การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS 1002 อารยธรรมตะวันออก

Advertisement

ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.     มนุษย์เริ่มมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งในสมัยใด

(1)   สมัยหิน    

(2) สมัยหินใหม่

(3) สมัยหินเก่า 

(4) สมัยเหล็ก

ตอบ 2 หน้า 6268(คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ (มีอายุราว 6,000 – 4,000 ปี) เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มทำการเกษตรกรรมคือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นยุคที่เริ่มมีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแล้วอยู่รวมกันเป็นชุมชน เริ่มรู้จักการทำเครื่องจักสาน ภาชนะดินเผา และเครื่องมือหินขัดขึ้นใช้ มิการแบ่งงานกันทำ เริ่มมีการปกครองแบบพ่อกับลูก มีการติดต่อกันระหวางชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมทั้งมีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าและโลกหน้าซึ่งเป็นที่มาของศาสนา ดังนั้นยุคหินใหม่จึงเป็นยุคของการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์

2.     ข้อใดคือแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลก

(1) ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา     

(2) ลุ่มแม่นํ้าโขง      

(3) ลุ่มแม่น้ำท่าจีน   

(4) ลุ่มแม่นํ้าไนล์

ตอบ 4 หน้า 765 (เล่มเก่า) แหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลกเกิดขึ้นในเอเชียหรือซีกโลกตะวันออกเมื่อประมาณ 3500 B.Cบริเวณลุ่มแม่นํ้าสำคัญ 4 แห่ง ดังนี้

1.     ลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีส ในอิรัก  

2. ลุ่มแม่นํ้าไนล์ ในอียิปต์

3.     ลุ่มแม่น้ำสินธุ ในอินเดีย    

4. ลุ่มแม่นํ้าฮวงโห ในจีน

3.     พีระมิดถูกสร้างขึ้นในสมัยใดของอารยธรรมอียิปต์โบราณ

(1) สมัยราชวงศ์       

(2) สมัยต้นราชวงศ์  

(3) สมัยจักรวรรดิ    

(4) สมัยอาณาจักรเก่า

ตอบ 4 ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 ในสมัยอาณาจักรเก่า

ของอียิปต์โบราณ ถือว่าเป็นยุคที่มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมสูงมาก โดยผลงานเด่นคือการสร้างพีระมิด ซึ่งพบว่ามีการสร้างพีระมิดมากถึง 20 องศ์ จนเป็นผลให้สมัยอาณาจักรเก่าถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สมัยพีระมิด” (The Pyramid Age)

4.     หลักฐานที่ถูกค้นพบในสมัยหลังชิ้นใดที่ทำให้นักวิชาการศึกษาอารยธรรมอียิปต์โบราณได้

(1) ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี   

(2) จารึกโรเซตตา

(3) บัญญัติสิบประการ      

(4) อักษรคูนิฟอร์ม

ตอบ 2 หน้า 18 จารึกโรเซตตา (The Rosetta Stoneเป็นแผ่นหินที่ถูกค้นพบในปี A.D1799 โดยนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ชอง ฟรองซัว ของโปลิออง (Jean Francois Champollion)

ได้ใช้เวลา 14 ปี ในการศึกษาจนสามารถถอดข้อความในแผนจารึกซึ่งใช้ทั้งอักษรไฮโรกลิฟิกอักษรไฮราติก และอักษรกรีกโบราณได้สำเร็จ ทำให้นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ได้รู้ความเป็นไปทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมอียิปต์โบราณ จนทำให้จารึกโรเซตตาถูกเรียกว่า “กุญแจสู่อียิปต์ศาสตร์” (A Key to Egyptology)

5.     ข้อใดคือเทพสูงสุดของอียิปต์โบราณ  

(1) เทพอะตัน

(2)   ไม่มีเพราะนับถือศาสนาอิลลาม  

(3) อัลเลาะห์    

(4) อะฮูรา มาสดา

ตอบ 1 หน้า 15 – 1775 (เล่มเก่า) ในเรื่องศาสนาของอียิปต์โบราณมี 3 ประเด็นสำคัญ คือ

1. ชาวอียิปต์โบราณยึดมั่นในเทพเจ้าหลายองค์

2. เป็นกลุ่มชนแรกที่เชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง ซึ่งจากความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือคัมภีร์ผู้ตาย และพีระมิดซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของกษัตริย์

3. เป็นผู้นำในการปฏิรูปศาสนา โดยเฉพาะในสมัยฟาโรห์อะเมนโฮเต็ปที่ 4 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิรูปศาสนาคนแรกของอียิปต์โบราณและของโลก ซึ่งหลักของการปฏิรูปศาสนา คือการยึดมั่นในเทพเจ้าอะตัน (Atonหรือสุริยเทพเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว

6.     ข้อใดคือชื่อตัวอักษรของอารยธรรมอียิปต์โบราณ

(1)   Hieratic   

(2) Ziggurat     

(3) Cuneiform

(4) Papyrus

ตอบ 1 หน้า 17 – 18 เมื่อประมาณ 3000 B.Cชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์ตัวอักษรรูปภาพไฮโรกลิฟิก(Hieroglyphicsขึ้น โดยเริ่มแรกนั้นจะมีประมาณ 700 ตัว ซึ่งผู้ที่สามารถเขียนและอ่านได้ คือ พระและอาลักษณ์ ต่อมาจึงมีการปรับปรุงตัวอักษรรูปภาพเพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้นและให้มีจำนวนน้อยลง ทำให้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรไฮราติก (Hieraticขึ้นในปี 1100 B.Cและพัฒนามาเป็นตัวอักษรเดโมติก (Demoticซึ่งมีจำนวนตัวอักษรเพียง 24 ตัวในปี 700 B.C.

7.     การสร้างพีระมิดสัมพันธ์กับเรื่องใด

(1) การแพทย์  

(2) ศาสนา       

(3) คณิตศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8.     ข้อใดถูกต้องที่สุด

(1)   อารยธรรมอียิปต์โบราณมีอายุเก่าแก่ที่สุดของอารยธรรมมนุษย์

(2)   อารยธรรมอียิปต์โบราณเจริญเติบโตมาจากการค้าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(3)   อียิปต์อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่เหล็กซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างชาติ

(4)   อียิปต์สามารถรวมชาติได้ก่อนดินแดนอื่น

ตอบ 4 หน้า9,11,20 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่นำการสร้างความมั่นคงทางการเมือง นั่นคือ ในสมัยราชวงศ์ ชาวอียิปต์สามารถรวมดินแดนเพื่อจัดตั้งชาติได้สำเร็จก่อนดินแดนอื่นและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี

9.     ข้อใดสัมพันธ์กับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(1) เจริญมาจากพื้นที่ทะเลทราย

(2) การเข้ามาแหล่งทรัพยากรของหลายกลุ่มชน

(3)   อารยธรรมที่มืพัฒนาการโดยกลุ่มคนชนชาติเดียว

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 2 อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นหนึ่งในสองอารยธรรมเริ่มแรกของโลก ซึ่งลักษณะของอารยธรรมเมโสโปเตเมียมีดังนี้

1. เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสละยูเฟรติสที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีประโยขน้ต่อการทำเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง

2. ประชากรในเมโสโปเตเมียเป็นกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ จึงทำให้มีการทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา

3. ไม่มีภูเขาและทะเลทรายเป็นปราการทางธรรมชาติ จึงทำให้มีต่างชาติเข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรอยู่ตลอดเวลา

10.   สุเมเรียนเป็นกล่มคนเชื้อชาติใด

(1)   เซมิติก     

(2) อาหรับ      

(3) มองโกลอยด์       

(4) ไม่มีข้อถูก

ตอบ 4 หน้า 21 – 2282 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานและวางรากฐานทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย ทั้งนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดแต่มีการสันนิษฐานวาน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียซึ่งเรียกว่า “ซูเมอร์” เมื่อประมาณ 5000 B.Cจากนั้นจึงรวมตัวกัน เป็นนครรัฐ (CityStatesเช่น Uruk, Ur, Eridu ฯลฯ โดยแต่ละนครรัฐจะปกครองตนเอง มีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน และมีการแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกันอยู่บ่อยครั้ง

11.   ข้อใดคือเซมิติกกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งมั่นยังดินแดนเมโสโปเตเมีย

(1)   สุเมเรียน  

(2) อัคคาเดียน 

(3) บาบิโลเนียน       

(4) อะมอไรท์

ตอบ 2 หน้า 24 – 25 อัคคาเดียนเป็นเซมิติกกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทในดินแดนเมโสโปเตเมียโดยได้อพยพมาจากคาบสมุทรอาระเบียแล้วเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนอัคคัดบริเวณตอนกลางของเมโสโปเตเมียเมื่อประมาณ 3000 B.Cต่อมาในปี 2371 B.Cซาร์กอนแห่งอัคคัดซึ่งทรงรบชนะสุเมเรียน ได้รวมดินแดนซูเมอร์เข้ากับอัคคัดและจัดตั้งจักรวรรดิอัคคาเดียน ซึ่งเป็นจักรวรรดิแรกของโลกขึ้นมา โดยมีกรุงอัคคัดเป็นเมืองหลวง

12.   มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของอะมอไรท์คือข้อใด

(1)   ด้านกฎหมาย    

(2) ด้านศาสนา 

(3) การชลประทาน  

(4) ด้านอักษรศาสตร์

ตอบ 1 หน้า 25 – 26 อะมอไรท์หรือบานิโลเนียนเป็นกลุ่มชนที่รับ สืบทอด และส่งต่ออารยธรรมสุเมเรียน-อัคคาเดียนในทุกด้าน ซึ่งมรดกทางอารยธรรมที่สำคัญที่อะมอไรท์โห่ไว้แก่โลกคือ

ด้านการปกครองและกฎหมาย ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด และมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวอักษรคูนิฟอร์ม

13.   อัสซีเรียนสามารถขยายอำนาจเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณได้โดยอาศัยอะไร

(1)   การพัฒนาและใช้แร่เหล็ก

(2) การชลประทาน

(3) ความสามารถของกษัตริย์    

(4) การค้า

ตอบ 3 หน้า 29 – 31 อัสซีเรียนเป็นกลุ่มชนที่เก่งในการรบ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมโสโปเตเมียสมัยโบราณและเป็นโรมันแห่งเอเชีย ซึ่งปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้อัสซีเรียนสามารถขยายอำนาจจนเป็นจักรวรรดิที่มีความมั่นคงเกือบ 300 ปีและยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกโบราณมี 3 ประการ คือ

1. กษัตริย์เก่งในการรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกษัตริย์อัสซูร์บานิปาลซึ่งทรงมีความสามารถทั้งในการรบและการปกครอง

