การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1003 อารยธรรมโลก

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่ลุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.      ศาสดาของชาติใดสมัยโบราณทีสอนว่าโลกนี้มีเทพฝ่ายดีและเทพฝ่ายชั่วควบคุมอยู่

(1)    เปอร์เซีย         

(2) อียิปต์      

(3) ฮิบรู         

(4) อัสซีเรียน

ตอบ 1 หน้า 21, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 31) ศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ คือ โซโรแอสเตอร์ (Zoroaster)ซึ่งมีโซโรแอสเตอร์เป็นศาสดา โดยเขาสอนว่าโลกนี้มีทั้งเทพฝ่ายดี คือ เทพเจ้าแห่งแสงสว่าง (Ahura Mazda) และเทพฝ่ายชั่ว คือ เทพเจ้าแห่งความมืดมน (Aharyman) ที่ต่อสู้กันตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบับยังคงมีผู้นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์อยู่ใน ประเทศอิหร่านประมาณ 45,000 คน

2.      าณาาจักรใดคือของขวัญจากแม่น้ำไนล์

(1) บาบิโลเนีย          

(2)     แคลเดีย          

(3) อียิปต์      

(4)     ซีเรีย

ตอบ 3 หน้า 7, (คำบรรยาย) เฮโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้กล่าวว่า อียิปต์เป็นของขวัญของแม่นํ้าไนล์” (Egypt is the gift of the Nile) ทั้งนี้เพราะอียิปต์ ได้รับความชุ่มมชื้นจากแม่นํ้าไนล์ จึงทำให้อียิปต์กลายเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม และมีความมั่งคั่งจนสามารถสร้างสรรค์อารยธรรมหรือความ เจริญต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคโบราณได้

3.      เมื่อเดวิดล้มยักษ์โกไลแอธแห่งอาณาจักรฟิลิสไตน์ได้แล้ว จึงตั้งอาณาจักรใดขึ้น

(1) ฮิบรู         

(2) ฟินิเซีย     

(3) อียิปต์      

(4)     บาบิโลเนีย

ตอบ 1 หน้า 20, (คำบรรยาย) เมื่อกษัตริย์เดวิด (David) รวมกำลังกับฮิบรู 12 ตระกูลในการขับไล่ กษัตริย์โกไลแอธผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรฟิลิสไตน์ออกไปจากดินแดนคานานหรือปาเลสไตน์ ได้สำเร็จแล้ว จึงทรงสถาปนาจัดตั้งอาณาจักรฮิบรูขึ้น โดยมีนครหลวงอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและการเมือง

4.      ฟาโรห์อาเมนโฮเตปที่ 4 ทำเช่นไรเพื่อเพิ่มอำนาจของพระองค์ให้มั่นคงยิ่งขึ้น

(1) สังหารนักบวชประจำแคว้น        

(2) นับถืออาเตนเป็นพระเจ้าองค์เดียว

(3) จ้างกองทหารต่างชาติ    

(4) ตั้งคณะผู้ตรวจสอบโนมาร์ช

ตอบ 2 หน้า 10, (คำบรรยาย) ฟาโรห์อัคนาตันหรืออาเมนโฮเตปที่ 4 ท่รงให้ความสนใจเป็นพิเศษกับ ความเชื่อทางศาสนาและทรงปฏิรูปศาสนาใหม่ เพราะต้องการเพิ่มอำนาจของพระองค์ให้มั่นคงยิ่งขึ้น และทำลายอำนาจของพวกพระ โดยกำหนดให้ประชาชนเลิกนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แล้วหันมานับถือสุริยเทพอาเตน (Aten) เพียงองค์เดียว ซึ่งการกระทำของพระองค์ส่งผลให้อียิปต์ อ่อนแอและเสื่อมลงเรื่อย ๆ จบกระทั่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของอัสซีเรียน เปอร์เซีย มาซิโดเนียน และโรมัน ตามลำดับ

5.      ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีเป็นจารึกอักษรอะไร

(1) คอปติก   

(2) ภาพ        

(3) คูนิฟอร์ม  

(4) เฮียโรกลิฟิก

ตอบ 3 หน้า 17 – 19, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 26) ประมวลกฎหมายอัมมูราบีของชาวอะมอไรท์ ถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกและจารึกด้วยอักษรคูนิฟอร์ม โดยลักษณะเด่นของกฎหมาย ฉบับนี้คือ การกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงโดยใช้หลักการลงโทษแบบสนองตอบ (Lex Talionis) หรือหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของสุเมเรียน และยังคงมีอิทธิพล อยู่ในดินแดนแถบเอเชียตะวันตกจนถึงปัจจุบัน

6.      เมื่อนครรัฐกรีกต้องทำสงครามกับเปอร์เซียที่เข้ามารุกราน ได้ก่อให้เกิดผลประการใดกับกรีกในเวลาต่อมา

(1)    การตั้งสหพันธ์แห่งเกาะเดลอส

(2) สงครามคาบสมุทร

(3) เกิดกีฬาโอลิมปิก

(4) พัฒนาเรือไฟกรีก

ตอบ 1 หน้า 35, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 46) ผลจากการทำสงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอนระหว่างกรีกเอเธนส์กับเปอร์เซียที่เข้ามารุกรานปรากฏว่ากรีกเอเธนส์เป็นฝ่ายชนะ ต่อมานครรัฐกรีกก็ได้ร่วมมือกันก่อตั้ง สหพันธ์แหงเกาะเดลอส” (The Confederation of Delos หรือ Delian League) ขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานจากเปอร์เซีย และใช้เป็นศูนย์กลางในการเก็บ ทรัพย์สมบัติของสมาชิก โดยนครรัฐต่าง ๆ ของกรีกจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัตินั้น กรีกเอเธนส์เป็นรัฐนำที่มีอิทธิพลสูงสุด

7.      ฮิตไตทํเป็นพวกแรกที่ใช้โลหะใดทำเครื่องมือเครื่องใช้จนเป็นที่แพร่หลายในเอเชียตะวันตก

(1)    สำริด  

(2) เหล็ก       

(3) ทองเหลือง           

(4) เงิน

ตอบ 2 หน้า 19, (คำบรรยาย) ฮิตไตท์ เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่ได้รับสมญานามว่า นักรบผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเอเชียไมเบอร์” หรือ ผู้วางรากฐานอารยธรรมในดินแดนเอเชียไมเนอร์” เนื่องจากชาวฮิตไตท์มีความสามารถในการรบ โดยมีการใช้รถเทียมม้าเข้าทำลายกองทหารเดินเท้าของ ศัตรู ดังนั้นจึงสามารถขยายดินแดนและเส้นทางการค้าได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ฮิตไตท์ ยังเป็นพวกแรกที่มีความสามารถในการถลุงเหล็ก และรู้จักใช้เหล็กทำเครื่องมือเครื่องใช้ จนเป็นที่แพร่หลายในดินแดนเอเชียตะวันตกหรือตะวันออกใกล้

8.      กาโตผู้อาวุโสขาวโรมันเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์เป็นภาษาอะไรเป็นคนแรก

(1)    กรีก    

(2) ละติน      

(3) เยอรมัน   

(4) เซลติค

ตอบ 2 หน้า 56 ลักษณะวรรณกรรมของโรมันเป็นการเลียบแบบมาจากกรีก ซึ่งนักประพันธ์บทร้อยแก้ว ที่สำคัญคนหนึ่งของโรมัน คือ กาโต (Cato the Elder) ซึ่งเป็นผู้อาวุโสที่ได้เขียนประวัติศาสตร์ เป็นภาษาละตินเป็นคนแรก

9.      เทพีแห่งความรักและความงามของกรีกคืออะโฟรไดท์ ส่วนของโรมันชื่ออะไร

(1) กอร์กอน  

(2) ไซเรน       

(3) วีนัส         

(4) จูโน

ตอบ 3 หน้า 36, 58 ในสมัยสาธารณรัฐโรมันได้มีการรับเอาความเชื่อทางศาสนาในเรื่องเทพเจ้าของกรีกเข้ามา โดยชาวโรมันได้แปลงชื่อเทพเจ้าของกรีกมาเป็นเทพเจ้าของโรมัน เช่น เทพซีอุสหรือซุส (บิดาแห่งเทพเจ้า) มาเป็นเทพจูปีเตอร์ (Jupiter), เทพีดีมีเตอร์ (เทพีแห่งพิชพันธุ์ธัญญาหาร) มาเป็นเทพีเซอโรส (Ceros), เทพีอะโฟรไดท์ (เทพีแห่งความรักและความงาม) มาเป็นเทพีวีนัส (Venus), เทพโพไซดอน (เทพเจ้าแห่งท้องทะเล) มาเป็นเทพเนปจูน (Neptune) เป็นต้น

10.    ศาสนาที่เกิดขึ้นในสมัยโรมันและศาสนิกต้องโทษประหัตประหารอย่างสาหัสสากรรจ์ แต่ก็ได้กลับกลายเป็น ศาสนาทางการของอาณาจักรโรมัน มีต้นกำเนิด ณ ที่ใด

(1) เอธิโอเปีย           

(2) ปาเลสไตน์          

(3) จอร์แดน  

(4) ดามัสกัส

ตอบ 2 หน้า 59, 201 ศาสนาคริสต์มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ปาเลสไตน์ในดินแดนตะวันออกกลาง ซึ่งในขณะนั้น ดินแดนนี้อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโรมัน โดยรัฐบาลโรมันได้กดขี่ข่มเหงและลิดรอน สิทธิเสรีภาพทางศาสนาของพวกคริสเตียน รวมทั้งทำการประหัตประหารอย่างสาหัสสากรรจ์ นานถึง 3 ศตวรรษ จนกระทั่งในปี ค.ค. 380 จักรพรรดิธีโอดอซิอุสก็ได้ประกาศให้คาสนาคริสต์ เป็นศาสนาประจำชาติของอาณาจักรโรมันอย่างเป็นทางการ

11.    ชาติใดที่เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้าจนเกิดประเพณีการจัดการร่างคนตายเพื่อเก็บรอไว้และสร้างที่เก็บ ซึ่งกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

(1) มายา      

(2) บาบิโลเนิย          

(3) อียิปต์      

(4) แอสเท็ค

ตอบ 3 หน้า 11, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 17), (คำบรรยาย) ชาวอียิปต์โบราณเป็นชนกลุ่มแรก ที่เชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายไปดวงวิญญาณจะคงอยู่ และจะเกิดใหม่ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าว ได้นำไปสู่การเกิดประเพณีการจัดการร่างคนตายเพื่อเก็บรักษารอไว้ไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ การเขียนคัมภีร์มรณะหรือคัมภีร์ผู้ตาย (Book of the Dead) และสร้างสุสานหิน พีระมิดเพื่อใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของกษัตริย์ จนทำใหัพีระมิดกลายเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

12.    พวกละตินอยู่ใต้อำนาจกดขี่ของอีทรัสคัน แต่ก็ได้เรียนรู้เรื่องใดจากอีทรัสคัน

(1) ยุทธการ  

(2) การสร้างเมือง     

(3) ดาราคาสตร์        

(4) ชลประทาน

ตอบ 4 หน้า 48, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 159) จากการที่พวกละตินหรือโรมันตกอยู่ภายใต้ อำนาจการปกครองอย่างกดขี่ของกษัตริย์อีทรัสคันในศตวรรษที่ 9 B.C. นั้น ทำให้พวกละติน ได้รับการถ่ายทอดความรู้อันเป็นมรดกทางอารยธรรมจากพวกอีทรัสคัน ได้แก่ การก่อสร้าง โดยใช้หินการก่อสร้างซุ้มประตูรูปโค้ง (Arches) และอุโมงค์ (Vaults), การทำระบบชลประทานวิธีการทำนายโดยการตรวจดูร่างกายสัตว์หรือสังเกตการบินของนกวิธีการเดินทัพแบบฟาลังก์ และการต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์ (Gladiatorial Combats)

13.    “ราษฎรทั้งหลายอาจไม่มีปัญญาแก้ปัญหาต่าง ๆ ของเมืองได้ แต่เมื่อรวมหัวกันก็เกิดรู้เห็นร่วมกันได้ และสามารถ เลือกผู้มีการศึกษาและมีประสบการณ์มาทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง” ความคิดเช่นนี้เป็นของชาติใดสมัยโบราณ

(1) ฮิบรู         

(2) ฟินิเชีย     

(3) เปอร์เซีย  

(4) กรีก

ตอบ 4 หน้า 37 – 38 อริสโตเติล เป็นนักปรัชญาคนสำคัญของกรีกโบราณ โดยเขาเชื่อว่า ราษฎรสามัญ ทั้งหลายอาจไม่มีปัญญาพอที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ของบ้านเมืองได้ แต่เมื่อราษฎรเหล่านี้ มารวมหัวกันก็จะทำให้เกิดปัญญาและความรู้เห็นร่วมกันได้ และสามารถที่จะเลือกผู้มีฐานะ ทางเศรษฐกิจดีที่มีการศึกษาสูง ๆ และมีประสบการณ์เข้ามาทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของราษฎรส่วนใหญ่ และผู้ที่ไช้อำนาจ ในการปกครองก็จะใช้อำนาจนี้โดยความยินยอมของประชาชน (Government By Consent)

14.    โรมทำสงครามปิวนิกกับอาณาจักรคาร์เถจซึ่งเป็นสงครามที่ทำให้โรมได้เป็นมหาอำนาจในเมดิเตอร์เรเนียน คาร์เถจตั้งอยู่ที่ใด

(1) ตะวันออกของเมติเตอร์เรเนียน   

(2) แอฟริกาเหนือ

(3) ช่องแคบยิบรัลต้า

(4) ฝั่งทะเลแคลเปียน

ตอบ 2 หน้า 5] – 52 สงครามปิวนิก (264 – 146 B.C.) เป็นสงครามเพี่อแย่งชิงชิชิลีระหว่างโรมกับ อาณาจักรคาร์เถจซึ่งเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ ผลของสงครามในครั้งนี้ได้ทำให้โรม กลายเป็นมหาอำนาจในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในฐานะเป็นผู้ชนะแทนที่คาร์เถจนับตั้งแต่ ปี 146 B.C. เป็นต้นมา หลังจากนั้นโรมยังได้ครอบครองรัฐเฮเลนิสติกทางตะวันออกและ ดินแดนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้โรมมีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น

