การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา BIO1001 ชีววิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นที่

(1) การตั้งสมมุติฐาน

(2) สร้างทฤษฎี            

(3) การสังเกต ตรวจสอบ        

(4) การเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ 4 หน้า 2 กระบวนการหรือระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เรียงตามลำดับได้ดังนี้

1. การเก็บรวบรวมข้อมูล         2. การตั้งสมมุติฐาน 3. การสังเกต ตรวจสอบ หรือทดลอง

4. การประมวลเป็นข้อสรุป      5. การสร้างทฤษฎี

2.         ข้อใดไมเป็นพลังงาน (Energy)

(1) แสงสว่าง   

(2) อากาศ 

(3)       อุณหภูมิ

(4)       แม่เหล็กไฟฟ้า

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พลังงาน (Energy) คือ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่รับรู้ได้ แต่ไม่มีรูปทรงหรือตัวตน ไม่มีน้ำหนัก และไม่ต้องการที่อยู่อาศัย เช่น แสงสว่าง อุณหภูมิ กระแสลม แม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น

3.         พื้นที่ที่มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดมาอยู่รวมกัน เรียกว่า

(1) ประชากร   (2)       ชีวมณฑล        (3)       ชุมชน/ชุมชีพ    (4)       ระบบนิเวศ

ตอบ 3 หน้า 672, (คำบรรยาย) ชุมชนหรือชุมชีพ (Community) หมายถึง พื้นที่บริเวณหนึ่งที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือมีการปรากฏชนิดต่าง ๆ ของสิ่งมิชีวิต นั่นคือ เป็นพื้นที่ที่ มีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดมาอาศัยอยู่รวมกันในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน เช่น สวนสัตว์ ตลาดสด สวนสาธารณะ เป็นต้น

4.         การจัดการให้สภาวะภายในร่างกายมีความคงที่สมํ่าเสมออย่างตอเนื่องเรียกว่า

(1) ภาวะปกติสุข         (2)       ภาวะธำรงดุล  (3)       Homeostasis    (4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 2-3,0 เมื่อปี ค.ศ. 1851 โกลด์ แบร์นาร์ด (Claude Bernard) ได้เสนอทฤษฎี ภาวะปกติสุข หรือภาวะธำรงดุล (Homeostasis) ซึ่งเป็นการจัดการให้สภาวะภายในร่างกาย มีความคงที่สมํ่าเสมออย่างต่อเนื่อง

5.         Internal Respiration เกิดขึ้นโดยกระบวนการ

(1) Dialysis         (2)Osmosis        (3)Diffusion       (4)Homeostasis

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การหายใจภายในหรือการแลกเปลี่ยนอากาศภายใน (Internal Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าชระหว่างเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ในร่างกาย ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยกระบวนการแพร่กระจาย (Diffusion)

6.         การแลกเปลี่ยนอากาศภายใน เกิดขึ้นที่

(1) เซลล์ในร่างกาย (2) ปอด   (3)       หัวใจ    (4)       สมอง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7.         การหายใจ เป็นการแลกเปลี่ยนอากาศโดยกระบวนการใด

(1) Diffusion      (2)       Osmosis   (3)       Dialysis    (4)       Peristalsis

ตอบ 1 หน้า 31 – 32157, (คำบรรยาย)       การหายใจ (Respiration) เป็นการแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการก็คือ การนำเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไปยังเซลล์ ในร่างกาย และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาโดยอวัยวะต่าง ๆ ของระบบหายใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยกระบวนการแพร่กระจาย (Diffusion)

8.         ในกระบวนการเมแทบอสลิซึม ธาตุที่ทำให้ก่อเกิดพลังงาน คือ

(1) ไฮโดรเจน   (2) ออกซิเจน   (3) คาร์บอน     (4) ไนโตรเจน

ตอบ 2 หน้า 147154 ในกระบวนการเมแทบอสลิซึมหรือเมตาบอลิสม์ (Metabolism) ของมนุษย์นั้น จะมีธาตุที่ทำให้ก่อเกิดพลังงานก็คือ ก๊าชออกซิเจน ซึ่งจะถูกนำไปสู่เชลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสารเคมีที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน” (Haemoglobin)

9.         สารเคมี ในเม็ดเลือดแดง ที่นำเอาธาตุก่อเกิดพลังงานไปสู่ส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย คือ

(1) ฮีโมโกลบิน            (2)       คลอโรฟิลล์      (3)       ลิวซีน   (4)       อีริปซิน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

10.       วิตามินที่สร้างได์ในร่างกายของเราคือ

(1) วิตามิน เอ  (2)วิตามิน ดี    (3)วิตามิน เค   (4)ทั้งวิตามิน   ดีและเค

ตอบ 4 หน้า 46154 วิตามินที่สร้างขึ้นได้เองในร่างภายของคนเรา มี 2 ชนิด คือ 1. วิตามิน ซึ่งสร้างขึ้นโดยแสงแดดจากการเปลี่ยนไลปิดประเภทสเตอรอลที่เรียกว่าสาร Ergosterol ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง 2. วิตามิน ซึ่งสร้างขึ้นโดยการทำงานของแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้

11.       สีของเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนเมื่อปริมาณของออกซิเจนเปลี่ยน แร่ธาตุที่ทำให้สีของเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนไป คือ

(1) ออกซิเจน   

(2)       เหล็ก   

(3)       คาร์บอน          

(4)       ไอโอดีน

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เม็ดเลือดแดงของคนมีสีแดงเพราะสมบัติทางเคมีของแร่ธาตุเหล็ก และสีของเม็ดเลือดแดงนี้จะเป็นสีแดงสดเมื่อได้รับปริมาณออกซิเจนจากปอดเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อใดที่ เม็ดเลือดแดงได้รับเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ในร่างกายเข้ามาแทนที่ก๊าชออกซิเจนแล้ว ก็จะทำให้สีของเม็ดเลือดแดงเปลี่ยนไปเป็นสีแดงคลํ้าทันที

12.ในกระบวนการกินอาหาร (Nutrition) มีอวัยวะต่าง ๆ มาร่วมกันทำหน้าที่ อวัยวะเหล่านี้รวมกันเรียกว่า

(1) Alimentary Tract (2)Alimentary System (3)  Digestive Tract (4)DigestiveSystem

ตอบ1  (คำบรรยาย) ในกระบวนการกินอาหาร (Nutrition) นั้น จะประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆที่มาร่วมกันทำหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร ซึ่งรวมเรียกว่า ท่อทางเดินอาหาร” (Alimentary Tract) โดยเริ่มต้นจากปาก หลอดคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไล้ใหญ่ จนถึงทวารหนัก และหากอวัยวะเหล่านี้มีการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ก็จะเรียกว่า ระบบท่อทางเดินอาหาร” (Alimentary System)

13.       แผนดินไหวที่นิวซีลนด์ ภูเขาไฟระเบิดที่อินโดนีเซีย นํ้าท่วมที่จีน ฯลฯ อุบัติภัยธรรมชาติเหล่านี้ หากพิจารณาศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ควรกำหนดไว้ในข้อใด

(1) ธรณีวิทยา  (2) อุทกวิทยา  (3) อุตุนิยมวิทยา         (4) วิทยาศาสตร์กายภาพ

ตอบ4(คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น วิชาเคมี ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา (แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด) อุทกวิทยา (น้ำ) อุตุนิยมวิทยา (ฝน พายุ) ดาราศาสตร์ (ท้องฟ้า ดวงดาว) เป็นต้น

14.       หน้าที่หลักของนํ้าดี (Bile) คือ

(1) ย่อยไขมัน  (2)       แยกไลปิด        (3)       ย้อมกากอาหาร           (4)       มีรสขม

ตอบ 2 หน้า 149. (คำบรรยาย) นํ้าดี (Bile) ที่ถูกสร้างจากถุงนํ้าดีที่ตับนั้นไม่จัดว่าเป็นเอนไซม์ เพราะไมใช่โปรตีนและไม่มีน้ำย่อยเป็นองค์ประกอบ จึงไม่มีหน้าที่ย่อยไลปิดหรือไขมัน แต่จะมีบทบาทหน้าที่หลักในการช่วยทำไห้ไขมันแยกและคลายตัวออกจากกัน เพื่อสะดวกแกการยอยของเอนไซม์ไลเปส

15.       อาหารที่เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไป จะเคลื่อนตัวไปโดยอาการที่เรียกว่า

