การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1003 อารยธรรมโลก

Advertisement

คำสั่ง   ข้อความดังต่อไปนี้ เป็นคำอธิบายอารยธรรมโบราณอารยธรรมใด หากคิดว่าคือ

อารยธรรมอียิปต์ ตอบ 1 เมโสโปเตเมีย ตอบ 2 กรีก ตอบ 3 โรมัน ตอบ 4

1.         เป็นวัฒนธรรมที่ถือกำเนิดในลุ่มแม่นํ้าไนล์

ตอบ 1 หน้า 7,13, (คำบรรยาย) อารยธรรมอียิปต์โบราณ เป็นวัฒนธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำไนล์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ โดยเฮโรโดตัส (Herodotus) นักประวัตศาสตร์ ชาวกรีกได้กล่าวว่า อียิปต์เป็นของขวัญของแม่นํ้าไนล์” (Egypt is the gift of the Nile) ทั้งนี้ เพราะอียิปต์ได้รับความชุ่มชื้นจากแม่นํ้าไนล์ จึงทำให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม และมีความมั่งคั่งจนสามารถสร้างสรรค์อารยธรรมหรือความเจริญ ต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้

2.         จักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิ ทรงพระนามว่า ออกัสตัส ซีซาร์ (ออคเตเวียน)

ตอบ 4 หน้า 55 การปกครองแบบสาธารณรัฐโรมันสิ้นสุดลงเพราะถูกออคเตเวียนยึดอำนาจ หลังจากนั้น ออคเตเวียนจึงได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงพระนามว่า ออกัสตัส ซีซาร์ (Augustus Caesar) โดยทรงมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการสูงสุด และทรงเรียก พระองค์เองว่า ปรินเซปส์” หรือประชาชนคนที่หนึ่งของรัฐ สมัยนี้จึงได้ชื่อว่า ปรินซิเปท” หรือยุคต้นของจักรวรรดิโรมัน

3.         พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great) ทรงเข้ายึดครองกรุงบานิโลนในปี 568 ก่อนคริสตกาล

ตอบ 2 หน้า 21, (คำบรรยาย) หลังจากที่พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great) ทรงสถาปนาจักรวรรดิเปอร์เซียขึ้นในดินแดนเปอร์เซียบริเวณทางตะวันออกของเมโสโปเตเมียแล้ว พระองค์ ได้ทรงดำเนินการขยายอาณาจักรออกไปยังบริเวณเอเชียไมเนอร์หรือเอเชียน้อยและซีเรีย แล้วเข้ายึดกรุงบานิโลนในปี 568 ก่อนคริสตกาล และได้ขยายอำนาจมาทางด้านตะวันออก จนถึงอินเดียบริเวณลุ่มแม่นํ้าสินธุได้สำเร็จ

4.         นักโบราณคดีชาวเยอรมันนามว่า Heinrich Schliemann ขุดค้นพบซากเมืองทรอยใน ค.ศ. 1870

ตอบ 3 หน้า 27 เมืองทรอยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งนับเป็นนครเก่าแก่ของกรีกที่ได้รับอารยธรรมจากครีต โดยในปี ค.ศ. 1870 ไฮน์ริช ชลีมานน์ (Heinrich Schliemann) นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ได้ขุดพบซากเมืองทรอยซึ่งสร้างซ้อนทับถมกันอยู่ถึง 9 เมือง นอกจากนี้ยังขุดพบซากปรักหักพังและเครื่องทองที่มีค่า จึงมีการสันนิษฐานกันว่าครั้งหนึ่ง เมืองทรอยเคยเป็นศูนย์กลางการค้าที่มั่งคั่งใบริเวณทะเลเอเจียนด้วย

5.         จักรพรรดิคอนสแตนตินประกาศ Edict of Milan ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวคริสต์

ตอบ 4 หน้า 59205, (คำบรรยาย) ในปี ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) นับเป็น จักรพรรดิโรมันองค์แรกที่หันมานับถือศาสนาคริสต์ โดยทรงประกาศกฤษฎีกาแห่งเมืองมิลาน (Edict of Milan) เพื่ออนุญาตให้เผยแผ่คริสต์ศาสนาในจักรวรรดิโรมันได้อย่างเสรี โดยให้ เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนาคริสต์ และออกกฎหมายห้ามขู่บังคับหรือปราบปราม พวกคริสเตียนอีกต่อไป

6.         เป็นวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดอักษรลิ่ม (Cuneiform)

ตอบ 2 หน้า 17, (คำบรรยาย) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทาง อารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเข้ามาอยู่ในเขตซูเมอร์เมื่อประมาณ 4,000 B.C. ซึ่งความเจริญของชนชาติสุเมเรียนมีหลายด้านดังนี้

1.         เป็นกลุ่มชนที่ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่มขึ้นเมื่อ ประมาณ 3,500 B.C. โดยใช้ต้นอ้อแห้งหรือเหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียวแล้วนำ ไปตากแดดให้แห้ง

2.         มีการสร้างสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ด้วยอิฐ ที่เด่นคือ ซิกกูแรต (Ziggurat) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้าง เพื่อศาสนาที่มีลักษณะคล้ายกับพีระมิด สร้างบนฐานที่ยกสูงจากระดับพื้นดิน ข้างบนทำเป็น วิหารของเทพเจ้า โดยมีบันไดทอดยาวขึ้นไป ฯลฯ

7.         พระเจ้าฮัมมูราบีได้ตราประมวลกฎหมาย ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

ตอบ 2 หน้า 17-18 หลังจากที่พระเจ้าฮัมมูราบี กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอะมอไรท์จัดตั้งจักรวรรดิ บาบิโลเนียขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมียแล้ว พระองค์ได้โปรดให้ตราประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi) ขึ้น ซึ่งจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม และมีลักษณะเป็นกฎหมายที่ใช้ หลักการลงโทษแบบสนองตอบ (Lex Talionis) หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน ตามแบบกฎหมาย ของสุเมเรียน นอกจากนี้ยังเป็นประมวลกฎหมายที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางสังคมของ เมโสโปเตเมียว่าประกอบไปด้วย 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นต่ำ

8.         ผู้คนมีความเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้วจะต้องไปพิสูจน์ความดีของตนต่อหน้าเทพเจ้าโอซิริส

ตอบ 1 หน้า 11, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 17) ชาวอียิปต์โบราณเป็นชนกลุ่มแรกที่มีความเชื่อ ในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง โดยเชื่อว่าโลกหน้าจะเป็นโลกที่ อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อตายไปแล้วผู้ตายจะต้องพิสูจน์ความดีของตนก่อนไปอยู่โลกหน้า ดังนั้น ผู้ตายมักจะเขียนเรื่องราวแสดงความบริสุทธิ์และความดีของตนลงในหนังสือที่เรียกว่า บันทึกของผู้วายชนม์” (Book of the Dead) เพื่อนำไปแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริส ถ้าเขียนอยู่ บนกำแพงพีระมิดเรียกว่า พีระมิดเท็กซ์” ส่วนที่เขียนไว้ตามฝาหีบศพเรียกว่าคอฟฟินเท็กซ์

9.         สถาปัตยกรรมที่เมืองกีซาถือเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

ตอบ 1 หน้า 11 – 12, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 19 – 20) ชาวอียิปต์โบราณได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสร้างถาวรวัตถุผู้ยิ่งใหญของโลกโบราณ ซึ่งผลงานเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม ที่ควรกล่าวถึง ได้แก่

1.         พีระมิดยักษ์ที่เมืองกีซา ซึ่งสร้างถวายฟาโรห์คูฟู (Khufu) หรือคีออปส์ (Cheops) ถือว่า เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณ โดยใช้เวลาสร้างนานถึง 20 ปี

2.         วิหารที่คาร์นัคและลุคซอร์ ซึ่งแสลงให้เห็นถึงอำนาจของฟาโรห์และความยิ่งใหญ่ของชาติ

10.       ผู้คนทำกระดาษจากต้นปาปิรุส

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ชาวอียิปต์โบราณได้คิดค้นวิธีทำกระดาษจากต้นกกปาปิรุส โดยการนำเอาต้นกกปาปิรุสมาผ่าออกเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วนำมาวางบนแผ่นหินเรียบและใช้ไม้ตะลุมพื่ทุบ เพีอให้น้ำที่มีลักษณะเหนียวคล้ายกาวไหลออกมา จากนั้นก็ทำให้กระดาษแต่ละแผ่นติดกันยาว โดยใช้แป้งเปียกทา จนเกิดเป็นม้วนกระดาษที่เรียกว่า ปาปิรุส ลอง

11.       ผู้คนสร้างศาสนสถานด้วยอิฐ เรียกว่า ซิกกูแรต

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

12.       เพลโตได้แสดงแนวคิดทางการเมืองของเขาไว้ในหนังสือเรื่อง สาธารณรัฐ

ตอบ 3 หน้า 37 เพลโต (Plato) เป็นนักปรัชญาของกรีกที่ณเน้นถึงความสำคัญของผู้ปกครองไว้ในหนังสือ สาธารณรัฐ” (Republic) ว่า ผู้ปกครองที่ดีที่สุดจะต้องเป็นกษัตริย์นักปราชญ์ (Philosopher King) นั่นคือ ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและฉลาดปราดเปรื่อง เพราะเขาเชื่อว่า ความดีคือความรู้ (Virtue is knowledge)

13.       พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง และปลดปล่อยเอเชียไมเนอร์จากการปกครองของเปอร์เซีย

ตอบ 3 หน้า 42, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 46) หลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระราชโอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของกรีกในปี 336 B.C. แล้ว พระองค์ได้ทรงดำเนินการขยายดินแดนอาณาเขตต่อจากพระราชบิดาออกไป อย่างกว้างขวาง โดยทำการรบเพื่อปลดปล่อยหัวเมืองต่าง ๆ ของกรีกบนเอเชียไมเนอร์ให้พ้น จากการปกครองของเปอร์เซีย จากนั้นทรงยกทัพผ่านซีเรีย ปาเลลไตน์ อียิปต์ เมโลโปเตเมีย แล้วเข้ายึดครองจักรวรรดิเปอร์เซีย และได้ขยายอำนาจมาจนถึงชายแดนของอินเดียบริเวณ ลุ่มแม่น้ำสินธุได้สำเร็จในปี 323 B.C.

14.       ผู้คนรับเทพเจ้าของกรีกมานับถือ เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเทพเจ้าให้เป็นชื่อเทพเจ้าของตนเอง

ตอบ หน้า 3658 ในสมัยสาธารณรัฐโรมันได้มีการรับเอาความเชื่อทางศาสนาในเรื่องเทพเจ้าของกรีกเข้ามา โดยชาวโรมันได้แปลงชื่อเทพเจ้าของกรีกมาเป็นเทพเจ้าของโรมัน เช่น เทพซีอุสหรือซุส (บิดาแห่งเทพเจ้า) มาเป็นเทพจูปีเตอร์ (Jupiter), เทพีดีมีเตอร์ (เทพีแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร) มาเป็นเทพีเซอโรส (Ceros), เทพีอะโฟรไดท์ (เทพีแห่งความรักและความงาม) มาเป็นเทพีวีนัส (Venus), เทพโพไซดอน (เทพเจ้าแห่งท้องทะเล) มาเป็นเทพเนปจูน (Neptune) เป็นต้น

15.       ค.ศ. 476 โอดอเซอร์ได้ถอดโรมิวลุส ออกุสตุลุส ออกจากตำแหน่ง

ตอบ 4 หน้า 61173 ใบปี ค.ศ. 476 (ต้นคริสต์ศตวรรพ 5) หลังจากที่โอดอเซอร์ หัวหน้าอนารยชน เยอรมันนิก (Germanic) หรือติวตอนิก (Teutonic) เข้ามาโจมตีกรุงโรมจนแตก และทำการ ถอดถอนโรมิวลุส ออกุสตุลุล จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันออกจากตำแหน่งแล้ว ได้ส่งผลทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกต้องล่มสลายลง ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดความเจริญ ของยุโรปยุคโบราณ และเป็นการเริ่มต้นยุโรปยุคกลางหรือยุคมืดนับตั้งแต่นั้น

16.       เป็นคนกลุ่มแรกที่รู้จักการใช้เหล็ก

ตอบ 2 หน้า 19, (คำบรรยาย) ฮิตไตท์ เป็นขนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพข้ามาตั้งจักรวรรดิฮิตไตท์ขึ้น ในดินแดนเอเชียไมเนอร์บริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมโสโปเตเมีย ทั้งนี้ชาวฮิตไตท์จะมีความสามารถในการรบ โดยมีการใช้รถเทียมม้าเข้าทำลายกองทหารเดินเท้าของศัตรู ดังนั้นจึง สามารถขยายดินแดนและเส้นทางการค้าได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ฮิตไตท์ยังเป็นพวกแรก ที่มีความสามารถในการถลุงเหล็กและรู้จักใช้เหล็กทำเครื่องมือเครื่องใช้ จนเป็นที่แพร่หลาย ในดินแดนเอเชียตะวันตกหรือตะวันออกใกล้