15.    กฎหมาย 12โต๊ะ เป็นกฎหมายแพ่งและเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของชาติใด

(1) กรีก         

(2) อียิปต์      

(3) ครีตัน       

(4) โรมัน

ตอบ 4 หน้า 50, 58, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 161) ในสมัยสาธารณรัฐโรมันตอนต้นช่วงปี 449 B.C. พวกพลีเบียนได้เรียกร้องให้พวกแพทริเชียนร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เป็นครั้งแรก โดยมีการจารึกลงบนแผ่นทองแดง 12 แผ่น แล้วนำไปติดที่ฟอรัมเพื่อประกาศ ให้ราษฎรทุกคนทราบ เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ” (Law of the Twelve Tables) ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมัน โดยมีลักษณะเป็นกฎหมายแพ่ง

16.    เจ้าชายปารีสแห่งทรอยช่วงชิงสิ่งใดของกรีกแล้วหนีกลับไปเอเชียไมเนอร์จนเกิดศึกใหญ่ขึ้น

(1) ม้าไม้       

(2) ดวงตราทองคำ    

(3) มงกุฎ      

(4)     ราชีนี

ตอบ 4 หน้า 27 ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ได้เล่าถึงสงครามเมืองทรอยว่าเกิดขึ้นเพราะเจ้าชายปารีส แห่งเมืองทรอยไปแย่งชิงพระนางเฮเลน (Helen) ราชินีแห่งกรีกสปาร์ตามาเป็นของตนแล้วก็หนี กลับไปเอเชียไมเนอร์ ทำให้ชาวกรีกโกรธแค้นจนเกิดศึกใหญ่เพื่อทำลายล้างเมืองทรอยในที่สุด

17.    บุตรแห่งสปาร์ตาแท้เกิดมาเมื่อมีสิทธิในลาโคเนียก็ต้องทำหน้าที่ใดเพื่อลาโคเนีย

(1) ทหาร       

(2) ผู้ปกครอง

(3) พ่อพันธุ์   

(4) แรงงาน

ตอบ 1 หน้า 29, 31, (คำบรรยาย) นครรัฐสปาร์ตาในแคว้นลาโคเนียนั้นเป็นชนชาวกรีกที่สืบเชื้อสาย มาจากพวกดอเรียนแท้ ๆ และรัฐจะกำหนดชะตาชีวิตของเด็กเกิดใหม่ทุกคน โดยบุตร ชาวสปาร์ตาแท้ที่มีอายุระหว่าง 7 – 20 ปี จะต้องไปอยู่กับรัฐโดยใช้ชีวิตในค่ายทหาร เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมให้มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง อดทน มีระเบียบวินัยสูง ปราศจากความเมตตา มีความจงรักภักดีต่อรัฐ และเข้าสู่กองทัพพลเมืองเพื่อทำหน้าที่ในสงครามให้ดีที่สุด และเมื่อ มีอายุระหว่าง 20 – 60 ปี ก็ต้องทำหน้าที่เป็นทหารเพื่ออุทิศชีวิตในการรับใช้รัฐต่อไป

18.    ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ไร้พรมแดนธรรมชาติจึงถูกรุกรานตลอด และผู้คนเกิดทัศนคติต่อโลกอย่างไร

(1) ดิ้นรนไปก็เท่านั้น เดี๋ยวก็ตายแล้ว           

(2) ไม่เอาโลกหน้า เอาโลกนี้เท่านั้น

(3) ไม่ไว้ใจใครหรืออะไรง่าย ๆ แม้แต่เทพ     

(4) โลกนี้มีแต่ทุกข์

ตอบ 2 หน้า 16, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 23) ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวเป็นดินแดนระหว่าง ลุ่มแม่นํ้าไทกรีสและยูเฟรติส หรือที่เรียกว่า ดินแดนเมโสโปเตเมียหรือดินแดนเอเชียตะวันตก” เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก แต่ไม่มีภูเขาและทะเลทรายเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้น จึงถูกต่างชาติรุกรานตลอดเวลา ส่งผลให้ชาวเมโสโปเตเมียส่วนใหญ่มีทัศนคติในการมองโลก ในแง่ร้าย หวาดกลัว ไม่คิดที่จะกลับมาเกิดใหม่ ไม่เอาโลกหน้า เอาแต่โลกนี้เท่านั้น

19.    อียิปต์โบราณส่งอะไรไปขายต่างแดน

(1) อินทผลัม 

(2) ภาชนะแก้วหลากสี         

(3) ลินินปาปิรุส      

(4) น้ำผึงรังผึ้ง

ตอบ 3 หน้า 12 ชาวอียิปต์โบราณทาการค้าขายกับหลายๆ ชาติ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของอียิปต์ ได้แก่ ผ้าลินิน กระดาษปาปิรุส และเครื่องเพชรพลอย ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ วัว ควาย ปลา งาช้าง ขนนกกระจอกเทศ และเหล็ก

20.    สภาประชาชนของกรีกเอเธนส์เลือกคณะสิบนายพลขึ้นปกครอง เพริคลิสเป็นหัวหน้าอยู่นานกว่า 30 ปีแต่ไม่เป็นเผด็จการ เพราะเหตุใด

(1)    สภาประชาชนตรวจสอบนโยบาย      

(2) กรีกมีจิตวิญญาณประชาธิปไตย

(3) มีกฎหมายเนรเทศเผด็จการ        

(4) โอกาสไม่อำนวย

ตอบ 1 หน้า 34 ในสมัยกรีกเอเธนส์ สภาประชาชนจะเลือกคณะสิบนายพลหรือคณะนายพลทั้ง 10 (Board of Ten Generals) ขึ้นปกครองนครรัฐ โดยมีเพริคลิสดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะ อยู่นานกว่า 30 ปี แม้ว่าคณะนายพลทั้ง 10 จะมีอำนาจมาก แต่ไม่เป็นเผด็จการ เพราะมี สภาประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบนโยบายของพวกเขาอีกทีหนึ่ง และอาจถูกเรียกอำนาจคืนเมื่อ หมดวาระ 1 ปี หรือถูกฟ้องว่าประพฤติผิดวินัยได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ในสมัยของเพริคลิสเป็นสมัยที่ประชาธิปไตยของเอเธนส์เจริญสูงสุด

21.    ปารีสเคยเป็นเมืองหลวงของชนเยอรมันเผ่าใด

(1) แฟรงค์    

(2) กอธ         

(3) แวนเดิล   

(4) ลอมบาร์ด

ตอบ 1 หน้า 174, 177 – 179, (คำบรรยาย) อาณาจักรแฟรงค์ก่อตั้งขึ้นโดยอนารยชนเยอรมันเผ่าแฟรงค์ ในบริเวณแคว้นกอล ซึ่งประกอบด้วย 2 ราชวงค์ คือ

1. ราชวงศ์เมโรวิงเจียน (ค.ค. 481 – 751) มีผู้นำที่มีความสามารถมากคือ โคลวิส และมีกรุงปารีสเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักร

2.      ราชวงศ์คาโรลิงเจียน (ค.ศ. 751 – 843) มีผู้นำที่มีความสามารถมากที่สุดคือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ ซึ่งในปี ค.ศ. 800 พระองค์ทรงได้รับการสวมมงกุฎจักรพรรดิจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 ที่วิหาร เซนต์ปีเตอร์ และเข้าพิธีราชาภิเษกตามประเพณีดั้งเดิมของจักรวรรดิโรมันโบราณ ซึ่งเท่ากับ เป็นการรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่อีกครั้งทางภาคตะวันตก แต่ในครั้งนี้จะเรียกว่า จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” (The Holy Roman Empire)

22.    นามเทพธอร์ของชาวยุโรปเหนือเป็นชื่อของวันอะไรในปฏิทินตะวันตก

(1) จันทร์      

(2) อังคาร     

(3) พุธ           

(4) พฤหัสบดี

ตอบ 4 หน้า 175, (คำบรรยาย) พวกอนารยชนจากยุโรปเหนือจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ รวมทั้ง มีความเชื่อในเรื่องโชคลางและอภินิหารต่าง ๆ โดยเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดคือ เทพโวเดนหรือโอดิน (Woden หรือ Odin) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแท่งสงคราม นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่รู้จักกันในนาม ชื่อวันต่าง ๆ ของสัปดาห์ในปฏิทินตะวันตก เช่น เทพทิว (Tieu) เป็นเทพเจ้าแท่งสงครามที่ใช้เรียก วันอังคาร (Tuesday), เทพธอร์ (Thor) เป็นเทพเจ้าแห่งลมฟ้าอากาศที่ใช้เรียกวันพฤหัสบดี (Thursday), เทพเฟรยา (Freya) เป็นเทพเจ้าแห่งพืชผลที่ใช้เรียกวันศุกร์ (Friday) เป็นต้น

23.    จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งขึ้นเมื่อใด

(1)    เมื่อชาร์เลอมาญสวมมงกุฎจักรพรรดิที่วิหารเซนต์ปีเตอร์

(2)    เมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายลง

(3)    เมื่อนักบุญปีเตอร์ตั้งศาสนจักร          

(4) เมื่อ ค.ศ. 1453

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

24.    สนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ศ. 843 สำคัญอย่างไร

(1)    จักรวรรดิสากลแห่งยุโรปและสถาบันจักรพรรดิเสื่อมลง

(2)    แบ่งยุโรปออกเป็นสี่ภาค

(3)    เป็นเหตุให้เกิดยุคศักดินาสวามิภักดิ์

(4)    สถาปนาอำนาจปกครองฝ่ายอาณาจักรและฝ่ายคริสตจักรในยุโรป

ตอบ 1 หน้า 181 ความสำคัญของสนธิสัญญาแวร์ดัง ค.ค. 843 มีดังนี้

1. ความเป็นเอกภาพของ อาณาจักรแฟรงค์แห่งราชวงศ์คาโรลิงเจียนเสื่อมลงไป จักรพรรดิและกษัตริย์มีฐานะเท่ากัน

2.      ทัศนคติเกี่ยวกับ จักรวรรดิสากลแห่งยุโรป” และ สถาบันจักรพรรดิ” เสื่อมลง ตำแหน่ง จักรพรรดิและกษัตริย์มีศักดิ์ศรีและอำนาจเท่าเทียมกัน

3. เริ่มมีพัฒนาการของความเป็นเอกเทศของภูมิภาคต่าง ๆ

4. มีการแบ่งแผนที่ยุโรปเป็นดินแดนต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ

25.    อะไรคือที่มาของระบบฟิวดัล

(1)    อำนาจกษัตริย์ส่วนกลางเสื่อมลง      

(2) ขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจมากขึ้น

(3) เสรีชนมอบที่ดินให้ขุนนางแลกความคุ้มครอง     

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 183, 185 – 186 ที่มาของระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ เนื่องจากยุโรปยุคกลาง มีสภาพบ้านเมืองเสื่อมโทรม อำนาจกษัตริย์หรือรัฐบาลกลางเสื่อมลง มีพวกอนารยชนเยอรมัน เข้ามารุกรานอยู่ตลอดเวลา และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ส่งผลให้ประชาชนได้รับความยากลำบาก จนพวกเสรีชนต้องมอบที่ดินให้แก่ขุนนางเพื่อแลกกับความคุ้มครองแทน ทำให้ขุนนางท้องถิ่น มีอำนาจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ระบบฟิวดัลจึงเกิดขึ้น โดยได้รับเอาแบบอย่างมาจากประเพณีเดิม ของทั้งโรมและอนารยชนเยอรมัน

26.    วัสซาลในระบบพฟิวดัลคืออะไร        

(1) ขุนนางชั้นต่ำ

(2) ข้าที่รับที่ดินจากเจ้าทำประโยชน์

(3) เจ้าของที่ดิน        

(4) ทาสติดที่ดิน

ตอบ 2 หน้า 187 กลุ่มบุคคลในระบบฟิวคัล ประกอบด้วย

1.      ซูเซอเรนหรือลอร์ดคนที่ 1 หรือกษัตริย์ (Suzerian/The First Lord/King) เป็นเจ้าของ ที่ดินโดยสมบูรณ์ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใด

2.      ลอร์ดหรือเจ้า (Lord) เป็นขุนนางชั้นสูงที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยขุนนางที่ถือครองที่ดิน โดยตรงจากกษัตริย์เรียกว่า “Tenants-in-Chief”

3.      วัสซาล (Vassal) เป็นข้าที่ได้ทำพิธีรับมอบที่ดินจากเจ้าไปทำผลประโยชน์และต้องแบ่ง ผลประโยชน์ให้แก่เจ้า

4.      อัศวินหรือซับวัสซาล (Knight/Sub-Vassal) เป็นขุนนางระดับต่ำที่ถือกรรมสิทธิที่ดินต่อจากขุนนางชั้นสูงอีกทอดหนึ่ง

5.      ชาวไร่ชาวนาและทาสติดที่ดิน (Peasant & Serf) เป็นสามัญชนที่ทำมาหากินบนที่ดินของ ขุนนางและอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเจ้าของที่ดิน

27.    อะไรคือภาระหน้าที่ของเจ้าที่มีต่อข้า 

(1) เป็นเจ้าภาพในงานพิธีเลี้ยง

(2)    จ่ายค่าไถ่ตัวข้าที่ตกเป็นเชลย 

(3) พิทักษ์และตัดสินคดี       

(4) ช่วยรบ

ตอบ 3 หน้า 188 – 189 ภาระหน้าที่ของเจ้าที่มีต่อข้า มีดังนี้

1.      มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองหรือพิทักษ์รักษาในชีวิต ทรัพย์สิน และครอบครัวของข้า

2.      มีหน้าที่ตัดสินคดีความและให้ความยุติธรรมแก่ข้าเมื่อมีกรณีพิพาทกันในแมนเนอร์

28.    แมนเนอร์ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้เว้นข้อใดที่ไม่มี