(1) Peristalsis     (2)       Epistasis  (3)Homeostasis         (4)Ecostasis

ตอบ 1 หน้า 149, (คำบรรยาย) เพอริสตาลชิส (Peristalsis) คือ การหดตัวและคลายตัวเป็นจังหวะ แบบลูกคลื่นติดต่อกันเป็นระลอกของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังท่อทางเดินอาหาร ทำให้อาหารที่เคี้ยวแล้วกลืนเข้าไปเกิดการเคลื่อนไหลไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่จากปากจนถึงทวารหนัก

16.       เอนไซม์ที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในนํ้าลาย คือ

(1) Saliva   (2)อะไมเลส    (3)       ไลเปส  (4)       โปรตีน

ตอบ 2 หน้า 149 น้ำลาย (Saliva) ประกอบด้วย 1. น้ำ ประมาณ 95%     2. น้ำเมือก 3. เกลือแร่ 4. เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) หรือเอนไซม์ไทยาลิน (Ptyaiin) ทำหน้าทีย่อยคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโตสได้บางส่วนเป็นอันดับแรกในช่องปาก

17.       สารอาหารที่ได้จากการย่อยสกัด จะถูกดูดซึมเช้าสู่หลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง โดยกระบวนการใด

(1) Osmosis        (2) Diffusion      (3) Dialysis         (4) ทั้งสามวิธี

ตอบ 1 หน้า 149152 การย่อยอาหารจะเริ่มต้นที่ปาก และสิ้นสุดสมบูรณ์ที่ลำไส้เล็กตอนปลาย โดยโมเลกุลของสารอาหารที่ได้จากการย่อยสกัดประเภทกรดอมิโนและน้ำตาลกลูโคสจะ ถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย (Capillary Vein) ที่แทรกอยู่ในวิลลัสของผนังลำไส้เล็ก ส่วนสารอาหารประเภทกรดไขมันและกลีเชอรอลก็จะถูกดูดชึมเข้าสู่หลอดน้ำเหลือง (Lacteal) ที่อยู่ในวิลลัสเช่นกัน ซึ่งการดูดซึมสารอาหารเข้าไปในหลอดเลือดและหลอดนํ้าเหลืองนี้จะเป็น ไปโดยกระบวนการออสโมซิส (Osmosis)

18.       หลอดนํ้าเหลืองที่อยู่ในวิลลัส เรียกว่า

(1) Lacteal (2) Lymph (3) Node   (4) Gland

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19.       ในการเจาะเลือดเพื่อนำไปหาข้อมูลทางการแพทย์ ผู้ทำการเจาะเลือดจาก

(1) หลอดเลือดอาร์เทอรี          (2) หลอดเลือดเวน

(3)       หลอดเลือดแคพิลารี    (4) ได้ทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 152, (คำบรรยาย) หลอดเลือดที่มาติดต่อกับหัวใจมี 2 ประเภท คือ

1.         หลอดเลือดเวน (Vein) ทำหน้าที่นำเลือดที่ผ่านการใช้งานแล้วจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย กลับเข้าสู่หัวใจ โดยจะมีลักษณะเป็นสีเขียวอมน้ำเงิน ซึ่งแพทย์มักจะทำการเจาะเลือดจาก หลอดเลือดเวนนี้เพื่อนำไปหาข้อมูลทางการแพทย์ ทั้งนี้เพราะมองเห็นได้ง่าย

2.         หลอดเลือดอาร์เทอรี (Artery) ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปส่งตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

20.       การย่อยอาหารเกิดขึ้นโดย

(1)เฉพาะส่วนสำไส้เล็ก           (2) เริ่มที่ปาก สิ้นสุดที่ปลายสำไส้เล็ก

(3) เริ่มที่กระเพาะอาหาร สิ้นสุดที่ปลายสำไส้ใหญ่     (4) สำไส้เล็กตอนต้นถึงสำไส้ใหญ่ตอนปลาย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

21.       อวัยวะภายในที่มีฃนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ คือ

(1)       ตับ       

(2)       ปอด     

(3)       สำไส้    

(4)       มดลูก

ตอบ 1 หน้า 153, (คำบรรยาย) ตับ (Liver) เป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพนั้าตาลกลูโคสที่เหลือใช้ในร่างกายให้รวมตัวกันเป็นแป้งไกลโคเจน (Glycogen) และเก็บสะสมไวัในตับ ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดนํ้าตาลกลูโคสจึงสามารถดึงเอา นํ้าตาลกลูโคสจากตับมาใช้งานได้ (โดยเปลี่ยนไกลโคเจนกลับไปเป็นกลูโคส)

22.       ข้อใดไมเป็นสสาร      

(1) ดิน (2) นํ้า  (3) ลม (4) ไฟ

ตอบ 4 (คำบรรยาย)    สสาร (Matter) คือ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่มีรูปทรงหรือตัวตน สัมผัสจับต้องได้มีนํ้าหนัก และต้องการที่อยู่อาศัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สสารที่ไมมีชีวิต เช่น ดิน นํ้า ลม อากาศ เครื่องจักร เป็นต้น 2. สสารที่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ สัตว์ เป็นต้น

23.       การดำรงชีพแบบใดเป็น Heterotrophic Nutrition

(1) Eating  (2)Parasitism    (3)Saprophytism       (4)ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) วิธีการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.         Autotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นได้เองจากอนินทรียสารของสิ่งมีชีวิต พวกออโตทรอฟ โดยมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ Photosynthesis และ Chemosynthesis

2.         Heterotrophic Nutrition เป็นแบบการสร้างอาหารขึ้นมาใช้เองไม่ได้ของสิ่งมีชีวิต พวกเฮเทอโรทรอฟ จึงต้องได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น โดยมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ Saprophytism, Parasitism และ Eating (เช่น คน และสัตว์ทั่วไป)

24.       วิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา จัดเป็นศาสตร์สาขาใด

(1) วิทยาศาสตร์กายภาพ        (2)วิทยาศาสตร์ชีวภาพ           (3) พฤติกรรมศาสตร์(4)วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) พฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Science) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์-ชีวภาพที่เน้นศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกของสิ่งมีชีวิต โดยแบ่งออกเป็น 2 สาขาวิชา คือ

1.         สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้แก่ วิชานิติศาสตร์ สังคมวิทยา เป็นต้น

2.         รัฐศาสตร์ (Political Science) เป็นความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ที่พิจารณาถึงฐานะ บทบาท หน้าที่ของสมาชิกในสังคมสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ

25.       ผลลัพธ์ของกระบวนการเมแทบอสิซึม คือ

(1) การซ่อมเสริม         (2) การทดแทน            (3) การสะสม  (4) การเติบโต

ตอบ4 หน้า 147, (คำบรรยาย) กระบวนการเมแทบอลิซึมหรือกระบวนการเมตาบอลิสม์ (Metabolism) เป็นกระบวนการทางเคมีทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในตัวของสิ่งมีชีวิต ซึ่งผลลัพธ์โดยรวมหรือผลลัพธ์ สุดท้ายที่จะได้รับจากกระบวนการเมแทบอลิซึม ก็คือ การเจริญเติบโต (Growth) นั่นเอง

26.       หัวใจของคน สองห้องซีกล่าง เป็นบริเวณที่

(1) รับเลือดดี   (2) รับเลือดใช้งาน แล้ว           (3) ส่งเลือดออก          (4) การเติบโต

ดอบ 3 หน้า 152, (คำบรรยาย) หัวใจของมนุษย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ

1.         ห้องซีกบน 2 ห้อง เรียกว่า เอเตรียม (Atrium) ซึ่งทำหน้าที่รับเลือดที่มาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของเลือด

2.         ห้องซีกล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนทวิเคิล” (Ventricle) ซึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของเลือดเช่นกัน

27.       ศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมศสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาใด

(1)       วิทยาศาสตร์กายภาพ (2) เทคโนโลยี (3) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (4) ข้อ 2 และ 3

ตรบ 4  (คำบรรยาย) วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิเคราะห์และวิจัยเรื่องราวของธรรมชาติ แล้วนำผลของความรู้นั้นไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อกิจกรรมเพื่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น วิชาความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เป็นต้น

28.       การดำรงชีพแบบใดเป็น Autotrophic Nutrition

(1)       Photosynthesis         (2) Chemosynthesis (3) Saprophytism      (4) ข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

29.       หลอดเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ คือ

(1)       Vein (2) Artery  (3) Aorta   (4) Capillary

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

30.       การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาผสมผสานกันจนได้องค์ความรู้ใหม่ เรียกการศึกษาลักษณะนี้ว่า

