การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ในวิชาอารยธรรมตะวันออก “ดินเดนตะวันออกกลาง” มีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม

(2) เป็นที่ตั้งของพีระมิดและสวนลอยบาบิโลน

(3) เป็นแหล่งความเจริญเริ่มแรกของโลก      

(4) เป็นแหล่งเชื่อมทวีป คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา

ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East หรือ Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง3ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป โดยเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของการเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมและความเจริญเริ่มแรกของโลก คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิด 3 ศาสนาหลักของโลก คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

2.         “ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด 

(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(2)       ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้         

(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้     

(4) แอฟริกาตะวันออกกลาง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         คำว่า “B.C.” หมายถึงอะไร

(1)       พุทธศักราช     

(2)       ก่อนสมัยพุทธกาล      

(3)       คริสตกาล       

(4)       ก่อนคริสต์ศักราช

ตอบ 4 หน้า 5, (คำบรรยาย) ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ : B.C.) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติ เช่น 245 ปีก่อน ค.ศ. (หรือ 245 B.C.) หมายถึง 245 ปีก่อนพระเยซูประสูติ

4.         มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด

(1)       ยุคหินเก่า       

(2)       ยุคหินใหม่      

(3)       ยุคทองแดง     

(4)       ยุคสำริด

ตอบ 2 หน้า 6, (คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่น้ำใหญ่เพื่อมุ่งที่จะใช้นํ้าในการทำเกษตรกรรมและดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง

5.         มนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด

(1)       สุเมเรียน         

(2)       อียิปต์โบราณ 

(3)       เปอร์เซียโบราณ         

(4)       ฮิบรู

ตอบ 2 หน้า 1118-20 อารยธรรมอียิปต์โบราณมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์โดยชาวอียิปต์ได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ” เนื่องจากเป็นชนชาติที่มีความรอบรู้และแม่นยำทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต มีทักษะและความชำนาญในการก่อสร้าง และกษัตริย์เก่งในการรบและการปกครอง ทำให้ชาวอียิปต์ได้ทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมไว้ให้แก่โลกมากที่สุด เช่น มหาพีระมิดที่เมืองกีซา วิหารเทพเจ้าอะมอนที่คาร์นัค เป็นต้น

6.         อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด

(1)       อินเดียโบราณ

(2) อียิปต์โบราณ       

(3) เมโสโปเตเมีย       

(4) กรีกโบราณ

ตอบ 3  อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดบนดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส หรือที่เรียกว่า “เมโสโปเตเมีย” ซึ่งเราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า“ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก

7.         กลุ่มชนใดเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(1)       สุเมเรียน         

(2) อัคคาเดียน           

(3) อะมอไรท์  

(4) ฮิตไตท์

ตอบ 1 หน้า 21 – 2282 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียซึ่งเรียกว่า “ซูเมอร์” เมือประมาณ 5000 B.C. และถือเป็นผู้วางรากฐานธารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึงอารยธรรมที่เด่น ๆมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง สังคมการประกอบอาชีพ ศาสนา ศิลปะการเขียน สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์

8.         จุดมุ่งหมายของการสร้างซิกกูแรตคืออะไร

(1)       เป็นวิหารเทพเจ้า        

(2) เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย

(3)       เป็นสถานที่ศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า

(4) เป็นที่อยู่ของผู้ปกครองนครรัฐ

ตอบ 1 หน้า 23 – 24 สถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุดของชาวสุเมเรียนก็คือ มหาวิหารหอคอยหรือซิกกูแรต(Ziggurat) ที่นครรัฐเออรุค ซึ่งสร้างขึ้นด้วยอิฐ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างก็เพื่อใช้เป็นวิหารเทพเจ้า ซึ่งชั้นบนสุดของซึกกูแรตจะถูกกำหนดให้เป็นที่ประทับของเทพเจ้าและเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

9.         สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด       

(1) ไฮโรกลิฟิก

(2)       คูนิฟอร์ม        

(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งเป็นศิลปะการเขียนของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดยอักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งชาวสุเมเรียนจะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้งเพื่อเก็บรักษา ข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง

10.       ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด

(1)       สมัยก่อนราชวงศ์        

(2) สมัยราชวงศ์         

(3) สมัยอาณาจักรใหม่

(4) สมัยอาณาจักรกลาง

ตอบ 2 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณจัดตั้งชาติและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตริย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็นาวอียิปต์โบราณ มีทั้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ”ซึ่งสมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่าสมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

11.       ข้อใดถูก

(1)       อียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษาโลก และโลกหน้ามีจริง

(2)       โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์โบราณ

(3)       ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการชลประทานในสมัยอาณาจักรกลาง

(4)       โรมันคือชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์

ตอบ 1 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะวันพิพากษาโลก และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายใปดวงวิญญาณจะคงอยู่และจะเกิดใหม่ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่

คัมภีร์มรณะหรือคัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์

12.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ”

(1)       สุเมเรียน         

(2) อียิปต์โบราณ       

(3) ฮิตไตท์      

(4) กรีกโบราณ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

13.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ’’

(1)       อัสซีเรียน        

(2) ฮิตไตท์      

(3) ฟินิเชียน   

(4) ออตโตมาน เติร์ก

ตอบ 2 หน้า 35 – 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตะวันออกของเอเชียไมเนอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเนอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่า “เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ” ซึ่งการรบของฮิตไตท์มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขยายดินแดนและอำนาจ แสวงหาเส้นทางการค้า และแสวงหาแร่เหล็กเพื่อนำมาทำของใช้และอาวุธ

14.       กลุ่มชนใดวางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(1) ฮิบรู          

(2) ฟินิเชียน   

(3) อราเมียน  

(4) สุเมเรียน

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 ฟินิเชียนเป็นเซมิทกลุ่มแรกที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนฟินิเชียนนชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินิเชียนได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

15.       ข้อใดถูก

(1)       มรดกความเจริญที่อราเมียนให้แก่โลกคือการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(2)       สุเมเรียนคือวางรากฐานอารยธรรมในดินแดนเอเชียไมเนอร์

(3)       พยัญชนะที่ยุโรปใช้กันในปัจอุบันมีรากฐานมาจากพยัญชนะฟินิเชียน

(4)       มรดกความเจริญที่ฮิบรูให้แก่โลกคือด้านสถาปัตยกรรม

ตอบ 3 หน้า 40 มรดกความเจริญเด่นที่ฟินิเชียนให้ไว้แก่โลกคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการประดิษฐ์พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว ต่อมาเมื่อกรีกรับและนำพยัญซนะฟินิเชียนไปใช้ในยุโรปกรีกได้พัฒนาและเพิ่มพยัญชนะจาก 22 ตัวเป็น 26 ตัว ดังนั้นพยัญชนะฟินีเชียนจึงเป็นรากฐานของพยัญขนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรปใช้ในปัจจุบัน

16.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรู ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร

(1)       อิลราเอล         

(2) อิรัก           

(3) อิหร่าน      

(4) ตุรกี

ตอบ 1 หน้า 40. 46 ฮิบรูหรือยิวเป็นเซมิทกลุ่มที่สองที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนปาเลสไตน์บริเวณตอนใต้สุดของชายฝั่งตะวันออกทะเลเมตีเตอร์เรเนียน ในปัจจุบัน

พื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรูเป็นที่ตั้งของประเทศอิสราเอล

17.       ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นขณะฮิบรูอยู่ใต้การปกครองของกลุ่ชซนใด

(1)       เปอร์เซียโบราณ         

(2) กรีก          

(3) โรมัน         

(4) มุสลิม

ตอบ 3 หน้า 4459 – 61 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สองที่เกิดขึ้นในสังคมฮิบรูหรือยิวในดินแดนปาเลสไตน์ (ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน) ขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ทั้งนี้นักศาสนศาสตร์เรียกศาสนาคริสต์ว่า “บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaism)เพราะคัมภีร์เก่าของศาสนายูดาห์เป็นคำสอนพื้นฐานซึ่งนำไปสู่การเกิดศาสนาคริสต์

18.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า “เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1)       อราเมียน        

(2) เซลจุก เติร์ก         

(3) ออตโตมาน เติร์ก  

(4) ฟินิเชียน

ตอบ 1 หน้า 46 – 47 อราเมียนเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนซีเรียบริเวณตอนเหนือของชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศซีเรียในปัจจุบัน) ทั้งนี้ อราเมียนได้รับการยกย่องว่า “เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิกเพื่อประโยชน์ในการค้าขายทางบก

19.       ศูนย์กลางของจักรวรรดิลิเดียนคือดินแดนใด

(1)       เอเชียไมเนอร์  

(2)       เมโสโปเตเมีย 

(3)       ปาเลสไตน์      

(4) คาบสมุทรอาระเบีย

ตอบ 1 หน้า 47 – 48 ในปี 680 B.Cชาวลิเดียนได้ร่วมกันจัดตั้งอาณาจักรลิเดียนขึ้นในดินแดนลิเดียบริเวณทางตะวันตกตอนกลางของเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ซึ่งลิเดียน จะเก่งในการรบและการค้าขาย จึงทำให้พื้นที่ของอาณาจักรขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิลิเดียนโดยมีกรุงซาร์ดีสเป็นเมืองศูนย์กลางทั้งการปกครองและการค้าขาย

20.       ใครคือผู้นำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(1)       ดาริอุสที่ 1      

(2)       ไซรัสที่ 2         

(3)       นาโบนิคัสที่     3         

(4) โครอีซุสที่ 4

ตอบ 2 หน้า 51 ไซรัสที่ 2 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ของเปอร์เซีย ซึ่งทรงเก่งในการรบและการขยายดินแดนโดยในปี 550 B.Cเมื่อไซรัสที่ 2 มีชัยชนะเหนือเมดีสแล้ว พระองค์ได้รวมมีเดียเข้ากับเปอร์เซียและเรียกดินแดนนี้ว่า “เปอร์เซีย” จากนั้นทรงนำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณขึ้นโดยกำหนดให้ซูซาเป็นเมืองหลวง