17.       กษัตริย์แห่งแคลเดียได้เข้าทำลายกรุงเยรูซาเล็ม และกวาดต้อนผู้คนไปอยู่ที่บาบิโลน เรียกเหตุการณ์นี้ว่า การคุมขังแห่งบาบิโลน

ตอบ 2 หน้า 20, (คำบรรยาย) กษัตริย์เดวิด (David) ผู้นำของฮิบรู (ยิว) ได้ทรงสถาปนาจัดตั้ง อาณาจักรฮิบรูขึ้นในดินแดนคานานหรือปาเลสไตน์บริเวณทางตะวันตกของเมโสโปเตเมีย โดยมีนครหลวงอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและการเมือง และเจริญสูงสุด ในสมัยของกษัตริย์โซโลมอน ต่อมาพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์แห่งแคลเดียได้ส่งกองทัพเข้าทำลาย กรุงเยรูซาเล็ม แล้วทำการกวาดต้อนชาวฮิบรูไปอยู่ที่กรุงบาบิโลน ซึ่งเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า การคุมขังแห่งบาบิโลนหรือการคุมขังที่บาบิโลเนีย” (Babylonian Captivity)

18.       ราษฎรในสังคมแบ่งออกเป็นแพทริเซียนและพลีเบียน

ตอบ 4 หน้า 50 ราษฎรของโรมันในสมัยสาธารณรัฐแบ่งออกเป็น 2 ชนชั้น ได้แก่

1.         แพทริเชียน (Patrician) คือ ชนชั้นสูงหรือพวกขุนนางที่มังคั่ง เป็นเจ้าของที่ดิน และ เป็นพวกเดียวที่มีสิทธิทางการเมืองและการบริหารของรัฐ

2.         พลีเบียน (Plebian) ได้แก่ สามัญชน ชาวนา พ่อค้า ช่างฝีมือ ฯลฯ ซึ่งเป็นพวกที่ไม่มีสิทธิ ทางการเมือง มักถูกเอารัดเอาเปรียบ และต้องขึ้นอยู่กับพวกแพทริเชียน

19.       เทพเจ้าแห่งท้องทะเลทรงพระนามว่า โพไซดอน (Poseidon)

ตอบ 3 หน้า 36 ชาวกรีกนับถือเทพเจ้าหลายองค์ โดยมีความเชื่อในสิ่งลึกลับมหัศจรรย์ และเชื่อว่า เทพเจ้ามีรูปร่าง หน้าตา อารมณ์ และความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ ซึ่งเทพเจ้าที่สำคัญของกรีก เช่น ซีอุส (Zeus) เป็นบิดาแห่งเทพเจ้าและมวลมนุษย์ โดยจะสถิตอยู่ ณ ยอดเขาโอลิมปุส,เฮรา (Hera) เป็นมเหสีของซีอุสโพไซดอน (Poseidon) เป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลโดยมีท่อนล่างเป็นปลาดีมีเตอร์ (Demeter) เป็นเทพีแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหารอะโฟรไดท์(Aphrodite) เป็นเทพีแห่งความรักและความงาม เป็นต้น

20.       กฎหมายที่ตราขึ้นใช้เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ หรือประมวลกฎหมายจัสติเนียน ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ของชาติตะวันตกบางประเทศในปัจจุบัน

ตอบ 4 หน้า 5058224 – 225, (คำบรรยาย) กฎหมายถือว่าเป็นมรดกชิ้นสำคัญที่สุดที่โรมันได้ให้ ไว้แก่โลก โดยมีพัฒนาการเริ่มจากกฎหมายลักษณะแพ่งและกฎหมายมหาชนตามลำดับ จนกระทั่ง ในปี 499 B.C. พวกแพทริเชียนได้รวบรวมกฎหมายทั้งสองเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ” (Law of the Twelve Tables) หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความก้าวหน้าและทันสมัยเรื่อยมา จนถึงกฎหมายฉบับสุดท้ายของจักรพรรดิจัสติเนียน เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน” (The Justinian Code) ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกฎหมายแม่บทของชาติตะวันตก (ยุโรป) เกือบทุกประเทศในปัจจุบัน ยกเว้นอังกฤษ

21.       คำว่า อนารยชน” ในสมัยกลางตอนต้นหมายถึงอะไร

(1) คนล่าสัตว์ 

(2) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบคดีในศาล

(3) ลูกครึ่งโรมันกับคนต่างด้าว           

(4) คนต่างด้าวที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าโรมัน

ตอบ 4 หน้า 173 คำว่า อนารยชน” (Barbarians) ในสมัยกลางตอนต้นนั้น เป็นคำที่ชาวโรมันยืม มาจากภาษากรีก หมายถึง คนต่างด้าว (พวกเยอรมัน) ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าพวกโรมันและพูด ภาษาละตินไม่ได้ โดยมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณยุโรปเหนือแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทะเลเหนือ ทะเลบอลติก และกระจายลงมาบริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ

22.       ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เมโรวิงเจียนคือผู้ใด

(1) โคลวิส      

(2) เมโรวี        

(3) เปแปง      

(4) ชาร์ลส์ มาร์เตล

ตอบ 1 หน้า 177 – 178 ราชวงศ์เมโรวิงเจียน มีกษัตริย์ที่มีความสามารถมากคือ โคลวิส ซึงได้รวบรวมดินแดนต่างๆ เข้ามาอยู่ในอำนาจและก่อตั้งราชวงศ์เมโรวิงเจียนขึ้น โดยมีกรุงปารีส เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักร ซึ่งสิ่งที่ส่งเสริมพระราชอำนาจของโคลวิสก็คือ ทรงเป็นกษัตริย์ชาวแฟรงค์พระองค์แรกที่หันมานับถือศาสนาคริสต์ตามอย่างพระมเหสีคือ พระนางโคลทิลดา ในปี ค.ศ. 496 ทำให้พระองค์ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากพระสันตะปาปา พระบาทหลวง และคริสต์ศาสนิกชนในดินแดนยุโรป ทำให้อาณาจักรแฟรงค์ได้รับการยอมรับ มากขึ้น

23.       พระเจ้าชาร์เลอมาญมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปอย่างไร

(1)       ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์คาโรลิงเจียน

(2)       จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

(3)       ขุนนางที่โค่นล้มพระเจ้าโคลวิส

(4)       กษัตริย์ชาวแฟรงค์พระองค์แรกที่นับถือคริสต์ศาสนา

ตอบ 2 หน้า 178 ราชวงศ์คาโรลิงเจียน มีกษัตริย์เปแปงที่ 3 เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ แต่กษัตริย์ ที่มีความสามารถมากที่สุดคือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งในปี ค.ศ. 800 พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎจักรพรรดิจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 ที่วิหารเซนต์ปีเตอร์ และเข้าพิธีราชาภิเษกตาม ประเพณีดั้งเดิมของจักรวรรดิโรมันโบราณ ซึ่งเท่ากับเป็นการรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่อีกครั้งทางภาคตะวันตก แต่ในครั้งนี้จะเรียกว่า จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” (The Holy Roman Empire) ดังนั้นจึงถือว่าพระเจ้าชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ตามประวัติศาสตร์ยุโรป

24.       เพราะเหตุใดอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าชาร์เลอมาญจึงล่มสลายลง

(1)       การรุกรานของพวกเติร์ก         

(2) การขาดรัชทายาท

(3) การทำสนธิสัญญาแวร์ดัง 

(4) สันตะปาปาถอดถอนพระเจ้าชาร์เลอมาญ

ตอบ 3 หน้า 180 – 181 อาณาจักรแฟรงค์แห่งราชวงศ์คาโรลิงเจียนอันยิ่งใหญ่ล่มสลายลงภายหลังสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ เพราะมีการแบ่งดินแดนหลายครั้งให้ทายาทที่เป็นชาย ซึ่งการแบ่งดินแดนครั้งสำคัญคือ การทำสนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ศ. 843 ทำให้มีการแบ่งอาณาจักรแฟรงค์ ออกเป็น 3 ส่วน ตามจำนวนโอรสของพระเจ้าหลุยส์ผู้ใจบุญ ส่งผลให้ความเป็นเอกภาพของ อาณาจักรเสื่อมลงไป ตำแหน่งจักรพรรดิและกษัตริย์มีศักดิ์ศรีและอำนาจเท่าเทียมกัน เริ่มมีความเป็นเอกเทศของภูมิภาคต่าง ๆ และมีการแบ่งแผนที่ยุโรปเป็นดินแดนต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง

25.       ข้อใดคือภาระหน้าที่ของ ข้า” ในระบบฟิวดัล

(1) ช่วยเจ้ารบ 

(2) สงลูกสาวมาแต่งงานด้วย

(3) ช่วยดูแลทาสติดที่ดินให้    

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 188 ภาระหน้าที่ของข้าที่มีต่อเจ้าในระบบฟิวดัล มีดังนี้

1. เป็นทหารช่วยรบ (Knight’s Service) หมายถึง การจัดกองทัพมาสมทบกับกองทัพของเจ้าในยามสงคราม โดยข้าจะต้อง รับใช้เจ้าปีละไม่เกิน 40 วัน

2. ต้องให้ความช่วยเหลือทางการเงิน (Aids) ในยามที่เจ้าต้องการ เช่น จ่ายค่าไถ่ตัวเจ้าที่ถูกจับเป็นเชลย

3. ต้องจ่ายเงินให้แก่เจ้าเป็นค่ารับมรดกที่ดินหรือค่าเช่าที่ดิน (Relief)     

4. ต้องเป็นเจ้าภาพเลี้ยงต้อนรับเวลาเจ้าไปเยี่ยมเยียน

26.       ลัทธิวีรคติคือ แนวคิดที่เน้นคุณธรรมของชนชั้นใดในสังคมฟิวคัล

(1) ทาส          

(2) อัศวิน        

(3) สตรี           

(4) เด็กผู้ชาย

ตอบ 2 หน้า 192 – 193 ลัทธิวีรคติ (Chivalry) เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติและคุณธรรมของอัศวิน และขุนนางในสังคมฟิวดัลยุคกลาง ซึ่งจะเน้นถึงคุณธรรมของอัศวินหรือนักรบ ได้แก่ ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดีต่อเจ้า โดยจะเห็นได้จากมหากาพย์เรื่อง บทเพลงของโรลังก์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งได้กล่าวถึงคำพูดของพระเอกที่อยู่ในวงล้อม ของศัตรูว่า ตายเสียดีกว่าได้ชื่อว่าขี้ขลาด

27.       ตามคติในยุคกลาง สตรีมีสถานภาพเช่นไร   

(1) เป็นนักรบ

(2) เป็นนักปราชญ์     

(3) มีสถานะที่ต่ำมาก 

(4) ได้รับการเชิดชูจากบุรุษ

ตอบ 4 หน้า 193 ทัศนคติต่อผู้หญิงหรือสตรีในยุคกลางจะได้รับอิทธิพลจากลัทธิวีรคติและศาสนาคริสต์โดยตามหลักการของลัทธิวีรคติ สตรีจะมีสถานภาพที่ได้รับการยกย่องเชิดชูและให้เกียรติ จากบุรุษอย่างมาก เพราะได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของความรักแบบโรแมนติก ซึ่งเป็น ความคิดหลักของบทร้อยกรองที่ได้รับความนิยมมากในคริสต์ศตวรรษที่ 11

28.       ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการสิ้นสุดยุคกลาง       

(1) สงครามครูเสด

(2) การเกิดรัฐประชาชาติ       

(3) ความก้าวหน้าของวิทยาการ         

(4) การรุกรานของอนารยชน

ตอบ 4 หน้า 195 – 196 สาเหตุที่ทำให้ระบบฟิวดัลและระบบแมนเนอร์ในยุคกลางสิ้นสุดลงในคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีดังนี้

1. เกิดสงครามครูเสด เกิดการขยายตัวทางการค้า และเกิด เมืองใหม่

2. เกิดรัฐประชาชาติและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทำให้อำนาจของกษัตริย์ เข้มแข็งขึ้น แต่อำนาจของขุนนางท้องถิ่นกลับลดลง

3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการ เช่น การประดิษฐ์ปืนและกระสุนดินดำได้ส่งผลทำให้วิธีการรบเปลี่ยนไป ทำให้ลัทธิอัศวินและ ระบบวีรคติหมดความหมายไป

29.       กฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ค.ศ. 313 มีความสำคัญต่อชาวคริสต์เช่นไร