(1) คฤหาสน์ 

(2) หมู่บ้าน    

(3) ที่เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์      

(4) ตลาด

ตอบ 4 หน้า 191 – 192, (คำบรรยาย) สภาพทั่วไปของแมนเนอร์ในยุคกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ เรียงตามลำดับออกไปดังนี้

1. คฤหาสน์แมนเบอร์หรือปราสาทของเจ้าหรือขุนนางชั้นสูง เป็นป้อมปราการอยู่ตรงกลางโดยมีการเสริมสร้างระบบการป้องกันข้าศึกหลายอย่าง เช่น ขุดคูนํ้าล้อมรอบคฤหาสน์ มีสะพานชักสำหรับเดินทางเข้าออก ดันจัน พอทคัลลิส ฯลฯ

2.      หมู่บ้าน

3. ที่ดินไร่นาขนาดใหญ่สำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ส่วน ๆ มีแนวยาว เรียกว่า สตริป” (Stripe)

29.    เมือปราสาทขุนนางเป็นป้อมปราการจึงมีเครื่องป้องกันต่อสู้หลายอย่าง ข้อใดไม่ใช่

(1) ดันจัน      

(2) คูนํ้า         

(3) พอทคัลลิส          

(4) ฟอลคันรี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30.    ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 อาณาจักรโรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคตะวันออกมีคอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองหลวง เมืองหลวงของภาคตะวันตกคือที่ใด

(1) โรม          

(2) เวียนนา   

(3) ปารีส       

(4) อาวิญญอง

ตอบ 1 หน้า 61, 205, 217 ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 อาณาจักรโรมันได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ

1. ภาคตะวันออก เรียกว่า อาณาจักรบิแซนทีน” มีคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง พูดภาษากรีก และเลียนแบบอารยธรรมกรีก

2. ภาคตะวันตก มีโรมเป็นเมืองหลวง และพูดภาษาละติน

31.    ใครคือบุคคลสำคัญที่เคลื่อนไหวกระตุ้นให้เกิดสงครามครูเสดขึ้น

(1) จักรพรรดิแห่งบิแซนทีน   

(2) สันตะปาปา

(3) ซาลาอุดดิน         

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 208 สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมเพื่อแย่งชิง ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาคือ เยรูซาเล็มและปาเลสไตน์ ซึ่งบุคคลสำคัญที่กระตุ้นให้เกิด สงครามครูเสดก็คือ จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอมมินุส แห่งจักรวรรดิบิแซนทีน ที่ได้ส่งสาส์น ไปขอให้สันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ส่งกำลังทหารมาช่วยปราบปรามพวกเซลจุก เติร์ก ซึ่งนับถือ ศาสนาอิสลาม ดังนั้นในปี ค.ศ. 1095 สันตะปาปาเออร์บันที่ 2 จึงได้เรียกประชุมผู้แทนทาง ศาลนาคริสต์จากประเทศต่าง ๆ เพื่อร่วมตกลงกันไปทำสงครามเพื่อศาสนา จากเหตุการณ์ดังกลาว ได้ก่อให้เกิดเป็นสงครามครูเสดขึ้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1096 – 1270 รวมระยะเวลานานถึง 200 ปี

32.    นักปฏิรูปศาสนาคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 อย่างวิคลิฟและฮุสต้องพบจุดจบอย่างไร

(1) ถูกสังหาร

(2) กลายเป็นพวกนอกศาสนา

(3)    ต้องโทษบัพพาชนียกรรม        

(4) ถูกกดลงเป็นทาส

ตอบ 1 หน้า 211 นักปฏิรูปศาสนาคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มี 2 ท่าน คือ

1.      จอห์น วิคลิฟ เป็นผู้แปลคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกตเป็นภาษาพื้นเมืองของอังกฤษ เพื่อให้ ประชาชนทั่วไปได้อ่านและศึกษาด้วยตนเอง จนเกิดความเข้าใจศาสนาได้อย่างถูกต้อง

2.      จอห์น ฮุส ไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้สวดมนต์เป็นภาษาละตินเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้ ภาษาพื้นเมืองที่ประชาชนสามารถอ่านและเข้าใจได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ฮุสยังได้ประณาม การขายใบบุญไถ่บาป และต่อต้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่ไม่เหมาะสม จนทำให้ เขาถูกสังหารด้วยการเผาทั้งเป็นในที่สุด

33.    โรมา โนวาคือเมืองอะไร

(1) เอเธนส์    

(2) โรม          

(3) คอนสแตนติโนเปิล          

(4) เวนิส

ตอบ 3 หน้า 217 อาณาจักรบิแซนทีนหรืออาณาจักรโรมันตะวันออกตั้งอยู่บนคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และมีเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) หรือเมืองโรมา โนวา (Roma Nova) ในอดีตเป็นเมืองหลวง โดยเมืองนี้ถือว่าเป็นศูนย์กลางที่ตะวันตก (กรีก) และ ตะวันออกมาพบกัน ดังนั้นจึงได้รับสมญานามว่าเป็น โรมใหม่’’ (The New Rome) หรือ โรมแห่งที่ 2 ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นคลังสินค้าของวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการต่าง ๆ ในยุคกลาง

34.    ประมวลกฎหมายจัสติเนียนทันสมัยมากและเป็นแม่บทของกฎหมายเกือบทุกประเทศในยุโรปยกเว้นประเทศใด

(1) เยอรมนี   

(2) อังกฤษ    

(3) รัสเซีย      

(4) สเปน

ตอบ 2 หน้า 224 – 225 ในปี ค.ศ. 529 จักรพรรติจัสติเนียนโปรดให้จัดทำประมวลกฎหมายจัสติเนียน (The Justinian Code) ขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแพ่งที่เขียนด้วยภาษากรีก และให้ความสำคัญในเรื่องมนุษยธรรม สามัญสำนึกเรื่องสาธารณประโยชน์ การป้องกัน และคุ้มครองทรัพย์สินส่วนตัว การรักษาไว้ซึ่งอภิสิทธิ์ชน รวมทั้งมีแนวโน้มสนับสนุน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้นับว่าทันสมัยมากในเวลานั้น และต่อมา ก็ได้กลายเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ เกือบทุกประเทศในยุโรป ยกเว้นอังกฤษ

35.    ลาติฟันเดียในบิแซนทีนคืออะไร        

(1) ระบบภาษีศุลกากร

(2) การทำไร่นาผืนใหญ่บนที่ราบ      

(3) การผูกขาดการค้าโดยรัฐ 

(4) การจัดระเบียบกองทัพ

ตอบ 2 หน้า 221 ลักษณะการเกษตรในอาณาจักรบิแซนทีนนั้นจะมีการทำไร่นาขนาดใหญ่โดยที่ดินพื้นราบจะถูกแบ่งเป็นผืนใหญ่ เรียกว่า ลาติฟันเดีย” (Latifundia) ซึ่งได้รับ แบบอย่างมาจากอิตาลี ทั้งนี้ชาวนาเสริมจะมีจำนวนน้อยกว่าชาวนารับจ้างและพวกเซิร์ฟ

36.    เพราะเหตุใดจักรพรรดิลีโอที่ 3 แห่งบิแซนทีนจึงห้ามบูชารูปเคารพ

(1) เกรงว่าจะเหมือนการบูชาเทวรูปแบบศาสนาเก่า

(2) เห็นว่าเป็นสิ่งรกรุงรัง

(3) เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีรูปเหมือนมนุษย์         

(4) ไม่ชอบพิธีกรรม

ตอบ 1 หน้า 223 ในปี ค.ค. 726 จักรพรรดิลีโอที่ 3 แห่งอาณาจักรบิแซนทีน ได้ออกคำสั่งห้ามบูชา รูปเคารพ และให้ทำลายรูปปั้นและภาพวาดของพระเยซูและนักบุญต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโบสถ์และ อาคารต่าง ๆ ทั้งหมด เพราะเกรงว่าจะเหมือนกับศาสนาพื้นเมืองเดิม คือ การบูชาเทวรูป ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งกันจนก่อให้เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองคอนสแตนติโนเปิล และกลายเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางศาสนาอย่างเด็ดขาดระหวาง อาณาจักรโรมันตะวันตกและโรมันตะวันออก

37.    เทวสถานกาบาที่ซึ่งมุสลิมต้องจาริกไปสักการะตั้งอยู่ที่ใด

(1) แบกแดด 

(2) เมกกะ     

(3) ดามัสกัส 

(4) ไคโร

ตอบ 2 หน้า 236 พวกอาหรับชาวเมืองจะอยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลแดงซึ่งเป็นที่อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า ฮิจาซ” (Hijaz) และมีเมืองเมกกะเป็นศูนย์กลางทางการค้าและศาสนาอิสลาม โดยเมืองนี้จะมีเทวสถานกาบา (Kaaba) ครอบบนแผ่นหินสีดำอันศักดิ์สิทธิ์ที่ซึ่งมุสลิมต้องจาริก ไปสักการะ โดยแต่เดิมเชื่อกันว่าหินกาบามีสีขาว แตต่อมาได้กลายเป็นสีดำ เพราะถูกมืออันมีบาป ของมนุษย์สัมผัส

38.    อะไรคือลักษณะเด่นของศาสนาอิสลาม        

(1) คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เขียนด้วยภาษาอาหรับเท่านั้น

(2) ไม่มีสถาบันนักบวช         

(3) ห้ามบูชารูปเคารพ           

(4) เทศกาลถือคลอด

ตอบ 2 หน้า 239 – 240 ลักษณะเด่นของศาสนาอิสลามมี 3 ประการ คือ

1. ยึดถือหลักความเสมอภาคทางศาสนา

2. ไม่มีสถาบันพระหรือนักบวชที่จะเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า

3. หลักคำสอนมิได้มิไว้สำหรับให้นักบวชปฏิบัติ แต่มีไว้สำหรับให้ประชาชนทั่วไปปฏิบัติ

39.    คัมภีร์อัลกุรอานสอนหลักจริยธรรมเพื่อดำรงชีวิตอย่างไร

(1)    ให้บริจาคทาน 

(2) ห้ามดื่มสุรา          

(3) ให้ขยันอดทน       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 239 หลักจริยธรรมสำหรับการดำรงชีวิตที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม ได้แก่

1. ห้ามบูชาพระเจ้าที่ไม่แท้ (Idolatary)

2. ห้ามการฆ่าทารก (Infanticide)

3. ห้ามการให้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ (Usary)

4. ห้ามเล่นการพนัน (Gambling)        

5. ห้ามดื่มสุรา (The Drinking of Wine)

6. อนุญาตให้ผู้ชายอิสลามมีภรรยาได้ 4 คน แต่ถ้าสามีไม่สามารถเลี้ยงดูภรรยาทุกคนได้ทั่วถึงกันอย่างเสมอภาค ก็จะต้องมีภรรยาได้เพียงคนเดียว

40.    ศิลปะและวิชาช่างส่วนใหญ่ชองมุสลิมได้รับอิทธิพลจากที่ใด

(1) บิแซนทีน 

(2) เปอร์เซีย  

(3) อินเดีย     

(4) ถูกข้อ และ 2

ตอบ 4 หน้า 249 ทัศนคติทางศาสนามีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะมุสลิม เพราะศาสดาพยากรณ์ต่อต้าน การบูชารูปเคารพ ดังนั้นจึงส่งผลต่อการออกแบบอาคารและสิ่งต่าง ๆ กล่าวคือ ไม่มีรูปเคารพ ในเทวสถาน อาคารต่าง ๆ มักใช้รูปทรงแบบเรขาคณิต และมีการประดับประดาเพดานและ ฝาผนังอาคารด้วยแก้วโมเสกสีต่าง ๆ ซึ่งมีลวดลายและสีสันที่วิจิตรงดงามหรูหรามาก ทั้งนี้ศิลปิน และช่างฝีมืออิสลามจะยืมแบบอย่างศิลปะและวิธีการช่างส่วนใหญ่มาจากบิแซนทีนและเปอร์เซีย

41.    วัฒนธรรมแบบเรอแนสซองส์ได้เกิดขึ้นที่ใดในยุโรป

(1) อิตาลี      

(2) สเปน       

(3) โปรตุเกส 

(4) อังกฤษ

ตอบ 1 หน้า 441, 443 เรอแนสซองส์ (Renaissance) หมายถึง การเกิดใหม่หรือการฟื้นฟูศิลปวิทยาการซึ่งเป็นวัฒนธรรมคลาสสิกหรืออารยธรรมกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ หรือเป็นสมัยที่เชื่อมต่อยุคกลางเข้ากับยุคใหม่ โดยขบวนการเรอแนสของส์เริ่มเกิดขึ้นที่ยุโรปในดินแดนอิตาลี เป็นแห่งแรก เนื่องจากอิตาลีเป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันออก อีกทั้งพวกพอค้าที่มั่งคังก็ให้การอุปถัมภ์พวกศิลปินและนักเขียนที่สร้างงานศิลปะเป็นอย่างดี

42.    มาเคียเวลลีเขียนเรื่อง เจ้าชาย” (The Prince) ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร

(1)    ตั้งรัฐชาติอิตาลี           

(2) ให้ผู้ปกครองใช้เป็นตำราพิชัยยุทธ

(3) ประณามเจ้าชายที่เห็นแก่ตัว      

(4) เป็นบทละคร

ตอบ 1 หน้า 443 – 444, 461 งานเขียนของมาเคียเวลลีเริ่อง เจ้าชาย” (The Prince) เป็นงานเขียน ชิ้นสำคัญในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือยุครอแนสซองส์ ซึ่งงานเขียนชิ้นนี้ถูกเขียนขึ้นจากความรู้สึกผิดหวังสับสนกับสภาพบ้านเมืองของอิตาลีในขณะนั้นที่ไม่มีความเป็นปึกแผ่นทางการเมือง เขาจึงต้องการรวมดินแดนอิตาลีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและก่อตั้งเป็นรัฐชาติอิตาลี ซึ่งการที่ชาติ จะเป็นปึกแผ่นได้นั้นต้องมีเจ้าชายที่รักชาติ เหี้ยมหาญ ไร้เมตตา และใช้อำนาจได้อย่างเติมที่ รวมทั้งให้แยกเรื่องการเมืองออกจากเรื่องศาสนาอีกด้วย