21.       ผู้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองมาจากกลุ่มชนใด

(1)       ฮิตไตท์

(2)       อัสซีเรียน        

(3)       ออตโตมาน เติร์ก        

(4) มุสลิม

ตอบ 2 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจากอัสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่ 2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius Iซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณโดยหลักในการปกครองจักรวรรดิของดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่งก็คือ เน้นกระจายการปกครองจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2 วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค และการปกครองระบบเขต (The Satrapy Systemที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและพื้นที่ด้วยการปฏิบัติจริง

22.       หลักการปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณคืออะไร

(1)       การเข้าถึงประชาชนและพื้นที่

(2) จักรวรรดิคือแผ่นดินและประชาชน

(3)       ประชาชนคือผู้รับใช้กษัตริย์    

(4) บูชาในบรรพบุรุษและสุริยเทพ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.       ถนนสายยุทธคาสตร์ของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเชื่อมดินแดนเปอร์เซียกับดินแดนใด

(1)       เมโสโปเตเมีย 

(2) คาบสมุทรบอลข่าน

(3) คาบสมุทรอนาโตเลีย        

(4) ปาเลสไตน์

ตอบ 3 หน้า 5257 ในสมัยดาริอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ ทรงห้มีการสร้างถนนหลวง(The Royal Road or The Royal Post Road or The Kings Highwayหรือถนนสายยุทธศาสตร์ที่เชื่อมจกเมืองหลวงซูซาในจักรวรรดิเปอร์เซียไปสู่เอเซียไมเนอร์บนคาบสมุทรอนาโตเลีย โดยมีปลายทางสิ้นสุดที่อีเพซุสซึ่งเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งถบนหลวงสายนี้จะใช้ประโยชน์เพื่อการคมนาคม การค้าขาย การเคลื่อนกองกำลังทหาร และการสื่อสารส่งข่าวในทุกพื้นที่ของจักรวรรดิ

24.       ข้อใดถูก

(1)       ศาสนาโซโรแอสเตอร์คือศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(2)       อะมอไรท์นำการสร้างจักรวรรดิแรกของโลก

(3)       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิตไตท์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเลบานอน

(4)       อับราฮัมคือผู้นำฮิบรูอพยพจากดินแดนสลุ่มแม่นํ้าไนล์มุ่งกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์

ตอบ 1 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1.         มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheisticนั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดาเพียงองค์เดียว   

2. คิด พูด และทำความดี

3. ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว     

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

25.       “บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaismหมายถึงอะไร

(1)       นางมาเรีย       

(2) อิสราเอล   

(3) ศาสนาคริสต์        

(4) กรุงเยรูซาเล็ม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

26.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมอิสลามคือดินแดนใด

(1)       ตะวันออกกลาง          

(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย

(3) คาบสมุทรอาระเบีย          

(4) คาบสมุทรบอลข่าน

ตอบ3 หน้า 6372 – 75 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอาระเบีย(ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในซ่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกาหลิบฮารัน เอล-ราชิด นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยุคทองของอารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง

27.       ยุคทองของอารยธรรมอิสลามคือช่วงเวลาใด

(1)       ออตโตมาน เติร์ก        

(2) ราชวงศ์อุมัยยัค    

(3) เซลจุก เติร์ก         

(4)       ราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28.       ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม

(1)       อาบู บากร์      

(2)       โอธมาน          

(3) อาลี          

(4)       มูวียะ

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์โดยมีเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบทั้ง 4 องค์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ไต้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม)โอมาร์ โอธมาน และอาลี

29.       มรดกความเจริญที่แคลเดียนให้แก่โลกคือด้านใด

(1)       การปกครอง   

(2) สถาปัตยกรรม      

(3) ศาสนา      

(4)       ภาษา

ตอบ 2 หน้า 3293 (เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก ได้แก่

1.         ด้านสถาปัตยกรรม ที่เด่น ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

2.         ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคารดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

30.       ออตโตมาน เติร์ก คือใคร       

(1) เติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

(2)       เติร์กผู้นำกองกำลังมุสลิมในสงครามครูเสด 

(3) เติร์กผู้ขับไล่ไบแซนไทน์ออกจากคาบสมุทรอนาโตเลีย

(4)       เติร์กผู้นำการบริหารจักรวรรดิมุสลิมในสมัยราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 1 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเชียไมเนอร์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad IIได้นำกองกำลังมุสลิมยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำการปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

31.       คำว่า “เอเชียตะวันออก” เป็นชื่อเรียกที่นิยมกันมากในสมัยใด         

(1) ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

(2)       สมัยล่าอาณานิคม     

(3) สมัยสงครามฝิ่น   

(5) สมัยสงครามเย็น

ตอบ 1 หน้า 97(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 270) ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกประกอบด้วย จีน เกาหลี มองโกเลีย และไต้หวัน ซึ่งดินแดนแถบนี้เดิมทีชาวจีนเรียกว่า“อาณาจักรกลาง” แต่สำหรับชาวตะวันตกจะรู้จักกันในชื่อ “ตะวันออกไกล” พอมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เอเชียตะวันออก”

32.       สภาพภูมิประเทศทางภาคตะวันตกของจีนมีจุดเด่นในเรื่องใด

(1)       ประกอบไปด้วยที่ราบสูงและเทือกเขา

(2) เป็นที่เหมาะแก่การสร้างสุสานของผู้ปกครอง

(3)       เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เป็นปฏิบิกษ์ต่อรัฐบาลกลาง

(4)       มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูก

 ตอบ 1 หน้า 97 สภาพภูมิประเทศทางภาคตะวันตกของจีนโดยส่วนใหญ่หรือประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศจะเป็นพื้นที่ที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ โดยประกอบไปด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง เช่น ภูเขาหิมาลัย ภูเขาคุนลุ้น ที่ราบสูงทิเบต ฯลฯ ส่วนพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้จะเป็นที่ราบที่ลาดเอียงไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

33.       จักรพรรดิจิ๋นซี นำแนวคิดของนักปรัชญาจีนท่านใดมาใช้ในการรวมประเทศ

(1) ขงจื๊อ        

(2) เล่าสือ       

(3) โมจื๊อ         

(4) ฮั่น ไฝ ลือ

ตอบ 4 หน้า 109(คำบรรยาย) ผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์จิ๋น คือ ทรงนำแนวคิดของฮั่น ไฝ ลือ นักปรัชญาแห่งสำนักฝาเจี่ย มาใช้ในการรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน(China)

34.       ข้อใดถูกเมื่อกล่าวถึง “ลุ่มแม่น้ำเหลือง”

(1)       ถูกใช้เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อจากภาคตะวันตกสู่ภาคตะวันออกของจีน

(2)       มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “แม่น้ำแยงซี”

(3)       เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีน

(4)       นักบุกเบิกชาวตะวันตกนิยมตั้งบ้านเรือน ร้านค้า ทั้งสองข้างฝั่ง เพราะเหมาะแก่การขนส่ง

ตอบ 3 หน้า 97 – 99146 (เล่มเก่า)149 – 150 (เล่มเก่า) แม่นํ้าฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกันนอกจากนี้ยังเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่นำที่สร้างความอุดมสมบูรณให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่น้ำไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดหรือศูนย์กลางอารยธรรมเริ่มแรกของจีนในยุคหินใหม่ประมาณ 4000 B.Cมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากการขุดค้นพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน และเครื่องมือเครื่องใขช้ที่ทำมาจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจีนในยุคก่อนประวัติศาสตร์

35.       ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวมองโกลตั้งอยู่ทางภาคใดของจีน

(1) ภาคเหนือ 

(2) ภาคใต้      

(3) ภาคตะวันตก        

(4) ภาคตะวันออก

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ชาวมองโกลหรือชาวมองโกเลีย เป็นกลุ่มชนหนึ่งที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในประเทศมองโกเลีย และเขตปกครองตนเองมองโกลเลียในบริเวณที่ราบสูงทางภาคเหนือของประเทศจีน โดยชาวมองโกลสามารถเข้ายึดครองจีนได้ในสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนที่ทั้งประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองของขชาวต่างชาติ และเจริญสูงสุดในสมัยของกษัตริย์กุบไลข่าน

36.       ท่านใดไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีนโบราณ

(1) ซือมา ตัน  

(2) ซือมา เชียง           

(3) ปาน เปียว

(4) ขงจื๊อ

ตอบ 1 หน้า 105 – 108172 (เล่มเก่า)174 – 175 (เล่มเก่า) นักประวัติคาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีนโบราณ ได้แก่

1. ซือมา เชียง ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนแรกของจีน โดยผลงานเด่นของเขาคือ บันทึกของนักประวัติศาสตร์

2. บุคคลในตระกูลปานได้แก่ ปาน เปียวปาน กู และปาน เจา ซึ่งได้นำผลงานของซือมา เชียง มาเขียนเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

3. ขงจื๊อ โดยผลงานเด่นของเขาคือ ตำรามีค่า 5 เล่ม หรือคัมภีร์ทั้ง 5(The Five Classicsฯลฯ

 37.      ข้อใดผิด

(1)       จิ๋นซี คือผู้รวมประเทศจีน ส่วนซุนยัดเซ็น คือผู้ล้มล้างราชวงศ์แมนจู

(2)       จีนอนุญาตให้อังกฤษตั้งสถานีการค้าที่แคนตอน ส่วนมาเก๊าให้เป็นของโปรตุเกส

(3)       เมาเซตุงใช้เกษตรกรรมเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนเติ้งเสี่ยวผิงสนใจการค้า