(1)       อนุญาตให้ชาวโรมันสามารถนับถือคริสต์ศาสนาได้

(2)       ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติของชาวโรมัน

(3)       ประกาศให้มีการปราบปรามชาวคริสต์อย่างเข้มงวด

(4)       ประกาศว่าพระเยซูเป็นศาสดาของโลกตะวันตก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

30.       เพราะเหตุใดยุคกลางจึงได้ชื่อว่า ยุคแห่งศรัทธา

(1)       ศาสนาครอบงำชีวิตผู้คน        

(2) ผู้คนละทิ้งความเชื่อทางศาสนา

(3) บาทหลวงเผยแผ่ศาสนาอย่างเข้มแข็ง     

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 206 – 207 ในยุคกลางตอนต้นและตอนกลาง วัดเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปะ วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและความนึกคิดของประาชน ดังนั้นศาสนาคริสต์ในยุคกลางจึงมีอิทธิพลครอบงำวิถีชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ส่งผลให้ยุคกลางได้ชื่อว่า ยุคแห่งศรัทธา” (Age of Faith) ทั้งนี้หากผู้ใดคัดค้านความเชื่อทางศาสนาหรือแสดงความคิดก้าวหน้าเกินยุคสมัยก็จะถูกลงโทษด้วยวิธีการรุนแรง

31.       ใครคือผู้กระตุ้นให้เกิดสงครามครูเสด

(1) มาร์ติน ลูเธอร์       

(2) ชาร์ลส์ มาร์เตล     

(3) อเล็กซิอุส คอมมินุส

(4) พระเจ้าฟิลิปที่ 4

ตอบ 3 หน้า 208 บุคคลสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดสงครามครูเสดระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิม ก็คือ จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอมมินุส แห่งจักรวรรดิบิแซนทีน ที่ได้ส่งสาส์นไปขอให้สันตะปาปา เออร์บันที่ 2 ส่งกำลังทหารมาช่วยปราบปรามพวกเซลจุก เติร์ก ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1095 สันตะปาปาเออร์บันที่ 2 จึงได้เรียกประชุมผู้แทนทางศาสนาคริสต์จากประเทศ ต่าง ๆ เพื่อร่วมตกลงกันไปทำสงครามเพื่อศาสนา จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเป็น สงครามครูเสดขึ้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1096 – 1270 รวมระยะเวลานานถึง 200 ปี

32.       ใครคือผู้ที่ทำให้เกิดการคุมขังแห่งบาบิโลนในปลายยุคกลาง

(1) มาร์ติน ลูเธอร์       

(2) ชาร์ลส์ มาร์เตล     

(3) อเล็กซิอุส คอมมินุส

(4) พระเจ้าฟิลิปที่ 4

ตอบ 4 หน้า 210, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 80) การคุมขังแห่งบาบิโลนหรือการคุมขัง อาวิญญองในปลายยุคกลาง เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับสันตะปาปาโบนิฟาซที่ 8 ซึ่งผลปรากฏว่าสันตะปาปาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จากนั้น สันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 5 ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสก็ไม่ยอมไปประทับที่สำนักวาติกันในกรุงโรม ตามธรรมเนียมปฏิบัติทางศาสนา แต่กลับไปประทับที่เมืองอาวิญญองในประเทศฝรั่งเศสแทน ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ส่งผลให้สันตะปาปาองค์ต่อ ๆ มาล้วนเป็นชาวฝรั่งเศสและประทับอยู่ที่เมืองนี้ สืบต่อกันมานานถึง 70 ปี นอกจากนี้ยังทำให้สันตะปาปาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ กษัตริย์ฝรั่งเศส จนส่งผลให้อำนาจของศาสนจักรและสันตะปาปาเสื่อมลงในที่สุด

33.       ความแตกแยกครั้งใหญ่ในปลายยุคกลางนั้นยุติลงได้เพราะเหตุการณ์ใด

(1) สงครามครูเสด      

(2) การปฏิรูปศาสนา

(3) การประชุมที่เมืองคอนสแตนซ์      

(4) การคุมขังแห่งบาบิโลนในปลายยุคกลาง

ตอบ 3 หน้า 210452 ความแตกแยกทางศาสนาครั้งยิ่งใหญ่ในปลายยุคกลาง เกิดขึ้นเพราะมีสันตะปาปา 2 องค์ในเวลาเดียวกัน คือ สันตะปาปาเออร์บันที่ 6 ชาวอิตาลี และสันตะปาปา คลีเมนต์ที่ 7 ชาวฝรั่งเศส จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1417 จึงได้มีการประชุมที่เมืองคอนสแตนซ์ (Council of Constance) เพื่อยุติปัญหานี้ ทั้งนี้ได้มีการเลือกสันตะปาปาองค์หม่ ได้แก่ สันตะปาปามาร์ตินที่ 5 โดยให้มาประทับที่กรุงวาติกัน ซึ่งนับว่าเป็นการสิ้นสุดความแตกแยก ครั้งใหญ่ที่กินเวลานานถึง 40 ปี

34.       การคุมขังแห่งบาบิโลนในปลายยุคกลางเกี่ยวข้องกับเรื่องใดโดยตรง

(1) ศาสนา      

(2) เงิน

(3) การสมรสของกษัตริย์       

(4) การแย่งชิงอำนาจในตะวันออกกลาง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

35.       ตำแหน่งสูงสุดของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกคือใคร

(1) บิชอป       

(2) กษัตริย์ฝรั่งเศส     

(3) สันตะปาปา          

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 205 ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ศาสนาคริสต์ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ

1.         นิกายโรมันคาทอลิก (ภาคตะวันตก) มีประมุขสูงสุดคือ สันตะปาปา (Pope) มีศูนย์กลาง อยู่ที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี

2.         นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (ภาคตะวันออก) มีประมุขสูงสุดคือ แพทริอาร์ค (Patriarch)มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใช้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันออก และรัสเซีย

36.       ใครคือผู้ก่อตั้งจักรวรรดิบิแซนทีน

(1) โรมิวลุส     

(2) จูเลียส ซีซาร์         

(3) คอนสแตนติน       

(4) ออคเตเวียน

ตอบ 3 หน้า 217 จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้ทรงก่อตั้งอาณาจักรนิแซนทีนหรืออาณาจักรโรมันตะวันออกขึ้นบนคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน)โดยมีเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) หรือเมืองโรมา โนวา (Roma Nova) ในอดีตเป็นเมืองหลวง ซึ่งเมืองนี้ ถือว่าเป็นศูนย์กลางที่ตะวันตก (กรีก) และตะวันออกมพบกัน ดังนั้นจึงได้รับสมญานามว่า เป็น โรมใหม่” (The New Rome) หรือโรมแห่งที่ 2 ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นคลังสินค้าของ วัฒนธรรมและศิลปวิทยาการต่างๆ ในยุคกลาง

37.       เพราะเหตุใดจักรวรรดิบิแซนทีนจึงล่มสลายลง

(1) การรุกรานของอัศวินเทมปลาร์      

(2) การรุกรานของกองทัพออตโตมาน

(3) การรุกรานของเจงกิสข่าน 

(4) จักรวรรดิสูญเสียเส้นทางออกทะเลดำ

ตอบ 2 หน้า 217229 ในปี ค.ศ. 1453 อาณาจักรบิแซนทีนได้ล่มสลายลง เพราะถูกกองทัพ

ออตโตมาน เติร์ก (Ottoman Turk) เข้ารุกราน หลังจากนั้นอารยธรรมบิแซนทีนจึงถูกถ่ายทอด ให้แก่รัสเซีย จนมีคำกล่าวว่าเมืองมอสโก (Moscow) ของรัสเซียคือ โรมแห่งที่ 3 (The Third Rome) ดังนั้นรัสเซียจึงได้กลายเป็นทายาททางวัฒนธรรมที่แท้จริงของอาณาจักรบิแซนทีน

38.       ศาสนาประจำจักรวรรดิบิแซนทีนคือศาสนาคริสต์นิกายใด

(1) คาทอลิก    (2) ลูเธอร์        (3) กรีกออร์ธอดอกซ์   (4) คาลวิน

ตอบ 3 หน้า 222 ศาสนาทางการหรือศาสนาประจำจักรวรรดิบิแซนทีนคือ ศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ ซึ่งผสมผสานระหว่างความเชื่อเดิมของโลกคลาสสิกกับคำสอนของศาสนาคริสต์ โดยมีแพทริอาร์ค (Patriarch) เป็นประมุขทางศาสนาที่เลือกมาจากพระและได้รับการแต่งตั้ง จากจักรพรรดิ

39.       คัมภีร์ในศาสนาอิสลามคือคัมภีร์ใด

(1) ไตรปิฎก    

(2) โกหร่าน     

(3) ไบเบิล       

(4) พระเวท

ตอบ 2 หน้า 238 – 239 หลังจากที่พระมะหะหมัดสิ้นพระชนม์ กาหลิบอาบู บากร์ ได้เป็นผู้นำสำคัญ ในการรวบรวมคำสอบมาเขียนเป็นคัมภีร์เรียกว่า คัมภีร์โกหร่าน” ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของ ศาสนาอิสลามที่เขียนด้วยภาษาอารบิกหรือภาษาอาหรับ และห้ามแปลเป็นภาษาอื่น ซึ่งเป็นผลดี ทางด้านวิทยาการ เพราะเป็นการกระตุ้นให้มีการเรียนรู้ ทำให้ชาวอาหรับที่พูดภาษาอารบิกในท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถอ่านคัมภีร์โกหร่านได้ และทำให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางภาษา

40.       ข้อใดไมใช่มรดกของวัฒนธรรมอิสลาม

(1) การแพทย์ 

(2) วิทยาศาสตร์         

(3) วรรณคดี   

(4) จุดทศนิยม

ตอบ 4 หนา 246 – 249 มรดกของวัฒนธรรมอิสลามมีหลายด้านดังนี้

1. ด้านการแพทย์ โดยแพทย์ มุสลิมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อัล ราซิ ซึ่งกล่าวถึงโรคต่าง ๆ และวิธีการรักษาโรคนั้น และอวีเซนนา หรืออิบน์ ชีนา ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Canon of Medicine”

2. ด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ได้มีการคำนวณระยะทางตามปีสุริยคติและการเกิดอุปราคา และเกิดความรู้ ทางด้านวิชาเลขคณิต พีชคณิต ตัวเลขอารบิก 9 ตัว (ตั้งแต่เลข 1 – 9) และเลขศูนย์ วิชาเรขาคณิต และวิชาตรีโกณขั้นพื้นฐาน

3. ด้านวรรณคดี โดยวรรณกรรมอาหรับที่มีชื่อเสียง ได้แก่ รุไบยาต และอาหรับราตรี

4. ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ที่เด่น ๆ ได้แก่ ทัชมาฮาล

41.       จุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) อยู่ที่ใด

(1) ฝรั่งเศส     

(2) เยอรมนี     

(3) อิตาลี        

(4) อังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 441443 เรอแนสซองส์ (Renaissance) หมายถึง การเกิดใหม่หรือการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมคลาสสิกหรืออารยธรรมกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ หรือเป็นสมัยที่เชื่อมต่อยุคกลาง เข้ากับยุคใหม่ โดยขบวนการเรอแนสซองส์เริ่มเกิดขึ้นที่ยุโรปในดินแดนอิตาลีเป็นแห่งแรก เนื่องจากอิตาลีเป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันออก อีกทั้งพวกพ่อค้าที่มั่งคั่ง ก็ใหัการอุปถัมภ์พวกศิลปินและนักเขียนที่สร้างงานศิลปะเป็นอย่างดี

42.       ใครคือผู้นำขบวนการปฏิรูปศาสนา

(1) มาร์ติน ลูเธอร์

(2) ชาร์ลส์ มาร์เตล     

(3) อเล็กซิอุส คอมมินุส          

(4) พระเจ้าพิลิปที่ 4

ตอบ 1 หน้า 452 – 455 การปฏิรูปศาสนาเริ่มเกิดขึ้นในดินแดนเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีมาร์ติน ลูเธอร์ เป็นผู้นำขบวนการปฏิรูปศาสนาและกลายเป็นนักปฏิวัติในที่สุด เพราะเขา ต้องการท้าทายและปฏิเสธวัดโรมันคาทอลิก ซึ่งผลจากการปฏิรูปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางด้านศาสนาของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ชาวฮอลแลนต์ (ชาวดัตช์) ส่วนใหญ่นับถือ ลัทธิคาลแวง ในขณะที่พระเจ้าฟิลิปที่ 2 กษัตริย์แห่งสเปนซึ่งปกครองฮอลแลนด์ในขณะนั้น นับถือนิกายโรมันคาทอลิก,ชาวเยอรมันส่วนใหญ่นับถือนิกายลูเธอรันในอังกฤษ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ได้ทรงตั้งนิกายอังกฤษขึ้นชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เป็นต้น

