนบนของเจดีย์เป็นทรงระฆังป้อมเตี้ย มีบัลลังก์ สี่เหลี่ยมต่อยอดแหลม อันเป็นลักษณะที่แสดงถึงการรับอิทธิพลของศิลปะลังกา

109.    ตามคติทางศาสนา ส่วนที่เป็นเรือนธาตุของเจดีย์ สร้างขึ้นด้วยจุดประสงศ์อะไร

(1)       เป็นที่เคารพเทพเจ้าและบรรพบุรุษซึ่งเก็บเถ้ากระดูกไว้ที่นี่

(2)       เป็นสังเวชนียสถาน    (3) แทนองค์พระพุทธเจ้า

(4)       แทนเทพเจ้าสูงสุดในศาสนา

ตอบ 2 หน้า 709, (คำบรรยาย) ตามคติทางศาสนาพุทธ ส่วนกลางของเจดีย์จะเรียกว่า เรือนธาตุ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือใช้สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า เถ้ากระดูกหรืออัฐิธาตุของพระสงฆ์สาวก ตลอดจนใช้เป็นสังเวชนียสถานหรือ เครื่องหมายแห่งสถานที่อันศักดิสิทธิ์ในพุทธศาสนาเช่น ที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และปรินิพพาน

110.    ศิลปะล้านนาในระยะแรกได้รับอิทธิพลจากศิลปะใดเป็นพื้นฐาน

(1) หริภุญไชย (2) พุกามในพม่า         (3) สุโขทัย       (4) ลังกา

ตอบ 1 หน้า 715 ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสนในระยะแรกนั้น จะได้รับอิทธิพลจากศิลปะหริภุญไชย เป็นพื้นฐาน และมีการพัฒนาลักษณะรูปแบบโดยมีอิทธิพลของศิลปะพม่าสมัยพุกามเข้ามาเกี่ยวข้อง

111.    ประติมากรรมศิลปะลพบุรีหรือศิลปะขอมในประเทศไทย สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาอะไร

(1) ศาสนาฮินดูไศวนิกาย และไวษณพนิกาย

(2) ศาสนาพุทธหินยาน และมหายาน

(3)       ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธหินยาน

(4) ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน

ตอบ 4 หน้า 698 – 699 ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18)มักพบในท้องที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดย โบราณวัตถุในศิลปะขอมในประเทศไทยนิยมสลักจากศิลาหรือหล่อด้วยสำริด และมักสร้างขึ้น ตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธมหายานและศาสนาฮินดู

112.    พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่ แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะใด

(1) พุกาม

(2) หริภุญไชย

(3) สุโขทัย

(4) ลพบุรี

ตอบ 3 หน้า 712716 พระพุทธรูปเชียงแสนสายที่สอง จะแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย จึงนิยมเรียกว่า แบบเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่” ซึ่งจะมีพุทธลักษณะที่ต่างไป จากแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง แต่จะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่สมัยสุโขทัย คือ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเพรียว พระรัศมีรูปเปลวไฟ ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี (สะดือ)

113.    พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีลักษณะเด่นที่ต่างจากเชียงแสนสิงห์สองในข้อใด

(1) พระพักตร์กลม พระองค์อวบ

(2) สังฆาฏิปลายเป็นแฉกเขี้ยวตะขาบอยู่เหนือพระถัน

(3) พระพักตร์รูปไข่ มีไรพระศก

(4) สังฆาฏิปลายตัดอยู่เหนือพระถัน

ตอบ 1 หน้า 716, (ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ) พระพุทธรูปเชียงแสนสายแรก หรือเรียกว่า “ แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ” จะได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียในยุคปาละชัดเจน โดยผ่านมา ทางพุกาม มีพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระวรกายอวบอ้วน พระรัศมี เป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกกลม ขมวดพระเกศาใหญ่ ไม่มีไรพระศก ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน (เต้านม) เช่น พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ พบที่วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

114.    ศิลปะแบบใดที่นิยมสร้างพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง

(1) ศิลปะศรีวิชัย         (2) ศิลปะลพบุรี           (3) ศิลปะอู่ทอง           (4) ศิลปะอยุธยา

ตอบ 2 หน้า 700 – 701, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสมัยศิลปะลพบุรีที่นิยมมากเป็นพิเศษ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ต่อมาในสมัยหลังประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มักนิยมสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกแบบทรงเครื่อง มีสีพระพักตร์ค่อนข้างถมึงทึง ซึ่งแสดง ให้เห็นว่าเป็นศิลปะลพบุรีอย่างแท้จริง ไม่ใช่ศิลปะขอม