(4)       ในบันทึกของจงจื๊อกล่าวว่า “กษัตริย์เหยาเป็นกษัตริย์ประชาธิปไตย ส่วนกษัตริย์ชุนเป็นเผด็จการ”

ตอบ 4 หน้า 98 – 100 กษัตริย์เหยาและกษัตริย์ชุน เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 และ 5ในรัชสมัยของกษัตริย์ฮวงตี่ของจีน ซึ่งทั้ง 2 พระองศ์มักถูกกล่าวอ้างเสมอในบันทึกคำสอนของขงจื๊อว่าเป็นกษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมและมีแนวคิดประชาธิปไตยที่สมควรใช้เป็นแบบอย่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ กษัตริย์นักประชาธิปไตย ”

38.       จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงกับราชวงศ์หยวนต่างกันในเรื่องใด

(1) ชาติพันธุ์   

(2) หลักการปกครอง  

(3) นโยบายต่างประเทศ

(4) ระบบเศรษฐกิจ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงกับราชวงศ์หยวนมีลักษณะที่ต่างกันในเรื่องชาติพันธุ์กล่าวคือ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงจะเป็นชาวฮั่นหรือชาวจีนแท้ ๆ โดยมีฐานะเป็นสามัญชนหรือเป็นชาวนามาก่อน ส่วนจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หยวนจะไม่ใช่ชาวจีนแท้หรือเป็นชาวต่างชาติ นั่นคือ ชาวมองโกล

39.       แนวคิดที่ว่าด้วย “อาณัติแห่งสวรรค์” ราชวงศ์ใดเป็นผู้นำมาใช้เป็นครั้งแรก

(1) ชาง           

(2) เซีย

(3) โจว

(4) สมัย 5 วีรบุรุษ

ตอบ 3 หน้า 102(คำบรรยาย) ความเจริญเด่นที่เกิดขึ้นในจีนสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก คือผู้ปกครองได้นำแนวคิดทางการเมืองที่ยอดเยี่ยมซึ่งเรียกว่า “ทฤษฎีแห่งสวรรค์” มาใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก โดยกษัตริย์จะถือว่าตนเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องศ์จักรพรรดิที่สืบเชื้อสายมาจากสวรรค์ให้ลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลกเรียกว่า “อาณัติแห่งสวรรค์”

40.       อาณาจักรจิ๋นอันยิ่งใหญ่หมายถึงอาณาจักรใด

(1) อาณาจักรโรมัน    

(2) ดินแดนลุ่มแม่นํ้าไทกริส-ยูเฟรติส

(3) อินเดียโบราณ      

(4) อียิปต์สมัยกลาง

ตอบ 1 หน้า 174 (เล่มเก่า) ในสมัยราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง จีนมีทารติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกไกลไปถึงจักรวรรดิโรมัน โดยอาศัยเส้นทางสายไหม (Silk Roadและเส้นทางทางทะเล ด้วยเหตุนี้จีนจึงเป็นที่รู้จักของชาวโรมันในนามของ “ดินแดนแห่งผ้าไหม” ในขณะเดียวกัน ด้วยความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมัน จีนจึงยกย่องให้อาณาจักรโรมันเท่าเทียมกับอาณาจักรจิ๋นของจีนโดยเรียกอาณาจักรโรมันว่า “อาณาจักรจินอันยิ่งใหญ่”

41.       ตะวันตกชาติใดเดินทางมาติดต่อค้าขายกับจีนแต่ไม่ประสบความสำเร็จและล้มเลิกความตั้งใจในที่สุด

(1) โปรตุเกส  

(2) อังกฤษ     

(3) สเปน        

(4) ดัตช์

ตอบ 3 หน้า 112204 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาติตะวันตกเริ่มเดินทางเข้ามาในเอเชียมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1514 ได้มีชาวตะวันตกชาติแรกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับจีนคือ พ่อค้าชาวโปรตุเกส ตามมาด้วยฮอลันดา (ดัตช์) อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปนโดยสเปนพยายามเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับจีนแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จและล้มเลิกความตั้งใจในที่สุด

42.       ข้อใดไม่ใช่ข้อเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาในฮ่องกงที่เรียกตนเองว่า “Occupy Central

(1)       ต้องการให้ผู้ปกครองฮ่องกงลาออก

(2)       ต้องการแยกฮ่องกงออกจากประเทศจีน

(3)       ต้องการให้จีนแผ่นดินใหญ่เคารพในสิทธิและเสียงของชาวฮ่องกงในการเลือกผู้บริหารโดยตรง

(4)       ต้องการให้ฮ่องกงมีอิสระในการปกครองตนเอง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ข้อเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาในฮ่องกงที่เรียกตนเองว่า “Occupy Central” นั้นมีดังนี้

1. ต้องการให้ผู้ปกครองฮ่องกงลาออก เพราะใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน

2. ต้องการให้จีนแผ่นดินใหญ่เคารพในสิทธิและเสียงของชาวฮ่องกงในการเลือกผู้บริหารโดยตรง

3. ต้องการให้ฮ่องกงมีอิสระในการปกครองตนเอง

43.       ข้อใดผิด

(1)       ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของจีนปัจจุบันคือ สี จิ้นผิง

(2)       นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล สนับสนุนนโยบาย “สี่ทันสมัย” ของเติ้งเสี่ยวผิง

(3)       จีนนำหน้าญี่ปุ่น และปัจจุบันก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจในเอเชีย

(4)       สงครามฝิ่นเป็นสงครามระหว่างจีนกับรัสเซีย

ตอบ 4 หน้า 112 – 113(คำบรรยาย) สงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – 1842) เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์แมนจู ซึ่งผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคฉบับแรกกับอังกฤษ เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nankingจนส่งผลให้จีนต้องเปลี่ยนสภาพจากอาณาจักรกลางไปเป็นประเทศกึ่งอาณานิคมของชาติตะวันตกในที่สุด

44.       พรรคการเมืองใดที่ปกครองจีนในปัจจุบัน

(1) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน 

(2) พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศจีน

(3) พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย     

(4) พรรคประชาธิปไตยประชาชนจีน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) จีนแผ่นดินใหญ่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ซึ่งมีการปกครองแบบลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีนายสี จิ้นผิง เป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรคและประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายหลี่ เค่อเฉียง เป็นนายกรัฐมนตรี

45.       คนป่าเถื่อนในสายตาของผู้ปกครองจีนหมายถึงใคร

(1) ชนกลุ่มเร่ร่อนทางตอนเหนือของจีน          

(2) ชาวทิเบต

(3) ชาวเอเชียที่ไม่ใช่ชาวจีน    

(4) ผู้มีอาชีพพ่อค้า

ตอบ 4 หน้า 204 (เล่มเก่า)215229(คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์หมิงช่วงปี ค.ศ. 1514 ได้เริ่มมีพ่อค้าชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายด้วย รวมทั้งได้นำความรู้หรือเทคนิคใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวโปรตุเกสไม่ได้รับการต้อนรับมากนัก เนื่องจากผู้ปกครองจีนมีความคิดว่าตนนั้นเป็นประเทศที่มีความเจริญมากที่สุด จนมองดูพ่อค้าาวตะวันตกชาติต่างๆ ว่าเป็น “คนป่าเถื่อน” ดังนั้นผู้ปกครองจีนจึงไม่ยอมรับความเจริญของคนป่าเถื่อนมาช้ในประเทศของตน

46.       ข้อใดถูก

(1)       เกาะฮอนชูเป็นแหล่งที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด

(2)       เกาะชิโกกุตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศ

(3)       เกาะที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นคือเกาะริวกิว

(4)       เกาะที่เล็กที่สุดของญี่ปุ่นคือเกาะฮอกไกโด

ตอบ 1 หน้า 121(คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่

1.         เกาะฮอกไกโด เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น

2.         เกาะฮอนซู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด และถือว่ามีความเจริญมากที่สุด โดยเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองของญี่ปุ่น

3.         เกาะชิโกกุ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและชายฝั่งทะเล

4.         เกาะคิวชิว เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของญี่ปุ่น และเป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการติดต่อกับชาวยุโรป

47.       ชาวไอนุคือใคร

(1) บรรพบุรุษรุ่นแรกของญี่ปุ่น           

(2) เป็นกลุ่มนักโทษจีนที่ถูกส่งไปจำคุกบนเกาะฮอกไกโด

(3) นักจารึกแสวงบุญจากยุโรป         

(4) เชื่อว่าเป็นลูกหลานของเทพีแห่งดวงอาทิตย์

ตอบ 1 หน้า 123(คำบรรยาย) พวกไอนุ ถือว่าเป็นบรรพบุรุษกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่บนเกาะฮอกไกโดทางภาคเหนือของญี่ปุ่นในช่วงประมาณ 20,000 – 10,000 ปีก่อนคริสตกาลโดยเป็นพวกที่มีเชื้อสายคอเคซอยด์มากกว่ามองโกลอยด์ ดังนั้นจึงมีลักษณะคล้ายชาวยุโรปมากกว่าชาวเอเชีย นั่นคือ เป็นคนผิวขาว หน้าแบน ตาสีฟ้า ขนดก และมีรูปร่างไม่สูงนัก ปัจจุบันพวกไอบุจะอาศัยอยู่มากบนเกาะฮอกไกโดและเกาะคูริล