43.       ประเทศใดไม่ได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16

(1) ฝรั่งเศส     

(2) เยอรมนี     

(3) รัสเซีย       

(4) อังกฤษ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44.       พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 แห่งอังกฤษทรงตั้งนิกายอังกฤษขึ้นเพราะเหตุใดเป็นสำคัญ

(1) เศรษฐกิจ  

(2) สุขภาพ     

(3) ความต้องการส่วนตัว        

(4) ความศรัทธาในลูเธอร์

ตอบ 3 หน้า 454, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 383) ในปี ค.ศ. 1531 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ทรงตั้งนิกายอังกฤษขึ้น เนื่องจากเหตุผลสำคัญทางการเมืองหรือความต้องการส่วนตัว นั่นคือ ทรงไม่พอพระทัยที่พระสันตะปาปาไม่ยอมจัดการให้พระองค์หย่าขาดจากพระนางแคเทอรีน แห่งอรากอนเพื่ออภิเษกสมรสใหม่ จงทรงต้องการที่จะขจัดอิทธิพลของพระสันตะปาปาให้หมดไป โดยทรงกำหนดให้ตั้งสังฆราชแห่งแคนเทอเบอรี่ขึ้นใหม่ ด้วยการตัดขาดจากองค์กรคริสตจักร ที่กรุงโรม และทรงให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า “The Act of Supremacy” เพื่อแต่งตั้ง ให้พระองค์เป็นประมุขของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษแทนพระสันตะปาปา

45.       ประเทศใดเป็นประเทศแรกที่ออกสำรวจดินแดนนอกยุโรป

(1) ฝรั่งเศส     

(2) เยอรมนี     

(3) โปรตุเกส   

(4) อังกฤษ

ตอบ 3 หน้า 468 – 472, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 351) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สเปนและ โปรตุเกส (ชาวไอบีเรียน) เป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้นำในการขยายอำนาจของยุโรปไปยังดินแดน ต่าง ๆ ซึ่งโปรตุเกสนับว่าเป็นประเทศแรกที่ออกสำรวจดินแดนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือเพื่อการค้า โดยได้เข้าไปครอบครองบราซิล ดินแดนในโลกใหม่ ลังกา มลายู หมู่เกาะเครื่องเทศ ในอินเดียตะวันออก และเมืองสำคัญ ๆ ในอินเดียและแอฟริกา ส่วนสเปนได้เข้าไปครอบครอง ดินแดนส่วนใหญ่ของอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และดิบแดนส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน

46.       ชาติตะวันตกชาติใดที่มีอำนาจในอเมริกาใต้

(1) สเปน        

(2) รัสเซีย       

(3) โปรตุเกส   

(4) อังกฤษ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47.       ใครคือผู้ค้บพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วง

(1) กาลิเลโอ   

(2) โคเปอร์นิคัส          

(3) เจมส์ วัตต์ 

(4) เซอร์ไอแซค นิวตัน

ตอบ 4 หน้า 502 เซอร์ไอแซค นิวตัน เป็นผู้ค้บพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลกหรือกฎแรงดึงดูดของโลก โดยเห็นว่าอนุภาคของสสารในจักรวาลต่างดึงดูดกันด้วยกำลังที่ผกผันตามระยะเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสในระหว่างอนุภาค และเป็นสัดส่วนโดยตรงต่อการผลิตของมวลสารนั้น ๆ ซึ่งผลจากคำอธิบายตามหลักทฤษฎีนี้ได้ทำลายฉากบนสวรรค์ให้พังพินาศลงในที่สุด

48.       ประเทศใดเป็นประเทศแรกที่ผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(1) สเปน        

(2) รัสเซีย       

(3) โปรตุเกส   

(4) อังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 505 – 506 การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเต็มที่ที่อังกฤษเป็นแห่งแรก โดยมีฝรั่งเศส เป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ แต่อังกฤษก็ได้เปรียบฝรั่งเศสในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ อังกฤษเป็น ผู้นำในการผลิตเหล็กและถ่านหิน มีเงินทุนอุดหนุน มีผู้ดำเนินธุรกิจที่ชาญฉลาด และได้เปรียบ ในด้านแรงงานมากกว่าฝรั่งเศส

49.       หลังพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 สวรรคต อังกฤษอยู่ภายใต้การปกครองของใคร

(1) พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2

(2) พระเจ้าเจมส์ที่ 2   

(3) โอลิเวอร์ ครอมเวลส์          

(4) พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1

ตอบ 3 หน้า 483, (คำบรรยาย) หลังจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 สวรรคต อังกฤษได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบเทวสิทธิ์ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ โดยมีโอลิเวอร์ ครอมเวลส์ ขึ้นเป็นผู้นำสาธารณรัฐ อังกฤษ เรียกว่า เครือจักรภพอังกฤษ” ทั้งนี้ครอมเวลส์ได้บริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ในระหว่างปี ค.ศ. 1649 – 1660 ส่งผลให้ลัทธิฟิวดัลหมดไปและทำให้ปัญหาศาสนายุติลง

50.       การปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 นั้นมีเหตุผลสำคัญมาจากเรื่องใด

(1) การสงครามที่ยืดเยื้อ        

(2) ระบบชนชั้นและความไร้ความเสมอภาคในสังคม

(3) พระราชินีให้ประชาชนกินเค้ก หากไม่มีขนมปัง

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 487 – 489, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 114) สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1789 มีดังนี้

1. ความไม่เสมอภาคทางด้านสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น (ฐานันดร) คือ พระหรือนักบวช เจ้าหรือขุนนาง และสามัญชน ข่างฝีมือ และชาวนา (สาเหตุสำคัญ)

2. ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการประกาศสิทธิมนุษยชนของสหรัฐอเมริกาและระบบรัฐสภาของอังกฤษ

3. ระบอบการเมืองแบบเก่าทำให้กษัตริย์สามารถใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต และมีการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย

4. สาเหตุปัจจุบันคือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ประสบปัญหาด้านการเงิน

51.       คริสต์ศตวรรษที่ 18 ของยุโรปถูกเรียกข่านว่ายุคใด   

(1) ยุคการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

(2) ยุคภูมิธรรม           

(3) ยุคแห่งการทำสงครามใหญ่          

(4) ยุคแห่งการต่อสู้ระหว่างชนชั้น

ตอบ 2 หน้า 484, (คำบรรยาย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ยุโรปเกิดความสว่างไสวไปด้วยความรู้และเชื่อว่ามนุษย์สามารถใช้เหตุผลเพื่อสร้างความก้าวหน้าได้อย่างไม่หยุดยั้ง สงผลให้ยุโรป มีความก้าวหน้าทางภูมิปัญญาทั้งทางด้านปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนทำให้สมัยนี้ ได้ชื่อว่า ยุคทรงภูมิธรรมทางปัญญาหรือยุคภูมิธรรม” (Age of Enlightenment) หรือ ยุคเหตุผล” (Age of Reason)

52.       สาเหตุพื้นฐานสำคัญที่สุดของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 คืออะไร

(1) ปัญหาทางการเมืองในอังกฤษ

(2) การแข่งขันทางเศรษฐกิจ  

(3) ปัญหา Dreyfus ในฝรั่งเศส     

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 527 – 529, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 132 – 133) สาเหตุพื้นฐานสำคัญที่สุด ที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 มี 4 ประการ คือ 

1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศมหาอำนาจ         

2. การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องอาณานิคม

3. ระบบภาคีพันธมิตร

4. อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมและความรู้สึกทางชาตินิยม

53.       ชนชั้นใดเป็นผู้มีชัยชนะในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917

(1) กษัตริย์     

(2) ขุนนาง      

(3) กรรมาชีพ  

(4) นักศึกษา

ตอบ 3 หน้า 495530 – 531, (คำบรรยาย) การปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 เป็นการปฏิวัติของพวกบอลเชวิคภายใต้คำขวัญที่ว่า สันติภาพ ที่ดิน และขนมปัง” โดยพวกบอลเชวิคยืนยันที่จะต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวที่จะให้ที่ดินแก่ชาวไร่ชาวนา อีกทั้งยังยืนยันว่าจะต้องยุติสงครามและ คืนอำนาจทั้งมวลให้แก่รัสเซีย ซึ่งผลจากการปฏิวัติปรากฏว่าพวกบอลเซวิคเป็นฝ่ายชนะ และได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชนชั้นแรงงาน (ชนชั้นกรรมาชีพ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้รัสเซียต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และเปลี่ยนการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ จนนำไปสู่การก่อตั้ง สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในที่สุด

54.       องค์การระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คือองค์การใด      

(1) NATO

(2) UNESCO      

(3) สันนิบาตแห่งประชาชาติ  

(4) SEATO

ตอบ 3 หน้า 531, (HI 101 เลขพิมพ์532.14 หน้า 539 – 541,547) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ได้มีการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติหรือสันนิบาตแห่ง ประชาชาติ (The League of Nations) ขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกถาวร 4 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกไม่ถาวรอีก 9 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเป็น 2 ชาติมหาอำนาจที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก จึงส่งผลให้องค์การนี้ อ่อนแอและนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด

55.       ประเทศใดเป็นผู้ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) ฝรั่งเศส     

(2) เยอรมนี     

(3) โปรตุเกส   

(4) อังกฤษ

ตอบ 2 หน้า 538 – 539, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 138) สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 คือ การที่ฮิตเลอร์ผู้นำเยอรมนีได้เข้ายึดครองดินแดนโปแลนด์ในเดือน กันยายน ค.ศ. 1939 เนื่องจากโปแลนด์ไม่ยอมคืนฉนวนโปแลนด์และเมืองดานซิกให้กับเยอรมนี ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งรับประกันครามปลอดภัยของโปแลนด์ประกาศสงครามกับเยอรมนี สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเริ่มต้นขึ้นนับแต่นั้น

56.       สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นเมื่อฮิตเลอร์ยึดครองดินแดนใดในยุโรป

(1) เบลเยียม  

(2) รัสเซีย

(3) ฝรั่งเศส     

(4) โปแลนด์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57.       ประเทศใดเป็นประเทศสุดท้ายที่ยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1) อิตาลี        

(2) เยอรมนี     

(3) ออสเตรีย  

(4) ญี่ปุ่น

ตอบ 4 หน้า 541, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 138) สงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรปยุติลง เมื่อเยอรมนียอมแพ้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 ส่วนในทวีปเอเชียสงครามยุติลงเมื่อญี่ปุ่น ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมจำนน ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ซึ่งถือว่าเป็นประเทศสุดท้ายที่ยอมแพ้ในสงคราม และนำไปสู่การยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างแท้จริง

58.       หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานการณ์ทางการเมืองโลกอยู่ในสถานภาพใด

(1) สงครามเย็น          

(2) สงครามแย่งชิงนํ้ามัน

(3) สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว        

(4) สหภาพโซเวียตเป็นมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว

ตอบ 1 หน้า 541 – 542544, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 139) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 สถานการณ์การเมืองโลกได้ตกอยู่ในสถานภาพที่เรียกว่า สงครามเย็น (Cold War) ซึ่งเป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างสหรัฐอเมริกาผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย (ค่ายตะวันตก) กับ สหภาพโซเวียตผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ (ค่ายตะวันออก) ซึ่งทั้งสองประเทศจะไม่ทำสงคราม แบบเบ็ดเสร็จต่อกันโดยตรง แต่มักใช้วิธีการทำสงครามตัวแทน และแข่งขันกันหาพันธมิตร โดยใช้วิธีทางการทูตและการโฆษณาชวนเชื่อ

59.       สงครามเย็นเกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งเรื่องใด

(1) เชื้อชาติ     

(2) ภาษา        

(3) ความคิดทางการเมือง       

(4) ดินแดน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 58. ประกอบ

60.       แผนการทางการเงินที่สหรัฐอเมริกามีขึ้นสำหรับช่วยเหลือยุโรปในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง ค.ศ. 1945 คือ

(1) แผนการชูมานน์    

(2) โครงการมาร์แชล  

(3) NATO  

(4) แผนการ Euratom

ตอบ 2 หน้า 545, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 560) หลังปี ค.ศ. 1945 นายพลจอร์จ ซี. มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอแผนการทางการเงินสำหรับ ช่วยเหลือยุโรปในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า โครงการมาร์แชล” (Marshall Plan) โดยประกาศให้เงินกู้แก่กลุ่มประเทศยุโรปเพื่อแก้ไขป้ญหาเศรษฐกิจถดถอยของยุโรปให้กลับมา มีความเข้มแข็ง และเพื่อบั่นทอนประสิทธิภาพของคอมมิวนิสต์ทั่วยุโรป