2. ทหารมีวินัยและได้รับการฝึกเป็นอย่างดี

3. มีอาวุธที่ทำจากเหล็ก

14.   ข้อใดไม่สัมพันธ์กับอารยธรรมของแคลเดียน     

(1) สวนลอยที่บาบิโลน

(2) กำแพงอิชตา      

(3) การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง 

(4) อัสซูร์บานิปาล

ตอบ 4 หน้า 3293 (เล่มเก่า) มรดกทางอารยธรรมที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลก มีดังนี้

1.     มีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่สำคัญ ได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชตา

2.     มีการกำหนดให้ดวงดาวสำคัญ 7 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

15.   ข้อใดสัมพันธ์กับพวกฮิตไตท์

(1)   เซมิติก     

(2) เมโโปเตเมีย     

(3) อนาโตเลีย  

(4) เป็นพวกพ่อค้า

ตอบ 3 หน้า 35 – 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตะวันออกของเอเชียไมเนอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเนีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเนอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น“นักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอธ์สมัยโบราณ” ซึ่งปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้ฮิตไตท์มีชัยชนะเหนือข้าศึกในการสู้รบ ได้แก่

1.     เป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถในการถลุงแร่เหล็ก และนำเหล็กมาทำอาวุธและรถศึกเทียมม้าฝีเท้าดีเพื่อใช้ในสงคราม

2.     ทหารฮิตไตท์ได้รับการฝึกจนมีความชำนาญในการใช้อาวุธ อีกทั้งรอบรู้ยุทธวิธีในการรบและยึดมั่นในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ทำให้กองทัพมีความแข็งแกร่ง

16.   สิ่งใดที่ทำให้ฮิตไตท์มีชัยเหนือข้าศึกในการสู้รบ

(1)   มีกองกำลังที่มากกว่า 

(2) มีเวทมนตร์

(3)   ความสามารถในการถลุงแร่เหล็ก

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

17.   ข้อใดคืออารยธรรมที่โดดเด่นของพวกฟินิเชียน

(1)   ด้านการสงคราม       

(2) ด้านการปกครอง

(3) ด้านการค้าขาย   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 39 – 40 อารยธรรมที่โดดเด่นของฟินิเชียนมี 2 ด้าน คือ

1.     ด้านการค้าขาย นั่นคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการสำรวจเส้นทางเดินเรือเพื่อการค้า การจัดตั้ง นิคมการค้า และการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรมโลกตะวันออกสู่โลกตะวันตกควบคู่ไปกับการค้าขายทางเรือ

2.     ด้านภาษา นั่นคือ เป็นผู้ประดิษฐ์พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว อันเป็นรากฐานของพยัญชนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรปใช้ในปัจจุบัน

18.   มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญของชาวฮิบรูซึ่งได้สร้างไว้ให้แก่โลกคือข้อใด

(1)   ศาสนา     

(2) หลักนิติศาสตร์    

(3) การค้า

(4) การถลุงแร่เหล็ก

ตอบ 1 หน้า 45 – 46 มรดกทางอารยธรรมที่สำคัญที่ฮิบรูหรือยิวให้ไว้แก่โลก ได้แก่

1.     ศาสนายูดาห์ (Judahเป็นศาสนาแรกของสังคมฮิบรูที่เกิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลางและเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของโลก โดยเกิดขึ้นในขณะที่ฮิบรูอยูภายใต้การปกครองของเปอร์เซียโบราณ

2.     วรรณกรรม ได้แก่ พระคัมภีร์เก่าหรือคัมภีร์ฮิบรู ซึ่งมีคุณค่าทั้งทางด้านศาสนาและประวัติศาสตร์ ทั้งนี้แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรูในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประทศอิสราเอล

19.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพวกอราเมียน

(1)   ความสามารถด้านการค้าทางทะเล      

(2) เป็นผู้เผยแผ่คริสต์ศาสนา

(3) ความสามารถด้านการค้าทางบก   

(4) สร้างพยัญชนะสมบูรณ์ขึ้นเป็นกลุ่มแรก

ตอบ 3 หน้า 46 – 47 อราเมียนเป็นเซมิติกกลุ่มที่สามที่อพยพจากเมโโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ซีเรีย ทั้งนี้อราเมียนจะมีความลามารถในด้านการค้าทางบก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิกหรือภาษาอราเมอิก (Aramaic)เพื่อประโยชน์ในการทำการค้าขาย

20.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอาณาจักรลีเดีย

(1)   ตั้งมั่นอยู่ที่ดินแดนเมโสโปเตเมีย

(2) มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล

(3) นำเงินเหรียญเป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 47 – 48 ลีเดียนเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่เข้ามาตั้งมั่นในดินแดนลีเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตะวันตกตอนกลางของเอเชียไมเนอร์ โดยชาวลีเดียนจะเก่งในการรบและการค้าขายมีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองซาร์ดีส ซึ่งมรด ความเจริญที่ลีเดียนให้แก่โลก ก็คือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการผลิตเงินเหรียญที่ทำจากทองคำเพื่อนำมาใช้เป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน จนทำให้เกิดความมั่งคั่งจากการทำการค้า เป็นผลให้ลีเดียนได้รับการยกย่องว่าเป็น “พ่อค้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ”

21.   ข้อใดคือระบบการปกครองจักรวรรดิของเปอร์เซียโบราณ

(1)   Democracy      

(2) Aristocracy

(3) The Satrapy System  

(4) The Therapy System

ตอบ 3 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองมาจากอัสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่ 2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius Iซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณโดยหลักในการปกครองจักรวรรดิของดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่ง ก็คือ เน้นกระจายการปกครอง จากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2 วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของภูมิภาคและการปกครองระบบเขต (The Satrapy Systemที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและพื้นที่ด้วยการปฏิบัติจริง

22.   จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเจริญถึงขีดสุดในสมัยใด

(1)   Cyrus II    

(2) Darius I      

(3) Cambyses 

(4) Xersis I

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.   ศาสนาโซโรแอสเตอร์มีลักษณะตรงกับข้อใด

(1)   เอกเทวนิยม     

(2) อเทวนิยม   

(3) นับถือเทพเจ้าหลายองค์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนของศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1.     มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheistic) นั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดาเพียงองค์เดียว    

2. คิด พูด และทำความดี

3.     ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

 24.  ศาสนาในดินแดนตะวันออกกลางใดต่อไปนี้ถือกำเนิดขึ้นแรกสุด

(1) Zoroaster  

(2)   Judah      

(3)   Christ       

(4)   Buddhism

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 18.  ประกอบ

25.   คริสต์ศาสนาถือกำเนิดขึ้นในสังคมฮิบรูขณะอยู่ภายใต้การปกครองของใคร

(1) ยิว     

(2)   เปอร์เซีย  

(3)   ออตโตมาน      

(4)   โรมัน

ตอบ 4 หน้า 44 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สองของสังคมฮิบรูซึ่งถือกำเนิดขึ้นในขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน โดยโรมันได้กดขี่ข่มเหงและลิดรอนเสรีภาพทางศาสนาของชาวยิว รวมทั้งมีการปราบปรามยิวอย่างโหดเหี้ยมทารุณ จนกระทั่งในศฅวรรษที่ 1 A.Dยิวหวาดกลัวการทำลายล้างของโรมัน เป็นผลให้ยิวส่วนใหญ่อพยพออกจากปาเลสไตน์เข้ามาอาศัยอยู่ในอียิปต์และยุโรป

26.   หลักแห่งศาสนาอิสลามที่สำคัญคือ

(1) ความรัก     

(2)   ปัจจัย 4    

(3)   ศรัทธา 6  

(4)   บัญญัติ 10

ตอบ 3 หลักสำคัญประการหนึ่งแห่งศาสนาอิสลามคือ ศรัทธา 6 ประการ ซึ่งถือว่าเป็นศีลทางใจของมุสลิม ประกอบด้วย 

1. ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวคือ อัลเลาะห์เจ้า     

2. ศรัทธาในทูตสวรรค์กาเบรียล

3. ศรัทธาในองค์มูฮัมหมัด

4.     ศรัทธาในคัมภีร์กุรอาน     

5. ศรัทธาในวันพิพากษา   

6. ศรัทธาในความเป็นไปทั้งหลายเกิดจากการกำหนดของพระผู้เป็นเจ้า

27.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ “The Hijira Era

(1)   สมัยประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญของอารยธรรมอิสลาม

(2)   ปีแห่งการเดินทางของมูฮัมหมัดจากเมดินามาเมกกะ

(3)   ปีแห่งการเดินทางของมูฮัมหมัดจากเมกกะมาเมดินา   

(4) ข้อ 1 และ 2 ถูก

ตอบ 3 หน้า 65 – 66 ศักราชมุสลิมหรือศักราชฮิจิรา (The Hijira Eraได้เริ่มต้นขึ้นในปี 622 ซึ่งถือว่าเป็นปีแห่งการเดินทางขององค์มูฮัมหมัดจากเมืองเมกกะมายังเมืองเมดินา และสามารถวางรากฐานของศาสนาอิสลามและสังคมมุสลิมได้อย่างมั่นคงที่เมดินา

28.   ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับออตโตมาน เติร์ก

(1) เริ่มมีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11  

(2) มีอีกชื่อเรียกคือ “เซลจุก เติร์ก”

(3) เป็นสาขาหนึ่งของพวกอารยัน      

(4) เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

ตอบ 4 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเซียไมเนอร์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad II) ได้นำกองกำลังมุสลิมยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำการปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออกและโลกตะวันตภได้เป็นอย่างดี

29.   ออตโตมาน เติร์ก สามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปลได้ในสมัยใด

(1) Muhammad II   

(2) Ismail

(3) Sultan Sulaiman

(4) Mustafa

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30.   จักรวรรดิออตโตมานสิ้นสุดลงเมื่อใด

(1) ผลจาก The Treaty of Sevres of 1919       

(2) การปฏิจัติโดยกลุ่ม Young Turk

(3) สุลต่าน Abdul Hamid I สละราชฯ

(4) ผลจาก The Balkan War

ตอบ 1 หน้า 83140 (เล่มเก่า) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กลุ่มยังเติร์กได้นำกองกำลังของจักรวรรดิออตโตมานเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง โดยหวังว่าถ้าเป็นฝ่ายชนะจะทำให้ออตโตมานได้ดินแดนที่สูญเสียไปให้แก่อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียกลับคืนมา ผลของสงครามปรากฎว่ามหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ดินแดนของจักรวรรดิออตโตมานต้องถูกนำเข้าสู่ระบบดินแดนในอาณัติ (The Mandate Systemโดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นชาติผู้นำฝ่ายส้มพันธมิตรเข้าดูแลรักษาความสงบตามข้อกำหนดแห่ง The Treaty of Sevres of 1919 จึงนับได้ว่าปี 1919 จักรวรรดิออตโตมานได้สิ้นสุดอำนาจลงโดยสิ้นเชิง

31.   พื้นที่ส่วนใดของจีนเป็นทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่