48.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นโบราณ

(1)       นักรบญี่ปุ่นโบราณเคยเข้าไปครอบครองรัฐมิมานาของเกาหลีหลายร้อยปี

(2)       จิมมู เทนโน คือผู้รวมแผ่นดินญี่ปุ่นที่แตกแยกเข้าด้วยกัน

(3)       สังคมอูจิเป็นสังคมที่ยอมรับสตรีเป็นผู้นำ

(4)       วัฒนธรรมทูมูลิ ญี่ปุ่นรับมาจากจีน

ตอบ 4 หน้า 125 วัฒนธรรมทูมูลิหรือวัฒนธรรมหลุมฝังศพ เป็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณอย่างหนึ่งที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ ทั้งนี้จะมีการนำเครืองมือเครื่องใช้ เช่น รูปตุ๊กตาดินเผาหรือตัวฮานีวา อาวุธของนักรบ และเครื่องประดับต่างๆ ฝังรวมลงไปในหลุมฝังศพด้วย โดยเริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

49.       ลัทธิชินโต เชื่อในเรื่องใดมากที่สุด

(1)       ความบริสุทธิ์ยุติธรรมของธรรมชาติ    

(2) เชื่อในภูตผีปีศาจ

(3) ความศักดิสิทธิ์ของเทพีแห่งดวงอาทิตย์   

(4) นับถือบรรพบุรุษ

ตอบ 1 หน้า 126(คำบรรยาย) ลัทธิชินโต เป็นลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของขาวญี่ปุ่นโบราณที่ไม่ได้รับมาจากใคร แต่ได้รับอิทธิพลมาจากความบริสุทธิ์ยุติธรรมของธรรมชาติอันงดงามและสิ่งแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์ของชาวญี่ปุ่นเอง โดยเน้นการควบคุมธรรมชาติมากกว่าความหวาดกลัว และเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีวิญญาณ ดังนั้นจึงมีการนับถือธรรมชาติโดยไม่มีเกณฑ์ใด ๆ แน่นอน ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่นได้สถาปนา “ลัทธิชินโตของรัฐ” ขึ้น ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นที่เน้นความเป็นชาตินิยม และการนับถือองค์จักรพรรดิว่ามีฐานะเป็นเทพ

50.       ข้อใดคือความเจริญที่ญี่ปุ่นรับมาจากจีน

(1)       ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก     

(2) อุตสาหกรรมการต่อเรือเดินสมุทรด้วยเหล็กกล้า

(3) การนับถือความบริสุทธิ์ในธรรมชาติ         

(4) สถาปัตยกรรมการก่อสร้างแห่งเมืองนารา

ตอบ 4 หน้า 126 – 129 ความเจริญที่สำคัญที่ญี่ปุ่นโบราณรับมาจากจีน ได้แก่

1.         ตัวอักษรจีน     

2. รูปแบบการปกครองในสมัยราชวงศ์ถังของจีน      

3. ศาสนาพุทธ

4.         สถาปัตยกรรม โดยมีการสร้างบ้านเมืองเพื่อรองรับหน่วยงานปกครองต่าง ๆ เช่น ปราสาทราชวังสถานที่ราชการ ฯลฯ มีการจำลองรูปแบบตึกรามบ้านช่องจากจีน และมีการก่อสร้างเมืองสำคัญที่สวยงาม เช่น เมืองหลวงแห่งนครนารา เมืองหลวงเกียวโตแห่งยุคเฮอิอัน เป็นต้น

51.       ในสมัยศักดินา วรรณกรรมที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่มุ่งยกย่องชนชั้นใด    

(1) พ่อค้านักธุรกิจ

(2) ชนชั้นขุนนาง ชนชั้นสูง     

(3) ชาวไร่ชาวนา         

(4) ชบชั้นปัญญาชน

ตอบ 2 หน้า 130 – 131(คำบรรยาย) ญี่ปุ่นในสมัยศักดินายุคแรกหรือสมัยโชกุนเรืองอำนาจ

(ค.ศ.900 – 1600) มีความเจริญที่สำคัญเกิดขึ้นหลายด้าน เช่น ทางด้านวรรณคดีหรือ

วรรณกรรม ส่วนใหญ่จะมุ่งยกย่องชนชั้นขุนนางและชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะ

การผจญภัยอันกล้าหาญของนักรบหรือซามูไร

52.       ข้อใดผิด

(1)       หนังสือโคจิกิ และนิฮอง โซกิ เป็นผลงานทางประวัติศาสตร์โบราณของญี่ปุ่น

(2)       โชกุนคือตำแหน่งผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นในสมัยศักดินา

(3)       ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ประชากรใฝ่แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ

(4)       ต่างชาติที่บังคับเปีดประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือ อังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 133 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วงหลังสงครามนั้น ชาติตะวันตกต้องการติดต่อกับญี่ปุ่นมากขึ้น เริ่มจากรัสเซียและอังกฤษที่เดินทางเข้ามาขอเปิดประเทศ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งมาจบลงที่สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ส่งนายพลเรือเปอร์รีพร้อมเรือปืนเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1853 ต่อมาญี่ปุ่นได้ยอมลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับสหรัฐอเมริกา จากนั้นญี่ปุ่นก็ลงนมเปิดประเทศกับชาติตะวันตกอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น

53.       ญี่ปุ่นยอมรับความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังเหตุการณ์ใด

(1) ถูกระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมา นางาซากิ      

(2) การพ่ายแพ้ในสงครามกับจีนในเกาหลี

(3) การลอบสังหารผู้นำทางทหารโดยกลุ่มนักรบนิรนาม        

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 135 – 136(คำบรรยาย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี โดยเปิดฉากเข้ายึดครองจีนในปี ค.ศ. 1937 ต่อมาได้รุกรานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปไกลถึงฮาวายในปี ค.ศ. 1941 จนกระทังเมื่อญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลอฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุให้กองกำลังพันธมิตรภายใต้การนำของสหรัฐฯ ส่งฝูงบินมาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองสำคัญของญี่ปุ่น 2 เมืองคือ เมืองฮิโรชิมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และเมืองนางาซากิ ในวันที่ 9 สิงหาคมในปีเดียวกัน ซึ่งระเบิดได้ทำลายญี่ปุ่นลงอย่างย่อยยับ จนทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศวางอาวุธและยอมรับความพ่ายแพ้ต่อฝ่ายพันธมิตรในที่สุด

54.       ใครคือนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่น

(1) นายชินโซะ อาเบะ

(2) นายอิโต ฮิโรบูมิ    

(3) นายฟูกูดา ยาซูโอะ           

(4) นายโตซิกิ ไคฟู

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยมีพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDPเป็นพรรครัฐบาลที่ปกครองญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันก็คือนายชินโซะ อาเบะ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2012

55.       พรรคการเมืองใดปกครองญี่ปุ่นในปัจจุบัน

(1) พรรคญี่ปุ่นก้าวหน้า          

(2) พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย    

(4) พรรคสังคมนิยม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56.       ข้อใดผิดเมื่อกล่าวถึงเกาหลี

(1) เป็นชาติที่อ่อนแอและต้องพึ่งพาจีน          

(2) สถานที่ตั้งถูกขนาบข้างด้วยมหาอำนาจ

(3) แตกแยกเป็น 2 ประเทศ   

(4) คิม จอง-อึน นิยมสหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง-อึน โดยเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ส่วนประธานาธิบดีของเกาหลีใต้คนปัจจุบันก็คือ นางปาร์ค กึน-เฮ โดยเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

57.       เทพเจ้าดันกุน-วังกอม คือใคร

(1)       บรรพบุรุษของชาวเกาหลีและเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโกโชซอน

(2)       ผู้นำการอพยพหนีภัยการเมืองมาจากจีนในสมัยราชวงศ์ชาง

(3)       บุคคลแรกที่นำเหล็กมาผลิตเป็นเครื่องมือทางการเกษตร

(4)       เป็นผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าและประกาศให้เป็นศาสนาประจำชาติ

ตอบ 1 หน้า 146 ตามหลักฐานของชาวเกาหลีที่ปรากฏในตำนานโคกุน กล่าวว่า อาณาจักรโกโชซอนหรือโชซอนแรกก่อตั้งขึ้นโดยบรรพบุรุษของชาวเกาหลีนามว่า ดันกุน-วังกอม ซึ่งเป็นพวกมองโกลอยด์ที่มีฐานะเป็นบุตรของเทพเจ้าที่เสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เมื่อประมาณ 2,333 ปีก่อนคริสตกาลโดยมีอาณาเขตคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของคาบสมุทรระหว่างลุ่มแม่น้ำเหลียวกับลุ่มแม่นํ้าเตดอง

58.       ที่เรียกว่า “ถังจิ๋ว” ตรงกับสมัยใดของเกาหลี

(1) ซิลลา        

(2) โกโชซอน  

(3) ปักเจ        

(4) โชซอน

ตอบ 1 เกาหลีโบราณมีการปกครองที่เรียกว่า“ยุค 3 อาณาจักร” (Three Kingdomsซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวเกาหลีแท้ ๆ ประกอบด้วยอาณาจักรโคคูเรียวหรีอโคกูรยอ (มีอิทธิพลมากที่สุด) อาณาจักรปักเจ และอาณาจักรซิลลา ซึ่งได้ชื่อว่า “ถังจิ๋วหรือถังน้อย” (Little Tangเนื่องจากได้รับเอาแบบอย่างความเจริญมาจากจีนในสมัยราชวงศ์ถัง

59.       ยางบัน จุงอิน ยางมิน และซอนมิน คือใคร

(1) ตำแหน่งผู้นำทางทหารของเกาหลีเหนือ   

(2) ชนชั้นที่ลดหลั่นกันในสังคมลมัยราชวงศ์ยี่

(3) เชื้อพระวงศ์ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์

(4) นักธุรกิจ เจ้าของที่ดินในสมัยปักเจ

ตอบ 2 หน้า 157 สังคมเกาหลีโบราณในสมัยราชวงศ์ยี่มีการกำหนดหน้าที่ของคนในสังคมอย่างละเอียดโดยแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น คือ