61.       ประเทศใดไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียใต้

(1) อินเดีย      

(2) อิหร่าน      

(3) มัลดีฟส์     

(4) ปากีสถาน

ตอบ 2 หน้า 7375 เอเชียใต้ (South Asia) หรือทีสื่อมวลชนทางตะวันตกนิยมเรียกว่า อนุทวีปอินเดีย” (Indian Sub-continent) ซึ่งในอดีตนั้นเอเชียใต้มักหมายถึงประเทศอินเดีย แต่ในปัจจุบัน เอเชียใต้จะมีทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์

62.       อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีศูนย์กลางอยู่ที่ใดในปัจจุบัน         

(1) ตอนกลางของอินเดีย

(2) ศรีลังกา    

(3) ปัญจาบตะวันตก ปากีสถาน        

(4) รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

ตอบ 3 หน้า 7581 อารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุเกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าสินธุหรืออินดัส บริเวณแคว้นปัญจาบตะวันตกในประเทศปากีสถานปัจจุบัน โดยเชื่อกันว่ามีอายุประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าเป็นอารยธรรมเริ่มแรกที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้

63.       ผู้คนในอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุมีความชำนาญในด้านใดเป็นพิเศษ

(1) โหราศาสตร์          

(2) วรรณคดี   

(3) เรขาคณิต 

(4) ปรัชญา

ตอบ 3 หน้า 82 จากหลักฐานที่แสดงถึงอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุที่ขุดค้นพบในซากเมืองโมเหนโจดาโร และเมืองฮารัปปานั้น ทำให้ทราบว่าชาวสินธุมีความสามารถทางด้านวิศวกรสำรวจและความรู้ ทางด้านเรขาคณิตเบื้องต้นเป็นอยางดี ซึ่งที่เห็นเด่นชัดก็คือ การวางผังเมือง เช่น มีการตัดถนน มีท่อระบายนํ้า บ่อนํ้าสาธารณะ รวมทั้งอาคารบ้านเรือนต่างๆ ที่มีการจัดห้องนํ้าแบบยืนตักอาบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของสุขาภิบาลที่ดีและมีความเจริญสูงมากกว่าดินแดนอื่นๆ ในยุค ก่อนประวัติศาสตร์

64.       โธตีมีความสำคัญเช่นไรในอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุ

(1) เครื่องนุ่งห่ม          

(2) เทพเจ้า     

(3) เครื่องประดับ        

(4) มาตราตวงวัด

ตอบ 1หน้า 83 – 86 มรดกของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่เหลือไว้ในอินเดียปัจจุบัน มีดังนี้

1.         มรดกทางศาสนา ได้แก่ การเคารพนับถือพระศิวะหรือเทพเจ้าแห่งหมู่สัตว์จากการบูชาศิวลึงค์การบูชาต้นไม้ใหญ่ คือ ต้นโพธิ์ และต้นไทร และการนับถือพญานาคและดวงอาทิตย์

2.         รู้จักนำผ้าฝ้ายมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ทั้งนี้ชาวสินธุจะนิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้าย 2 ชิ้นโดยท่อนบนจะใส่เป็นเสื้อเปิดไหล่ขวา ส่วนท่อนล่างจะนุ่งเป็นผ้าโจงกระเบน หรือที่ชาวอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า โธตี” (Dhoti)   

3. การเคารพนับถือวัวตัวผู้     

4. การไว้หนวดเครา

5. ประเพณิการทำศพซึ่งมี 3 วิธี คือ ฝังศพ นำศพไปทิ้งให้นกกากิน และเผาศพ ฯลฯ

65.       คนกลุ่มใดไม่จัดอยู่ในสังคมอินเดียยุคพระเวท

(1) นักรบ        

(2) สามัญชน  

(3) จัณฑาล    

(4) พระ

ตอบ 3 หน้า 9298 อินเดียในสมัยพระเวท ได้ปรากฏโครงสร้างทางสังคมแบบวรรณะขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 3ชนชั้น ได้แก่ นักรบหรือกษัตริย์(ชนชั้นสูงสุด)สามัญชน และพระต่อมาในสมัยอารยธรรมอินโดอารยัน ได้มีการแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้นได้แก่ พราหมณ์กษัตริย์ แพศย์ และศูทร ซึงคนที่อยู่ในวรรณะทั้ง 4 นี้เราเรียกว่า สวรรณะ” หมายถึง พวกที่มี วรรณะสังกัด ส่วนพวกที่ไม่มีวรรณะสังกัดเรียกว่า อวรรณะ” ซึ่งจะได้รับการดูถูกเหยียดหยาม เสมือนว่าเป็นพวกต่ำช้า เป็นตัวเสนียด เป็นอัปมงคลแก่ผู้ที่ได้พบเห็น และมีฐานะตํ่าต้อยกว่า สัตว์เดรัจฉาน เช่น พวกจัณฑาล หริชน หินชาติ ฯลฯ

66.       วรรณะในสังคมอินเดียมีกี่วรรณะ (ไม่นับรวมวรรณะจัณฑาล)

(1) สาม          

(2) หก

(3) สี่   

(4) สิบ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

67.       ใครคือผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องมหาภารตะ

(1) วาลมิกิ      

(2) คานธี        

(3) เนห์รู         

(4) วยาสะ

ตอบ 4 หน้า 94, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 194) มหาภารตะ เป็นวรรณกรรมอินเดียในยุคมหากาพย์ที่ประพันธ์โดยฤาษีวยาสะ โดยถือว่าเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก และมีตอนที่สำคัญที่สุดชื่อว่า ภควัทคีตา” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำสงครามเพื่อแย่งชิงสิทธิในการปกครองแผ่นดินระหว่างพี่น้อง 2 ตระกูล คือ เการพ (พวกมิลักขะหรือทราวิฑ เป็นตัวแทนฝ่ายอธรรม) กับปาฌฑพ (พวกอารยัน เป็นตัวแทนฝ่ายธรรมะ) สงครามนี้ยุติลง โดยฝ่ายปาณฑพเป็นผู้ชนะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม

68.       วรรณกรรมเรื่องใดเป็นวรรณกรรมร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก

(1) รามายณะ 

(2) ฤคเวท       

(3) สามเวท     

(4) มหาภารตะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69.       ข้อใดไม่จัดเป็นเทพเจ้าสำคัญของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)

(1) พรหม        

(2) ศิวะ           

(3) นารายณ์   

(4) พระพิรุณ

ตอบ 4 หน้า 96 ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ไม่มีศาสดาเหมือนศาสนาอื่น แต่มีการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ โดยองค์ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 องค์ เรียกว่า ตรีมูรติ” ได้แก่

1.         พระพรหม เป็นเทพเจ้าสูงสุด โดยเป็นผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย

2.         พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นผู้รักษา

3.         พระศิวะหรือพระอิศวร เป็นผู้ทำลาย

70.       พระพรหมทรงสร้างวรรณะแพศย์จากส่วนใดของพระองค์

(1) โอษฐ์         

(2) พระพาหา 

(3) พระโสณี   

(4) พระบาท

ตอบ 3 หน้า 98, (คำบรรยาย) ตามคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) เชื่อว่า พระพรหมได้ทรงสร้างมนุษย์เป็นชนชั้นต่าง ๆ ไว้เพื่อสันติของสังคมจากพระวรกายของพระองค์ 4 ส่วน ดังนี้

1.         พราหมณ์ สร้างจากพระโอษฐ์ โดยถือว่าเป็นวรรณะสูงสุดที่ทำหน้าที่ทางวิชาการและ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นักบวช นักปราชญ์ ครูอาจารย์

2.         กษัตริย์ สร้างจากพระพาหา ทำหน้าที่ทางการปกครองและบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน เช่น นักรบ นักปกครอง

3.         แพศย์ สร้างจากพระโสณี (ลำตัวถึงสะโพก) ทำหน้าที่ทางด้านกสิกรรมและพาณิชยกรรม เช่น พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ

4.         ศูทร สร้างจากพระบาท ทำหน้าที่รับจ้างหรือรับใช้ เช่น ทาส กรรมกร

71.       หลังจากเหตุการณ์ใดที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเปลี่ยนจากนโยบายรุกรานมาเป็นธรรมวิชัย

(1) การส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนา  

(2) การรบที่กาลิงคะ

(3) การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3           

(4) การขยายดินแดนทางตอนเหนือ

ตอบ 2 หน้า 114 เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงรบชนะพวกกาลิงคะในแคว้นโอริสสาแล้ว ผลปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และทรงจับไว้เป็นเชลยศึกมากกว่า 150,000 คน ดังนั้นหลังจากที่ สงครามกาลิงคะสิ้นสุดลง พระองค์จึงทรงปรับเปลี่ยนนโยบายในการบริหารใหม่ โดยเปลี่ยนจาก นโยบายรุกรานมาเป็นธรรมวิชัย

72.       กวีคนใดเน้นผู้เขียนศกุนตลา

(1) รัชกาลที่ 6 

(2) วาลมิกิ      

(3) กาลิทาส   

(4) อารยภัททะ

ตอบ 3 หน้า 118 สมัยคุปตะของอินเดียเป็นสมัยที่วรรณกรรมหรือวรรณคดีสันสกฤตเจริญรุ่งเรืองมาก โดยกวีที่สำคัญในสมัยนี้คือ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเน้น ‘‘เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยเป็น ผู้แต่งเรื่อง ศกุนตลา” ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีชิ้นเอกของยุค เพราะได้มีผู้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน รวมทั้งภาษาไทยด้วย

73.       ข้อใดคือมรดกทางด้านคณิตศาสตร์ที่สังคมอินเดียสมัยคุปตะได้สร้างขึ้น

(1) เลขอารบิก

(2) ระบบทศนิยม       

(3) การคำนวณเส้นรอบวง     

(4) อินฟินิตี้

ตอบ 2 หน้า 119 ในสมัยคุปตะของอินเดีย ได้มีนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือ อารยภัททะ ซึ่งผลงานเด่น ๆ ของเขา ได้แก่ สามารถพิสูจน์ได้ว่าโลกกลมและ โคจรรอบดวงอาทิตย์ รวมทั้งเป็นผู้คิดระบบทศนิยมได้เป็นคนแรกของโลก โดยถือว่าเป็น มรดกชิ้นสำคัญของโลก ซึ่งต่อมาชาวอาหรับได้นำไปเผยแพร่ในยุโรป

74.       กษัตริย์พระองค์ใดได้ชื่อว่าเป็น จอมจักรวาล”      

(1) พระเจ้าอโศกมหาราช

(2) ราชาเจฮาน           

(3) พระเจ้าอักบาร์      

(4) พระเจ้าบาบูร์

ตอบ 3 หน้า 123 – 124 พระเจ้าอักบาร์ เป็นกษัตริย์มุสลิมราชวงศ์โมกุลของอินเดียที่มีชื่อเสียง มากที่สุด และเป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่ายจนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่า มหาราชอีกทั้งยังได้รับพระนามว่า จอมจักรวาล” เพราะเป็นที่รักของคนทุกเผ่าพันธุ์

75.       ชาวตะวันตกชาติใดเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักปักฐานในอินเดีย

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) เยอรมัน     

(4) โปรตุเกส

ตอบ 4 หน้า 129133 ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาค้าขายในอินเดียคือ โปรตุเกสซึ่งประสบผลสำเร็จ ทางด้านการค้าและการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกของ อินเดียนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกา โดยเฉพาะที่เมีองกัวซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า และศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกส ทั้งนี้ประชาชนผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่อาศัยอยู่ใน เมืองกัวเริยกว่า ชาวกวน” ซึ่งจะพูดภาษากวน

76.       เมืองกัวมีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์อินเดีย

(1) ศูนย์กลางของโปรตุเกสในอินเดีย

(2) ศูนย์กลางในการศึกษาการแพทย์

(3) เมืองสุดท้ายที่พระเจ้าอักบาร์ทรงตีได้       

(4) เมืองแรกที่อังกฤษยึดครองได้

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ

77.       ชนชาติใดที่ปกครองอนุทวีปอินเดียทั้งหมดในฐานะเจ้าอาณานิคม

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) เยอรมัน     

(4) โปรตุเกส

ตอบ 1 หน้า 134 – 135 ผลของสงครามคาร์นาติค ครั้งที่ 3 ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสที่แข่งขันกัน แสวงหาอำนาจทางการค้าและการเมืองในอินเดีย ผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ จึงทำให้ อังกฤษมีอำนาจทางการค้าและการเมืองในอินเดียเพียงชาติเดียว จบสามารถครอบครอง อนุทวีปอินเดียได้ทั้งหมดในฐานะเจ้าอาณานิคมในเวลาต่อมา