(1) ภาคตะวันตก      

(2) ภาคตะวันออก    

(3) ภาคใต้       

(4) ภาคกลาง

ตอบ 1 หน้า 97 – 98 จีนตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย และมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9.6 ล้านตร.กม. ซึ่งพื้นที่ประมาณ 2ใน 3ของประเทศที่อยู่ทางภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะปกคลุมด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง ส่วนพื้นที่อีกประมาณ 11.4% ของประเทศจะเป็นทะเลทราย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคตะวันตก เช่น ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายตากลีมากัน เป็นต้น

32.   ศาสนาพุทธเข้าสู่จีนในสมัยใด

(1) จิ๋น     

(2) ฮั่น    

(3) สุ้ง     

(4) ถัง

ตอบ 2 (HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 278 – 279) ความเจริญที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีดังนี้

1.     มีระบบการสอบแข่งขันเข้ารับราชการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ตำราของขงจื๊อเป็นแนวทาง

2.     เป็นสมัยแรกที่ศาสนาพุทธเผยแผ่จากอินเดียเข้าสู่จีน

3.     เกิดผลงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของนักจดบันทึกเหตุการณ์ในราชสำนักจีน 2 ตระกูล คือ “เฉอซี” หรือบันทึกของนักประวัติศาสตร์ ผลงานของตระกูลซือมา และ “ฮั่นชู”หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นตอนต้น ผลงานของตระกูลปัน ฯลฯ

33.   ราขวงศ์ใดที่ปกครองจีนต่อจากราชวงศ์จิ๋น

(1) แมนจู

(2) สุย     

(3) มองโกล     

(4) ฮั่น

ตอบ 4 หน้า 169 – 170 (เล่มเก่า)(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 278) หลังจากราชวงศ์จิ๋นเสื่อมลง อันเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิจิ๋นซี ฮ่องเต้ หลิวปัง สามัญชนคนแรกในประวัติศาสตร์จีนได้รวบรวมสมัครพรรคพวกก่อการกบฏที่เรียกว่า “กบฏชาวนา” ขึ้น และสามารถล้มล้างราชวงศ์จิ๋นได้สำเร็จ จากนั้นเขาจึงตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า “ราชวงศ์ฮั่น” ขึ้นปกครองแผ่นดินจีน และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ โดยทรงพระนามว่า “ฮั่นเกาสู” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น

34.   ผลงานใดที่เป็นจุดเด่นของจีนในสมัยราชวงศ์จิ๋น

(1)   การรวบรวมแผ่นดินที่แตกแยกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน

(2)   การขยายดินแดนได้กว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์จีน

(3)   การเปิดประเทศต้อนรับชาวต่างชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

(4) ถูกทุกข้อ

 ตอบ 1 หน้า 109167 – 169 (เล่มเก่า) ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิงใหญ่แห่งราชวงศ์จิ๋น มีดังนี้   

1. ทรงรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน (China)

2. ทรงปกครองจักรวรรดิด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และทรงเป็นประมุขผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงองศ์เดียว

3.     ประกาศให้นำตัวอักษรจีนมาใช้เขียนในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ

4.     ทรงต่อเดิมและเชื่อมกำแพงเมืองที่มีอยู่เข้าด้วยกับเป็นกำแพงเมืองจีน ฯลฯ

35.   แม่นํ้าสายใดที่เชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกัน

(1) แม่น้ำแยงซี

(2) แม่น้ำฮวงโห      

(3) แม่นํ้าชี      

(4) คลองใหญ่

ตอบ 2 หน้า 97 – 99146 (เล่มเก่า)149 – 150 (เล่มเก่า) แม่น้ำฮวงโหหรือแม่นํ้าเหลืองเป็นแม่นํ้าที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกันนอกจากนี้ยังเป็นแม่นํ้าที่มีความสำคัญต่อประวัติคาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่น้ำที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่นํ้าไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีนในยุคหินใหม่ประมาณ 4000 B.Cมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากการขุดค้นพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผา (ลีและเสียน) และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำมาจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจีนในยุคก่อนประวัติศาสตร์

36.   แม่น้ำเหลืองมีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์จีน

(1)   เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเริ่มแรกของจีน

(2)   เป็นแม่นํ้าที่นำความอุดมสมบูรณ์มาสู่สองข้างฝั่งที่แม่น้ำไหลผ่าน

(3)   มีการขุดพบภาชนะและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้       

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37.   การแบ่งชนชั้นของจีนโดยอาศัยเชื้อชาติเป็นตัวกำหนดเกิดขึ้นในสมัยใด

(1)   ถัง  

(2) เซีย    

(3) ชาง    

(4) ชิง

ตอบ 4 หน้า 111(คำบรรยาย) สังคมจีนเป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นซึ่งเป็นไปตามแนวคิดฃองขงจื๊อโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 5 ชนชั้นโดยอาศัยอาชีพเป็นเกณฑ์ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ของจีนซึ่งเป็นชาวต่างชาติ คือ ราชวงศ์มองโกล (ราชวงศ์หยวน) และราชวงศ์แมนจู (ราชวงศ์ชิง) จะมีเพียง 4 ชนขั้นโดยอาศัยเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง และมักกำหนดให้ผู้ที่มีเชื้อชาติของตนเป็นชนชั้นสูง

38.   ตระกูลซือมา และตระกูลปัน มีหน้าที่ใดในราชสำนักจีนโบราณ(1) นักสำรวจ

(2) นักการทหาร      

(3) นักจดบันทึกเหตุการณ์ในราชสำนัก      

(4) นักโหราศาสตร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

39.   ในสมัยล่าอาณานิคม เมืองท่าใดที่ราชสำนักจีนอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายได้

(1) นิงโป 

(2) มาเก๊า

(3) ฟูเจา  

(4) ปักกิ่ง

ตอบ 2 หน้า 112(คำบรรยาย) ในสมัยล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ประเทศจีน (สมัยราชวงศ์หมิง)ในขณะนั้นได้เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายขึ้นโดยทั่วไป เมื่อดัตช์และโปรตุเกสเข้ามาช่วยจีนปราบกบฏและพวกโจรสลัด ทำให้ราชสำนักจีนตอบแทนทั้ง 2 ชาติด้วยการอนุญาตให้เข้ามาตั้งสถานีการค้าได้ โดยให้โปรตุเกสมาตั้งที่มาเก๊า ส่วนดัตช์ให้มาตั้งที่เอหมึง ต่อมาอังกฤษได้เดินทางเข้ามายังจีน

เพื่อเรียกร้องให้จีนเปิดประเทศ แม้จีนจะปฏิเสธ แต่ก็อนุญาตให้อังกฤษเข้ามาตังสถานีการค้าได้ที่เมืองแคนตอน

40.   ใครคือบิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่

(1)   เติ้งเสี่ยวผิง       

(2) โจวเอินไหล

(3) ซุนยัดเซ็น  

(4) จูเต้

ตอบ 1 หน้า 115(คำบรรยาย) เติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้ปกครองจีนรุ่นใหม่ทีได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาแห่งประเทคจีนยุคใหม่” เนื่องจากเขาได้นำคำขวัญที่ว่า “แมวขาวแมวดำไม่สำคัญขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน” มาใช้เป็นนโยบายในการลร้างความกินดีอยู่ดี รวมทั้งใช้นโยบาย 4 ทันสมัยเพื่อพัฒนาประเทคให้ทันสมัยทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาคาสตร์และเทคโนโลยีและการป้องกันประเทศ ส่งผลให้จีนกลายเป็นชาติที่มีการพัฒนด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก

41.   คำสั่งสอนในลัทธิเต๋าให้ปฏิบัติตนไปตามธรรมชาติ ส่วนขงจื๊อสอนว่าอย่างไร

(1) ให้ยึดถือตามคำสั่งสอนของบิดามารดา  

(2) ให้เชื่อฟังบรรพบุรุษ

(3)   ให้ดูอดีตเป็นตัวอย่าง 

(4) ให้เชื่อเรื่องลี้ลับที่มีอยู่ในธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 106 – 107160 (เล่มเก่า) แนวคิดของขงจื๊อจะเน้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมในโลกนี้มากกว่าชีวิตในโลกหน้า รวมทั้งเน้นให้มนุษย์รู้จักหน้าที่และฐานะของตนเองในสังคมเพราะถ้าสมาชิกในสังคมรู้จักหน้าที่ของเขาเองแล้ว สังคมก็จะเป็นสุขได้โดยสังคมที่ดีนั้นทุกคนจะต้องยึดถือตามหลักอาวุโสและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น บุตรจะต้องยึดถือตามคำสั่งสอน

ของบิดามารดา ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ ฯลฯ นอกจากนี้ขงจื๊อยังเห็นว่าเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตได้ด้วย

42.   สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 มีเป้าหมายที่สำคัญด้านใด

(1) การเมือง    

(2) การทหาร   

(3) การต่างประเทศ  

(4) การศึกษา

ตอบ 1 หน้า 113,(คำบรรยาย) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1(ค.ศ. 1894 – 1895)เป็นสงครามระหว่างราชวงศ์แมนจูของจีนกับจักรพรรดิเมจิแห่งณี่ป่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นต้องการครอบครองคาบสมุทรเกาหลีซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของญี่ปุ่นในด้านความมั่นคง อีกทั้งญี่ปุ่นต้องการเข้าไปขยายอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจในจีน โดยผลของสงครามปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นซึ่งจีนเคยดูถูกว่าเป็นชาติที่ด้อยอารยธรรม และทำให้จีนต้องสูญเสียเกาหลีไปในที่สุด

43.   ทฤษฎีแห่งสวรรค์ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว มีแนวคิดที่สำคัญอย่างไร

(1)   องค์จักรพรรดิมีฐานะเป็นบุตรแห่งสวรรค์

(2)   ผู้ให้กำเนิดอารยธรรมจีน ได้แก่ เทพเจ้าฮ่วงตี่

(3)   เมื่อโลกมีดวงอาทิตย์ดวงเดียว แผ่นดินจีนก็ต้องมีจักรพรรดิองค์เดียว

(4)   บุรุษเพศคือช้างเท้าหน้า สตรีเพศคือช้างเท้าหลัง

ตอบ 1 หน้า 102 ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกได้เกิดแนวคิดทางการเมืองที่ยอดเยี่ยม นั่นคือ ทฤษฎีแห่งสวรรค์ โดยกษัตริย์โจวถือว่าตนนั้นเป็น “โอรสหรือบุตรแห่งสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิที่สวรรค์ส่งลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อ

ปกครองโลกเรียกว่า “ อาณัติแห่งสวรรค์ ”

44.   ในสมัยสาธารณรัฐ เจียงไคเช็คคือผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ส่วนเมาเซตุงคือใคร