1.         ชนชั้นยางบัน เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุด

2.         ชนชั้นจุงอิบ เป็นชนชั้นกลาง ได้แก่ ข้าราชการในระดับรับนโยบายมาปฏิบัติ

3.         ชนชั้นยางมิน เป็นชนชั้นสามัญชนซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มช่างฝีมือ ช่างประดิษฐ์ ช่างก่อสร้าง และชาวไร่ชาวนา

4.         ชนชั้นชอนมิน เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ได้แก่ พวกทาสที่สังกัดรัฐบาลและเอกชน รวมทั้งนักแสดง สตรีที่ขายบริการ นักไสยศาสตร์ และพ่อค้าขายเนื้อสัตว์

60.       ข้อใดผิด

(1)       ก่อนที่เกาหลีจะประดิษฐ์ตัวอักษร “ฮันกูล” เกาหลีใช้ตัวอักษรจีนเป็นหลัก

(2)       เกาหลีเหนือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี”

(3)       ลัทธิจูเช ของเกาหลีเหนือ เน้นความเป็น “ชาตินิยม พึ่งพาตนเอง และเชื่อผู้นำดุจเทพเจ้า”

(4)       นายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้เป็นสตรีนามว่า ปาร์ค กิน-เฮ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

61.       อารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าใด

(1) คงคา        

(2) สินธุ          

(3) ยมุนา        

(4) พรหมบุตร

ตอบ 2 หน้า 174183188 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลกโดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่นํ้าสินธุหรืออินดัสในประเทศปากีสถานปัจจุบัน เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเห็นได้จากการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโรและฮารัปปา ทั้งนี้ชนชาติที่เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็คือ พวกทราวิฑหรือดราวิเดียน (Dravidiansซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมของอินเดีย นอกจากนี้ชาวสินธุยังเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบและทำท่อระบายนํ้าโสโครก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีความเจริญสูงสุดด้านสุขาภิบาล เมื่อเทียบกับแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในบริเวณอื่นของโลก

62.       ผู้สร้างอารยธรรมเริ่มแรกในเอเขียใต้ได้แก่พวกใด

(1) อารยัน      

(2) ทราวิฑ      

(3) ตังกัส        

(4) พยู่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63.       พื้นที่ส่วนใหญ่ของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศใด

(1) อินเดีย      

(2) บังคลาเทศ

(3) ปากีสถาน

(4) อัฟกานิสถาน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

64.       มรดกตกทอดของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกที่มืต่อชนรุ่นหลังที่สำคัญที่สุดคือเรื่องใด

(1) ศาสนา      

(2) ภาษา        

(3) การชลประทาน    

(4) การปกครอง

ตอบ 1 หน้า 183186 – 188 มรดกด้านอารยธรรมของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้(อารยธรรมล่มแม่นํ้าสินธุ) ที่ตกทอดถึงอินเดียรุ่นหลังที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความเชื่อทางศาสนาเช่น การนับถือเจ้าแม่หรือมหามาตา การบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ การบูชาวัวตัวผู้ การบูชาต้นโพและต้นไทร เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ชาวฮินดูสมัยใหม่เป็นหนี้ชาวสินธุอยู่มาก

65.       เส้นทางแรกที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ารุกรานชมพูทวีปได้แก่บริเวณใด         

(1) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

(2) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   

(3) ทิศตะวันตกเฉียงใต้         

(4) ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ตอบ 1 (คำบรรยาย) อารยันเป็นชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากพวกอินโด-ยูโรเปียน และถือว่าเป็นซาวต่างชาติพวกแรกที่เข้ามารุกรานอินเดียโบราณ (ชมพูทวีป) แต่เดิมนั้นจะอาศัยอยู่ทางภาคกลางองทวีปเอเชียรอบ ๆ ทะเลสาบแคสเปียน ต่อมาได้เข้ารุกรานอินเดียโดยผ่านทางช่องเขาไคเบอร์ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และได้จับชาวพื้นเมือง (ทราวิฑ) มาเป็นทาสซึ่งชนเผ่าอารยันนี้จะมีลักษณะเด่นคือ มีผิวขาว ตัวสูง และจมูกโด่ง ในปัจจุบันก็คือประชากรส่วนใหญ่ของอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ

66.       คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์ที่ศึกษาได้เฉพาะคนในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ถามว่าเริ่มแรกสุดได้แก่เล่มใด

(1) ฤคเวท      

(2) ยชุรเวท     

(3) สามเวท    

(4) อาถรรพเวท

ตอบ 1 หน้า 191 – 192(คำบรรยาย) คัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและนับว่าเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งคัมภีร์พระเวทในชั้นแรกมี 3 เล่ม เรียกว่า“ไตรเวท” ได้แก่ ฤคเวท (เป็นเล่มที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุด) ยชุรเวท และสามเวท ต่อมาได้มีการแต่งอาถรรพเวทเพิ่มเติมขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง

67.       ถ้าจัดคุณสมบัติของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เข้าอยู่ในระบบวรรณะควรจัดอยู่ในระบบวรรณะใด

(1) พราหมณ์  

(2) กษัตริย์     

(3) แพศย์       

(4) ศูทร

ตอบ 2 หน้า 195 – 196(คำบรรยาย) ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระเจ้า (พระพรหม) เป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.         วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.         วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สีแดง

3.         วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้านายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.         วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นตํ่าสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกรและข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

68.       ถ้าจัดคุณสมบัติของบุคคลผู้มีอายุ 30 ปี เข้าอยู่ในหลักอาศรม 4 ตามคติฮินดู ควรจัดไว้ในอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม   

(2) คฤหัสถ์ถาศรม     

(3) วานปรัสถาศรม    

(4) สันยัสตาศรม

ตอบ 2 หน้า 199(คำบรรยาย) ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น หลักอาศรม 4 หมายถึงธรรมหรือหลักการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามวัยหรีอตามขั้นตอนของชีวิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคนในแต่ละอาศรมให้เหมาะกับวัย ซึ่งประกอบด้วย

1.         พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1-25 ปีเป็นวัยแห่งการศึกษา

2.         คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 บี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงานมีครอบครัว

3.         วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 บี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.         สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 บี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติโดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

69.       ศาสนาคู่ใดมีคำสอนสอดคล้องกับมากที่สุด

(1) พราหมณ์-เชน       

(2) เชน-พุทธ  

(3) พุทธ-สิกข์ 

(4) สิกข์-เชน

ตอบ 2 หน้า 202 – 203205 – 207 ศาสนาเชนและศาสนาพุทธจะมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด โดยเฉพาะหลักอนุพรต 5 ของเชนจะเหมือนกับศีล 5 ของพุทธ นอกจากนี้ทั้ง 2 ศาสนายังมีทัศนะที่ขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เหมือนกันหลายเรื่อง เช่น ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก การฆ่าสัตว์บูชายัญ ระบบวรรณะ การสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า การล้างบาปในแม่น้ำคงคาอันศักดิสิทธิ์ เป็นต้น

70.       พระธรรมจักรและกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์แทนปางใดของพระพุทธเจ้า

(1) ปางประสูติ           

(2) ปางตรัสรู้  

(3) ปางปฐมเทศนา    

(4) ปางปรินิพพาน

ตอบ 3 หน้า 214 – 217(คำบรรยาย) พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์เมารยะทรงมีพระราชกรณียกิจ ดังนี้

1.         ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูก ดังคำกล่าวที่ว่า “พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ให้เหมือนบิดารักษาบุตรทุกเมื่อ” และทรงเป็นธรรมราชา

2.         ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนารวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก

3.         ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกของพุทธศาสนา จนทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยนี้ เช่น โปรดให้จารึกพระธรรมคำสอนลงบนเสาหินที่เรียกว่า “Asokas Pillars” โดยหัวเสาจะมีรูปสิงห์ 4 ตัวยืนหันหลังชนกัน ข้างบนหลังสิงห์มีพระธรรมจักร ซึ่งปัจจุบันอินเดียใช้หัวเสารูปสิงห์เป็นตราแผ่นดิน รวมทั้งโปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน อาทิเช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพพระธรรมจักรและมีกวางหมอบ เป็นต้น

71.       กษัตริย์พระองศ์ใดเป็นแบบอย่างขององค์ประมุขที่มีขันติธรรมในศาสนา

(1) พระเจ้าอักบาร์      

(2) พระเจ้าจาหันกีร์   

(3) พระเจ้าชาห์เจฮาน

(4) พระเจ้าโอรังเซป

ตอบ 1 หน้า 224 – 225(คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ในสมัยจักรวรรดิโมกุลแห่งอินเดีย โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดและมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของพระองค์ก็คือ ทรงมีขันติธรรมในศสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศเนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

 

72.       “พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ให้เหมือนบิดารักษาบุตรทุกเมื่อ” ท่านว่ากษัตริย์พระองค์ใดทรงปฏิบัติตามหลักธรรมดังกล่าว

(1) พระเจ้าจันทรคุปต์

(2) พระเจ้าอักบาร์      

(3) พระเจ้าโอรังเซป   

(4) พระเจ้าอโศก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

73.       ราชวงค์ใดของอินเดียที่พุทธคาสนาเจริญสูงสุด

(1) ราชวงศ์เมารยะ    

(2) ราชวงศ์คุปตะ       

(3) ราชวงศ์คุงคะ       

(4) ราชวงศ์กุษาณะ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

74.       บทละครเรื่อง ศกุนตลา เป็นมรดกด้านวรรณกรรมของสมัยใด

(1) ราชวงศ์เมารยะ    

(2) ราชวงศ์คุปตะ       

(3) ราชวงศ์ศุงคะ       

(4) ราชวงศ์กุษาณะ

ตอบ 2 หน้า 219 – 222 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” เพราะมี