(1)       Scientific Interdependency     (2) Scientific Interdisciplinary

(3) Scientific Methods       (4) Scientific International

ตอบ 1 หน้า 2, (คำบรรยาย) Scientific Interdependency เป็นลักษณะการศึกษาวิทยาการทาง วิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ที่มีการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาผสมผสานกัน จนได้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น เช่น วิชาชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ เป็นต้น

31.       สิ่งมีชีวิตพวกผู้บริโภคพวกผู้ผลิต นิสัยการกินจัดเป็นแบบ

(1) Herbivore     

(2) Omnivore    

(3)       Insectivore       

(4)Carnivore

ตอบ 1 หน้า 234, (คำบรรยาย) กลุ่มผู้บริโภค (Consumer) สามารถจำแนกออกตามลักษณะนิสัย การกินได้เป็น 3 พวก คือ

1.         Herbivore เป็นพวกที่กินพืช (ผู้ผลิต) เป็นอหาร เช่น หนอน แพะ วัว ควาย กระต่าย ฯลฯ

2.         Carnivore เป็นพวกที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต จระเข้ ฯลฯ

3.         Omnivore เป็นพวกที่กินทั้งพืชและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สุนัข ฯลฯ

32.       การทำปุ๋ยหมัก ต้องอาศัยการทำงานของ

(1) Carnivore     

(2) Decomposer         

(3)Producer 

(4)Herbivore

ตอบ 2 หน้า 26234, (คำบรรยาย) กลุ่มผู้ย่อยสลายทำลาย (Decomposer) มีการดำรงชีพแบบ Saprophytism นั่นคือ การกินซากของเสียหริอซากสิ่งมีชีวิตอื่นที่ตายแล้ว โดยการผลิตเอนไซม์ ออกมาทำการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ของเสีย ขยะมูลฝอย และกากอาหาร ให้ยุบย่อยสลายตัว กลายเป็นปุ๋ยหมัก อันมีธาตุพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ ได้แก่ เห็ด เชื้อรา และแบคทีเรีย

33.       สัตว์ต่อไปนี้ แบงออกได้เป็นกี่ไฟลัม (Phylum) ปูปลานิล. ตะขาบแมงดาทะเลปลิงทะเล,พยาธิไส้เดือนงูดินปลวก

(1)       2 ไฟลัม            (2)       3 ไฟลัม            (3)       4 ไฟลัม            (4) 6 ไฟลัม

ตอบ 3 หน้า 133136 – 138, (คำบรรยาย) จากตัวอย่างสัตว์ตามโจทย์นั้น สามารถแบ่งออก ได้เป็น 4 ไฟล้ม (Phylum) คือ

1.         Phylum Nematoda ได้แก่ หนอนตัวกลม เช่น พยาธิไส้เดือน เป็นต้น

2.         Phylum Arthropoda ได้แก่ กุ้ง ปู แมลง ปลวก ตะขาบ แมงมุม แมงดาทะเล เป็นต้น

3.         Phylum Echinodermata ได้แก่ ปลิงทะเล ปลาดาว หอยเม่น และทากทะเล เป็นต้น

4.         Phylum Chordata ได้แก่ ปลานิล ปลาฉลาม งูดิน จิ้งจก สัตว์ปีก คน เป็นต้น

34.       สัตว์ในข้อใดจัดอยูใน Phylum Chordata ได้ถูกต้องที่สุด

(1) จิ้งจก และตะขาบ  (2)ปู และแมงมุม         (3)งูดิน และปลาฉลาม (4) ปลาดาว และปลิงทะเล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35.       สัตว์ที่มีว์วัฒนาการน้อยที่สุด   คือ

(1) ไฮดรา        (2)       เหา      (3)       หอยลาย          (4) พยาธิใบไม้

ตอบ 1 หน้า 129 – 131, (คำบรรยาย)สัตว์ที่มีวิวัฒนาการน้อยหรือล้าหลังที่สุด คือ สัตว์ในกลุ่มฟองนํ้า (Phylum Porifera) รองลงมาได้แก่ สัตว์ในกลุ่มไฮดรา กะพรุน และปะการัง (Phylum Coelenterata)

36.       ข้อใดที่ไม่ใช่คุณลักษณะของสัตว์จำพวกแมลงและกุ้ง

(1) โครงร่างเป็นสารไคติน (Chitin)          (2) มีรยางค์ 2 คู่

(3) รยางค์มีลักษณะเป็นข้อปล้องติดกัน         (4) มีการลอกคราบ

ตอบ 2 หน้า 136, (คำบรรยาย)สัตว์ใน Phylum Arthropoda จะมีโครงร่างของร่างกายหรือผิวเปลือกที่หุ้มลำตัวเป็นสารไคติน (Chitin) และรยางค์ที่ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ ๆ นั้น ก็จะมีลักษณะเป็นข้อปล้องติดต่อกัน อีกทั้งยังมีการลอกคราบด้วย ซึ่งสัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ กุ้ง ปู แมลง เป็นต้น (ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ)

37.       นักวิทยาศาสตร์ผู้เสนอให้มีการตั้งชื่อแบบ Binomial Nomenclature คือ

(1) Aristotle       (2) Pasteur         (3) Linnaeus      (4) Miller

ตอบ 3 หน้า 92 Carolus Linnaeus เป็นผู้เสนอให้มีระบบการตั้งชื่อสกุลและชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิต ตามแบบ Binomial Nomenclature ซึ่งเรียกร่า ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) โดย กำหนดว่าสิ่งมีชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันมากก็ให้ใช้ชื่อเดียวกัน และต้องมีชื่อชนิด ของสิ่งมีชีวิตกำกับไว้ด้วย จึงทำให้ชื่อของสิ่งมีชีวิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อสกุล และชื่อชนิด

38.       โรคชนิดใดที่เกิดจากบักเตรี

(1) ปอดบวม    (2) บาดทะยัก (3) กาฬโรค     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 95 – 96 โรคภัยของมนุษย์ที่เกิดจากบักเตรี (แบคทีเรีย) มีดังนี้

1.         โรคปอดบวม ซึ่งเกิดจากบักเตรีที่มีรูปร่างกลมชนิด Diplococcus pneumoniae

2.         โรคกาฬโรค    3. โรคบาดทะยัก         4. โรคไอกรน    5. โรคเรื้อน ฯลฯ

39. Penicillium sp. จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกใด

(1) แบคทีเรีย (2) ฟังไจ        (3) ไสเคน       (4) สาหร่าย

ตอบ 2 หน้า 7102 – 103, (คำบรรยาย)       ฟังไจ (Fungi) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกโปรตสต์ที่อาจจะมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์อยู่รวมกันเป็นเส้นใยเรียกว่า ไฮฟา (hypha) ภายในเซลล์จะมี นิวเคลียส แต่จะไม่มีสารคลอโรฟิลล์ปรากฏอยู่ จึงไม่สามารถสร้างอาหารโดยวิธีสังเคราะห์แสงได้ ต้องใช้อาหารจากแหล่งอื่น และมีการดำรงชีวิตทั้งแบบที่หากินอย่างอิสระและแบบเป็นปรสิต ที่อาศัอยู่ได้ทั่วไป โดยฟังไจที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ก็ได้แก Penicillium sp., Yeast (ยีสต์) เป็นต้น

40.       อะมีบา (Amoeba sp.) จัลเป็นสิ่งมีชีวิตพวกใด

(1) พยาธิ         (2) เปรโตซัว    (3) ไลเคน        (4) ฟังไจ

ตอบ 2 หน้า 106 อะมีบา (Amoeba sp.) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกโปรโตซัวที่มีการเคลื่อนที่แบบ Amoeboid Movement ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แบบใช้กิ่งหรือขาเทียมอันเกิดจากการไหล ของโปรโตพลาสต์ออกไปในทิศทางที่ต้องการ

41.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของฟังไจ

(1) อยู่ร่วมกันเป็นเส้นใย 

(2) เชลล์ไม่มีนิวเคลียส 

(3) ไม่มีสารคลอโรฟิลล์ 

(4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

42.       สัตว์และพืซที่มีแหล่งอาศัยหรือเกาะยึดอยู่บริเวณดินใต้ท้องนา เรียกว่า

(1) แพลงก์ตอนพืช      

(2) เนคตอน     

(3) แพลงก์ตอนสัตว์    

(4) เบนธอส

ตอบ 4 หน้า 80, (คำบรรยาย) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในนํ้า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.         แพลงก์ตอน (Plankton) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งพืชและสัตว์ มีขนาดเล็ก อาศัยและหากิน อยู่ในบริเวณใกล้ผิวหน้านํ้า ไม่สามารถว่ายนํ้าได้ เช่น สาหร่าย สวะ ผักตบ ไรนํ้าตาล ฯลฯ