43.    ใครเป็นจิตรกรเอกในวัฒนธรรมเรอแนสของส์

(1) ถวัลย์ ดัชนี          

(2) แวนก็อก  

(3) ลีโลนาร์โด ดาวินชี

(4) ซัลวาดอร์ ดาลี

ตอบ 3 หน้า 446 อัจฉริยบุคคลท่านหนึ่งในวัฒนธรรมเรอแนสซองส์ก็คือ ลีโอนาร์โด ดาวินซีซึ่งเป็นบุรุษที่มีอัจฉริยภาพเก่งกาจสามารถรอบตัว คือ เป็นทั้งประติมากร นักดนตรี สถาปนิก วิศวกร และจิตรกร โดยผลงานจิตรกรรมชิ้นสำคัญของเขา ได้แก่ พรหมจารีแห่งโขดหิน (Virgin of the Rocks), อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper) และภาพโมนา ลิซ่า (The Mona Lisa) ซึ่งแสดงความคิดเรื่องมนุษย์กับธรรมชาติ

44.    “ยูโทเปีย” (Utopia) ของเซอร์โทมัส มอร์ เป็นเรื่องเกียวกับอะไร           

(1) สังคมที่ไม่มีคนยากจน

(2)  วีรกรรมในประวัติศาสตร์           

(3) นิยายวิทยาศาสตร์          

(4) วันสุดท้ายของเผ่าพันธุ์มนุษย์

ตอบ 1 หน้า 450 เซอร์โทมัส มอร์ ได้เขียนเรื่อง ยูโทเปีย” (Utopia) ขึ้น ซึ่งจัดว่าเป็นอุดมการณ์ ที่มีชื่อเสียงของโลก โดยเชื่อว่าสังคมยูโทเปียจะไม่มีความยากจน มนุษย์ไม่กดขี่ข่มเหงกัน ไม่มีสงครามและโรคภัยไข้เจ็บ ทำงานเพียงหกชั่วโมงต่อวัน ข้าวของเครื่องใช้เป็นสมบัติของส่วนรวม คนมีความฉลาดและยุติธรรม อีกทั้งยังเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริงและเป็นวิญญาณอมตะ สังคมนี้จึงมีแต่ความสุขดั่งสวรรคบนโลก

45.    การปฏิรูปศาสนาในดินแดนเยอรมนีมีความสำคัญอย่างไร   

(1) เกิดนิกายโปรเตสแตนต์

(2) มีการแก้ไขปรับปรุงศาสนจักรคาทอลิก  

(3) เป็นขั้นตอนการพัฒนารัฐชาติ

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 452 – 456, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 101) ผลของการปฏิรูปศาสนาในดินแดน เยอรมนีช่วงตันคริสต์ศตวรรษที่ 16มีดังนี้

1. เป็นการสิ้นสุดสภาพศาสนาสากล โดยนิกาย โรมันคาทอลิกไม่ใช่นิกายเดียวของยุโรปอีกต่อไปแต่ได้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ

2. ทำให้เกิดสงครามทางศาสนา

3. ทำให้มีการปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก โดยมีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติที่ผิด ๆ 4. ทำให้เกิดการพัฒนารัฐชาติแบบใหม่ขึ้น

46.    ผลจากการค้นพบและวางหลักทฤษฎีของใครที่ทำลายฉากสวรรค์ให้พังพินาศ

(1) เซอร์ไอแซค นิวตัน

(2) เจมส์ วัตต์           

(3) ชาร์ลส์ ดาร์วิน     

(4) ซามูเอล ครอมตัน

ตอบ 1 หน้า 502 เซอร์ไอแซค นิวตัน เป็นผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงของโลกหรือกฎแรงดึงดูดของโลกโดยเห็นว่าอนุภาคของสสารในจักรวาลต่างดึงดูดกันด้วยกำลังที่ผกผันตามระยะเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสในระหว่างอนุภาค และเป็นสัตส่วนโดยตรงต่อการผลิตของมวลสารนั้น ๆ ซึ่งผลจากคำอธิบายตามหลักทฤฤษฎีนี้ด้ทำลายฉากบนสวรรค์ให้พังพินาศลงในที่สุด

47.    ระบบทุนเป็นที่นิยมอย่างมากตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะอะไร           

(1) ธนาคารให้สินเชื่อ

(2) ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จ

(3) มีอาณานิคมประกันความมั่งคั่ง  

(4) กำไร

ตอบ 4 หน้า 459 – 460, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 88 – 89) ระบบทุนนิยมเป็นระบบ เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น จากความต้องการผลกำไร โดยเน้นการนำทุนไปประกอบการด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อหากำไร จึงทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อความมั่งคัง ส่งเสริมให้มีการแสวงหาอาณานิคม ทำให้ มีการใช้เงินตราหมุนเวียนมากขึ้น และทำให้ชนชั้นกลางกลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

48.    ประเทศใดในยุโรปที่ออกสำรวจเส้นทางการค้าก่อนเพื่อน

(1) อังกฤษ   

(2) สเปน       

(3) โปรตุเกส 

(4) ฮอลันดา

ตอบ 3 หน้า 468 – 470 ใบคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่ออกสำรวจเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือเพื่อการค้า ทั้งนี้เพราะโปรตุเกสมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีอำนาจและความชำนาญในการเดินเรือที่เหนือกว่าชาติอื่น ๆ และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเจ้าชายเฮนรี นาวิกราช แห่งโปรตุเกส โดยดินแดนแรก ๆ ที่โปรตุเกสต้องการเข้าไปสร้างจักรวรรดิก็คือ ทวีปแอฟริกาและเอเชีย เนื่องจากต้องการแร่ทองคำและเงิน ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ และเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในดินแดนดังกล่าว

49.    หลังจากอังกฤษแข่งขันการค้าเครื่องเทศไม่เป็นผลสำเร็จ ก็ได้หันไปค้าอะไรที่นำมาจากแอฟริกาตะวันตก และเกิดความมั่งคั่งจากสินค้านั้น

(1) คาเวิยร์   

(2) ไขวาฬ     

(3) ทาส         

(4) งาช้าง

ตอบ 3 หน้า 474 หลังจากที่อังกฤษแข่งขันการค้าเครื่องเทศไม่สำเร็จ อังกฤษจึงได้หันไปค้าขนสัตว์ กับรัสเซีย ปล้นชิงสเปน และค้าทาสผิวดำที่ซื้อมาจากแอฟริกาตะวันตก แล้วนำไปขายให้กับ อาณานิคมในอเมริกา โดยผู้ที่มีชื่อเสียงในกิจการค้าทาสคนสำคัญคือ เซอร์จอห์น ฮอว์กินส์ และฟรานซิส เดรก ซึ่งต่อมาฮอว์กินส์ได้กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของอังกฤษในสมัยนั้น

50.    พระราชินีอังกฤษองค์ปัจจุบันทรงนับถือคริสต์ศาสนานิกายใด

(1) คาลแวง  

(2) นิกายอังกฤษ      

(3) โรมันคาทอลิก     

(4) แบปติสต์

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ตามกฎของการสืบสันตติวงศ์ของราชวงศ์อังกฤษนั้น ได้กำหนดเอาไว้ว่ากษัตริย์และพระราชินีของสหราชอาณาจักรทุกพระองศ์จำเป็นต้องนับถือคริสต์ศาสนานิกาย แองกลิคันหรือนิกายอังกฤษ และเป็นสมาชิกของคริสตจักรแห่งอังกฤษ โดยทำหน้าที่เป็น ประมุขสูงสุดด้วย ในปัจจุบันคริสตจักรแห่งอังกฤษถือว่าเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของคริสตจักรทั้งหลายที่สังกัดแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีบิชอปของคริสตจักรเป็นสมาชิกของสภาขุนนางด้วย

51.    พ่อค้ายุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หาทุนจำนวนมหาศาลไปเสี่ยงลงทำกิจการไปทั่วโลกได้อย่างไร

(1) เป็นภาคีกับราชสำนัก

(2) กระทำการโจรสลัด          

(3) ธนาคารแห่งยุโรป

(4) บริษัทร่วมหุ้น

ตอบ 4 หน้า 460 เมื่อต้นยุคใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 พ่อค้าชาวยุโรปจะใช้บริษัทร่วมหุ้น(Joint Stock Companies) เป็นเครื่องมือปฏิบัติการระบบทุนนิยมของชาวยุโรปในส่วนต่างๆ ของโลก เพราะบริษัทเหล่านี้มีความเป็นปึกแผ่น รับผิดชอบต่อผู้ลงทุนตามจำนวนหุ้นที่ซื้อ และสามารถระดมทุนจำนวนมหาศาลไปลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยงทั่วโลกได้

52.    ประเทศใดที่มวลชนได้ก่อการปฏิวัติด้วยคำขวัญ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” ใน ค.ศ. 1789

(1) สหรัฐฯ    

(2) อังกฤษ    

(3) ฝรั่งเศส   

(4) รัสเซีย

ตอบ 3 หน้า 489,(คำบรรยาย) หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1789 ได้มีการประกาศ หลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและพลเมือง โดยสื่อออกมาเป็นคำขวัญของการปฏิวัติที่ว่า เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ” ซึ่งสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้

1.      เสรีภาพ คือ เสรีภาพของบุคคลในด้านต่าง ๆ หรือปัจเจกชนนิยม

2.      เสมอภาค คือ ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์

3.      ภราดรภาพ คือ ความเป็นพีน้องกันตามความเชื่อของศาสนาคริสต์

53.    ในสมัยกลางมีการแบ่งแยกประเภทของงานออกเป็นงานเสรีกับงานทาส ใครที่ทำงานทาส

(1) นักเทศน์  

(2) นักดนตรี  

(3) กวี           

(4) คนขายหมู

ตอบ 4 หน้า 500 – 501 นักคิดสกอลัสติกในลมัยกลางได้แยกประเภทของงานออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.      งานเสรี เป็นงานที่ทำด้วยใจหรืองานที่ใม่เปลี่ยนสาระ ได้แก่ นักกวี นักเทศน์ นักดนตรี นักตรรกวิทยา นักคณิตศาสตร์ และหมอยา

2. งานทาส เป็นงานที่ทำด้วยมือหรืองาน ที่เปลี่ยนสาระ ได้แก่ ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างปั้น หมอผ่าตัด (ศัลยแพทย์) และคนขายหมู

54.    เมื่อเริ่มสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม อังกฤษมีเครื่องจักรที่ใช้พลังงานอะไรทอผ้า

(1) ไฟฟ้า      

(2) นํ้ามัน      

(3) ไอน้ำ        

(4) นํ้า

ตอบ 3 หน้า 507, (คำบรรยาย) ในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นยุคที่อุตสาหกรรมทอผ้าในอังกฤษ เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก โดยเอดมันด์ คาร์ทไรท์ ได้ประดิษฐ์หูกทอผ้า (Power Loom) ขึ้นเป็น ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1785 โดยใช้แรงงานจากม้าเข้ามาช่วยผลิตก่อน ต่อมาได้มีการประยุกติใช้ เครื่องจักรไอนํ้าของเจมส์ วัตต์ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องทอผ้าที่ใช้พลังงานไอนํ้า ซึ่งส่งผลให้ ปริมาณการผลิตผ้าฝ้ายในอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

55.    ลัทธิดาร์วินทางสังคม (Social Darwinism) เป็นที่นิยมของคนพวกใดในคริสต์ศตวรรษที่ 19

(1) พวกจักรวรรดินิยมหรือนักล่าอาณานิคม 

(2) นายทุนใหญ่

(3) เยอรมันหลงเชื้อชาติ       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 511 – 512, 528, 536 ความนิยมคลั่งไคล้ในลัทธิดาร์วินทางสังคม (Social Darwinism) เกิดขึ้นในสมัยจักรวรรดินิยมแบบใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลัทธินี้มีความเชื่อในเรื่องการต่อสู้ เพื่อให้อยู่รอด และผู้ที่เหมาะสมที่สุดจึงจะอยู่รอดได้ ทำให้ชาวยุโรปคิดว่าตนมีอารยธรรมและ ชาติพันธุ์ที่เหนือกว่าชนชาติอื่น ๆ และชนผิวขาวมีภาระที่จะปกครองผู้ที่ด้อยกว่าบนโลกนี้ ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มประเทศมหาอำนาจยุโรปซึ่งเป็นนักล่าอาณานิคม รวมทั้งพวกนายทุนใหญ่ และชาวเยอรมันที่หลงเชื้อชาติว่าเป็นเผ่าพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถเป็นเจ้าโลกได้ จนนำไปสู่การลาอาณานิคมและสร้างจักรวรรดิของตนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

56.    รัตยาด คิปลิง เขียนไว้ว่า “จงแบกรับภาระแห่งคนขาว โดยสืบสาวสิ่งดีที่สุดให้ ผลักบุตรแห่งสูเจ้าออกไป บริการเชลยได้ด้วยจำเป็นคำว่าเชลยนี้หมายถึงใคร

(1) คนนอกศาสนา    

(2) คนดำ      

(3) พวกอาณานิคมผิวสี

(4) ชาวอินเดีย

ตอบ 3 หน้า 522 แนวคิดเกี่ยวกับภาระของชนผิวขาว (ซาวยุโรป) ที่ต้องเสียสละตนให้กับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากพระเจ้าให้เป็นผู้จัดการด้านแรงงาน และนำความเจริญมาสู่ชาติพันธุ์ที่ด้อยกว่านั้น ได้ปรากฏในคำกลอนของรัดยาด คิปลิง ความว่า จงแบกรับภาระแห่งคนขาว โดยสืบสาว สิ่งดีที่สุดให้ผลักบุตรแหงสูเจ้าออกไปบริการเชลยได้ด้วยจำเป็น” ซึ่งคำว่า เชลยในทีนี้ ก็หมายถึง พวกอาณานิคมผิวสี โดยเป็นคำกล่าวที่ต้องการอำพรางลัทธิจักรวรรดินิยมในสมัยนั้นนั่นเอง