115.    พระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นพระพุทธรูปในศิลปะแบบใด

(1) ศิลปะลังกา           (2) ศิลปะล้านนา         (3) ศิลปะสุโขทัย         (4) ศิลปะล้านช้าง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จัดเป็นพระพุทธรูป ในศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์สองหรือเชียงใหม่ ซึ่งสร้างด้วยแก้วหรือหินสีเขียวมรกตเนื้อเดียว ทั้งองค์ โดยตามตำนานกล่าวว่าได้ค้นพบพระแก้วมรกตในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงรายเมื่อราว พ.ศ. 1979 และต่อมาได้ตกไปอยู่เมืองลำปาง เชียงใหม่ และประเทศลาว จนกระทั่งรัชกาลที่ 1 เสด็จยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้เมื่อ พ.ศ. 2321 จึงอัญเชิญกลับมายังประเทศไทย

116.    พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก จัดเป็นพระพุทธรูปในศิลปะแบบใด

(1) ศิลปะสุโขทัย         (2) ศิลปะลพบุรี           (3) ศิลปะอู่ทอง           (4) ศิลปะอยุธยา

ตอบ 1 หน้า 712, (คำบรรยาย) พระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยหมวดพระพุทธชินราช เกิดขึ้นในสมัย พญาลิไทยย้ายเมืองหลวงจากสุโขทัยมายังพิษณุโลก เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 20 จึงจัดเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างพิษณุโลกโดยมีลักษณะทั่วไปคล้ายแบบหมวดใหญ่ แต่ต่างกันคือ มีพระพักตร์และพระวรกายอวบอ้วนกว่า มีนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกับทุกนิ้ว ซึ่งสะท้อนถึง คติลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ เช่น พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

117.    รูปแบบเจดีย์ในข้อใดที่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์สุโขทัย

(1) ทรงยอดพุ่มข้าวบิณฑ์        (2) ทรงระฆัง   (3) ทรงปราสาทยอด   (4) ทรงแปดเหลี่ยม

ตอบ 1 หน้า 710, (คำบรรยาย) เจดีย์ประธานในสมัยสุโขทัยมีรูปแบบเฉพาะอยู่ 3 แบบ คือ

1.         เจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆัง หรือทรงปราสาทห้ายอด

2.         เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม หรือทรงยอดพุ่มข้าวบิณท์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย

3.         เจดีย์ทรงระฆัง หรือทรงกลมแบบลังกา

118.    พระพุทธรูอู่ทองรุ่น 1 มีลักษณะเด่นที่พระพักตร์เหลี่ยม พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม มีไรพระศก พระขนงต่อกัน เป็นปีกกา และสังฆาฏิใหญ่ปลายตัด แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะใด

(1) ทวารวดี      (2) สุโขทัย

(3) ลพบุรี         (4) ทวารวดีและลพบุรี

ตอบ 4 หน้า 719 – 720 พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 1 แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะทวารวดีที่มีศิลปะขอม (ลพบุรี) เข้ามาผสม มีลักษณะเด่นคือ มีสังฆาฏิใหญ่ปลายตัด และพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ตามแบบทวารวดี แต่มีพระพักตร์เหลี่ยม มีไรพระศก และพระขนงต่อกันเป็นปีกกาตามแบบขอม มักพบมากในเขตเมืองสรรคบุรี จ.ขัยนาท มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18

119.    พระพุทธรูปยืนในศิลปะสุโขทัย นิยมสร้างปางอะไร

(1) ปางมารวิชัย           (2) ปางประทานอภัย

(3) ปางลีลา     (4) ปางเปิดโลก

ตอบ 3 หน้า 712 พระพุทธรูปยืนในศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ลอยตัวที่มีความงดงามไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน และถือได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย ซึ่งน่าจะมีที่มาจากภาพพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

120.    พระพุทธรูปคันธารราฐในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเด่นชัดในข้อใด

(1) ส่วนสัดสมจริงคล้ายคนสามัญ      (2) เลียนแบบต้นแบบเดิมในศิลปะลังกา

(3) รักษาลักษณะมหาบุรุษในศิลปะอินเดีย    (4) ผสมผสานศิลปะแบบไทยกับตะวันตก

ตอบ 1 หน้า 732, (คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระพุทธรูปที่สร้างกลับมามีพระเกตุมาลาเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้นิยมสร้างพระพุทธรูปแนวสมจริง ตามแบบตะวันตก และมีส่วนสัดที่สมจริงคล้ายคนธรรมดาสามัญมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จาก พระพุทธรูปยืนปางคันธารราฐ (ปางขอฝน) ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5

Advertisement