2.         เนคตอน (Nekton) เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยูในเนื้อนํ้าตํ่าลึกลงไปกว่าผิวนา และสามารถ ว่ายนํ้าได้เองโดยอิสระ เช่น ปลาวาฬ ปลาโลมา ปลาฉลาม ฯลฯ

3.         เบนธอส (Benthos) เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม โดยการเกาะยึดกับวัตถุที่อยู่ในเนื้อนํ้าหรืออยู่บริเวณดินใต้ท้องนํ้า เช่น กุ้ง หอย ปู ฯลฯ

43.       สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของโลก ประกอบด้วยอะไร

(1) Hydrosphere        (2) Atmosphere         (3) Lithosphere (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 85, (คำบรรยาย) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของโลกที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ชีวมณฑล” (Biosphere) โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.         Hydrosphere คือ สภาพแวดล้อมส่วนที่เป็นน้ำ เช่น นํ้าตามแหล่งต่าง ๆ และน้ำใต้ดิน

2.         Lithosphere คือ สภาพแวดล้อมส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น ดิน หิน และสินแร่ต่าง ๆ

3.         Atmosphere คือ สภาพแวดล้อมส่วนที่เป็นลม ฟ้า อากาศ

44.       สิ่งแวดล้อมทางกายภาพหมายถึงอะไร

(1) น้ำจืด         (2) นํ้าเค็ม        (3) แสงสว่าง   (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 79 สิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น ดิน หิน น้ำ อากาศ แสงสว่าง อุณหภูมิ ก๊าช ฯลฯ

2.         สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ แบคทีเรีย จุลินทรีย์ ฯลฯ

45.       ทำไมบริเวณปากแม่นํ้าจึงมีระดับความเค็มของน้ำไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดมากที่สุด

(1)       ปริมาณน้ำจืดจากต้นนํ้า         (2) กิจกรรมจากชุมชนริมแม่น้ำ

(3) คลองซอยลงสู่ทะเลมิน้อย (4) ผิดทุกข้อ

ตรบ 1 (คำบรรยาย) การที่บริเวณปากแม่น้ำมีระดับความเค็มของนํ้าไม่คงที่นั้น ก็เป็นเพราะว่า ปริมาณน้ำจืดจากต้นนาที่ไหลมาสมทบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำให้สัตว์นํ้า ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพนํ้าตามไปด้วย

46.       บริเวณไหล่ทวีป คือบริเวณใด           

(1) บริเวณลาดลงจากชายฝั่งทีละน้อย (2) บริเวณที่มีความชันอย่างรวดเร็วไปถึงระดับมหาสมุทร

(3) บริเวณที่ราบก้นมหาสมุทร (4) ลักษณะเป็นแอ่งลึกของก้นมหาสมุทร

ตอบ 1 หน้า 79, (คำบรรยาย) ไหล่ทวีป (Continental Shelf) เป็นแหล่งอาศัยน้ำเค็มที่มีรูปร่าง คล้ายอ่างหรือกระทะที่ลาดลงจากชายผั่งทีละน้อย ๆ และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อย่างอุดมสมบูรณ์มาก จึงนับว่าเป็นแหล่งอาศัยน้ำเค็มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจด้าน การประมง เช่น บริเวณอ่าวไทย เป็นต้น

47.       สิ่งมีชีวิตชนิดใดจัดเป็นเนคตอน (Nekton)

(1) หอยเม่น     (2) แพลงก์ตอนพืช      (3) ปลาโลมา   (4) ไรนํ้าตาล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

48.       ข้อใดบอกถึงข้อแตกต่างของน้ำจืดและนํ้าเค็มไม่ถูกต้อง

(1)       ปริมาณของเกลือในนํ้าจืดมีน้อยกว่านํ้าเค็ม

(2)       น้ำเค็มมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศได้ง่ายกว่านํ้าจืด

(3)       น้ำจืดมักมีกระแสนํ้าเชี่ยว

(4)       อุณหภูมิของน้ำจืดมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศตลอดเวลา

ตอบ 2 หน้า 81 – 82 ข้อแตกต่างของนํ้าจืดและนํ้าเค็ม มีดังนี้

1.         ปริมาณของเกลือในนํ้าจืดมีน้อยกว่าน้ำเค็ม    2. นํ้าจืดมักมีกระแสนํ้าเชี่ยวกว่านํ้าเค็ม

3.         น้ำจืดมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศได้ง่ายกว่านํ้าเค็ม โดยอุณหภูมิของนํ้าจืดจะมี การเปลี่ยนแปลงตามภาวะอากาศตลอดเวลา

49.       เขตภูมิประเทศแบบใดมักมีปริมาณนํ้าฝนโดยเฉลี่ยตลอดปี 80 – 90 นิ้ว

(1) เป็นบริเวณที่มีความชื้นสูง เขตป่าดงดิบ    (2) เขตป่าผลัดใบ

(3) เขตทุ่งหญ้า            (4) เขตป่าสน

ตอบ1 หน้า 82 – 83, (คำบรรยาย) เขตป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าร้อนชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน (Tropicr Rain Forest) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรของโลก มีความชื้นสูง มีปริมาณนํ้าฝนมากที่สุด โดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 80 – 90 นิ้ว มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก และเป็นบริเวณที่มี สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ซึ่งเขตภูมิประเทศแบบนี้จะพบมากในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกากลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

50.       ข้อใดบอกถึงสภาพภูมิอากาศหรือการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในเขตทุนดราไม่ถูกต้อง

(1) ในฤดูร้อนจะได้รับแสงอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง (2) ฤดูหนาวจะมืดสนิทตลอด 24 ชั่วโมง (3) พืชที่อยู่ในบริเวณนี้มักเป็นพืชชั้นตํ่า   (4) เขตทุนดราจะมีสัตว์ชุกชุม

ตอบ 4 หน้า 84, (คำบรรยาย) เขตขั้วโลกเหนือหรือเขตทุนดรา (Tundra) เป็นบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศ หนาวเย็นจัดตลอดปีเนื่องจากมีหิมะปกคลุมอย่างหนาแน่น และในฤดูร้อนจะได้รับแสงอาทิตย์ ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ในฤดูหนาวก็จะมืดสนิทตลอด 24 ชั่วโมงเช่นกัน จึงทำให้มีสัตว์อาศัยอยู่ ไมชุกชุม และพืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนี้ก็มักเป็นพืชขั้นตํ่า โดยเฉพาะพวกไลเคนและมอสส์

51.       Diplococcus pneumoniae เป็นชื่อที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม มีเซลล์รูปร่างแบบใด

(1) รูปร่างกลม 

(2) รูปร่างเหมีอนแส้    

(3) รูปทรงกระบอก      

(4) แท่งโค้งยาว

ตอม 1 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

52.       Red Tide คือปรากฏการณ์นํ้าทะเลเปลี่ยนสี เกิดจากแอลจีชนิดใด

(1)       Golden Algae 

(2) Dinoflagellate      

(3) Diatom         

(4) Brown Algae

ตอบ 2 หน้า 100 Dinoflagellate เป็นแอลจี (Algae) ที่ภายในเชลล์มีสารสีส้มแดงปนอยู่ อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและนํ้าเค็ม โดยบางชนิดสามารถแบ่งเชลล์ได้อย่างรวดเร็วและปล่อยสารพิษ จากตัวออกสู่น้ำ ทำให้นํ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงและมีพิษ อันเป็นอันตรายต่อสัตว์นํ้าอื่น ๆ อย่างยิ่ง ซึ่งปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า Red Tide

53.       โปรโตชัวซึ่งทำหน้าที่ย่อยไม้ที่ปลวกกิน คือชนิดใด    

(1) Trypanosoma sp.   (2)Trichonympha sp.      

(3) Plasmodium sp.  (4) Sarcodina sp.