ความเจริญด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

1. เป็น “ยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต”โดยกวีเอกในสมัยนี้ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย”โดยผลงานเด่นที่รู้จักไปทัวโลกคือ บทละครเรื่องศกุนตลา ซึ่งเป็นวรรณกรรมอินเดียที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาแปลเป็นภาษาไทย 2. มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ที่เด่น ๆ คือ การเจาะภูเขาเป็นลูก ๆ ให้เป็นถํ้าเพื่อสร้างสังฆารามหรือเทวสถานและพุทธสถาน ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ถํ้าอชันตา ซึ่งภาพเขียนสีรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีบนฝาผนังถํ้าที่ 1 ถือว่าเป็นจิตรกรรมชิ้นเอกของยุค

75.       “มุมทัชมาฮาล” แปลว่า “รัตนะแหงราชสำนัก” เป็นที่มาของการสร้างปราสาททัชมาฮาล ถามว่าพระนางเป็นพระมเหสีของกษัตริย์พระองศ์ใด

(1) พระเจ้าอักบาร์      

(2) พระเจ้าบาบูร์        

(3) พระเจ้าจาหันกีร์   

(4) พระเจ้าชาห์เจฮาน

ตอบ 4 หน้า 226 พระเจ้าชาห์เจฮานทรงมีพระมเหสีที่ทรงพระสิริโฉมงดงามนามว่า“มุมทัชมาฮาล”แปลว่า รัตนแห่งราชสำนัก ตอมาเมื่อพระนางสวรรคตขณะประสูติพระโอรสองศ์ที่ 14 ทำให้พระเจ้าชาเน์จฮานเสียพระทัยอย่างมาก จึงโปรดให้สร้างปราสาททัชมาฮาลขึ้นที่เมืองอักราเพื่อใช้เป็นสุสานเก็บพระศพของพระมเหสีมุมทัช โดยทัชมาฮาลจะเป็นศิลปะฮินดูผสมมุสลิมและจัดเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามจนนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

76.       อินเดียสมัยใดได้ชื่อว่า เป็นยุคทองของอินเดียโบราณ          

(1) ราชวงศ์เมารยะ

(2) ราชวงศ์อินโด-แบกเทรีย   

(3) ราชวงศ์คุปตะ       

(4) ราชวงศ์โมกุล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77.       ภาษาใดที่คนพูดกันมากที่สุดในอินเดีย

(1) เบงกาลี    

(2) อูรดู           

(3) ปัญจาบ    

(4) ฮินดี

ตอบ 4 หน้า 175 – 176(คำบรรยาย) อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านภาษา โดยมีภาษาพูดกว่า 200 ภาษา และหากนับรวมภาษาถิ่นด้วยจะมีราว 800 ภาษา ทั้งนี้ภาษาต่าง ๆที่ใช้กันอยู่ในอินเดียปัจจุบันจะเป็นภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต เช่น ภาษาฮินดี อูรดู บงกาลี คุชราตี ฯลฯ โดยภาษาที่คนอินเดียพูดและใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ภาษาฮินดี รองลงมา ได้แก่ ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาราชการที่ใช้สอนในมหาวิทยาลัย

78.       ชาวตะวันตกชาติใดที่เข้ามาในอินเดียเป็นชาติแรกและสามารถยึดตลาดการค้าจากพ่อค้าอาหรับได้สำเร็จในคริสต์คตวรรษที่ 16

(1) โปรตุเกส  

(2) ดัตช์          

(3) อังกฤษ     

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 โปรตุเกสเป็นมหาอำนาจตะวันตกาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลสูงสุดในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยได้เดินเรือเข้ามาค้าขายในอินเดียแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จนสามารถยึดตลาดการค้ามาจากพ่อค้าอาหรับที่มีอิทธิพลอยู่ในดินแดนนี้ได้สำเร็จ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกัว (Goaซึ่งเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการค้าศาสนาคริสต์ การปกครอง และวัฒนธรรมของโปรตุเกส

79.       ข้าหลวงคนใดเป็นผู้จุดฉนวนกบฏซีปอย

(1) Lord Bentinck      

(2) Lord Dalhousie

(3) Lord Cornwallis  

(4) Lord Curzon

ตอบ 2 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นขบวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857 ซึ่งการแทรกแซงดังกล่าวมีดังนี้

1. ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เริยกว่า “The Doctrine of Lapse ทำให้ประเพณีในการสืบราชสมบัติของเจ้าผู้ครองนครเปลี่ยนไป

2. ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีโฉนดมาแสดงก็ให้ยึดเป็นของอังกฤษ

3. ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตตี (Suttee),ออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและประเพณีฆ่าคนบูฃายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

4. สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาว (Enfield Rifleมาให้ทหารซีปอยใช้โดยได้นำน้ำมันหมูและไขวัวมาใช้เป็นนํ้ามันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอยทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน

80.       สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอยคืออังกฤษออกกฎหมายแทรกแซงเรื่องใดของอินเดีย

(1) ด้านการปกครอง

(2) ด้านเศรษฐกิจ       

(3) ด้านสังคม 

(4) ด้านการทหาร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81.       อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอยแพ้อังกฤษ

(1) อาวุธยุทโธปกรณ์ด้อยกว่าของอังกฤษ     

(2) ระบบการสือสารด้อยกว่าของอังกฤษ

(3) ซีปอยมีความชำนาญในการรบด้อยกว่าอังกฤษ   

(4) ชาวอินเดียแตกความสามัคคี

ตอบ 4 หน้า 234 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอยได้ มีดังนี้

1.         ผู้นำทัพและทหารอังกฤษ มีประสบการณ์และความชำนาญในการรบมากกว่า และมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

2.         อังกฤษมีระบบและเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งก็คือเครื่องโทรเลขที่ช่วยให้สามารถส่งข่าวได้อย่างรวดเร็ว

3.         ผู้ปกครองหลายรัฐเข้าร่วมกับอังกฤษเพื่อปราบกบฏซีปอย อันแสดงให้เห็นถึงการแตกความสามัคคีในหมู่ชาวอินเดียเอง ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอยพ่ายแพ้อังกฤษ

82.       นักชาตินิยมคนใดที่ยอมรับกันว่า “หัวรุนแรงที่สุด”

(1) Nehru 

(2) Jinnah

(3) Tilak    

(4) Ranade

ตอบ หน้า 239(คำบรรยาย) พาล คงคาธาร ติลัก (Bal Gangadhar Tilakเป็นนักชาตินิยมหัวรุนแรงที่สุดของอินเดีย โดยเขาจะไม่ยอมรับการปฏิรูปใด ๆ ในแนวทางของอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดชาตินิยมของอินเดียมาเป็นขบวนการประชาชนโดยยึดคติว่า“การปกครองตนเองเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน และประชาชนต้องการปกครองตนเอง”รวมทั้งเป็นผู้ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณของอินเดียขึ้นมาใหม่ เพื่อปลุกจิตลำนึกชาตินิยมในหมู่ชาวอินเดีย ทั้งนี้ติลักได้รับสมญานามจากชาวอินเดียว่า “โลกมานยะ” แต่ชาวอังกฤษกลับตั้งฉายาว่าเป็น “บิดาแห่งความยุ่งยากในประวัติศาสตร์อินเดีย”

83.       หัวใจการต่อสู้ของขบวนการสัตยาเคราะห์คือเรื่องใด

(1) อหิงสา      

(2) ขันติ          

(3) อุเบกข

(4) เมตตากรุณา

ตอบ1 มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhiเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนิติศาสตร์ และเป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ที่เรียกว่า“การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลังแต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่

1. สัตยะ คือ ความจริง           

2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง

3. การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟัง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง

84.       การที่อังกฤษออก พ.ร.บ. เก็บอะไรที่ชาวอินเดียถือว่าไม่เป็นธรรมมากที่สุด

(1) ภาษีที่ดิน  

(2) ภาษีการค้า           

(3) ภาษีเกลือ 

(4) ภาษีมรดก

ตอบ 3 หน้า 224515 (เล่มเก่า) การที่อังกฤษออก พ.ร.บ. เก็บภาษีเกลือชาวอินเดียแพงเกินไปนั้นาวอินเดียถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมมากที่สุด เพราะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวอินเดียในทุกครัวเรือน จนมหาตมะ คานธี ต้องชักชวนประชาชนให้หันมาทำนาเกลือเองผลปรากฏว่าอังกฤษสั่งปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาอังกฤษก็ยอมเปิดการประชุมโต้ะกลมระหว่างอินเดียกับอังกฤษเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในที่สุด

85.       ท่านคิดว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักชาตินิยมชื่นชอบ “The MorleyMinto Reforms of 1909”

(1)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียมีเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

(2)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้สิทธิเลือกรัฐบาลปกครองตนเอง

(3)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปทำงานในหน่วยงานของรัฐ

(4)       เป็นครั้งแรกที่ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภา

ตอบ 4 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์–มินโต (The MorleyMinto Reformsซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรกด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอินเดียที่กรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้นแต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในเรื่องการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

86.       ข้อใดที่เป็นเนื้อหาสำคัญของ “The Rowlatt Act of 1919” ที่ทำให้นักชาตินิยมไม่พอใจ

(1) อังกฤษอนุญาตให้หญิงม่ายแต่งงานได้   

(2) อังกฤษแบ่งแคว้นเบงกอลออกเป็น 2 ส่วน

(3) อังกฤษควบคุมการบริหารในมหาวิทยาลัย           

(4) อังกฤษลิดรอนเสรีภาพของซาวอินเดยอย่างรุนแรง

ตอบ 4 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า“กฎหมายโรว์แลตต์” (The Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่มีสิทธิอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดล้มล้างรัฐบาลได้ทันทีโดยไม่ต้องดำเนินการสอบสวนหรือขึ้นศาลตามขบวนการยุติธรรม ซึ่งนักชาตินิยมมองว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นสาเหตุให้มหาตมะ คานธีลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการประท้วงอังกฤษเสียเอง