57.    สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นได้อย่างไร          

(1) ลัทธิจักรวรรดินิยม

(2) ความรู้สึกทางชาตินิยม   

(3) ความเป็นภาคีพันธมิตร   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 527 – 529, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 132 – 133) สาเหตุพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 มี 4ประการ คือ

1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศมหาอำนาจ

2. การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องอาณานิคม

3. ระบบภาคีพันธมิตร

4. อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมและความรู้สึกทางชาตินิยม

58.    อดอส์ฟ อิตเลอร์ ผู้นำนาซีเยอรมัน ประหัตประหารชนขาติใดอย่างโหดร้ายด้วยอคติ

(1) ยิว

(2) อาหรับ     

(3) คอมมิวนิสต์         

(4) ชนผิวเหลือง

ตอบ 1 หน้า 536 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำ (Fuhrer) พรรคนาซีเยอรมันที่สนับสนุนลัทธิชาตินิยม และการต่อต้านชาวยิวด้วยการประหัตประหารอย่างทารุณโหดร้าย โดยแนวคิดนี้ได้ถูกแสดงไว้ ในหนังสือเรื่อง การต่อสู้ของข้าพเจ้า” ซึ่งแสดงความเกลียดชังประชาธิปไตย ลัทธิมาร์กซ์ และชาวยิว รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าชาวเยอรมันเป็นเผ่าพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถเป็นเจ้าโลกได้

59. ดาวเทียมดวงแรกที่ออกไปโคจรรอบโลกเป็นของชาติโด

(1) สหรัฐฯ    

(2) รัสเซีย      

(3) อังกฤษ    

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หนำ 547 – 548 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา ผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่กลายเป็น ของสหรัฐฯ และโซเวียต (รัสเซีย) มากกว่ายุโรปตะวันตก โดยในปี ค.ศ. 1970 รัสเซียสามารถ ส่งดาวเทียมออกไปโคจรรอบโลกไดสำเร็จเป็นครั้งแรก

60.    ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมวางซามูไรภายหลังเหตุการณ์ใด

(1) ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามมหาเอเชียบูรพา           

(2) สหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกที่เกาะเลเต้

(3) สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดอะตอมลงที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ

(4) หมดตัวนักรบกามิกาเซ

ตอบ 3 หน้า 306, 320 เหตุการณ์ที่ทำให้จักรวรรดิญี่ปุ่นต้องถึงแก่กาลอวสานในช่วงสงครามโลก ครั้งที 2 คือ การที่สหรัฐอเมริกาไต้ส่งฝูงบินทิ้งระเบิดอะตอมหรือระเบิดปรมาณูลูกแรก ที่เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และลูกที่สองที่เมืองนางาซากิ ในวันที่ 9สิงหาคม ปีเดียวกัน ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมวางซามูไรหรือยอมจำนนในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ซึ่งถือเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างแท้จริง

61.    การศึกษาอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ พบว่าชาวสินธุมีความสามารถด้านใดเป็นพิเศษ

(1) ดาราศาสตร์        

(2) พฤกษศาสตร์      

(3) ไสยศาสตร์          

(4) เรขาคณิตเบื้องต้น

ตอบ 4 หน้า 82 จากหลักฐานที่แสดงถึงอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุที่ขุดค้นพบในซากเมืองโมเหนโจดาโร และเมืองฮารัปปานั้น ทำให้ทราบว่าชาวสินธุมีความสามารถทางด้านวิศวกรสำรวจและความรู้ ทางต้านเรขาคณิตเบื้องต้นเป็นอย่างดี ซึ่งที่เห็นเด่นชัดก็คือ การวางผังเมือง เช่น มีการตัดถนน มีท่อระบายนํ้า บ่อนํ้าสาธารณะ รวมทั้งอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่มีการจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของสุขาภิบาลที่ดีและมีความเจริญสูงมากกว่าดินแดนอื่นๆในยุคก่อนประวัติศาสตร์

62.    ข้อใดไม่ใช่มรดกของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่มีต่ออินเดียในปัจจุบัน

(1) ศาสนา    

(2) การแต่งกาย        

(3) ประเพณีการทำศพ

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 4 หน้า 83 – 86 มรดกของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุที่เหลือใว้ในอินเดียปัจจุบัน มีดังนี้

1.      มรดกทางศาสนา ได้แก่ การเคารพนับถือพระศิวะหรือเทพเจ้าแท่งหมู่สัตว์จากการบูชา ศึวลึงค์การบูชาต้นไม้ใหญ่ คือ ต้นโพธิ์ และต้นไทร และการนับถือพญานาคและดวงอาทิตย์

2.      การนิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้าย 2 ชิ้น โดยท่อนบนจะใส่เป็นเสื้อเปิดไหล่ขวา ส่วนท่อนล่างจะนุ่งเป็นผ้าโจงกระเบน หรือที่ชาวอินเดียปัจจุบันเรียกว่า โธติ” (Dhoti)

3.      การเคารพนับถือวัวตัวผู้         

4. การไว้หนวดเครา

5.      ประเพณีการทำศพซึ่งมี 3 วิธี คือ ฝังศพ นำศพปทิ้งให้นกกากิน และเผาศพ ฯลฯ

63.    วรรณกรรมอินเดียเรื่องใดแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก

(1) พระเวท   

(2) มหาภารตะ          

(3) รามายณะ           

(4) ศกุนตลา

ตอบ 2 หน้า 94, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 194) มหาภารตะ เป็นวรรณกรรมอินเดียในยุคมหากาพย์ โดยถือว่าเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุด ในโลก และมีตอนที่สำคัญที่สุดชื่อว่า ภควัทคีตา” ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัดมาจากตอนพระกฤษณะ (เป็นอวตารปางที่ 8 ของพระนารายณ์) ให้คำสอนแก่อรชุนซึ่งเป็นกษัตริย์ตระกูลปาณฑพ (ตัวแทนฝ่ายธรรมะ) ในการทำสงครามกับตระกูลเการพ (ตัวแทนฝ่ายอธรรม) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ผลของสงครามปรากฎว่าฝ่ายปาณฑพได้รับชัยชนะ

64.    นางสีดาในมหากาพย์เรื่องรามายณะเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใด

(1) ความบริสุทธิ์       

(2) ความภักดี           

(3) ความเสียสละ     

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 93 – 94 รามายณะหรือรามเกียรติ์ของไทย เป็นวรรณกรรมอินเดียในยุคมหากาพย์ ที่ประพันธ์โดยฤๅษีวาลมิกิ ซึ่งบุคคลสำคัญในเรื่องจะแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

1.      พวกอารยันได้แก่พระรามพระลักษณ์นางสีดา และหนุมานโดยพระรามกับนางสีดา ถือว่าเป็นบุคคลในอุดมคติที่ควรยกย่องและยึดถือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับสังคมของอินเดีย นั่นคือ พระรามเป็นสัญลักษณ์ของบุตร สามี และนักปกครองในอุดมคติ ส่วนนางสีดา เป็นสตรีในอุดมคติ โดยเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความภักดี และความเสียสละ

2.      พวกมิลักขะหรือทราวิฑ ได้แก่ ทศกัณฐ์กับพวก ซึ่งเป็นตัวแทนของชนพื้นเมืองผู้ตํ่าต้อย ที่โหดร้ายทารุณ ป่าเถื่อน และไม่ใช่อารยชน

65.    ในปัจจุบันนี้ชาวอินเดียยังคงนับถือพระพุทธเจ้ากันอยู่ โดยนับถือพระองค์ในฐานะปางหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ คำถามคือเทพเจ้าองค์นั้นคือเทพเจ้าองค์ใด

(1) พระอิศวร

(2) พระนารายณ์       

(3) พระอินทร์

(4) พระพรหม

ตอบ 2 หน้า 106 ในปัจจุบันนี้ชาวอินเดียยังคงนับถือพระพุทธเจ้าเสมือนเป็นปางหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ซึ่งก็คือ พระวิษณุหรือพระนารายณ์ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า นารายณ์ 10 ปาง” โดยชาวอินเดียจะเคารพกราบไหว้พระพุทธเจ้าเพราะเชื่อว่าเป็นปางที่ 9ของ พระนารายณ์ แต่ก็มีชาวอินเดียบางเมืองทางตอนเหนือของบอมเบย์ที่นับถือเป็นพุทธล้วน ๆ

66.    พระพรหมสร้างคนชั้นศูทรมาจากพระวรกายส่วนใด

(1) พระโอษฐ์

(2) พระบาท  

(3) พระพาหา

(4) พระโสณี

ตอบ 2 หน้า 98, (คำบรรยาย) ตามคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า พระพรหมได้ทรง สร้างมนุษย์เป็นชนชั้นต่าง ๆ ไว้เพื่อสันติของสังคมจากพระวรกายของพระองค์ 4 ส่วน ดังนี้

1.      พราหมณ์ สร้างจากพระโอษฐ์ โดยถือว่าเป็นวรรณะสูงสุดที่ทำหน้าที่ทางวิชาการและ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นักบวช นักปราชญ์ ครูอาจารย์

2.      กษัตริย์ สร้างจากพระพาหา ทำหน้าที่ทางการปกครองและบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน เช่น นักรบ นักปกครอง

3.      แพศย์ สร้างจากพระโสณี (ลำตัวถึงสะโพก) ทำหน้าที่ทางด้านกสิกรรมและพาณิชยกรรม เช่น พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ

4.      ศูทร สร้างจากพระบาท ทำหน้าที่รับจ้างหรือรับใช้ เช่น ทาส กรรมกร

67.    ข้อใดคือจุดร่วมของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ        

(1) อหิงสา

(2) รับประทานมังสวิรัติ        

(3) ปฏิเสธวรรณะ     

(4) บูชาบวงสรวงเทพเจ้า

ตอบ 3 หน้า 90, 102 ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาเชนต่างก็มีเป้าหมายหลักเหมือนกัน คือ ต้องการปฏิรูปสังคมอินเดีย โดยเฉพาะโครงสร้างทางสังคมแบบวรรณะให้หมดไป

68.    ศูนย์กลางของโปรตุเกสในอินเดียอยู่ที่ใด

(1) เมืองกัว   

(2) ปัตตาเวีย

(3) กัลกัตตา 

(4) ปองดิเชอรี

ตอบ 1 หน้า 129, 133 ยุโรปชาติแรกที่เข้ามาค้าขายในอินเดียคือ โปรตุเกส ซึ่งประสบผลสำเร็จ ทางด้านการค้าและการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก ของอินเดียนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกา โดยเฉพาะที่เมืองกัวซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า และศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกส ทั้งนี้ประชาชนผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่อาศัยอยู่ใน เมืองกัวเรียกร่า ชาวกวน” ซึ่งจะพูดภาษากวน

69.    ข้อใดคือลักษณะเด่นของการปกครองในสมัยราชวงศ์เมาริยะ

(1) เผด็จการ 

(2) ระบบทหาร          

(3) ประชาธิปไตย     

(4) สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ตอบ 3 หน้า 113-114 การปกครองในสมัยราชวงศ์โมริยะหรือราชวงศ์เมาริยะที่เด่นที่สุดคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ กษัตริย์ผู้ปกครองไม่ดำรงตนอยู่ในฐานะสมมุติเทพ แต่จะปกครองเสมือนเป็นผู้รับใช้ประชาชน โดยจะเอาใจใส่ดูแลประชาชนเป็นอย่างดี เห็นประโยชน์ของประชาชนมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และให้สิทธิแก่ประชาชนในการถอดถอน กษัตริย์ได้เมื่อพระองค์ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ซึ่งจะคล้ายกับการปกครองในสมัยของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชของอาณาจักรสุโขทัย

70.    ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียคือใคร

(1) คานธี      

(2) เนห์รู        

(3) ซเยด อาห์เหมด ข่าน       

(4) ซูการ์โน

ตอบ ไม่มีข้อใดถูก (คำบรรยาย) ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียคือ ดร.ราเชนทร์ ประสาท(Dr. Rajendra Prasad) รัฐบุรุษอาวุโสของอินเดีย ส่วนนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียคือ เยาวห์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)

71.    ประเทศใดไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียใต้

(1) มัลดีฟส์   

(2) เนปาล     

(3) ภูฏาน      

(4) อิหร่าน

ตอบ 4 หน้า 73, 75 เอเชียใต้ (South Asia) หรือที่สื่อมวลชนทางตะวันตกนิยมเรียกร่า อนุทวีปอินเดีย” (Indian Sub-continent) ซึ่งในอดีตนั้นเอเชียใต้มักหมายถึงประเทศอินเดีย แต่ในปัจจุบันเอเชียใต้ จะมีทั้งหมด 7ประเทศ ได้แก่ อินเดียปากีสถานบังกลาเทศ ศรีสังกา เนปาลภูฏานและมัลดีฟส์

72.    ข้อใดคือมรดกทางวัฒนธรรมของสมัยคุปตะ

(1) ระบบทศนิยม     

(2) ศาสนาอิสลาม     

(3) ห้องอาบนํ้า          

(4) ศิลปะการบังคับช้าง

ตอบ 1 หน้า 116, 118 – 120 สมัยคุปตะถือว่าเป็นยุคทองของอินเดียโบราณ โดยวัฒนธรรมความเจริญที่เด่นๆ ประการหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสมัยนี้ได้แก่ การมีนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคือ อารยภัททะ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าโลกกลมและโคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังเป็น ผู้คิดระบบทศนิยมได้เป็นคนแรกของโลก ซึ่งถือว่าเป็นมรดกชิ้นสำคัญของโลก

73.    มิลักขะ หมายถึงคนกลุ่มใด

(1) ทราวิฑ    

(2) ชาวเนปาล           

(3) ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(4) ชาวจีน

ตอบ 1 หน้า 73, 82 มิลักขะหรือทราวิฑ (Dravidian) เป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดียที่สร้างอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุก่อนที่ชาวอารยันจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย ซึ่งพวกมิลักขะหรือทราวิฑ จะมีรูปร้างเตี้ย ผิวดำ จมูกกว้าง และอาศัยอยู่ตามลุ่มแม่นํ้าสินธุและลุ่มแม่นํ้าราวี

74.    คัมภีร์สามเวทมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) พิธีบวงสรวงเทพเจ้า       