ตอบ 2 หน้า 106 Trichonympha sp. เป็นโบปรโตชัวที่อาศัยอยู่ในกระเพาะและลำไส้ของปลวกโดยทำหน้าที่ย่อยไม้ที่ปลวกกินเข้าไป ซึ่งการอยู่ร่วมกันของโปรโตชัวกับปลวกนี้จัดเป็น การอยู่ร่วมกันแบบต่างฝายให้ประโยชน์แกกัน

54.       ข้อใดคือลักษณะของไดอะตอม         

(1) ผนังเชลล์มีลักษณะเป็นฝาตลับสวมประกบกัน

(2)       ผนังเชลล์ประกอบด้วยสารซิลิกา        (3) เป็นกลุ่มในแอลจีสีทอง      (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 100 ไดอะตอม (Diatom) เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มแอลจีสีทองที่เปลือกหรือผนังเซลล์ ประกอบด้วยสารซิลิกา โดยจะมีลักษณะเป็นฝาตลับสวมประกบกัน และมีลวดลายสวยงาม ซึ่งสามารถที่จะพบได้ทั้งในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม

55.       ประชากร” (Population) นั้นหมายถึง

(1) สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันในสังคมหนึ่ง (2)จำนวนของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสังคม

(3) กลุ่มของสิ่งมีชีวิตซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม    (4) มนุษย์เท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 5-671, (คำบรรยาย) ประชากร (Population) ทางชีววิทยา หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกันในสังคมหนึ่ง ๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่อยู่ในแหล่งเดียวกัน และในช่วงเวลาที่กำหนด

56.       วัฎจักรฃองธาตุคาร์บอน หมายถึงการหมุนเวียนของ๊าซชนิดใดมากที่สุด   

(1) ก๊าชมีเทน     (2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  (3) ก๊าชออกซิเจน        (4) ก๊าชไฮโดรเจนซัลไฟด์

ตอบ2  หน้า 7389    วัฎจักรของธาตุคาร์บอน เป็นการหมุนเวียนของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในอากาศและละลายปนอยู่ในน้ำ โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้นับว่าเป็นแหล่งของ ธาตุคาร์บอนที่สำคัญของพืชที่จะนำไปช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อแปรสภาพเป็นอาหาร และจะกลับคืนสู่อากาศอีกครั้งหนึ่งในฐานะเป็นผลของการหายใจ นอกจากนั้นก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยการเผาไหม้ของอินทรียสารต่าง ๆ เช่น ไม้ นํ้ามัน เป็นต้น

57.       วัฎจักรไนโตรเจน มีแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนแปลงสารประกอบไนเตรทให้สลายตัวเป็นก๊าซไนโตรเจนคือแบคทีเรียชนิดใด        

(1) Nitrifying bacteria      (2)Nitrogen fixing bacteria

(3) Denitrifying bacteria   (4) ผิดทุกซ้อ

ตอบ 3 หน้า 7489 วัฏจักรไนโตรเจน เป็นการหมุนเวียนของก๊าชไนโตรเจนในอากาศ โดยอาศัยการทำงานของแบคทีเรียอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ 1. Decomposing bacteria มีหน้าที่ทำให้เกิดการเน่าเปื่อย

2.         Nitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าชแอมโมเนียให้เป็นสารไนเตรท

3.         Denitrifying bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนแบลงสารประกอบไนเตรทให้สลายตัว เป็นก๊าซไนโตรเจนกลับคืนสู่อากาศ

4.         Nitrogen fixing bacteria มีหน้าที่เปลี่ยนก๊าชไนโตรเจในอากาศให้เป็นสารไนเตรท

58.       Neutralism จัดเป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตแบบใด

(1) แก่งแย่ง    (2) อยู่แบบฝ่ายหนึ่งทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง         

(3) ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเบรียบ  (4)ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าหากขาดอีกฝ่ายหนึ่ง

ตอบ 3 หน้า 76, (คำบรรยาย) Neutralism (0/0) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในเฉพาะพื้นที่ แต่ไมมีความเกี่ยวข้องต่อกันและกัน ไม่พึ่งพาอาศัยกัน ต่างคนต่างอยู่ และไมมีฝ่ายใด ได้เปรียบหรือเสียเปรียบแกกันเลย ดังสำนวนที่ว่า บ้านใครใครอยู่ อู่ใครใครนอน

59.       พยาธิใบไม้ที่อยู่ในตับคน ถือว่าเป็นการอยู่แบบใด

() Neutralism    (2) Commensalism

(3) Predation    (4) Parasitism

ตอบ 4 หน้า 77 Parasitism (+/-) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตแบบที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ (ซึ่งมีขนาดเล็ก) แต่อีกฝายหนึ่งเสียประโยชน์ (ซึ่งมีขนาดใหญ่และไม่สามารถทำลายลี่งที่ มีขนาดเล็กได้) เช่น พยาธิใบไม้ในตับคน เชื้อโรคกับคน พยาธิในลำไส้ กาฝากกับต้นไม้ เชื้อไวรัสในสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น

60.       องค์ประกอบหลักของน้ำจืดคือธาตุใด

(1) ฟอสฟอรัส  (2)ไบคาร์บอเนต          (3)ซัลเฟต        (4)คลอไรด์

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของนํ้าจืด คือ ไบคาร์บอเนต

ส่วนธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของนํ้าเค็ม ก็คือ คลอไรค์ 

61.       ความหลากหลายทางชีวภาพ” หมายถึงการปรากฏชนิดต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่บริเวณหนึ่ง ดังนั้น จึงพบได้ใน

(1) Society 

(2)Population   

(3)Community  

(4)Species

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

62.       สถานะของสารชนิดใดที่มีการแพร่กระจายต่ำสุด

(1) ของเหลว    

(2)ของแข็ง      

(3)สารแขวนลอย         

(4)ก๊าช

ตอบ 2 หน้า 32 อัตราเร็วของการแพร่กระจายมีมากน้อยแตกต่างกันตามสถานะของสาร กล่าวคือ สารที่มีสถานะเป็นก๊าซจะมีอัตราเร็วของการแพร่กระจายสูงสุด สารที่มีสถานะเป็นของเหลว จะมีอัตราเร็วรองลงมา และสารที่มีสถานะเป็นของแข็งจะมีอัตราเร็วตํ่าสุด

63.       ข้อใดจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กมาก

(1) นํ้าตาลกาแลคโตส (2)นํ้าตาลมอลโตส      (3)เด็กซทริน    (4)ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 37 – 39, (คำบรรยาย) สารประกอบคาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.         Monosaccharide หรือ Simple Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กมาก หรือที่เรียกวานํ้าตาลเชิงเดี่ยว ได้แก่ นํ้าตาลกลูโคส นํ้าตาลฟรุคโตส นํ้าตาลกาแลคโตส เป็นต้น

2.         Disaccharide หรือ Double Sugar เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลคู่ หรือที่เรียกว่า นํ้าตาลเชิงประกอบ ได้แก่ นํ้าตาลทราย นํ้าตาลมอลโตส นํ้าตาลแลคโตส เป็นต้น

3.         Polysaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลใหญ่มาก ได้แก่ แป้งไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลส (เช่น เด็กซทริน) ไคติน เป็นต้น

64.       ข้อใดจัดเป็น Disaccharide หรือ Double Sugar

(1)       นํ้าตาลกลูโคส (2)นํ้าตาลฟรุคโตส      (3) เซลลูโลส   (4)       น้ำตาลทราย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65.       ไขมัน 1 กรัม เมื่อเผาไหม้โดยสมบูรณ์ให้พลังงานความร้อนกี่กิโลแคลอรี

(1)       4.0       (2)       5.3       (3) 7.2 (4)       9.1

ตอบ 4 หน้า 39, (คำบรรยาย) ไลบิดหรือไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากที่สุดในปริมาณนํ้าหนักที่เท่ากันของสาร โดยไขมันจะให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรต กล่าวคือ ไขมัน 1 กรัม เมื่อเผาไหมโดยสมบูรณ์แล้วจะให้พลังงานความร้อน 9.1 กิโลแคลอรี ในขณะที่คารโบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานความร้อนเพียง 4.1 กิโลแคลอรีเท่านั้น

66.       Desoxyribose Nucleic Acid มีหน้าที่อะไร

(1) สร้างโปรตีน           (2) สร้างนํ้าย่อยหรือเอนไซม์

(3)       ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลาน

(4)       ส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโต

ตอบ 3 หน้า 43, (คำบรรยาย) DNA (Desoxyribose Nucleic Acid) หรือ Gene เป็นสารพันธุกรรม ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด หรือแต่ละหน่วยให้เป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของตน และสามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนั้น จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานได้ ซึ่งเหมือนกับ การหว่านหรือปลูกเมล็ดพืชชนิดใด ย่อมได้ผล เป็นพืชชนิดนั้น”  2. ควบคุมกิจกรรมทุกประเภทที่เกิดขึ้นภายในเชลล์