(1) ตัวแทนของรัสเซียที่ส่งมาดูแลผลประโยชน์ในจีน  

(2) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน

(3) นักศึกษาวิชาทหารที่กำลังศึกษาอยูในญี่ปุ่น   

(4) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลี

 ตอบ 2 หน้า 113 – 114(คำบรรยาย) เมาเซตุง เป็นหนึ่งในปัญญาชนจีนที่ร่วมกันจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นในปี ค.ศ. 1921 เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการปฏิรูปประเทศจีนในสมัยสาธารณรัฐต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ร่วมกับซุนยัดเซ็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นในปี ค.ศ. 1923 แต่หลังจากที่ซุนยัดเซ็นถึงแก่อสัญกรรม พรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของเจียงไคเช็คไม่ศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์ จึงได้เกิดความขัดแย้งกันจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ จนกระทั่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะ ทำให้เจียงไคเช็คต้องหลบหนีไปตั้งประเทศสาธารณรัฐจีนขึ้นใหม่ที่เกาะไต้หวัน

45.   จีนสูญเสียเกาะฮ่องกงไปให้อังกฤษตามสนธิสัญญาฉบับใด

(1) ฮ่องกง

(2) เซี่ยงไฮ้      

(3) นานกิง       

(4) ปักกิ่ง

ตอบ 3 หน้า 112 – 113216 – 217 (เล่มเก่า) สงครามฝิ่น เป็นสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษ ซึ่งหลังจากที่จีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในปี ค.ศ. 1842 ทำให้จีนต้องลงนามใบสนธิสัญญาทีไม่เสมอภาคฉบับแรกกับขาติตะวันตก เรียกว่า “สนธิสัญญานานกิง” (Treaty of Nanking) ซึ่งผลก็คือ จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษและต้องเปิดเมืองท่าอีก 5 แห่ง ได้แก่ แคนตอน เอหมึง ฟูเจา นิงโป และเซี่ยงไฮ้ ให้เป็นเขตสัมปทานอยู่ในความดูแลของอังกฤษ อีกทั้งต้องสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตหรือสิทธิทางการศาล ต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่จีนทำลายไป ต้องสูญเสียสิทธิในการกำหนดอัตราภาษี และต้องยอมรับเงื่อนไขของความเป็นมิตรที่ดีของต่างชาติ

46.   เกาะฮอกไกโดในอดีตมีความสำคัญด้านใด

(1) อารยธรรม 

(2) การท่องเที่ยว      

(3) การทหาร   

(4) การรักษาสิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 หน้า 121(คำบรรยาย) เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่นมีอยู่ 4 เกาะ ได้แก่     

1. เกาะฮอกไกโด เป็นเกาะทางตอนเหนือของญี่ปุ่น และถือว่าเป็นศูนย์กลางอารยธรรมเริ่มแรกของญี่ปุ่น

2.     เกาะฮอนชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 4 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด มีพื้นที่ราบมากที่สุดของประเทศ และถือว่าเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และ การปกครองของญี่ปุ่น       

3. เกาะชิโกกุ เป็นเกาะที่มีขนาดเล็ที่สุด โดยมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามของหมู่เกาะและชายฝั่งทะเล    

4. เกาะคิวชิว เป็นเกาะแรกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการติดต่อกับชาวยุโรป โดยมีท่าเรือที่สำคัญอยู่ที่เมืองนางาซากิ

47.   นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของญี่ปุ่นมีชื่อว่าอะไร

(1) นายอาเบะ  

(2) นายไคฟู    

(3) นายซูซูกิ    

(4) นายโนดะ

ตอบ 4 (จากข่าว) นายโยซิฮิโกะ โนดะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 54 และคนปัจจุบันของญี่ปุ่น ซึ่งสังกัดพรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (DPJโดยเริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา จนกระทั่งประกาศยุบสภาในวันที่ 16 พฤศจิกายนพ.ศ. 2555 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ผลการเลือกตั้งของญี่ปุ่นในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า นายชินโซะ อาเบะ ผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDPได้ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของญี่ปุ่น)

48.   ใครคือผู้ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่น

(1) ยามาโมโต  

(2) อิเคดะ

(3) เทนโน       

(4) ฟูจิวารา

 ตอบ 3 หน้า 125 จากหนังสือโคจิกิและหนังสือนิฮอง โชกิ ได้กล่าวถึงเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นในลักษณะของเทพนิยายว่า แผ่นดินญี่ปุ่นสร้างขึ้นโดยเทพเจ้า มีศูนย์กลางอยู่บนที่ราบยามาโตทางตอนกลางของเกาะฮอนชู ผู้ปกครองซึ่งได้แก่องค์จักรพรรดิและประชาชนล้วนสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าทั้งสิ้น โดยจักรพรรดิพระองค์แรกซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นทรงมีพระนามว่า “จิมมู เทนโน” เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์หรือเทพีอะมาเตระสึ โดยขึ้นครองราชย์เมื่อประมาณปี 660 B.C.

49.   ชนกลุ่มใดที่เชื่อว่าเป็นผู้อพยพเข้าไปตั้งรกรากในญี่ปุ่นเป็นพวกแรก

(1) ชาวไอนุ     

(2) ชาวมองโกเลีย    

(3) ชาวตะวันออกกลาง     

(4) ชาวจีน

ตอบ 1 หน้า 123(คำบรรยาย) ในช่วงประมาณ 20,000 – 10,000 B.Cพวกไอบุซึ่งเป็นบรรพบุรุษกลุ่มแรกของญี่ปุ่น ได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่บนเกาะฮอกไกโดทางภาคเหนือของญี่ปุ่น โดยเป็นพวกที่มีเชื้อสายคอเคซอยด์มากกว่ามองโกลอยด์ ดังนั้นจึงมีลักษณะคล้ายชาวยุโรป มากกว่าชาวเอเฃีย นั่นคือ เป็นคนผิวขาว หน้าแบน ตาสีฟ้า ขนดก และมีรูปร่างไม่สูงนัก ปัจจุบันพวกไอนุจะอาศัยอยู่มากบนเกาะฮอกไกโดและเกาะคูริล

50.   โชกุนตระกูลโตกูกาวาได้รับการยอมรับจากชาวญี่ป่นในด้านใดมากที่สุด

(1) ความเจริญด้านการศึกษา    

(2) ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ

(3) ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 131 – 133(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 308 – 309311313317 – 318) ในสมัยโชกุนตระกูลโตกูกาวา เป็นสมัยที่ระบอบศักดินาเจริญสูงสุด และเป็นยุคที่ญี่ปุ่นเกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองอย่างทีไม่เคยประสบมาก่อน ซึ่งส่งผลต่อความเจริญของญี่ปุ่นดังนี้

1.     ทำให้เกิดความเจริญทางด้านการปกครอง เนื่องจากมีการแบ่งชนชั้นในสังคมอย่างตายตัว มีการจัดแบ่งชนชั้นของขุนนาง รวมทั้งมีการนำวิธีการควบคุมทางสังคมที่เรียกว่า“ระบบซันกิน โกไต” มาใช้ ทำให้โชกุนปกครองญี่ปุ่นได้ยาวนานถึง 300 ปี

2.     ทำให้เกิดความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และทำให้ชนชั้นพ่อค้ากลายเป็นชนชั้นที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

3.     ทำให้เกิดความเจริญทางด้านการศึกษา เนื่องจากความสงบในระเทศทำให้ซามูไรใช้เวลาว่างในการศึกษาหาความรู้ อีกทั้งโชกุนต้องการส่งเสริมให้คนมีการศึกษาตามหลักปรัชญาของขงจื๊อ ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีการศึกษาที่ดีขึ้น

51.   ญี่ปุ่นปิดประเทศในปี 1637 มาจากสาเหตุด้านใด

(1)   การก้าวก่ายกิจการภายในประเทศโดยองค์กรศาสนาของชาวต่างชาติ

(2)   ความปลอดภัยของประเทศจากการคุกคามจากฝรั่งเศส

(3)   เพื่อเตรียมพร้อมในการจัดระเบียบด้านการเดินเรือของประเทศใหม่    

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 132291 – 293 (เล่มเก่า) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โชกุนตระกูลโตกูกาวาเกรงว่า องค์กรศาสนาของชาวต่างชาติในนามคณะมิชชันนารีที่เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่นจะเข้ามก้าวก่ายกิจการภายในประเทศ จนทำให้ประเทศแตกแยกกันและทำให้อำนาจของพระองค์ลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้องค์โชกุนจึงได้ประกาศปิดประเทศเพื่อเลิกติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1637 – 1854 ยกเว้นจีนในฐานะของมิตรเก่าและดัตช์ที่ญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นชาติที่ไม่ชอบก้าวก่ายการเมืองภายในขององค์โชกุน ซึ่งทั้ง 2 ชาติจะได้รับอนุญาตให้เข้ามาค้าขายได้เป็นครั้งคราว

52.   โจมอนและยาโยอิเป็นภาซนะเครื่องปั้นดินเผา ส่วนทูมูลิคืออะไร

(1)   เป็นภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเช่นกัน

(2)   เป็นเครื่องประดับอันมีค่าขององค์จักรพรรดิและเชื้อพระวงศ์ในกรุงเกียวโต

(3)   สุสานของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิที่ได้รับอิทธิพลมาจากเกาหลี

(4)   กองกำลังหลักของกองทัพญี่ปุ่นที่ประจำการตามชายแดนในสมัยโชกุนตระกูลมินาโมโต

ตอบ 3 หน้า 124- 125 หลักฐานทางด้านโบราณคดีของญี่ปุ่นในสมัยโบราณมี 3วัฒนธรรมที่สำคัญ ได้แก่

1.     วัฒนธรรมโจมอน เป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก ซึ่งพบมากทางภาคตะวันออกและภาคเหนือของประเทศ

2.     วัฒนธรรมยาโยอิ เป็นวัฒนธรรมที่พบมากที่เกาะคิวชิว ซึ่งหลักฐานที่สำคัญ เช่น เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ การนำเหล็กและทองสัมฤทธิ์จากจีนมาหล่อเป็นดาบ ฯลฯ

3.     วัฒนธรรมทูมูลิ เป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสานหรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ โดยเริ่มปรากฏครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

53.   หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป้าหมายของประเทศจากการพัฒนาการทหารไป่สู่ด้านใด

(1) ด้านการศึกษา    

(2) ดำเนินการผูกมิตรด้วยการคืนดินแดนที่ยึดมาได้ระหว่างสงคราม

(3) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสำคัญ      

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 135 – 136 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมุ่งขยายอำนจทางการทหารเป็นหลักแต่หลังจากพายแพ้อย่างย่อยยับในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนไปพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากสหรัฐอเมริกา ประกอบกับความสามารถของชาวญี่ปุ่นเองที่เป็นทั้งนักคิดและนักประดิษฐ์ การมีทำเลที่ตั้งที่หมาะสม การที่ญี่ปุ่นไม่นิยมสงครามเหมือนแต่กอน รวมทั้งนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีการวางแผนไว้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ญี่ปุ่นฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่ง

ของโลก (G8) ในปัจจุบัน

54.   ศาสนาพุทธนิกายเซนและลัทธิบูชิโดเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยใด

(1) สมัยนาราและเฮอิอัน  

(2) สมัยจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น

(3) สมัยโชกุนเรืองอำนาจ 

(4) ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20

ตอบ 3 หน้า 129 – 131 ญี่ปุ่นในสมัยศักดินายุคแรกหรือสมัยโชกุนเรืองอำนาจได้มีความเจริญทีสำคัญดังนี้

1. เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับการค้าขายและอุตสาหกรรม

2. ศาสนาพุทธนิกายเซนแพร่หลายเข้าสู่ญี่ปุ่น ซึ่งหลักคำสอนของนิกายนี้ตรงกับความต้องการของพวกซามูไร

3.     เกิดชนชั้นนักรบหรือพวกซามูไรขึ้นในสังคม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการดำรงชีวิตของตนที่เรียกว่า “ลัทธิบูชิโด”       

4. เกิดความเจริญทางด้านศิลปะ การละคร และวรรณคดี

55.   ข้อใดถูกที่สุด

(1)   ศาสนาพุทธเข้าสู่จีนก่อนที่ชาวญี่ป่นจะรับนับถือลัทธิชินโต

(2)   ชาวญี่ปุ่นโบราณมีความส้มพันธ์ใกล้ชิดกับเกาหลีมาก่อนจีน

(3)   รัฐคายาที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองเป็นเวลานานถึง 500 ปี ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก

(4)   การปฏิรูปไทกาเป็นการนำคำสั่งสอนของขงจื๊อมาใช้

ตอบ 4 หน้า 127 – 128(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 316) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผู้ปกครองญี่ปุ่นเกิดความประทับใจในรูปแบบการปกครองของจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประกอบกับได้รับอิทธิพล

จากลัทธิขงจื๊อ ทำให้ญี่ปุ่นปฏิรูปการปกครองตามแบบจีน ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่ ธรรมนูญการปกครองบ้านเมือง 17ข้อในปี ค.ศ. 604โดยเจ้าชายโชโทกุ และการปฏิรูปไทกาในปี ค.ศ.645โดย เจ้าชายนากาโนะ โอเยะ ซึ่งมีสาระสำคัญคล้ายกันคือ ให้องค์จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน การรวมอำนาจไว้ที่รัฐบาลกลาง การสอบแข่งขันเข้ารับราชการโดยใช้ตำราของขงจื๊อ และการแบ่งชนชั้นในสังคมตามแนวคิดในลัทธิขงจื๊อ

56.   จักรพรรดิจิมมู เทนโน สืบเชื้อสายมาจากเทพองศ์ใด

(1) เทพเจ้าผู้สร้างโลก       

(2) เทพเจ้าแห่งจักรวาล

(3) เทพเจ้าแห่งดวงอทิตย์

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57.   เกาหลีแตกแยกออกเป็น 2 ประเทศ หลังสงครามใด

(1) สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1   

(2) สงครามโลกครั้งที่ 2

(3) สงครามเกาหลี    

(4) สงครามจีน-เกาหลี ครั้งที่ 1

ตอบ 2 หน้า 144162 ในปี ค.ศ. 1910 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20) เกาหลี ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นจนถึงปี ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีจึงได้รับเอกราชและตกอยู่ภายใต้การดูแลร่วมของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาที่พยายามให้มีการจัดตั้งรัฐบาลเกาหลีที่มีอำนาจเต็มขึ้น แต่ด้วยแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกัน เกาหลีจึงแตกแยกออกเป็น 2 ประเทศคือ เกาหลีเหนือ (นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์) และเกาหลีใต้ (นิยมลัทธิประชาธิปไตย) ตรงเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือซึ่งเป็นเขตปลอดทหาร

58.   ปัจจัยด้านใดที่ทำให้เกาหลีเป็นชาติที่อ่อนแอในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้วยกัน

(1) ด้านการต่างประเทศ

(2) ด้านภูมิศาสตร์    

(3) ด้านการศึกษา    

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 141144(HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 330) ด้วยเหตุที่สภาพทางภูมิศาสตร์ของเกาหลีเป็นคาบสมุทรที่ล้อมรอบไปด้วยประเทศมหาอำนาจ 3 ชาติ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย รวมทั้งอาณาจักรโบราณของชนเผ่าเร่ร่อนทางภาคเหนือ ตลอดจนความสำคัญทางจุดยุทธศาสตร์ ทำให้เกาหลีต้องตกเป็นสมรภูมิรบหลายครั้ง แม้เกาหลีจะพยายามหลีกเลี่ยงสงครามด้วยการใช้นโยบายแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวและยึดมั่นในสันติภาพจนได้รับสมญานามว่า “รัฐฤๅษี” แต่เกาหลีก็ไม่เคยพบกับความสงบ ถ้าไม่ตกเป็นอาณานิคม ก็ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยไป ส่งผลให้เกาหลีกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกด้วยกัน

59.   คิม จองอึน คือใคร

(1) ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ 

(2) นายกรัฐมนตริของเกาหลีใต้

(3) ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ   

(4) ประธานพรรคคอมมิวนิสต์เกาหลี

ตอบ 3 (คำบรรยาย) คิม จองอึน เป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งหลังจากที่นายคิม จองอิล ผู้เป็นบิดาถึงแก่อสัญกรรม โดยคิม จองอึน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพประชาชนเกาหลีอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เขาได้เป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ ๆ หลายอย่งในเกาหลีเหนือ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่ประเทศ รวมทั้งมุ่งพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ

60.   ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกาหลีตกเป็นอาณานิคมของใคร

(1) จีน     

(2) ญี่ปุ่น 

(3) สหรัฐอเมริกา     

(4) อังกฤษ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

61.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มีหลายชาติพันธุ์ 

(2) ดินแดนแห่งเครื่องทศ

(3) ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียมากที่สุด 

(4) อยู่ติดมหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 4 หน้า 255270 – 271273 – 275323 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) หมายถึง ดินแดนในเอเชียตะวันออกส่วนที่อยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นแหลมอินโดจีนและดินแดนที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกนอกจากนี้ยังเป็นดินแดนที่มีประชากรหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เป็นแหล่งที่มาของเครื่องเทศโดยเฉพาะในหมู่เกาะต่าง ๆ รวมทั้งเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน จึงเป็นแหล่งรับวัฒนธรรมจากทั้ง 2 ประเทศ โดยดินแดนต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้จะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเวียดนามเพียงประเทศเดียวที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน

62.   แม่นํ้าสายใดยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) แม่นํ้าโขง   

(2)   แม่นํ้าเจ้าพระยา

(3)   แม่นํ้าอิระวดี    

(4) แม่นํ้าแดง

ตอบ 1 หน้า 256 – 257542 (เล่มเก่า) แม่น้ำโขง ถือว่าเป็นแม่นํ้าสายที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านหลายประเทศ ได้แก่ จีน ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับลาวอีกด้วย

63.   แม่นํ้าสำคัญของประเทศลาว คือแม่น้ำสายใด

(1) แม่นํ้าโขง   

(2)   แม่น้ำแดง

(3)   แม่นํ้าดำ  

(4) แม่นํ้าสาละวิน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 62.  ประกอบ

64.   ภาษาใดจัดอยู่ในกลุ่ม AustroAsiatic

(1) ภาษาพม่า  

(2)   ภาษาไทย 

(3)   ภาษาจีน  

(4) ภาษามอญ

ตอบ 4 หน้า 259 ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามภาษาพูดได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล SinoTibetan ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาทิเบต-พม่า ภาษากะเหรี่ยง และภาษาแม้ว-เย้า

2.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล TaiKadai ได้แก่ ภาษาไทหรือไต และกาษากะได สำหรับภาษาไทยในปัจจุบันก็จัดอยู่ในตระกูลนี้ด้วย

3.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล AustroAsiatic ได้แก่ ภาษามอญ-เขมร ภาษาเวียด-มวง และภาษาเซนอย-เซมัง

4.     กลุ่มพูดภาษาตระกูล Austronesian หรือ MalayoPolynesian ได้แก่ ภาษาจาม และภาษามาเลย์

65.   ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาใด

(1) SinoTibetan

(2) TaiKadai  

(3) AustroAsiatic

(4) Malayo-Polynesian

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

66.   ประชากรกลุ่มมองโกลอยด์เหนือมีลักษณะทางกายภาพแบบใด

(1) ตัวเตี้ย ผิวดำ ผมหยิก  

(2)   ตัวสูง ผิวขาว ผมหยิก

(3) ตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง ผมเหยียดตรง      

(4)   ตัวสูง ผิวดำ ผมหยิก

ตอบ 3 หน้า 543 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ประชากรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1.     ออสตราลอยด์ (Australoidเป็นประชากรเชื้อสายอินโดนีเซีย-มาเลเซียที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะตัวเตี้ย ผิวดำ และผมหยิก

2.     มองโกลอยด์ (Mongoloidเป็นกลุ่มชนมองโกลอยด์เหนือที่อพยพมาจากตอนเหนือของจีนแล้วเข้ามาอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคนี้ เช่น ชาวไทย ลาว พม่า ฯลฯ ส่วนใหญ่จะตัวเล็ก ผิวขาวเหลือง และผมเหยียดตรง

67.   ทะเลอันดามันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรใด

(1) มหาสมุทรอินเดีย

(2)   มหาสมุทรแปซิฟิก

(3) มหาสมุทรอาร์กติก     

(4)   มหาสมุทรแอตแลนติก

ตอบ 1 หน้า 541 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเป็นกำแพงที่แบ่งเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน โดยทางฝั่งตะวันตก ได้แก่ ทะเลอันดามันของไทย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางฝั่งตะวันออก ได้แก่ อ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก

68.   วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน เป็นวัฒนธรรมหินเก่าที่อยู่ในประเทศใด

(1) พม่า  

(2) ลาว   

(3) เวียดนาม   

(4) ไทย

ตอบ 4 หน้า 266 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว วัฒนธรรมหินเก่าใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ที่พบก่อ ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแทมปาเนียน ในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย

69.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึงมนุษย์ชวา

(1) ค้นพบโดย อูยีน ดูบัว ศัลยแพทย์ชาวฮอลันดา

(2) ยืนสองขา

(3) ความจุสมองเท่ามนุษย์ในปัจจุบัน 

(4) เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 266 – 267548 (เล่มเก่า) ในปี ค.ศ. 1891 อูยีน ดูบัว (Eugene Duboisศัลยแพทย์าวออลันดา ได้ค้นพบซากฟอลซิลของมนุษย์โฮโม อีเรคตัส (Homo erectusหรือมนุษย์ชวาบริเวณเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียเป็นครั้งแรกโดยนักมานุษยวิทยาได้จัดมนุษย์ชวาที่ขุดพบนี้ว่าเป็นมนุษย์วานร (Pithecanthropusซึ่งเป็นบรรพบุรุษเริมแรกของมนุษย์ โดยสามารถยืนสองขาได้ แต่มีขนาดของสมองเล็กกว่ามนุษย์ในปัจจุบัน และมีชีวีตอยู่ในยุคน้ำแข็งตอนต้น