78.       ใครคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย

(1) เนห์รู         

(2) คานธี        

(3) จินนาห์      

(4) อาห์เหมด ข่าน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียคือ ดร.ราเชนทร์ ประสาท (Dr. Rajendra Prasad) รัฐบุรุษอาวุโสของอินเดีย ส่วนนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียคือ เยาวห์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)

79.       ผู้ใดได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งชาติปากีสถาน

(1) เนห์รู         

(2) คานธี        

(3) จินนาห์      

(4) อาห์เหมด ข่าน

ตอบ 3 หน้า 144161 โมฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Mohammed Ali Jinnah) เป็นผู้นำการต่อสู้ เรียกร้องเอกราชที่สำคัญของกลุ่มสันนิบาตมุสลิม (All-India Muslim League) ในอินเดีย โดยเขาได้เรียกร้องเอกราชควบคู่ไปกับการขอตั้งประเทศใหม่ ซึ่งมีคนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ภายใต้ชื่อประเทศ ปากีสถาน” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 จนทำให้เขาได้รับ สมญานามว่า บิดาแห่งชาติปากีสถาน

80.       ข้อใดคือนโยบายหลักที่อังกฤษมีต่ออินเดียที่ประสบความล้มเหลวมากที่สุด

(1) กฎหมาย   

(2) สาธารณูปโภค

(3) การยกเลิกประเพณีบางประการ  

(4) การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง

ตอบ 3 หน้า 146 – 150, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 233235 – 236) มรดกทางอารยธรรม ที่อังกฤษได้ให้ไว้แก่อินเดียและเห็นเป็นรูปธรรมจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ด้านกฎหมายและ ระบบการศาล ด้านสาธารณูปโภค ด้านอุตสาหกรรมและพาณีชยกรรม ด้านการศึกษาและ การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง และด้านการปกครอง ยกเว้นด้านสังคมที่อังกฤษประสบกับ ความล้มเหลว เนื่องจากกฎหมายหลายฉบับของอังกฤษที่ยกเลิกประเพณีหรีอพิธีกรรมที่เหลวไหล ต่าง ๆ เช่น ประเพณีสุตติ ประเพณีฆ่าคนบูชายัญ ประเพณีฆ่าทารกเพศหญิง ฯลฯ ทำให้ ชาวอินเดียไม่พอใจ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนาและวีถีชีวิตของพวกเขา

81.       แนวคิดเรื่อง โอรสแห่งสวรรค์” เกิดขึ้นในสมัยใดของจีน

(1) โจว

(2) ฮั่น 

(3) ถัง 

(4) แมนจู

ตอบ 1 หน้า 274 – 275 จีนในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก กษัตริย์โจวจะถือว่าตนเป็น โอรสแห่งสวรรค์” หมายถึง องศ์จักรพรรดิที่ได้รับคำสั่งจากเทพเจ้าเทียนหรือเทพเจ้าแห่งสวรรค์ให้มาขจัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชนโดยมีอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อปกครองเรียกว่า อาณัติแห่งสวรรค์” และตราบเท่าที่ทรงประพฤติตนอยู่ในคุณธรรมอันดีงาม อาณัติแห่งสวรรค์จะยังคงอยู่ตลอดไป แต่หากประพฤติผิดหลักธรรม อาณัติแห่งสวรรค์ก็จะสูญสิ้นไป

82.       ข้อใดคือมรดกที่สำคัญของจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้

(1) กำแพงเมืองจีน     

(2) การรับพุทธศาสนา

(3) การสร้างพระราชวังที่ปักกิ่ง          

(4) การประดิษฐ์อักษร

ตอบ 1 หน้า278 จิ๋นซีฮ่องเต้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์จิ๋น โดยทรงมีผลงานที่เด่นประการหนึ่ง คือ การโปรดให้เชื่อมต่อกำแพงเมืองของนครรัฐต่างๆ จนกลายเป็นกำแพงเมืองจีนในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นมรดกสำคัญชิ้นหนึ่งของโลก

83.       ในสมัยราชวงศ์ฮั่นได้ให้มรดกสำคัญต่อการปกครองของจีนในเรื่องใด

(1) การตั้งระบบขันทีในราชสำนัก      

(2) ระบบการสอบไล่เพื่อเข้ารับราชการ

(3) การบริหารงานผ่านกรมต่าง ๆ      

(4) ระบบการถ่ายทอดอำนาจจากบิดาสู่บุตร

ตอบ 2 หน้า 278 – 279 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีดังนี้

1.         เป็นสมัยแรกที่ศาสนาพุทธเผยแผ่จากอินเดียเข้าสู่จีน

2.         มีระบบการสอบไล่เข้ารับราชการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกลไกการปกครองของจีนโดยใช้ ตำราของขงจื๊อเป็นแนวทาง

3.         ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่เด่น ๆ ได้แก่ เป็นสมัยแรกที่จีนส่งกองคาราวาน เดินทางไปค้าขายกับตะวันตก (ยุโรป) ไกลถึงอาณาจักรโรมัน (กรุงโรม) จนทำให้เกิด เส้นทางสายไหม” (Silk Route) ขึ้นมีการนำกระดาษมาพิมพ์เป็นธนบัตรแทนเงินตรา ที่ทำด้วยโลหะเป็นครั้งแรก และมีการส่งเรือไปค้าขายในทะเลจีนใต้โดยตรง ฯลฯ

84.       ข้อใดคือผลงานที่สำคัญในสมัยราชวงศ์สุย

(1) การสร้างกำแพงเมืองจีน   

(2) การสร้างพระราชวังที่ปักกิ่ง

(3) การขุดคลองเชื่อมแม่น้ำ 3 สาย    

(4) การรับพุทธศาสนาเข้ามาเป็นครั้งแรก

ตอบ 3 หน้า 280 ราชวงศ์สุยเป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นมากในการปกครองประเทศจีน โดยปกครองจีน เพียง 27 ปี (ค.ศ. 589 – 618) ก็เสื่อมลง ซึ่งผลงานที่สำคัญของราชวงศ์นี้ได้แก่ การขุดคลองใหญ่ (Grand Canal) จากเหนือจรดใต้เพื่อเชื่อมแม่นํ้า 3 สายเข้าด้วยกัน คือ แม่นํ้าฮวงโห แม่นํ้าแยงซี และแม่น้ำฮวย

85.       จักรพรรดินีที่ปกครองจีนในสมัยราชวงศ์ถังคือใคร

(1) ซูสีไทเฮา   

(2) บูเชคเทียน

(3) หยางกุ้ยเฟย         

(4) ราชินีเหลือง

ตอบ 2 หน้า 267280, (คำบรรยาย) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ถังคือ หลีหยวน หรือพระเจ้าถังเกาสู โดยมี เมืองหลวงอยู่ที่ฉางอัน มณฑลสั่นซี แต่ผู้ที่สร้างความเจริญให้แก่ราชวงศ์นี้จนได้รับการขนานนาม ว่า “เป็นสมัยที่มีความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์ของจีน” ก็คือ หลีซือมิน หรือพระเจ้าถังไถจง และพระนางหวู หรือพระนางบูเชคเทียน ซึ่งทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดินี (Empress) ในสมัยพระเจ้าเกาจุง

86.       ใครคือนักคิดที่มีบทบาทต่อการเกิดลัทธิขงจื๊อใหม่

(1) หลี ลุงเมียง           

(2) ไหมเฟย    

(3) ชูสี 

(4) จิ๋นซีฮ่องเต้

ตอบ 3 หน้า 282 – 283 นักคิดคนสำคัญที่มีบทบาทต่อการเกิดลัทธิขงจื๊อใหม่คือ ชูสี โดยลัทธินี้ เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติดีอยู่แล้ว แต่การนำเสนอออกมาเพื่อปฏิบัติจำเป็นต้อง อาศัยการศึกษา และนักปกครองควรมาจากผู้ที่มีการศึกษาดี โดยเฉพาะจากลัทธิขงจื๊อ

87.       หลิวปังกับจูหยวนจังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างไร

(1) เป็นชาวนามาก่อน

(2) เป็นพระมาก่อน

(3) เป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้าย         

(4) เป็นกษัตริย์ต่างชาติ

ตอบ 1 หน้า 278284 หลิวปังแถะจูหยวนจังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ก็คือ ทรงเป็นสามัญชนหรือ เป็นชาวนามาก่อน โดยหลิวปังนับเป็นชาวนาคนแรกในประวัติศาสตร์จีนที่ได้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น แสะสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินามว่า ฮั่นเกาสู” ส่วนจูหยวนจังก็นับเป็นชาวนาคนที่ 2 ต่อจากหลิวปัง ที่ได้ก่อตั้งราชวงศ์หมิงและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินามว่า พระเจ้าฮังวู” ขึ้นปกครองแผ่นดินจีน

88.       สมัยราชวงศ์หมิงการค้ากับต่างประเทศของจีนมีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งเพราะเหตุใด

(1) ส่งกองเรือไปถึงแอฟริกา   

(2) กษัตริย์ส่งเสริมการค้ากับญี่ปุ่น

(3) มีการศึกษาเรื่องท้องทะเลอย่างกว้างขวาง           

(4) นำเข้าแร่เงินจากญี่ปุ่น

ตอบ 1 หน้า 285 ในสมัยราชวงศ์หมิงได้ส่งเสริมให้มีการเดินทางทางทะเลมากขึ้น ส่งผลให้กองเรือจีน ในสมัยนี้มีความยิ่งใหญ่กว่าสมัยอื่น ๆ จนสามารถเดินทางไปไกลถึงชายฝั่งด้านตะวันออกของ ทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ตามความเป็นเจ้าทะเลของจีนได้ยุติลงในปี ค.ศ. 1433 เพราะผู้ปกครอง ไม่สนับสนุนให้ทำการค้าขาย

89.       ชนชั้นใดที่ไม่ว่าราชวงศ์ใดปกครองจีน จะเป็นคนกลุ่มที่เป็นชนชั้นล่างที่สุดในสังคม

(1) ฮั่นเหนือ    

(2) ฮั่นตะวันออก        

(3) ฮั่นใต้        

(4) ฮั่นตะวันตก

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ชนชาติพื้นเมืองในจีนแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น ได้แก่

1.ชนชั้นชาวมองโกลทั่วไป ถือว่าเป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมสูงสุด

2. ชนชั้นชาวเซ่อมู่ เป็นชนเผ่าต่าง ๆ ของดินแดน ทางตะวันตกและพวกซีเซี่ย

3. ชนชั้นชาวฮั่น เป็นพวกที่เคยถูกอาณาจักรจิ๋นปกครองมาก่อน เช่น ชาวฮั่นเหนือ ชาวชี่ตาน ชาวหนี่เจิน ฯลฯ

4. ชนชั้นชาวใต้ เป็นชาวฮั่นใต้แม่นํ้าแยงซีเกียง และชนชาติอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมต่ำสุดในทุกราชวงศ์ที่ขึ้นปกครองจีน

90.       ข้อใดเป็นมูลเหตุของการเกิดสงครามระหว่างจีน-อังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1839 – 1842

(1) สาวงาม    

(2) ทอง           

(3) ฝิ่น

(4) ขุนนางฝ่ายขวา

ตอน. 3 หน้า 287, (คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์แมนจช่วงปี ค.ศ. 1699 ผู้ปกครองจีนได้อนุญาตให้ อังกฤษเข้ามาค้าขายได้ที่เมืองแคนตอน แต่ต้องปฏิษัติตามระบบการค้าที่เมืองแคนตอนของรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ทำให้อังกฤษเสียเปรียบมากที่สุด ต่อมาอังกฤษจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการนำฝิ่นเข้ามาขายในจีน ทำให้จีนต้องปราบปรามอย่างหนัก จนนำไปสู่การทำสงคราม ระหว่างจีนกับอังกฤษขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1839 – 1842 เรียกว่า สงครามฝิ่น” ซึ่งผลปรากฏว่า จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

91.       ข้อความใดเป็นข้อความที่ถูกต้องในการบรรยายเรื่อง การปฏิรูป 100 วัน

(1)       การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก

(2)       การปฏิรูปครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง

(3)       รัฐบาลอเมริกันมีบทบาทช่วยเหลือในการวางแผนปฏิรูป

(4)       การปฏิรูปล้มเหลวเพราะอังกฤษเข้าแทรกแซง

ตอบ 1 หน้า 289 กังยู่ไหว เป็นผู้นำในการปฏิรูปประเทศจีนให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกทางภาคเหนือ โดยเขาได้นำแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาการจากตะวันตกทั้งหมดเข้ามาใช้ใด้เพียง 100 วัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ การปฏิรูป 100 วัน” แต่โครงการปฏิรูปนี้ประสบกับความล้มเหลว ทำให้กังยู่ไหวและพรรคพวกถูกจับเนรเทศ บางส่วนก็ถูกประหารชีวิต