ข้อ 67. – 70. ให้ตอบคำถามจากตัวเลือกต่อไปนี้

(1) วิตามิน A  (2) วิตามิน D (3) วิตามิน E  (4) วิตามิน K

67.       วิตามินในข้อใดช่วยป้องกันการเป็นหมัน

ตอบ 3 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันการเป็นหมัน และช่วยทำให้ ตัวอ่อนเกาะติดผนังมดลูกได้เหนียวแน่นขึ้น ไม่ให้แท้งง่าย นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่ เกี่ยวกับการยืดอายุเชลล์ สร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง และเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ของอวัยวะผลิตเชลล์เชื้อเพศ

68.       วิตามินในข้อใดช่วยควบคุมการดูดซึมของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย

ตอบ 2 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมการดูดซึมของธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกายสำหรับสร้างเนื้อเยื่อกระดูก ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้จะทำให้กระดูก อ่อนโค้งงอ กระดูกพรุน ฟันผุ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยและชักกระตุก แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไป จะทำให้กระดูกแกร่งและหักง่าย

69.       ถ้าขาดวิตามินในข้อใดจะทำให้โลหิตแข็งตัวช้า

ตอบ 4 หน้า 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ของเลือด (โลหิต) ก็คือ ทำให้นํ้าเลือดข้นเหนียวจนเกิดการไหลของเลือดช้าลง และทำให้เลือด แข็งตัวปิดปากแผลเพี่อป้องกันเลือดไหลออกมาภายนอกร่างกาย ซึ่งถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้ จะทำให้เลือดแข็งตัวช้า เสียเลือดมาก หรือเลือดไหลหยุดช้าเมื่อเกิดบาดแผล

70.       วิตามินในข้อใด ถ้าได้รับไมเพียงพอจะเกิดอาการตามัว มองไม่เห็นในที่แสงสลัว

ตอบ 1 หน้า 45 – 46, (คำบรรยาย) วิตามิน เป็นวิตามินที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับ สุขภาพของดวงตา และคุณภาพของการมองเห็น ซึ่งถ้าร่างกายได้รับวิตามินนี้ไม่เพียงพอ จะทำให้ตามัวและมองไม่เห็นในที่แสงสลัว (Night Blindness)

71.       ออร์แกเนลล์ข้อใด ได้ชื่อว่าเป็นโรงผลิตไฟพ้าของเชลล์

ตอบ2  หน้า 52, (คำบรรยาย) ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นออร์แกเนลล์ที่ได้ชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าของเชลล์” หรือเป็น แหล่งผลิตพลังงานให้แก่เซลล์” (House of Power of the Cell) โดยจะทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตเอนไซม์ (โปรตีนที่มีสถานะเป็นของเหลว) เพื่อสร้าง พลังงานให้แก่เชลล์ โดยเฉพาะเชลล์ที่มีกระบวนการทำงานสูง เช่น เชลล์ของตับ ไต และประสาท

72.       ออร์แกเนลล์ข้อใด ที่มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง

ตอบ 4 หน้า 53, (คำบรรยาย) พลาสตีด (Plastids) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นเม็ดสาร และภายในมีสารที่ทำให้เกิดสีบรรจุอยู่ โดยเม็ดสารสีเขียวที่บรรจุอยู่ในคลอโรพลาสติด หรือคลอโรพลาสล์นั้นจะเรียกว่า คลอโรพีลล์” (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการสงเคราะห์แสงของพืช

73.       นํ้ามันหอมระเหยจะพบอยู่ในออร์แกเนลล์ข้อใด

ตอบ.2 หน้า 53, (คำบรรยาย) แวคิวโอล (Vacuoles) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเนื้อใสกว่าส่วนอื่น ๆในไซโตพลาสม์ และมีเยื่อบาง ๆ ชั้นเดียวห่อหุ้มอยู่ โดยจะมีลักษณะเป็นถุงสำหรับเก็บสะสมสาร ที่เกิดขึ้นจากการสร้างของเซลล์ เช่น สารที่เป็นรสต่าง ๆ สารอาหาร สารสี สารน้ำมันหอมระเหย และของเสียต่าง ๆ

74.       พืชชนิดใดจัดอยู่ใน Division Bryophyta

(1) หวายทะนอย         (2) หญ้าถอดปล้อง     (3) มอสล์         (4) เฟิร์น

ตอบ หน้า 108 – 110, (คำบรรยาย) กลุ่มพืชไมมีท่อลำเลียง (Division Bryophyta) เป็นพืชที่ มีขนาดเล็ก แต่ยังไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและอาหาร รวมทั้งไมมีราก ลำด้น และใบที่แท้จริง และมักจะขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูงและอากาศเย็น จึงนับว่าเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการล้าหลังที่สุด ซึ่งพืชในกลุ่มนี้ ได้แก มอสส์ (Moss) และลีเวอร์เวิร์ต (Liverwort)

75.       Dioecious Plant หมายถึงอะไร

(1) มีดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน  (2) มีดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน

(3)       มีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน   (4) มีดอกครบสองเพศในต้นเดียวกัน

ตอบ 3 หน้า 127172 การปรากฏเพศในสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.         Dioecious คือ สัตว์หรือพืชที่มีเพศแยกกันเป็นเพศผู้กับเพศเมีย หรือปรากฏการมีเพศ เพียงอย่างเดียวในตัวหรือในต้น

2.         Monoecious คือ สัตว์หรือพืชที่มีการปรากฏเพศครบทั้ง 2 เพศในตัวหรือในต้นเดียวกัน

76.       Pollination หมายถึงอะไร

(1) การถ่ายละอองเกสร (2) การติดเมล็ด       (3) การปฏิสนธิ           (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 127 การถ่ายละอองเกสร (Pollination) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเกสรตัวผู้ปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย ถ้าเกิดในดอกเดียวกันเรียกว่า Self-Pollination หรือ Close-Pollination แต่ถ้าเกิดต่างดอกกันเรียกว่า Cross Pollination โดยการถ่ายละอองเกสรนี้จะส่งผลทำให้ เกิดการผสมเกสร (Fertilization) ขึ้นในที่สุด

77.       พืชชนิดใดจัดเป็นพวก Xerophyte

(1) ผักตบชวา  (2) ทุเรียน        (3) กุหลาบหิน (4) มะขาม

ตอบ 3 หน้า 122 พืชแบ่งตามลักษณะของแหล่งกำเนิดและที่อยู่อาศัยได้เป็น 5 ประเภท คือ

1. Epiphyte หมายถึง พืชที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแต่ไม่ได้เบียดเบียนต้นไม้นั้น เช่น กล้วยไม้ และเฟิร์นบางชนิด     2. Parasite หมายถึง พืซที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้อื่นแล้วเบียดเบียนต้นไม้นั้นเช่น กาฝาก ฝอยทอง ขนุนดิน ฤๅษี เป็นต้น 3. Xerophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่ แห้งแล้งและมีนํ้าน้อย เช่น กุหลาบหิน กระบองเพชร เสมา โบตั๋น เป็นต้น 4. Mesophyte หมายถึง พืชที่เกิดอยู่ในที่ที่มีนํ้าพอสมควร เช่น มะม่วง มะขาม ทุเรียน มังคุด เป็นต้น

5.         Hydrophyte หมายถึง พืซที่อาศัยอยู่ในนํ้า เช่น บัว ผักบุ้ง ผักตบชวา ผักกระเฉด เป็นต้น

78.       พืชชนิดใดจัดเป็นพวก Mesophyte

(1) กระบองเพชร         (2) มะม่วง       (3) บัว  (4) เสมา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79.       พืชชนิดใดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นวงรอบข้อ

(1) หวายทะนอย         (2)       หญ้าถอดปล้อง           (3) มอสส์         (4)       เฟิร์น

ตอบ 2 หน้า 113 พืชในดิวิชันย่อยสฟีนอพซิดา (Subdivision Sphenopsiaa) เป็นพืชที่มีลักษณะ คล้ายต้นหญ้า มีข้อและปล้องชัดเจน ผิวลำต้นหยาบเป็นร่องยาวคล้ายลูกฟูก และใบมีลักษณะ เป็นแผ่นเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นวงรอบข้อ ได้แก่ หญ้าถอดปล้องหรือสนหางม้า (Horsetail)

80.       พืชชนิดใดที่ใบอ่อนจะม้วนงอขดคล้ายลานนาฬิกา

(1) เฟิร์น          (2)       มอสส์  (3)       หญ้าถอดปล้อง           (4) หวายทะนอย

ตอบ 1 หน้า 113 เฟิร์น จัดเป็นพืชในคลาสฟิลิชินี (Class Filicinae) ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ

1. อาศัยน้ำเป็นสื่อในการนำสเปิร์มว่ายเข้าไปผสมกับไข่

2. มีอับสปอร์รวมอยู่เป็นกลุ่มจำนวนมากติดอยู่ใต้ใบ

3. เป็นพืชที่ยังไมมีเมล็ด

4. ช่วงชีวิตระยะ Gametophyteเป็นช่วงชีวิตอิสระที่มีอายุไม่นานนัก

5. ใบอ่อนจะม้วนงอขดคล้ายลานนาฬิกา

81.       พืชชนิดใดมีเมล็ดแต่ไม่มีผนังห่อหุ้ม

(1) ปรง            

(2)       เฟิร์นก้านดำ    

(3)       จอกหูหนู          

(4)       สามร้อยยอด

ตอบ 1 หน้า 111115 – 116, (คำบรรยาย) พืชมีเมล็ดใน Division Tracheophyta นั้น แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 1. พืชมีเมล็ดแต่ไม่มีผนังห่อหุ้ม หรืลพืชไม่มีดอก (Class Gymnosperraae) ได้แก่ ปรง สนแท้ แปะก๊วย และเครือมะเมื่อย        2. พืชมีเมล็ดและเมล็ดมีผนังห่อทุ้ม หรือพืชดอก (Class Angiospermae) ได้แก่ ข้าว กุหลาบ พริก มะเขือ ฯลฯ ซึ่งพืชใน Class นี้ นับว่าเป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงสุด และมีจำนวนมากที่สุดในยุคปัจจุบัน

82.       พืชใน Class ใด มีวิวัฒนาการสูงสุด

(1) คลาสแองจิโอสเปอร์มี (Class Angiospermae) (2) คลาสพิลิซินี (Class Filicinae)

(3)       คลาสเฮพาทิชี (Class Hepaticae)      (4) คลาสจิมโนสเปอร์มี (Class Gymnospermae)

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

83.       พืชชนิดใดมีลำต้นแบบ Prostrate

(1) ผักกระเฉด (2) ผักแว่น       (3) บัวบก        (4) พลู

ตอบ 1 หน้า 120 พืชที่มีลำต้นอยู่เหนือดินสามารถแบ่งตามลักษณะที่ปรากฏได้เป็น 4 ชนิด คือ

1.         ชนิดที่ทอดแตะพื้นเป็นระยะ ๆ (Stolon) เช่น บัวบก ผักแว่น ผักตบชวา จอก

2.         ชนิดที่ทอดราบไปตามพื้น (Prostrate) เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด    3. ชนิดที่เกาะเกี่ยว ป่ายปีนหรือเลื้อยพัน (Climber หรือ Twinning) เช่น ตำลึง พลู พวงชมพู เถาวัลย

4.         ชนิดที่มีลำต้นตั้งตรง (Erect) เช่น สนทะเล ก้ามปู ราชพฤกษ์ มะพร้าว ตาล มะละกอ

84.       พืชชนิดใดมีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี (ไม้ข้ามปี)

(1) อ้อย           (2) ดาวเรือง     (3) หอม           (4) มันสำปะหลัง

ตอบ 3 หน้า 121 พืชสามารถแบ่งตามลักษณะของการมีอายุได้เป็น 4 ชนิด คือ

1.         ชนิดที่มีช่วงอายุสั้นมาก และปีหนึ่งอาจเกิดได้หลายรุ่น (Ephemeral) เช่น ดาวเรือง บานชื่น แพงพวยฝรั่ง

2.         ชนิดที่มีวงจรชีวิตในเวลา 1 ปี (Annual) เช่น อ้อย มันลำปะหลัง

3.         ชนิดที่มีวงจรชีวิตในเวลา 2 ปี (Biennial) เช่น หอม กระเทียม ว่านต่าง ๆ

4.         ชนิดทีมีอายุนานกว่า 2 ปี (Perennial) เช่น มะม่วง ทุเรียน

85.       พืชชนิดใดมีรากสังเคราะห์แสง

(1)       มันสำปะหลัง  (2) กล้วยไม้     (3) ลิ้นจี่           (4) โกงกาง

ตอบ2 หนา 117 รากของพืชทุกชนิดมักจะเป็นทรงกระบอก โคนใหญ่ปลายเรียวเล็กลงทีละน้อย ไม่มีข้อ ปล้อง ตา หรือใบ และไม่มีสีเขียว ยกเว้นรากสังเคราะห์แสง (Photosynthetic Root) เช่น รากกล้วยไม้ เป็นต้น

86.       ข้อใดจัดเป็นการตอบสนองต่อสิงเร้าของสิ่งมีชีวิต     

(1) การมองเห็นของนก   (2)    การได้ยินเสียงเรียกของสุนัข  

(3) การเคลื่อนที่เข้าหาแสงของแมลง  (4) การแลบลิ้นของงูเขียว

ตอบ 3 หน้า 195, (คำบรรยาย) การตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Responsiveness) หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้น เพื่อให้มีการปรับตัวหรือต่อต้านต่อสิ่งที่มา กระตุ้นนั้น เช่น การเคลื่อนที่เข้าหาแสงของแมลงดอกไม้บานในยามเช้าเมื่อได้รับแสงแดดใบพืชเหี่ยวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นการจ้องมองภาพหรือวัตถุการมีความรู้สึกเจ็บปวดและหดมือ ถอยหนีเมื่อโดนน้ำร้อนลวก ถูกของแหลมทิ่มแทงหรือถูกไฟจี้การที่ต้นไม้เอนเข้าหาแสงสว่างการเหลียวไปมองเมื่อได้ยินเสียง เป็นต้น

87.       งูจงอางมองวัตถุที่เคลื่อนที่แล้วเลื้อยตาม งูชนิดนี้มีหน่วยรับความรู้สึกที่เรียกว่า

(1) Thermoreceptor (2) Pressoreceptor (3) Photoreceptor (4) Phonoreceptor

ตอบ 3 หน้า 196, (คำบรรยาย) ในกระบวนการรับความรู้สึก (Reception) นั้น จะมีอวัยวะ รับความรู้สึกโดยเฉพาะ ได้แก่

1.         Thermoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกร้อนหรือเย็น ได้แก่ ผิวหนัง

2.         Photoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสว่าง ได้แก่ ตา เช่น กรณีงูจงอางมองเห็นวัตถุที่เคลื่อนที่แล้วเลื้อยตาม

3.         Pressoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกสัมผัสและความเจ็บปวด ได้แก่ ผิวหนัง

4.         Chemoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับรสและกลิ่น ได้แก่ ลิ้น จมูก และหนวดแมลงบางชนิด

5.         Phonoreceptor เป็นอวัยวะที่รับความรู้สึกด้านเสียง ได้แก่ หู

88.       ฮอร์โมนออกชิน (Auxin) ในพืช ตอบสนองต่อแสงแดด ทำให้พืชเปลี่ยนแปลงอย่างไร

(1) การเจริญของลำต้นพืชในทางสูงขึ้น          (2) การขยายของเซลล์ต้นพืชในทางด้านข้าง

(3)       การเบนเข้าหาแสงของยอดพืช            (4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 หน้า 199 ออกซิน (Auxin) เป็นฮอร์โมนพืชที่ช่วยส่งเสริมและควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งฮอร์โมนนี้พืชจะสร้างจากปลายยอดแล้วลำเลียงลงสู่รากในลักษณะที่หนีแสงสว่าง ทำให้พืช เกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีพฤติกรรมการตอบสนองโดยการที่ยอดพืชจะโค้งหรือเบนเข้าหาแสง ส่วนรากพืชจะเบนหนีแสง

89.       การเจริญของรากไทรจากยอดต้นไม้อื่นลงสู่พื้นดินเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เรียกว่า

(1) Thermonastic (2) Geotropism      (3) Chemotropism (4) Hydrotropism

ตอบ 2 หน้า 200 Geotropism เป็นการเคลื่อนไหวตอบสนองภายนอกต้นพืชเนื่องจากการเจริญเติบโต โดยมีแรงดึงดูดของโลกเป็นลิ่งเร้า เช่น การเจริญของรากไทรจากยอดต้นไม้อื่นลงสู่พื้นดิน เป็นต้น

90.       การเคลื่อนที่หลบวัตถุอันตรายของคน กระบวนการตอบโต้นี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากการทำงานของส่วนใด

(1)เชลล์ประสาทส่งสัญญาณ (2) เส้นประสาท          (3) กล้ามเนื้อลาย        (4) สมอง