(2) บทสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทพเจ้า

(3) ไสยศาสตร์          

(4) การแสดงกลหรือศิลปศาสตร์ รวมทั้งสังคีตต่าง ๆ

ตอบ 4 หน้า 89, 91, 96 คัมภีร์พระเวทมี 3 เล่ม เรียกว่า ไตรเพท” หรือ ไตรเวท” ซึ่งจารึกเป็น ภาษาสันสกฤต ประกอบด้วย

1. ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ของพวกอารยัน การสร้างโลก รวมทั้งบทสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทพเจ้าต่าง ๆ

2.      ยชุรเวท เป็นบทแสดงพิธีบวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ และบทสวดในเวลาทำพิธีกรรม

3.      สามเวท เป็นบทแสดงกลศาสตร์หรือศิลปคาสตร์ รวมทั้งสังคีตตาง ๆ ซึ่งต่อมาคัมภีร์พระเวท ก็ได้มีอาถรรพเวทอันเป็นบทสวดคาถาเกี่ยวกับไสยศาสตร์เพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง

75.    ในประวัติศาสตร์อินเดียใครคือผู้ที่ได้รับสมญานามว่า จอมจักรวาล

(1) พระเจ้าอโศกมหาราช

(2) พระเจ้าอักบาร์    

(3) ซาห์เจอาน           

(4) พระเจ้าจันทรคุปต์

ตอบ 2 หน้า 123 – 124, (คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์ เป็นจักรพรรดิหรือกษัตริย์มุสลิมราชวงศ์โมกุลของอินเดียที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และเป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่ายจนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่า ‘‘มหาราช” อีกทั้งยังได้รับพระนามว่า จอมจักรวาล” เพราะเป็นที่รักของคนทุกเผ่า

76.    เหตุการณใดที่ทำให้อังกฤษมีอำนาจในอินเดียแต่เพียงผู้เดียว          

(1) สงคราม30ปี

(2) สงครามชิงราชสมบัติสเปน         

(3) สงครามคาร์นาติค ครั้งที่ 3       

(4) กบฏซีปอย

ตอบ 3 หน้า 135 – 136 ผลของสงครามคาร์นาติค ครั้งที่ 3 ได้ทำให้อังกฤษมีอำนาจทางการค้าและการเมืองในอินเดียเพียงชาติเดียว จนสามารถครอบครองอินเดียได้ทั้งประเทศในเวลาต่อมา โดยอังกฤษได้วางนโยบายการปกครองอินเดียไว้เป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงแรกในปี ศ.ศ. 1757 ได้ส่ง โรเบิร์ต ไคลฟ์ มาเป็นข้าหลวงคนแรกเพื่อช่วยเหลือบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ

ต่อมาช่วงที่สองในปี ค.ศ. 1774 ได้ส่งวอร์เรน เฮสติงส์ มาเป็นข้าหลวงใหญ่คนแรกเพื่อสร้าง จักรวรรดินิยมในอินเดียโดยตรง

และช่วงที่สามในปี ค.ศ. 1858 ก็ได้ส่งลอร์ด แคนนิ่ง มาเป็น อุปราชคนแรกเพื่อเป็นผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้ากรุงอังกฤษ

77.    ใครคือข้าหลวงใหญ่คนแรกของอินเดีย

(1) แคนนิ่ง    

(2) เมาท์แบทเทน      

(3) เฮสติงส์   

(4) ไคลฟ์

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78.    ข้อใดคือมรดกของอังกฤษที่ส่งทอดสู่สังคมอินเดียในปัจจุบัน

(1) พิธีสติ     

(2) ศาสนาคริสต์       

(3) ระบบกฎหมาย    

(4) ชนชั้นทางสังคม

ตอบ 3 หน้า 146 – 151, 164 มรดกทางอารยธรรมของอังกฤษที่ถ่ายทอดสู่สังคมอินเดียในปัจจุบัน มีดังนี้

1.      ระบบกฎหมายที่มีการผสมผสานลักษณะวิธีปฏิบัติแบบยุโรปและอินเดียเข้าด้วยกัน

2.      การสร้างทางรถยนต์ ทางรถไฟ การไฟฟ้า ประปา และระบบชลประทาน

3.      อุตสาหกรรมสิ่งทอและการค้าขายที่เป็นสากล

4.      ยกเลิกประเพณีพิธีกรรมที่เหลวใหลต่าง ๆ เช่น ประเพณีสุตตีหรือสติ ฯลฯ

5.      ระบบการศึกษา

6.      รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด

79.    ในประวัติศาสตร์อินเดีย อาลูมีความสำคัญอย่างไร  

(1) ต้นไม้ประจำชาติ

(2) สัญลักษณ์ราชวงศ์โมกุล

(3) อาหาร     

(4) ชนเผ่าเร่ร่อน

ตอบ 3 หน้า 133 – 134 มรดกทางต้านเกษตรกรรมที่โปรตุเกสนำมาใช้ในอินเดียสมัยราชวงศ์โมกุลคือ การนำเอาวิทยาการแผนใหม่มาล่งเสริมประชาชนในด้านการเกษตร โดยเฉพาะได้แนะนำ และส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชอาหารหลักประเภทมะพร้าว ข้าวโพด และมันฝรั่ง (อาลู)ในเชิงพาณิชย์ แล้วจัดหาตลาดให้

80.    สิ่งใดเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์โมริยะ

(1) วัวตัวผู้    

(2) นกยูง      

(3) วัวตัวเมีย 

(4) ดอกเบญจมาศ

ตอบ 2 หน้า 116 สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์โมริยะคือ นกยูง ซึ่งปัจจุบันนี้นกยูงได้กลายเป็น นกประจำชาติของอินเดีย โดยสามารถที่จะหาดูได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ

81.    แนวคิดเรื่องโอรสแห่งสวรรศ์เริ่มต้นในสมัยใด

(1) ราชวงศ์ถัง          

(2) ราชวงศ์สุย          

(3) ราชวงศ์โจว          

(4) ราชวงศ์ชิง

ตอบ 3 หน้า 274 – 275 ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก กษัตริย์จะถือว่าตนเป็น โอรสแห่งสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิที่ได้รับคำสั่งจากเทพเจ้าเทียนหรือเทพเจ้าแห่งสวรรค์ให้มาขจัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชนโดยมีอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อปกครองเรียกว่า อาณัติแห่งสวรรค์” และตราบเท่าที่ทรงประพฤติตนอยู่ในคุณธรรมอันดีงาม อาณัติแห่งสวรรค์จะยังคงอยู่ตลอดไป แต่หากประพฤติผิดหลักธรรม อาณัติแห่งสวรรค์ก็จะสูญสิ้นไป

82.    สิ่งใดคือความเจริญด้านการปกครองของราชวงศ์ถัง

(1) การตั้งรัฐสภา     

(2) การสืบทอดอำนาจจากบิดาสู่บุตร

(3) การตั้งสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์           

(4) การสอบเข้ารับราชการ

ตอบ 4 หน้า 281 – 282, (คำบรรยาย) ความเจริญด้านการปกครองที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถังคือ การบริหารราชการแผ่นดินจะอาศัยหลักคำสอนของขงจื๊อ โดยอยู่ภายใต้การปฏิบัติงานของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ จุงชู เหมินเซีย และซั่งซู รวมทั้งนำเอาระบบการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นยุคแรกกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

83.    ความคิดที่ว่า สังคมจะเรียบร้อยและเป็นสุขได้ถ้าสมาชิกของสังคมรู้จักหน้าที่ของตนเอง” เป็นแนวคิด ของนักปรัชญาเมธีคนใด

(1) ขงจื๊อ       

(2) เล่าสือ     

(3) โมจื๊อ       

(4) เม่งจื๊อ

ตอบ 1 หน้า 276, 347, (คำบรรยาย) หลักคำสอนของขงจื๊อจะมุ่งเน้นในเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของสังคมในโลกนี้มากกว่าโลกหน้า ซึ่งมีสาระสำคัญคือ สังคมจะเรียบร้อยและเป็นสุขได้ ถ้าสมาชิกของสังคมรู้จักหน้าที่ของตนเอง ” โดยหน้าที่ในที่นี้หมายถึง การปฏิบัติตามธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามที่ยึดถือปฏิบัติกันมา เช่น เมื่อรับใช้พ่อแม่ก็ปฏิบัติเต็มที่ เมื่อรับใช้ผู้ปกครอง ก็อุทิศชีวิตให้ เมื่อสนทนากับมิตรก็มีแต่ความจริงใจ เป็นต้น

84.    ข้อใดคือลักษณะที่ทำให้หลิวปังและจูหยวนจังแตกต่างจากจักรพรรดิจีนพระองศ์อื่น (1) ทรงเป็นชาวนามาก่อน    

(2) ทรงเป็นชาวต่างชาติ

(3) ทรงนับถือสำนักนิติธรรมอยางเคร่งครัด 

(4) ทรงต่อต้านพุทธศาสนา

ตอบ 1 หน้า 278, 284 หลิวปังและจูหยวนจังมีลักษณะที่แตกต่างจากจักรพรรดิจีนพระองค์อื่น ๆ ก็คือ ทรงเป็นสามัญชนหรือชาวนามาก่อน โดยหลิวปังนับเป็นชาวนาคนแรกในประวัติศาสตร์จีน ที่ได้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินามว่า ฮั่นเกาสู” และจูหยวนจัง ก็นับเป็นชาวนาคนที่ 2 ต่อจากหลิวปัง ที่ได้ก่อตั้งราชวงศ์หมิงและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ นามว่า พระเจ้าฮังวู” ขึ้นปกครองแผ่นดินจีน

85.    ขุนนางตระกูลซือมามีความสำคัญต่อจีนอย่างไร

(1) ขับไล่กองทัพมองโกลออกจากจีน           

(2) เป็นนักประวัติศาสตร์ที่เที่ยงตรง

(3)    เป็นคนแรกที่ประดิษฐ์กระจกเงา        

(4) เป็นตระกูลที่ถูกประหารเพราะคดโกง

ตอบ 2 หน้า 279 ผลงานทางด้านวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ฮั่น แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

1.      สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนต้นได้แก่ ผลงานเขียนทางประวัติศาสตร์เรื่อง เฉอซี” หรือบันทึกของนักประวัติศาสตร์ ซึ่งเขียนโดยนักประวัติศาสตร์ที่เทียงตรงในตระกูลซือมา ชื่อซือมาตัน และซือมาเชียง

2.      สมัยราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง ได้แก่ ผลงานเขียนทางประวัติศาสตร์เรื่อง ฮั่นชู” หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตอนต้น ซึ่งเขียนโดยบุคคลในตระกูลปาน ได้แก่ ปานเปียว ปานกู และปานเจา ทำให้ผลงานทางประวัติศาสตร์สมบูรณ์แบบมากขึ้น

86.    เพราะเหตุใดในสมัยราชวงศ์สุ้ง ฐานะของสตรีจึงตกต่ำไปจากเดิม

(1) มักกระทำผิดประเวณี     

(2) สตรีเข้ามามีอำนาจในราชสำนักมากเกินไป

(3) เกิดประเพณีมัดเท้า        

(4) สตรีไม่ได้รับอนุญาตให้สอบขุนนางได้อีกต่อไป

ตอบ 3 หน้า 283 ในสมัยราชวงศ์สุ้งนั้นฐานะทางสังคมของสตรีตกต่ำกว่าเดิมมาก เพราะมีการ นำเอาประเพณีการมัดเท้าเข้ามาใช้ ทำให้สตรีเดินไปมาลำบากยิ่งขึ้น

87.    ในสมัยใดที่กองเรือของจีนยิ่งใหญ่กว่าในสมัยใด จนสามารถเดินทางไปไกลถึงทวีปแอฟรีกา

(1) ถัง

(2) หมิง         

(3) ชิง

(4) หยวน

ตอบ 2 หน้า 285 ในสมัยราชวงศ์หมิงได้ส่งเสริมให้มีการเดินทางทางทะเลมากขึ้น ส่งผลให้กองเรือจีน ในสมัยนี้มีความยิ่งใหญ่กว่าสมัยอื่น ๆ จนสามารถเดินทางไปไกลถึงชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปแอฟรีกา อย่างไรก็ตามความเป็นเจ้าทะเลของจีนได้ยุติลงในปี ค.ศ. 1433เพราะผู้ปกครอง ไม่สนับสนุนให้ทำการค้าขาย

88.    ข้อใดเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปฏิรูป 100 วัน

(1) ดร.ซุนยัดเซ็นเป็นหัวหน้าขบวนการ         

(2) เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านราชวงศ์

(3) เหตุการณ์ครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดี        

(4) นำแนวคิดตะวันตกมาใช้ในการปฏิรูป

ตอบ 4 หน้า 289 กังยู่ไหว เป็นผู้นำในการปฏิรูปประเทศจีนในภาคเหนือ โดยเขาได้นำแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาการจากตะวันตกทั้งหมดเข้ามาใช้ได้เพียง 100 วัน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ การปฏิรูป 100 วัน” แต่โครงการปฏิรูปนี้ประสบกับความล้มเหลว ทำให้กังยู่ไหวและพรรคพวกถูกจับเนรเทศ บางส่วนก็ถูกประหารชีวิต

89. ในสายตาของคอมมิวนิสต์จีน ขบวนการ 4 พฤษภาคม” มีความสำคัญอย่างไร

(1) จุดเริ่มต้นการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน       

(2) เหมาเจ๋อตุงขึ้นเป็นประธานาธิบดี

(3) พรรคก๊กมินตั๋งยอมพ่ายแพ้โดยสิโรราบ  

(4) จุดเริ่มต้นของการต่อต้านต่างชาติ

ตอบ 1 หน้า 290 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1919 ได้เกิดเหตุการณ์เดินขบวนครั้งใหญ่ของนักศึกษาจีน ที่เรียกว่า ขบวนการ 4 พฤษภาคม” ฃึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรม ของจีนเอง และแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมที่รับมาจากต่างชาติ อันได้แก่ ความเป็นชาตินิยม (Nationalism) ความไม่พอใจชาติตะวันตก และการต่อต้านบรรดาขุนศึกที่ปักกิ่ง โดยเหตุการณ์ ครั้งนี้ในสายตาคอมมิวนิสต์จีนถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินจีน

90.    คนกลุ่มใดคือคนที่มีฐานะต่ำที่สุดไม่ว่าราชวงศ์ใดขึ้นปกครองจีน

(1) ฮั่นเหนือ  

(2) ฮั่นใต้       

(3) แมนจู      

(4) ฮั่นตะวันตก

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ชนชาติพื้นเมืองในจีนแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น ได้แก่

1.      ชนชั้นชาวมองโกลทั่วไป ถือว่าเป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมสูงสุด

2.      ชนชั้นชาวเซ่อมู่ เป็นชนเผ่าต่าง ๆ ของดินแดนทางตะวันตกและพวกซีเซี่ย

3.      ชนชั้นชาวฮั่น เป็นพวกที่เคยถูกอาณาจักรจิ๋นปกครองมาก่อน เช่น ชาวฮั่นทางเหนือ ชาวชี่ตาน ชาวหนี่เจิน ฯลฯ

4.      ชนชั้นชาวใต้ เป็นชาวฮั่นใต้แม่นํ้าแยงซีเกียงและชนชาติอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นที่มีฐานะ ทางสังคมต่ำสุดในทุกราชวงศ์ที่ขึ้นปกครองจีน

91.    ปัจจุบันชาวไอนุยังอาศัยอยู่แถบใดของญี่ปุ่น           

(1) โตเกียว

(2) นารา       

(3) ไม่เหลือคนกลุ่มนี้ในญี่ปุ่นแล้ว    

(4) ฮอกไกโด

ตุอบ 4 หน้า 305 ชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่น และถือว่า เป็นบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นที่ยังคงมีบทบาททางสังคมอยู่บริเวณตอนเหนือของเกาะฮอกไกโด ในปัจจุบัน ซึ่งชาวไอนุจะมีลักษณะทางกายภาพหรือมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับชาวตะวันตก (ชาวยุโรป) มากที่สุด เช่น ตามร่างกายมีขนดก หน้าแบน ตาสีฟ้า ผิวขาว ผมทอง รูปร่างสูงใหญ่ เป็นต้น

92.    การปฏิรูปไทกาคือผลงานของใคร

(1) จิมมู เทนโน         

(2) เรียวมะ    

(3) เมจิ          

(4) นากะ โนะ โอเยะ

ตอบ 4 หน้า 307, 310, 316 ในสมัยเจ้าชายนากะ โนะ โอเยะ ได้เกิดแผนการปฏิรูปไทกาซึ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นที่เลียนแบบจีนในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเน้นการปฏิรูปทั้งทางด้านการปกครองและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งแนวทางการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจที่นำมาใช้ก็คือ มีการประกาศโอนที่ดินของนายทุนและผู้มีอิทธิพลเข้ามาเป็นของรัฐ โดยรัฐจะนำที่ดินดังกลาว มาแจกจ่ายให้แก่ชาวนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และต้องคืนให้แก่รัฐเมื่อไม่สามารถใช้แรงงาน บนที่ดินนั้นได้ แต่แผนการนี้ล้มเหลว เพราะถูกขัดขวางจากผู้เสียประโยชน์และผู้ที่ไม่เข้าใจ ในความจำเป็นของการใช้สอยที่ดิน จึงถูกยกเลิกในเวลาต่อมา

93.    แม้ในสมัยโตกูกาวา ญี่ปุ่นจะประกาศปิดประเทศ แต่ก็ยังคงค้าขายกับชาวต่างชาติอยู่ ชาวต่างชาติที่ว่านี้ หมายถึงชาติใด

(1) ชาวจีน    

(2) ชาวอังกฤษ          

(3) ชาวฝรั่งเศส         

(4) ชาวสเปน

ตอบ 1 หน้า 311, 318 ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความหวาดกลัวต่อชาวต่างชาติ ทำให้โซกุนโตกูกาวาประกาคปิดประเทศ และขับไล่ชาวต่างชาติออกไป โดยไม่คบค้าสมาคมกับ ประเทศใด ๆ ยกเว้นจีนกับดัตช์ (ประเทศเนเธอร์แลนดในปัจจุบัน) ที่ญี่ปุ่นยังคงอนุญาต ให้เข้ามาติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมได้เพียงบางครั้งบางคราวเท่านั้น

94.    ในสมัยโตกูกาวา ชิมปัน หมายถึงอะไร

(1)    ขุนศึกที่ใกล้ชิดทางสายเลือดกับโชกุนโตกูกาวา

(2)    ขุนศึกที่เข้าร่วมกับตระกูลโตกูกาวาก่อน ค.ศ. 1603

(3)    ขุนศึกที่เข้าร่วมกับตระกูลโตกูกาวาหลังยึดอำนาจแล้ว         

(4) ขุนศึกที่เคยร่วมกับฮิเดโยชิมาก่อน

ตอบ 1 หน้า 309, 313 ในสมัยโตกูกาวา โชกุนได้แบ่งชนชั้นขุนนางซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นออกเป็น3 ประเภท คือ

1. ชิมปัน เป็นขุนศึกที่มีความใกล้ชิดทางสายเลือดกับโชกุนโตกูกาวา และ ปกครองบริเวณเมืองเอโดะ

2. ฟูได เป็นขุนศึกที่เข้าร่วมกับตระกูลโตกูกาวาก่อนขึ้นมา มีอำนาจ (ก่อนปี ค.ศ. 1603) 

3. โตซามา เป็นขุนศึกกลุ่มสุดท้ายที่เข้าร่วมกับตระกูลโตกูกาวาหลังจากขึ้นมามีอำนาจในญี่ปุ่นแล้ว

95.    ชนชั้นใดคือชนชั้นที่ต่ำสุดในสังคมญี่ปุ่น

(1) พ่อค้า      

(2) ขุนนาง     

(3) ชาวนา     

(4) นักบวช

ตอบ 1 หน้า 312 – 313, (คำบรรยาย) สังคมญี่ปุ่นในสมัยศักดินาแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น (ตามแนวคิด ของลัทธิขงจื๊อที่รับมาจากจีน) ได้แก่

1. ชนชั้นปกครอง ถือว่าเป็นชนชี่นที่สูงและสำศัญที่สุด ซึ่งประกอบด้วยพวกขุนนางและนักรบหรือซามูไร

2. ชนชั้นชาวไร่ชาวนา

3. ชนชั้นช่างฝีมือ

4.นชั้นพ่อค้าและนักธุรกิจ เป็นชนชั้นต่ำสุดในสมัยนี้ แต่ผลสุดท้ายก็กลายเป็นชนชั้นที่สำคัญ ที่สุดในสมัยปัจจุบัน

96.    ใครคือเทพเจ้าสูงสุดของชาวญี่ปุ่น

(1) อะมาเตราสึ        

(2) กามิกาเซ 

(3) โชโทกุ      

(4) ฮิราอิ

ตอบ 1 หน้า 303, 315 ก่อนที่ศาสนาและลัทธิจากต่างชาติ เช่น ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อและเต๋า ฯลฯ จะเข้ามาเผยแผ่ในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นได้มีการนับถือเทพเจ้าอยู่แล้วซึ่งก็คือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ (สุริยเทวีหรือพระนางอะมาเตราสึ) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในสมัยนั้น โดยต่อมารู้จักกันในชื่อว่า ลัทธิชินโต” หรือวิถีทางของเทพเจ้า ทั้งนี้ลัทธิชินโตรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยโตกูกาวาตอนปลาย และในสมัยเมอิจิ

97.    ฮานิวาเป็นหลักฐานที่สะท้อนภาพวัฒนธรรมยุคใดของญี่ปุ่น

(1) วัฒนธรรมหลุมฝังศพ      

(2) ยุคตำนาน           

(3) สมัยฟูจิวารา        

(4) สมัยโตกูกาวา

ตอบ 1 หน้า 314 ในปี ค.ศ. 600 ญี่ปุ่นได้รับเอาวัฒนธรรมทูมูลิหรือวัฒนธรรมหลุมฝังศพจากเกาหลี เข้ามาใช้ ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า วัฒนธรรมโคพัน” คือ การนำเอาหินก้อนใหญ่ ๆ มาประดับ หลุมฝังศพ นอกจากนี้ยังมีการนำเอารูปปั้นที่เรียกว่า ตัวฮานิวา” ซึ่งมีทั้งรูปร่างของมนุษย์ สัตว์ และที่อยู่อาศัย มาเรียงล้อมรอบร่างของผู้ตายด้วย โดยวัฒนธรรมนี้จะเป็นที่นิยมกันเฉพาะ ในหมู่ชนชั้นนักปกครองเท่านั้น

98.    ชาวไร่ในสังคมเกาหลีโบราณนั้นเป็นคนในชนชั้นใด

(1) ยางบัน    

(2) ซินจิน      

(3) แซงมิน    

(4) ซุนมิน

ตอบ 3 หน้า 333 สังคมเกาหลีโบราณช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 แบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น คือ

1.      ชนชั้นสูงหรือยางบัน (Yang-ban) ได้แก่ พวกขุนนาง ข้าราชการระดับสูง นักวิชาการ และนักปราชญ์

2.      ชนชั้นกลางหรือซินจิน (Shin-jin) ได้แก่ ข้าราชการระดับกลางและระดับต่ำ

3.      ชนชั้นสามัญหรือแซงมิน (Sang-min) ได้แก่ นักธุรกิจ ชาวไร่ชาวนา และซ่างฝีมือ

4.      ชนชั้นต่ำหรือซุนมิน (รนก-ท๓ก) ได้แก่ นักแสดง คนล่าสัตว์ และทาส โดยชนชั้นสูง จะเรียกชนขั้นที่ต่ำกว่าว่า แซงนอม” (Sang-nom) หรือไพร่

99.    คำว่า โสมแดง” เป็นสัญลักษณ์ของประเทศใด

(1) จีน           

(2) เกาหลีใต้ 

(3) เกาหลีเหนือ         

(4) ญี่ปุ่น

ตอบ 3 หน้า 342 โสมเกาหลี เป็นสินค้าสัญลักษณ์ประจำชาติเกาหลี จนทำให้ประเทศเกาหลีได้ชื่อว่า เป็นประเทศโสมขาว (เกาหลีใต้หรือสาธารณรัฐเกาหลี) และประเทศโสมแดง (เกาหลีเหนือ หรือสาธารณรัฐประชาชนเกาหลี)

100. สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950 – 1953) ยุติลงเป็นการชั่วคราวด้วยเหตุผลใด

(1) เกาหลีใต้ชนะเกาหลีเหนือ          

(2) สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากเกาหลี

(3)    เกาหลีเหนือข่มขู่จะยิงขีปนาวุธใส่เกาหลีใต้   

(4) มีการลงนามสนธิสัญญาทางทหาร

ตอบ 4 หน้า 332 สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950 – 1953) เป็นสงครามภายในประเทศระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกาหลีเหนือได้ส่งกองกำลังทหารรุกข้ามเขตเส้นขนานที่ 38 เข้ามาในเกาหลีใต้ และยึดกรุงโซลได้ภายใน 5 วัน จนในที่สุดก็ได้มีการเซ็นลงนามสนธิสัญญา ทางทหารเพื่อหยุดยิงชั่วคราวขึ้นที่หมู่บ้านปันมุนจอม (Panmunjorn) ในเขตปลอดทหาร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสงครามเกาหลีที่กินระยะเวลา นานถึง 3 ปีนับตั้งแต่นั้น

101. เมืองสุธรรมวดีเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรใด

(1) จามปา    

(2) กัมพูชา    

(3) มอญ       

(4) เจนละ

ตอบ 3 หน้า 375 มอญเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายเดียวกันเขมร ซึ่งได้เริ่มรวมตัวกันตั้งเป็นอาณาจักรมอญ ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุธรรมวดีหรือเมืองท่าตุน บริเวณลุ่มแม่น้ำสะโตง ของพม่า (เมียนมาร์) ซึ่งพวกมอญที่สุธรรมวดีจะมีความรู้ทางด้านเกษตรกรรม การทำนาทำไร่ และมีความชำนาญในการชลประทาน ซึ่งเรียนรู้มาจากพวกอินเดีย โดยเฉพาะการเป็นผู้ริเริ่ม ภารชลประทานขึ้นในที่ราบกยอเสในบริเวณตอนกลางของพม่า นอกจากนี้ยังมีการติดต่อค้าขาย อย่างใกล้ชิดกับอินเดียและลังกา ทำให้มอญได้รับอารยธรรมอินเดียไว้เต็มที่หลายประการ

102. อาณาจักรใดถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทวราชาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง

(1) จามปา    

(2) กัมพูชา    

(3) ฟูนัน        

(4) เจนละ

ตอบ 2 หน้า 374 พวกเขมรได้รวมตัวเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่งในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งทรง ยกทัพขึ้นมายึดครองอาณาจักรเจนละได้สำเร็จ และได้รวมเจนละบกและเจนละน้ำเข้าด้วยกัน โดยให้ชื่อใหม่ว่า อาณาจักรกัมพูชา” หลังจากนั้นพระองค์ได้ประกอบพิธีราชาภิเษก มีการบูชา ศิวลึงค์ และประกาศพระองค์เป็นเจ้าแห่งจักรวาล ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทวราชาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง

103. เพราะเหตุใดศรีวิชัยจึงล่มสลายลง

(1) กองทัพโจฬะเข้าโจมตี    

(2) สตรีมีอำนาจในราชสำนัก

(3) สมเด็จพระยามังรายยกทัพเข้าโจมตี      

(4) กษัตริย์ทรงใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

ตอบ 1 .หน้า 379 อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายลงนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1025 เนื่องจากถูกกองทัพโจฬะ ในอินเดียภาคใต้เข้าโจมตี แต่ยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1280 ศรีวิชัยจึง หมดอำนาจโดยสิ้นเชิงจากการรุกรานของอาณาจักรมัชฌปาหิตและอาณาจักรไทยในแหลมมลายู