92.       ใครคือผู้เปลี่ยนจีนให้เข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์

(1) ใจวเอินไหล           

(2) เหมาเจ๋อตุง           

(3) เติ้งเสี่ยวผิง

(4) เจียงไคเชค

ตอบ 2 หน้า 291 – 293, (คำบรรยาย) เมื่อปัญญาชนจีนพบว่าแนวคิดแบบตะวันตกไม่สามารถ แก้ปัญหาให้แก่จีนได้อีกต่อไป พวกเขาจึงได้หันไปสู่แนวทางใหม่ นั่นคือ การแก้ไขปัญหา ด้วยแนวทางสังคมนิยม หลังจากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเริ่มถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ค. 1921 ภายใต้การนำของปัญญาชนจีน 2 ท่าน คือ เฉินตู้ซิ่ว และหลี่ต้าเจา ต่อมาเมื่อเหมาเจ๋อตุง ได้ประกาคจัดตั้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นที่ปักกิ่งในปี ค.ศ. 1949 เขาจึงดำเนินการ ปฏิรูปประเทศให้เข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของลัทธิมาร์กซ์ (Marxism), เลนิน (Leninism) และเหมา (Maoism)

93.       ใครคือคนกลุ่มแรกที่อาศัยในเกาะญี่ปุ่น

(1) ชาวจีน      

(2) ชาวนารา   

(3) ชาวไอนุ     

(4) ชาวเอโดะ

ตอบ 3 หน้า 305 ชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในญี่ปุน และถือว่า เป็นบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นที่ยังคงมีบทบาททางสังคมอยู่บริเวณตอนเหนือของเกาะฮอกไกโดในปัจจุบัน ซึ่งชาวไอนุจะมีลักษณะทางกายภาพหรือมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับชาวตะวันตก (ชาวยุโรป) มากที่สุด เช่น ตามร่างกายมีขนตก หน้าแบน ตาสีฟ้า ผิวขาว ผมทอง รูปร่างสูงใหญ่ เป็นต้น

94.       การปฏิรูปไทกาเป็นผลงานของใคร

(1) จิมมู เทนโน           

(2) เจ้าชายไทกา         

(3) นากะ โนะ โอเยะ  

(4)โตกูกาวา

ตอบ 3 หน้า 307 – 308310316 ในสมัยเจ้าชายนากะ โนะ โอเยะ ได้เกิดแผนการปฏิรูปไทกาซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นที่เลียนแบบจีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเป็นการปฏิรูป ทั้งทางด้านการปกครองและด้านเศรษฐกิจ อาทิเช่น มีการปฏิรูปรูปแบบการปกครองของรัฐบาล ส่วนกลางใหม่ โดยแบ่งกระทรวงออกเป็น 8 กระทรวงสตรีไม่มีสิทธิเป็นจักรพรรดิอีกต่อไป,มีการประกาศโอนที่ดินของนายทุนและผู้มีอิทธิพลเข้ามาเป็นของรัฐ แล้วแจกจ่ายที่ดินดังกล่าว ให้แก่ชาวนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น

95.       ชนชั้นใดคืชนชั้นที่มีฐานะตํ่าที่สุดในสังคมญี่ปุ่น

(1) ชาวนา       

(2) ชามูไร       

(3) ช่างฝีมือ    

(4) พ่อค้า

ตอบ 4 หน้า 312 – 313, (คำบรรยาย) สังคมญี่ปุ่นในสมัยศักดินาแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น (ตามแนวคิด ของลัทธิขงจื๊อที่รับมาจากจีน) ได้แก่

1. ชนชั้นปกครอง ถือว่าเป็นชนชั้นที่สูงและสำคัญที่สุด ซึ่งประกอบด้วยพวกขุนนางและนักรบหรือซามูไร

2. ชนชั้นชาวไร่ชาวนา

3. ชนชั้นช่างฝีมือ

4. ชนชั้นพ่อค้าและนักธุรกิจ เป็นชนชั้นตํ่าสุดในสมัยนี้ แต่ผลสุดท้ายก็กลายเป็นชนชั้นที่สำคัญ ที่สุดในปัจจุบัน

96.       ลัทธิบูชิโดคือแนวทางในการปฏิบัติตนของชนชั้นใด

(1) ชาวนา       

(2) ซามูไร       

(3) ช่างฝีมือ    

(4) พ่อค้า

ตอบ 2 หน้า 313, (ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ) พวกซามูไรถือว่าเป็นชนชั้นสูงและมีความสำคัญที่สุด ในสังคมญี่ปุ่นในสมัยศักดินา โดยพวกซามูไรเหล่านี้จะต้องดำเนินชีวิตตามกฎเกณฑ์หรือ แนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิถีทางของนักรบ” หรือลัทธิบูชิโด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากหลักคำสอนของลัทธิขงจื๊อ ได้แก่ ความกล้าหาญ ความมีระเบียบวินัย ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมโดยเฉพาะกับสตรี การเสียสละความสุขส่วนตัว การรักษาผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และการมีชิวีตอย่างสำรวมและสมถะ

97.       เทพเจ้าองค์ใดคือเทพเจ้าสูงสุดของชาวญี่ปุ่น

(1) กามิกาเซ  

(2) อะมาเตราสึ          

(3) ชินโต         

(4) โคพัน

ตอบ 2 หน้า 303315 ก่อนที่ศาสนาและลัทธิจากต่างชาติ เช่น ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อและเต๋า ฯลฯ จะเข้ามาเผยแผ่ในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นได้มีการนับถือเทพเจ้าอยู่แล้วซึ่งก็คือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ (สุริยเทวีหรือพระนางอะมาเตราสึ) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในสมัยนั้น โดยต่อมารู้จักกันในชื่อว่า ลัทธิชินโต” หรือวิถีทางของเทพเจ้า ทั้งนี้ลัทธิชินโตรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยโตกูกาวาตอนปลาย และในสมัยเมอิจิ

98.       ใครคือปฐมกษัตริย์ของชาติเกาหลี

(1) ตันกุน       

(2) วังคอง       

(3) ยี ซองเกีย 

(4) เซจอง

ตอบ 1 หน้า 328, (คำบรรยาย) ชนเผ่าตังกัส (Tangus) ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเกาหลีในปัจจุบันโดยตามตำนานของเกาหลี เชื่อว่า รัฐบุรุษกึ่งเทพเจ้านามว่า ตันกุน” (Tangun) เป็นปฐมกษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดชาติเกาหลี ซึ่งได้รวบรวมแคว้นต่าง ๆ ที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี เข้าด้วยกันและก่อตั้งเป็นชาติเกาหลีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ปี 2333 ก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 3 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันกำเนิดชาติเกาหลี

99.       ใครคือผู้รวมเกาหลีสมัยกลางให้เป็นปึกแผ่น

(1) ตันกุน       

(2) วังคอง       

(3) ยี ซองเกีย 

(4) เซจอง

ตอบ 2 หน้า 329 เกาหลีในยุคกลางสามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายใต้การนำของวังคอง (Wang Kong) โดยเขาได้ตั้งราชวงศ์โคริโยขึ้นมาและมีเมืองเคซองเป็นเมืองหลวง ในสมัยนี้ ได้เกิดผลงานเด่น ๆ เช่น เกิดพระไตรปิฎกฉบับเกาหลีซึ่งนับว่าเป็นต้นฉบับตัวเขียนที่สมบูรณ์ ที่สุดในโลก มีการทำแท่นพิมพโลหะเคลื่อนที่ได้เป็นครั้งแรก เป็นต้น

100.    สงครามเกาหลียุติลงชั่วคราวเพราะเหตุใด

(1) การลงนามในสัญญาทางทหารที่หมู่บ้านปันมุนจอม        

(2) ผู้นำเกาหลีเหนือเสียซีวิตลงกะทันหัน

(3) สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจกับสงครามเวียดนามมากกว่า

(4) จีนเข้าช่วยเกาหลีเหนือทำสงคราม

ตอบ 1 หน้า 332 สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950 – 1953) เป็นสงครามภายในประเทศระหว่างเกาหลีเหนือ กับเกาหลีใต้โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกาหลีเหนือได้ส่งกองกำลังทหารรุกข้ามเขตเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ เข้ามาในเกาหลีใต้ และยึดกรุงโซลได้ภายใน 5 วัน จนในที่สุดก็ได้มีการเซ็นลงนาม ในสนธิสัญญาทางทหารเพื่อหยุดยิงชั่วคราวฃึ้นที่หมู่บ้านปันมุนจอม (Panmunjom) ในเขต ปลอดทหาร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสงครามเกาหลีที่กิน ระยะเวลานานถึง 3 ปีนับตั้งแต่นั้น

101.    ชนชาติใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชนชาติแรกที่ติดต่อกับจีน

(1) ไทย           

(2) มาเลเซีย   

(3) เวียดนาม  

(4) พม่า

ตอบ 3 หน้า 368 – 369, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 274 – 275) จีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในเอเชิยตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ โดยจีนได้เข้ามาปกครองบริเวณตังเกี๋ยและทางเหนือของอันนัมเป็นแห่งแรก และให้ชาวพื้นเมืองหรือที่ชาวจีนเรียกว่า เย่ห์” ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมา จีนก็เรียกชื่ออาณาจักรนี้ว่า นานเย่ห์หรือนามเวียด” (อาณาจักรของเวียดนามเดิม) เมื่อชุมชนของชาวเวียดขยายตัวมากขึ้นจนสถาปนาอาณาจักรของตนขึ้นได้ทำให้จีนวิตกว่าจะเป็นอันตรายต่อจีน จึงส่งขุนนางจีนเข้ามาปกครอง จากนั้นได้พยายามทำให้เวียดนามสวามิภักดิ์ต่อจีน โดยการส่งเสริมให้มีการแต่งงานระหว่างชาวจีนกับชาวเวียด ให้เรียนภาษาจีน และปลูกฝังวัฒนธรรมจีน ดังนั้นเวียดนามจึงเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนโดยตรง

102.    รัฐใดคือรัฐแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ฟูนัน          

(2) เจนละ       

(3) กัมพูชา     

(4) ศรีวิชัย

ตอบ 1 หน้า 361372 ตามจดหมายเหตุของจีนได้บันทึกไว้ว่า ฟูนันเป็นรัฐหรืออาณาจักรแรกที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 – 6 นอกจากนี้ยังถือว่า เป็นอาณาจักรแรกที่ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับจีนในสมัยราชวงศ์จิ๋น มีเมืองออกแก้ว เป็นศูนย์กลางการค้าทางบกแห่งแรกบริเวณปากแม่นํ้าโขง และเป็นอาณาจักรแรกที่รับเอา วัฒนธรรมอินเดียเข้ามาสร้างความเจริญให้กับตน

103.    รัฐใดคือรัฐแรกที่มีการปกครองแบบเทวราชาอยางแท้จริง

(1) ฟูนัน          

(2) เจนละ       

(3) กัมพูชา     

(4) ศรีวิชัย

ตอบ 3 หน้า 374 พวกเขมรได้รวมตัวเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่งในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งทรง ยกทัพขึ้นมายึดครองอาณาจักรเจนละได้สำเร็จ และได้รวมเจนละบกและเจนละนํ้าเข้าด้วยกัน โดยให้ชื่อใหม่ว่า อาณาจักรกัมพูชา” หลังจากนั้นพระองค์ได้ประกอบพิธีราชาภิเษก มีการบูชาศิวลึงศ์ และประกาศพระองศ์เป็นเจ้าแหงจักรวาล ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทวราชา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง

104.    เพราะเหตุใดอาณาจักรศรีวิชัยจึงส่มสลายลง           

(1) กองทัพโจฬะเข้ารุกราน

(2) กองทัพมองโกลเข้ารุกราน

(3) กษัตริย์ไม่มีความสามารถ 

(4) เชื้อพระวงศ์ก่อการกบฏ

ตอบ 1 หน้า 379 อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายลงนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1025 เนื่องจากถูกกองทัพโจฬะในอินเดียภาคใต้เข้ารุกราน แต่ยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1280 ศรีวิชัยจึง หมดอำนาจโดยสิ้นเชิงจากการรุกรานของอาณาจักรมัชฌปาหิตและอาณาจักรไทยในแหลมมลายู