70.   ข้อใดคือวัฒนธรรมยุคหินใหม่

(1) เพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์     

(2) เคลื่อนย้ายตามฤดูกาล

(3) อาศัยอยู่ตามถํ้า   

(4) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

71.   ข้อใดไมใช่วัฒนธรรมของอินเดียที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) พระพุทธศาสนา 

(2) ศาสนาคริสต์      

(3)   ภาษาสันสกฤต  

(4) ภาษาบาลี

ตอบ 2 หน้า 273 – 274 วัฒนธรรมอินเดียที่แพร่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ระบบเหรียญกษาปณ์ ระบบตราประทับ เทคนิคการใช้อิฐหรือหินเพื่อใช้ก่อสร้างศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศิลปกรรมต่าง ๆ รูปแบบของเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ และอุปกรณ์กีฬาบางประเภท ระบบการปกครอง ศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ รวมทั้งภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี และรูปแบบตัวอักษร

72.   อิทธิพลจีนส่งผลแก่วัฒนธรรมของชาติใดมากที่สุด

(1) ฟิลิปปินส์   

(2) เวียดนาม   

(3)   กัมพูชา    

(4) มาเลเซีย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

73.   ตามความเชื่อของชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์อยู่ในฐานะใด

(1) เจ้าแห่งแม่นํ้า     

(2) เจ้าแห่งป่าไม้     

(3)   เจ้าแห่งภูเขา    

(4) เจ้าแห่งสุวรรณภูมิ

ตอบ 3 หน้า 279 – 281568 (เล่มเก่า) จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักร ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าทีสำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้องประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ทั้งนี้คำว่า “ฟูนัน” เป็นการเรียกตามแบบจีน หากเป็นภาษาเขมรจะเรียกร่า บนัมหรือพนม” แปลว่า ภูเขา และชาวฟูนันจะเรียกประมุขว่า “กรุง บบัม” แปลว่า กษัตริย์แห่งภูเขา เนื่องจากชาวฟูนันเชื่อว่ากษัตริย์จะอยู่ในฐานะเจ้าแห่งภูเขา (Kings of the Mountainsหรือไศลราชา

74.   เมืองหลวงของฟูนันคือเมืองใด

(1) เมืองออกแก้ว     

(2) เมืองวยาธปุระ    

(3) เมืองนครปฐม    

(4) เมืองบิญดิ่น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

75.   กษัตริย์องค์ใดของเขมรที่เป็นผู้สร้างปราสาทนครวัด

(1) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 

(2) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2

(3) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7    

(4) พระเจ้าอีศานวรมัน

ตอบ 1 หน้า 286 ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้ขยายอาณาเขตออกไปด้วยการทำสงครามและเข้ายึดอาณาจักรจามปา ทรงเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ และได้สร้าง ปราสาทนครวัดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของสถาปัตยกรรมเขมรและเป็นสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจของพระองค์ที่เมืองพระนคร

76.   ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค 

(2) สะเทิม

(3) เมาะตะมะ  

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294. 299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่างด้านตะวันออกของแม่นํ้าอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า “เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้งเมืองหลวง อยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศพม่า ต่อมาเมื่อมอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

77.   ตามบันทึกของจีน ชาวจามมีลักษณะอย่างไร

(1) ผิวขาว ผมเหยียดตรง  

(2) ตาลึก ผมดำ

(3) ตาโต ผิวขาว      

(4) ตัวใหญ่ ผมเหยียดตรง

ตอบ 2 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรือลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีนหรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือบริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นสันโด่ง ผมดำและหยิก

78.   สถาปัตยกรรมที่สำคัญของราชวงศ์สัญไชยแห่งชวา คือข้อใด

(1) ปราสาทนครวัด  

(2) บุโรพุทโธ  

(3) ปรันบานัน 

(4) อานันทะเจดีย์

ตอบ 3 หน้า 313(คำบรรยาย) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในอาณาจักรชวาภาคกลาง กล่าวคือ ราชวงศ์สัญชัยสามารถแยกตัวออกจากอำนาจของราชวงศ์ไศเลนทร์ได้สำเร็จ และสามารถยึดอาณาจักรชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์กลับคืนมาได้ เมื่อราชวงศ์สัญชัยขึ้นมามีอำนาจ ทำให้ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้ง และสร้างศาสนสถานที่สวยงามไม่แพ้บุโรพุทโธ ได้แก่ เทวาลัยปรัมบานัน ซึ่งใช้เป็นสุสานบรรจุพระศพของกษัตริย์และสมาชิกในพระราชวงศ์

79.   ข้อใดกล่าวถึงอาณาจักรทวารวดีไม่ถูกต้อง

(1) ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย

(2) นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท

(3) ศูนย์กลางอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย

(4) ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมไปไกลจนถึงเขมร

ตอบ 4 หน้า 301 – 303 ทวารวดีเป็นอาณาจักรแรกที่มีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาในเขตภาคกลางของประเทศไทย รวมทั้งเป็นอาณาจักรที่มีการติดต่อและรับวัฒนธรรมจากอินเดียโดยชาวทวารวดีส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่ก็พบว่ามีบางกลุ่มที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งลัทธิไศวนิกายและลัทธิไวษณพนิกาย ต่อมาเมื่อเขมรเข้าสู่สมัยเมืองพระนคร ทวารวดีก็ถูกเขมรเข้าครอบงำทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

80.   ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส   

(2) การสำรวจดินแดนใหม่

(3) การค้า

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า)(คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้

1. เอเชียตะวันออกเฉียงต้มีชื่อเสียงในเรื่องความมั่งคั่ง

2.ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ       

3. ต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์

4.ชาวยุโรปมีความสามารถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่

5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ

6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้ ทั้งนี้โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคนี้ ตามมาด้วยสเปน ดัตช์ และอังกฤษ

81.   ชาวยุโรปชาติใดเดินทางเข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชาติแรก

(1) สเปน 

(2) โปรตุเกส   

(3) ดัตช์   

(4) อังกฤษ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82.   ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์     

(2)   ปีนัง 

(3)   มะละกา    

(4)   พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลักจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้วในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น “สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlementโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะปีนัง

83.   ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในด้านการเลิกทาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส   

(2)   สเปน       

(3)   ดัตช์ 

(4)   ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 330 หลังจากที่สเปนได้เข้าปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สเปนได้ออกกฎหมายห้ามการมีทาสจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2132 จึงได้ยกเลิกทาสทั่วไปในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการลดอำนาจของกลุ่มเจ้านายชนพื้นเมือง ดังนั้นจึงถือว่าสเปนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านการเลิกทาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

84.   ดัตช์ได้ใช้นโยบายใดเพื่อปรับปรุงสวัสดิการคนพื้นเมืองในบังคับให้ดีขึ้น

(1)   Culture System        

(2)   Encomienda   

(3)   Ethical Policy  

(4)   ไม่มีข้อถูก

ตอบ 3 หน้า 334 ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ดัตช์ได้มีการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจบนเกาะชวาของอินโดนีเซีย เรียกว่า “Ethical Policy” ซึ่งเป็นนโยบายที่จัดการบริการสวัสดิการสาธารณะให้มากขึ้น โดยดัตช์ได้นำเงินมาบำรุงการศึกษา สาธารณสุข การเกษตร และการคมนาคม ซึ่งต่อมาชาวอินโดนีเซียที่มีการศึกษาไม่พอใจที่ไม่มีสิทธิในการปกครองประเทศ ระบบนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นประการหนึ่งที่ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมในอินโดนีเซีย

85.   ข้อใดต่อไปนี้ไมได้หมายถึง เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน

(1) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส

(2)   เป็นผู้เดินทางมาถึงฟิลิปปินส์     

(3) เป็นผู้เดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก

(4)   เป็นผู้ทำให้ชาวสเปนถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์

ตอบ 1 หน้า 328 – 329600 (เล่มเก่า) เฟอร์ดินาล แมกเจลแลน เป็นนักเดินเรือชาวสเปนที่สามารถเดินทางรอบโลกได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยในปี พ.ศ. 2055 แมกเจลแลนได้เดินทางมาถึงหมู่เกาะวิสายะของฟิลิปปินส์ตามคำสั่งของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ที่ให้ค้นหาเส้นทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศและยึดดินแดนที่ค้นพบ ต่อมาเขาได้เดินทางมาถึงเกาะลิมาซาวาและเกาะเซบูโดยได้ผูกมิตรกับหัวหน้าเกาะทั้งสอง และที่เกาะเซบูเขาได้เข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในหมู่เกาะทำให้คนพื้นเมืองไม่พอใจ ส่งผลให้แมกเจลแลนและชาวสเปนจำนวนมากถูกฆ่าตายในฟิลิปปินส์

86.   ข้อใดหมายถึงสนธิสัญญาซารากอสสา

(1)   สนธิสัญญาที่กำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อแบ่งเขตผลประโยชน์ของโปรตุเกสกับสเปน

(2)   สนธิสัญญาที่ให้สเปนกับโปรตุเกสออกสำรวจดินแดนต่าง ๆ คนละเส้นทางกัน

(3)   สนธิสัญญาที่โปรตุเกสทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

(4)   สนธิสัญญาที่ดัตช์ทำกับชาวพื้นเมืองเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ตอบ 1 หน้า 328 ด้วยเหตุที่ทั่งสเปนและโปรตุเกสต่างก็ต้องการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ในปี พ.ศ. 2072 สเปนและโปรตุเกสได้ทำ “สนธิสัญญาซารากอสสา” ระหว่างกัน โดยมีการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนเพื่อกำหนดเขตผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่ายให้ชัดเจน

 

ตั้งแต่ข้อ 87. – 90. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา     

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3)   ระบบโปโล       

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

87.   ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมีองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.     ระบบโปโล (Polo Systemเป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.     ระบบวันดาลา (Vandala Systemเป็นระบบบังคับซื้อสินค้ โดยบังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

88.   ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomiendaคือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ในฟิลิปปินส์ โดยให้ผู้มีสิทธิ์ถือครองที่ดินที่เรียกว่า “เอ็นคอมเมียนโดโรส”(Encomiendorosเรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

89.   ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาตํ่า

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

90.   ระบบที่จัดสรรพื้นที่สำหรับปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ

ตอบ 2 หน้า 334 ในพุทธศตวรรษที่ 24 ดัตช์ได้นำระบบวัฒนธรรม (Culture Systemหรือระบบการเพาะปลูก (Cultivation Systemมาใช้แสวงหากำไรในเกาะชวา โดยผู้ที่เสนอระบบนี้คือ โยฮานเนส วาน เดน บอสช์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ โดยระบบนี้เป็นการสนับสนุนให้ทุกหมู่บ้านจัดสรรพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ เช่น อ้อย กาแฟ คราม ฯลฯ เพื่อจ่ายเป็นภาษีให้แก่รัฐบาลอาณานิคม จากนั้นรัฐก็จะนำสินค้าดังกล่าวไปขายในยุโรป