87.       บุคคลใดได้รับสมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งชาติปากีสถาน”

(1) Nehru 

(2) Gandhi

(3) Jinnah

(4) Tilak

ตอบ 3 หน้า 241244 – 245(คำบรรยาย) มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Muhammad Alt Jinnah)ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิม เป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดียควบคู่ไปกับการต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิม โดยการประชุมสันนิบาตมุสลิมทีละโฮร์ในปี ค.ศ. 1940จินนาห์ได้เสนอข้อมติเพื่อขอแยกมุสลิมออกจากฮินดูมาตั้งประเทศปากีสถาน จนกระทั่งเมื่ออินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 อินเดียได้แยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดียและปากีสถาน ทำให้จินนาห์ได้รับสมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งชาติปากีสถาน”

88.       รูปสิงห์สี่ตัวยืนหันหลังชนกันที่อินเดียใช้เป็นตราแผ่นดินนั้น ได้มาจากที่ใด

(1) หัวเสาในสมัยพระเจ้าอโศก          

(2) หัวเสาในสมัยพระเจ้ามิลินทร์

(3) หัวเสาในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์  

(4) หัวเสาในสมัยพระเจ้าอักบาร์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

89.       กลางผืนธงชาติของอินเดีย บนแถบสีขาวมีสิ่งใดปรากฏอยู่

(1) ดอกบัว     

(2) ช้าง           

(3) ธรรมจักร  

(4) นกยูง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ธงชาติของสาธารณรัฐอินเดียประกอบด้วยแถบสี 3 แถบ คือ แถบบนสีส้ม

แถบล่างสีเขียว ส่วนแถบกลางสีขาวจะมีรูปพระธรรมจักรอยู่ตรงกลาง ซึ่งพระธรรมจักรดังกล่าวก็คือสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธนั่นเอง

90.       ท่านคิดว่ามรดกด้านอารยธรรมของอินเดียในเรื่องใดที่ทำให้อารยธรรมอินเดียดูยิ่งใหญ่เท่าจีน

(1) ภาษา        

(2) ศาสนา      

(3) ศิลปะ       

(4) การปกครอง

ตอบ 2 หน้า 174(คำบรรยาย) อินเดียโบราณได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ 4 ศาสนาสำคัญของโลกคือ พราหมณ์-ฮินดู เชน พุทธ และสิกข์ ซึ่งจากมรดกอารยธรรมในด้านศาสนานี้เองที่ทำให้อายธรรมอินเดียยิ่งใหญ่เท่าจีน นั้งนี้เพราะจีนรับอารยธรรมด้านศาสนาไปจากอินเดียนั่นเอง

91.       อาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนี้บุญคุณด้านวัฒนธรรมของประเทศใดมากที่สุด

(1) โรมัน         

(2) เปอร์เซีย   

(3) อินเดีย      

(4) จีน

ตอบ 3 หน้า 255270 – 271273 – 275323 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) หมายถึง ดินแดนในเอเชียตะวันออกส่วนที่อยู่บนผืนแผ่นดิบใหญ่ซึ่งเป็นแหลมอินโดจีนและดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกนอกจากนี้ยังเป็นดินแดนที่มีประชากรหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เป็นแหล่งที่มาของเครื่องเทศโดยเฉพาะในหมู่เกาะต่าง ๆ รวมทั้งเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน จึงเป็นแหล่งรับวัฒนธรรมจากทั้ง 2 ประเทศ โดยดินแดนต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเวียดนามเพียงประเทศเดียวที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน เราจึงสามารถสรุปได้ว่า อาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนี้บุญคุณวัฒนธรรมอินเดียมากที่สุด

92.       ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มีหลายชาติพันธุ์   

(2) ดินแดนแห่งเครื่องเทศ

(3) ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียมากที่สุด        

(4) อยู่ติดมหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93.       แม่นํ้าสายใดยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) แม่นํ้าโขง  

(2) แม่นํ้าเจ้าพระยา   

(3) แม่นํ้าอิระวดี         

(4) แม่นํ้าแดง

ตอบ 1 หน้า 256 – 257542 (เล่มเก่า) แม่นํ้าโขง ถือว่าเป็นแม่นํ้าสายที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นแม่นํ้าสายสำคัญที่ไหลผ่านหลายประเทศได้แก่ จีน ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย

94.       แม่นํ้าสำคัญของประเทศลาวคือแม่น้ำสายใด

(1) แม่น้ำโขง  

(2) แม่นํ้าแดง 

(3) แม่นํ้าดำ   

(4) แม่นํ้าสาละวิน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95.       ภาษาใดจัดอยู่ในกลุ่ม AustroAsiatic

(1) ภาษาพม่า

(2) ภาษาไทย 

(3) ภาษาเวียดนาม    

(4) ภาษามอญ

ตอบ 4 หน้า 259 ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามภาษาพูดได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล SinoTibetan ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาทิเบต-พม่า ภาษากะเหรี่ยงและภาษาแม้ว-เย้า

2.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล TaiKadai ได้แก่ ภาษาไทหรือไต และภาษากะได สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันก็จัดอยู่ในตระกูลนี้ด้วย

3.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล AustroAsiatic ได้แก่ ภาษามอญ-เขมร ภาษาเวียด-มวงและภาษาเซนอย-เซมัง

4.         กลุ่มพูดภาษาตระกูล Austronesian หรือ MalayoPolynesian ได้แก่ ภาษาจามและภาษามาเลย์

96.       ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลใด

(1) SinoTibetan

(2) TaiKadai

(3) AustroAsiatic

(4) MalayoPolynesian

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       ประชากรกลุ่มมองโกลอยด์เหนือมีลักษณะทางกายภาพแบบใด

(1) ตัวเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก       

(2) ตัวสูง ผิวขาว ผมหยิก

(3) ตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง ผมเหยียดตรง        

(4) ตัวสูง ผิวดำ ผมหยิก

 ตอบ 3 หน้า 543 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.         ออสตราลอยด์ (Australoidเป็นประชากรเชื้อสายอินโดนีเซีย-มาเลเซียที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะตัวเตี้ย ผิวดำ และผมหยิก

2.         มองโกลอยด์ (Mongoloidเป็นกลุ่มชนมองโกลอยด์เหนือที่อพยพมาจากตอนเหนือของจีนแล้วเข้ามาอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคนี้ เช่น ชาวไทย ลาว พม่า ฯลฯส่วนใหญ่จะตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง และผมเหยียดตรง

98.       ทะเลอันดามันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรใด            

(1) มหาสมุทรอินเดีย

(2)  มหาสมุทรแปซิฟิก           

(3) มหาสมุทรอาร์กติก           

(4) มหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 1 หน้า 541 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ดิบแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเป็นกำแพงที่แบ่งเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน โดยทางฝั่งตะวันตก ได้แก่ทะเลอันดามันของไทย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางฝั่งตะวันออก ได้แก่อ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก

99.       ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึงมนุษย์ชวา

(1) ค้นพบโดย อูยีน ดูบัว ศัลยแพทย์ชาวฮอลันดา     

(2) ยืนสองขา

(3) ความจุสมองเท่ามนุษย์ในปัจจุบัน

(4) เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 266 – 267548 (เล่มเก่า) ในปี ค.ศ. 1891 อูยีน ดูบัว (Eugene Duboisศัลยแพทย์าวฮอลันดา ได้ค้นพบซากฟอสซิลของมนุษย์โฮโม อีเรคตัส (Homo erectusหรือมนุษย์ชวาบริเวณเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียเป็นครั้งแรกโดยนักมานุษยวิทยาได้จัดมนุษย์ชวาที่ขุดพบนี้ว่าเป็นมนุษย์วานร (Pithecanthropusซึ่งเป็นบรรพบุรุษเริ่มแรกของมนุษย์ โดยสามารถยืนสองขาได้ แต่มีขนาดของสมองเล็กกว่ามนุษย์ในปัจจุบัน และมีชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็งตอนต้น

100.    ข้อใดคือวัฒนธรรมยุคหินใหม่           

(1) เพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์

(2) เคลื่อนย้ายตามฤดูกาล    

(3) อาศัยอยู่ตามถํ้า    

(4) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

ตอบ 1 หน้า 268(คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคของการปฎิวิติเกษตรกรรม โดยมนุษย์จะเริ่มทำการเกษตรกรรมซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบใหม่คือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการปลูกข้าวและผลไม้หลาย ๆ ชนิดอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เริ่มมีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแล้วอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเริ่มรู้จักการทำเครื่องจักสาน ภาชนะดินเผา และเครื่องมือหินขัดขึ้นใช้ มีการแบ่งงานกันทำและมีการติดต่อกับระหว่างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ดังนั้นยุคหินใหม่จึงเป็นยุคของการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

101.    วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน เป็นวัฒนธรรมหินเก่าทื่อยู่ในประเทศใด

(1) พม่า          

(2) ลาว           

(3) เวียดนาม  

(4) ไทย

ตอบ 4 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้วซึ่งวัฒนธรรมหินเก่าในภูมิภาคนี้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทยวัฒนธรรมแทมปาเนียนในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจีตาเนียนในอินโดนีเซีย

102.    ข้อใดไม่ใช่หลักฐานจากอินเดียที่แสดงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) คัมภีร์อรรถศาสตร์

(2) คัมภีร์ปุราณะ       

(3) หนังสือเรื่อง Geographia

(4) ชาดก

ตอบ 3 หน้า 272 – 273558 – 559 (เล่มเก่า) หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีดังนี้

1. หลักฐานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ จารึกเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและแหลมมลายู

2. หลักฐานจากโรมัน ได้แก่ หนังสือเรื่องภูมิศาสตร์(Geographiaของปโทเลมี 

3. หลักฐานจากอินเดีย ได้แก่ มหากาพย์รามายณะคัมภีร์อรรถศาสตร์ ชาดก คัมภีร์ปุราณะ นิเทสสะ และจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช

4.         หลักฐานของจีน ได้แก่ บันทึกการเดินทางของราชทูตจีน

103.    อิทธิพลจีนส่งผลแก่วัฒนธรรมของชาติใดมากที่สุด

(1) พิลิปปินส์ 

(2) เวียดนาม  

(3) กัมพูชา     

(4) มาเลเซีย

ตอบ 2 หน้า 275(HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 368 – 369) เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใด้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนโดยตรง ซึ่งวัฒนธรรมที่จีนนำมาให้เวียดนาม ได้แก่

1. การปกครองแบบโอรสสวรรค์หรืออาณัติสวรรค์

2. ระเบียบการบริหารราชการและระบบการสอบไล่เข้ารับราชการหรือการสอบจอหงวนตามลัทธิขงจื๊อ

3. ลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธนิกายมหายาน

4. วรรณคดีและอักษรศาสตร์

5. วัฒนธรรมความเป็นอยู่และประเพณี เช่น การแต่งกาย การกิน การแต่งงาน การทำศพ เป็นด้น

104.    ตามความเชื่อของขาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์อยู่ในฐานะใด

(1) เจ้าแห่งแม่นํ้า        

(2) เจ้าแห่งป่าไม้        

(3) เจ้าแห่งภูเขา         

(4) เจ้าแห่งสุวรรณภูมิ

ตอบ 3 หน้า 279 – 281568 (เล่มเก่า) จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยมีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทั้งนี้คำว่า “ฟูนัน” เป็นการเรียกตามแบบจีนหากมาจากภาษาเขมรจะเรียกว่า“บนัมหรือพนม”แปลว่าภูเขาและชาวฟูนันจะเรียกประมุขว่า“กุรุง บนัม” แปลว่า กษัตริย์แห่งภูเขา เนื่องจากชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์จะอยู่ในฐานะเจ้าแห่งภูเขา (Kings of the Mountainsหรือไศลราชา

105.    เมืองหลวงของฟูนันคือเมืองใด

(1) เมืองออกแก้ว       

(2) เมืองวยาธปุระ      

(3) เมืองนครปฐม       

(4) เมืองบิญดิน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 104. ประกอบ

106.    กษัตริย์องค์ใดของเขมรที่เป็นผู้สร้างปราสาทบายน  

(1) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2

(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2         

(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7         

(4) พระเจ้าอิศานวรมัน

ตอบ 3 หน้า 286573 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) เขมรในสมัยพระเจ้าชัยเวรมันที่ 7 ได้มีการสร้างปราสาทบายนขึ้นโดยรับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายนคือ บนยอดของปรางค์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวงหรือนครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณกลางเมืองพระนคร

107.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค        

(2) สะเทิม      

(3) เมาะตะมะ

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอบล่างด้านตะวันออกของแม่นํ้าอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อมอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนไต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

108.    ตามบันทึกของจีน ชาวจามมีลักษณะอย่างไร           

(1) ผิวขาว ผมเหยียดตรง

(2) ตาลึก ผมดำ         

(3) ตาโต ผิวขาว         

(4) ตัวใหญ่ ผมเหยียดตรง

ตอบ 2 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีนหรือบริเวณตอบกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือฃองอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือบริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเกียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนามทั้งนี้ลักษณะของซาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก

109.    ข้อใดกล่าวถึงอาณาจักรพุกามไม่ถูกต้อง

(1) พุกามล่มสลายลงเพราะถูกมอญโจมตี    

(2) พุกามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากมอญ

(3) กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา

(4) พุทธศาสนานิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพุกามอย่างมาก

ตอบ 1 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของลุ่มแม่นํ้าอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดซองพม่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพุกามคือพระเจ้าอโนรธา โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้างสิทธิธรรมทางศาสนาในการโจมตีและยึดครองดินแดนต่าง ๆ และทรงสร้างพุกามให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งนี้อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเนื่องจากถูกกองทัพมองโกลของกุบไลข่านเข้าโจมตีในปี พ.ศ. 1821 กอปรกับมีความอ่อนแอภายในอาณาจักร

110.    สถาปัตยกรรมที่สำคัญของราชวงศไศเลนทร์ คือข้อใด

(1) ปราสาทนครวัด    

(2) บุโรพุทโธ  

(3) ปรัมบานัน

(4) อานันทะเจดีย์

ตอบ 2 ราชวงค์ไศเลนทร์ เป็นสมัยที่อาณาจักรชวาภาคกลางมีความเจริญรุ่งเรืองโดยดูได้จากงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ซึ่งผลงานที่มีชื่อเสียงและกลายเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีเกี่ยวกับราชวงค์ไศเลนทร์คือ บุโรพุทโธ (Borobudurซึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นเจดีย์หินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรวมทั้งเป็นเจดีย์ในพุทธศาลนานิกายมหายาน ลัทธิศิวพุทธ และความเชื่อในเรื่องจักรวาล

111.    ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส          

(2) การสำรวจดินแดนใหม่     

(3) การค้า      

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง

2. ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปสู่พวกนอกศาสนา

4. ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่

5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ

6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้

112.    ชาวยุโรปชาติใดเดินทางเข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติแรก

(1) สเปน        

(2) โปรตุเกส  

(3) ดัตช์          

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 324 – 326592 – 594 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยในปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสสามารถทำสงครมยึดเมืองมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศได้สำเร็จเป็นแห่งแรก ซึ่งหลังจากที่ยึดมะละกาได้แล้วก็ได้แต่งตั้งผู้ปกครองมะละกาที่เรียกว่า “กะปิตัน” (Kapitanจากนั้นโปรตุเกสได้ปกครองมะละกาแบบทหาร (Fortress System)สร้างป้อมอา ฟาโมซา (A Famosaและสร้างโบสถ์เซนต์พอลขึ้นเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ รวมทั้งส่งคนออกสำรวจหมู่เกาะเครื่องเทศเพื่อต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศใน Ternate, Tidore และ Banda อีกด้วย

113.    ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์    

(2) ปีนัง          

(3) มะละกา   

(4) พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้วในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlement)โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะปีนัง

114.    ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในด้านการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส  

(2) สเปน        

(3) ดัตช์          

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 331(คำบรรยาย) ดัตช์หรือฮอลันดาถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จทางด้านการค้ามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปี พ.ศ. 2173 ดัตช์ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่บันทัมบนเกาะชวา ต่อมาในปี พ.ศ. 2145 ก็ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการค้าเครื่องเทศที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้บันทัมกลายเป็นศูนย์กลางการค้าในบริเวณนี้

115.    ดัตช์ได้ใช้นโยบายใดเพื่อปรับปรุงสวัสดิการคนพื้นเมืองในบังคับให้ดีขึ้น

(1) Culture System   

(2) Encomienda        

(3) Ethical Policy       

(4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 334 ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ดัตช์ได้มีการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจบนเกาะชวาโดยใช้นโยบายที่เรียกว่า “Ethical Policy” ซึ่งเป็นนโยบายที่จัดการบริการสวัสดิการสาธารณะให้ดีมากขึ้น เช่น การศึกษา สาธารณสุข การเกษตร และการคมนาคม ซึ่งต่อมาชาวอินโดนีเซียที่มีการศึกษาไม่พอใจที่ไม่มีสิทธิในการปกครองประเทศ ระบบนี้จึงถือเป็นแรงกระตุ้นประการหนึ่งที่ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมในอินโดนีเซีย

116.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึง เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน

(1) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส         

(2) เป็นผู้เดินทางมาถึงฟิลิปปินส์

(3) เป็นผู้เดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก

(4) เป็นผู้ทำให้ชาวสเปนถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์

 ตอบ 1 หน้า 328 – 329600 (เล่มเก่า) เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่สามารถเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยในปี พ.ศ. 2055 แมกเจลแลนได้เดินทางมาถึงหมู่เกาะวิสายะของฟิลิปปินส์ตามคำสั่งของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ที่ให้ค้นหาเส้นทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศและยึดดินแดนที่ค้นพบ ต่อมาเขาได้เดินทางมาถึงเกาะลิมาซาวาและเกาะเซบู โดยได้ผูกมิตรกับหัวหน้าเกาะทั้งสอง และที่เกาะเซบูเขาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในหมู่เกาะทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ ส่งผลให้แมกเจลแลนและชาวสเปนจำนวนมากถูกฆ่าตายในฟิลิปปีนส์

117.    ข้อใดหมายถึงสนธิสัญญาซารากอสสา

(1) สนธิสัญญาที่กำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของโปรตุเกสกับสเปน

(2) สนธิสัญญาที่ให้สเปนกับโปรตุเกสออกสำรวจดินแดนต่าง ๆ คนละเส้นทางกัน

(3) สนธิสัญญาที่โปรตุเกสทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

(4) สนธิสัญญาที่ดัตช์ทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ตอบ 1 หน้า 328 ด้วยเหตุที่ทั้งสเปนและโปรตุเกสต่างก็ต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ในปี พ.ศ. 2072 สเปนและโปรตุเกสได้ทำ “สนธิสัญญาซารากอสสา”ระหว่างกัน โดยมีการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ชัดเจน

ตั้งแต่ข้อ 118. – 120. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา      

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3) ระบบโปโล

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

118.    ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomiendaคือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ในฟิเลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Encomiendoros)เรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

119.    ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมืองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.         ระบบโปโล (Polo Systemเป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.         ระบบวันดาลา (Vandala Systemเป็นระบบบังคับซื้อสินค้า โดยบังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาตํ่า

120.    ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 119. ประกอบ

Advertisement