105.    อาณาจักรมอญมีศูนย์กลางอยู่ที่ใด

(1) อังวะ         

(2) สุธรรมวดี  

(3) เสียมเรียบ

(4) ฮานอย

ตอบ 2 หน้า 375 มอญเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายเดียวกับเขมร ซึ่งได้เริ่มรวมตัวกันตั้งเป็นอาณาจักรมอญขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมีองสุธรรมวดีหรือเมืองท่าตุน บริเวณลุ่มแม่น้ำสะโตงของพม่า (เมียนมาร์) ซึ่งพวกมอญที่สุธรรมวดีจะมีความรู้ทางด้านเกษตรกรรม การทำนาทำไร่ และมีความชำนาญในการชลประทาน ซึ่งเรียนรู้มาจากพวกอินเดีย โดยเฉพาะการเป็นผู้ริเริ่ม การชลประทานขึ้นในที่ราบกยอเสในบริเวณตอนกลางของพม่า นอกจากนี้ยังมีการติดต่อค้าขาย อย่างใกล้ชิดกับอินเดียและลังกา ทำให้มอญได้รับอารยธรรมอินเดียไว้เต็มที่หลายประการ

106.    ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ชาวตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้      

(1) การค้า

(2)  การศาสนา           

(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรม     

(4) สงครามโลกครังที่ 1

ตอบ 4 หน้า 387 – 388 แรงจูงใจที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาขยายอิทธิพลในเอเชียตะวับออกเฉียงใต้ มี 3 ประการ คือ

1. การค้า เนื่องจากความต้องการเครื่องเทศและทองคำโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าอาหรับ           

2. ความต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และอุดมการณ์ทางการเมือง

3. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและขยายตลาดการค้า

107.    ข้อใดไม่ใช่ชาติตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) อิตาลี        

(2) อังกฤษ     

(3) ฝรั่งเศส     

(4) เนเธอร์แลนด์

ตอบ 1 หน้า 388 ชาติตะวันตกที่ตามโปรตุเกสเข้ามาและสามารถจับจองอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สำเร็จ ได้แก่ สเปน ดัตช์หรือฮอลันดา (ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งชาติต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็มีวิธีการขยายอำนาจการปกครอง อาณานิคมแตกต่างกัน ซี่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจของเมืองแม่เอง และ ประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม

108.    เมื่ออังกฤษยึดครองพม่าได้อย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1885 ชะตากรรมของเชื้อพระวงศ์พม่าเป็นเช่นไร

(1) พระเจ้าธีบอและพระราชวงศ์ถูกอพยพไปอินเดีย

(2) กษัตริย์ยังประทับอยู่ที่อังวะต่อไป

(3) กษัตริย์มีอำนาจปกครองอยางเต็มที่         

(4) พระเจ้าธีบอแอบหนีมาประทับที่กรุงเทพฯ

ตอบ 1 หน้า 395 ในปี ค.ศ. 1885 เมื่ออังกฤษมีอำนาจในพม่าทั้งหมดแล้ว อังกฤษได้ประกาศผนวก พม่าตอนบนเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย โดยยุบสถาบันกษัตริย์และสภาลุทดอว์ของพม่า แล้วเนรเทศพระเจ้าธีบอซึ่งเป็นกษัตริย์องศ์สุดท้ายของพม่าและราชินีรวมถึงพระราชวงศ์ไปอยู่ที่อินเดีย

109.    ใครคือบิดาแห่งการปฏิวัติของฟิลิปปินส์

(1) ริซาล         

(2) แมกไซไซ   

(3) มากอส      

(4) อาราโย

ตอบ 1 หน้า 405 โฮเซ่ ริซาล (Jose Rizal) เป็นผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของฟิลิปปินส์ จนได้ชื่อว่า เป็น บิดาแห่งการปฏิวัติของฟิลิปปินส์” โดยเขาได้เขียนบทความโจมตีสเปนและให้ข้อคิด เกี่ยวกับการปฏิวัติและเรียกร้องแบบสันติวิธี ด้วยการให้รัฐบาลสเปนปฏิรูปการปกครองเพื่อให้คนพื้นเมืองมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น ตลอดจนการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม แต่รัฐบาลสเปน ก็ปฏิเสธแนวคิดนั้น

110.    ประเทศใดที่เป็นผู้ปกครองเวียดนามในฐานะเจ้าอาณานิคม

(1) เยอรมนี     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) อังกฤษ     

(4) เดนมาร์ก

ตอบ 2 หน้า 398 – 399433 สหภาพอินโดจีนของฝรั่งเศส (Indo China Union) ในปัจจุบัน หมายถึง ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา (เขมร) เวียดนาม และลาว โดยฝรั่งเศส ในฐานะเจ้าอาณานิคมได้รวมเอาเขมรและเวียดนามทั้ง 3 ภาคเข้าไว้ในสหภาพในปี ค.ศ. 1887 และได้รวมลาวเข้าไว้ในสหภาพเป็นลำดับสุดท้ายในปี ค.ศ. 1893

111.    ใครคือผู้นำของขบวนการชาตินิยมของประเทศมาเลเซีย       

(1) อูนุ

(2) อูถั่น          

(3) ตวนกู อับดุลย์ ราห์มาน    

(4) หวอเหงเวียนยาบ

ตอบ 3 หน้า 408 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองมลายู (ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) แทนที่อังกฤษ และปฏิบัติต่อชาวมลายูและชาวอินเดียอย่างดี แต่กลับกดขี่ชาวจีน ทำให้ชาวจีน ตั้งขบวนการชาตินิยมต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น โดยมีจีนเป็ง (Chin Peng) เป็นผู้นำ หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 อังกฤษกลับเข้ามาปกครองมลายูตามเดิม แต่กลับยกย่องตวนกู อับดุลย์ ราห์มาน ขึ้นเป็นผู้นำของชาวมลายูแทนจีนเป็ง ทำให้เขานำพรรคพวกเข้าป่าไปเป็นกองโจรคอมมิวนิสต์ และปฏิษัติการต่อต้านรัฐบาลมลายูบริเวณเขตแดนไทย-มลายู

112.    ปัญหาสำคัญที่ทำให้การประกาศอิสรภาพของสมาพันธรัฐมลายูล่าช้าออกไปคือเรื่องได

(1) แนวคิดทางการเมือง         

(2) ศาสนา      

(3) ภาษา        

(4) เชื้อชาติ

ตอบ 4 หน้า 408 – 410 ปัญหาสำคัญที่ทำให้การประกาศอิสรภาพของสมาพันธรัฐมลายู (สหพันธรัฐมลายู) ล่าช้าออกไปคือ ปัญหาเรื่องเชื้อชาติระหว่างชาวมลายูกับชาวจีน ซึ่งมีความขัดแย้งกัน ทั้งในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิทธิต่าง ๆ ในมลายูที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้สหพันธรัฐมลายู ประกอบด้วยรัฐเปรัก สลังงอ เนกริแซมบิลัน และปาหัง ต่อมาในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1963ได้มีการสถาปนาประเทศมาเลเซียและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สหพันธรัฐมาเลเซีย” โดยรวมเอาสิงคโปร์ ซาบาห์ และซาราวักเข้าไวัด้วย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1965 สิงคโปร์ ได้ขอแยกตัวเองออกจากสหพันธรัฐ เนื่องจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ

113.    ขบวนการชาตินิยมที่มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องอิสรภาพของพม่าคือขบวนการใด

(1) ซายาซาน  

(2) คอมมิวนิสต์          

(3) กลุ่มตะขิ่น

(4) พม่าเสรี

ตอบ 3 หน้า 410 กลุ่มขบวนการชาตินิยมที่มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องอิสรภาพของพม่าคือ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งที่เรียกว่า กลุ่มตะขิ่น” (Thakin) โดยมีผู้นำที่สำคัญ 2 คน คือ อูนุ (U Nu) และอองซาน (Aung San)

114.    ขบวนการเวียดมินห์มีความสำคัญเช่นไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม

(1) ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา         

(2) ขบวนการต่อต้านทหารเวียดกง

(3) กองทัพที่ต่อต้านฝ่ายขวาในลาวและกัมพูชา        

(4) กองทัพที่สนับสนุนเวียดนามใต้

ตอบ 1 หน้า 412 – 413, (คำบรรยาย) สันนิบาตเพื่อเอกราชของเวียดนามหรือเวียดมินห์ (Viet Minh) ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามนั้น เป็นกลุ่มชาวเวียดนามรักชาติ ที่ออกมาต่อต้านและขับไล่ญี่ปุ่นออกไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2. ต่อต้านฝรั่งเศสที่กลับเข้ามามีอำนาจในเวียดนามอีกครั้งหนึ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อต้านสหรัฐอเมริกา ที่สนับสบุนเวียดนามใต้ไม่ให้ลงประชามติเรื่องที่จะรวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ เข้าด้วยกันภายใต้สนธิสัญญาเจนีวา

115.    ปัญหาใดที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวจากสมาพันธรัฐมลายู

(1) แนวคิดทางการเมือง         

(2) ศาสนา      

(3) ภาษา        

(4) เชื้อชาติ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ

116.    หลังได้รับเอกราช ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาในการพัฒนาประเทศหลายด้าน ยกเว้นด้านใด

(1) แนวคิดทางการเมือง         

(2) ศาสนา      

(3) ภาษา        

(4) เชื้อชาติ

ตอบ 3 หน้า 416 – 417, (คำบรรยาย) ปัญหาของฟิลิปปินส์ภายหลังได้รับเอกราช ได้แก่ ปัญหาทาง เศรษฐกิจและสังคม ปัญหาทางการเมือง ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างพวกคริสเตียน กับชนกลุ่มน้อยมุสลิมบนเกาะมินดาเนา และปัญหาความหลากหลายทางเชื้อชาติ ซึ่งเป็นมูลเหตุ ที่นำไปสู่การแตกแยกทางการเมืองและการผสมผสานทางวัฒนธรรม

117.    ใครให้ความสนับสนุนเวียดนามใต้ในการทำสงครามเวียดนาม

(1) สหภาพโซเวียต     

(2) สหรัฐอเมริกา        

(3) คิวบา        

(4) อิสราเอล

ตอบ 2 หน้า 421, (ดูคำอธิบายข้อ 114. ประกอบ) สงครามเวียดนาม เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือ กับเวียดนามใต้ โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อเวียดนามเหนือได้ส่งทหารเข้าไปในเวียดนามใต้ในปี ค.ค. 1963 ภายใต้การสนับสนุนจากพวกเวียดกง สหภาพโซเวียต และจีน ส่วนเวียดนามใต้ได้รับการ สนับสนุนทางทหารจากสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดก็ได้มีการลงนาม ร่วมกันในสนธิสัญญาปารีสเพื่อให้สหรัฐอเมริกาถอนทหารเพียงฝ่ายเดียวในปี ค.ศ. 1973 จึงเป็นการเปิดโอกาสให้รวม 2 เวียดนามเข้าเป็นประเทศเดียวได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสงครามเวียดนามอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่นั้น

118.    ประเทศใดเป็นประเทศแรกที่ได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม

(1) อินโดนีเซีย

(2) พม่า          

(3) เวียดนาม  

(4) มาเลเซีย

ตอบ 2 หน้า 405 – 413, (คำบรรยาย) ความรู้สึกชาตินิยมและความรู้สึกตื่นตัวเรื่องความเป็นเอกราชของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม กัมพูชา และลาว ได้เริ่มขึ้นก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 และมาได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20) ซึ่งแต่ละประเทศจะมีการดำเนินการทั้งที่คล้ายคลึงกันและต่างกัน ตามพื้นฐานทางวัฒนธรรม และการปกครองของเมืองแม่ โดยประเทศแรกที่ได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมคือ พม่า ซึ่งได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1948

119.    ยุคใดที่ได้ชื่อว่าเป็นยุคที่นองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา

(1) ยุคจารีต    

(2) ยุคอาณานิคม       

(3) สมัยนายพลลอนนอล

(4) ยุคเขมรแดง

ตอบ 4 หน้า 422 – 423 กัมพูชาในยุคเขมรแดงที่มีนายเขียว สัมพันธ์ เป็นประมุขของประเทศ และ มีนายพอลพตเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นสมัยที่มีการสังหารประชาชนชาวกัมพูชามากที่สุด เพราะนโยบายซ้ายจัดของพวกเขมรแดงที่มุ่งขจัดผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับตน ส่งผลให้ชาวกัมพูชาอดอยากยากจนอย่างมาก และบางส่วนก็ลี้ภัยออกนอกประเทศ ดังนั้นในยุคนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นยุคแห่งการนองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา

120.    ประเทศใดที่ได้ชื่อว่าได้รับการปกครองที่ดีที่สุดจากเมืองแม่

(1) พม่า          

(2) อินโดนีเซีย

(3) เวียดนาม  

(4) มาเลเซีย

ตอบ 4 หน้า 419 มาเลเซียเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าได้รับการปกครองที่ดีที่สุดจากเมืองแม่ เพราะอังกฤษ ได้ให้การศึกษาและฝึกการปกครองตนเอง ทำให้มาเลเซียมีประสบการณ์ในการปกครองตนเอง ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการปกครองในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ

Advertisement