91.   กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลมีกี่ประเทศ

(1) หนึ่งประเทศ       

(2) สองประเทศ

(3) สามประเทศ

(4) สี่ประเทศ

ตอบ 2 หน้า 171(คำบรรยาย) ภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asiaคือ ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างเอเชียตะวันตกเฉียงใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา และมัลดีฟส์ ซึ่งประเทศที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเลมี 2 ประเทศคือ เนปาล และภูฏาน ส่วนประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะมี 2 ประเทศคือ ศรีลังกา และมัลดิฟส์

92.   กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีลักษณะเป็นเกาะมีกี่ประเทศ

(1) หนึ่งประเทศ       

(2) สองประเทศ

(3) สามประเทศ

(4) สี่ประเทศ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 91. ประกอบ

93.   เมื่อเปรียบเทียบความเจริญของแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของโลกพบว่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีความเจริญสูงสุดด้านใด

(1)ด้านการชลประทาน     

(2) ด้านการแพทย์    

(3) ด้านสุขาภิบาล    

(4)   ด้านเกษตรกรรม

ตอบ 3 หน้า 183 – 186188(คำบรรยาย) ความเจริญของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ มีดังนี้

1.     เป็นสังคมเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกโบราณ

2. เป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่รู้จักจัดห้องน้ำแบบยืนตักอาบและทำท่อระบายน้ำทิ้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเจริญสูงสุดด้านสุขาภิบาลและด้านสาธารณสุข

3. รู้จักทอผ้าฝ้ายเพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม

4.     มีการทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้จากทองแดง ทองคำ เงิน สำริด หรือหินมีค่าโดยไม่พบวัตถุใดที่ทำด้วยเหล็ก ฯลฯ

94.   ผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุมีผิวพรรณเหมือนใครมากที่สุด

(1) แอนนา วินทัวร์  

(2)   วีเจย์ ซิงห์ 

(3) มาเรีย ซาราโปวา

(4)   โรเจอร์ เฟเดอเรอร์

ตอบ 2 หน้า 174183188 อารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุเป็บอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลกโดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ทั้งนี้ชนชาติที่เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุคือ พวกทราวิฑหรือดราวิเดียน (Dravidiansซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมของอินเดีย โดยพวกทราวิฑจะมีผิวดำ ตัวเล็ก และจมูกกว้าง หรือที่รู้จักกันในชื่อ“ทัสยุหรือมิลักขะ” ปัจจุบันอาศัยอยู่ทางตอบใต้ของอินเดียและเกาะศรีลังกา ซึ่งตัวอย่างของผู้ที่มีผิวพรรณเหมือนพวกทราวิฑ ได้แก่ วิเจย์ ซิงห์ เป็นต้น

95.   มรดกด้านอารยธรรมของลุ่มแม่นํ้าสินธุที่ตกทอดมายังอินเดียรุ่นหลังได้แก่เรื่องใด

(1) ตัวอักษร    

(2) ศาสนา       

(3) ระบบวรรณะ      

(4) การปกครอง

ตอบ 2 หน้า 183186 – 188 มรดกด้านอารยธรรมของลุ่มแม่นํ้าสินธุที่ตกทอดถึงอินเดียรุ่นหลังที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความเชื่อทางศาสนา เช่น การนับถือเจ้าแม่หรือมหามาตา การบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ การบูชาวัวตัวผู้ การบูชาต้นโพธิ์และต้นไทร เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าชาวฮินดูสมัยใหม่เป็นหนี้ชาวสินธุอยู่มาก

96.   ถ้าจัดนักรบซามูไรของญี่ปุนโบราณเข้ามาอยูใบระบบวรรณะของอินเดียโบราณ ควรจัดไว้ในวรรณะใด

(1) พราหมณ์   

(2) กษัตริย์      

(3) แพศย์

(4) ศูทร

ตอบ 2 หน้า 195 – 196 ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง โดยทรงสร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.     วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.     วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบและตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สีแดง

3.     วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.     วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นตํ่าสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกรและข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

97.   การจัดคนเข้าอยู่ในหลักอาศรม 4 ของอินเดียโบราณเพื่อวัตถุประสงค์ใด

(1) กำหนดหน้าที่     

(2) กำหนดอาชีพ     

(3) กำหนดภูมิลำเนา

(4) กำหนดศาสนา

ตอบ 1 หน้า 199 หลักอาศรม 4 ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แบ่งชีวิตคนออกเป็น 4 วัยเพื่อให้คนในแต่ละอาศรมทำหน้าที่ให้เหมาะกับวัย ดังนี้

1.     พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา

2.     คฤหัสถาศรมหรือคฤหัสถ์(อายุ 26-50 ปี)เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงานมีครอบครัว (ปัจจุบันไทเกอร์วูดส์อดีตนักกอล์ฟมือหนี่งของโลกมีอายุ 37 ปีดังนั้นจึงจัดอยู่ในกลุ่มนี้)

3.     วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.     สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติโดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

98.   ถ้าจัดไทเกอร์ วูดส์ อดีตนักกอถ์ฟมือหนึ่งของโลกเข้าอยู่ในหลักอาศรม 4 ควรจัดไว้ไนอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม

(2)   คฤหัสถาศรม    

(3)   วานปรัสถาศรม

(4)   สันยัสตาศรม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 97.  ประกอบ

99.   ภาษาใดของอินเดียในปัจจุบันที่มีผู้พูดได้มากที่สุด

(1) อูรดู   

(2)   ฮินดี

(3)   เบงกาลี    

(4)   บาลี

ตอบ 2 หน้า 175 – 176(คำบรรยาย) อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านภาษาโดยมีภาษาพูดกว่า 200 ภาษา และหากนับรวมภาษาถิ่นด้วยจะมีราว 800 ภาษา ทั้งนี้ภาษาต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในอินเดียปัจจุบันจะเป็นภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต เช่น ภาษาฮินดี อูรดู เบงกาลี คุชราตี ฯลฯ โดยภาษาที่คนอินเดียพูดและใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือภาษาฮินดี รองลงมาได้แก่ภาษาอรดู และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาราชการทีใช้สอนในมหาวิทยาลัย

100. ศาสนาสิกข์เกิดจากการนำเอาหลักคำสอนของศาสนาคู่ใดมาผสมผสานกัน

(1)   ฮินดู/พุทธ

(2)   ฮินดู/อิสลาม     

(3)   เชน/พุทธ 

(4)   คู่อื่น

ตอบ 2 หน้า 222 ศาสนาสิกข์ เป็นศาสนาใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์มุสลิมเติร์ก โดยมีศาสดาองค์แรกคือ คุรุนานัก ซึ่งหลักการของศาสนาสิกข์คือ ต้องการผสมผสานคาสนาฮินดูกับศาสนาอิสลามเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความกลมเกลียวให้เกิดขึ้นในสังคม โดยคำสอนสำคัญจะเน้นเรื่องพระเจ้าองค์เดียว และปฏิเสธการถือชั้นวรรณะ

101. คำสอนเรื่องใดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธ

(1) ระบบวรรณะ

(2) พรหมลิขิต 

(3) กฎแห่งกรรม      

(4) แม่น้ำคงคาศักดิ์สิทธิ์ล้างบาปได้

ตอบ 3 หน้า 203 – 207 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาลำดับที่ 3 ที่เกิดขึ้นในอินเดีย โดยเป็นศาสนาที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะสอนด้วยหลักเหตุและผลที่สามารถทดสอบความจริงได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม นั่นคือ สิ่งที่ทำให้มนุษย์สุขหรือทุกข์หรือทำให้คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน เป็นผลมาจากการกระทำหรือความประพฤติของเราเอง ซึ่งเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่ใช่ผลของกรรมเก่า (ส่วนความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในเรื่องระบบวรรณะ พระเจ้าสร้างโลก พรหมลิขิต การฆ่าสัตว์บูชายัญ การสวดอ้อนวอนหรือบวงสรวงเพื่อขอพรจากพระเจ้า และการล้างบาปในแม่นำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ)

102. พุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่ออกบอกประเทศอินเดียครั้งแรกในสมัยใด

(1) พระเจ้าจันทรคุปต์      

(2) พระเจ้าพิมพิสาร

(3) พระเจ้ามิลินท์     

(4พระเจ้าอโศก

ตอบ 4 หน้า 214 – 217 พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญดังนี้     

1. ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราชา

2. ทรงเป็นนักปฏิบัติธรรม 

3. ทรงเปลี่ยนจากนโยบายการขยายอำนาจโดยการรุกรานมาเป็นนโยบายสันติภาพ โดยส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พุทธศาสนารวม 9 สายไปทั่วอินเดียทุกภาคและออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก

4.     ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกของพุทธศาสนา จนทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคนี้ เช่น โปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทบพระธรรมคำสอน มีการสร้างสถูปเจดีย์และวิหารจำนวน 84,000 แห่ง เป็นต้น

103. พระธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอนของพุทธศาสนา เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในราชวงศ์ใด

(1) โมริยะ/เมารยะ   

(2) คุปตะ 

(3) อินโด-แบคเทรีย 

(4) โมกุล

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 102. ประกอบ

104. กวีเอกแห่งราชวงศ์คุปตะที่ได้รับสมญานามว่า “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” ได้แก่ผู้ใด

(1) พราหมณ์จารนักย์      

(2) พราหมณ์วิษณุศรมัน  

(3) กาลิทาส     

(4) พระนาคเสน

ตอบ 3 หน้า 219 – 221 ในสมัยราชวงศ์คุปตะได้ชื่อว่าเป็น “ยุคทองของอินเดียโบราณ” เพราะมีความเจริญด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้

1.     ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต โดยกวีเอกในสมัยนี้ ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยมีผลงานเด่นที่รู้จักไปทั่วโลกคือบทละครเรื่องศกุนตลา

2.     มีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยตักศิลา นาลันทา ฯลฯ

3.     อารยภัททะ นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของยุคนี้ได้ประดิษฐ์ตัวเลขอารบิกและระบบทศนิยมขึ้นเป็นคนแรกของโลก

4.     เกิดผลงานชิ้นเอกด้านจิตรกรรมหรือภาพเขียนสี นั่นคือ จิตรกรรมบนฝาผนังถํ้าอชันตาถํ้าที่ 1 โดยเฉพาะรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี เป็นต้น

105. จิตรกรรมฝาผนังที่ถํ้าอชันตา โดยเฉพาะรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี เป็นผลงานชิ้นเอกของอินเดียในราชวงศ์ใด

(1) โมริยะ/เมารยะ   

(2) คุปตะ 

(3) กุษาณ

(4) อินโด-แบคเทรีย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 104. ประกอบ

106. พระจักรพรรดิพระองค์ใดได้ชื่อว่าเป็นผู้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่จักรวรรดิโมกุล