104. นครเกียรติคมเปิบวรรณกรรมของอาณาจักรใด

(1) สิงหัสส่าหรี         

(2) พระนครศรีอยุธยา           

(3) มัชฌปาหิต          

(4) ศรีวิชัย

ตอบ 3 หน้า 380 ความเจริญด้านวรรณกรรมและบันทึกประวัติศาสตร์ของอาณาจักรมัชฌปาหิต ได้แก่โคลงชื่อ นครเกียรติคม” ซึ่งเป็นโคลงเทิดพระเกียรติพระเจ้าฮายัมวูรุก และ บรรพบุรุษของพระองค์ ซึ่งบันทึกโดยปราปาน ชา (Prapan Cha)

105. ชาวดัตช์ใช้ระบบทางเศรษฐกิจแบบใดในเกาะชวา

(1) การค้าเสรี           

(2) การส่งเสริมการปฏิวัติอุตสาหกรรม

(3) ระบบบังคับการเพาะปลูก          

(4) การกีดกันการค้า

ตอบ 3 หน้า 400 ระบบทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลฮอลันดา (ดัตช์) นำมาใช้ในเกาะชวาในแถบหมู่เกาะ อินโดนีเซียในช่วงปี ค.ศ. 1830 คือ ระบบบังคับการเพาะปลูก (Culture System) ซึ่งเป็นการ บังคับให้ชาวพื้นเมืองปลูกพืชไร่ขนาดใหญ่ตามที่รัฐบาลกำหนด เช่น อ้อย ยาสูบ กาแฟ ฯลฯ โดยผ่านทางสุลต่าน ทั้งนี้ชาวพื้นเมืองไม่ต้องเสียภาษีที่ดินเป็นเงินแต่เสียเป็นผลผลิตแทน ส่วนที่เหลือต้องขายให้แก่รัฐบาล

106. บทบาทของชาวสเปนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านใดที่โดดเด่นที่สุด

(1) การค้า     

(2) การเผยแผ่ศาสนา           

(3) การทหาร 

(4) การปกครอง

ตอบ 2 หน้า 390 บทบาทของชาวสเปนที่เข้ามาขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแถบหมูเกาะ ฟิลิปปินส์ที่โดดเด่นที่สุด คือ การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ซึ่งการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของสเปน ในฟิลิปปินส์นั้นจะไม่ใช้วิธีการบังคับข่มขู่ให้คนพื้นเมืองหันมานับถือ แต่จะให้คณะมิชชันนารี ออกไปเผยแผ่ศาสนาโดยชักจูงโน้มน้าวให้คนพื้นเมืองกลับใจมารับนับถือพระเยซูคริสต์แทน ภูตผีต่าง ๆ เอง ซึ่งวิธีนี้ทำให้สเปนประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนคริสต์มากกว่า ชาติยุโรปอื่น ๆ ที่เข้ามาในภูมิภาคนี้

107. หลังอังกฤษมีอำนาจในพม่าทั้งหมดแล้ว อังกฤษได้ดำเนินการอย่างไรกับพม่าบ้าง

(1) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน    

(2) ตั้งกรุงย่างกุ้งเป็นเมืองหลวง

(3) เนรเทศกษัตริย์และราชินีไปอินเดีย         

(4) การทำสนธิสัญญาอังกฤษ-ดัตช์ ค.ศ. 1824

ตอบ 3 หน้า 395 ในปี ค.ศ. 1885 เมื่ออังกฤษมีอำนาจในพม่าทั้งหมดแล้ว อังกฤษได้ประกาศผนวกพม่าตอนบนเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย โดยยุบสถาบันกษัตริย์และสภลุทดอว์ของพม่า แล้วเนรเทศพระเจ้าธีบอซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าและราชินีรวมถึงราชวงศ์ไปอยู่ที่อินเดีย

108. ข้อใดคือผู้ที่มีบทบาทในขบวนการชาตินิยมของพม่า

(1) จีนเป็ง     

(2) ซูการ์โน   

(3) เฟอร์ดินาน มาร์กอส        

(4) อองซาน

ตอบ 4 หน้า 410 กลุ่มขบวนการชาตินิยมที่มีชื่อเสียงของพม่าคือ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ที่เรียกว่า กลุ่มตะขิ่น” (Thakin) โดยมีผู้นำที่สำคัญ 2 คน คือ อูนุ (U Nu) และอองซาน (Aung San)

109. เพราะเหตุใดนายพลซูฮาร์โตจึงปลดซูการ์โนออกจากตำแหน่ง

(1) ปัญหาทุจริตในวงราชการ           

(2) ซูการ์โนเอาใจคอมมิวนิสต์มากจนเกินไป

(3) ข้อพิพาทระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย

(4) ซูการโนไม่สามารถปราบกบฏในติมอร์ได้

ตอบ 2 หน้า 418 ในปี ค.ศ. 1965 พวกคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมกับรัฐบาลซูการ์โนได้ก่อรัฐประหารขึ้น ในอินโดนีเซีย ทำให้นายพลซูฮาร์โตต้องปราบปรามอย่างหนัก พร้อมกับปลดซูการ์โนออกจากตำแหน่ง เพราะเห็นว่าซูการ์โนเอาใจพวกคอมมิวนิสต์มากเกินไป จากนั้นนายพลซูฮารโต ก็ได้ขึ้นมามีอำนาจและเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อมา

110. พวกเวียดมินห์คือใคร

(1) ชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านรัฐบาลของตนเอง       

(2) ชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านโฮจิมินห์

(3) ชาวเวียดนามที่ต่อต้านฝรั่งเศส/อเมริกา  

(4) ชาวเวียดนามที่ต่อต้านเขมรแดง

ตอบ 3 หน้า 412 – 413, (คำบรรยาย) สันนิบาตเพื่อเอกราชของเวียดนามหรือเวียดมินห์ (Viet Minh) ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามนั้น เป็นกลุ่มชาวเวียดนามรักชาติ ที่ออกมาต่อต้านและขับไล่ญี่ปุ่นออกไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อต้านฝรั่งเศสที่กลับ เข้ามามีอำนาจในเวียดนามอีกครั้งหนึ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งต่อต้านอเมริกา ที่สนับสนุนเวียดนามใต้ไม่ให้ลงประชามติเรื่องที่จะรวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้เข้าด้วยกัน ภายใต้สนธิสัญญาเจนีวา จนนำไปสู่การเกิดสงครามเวียดนามในปี ค.ศ. 1963 และสุดท้าย ก็สามารถประกาศรวม 2 เวียดนามเข้าเป็นประเทศเดียวได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1975

111. ผู้นำคนใดได้รับสมญานามว่า ประธานาธิบดีขวัญใจคนยาก

(1) เฟอร์ดินาน มาร์กอส       

(2) โฮเซ่ รีซาล

(3) รามอน แมกไซไซ 

(4) นอยนอย อาร์ควิโน

ตอบ 3 หน้า 416 – 417 ในสมัยที่รามอน แมกไซไซ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์นั้น ได้ทำให้ฟิลิปปินส์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาชนบท จนทำให้เขาได้รับสมญานามว่า ประธานาธิบดีขวัญใจคนยากจน”  

112. ประเทศใดที่ได้ชื่อว่าได้รับการปกครองที่ดีที่สุดจากเมืองแม่

(1) พม่า        

(2) อินโดนีเซีย           

(3) เวียดนาม 

(4) มาเลเซีย

ตอบ 4 หน้า 419 มาเลเซียเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าได้รับการปกครองที่ดีที่สุดจากเมืองแม่ เพราะอังกฤษ ได้ให้การศึกษาและฝึกการปกครองตนเอง ทำให้มาเลเซียมีประสบการณ์ในการปกครองตนเอง ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการปกครองในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ

113. พวกโมโรส์กับรัฐบาลฟิลิปปินส์มีความขัดแย้งเรื่องใด

(1) ความยากจน         

(2) เชื้อชาติ   

(3) การทุจริต 

(4) ศาสนา

ตอบ4  หน้า 417 ความขัดแย้งระหว่างพวกโมโรส์กับรัฐบาลฟิลิปปินส์เกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาทางาสนา โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อพวกโมโรส์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามอยู่ทางตอนใต้ของเกาะมินดาเนา ได้กล่าวหาพวกคริสเตียนที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้ว่าเข้าไปแย่งที่ดินทำกิน และต้องการแยกดินแดน จากประเทศฟิลิปปินส์

114. ประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การ SEATO

(1) ฟิลิปปินส์

(2) เวียดนาม 

(3) มาเลเซีย  

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 หน้า 424 องค์การ ส.ป.อ. (SEATO) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 โดยวัตถุประสงค์ หลักในระยะแรก ๆ คือ การรวมตัวกันทางทหารเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 8 ประเทศ โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมเป็นสมาขิกด้วยก็คือ ไทยและฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม องค์การนี้ได้ยุบตัวไปในปี ค.ศ. 1977 เนื่องจากขาดกองกำลัง ของตนเองและประเทศสมาชิกขาดความร่วมมือกัน

115. ยุคใดที่ได้ชื่อว่าเป็นยุคที่นองเลือดมากที่ลุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา

(1) ยุคจารีต  

(2) ยุคอาณานิคม     

(3) สมัยนายพลลอนนอล      

(4) ยุคเขมรแดง

ตอบ 4 หน้า 422 – 423 กัมพูชาในยุคเขมรแดงที่มีนายเขียว สัมพันธ์ เป็นประมุขของประเทศ และ มีนายพอลพตเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นสมัยที่มีการสังหารประชาชนชาวกัมพูชามากที่สุด เพราะนโยบายซ้ายจัดของพวกเขมรแดงที่ขจัดผู้ที่เป็นปฏิปักษกับตน ส่งผลให้ชาวกัมพูชาอดอยาก ยากจนอย่างมาก และบางส่วนก็ลี้ภยออกนอกประเทศ ดังนั้นในยุคนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นยุค แห่งการนองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา

116. การประชุมเจนีวามีความสำคัญอย่างไรต่อประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) เป็นการรวมประเทศเวียดนาม    

(2) แบ่งเวียดนามออกเป็นสองประเทศ

(3) ตั้งประเทศอินโดนีเซีย     

(4) ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขง

ตอบ 2 หน้า 412 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้แทนของฝ่ายสัมพันธมิตรและเวียดมินห์ได้เข้าร่วม ประชุมที่เจนีวาและตกลงทำสนธิสัญญาเจนีวา ซึ่งการประชุมครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญต่อ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก กล่าวคือ กำหนดให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองประเทศคือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ที่เส้นขนานที่ 17 และกำหนดให้มีการ ลงประชามติภายใน 2 ปีว่าจะรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือไม่นี้ จนกระทั่งกลายเป็นชนวนนำไปสู่การเกิดสงครามเวียดนามในปี ค.ศ. 1963 ในที่สุด

117. ใครคือผู้นำขบวนการชาตินิยมในลาว

(1) เจ้าสุวรรณภูมา   

(2) ภูมิ หน่อสวรรค์    

(3) ไกรสอน พรหมวิหาร

(4) กองแล

ตอบ 1 หน้า 423 ลาวได้รับการปกครองจากฝรั่งเศสเช่นเดียวกับกัมพูชา และได้รับลัทธิคอมมิวนิสต์ จากจีนและเวียดนามเหนือ ทำให้เกิดกลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์และไม่นิยมคอมมิวนิสต์ขึ้น ทั้งนี้ ขบวนการชาตินิยมในลาวเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1945 ภายใต้การนำของเชื้อพระวงศ์ลาวคือ เจ้าสุวรรณภูมาและเจ้าสุภานุวงศ์ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการกลับเข้ามาของฝรั่งเศสในช่วง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

118. ซูการ์โนใช้หลักการใดเป็นพื้นฐานการปกครองของอินโดนีเซีย

(1) พรหมวิหาร 4    

(2) หลักศาสนาอิสลาม         

(3) ปัญจศีล  

(4) ไตรลักษณ์

ตอบ 3 หน้า 407 ซูการ์โน ผู้นำพรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย ได้ประกาศหลักปัญจศีลเพื่อเป็นพื้นฐาน ในการปกครองประเทศ ซึ่งได้แก่ หลักชาตินิยม นานาชาตินิยม การปกครองโดยทางผู้แทน ความเสมอภาคทางสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้า ซึ่งต่อมาหลักปัญจศีลนี้ได้ถูกบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียด้วย

119. สนธิสัญญาลิงกัตจาตีมีความสำคัญต่อประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) อินโดนีเซีย          

(2) ไทย         

(3) ฟิลิปปินส์

(4) มาเลเซีย

ตอบ 1 หน้า 407 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฮอลันดาได้กลับเข้ามาขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกโดยยึดครองอินโดนีเซียตามเดิม และได้เจรจาสงบศึกในสนธิสัญญา ลิงกัตจาตี (Linggadjati Agreement) ตกลงให้อินโดนีเซียมีอำนาจเต็มในชวาและสุมาตรา แต่ฮอลันดาละเมิดข้อตกลงโดยยังคงรุกรานอินโดนีเซียต่อไป จนกระทั่งสหรัฐฯ และสหประชาชาติ ได้จัดประชุมที่กรุงเฮกเพื่อหาข้อยุติ ซึ่งผลของการประชุมทำให้ฮอลันดายอมมอบเอกราชให้ อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1949

120. ประเทศใดรับวัฒนธรรมจากจีนโดยตรง

(1) ไทย         

(2) เวียดนาม 

(3) ลาว         

(4) ฟิลิปปินส์

ตอบ 2 หน้า 368 – 369 เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนโดยตรง ซึ่งวัฒนธรรมที่จีนนำมาให้เวียดนาม ได้แก่

1.      การปกครองแบบโอรสสวรรค์หรืออาณ์ติสวรรค์

2.      ระเบียบการบริหารราชการแบ่งออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน

3.      ลัทธิขงจื๊อซึ่งเน้นความกตัญญูและระบบอาวุโส และศาสนาพุทธนิกายมหายาน

4.      วรรณคดีและอักษรศาสตร์

5.      วัฒนธรรมความเป็นอยู่และประเพณี เช่น การแตงกาย การกิน การแต่งงาน การทำศพ เป็นต้น

Advertisement