(1) พระเจ้าบาบูร์     

(2) พระเจ้าชาห์เจฮาน      

(3) พระเจ้าโอรังเซ็บ

(4) พระเจ้าอักบาร์

ตอบ 4 หน้า 224 – 225(คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ในสมัยจักรวรรดิโมกุล โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดและมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญของพระองค์มีดังนี้ 

1. ทรงยกย่องและผูกมิตรกับพวกฮินดูมากกว่าสมัยอื่นๆ

2. ทรงมีขันติธรรมในศาสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศ เนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข    

3. ทรงยกเลิกการเก็บภาษีจิสยา (Jizya)

4.     ทรงลดภาษีให้พ่อค้าเพื่อสนับสนุนการค้า เป็นต้น

 107.       ท่านคิดว่าคุณธรรมข้อใดที่องค์ประมุขอินเดียควรนำมาใช้ในการปกครองเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง

(1) เมตตาธรรม

(2) ยุติธรรม     

(3) สามัคคีธรรม      

(4) ขันติธรรมในศาสนา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 106. ประกอบ

108. ท่านคิดว่าการแทรกแซงของอังกฤษในเรื่องใดที่เปีนสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

(1) ด้านการปกครอง

(2) ด้านการต่างประเทศ    

(3) ด้านเศรษฐกิจ     

(4) ด้านสังคม

ตอบ 4 หน้า 232 – 234 Lord Dalhousie เป็นข้าหลวงใหญ่ชาวอังกฤษที่ได้ออกกฎหมายแทรกแซงอินเดียหลายเรื่อง จนเป็นชนวนที่ทำให้เกิด “กบฏซีปอย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1857ซึ่งการแทรกแซงดังกล่าวมีดังนี้

1.     ออกกฎหมายยึดครองดินแดนที่เรียกว่า “Doctrine of Lapse” ทำให้ประเพณีในการสืบราชสมบัติของเจ้าผู้ครองนครเปลี่ยนไป

2.     ออกกฎหมายสำรวจโฉนดที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า ถ้าเจ้าของที่ดินไม่มีโฉนดมาแสดงก็ให้ยึดเป็นของอังกฤษ

3.     ออกกฎหมายแทรกแซงทางด้านสังคมและศาสนา เช่น ให้ยกเลิกพิธีสุตตี (Sutteeออกกฎหมายให้หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้ยกเลิกการฆ่าเด็กทารกแรกเกิดและประเพณี ฆ่าคนบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดกบฏซีปอย

4.     สาเหตุปัจจุบันทันด่วนคือ อังกฤษได้นำปืนเล็กยาวมาให้ทหารซีปอยใช้ โดยได้นำนํ้ามันหมูและไขวัวมาใช้เป็นนํ้ามันหล่อลื่นลูกปืนชนิดใหม่ ทำให้ทหารซีปอยทั้งมุสลิมและฮินดูรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาของตน

109. ข้าหลวงใหญ่ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกบฏซีปอยได้แก่ผู้ใด

(1) Lord Bentinck   

(2) Lord Dalhousie

(3) Lord Curzon      

(4) Lord Walesley

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ

110. เมืองกัวเป็นเมืองที่สะท้อนอิทธิพลของมหาอำนาจชาติใด

(1) โปรตุเกส   

(2) ดัตซ์  

(3) อังกฤษ      

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 1 (HI 103 เลขพิมพ์ 54191 หน้า 129133) ใบสมัยราชวงศ์โมกุล โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามาค้าขายในอินเดียแถบขายฝั่งทะเลตะวันตกนับจกบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ศาลนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทั้งนี้ศูนย์กลางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสจะอยู่ที่เมืองกัว (Goaโดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองกัวและนับถือศาสนาคริสต์จะถูกเรียกว่า “ชาวกวน”

111. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของเนาโรชิ

(1) เป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิชาตินิยม

(2) เป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์

(3)   เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมผู้รับใช้แห่งอินเดีย 

(4) เป็นคนแรกที่สอบเข้าทำงานใน I.C.Sได้

ตอบ 1 หน้า 238(คำบรรยาย) เนาโรชิ (Naorojiเป็นบุคคลแรกที่เรืยกร้องสิทธิ์ให้ชาวอินเดียโดยชี้ให้เห็นว่าอังกฤษเอารัดเอาเปรียบอินเดีย อังกฤษควรเลิกตักตวงผลประโยชน์จากอินเดีย อังกฤษควรรับคนอินเดียเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐให้มากขึ้น รวมทั้งเรียกร้องให้ชาวอินเดียมีบทบาทในเรื่องกฎหมายและภาษีให้มากกว่านี้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาได้รับสมญานามว่าเป็น “มหาบุรุษผู้อาวุโสของอินเดีย” (The Grand Old Man of Indiaและเป็น “บิดาแห่งนักชาตินิยมอินเดีย” เนื่องจากเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิชาตินิยมในอินเดีย

112. MorleyMinto Reforms of 1909 มีความสำคัญที่สุดต่อชาวอินเดียในเรื่องใด

(1)   อังกฤษให้ผู้พิพากษาชาวพื้นเมืองมีสิทธ์พิพากษาคดีที่คู่ความเป็นชาวยุโรปในตำบลได้

(2)   ชาวอินเดียมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในหน่วยงานของรัฐ

(3)   อังกฤษให้สิทธิ์หญิงม่ายแต่งงานใหม่ได้

(4)   อังกฤษให้สิทธิ์ชาวอินเดียมีผู้แทนอย่างน้อย 1 คนในสภาทั้งระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง

ตอบ 4 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอร์เลย์-มินโต (MorleyMinto Reformsซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้สิทธิ์ชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอินเดียที่กรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่น คือ สภาบรหารประจำแคว้นแต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นการปูพี้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

113. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของ “อินเดียของอังกฤษ” (The British India)

(1)   รัฐที่อังกฤษปกครองโดยตรง

(2)   รัฐที่อังกฤษปกครองโดยอ้อม

(3)   รัฐใหญ่ที่มีความสำคัญด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

(4)   รัฐส่วนใหญ่ของอินเดีย มีเนื้อที่ประมาณ 2/3 ของประเทศ

ตอบ 2 หน้า 234 – 235(คำบรรยาย) หลังจากที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียในปี ค.ศ. 1858 แล้วอังกฤษได้ดำเนินการปกครองอินเดียทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้

1.     ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยตรง เรียกว่า “อินเดียของอังกฤษ” (British Indiaมีเนื้อที่ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศ ส่วนมากเป็นรัฐหรือมณฑลที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลรวม 11 รัฐ และเป็นรัฐใหญ่ที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

2.     ดินแดนที่อังกฤษปกครองโดยอ้อม เรียกว่า “รัฐอิสระ” (Indian Statesมีเกือบ 600 รัฐครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ มีการปกครองที่ขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนครรัฐหรือสุลต่าน โดยอังกฤษจะคุมเฉพาะด้านต่างประเทศ การทหาร และการคลัง

114. นักชาตินิยมคนใดที่ชาวอินเดียไม่ว่านับถือศาสนาใดไว้วางใจมากที่สุด

(1) เนห์รู 

(2) มหาตมะ คานธี   

(3) เนาโรชิ      

(4) โกขะเล

ตอบ 2 หน้า 241(คำบรรยาย) มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhiเป็นนักต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดองอินเดียที่สามารถดึงมวลชนทั่วประเทศเข้ามาร่วมในขบวนการชาตินิยมได้สำเร็จ โดยคานธีถือว่าเป็นรัฐบุรุษที่มีความสามารถเป็นเยี่ยมไนการรวมผู้นำฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งผู้นำหัวสมัยใหม่ ผู้นำที่ยึดนโยบายสายกลาง ผู้นำที่เป็นพวกอนุรักษนิยม และผู้นำชาวมุสลิม จนทำให้ท่านได้รับการยกย่องจากชาวอินเดียว่าเป็น “บาบูจี” หรือผู้เป็นที่เคารพรัก

115. ข้อใดเป็นหัวใจของการต่อสู้ของขบวนการสัตยาเคราะห์

(1)   การต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(2)   การต่อสู้โดยใช้พลังธรรมะ ถ้าไม่สำเร็จจึงค่อยใช้กำลัง

(3)   การดื้อแพ่งโดยไม่ให้ความร่วมมือทุกรูปแบบ

(4)   การต่อสู้โดยไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง

 ตอบ 4 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี เป็นนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ที่เรียกว่า “การต่อต้านเงียบ” หรือ “ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่

1. สัตยะ คือ ความจริง      

2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือวิธีรุนแรง 

3. การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟังและไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง เช่น การประท้วงด้วยการอดอาหารการเดินขบวนประท้วง ฯลฯ

116. ใครคือบิดาแห่งประเทศปากีสถาน

(1) เนห์รู 

(2) มหาตมะ คานธี   

(3) อาลี จินนาห์

(4) โกขะเล

ตอบ 3 หน้า 241, 244 – 245(คำบรรยาย) มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Muhammad Ali Jinnah)ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิม เป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดียควบคู่ไปกับการต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิม โดยการประชุมสันนิบาตมุสลิมทีละโฮร์ในปี ค.ศ. 1940 จินนาห์ได้เสนอข้อมติเพื่อขอแยกมุสลิมออกจากฮินดูมาตั้งประเทศปากีสถาน จนกระทั่งเมื่ออินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 อินเดียได้แยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดียและปากีสถาน ทำให้จินนาห์ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งประเทศปากีสถาน”

117. พ.ร.บ. ฉบับใดที่ชาวอินเดียถือว่าลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียที่สุด

(1) Arms Act   

(2) Universitees Act

(3) Rowlatt Act        

(4) MontaguChelmford Reforms

ตอบ 3 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า “กฎหมายโรว์แลตต์” (Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลมีอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดร้ายต่อรัฐบาลได้ทันที โดยไม่มีการสอบสวนหรือขึ้นศาล ซึ่งนักชาตินิยมมองว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นสาเหตุให้คานธี ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการประท้วงอังกฤษเสียเอง

118. ตามคติความเชื่อในระบบวรรณะของอินเดียโบราณ สีเหลืองเป็นสีประจำวรรณะใด

(1) พราหมณ์   

(2)   กษัตริย์    

(3)   แพศย์      

(4)   ศูทร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

119. ท่านคิดว่าด้วยลักษณะภูมิศาสตร์แบบใดที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับอารยธรรมจากอินเดีย

(1) ที่ตั้ง   

(2) รูปร่าง

(3)   ขนาด       

(4)   ภูมิประเทศ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

120. สาธุ! พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ถ้าลูกช้างสอบได้จะบูมรามคำแหงถวาย 10 จบ… ถามว่าการกระทำดังกล่าวแสดงถึงอิทธิพลของศาสนาใดมากที่สุด

(1) พุทธ  

(2)   เชน 

(3)   ฮินดู

(4)   อิสลาม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 101. ประกอบ

Advertisement