ตอบ 3 หน้า 197 – 198, (คำบรรยาย) กระบวนการตอบโต้ (Effect) เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบกล้ามเนื้อ เซลล์ประสาทสั่งการ (Mortor Neuron) และระบบต่อมสร้างฮอร์โมน โดยการที่ Mortor Neuron จะส่งกระแสคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางมากระตุ้นให้หน่วยตอบสนอง หรือกล้ามเนื้อในบริเวณใกล้กับแหล่งรับความรู้สึกทำงานด้วยการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเดินหลบวัตถุอันตรายของคน เป็นต้น

91.       การตอบสนองต่อสิ่งเร้าในพืชถูกแสดงออกมาในลักษณะใด

(1) การเคลื่อนไหว      

(2)การเคลื่อนที่     

(3) การตอบโต้        

(4) พืชไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น

ตอบ 1 หน้า 198 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าชองพืชนั้น จัดว่าเป็นพฤติกรรมของพืชซึ่งแสดงออกมาในรูปของการเคลื่อนไหว (Movement) โดยสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการตอบสนองในพืช มี 2 ประเภทคือ           

1. สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยอัตโนมัติ            

2. สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ แสงสว่าง แรงดึงดูดของโลกอุณหภูมิ นื้า ฯลฯ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะต่าง ๆ กัน

92.       การปรับตัวทางด้านรูปร่างของสิ่งมีชีวิตในลักษณะใดเอื้อประโยชน์ในการหาอาหาร

(1) การมีกระดองแข็งของปู     

(2) การมีสีคล้ายใบไม้ของผีเสื้อ

(3)       เม่นมีขนที่แข็งและแหลมคม    

(4) การมีนิ้วเท้ายาวของนกกระยาง

ตอบ 4 หน้า 228 – 230 การปรับตัวทางด้านรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ 1. เพื่อเอื้อประโยชน์ในการหาอาหาร เช่น นกกระยางมีนิ้วเท้ายาวเหมาะแกการทรงตัวเหยี่ยวมีนิ้วเท้าและกรงเล็บงองุ้มเหมาะแกการจับยึดเหยื่อ  ไกมีเล็บเท้าใหญ่และแข็งเหมาะแก่การคุ้ยเขี่ย เป็นต้น   2. เพื่อการป้องกันหรือหลบหลีกอันตรายจาทคัตรู เช่น การมีหูและขาหลังที่ยาวของกระต่ายการมีเปลือก กระดอง เกล็ด ขนแข็ง ของหอย ปู เต่า นิ่ม และเม่น, การมีสีคล้ายเปลือกไม้ของผีเสื้อกลางคืน เป็นต้น

93.       หลักฐานใดที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบด้านคัพภวิทยา (Embryology) ของวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต

(1) ตัวอ่อนของสัตว์ปีก และคน           (2) ลักษณะของปีกนก และครีบปลา

(3) ลักษณะที่แตกต่างกันของปากนก (4) ชิ้นส่วนของกระดูกที่หลงเหลือของงู และไส้ติ่งของคน

ตอบ 1 หน้า 222 – 223 หลักฐานทางคัพภวิทยา (Embryology) เป็นหลักฐานที่ใช้ในการศึกษา เปรียบเทียบลักษณะการเจริญของตัวอ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ โดยผลจาก การศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องนี้ ก็พบว่า ในตอนแรกนั้นลัตว์จะเจริญมาจากไซโกตชึ่งมีลักษณะ เป็นเซลล์ธรรมดา แล้วจึงเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะของแต่ละชนิดในภายหลัง เช่น ตัวอ่อนของสัตว์ปีก และคน เป็นต้น

94.       ข้อใดเป็นการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อการหลบหลีกศัตรูได้ชัดเจนที่สุด

(1)       การมีนิ้วเท้ายาวซองนกกระยาง         (2) การมีพฤติกรรมการย่องเดินของเสือดาว

(3) การมีสีคล้ายเปลือกไม้ชองผีเสื้อกลางคืน (4) การมีสีเขียวของงูเขียวหางไหม้

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

95.       ข้อใดเป็นหลักฐานเปรียบเทียบทางกายวิภาคที่จัดเป็น Analogous Organ

(1) ปีกค้างคาว และปีกนก  (2) แขนมนุษย์ และขาหน้ากบ   

(3) ครีบปลา และปีกนก          (4) ปีกแมลง และปีกนก

ตอบ.4 หน้า 222 – 223 หลักฐานทางกายวิภาค (Anatomy) เป็นหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะความคล้ายคลึงกันของโครงสร้างร่างกายของสัตว์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. Homologous Organ เป็นการศึกษาอวัยวะรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะกำเนิด โครงสร้าง และจุดกำเนิดในแบบเดียวกัน แม้ว่าต่อมาจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น ปีกค้างคาว ปีกนก แขนมนุษย์ ขาหน้ากบ ครีบปลา 2. Analogous Organ เป็นการศึกษาอวัยวะของสัตว์ที่มีลักษณะกำเนิดและจุดกำเนิดต่างกัน แม้ว่าต่อมาจะทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน เช่น ปีกนก และปีกแมลง        3. Vestigial Organ เป็นการศึกษาอวัยวะของสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตและทำประโยชน์ได้ดีในสัตว์ชนิดหนึ่งแต่กลับไร้ประโยชน์และเสื่อมสภาพในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เช่น กระดูกขาหลังของงู ไส้ติ่งในคน

96.       การผลัดใบในฤดูร้อนของพืชในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือของไทย เป็นการปรับตัวเพื่อ

(1) การสร้างช่อดอก    (2) การเพิ่มปริมาณแสงที่ส่องลงสู่พื้นดิน

(3)       ลดการคายนํ้า            (4) ผลิใบอ่อน

ตอบ.3 หน้า 230 – 231, (คำบรรยาย) การปรับตัวของพืชส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวทางด้านสรีระซึ่งขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ เช่น พืชในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือของไทย จะปรับตัวโดยการผลัดใบในฤดูร้อน เพื่อลดการคายนํ้า เป็นต้น

97.       เมื่อ 4-5 พันล้านปีมาแล้ว ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกช่วยให้อุณหภูมิผิวโลกเหมาะสมต่อการเกิด ของสิ่งมิชีวิต ชั้นบรรยากาศนั้นเกิดจากการรวมกันของสารเคมีหลายชนิด ยกเว้นสารใด

(1) ก๊าชแอมโมเนีย (NH3)     (2) ไอนํ้า (H20)

(3) ก๊าชมีเทน (CH4)  (4) ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (C02)

ตอบ 4 หน้า 15 – 16 โลกมีอายุประมาณ 4,500 – 5,000 ล้านปีมาแล้ว โดยระยะวิวัฒนาการทางเคมีของโลกนั้น เริ่มเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของโลกเย็นลง จนเอื้อให้อะตอมของธาตุเบา ๆ (เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอน) ซึ่งปกคลุมผิวโลกอยู่ เกิดการรวมตัวกัน เป็นสารประกอบทางเคมีขึ้น อันไต้แก่ ไอนํ้า (H20) ก๊าชแอมโมเนีย (NH3) และก๊าชมีเทน (CH4) ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้ได้รวมตัวกันเกิดเป็นชั้นบรรยากาศห่อหุ้มโลก และมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม ของโลกในยุคแรกเริ่มกำเนิดชีวิต

98.       สารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญที่เกิดจากการรวมกันของกรดอะมิโนคืออะไร

(1) โพลีแซกคาไรด์ (Polysaccharide) (2)นิวคลีโอ ไทด์ (Nucleotide)

(3) โปรตีน (Protein)       (4) ไขมัน (Fats)

ตอบ 3 หน้า 2040 โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดอะมิโน (Amino Acid) ซึ่งประกอบขึ้นด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน (เป็นธาตุหลักในโปรตีนที่ไมพบในไลปิดและคาร์โบไฮเดรต)

99.       Saprophytism และ Parasitism เป็นวิวัฒนาการของเซลล์ในสมัยแรกเริ่ม เป็นการปรับตัวให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมด้านใด

(1) ปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพอากาศที่รุนแรง (2) ปรับตัวในสภาพการขาดแคลนอาหาร

(3) ปรับตัวเพื่อหลีกเลี่ยงศัตรู  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 25 – 26 วิวัฒนาการของเซลล์ในสมัยแรกเริ่มนั้น เป็นการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพ การขาดแคลนอาหาร โดยวิธีการปรับตัวของเซลล์นี้มีอยู่ 5 แบบ ได้แก่ 1. Eating 2. Saprophytism 3. Parasitism 4. Chemosynthesis 5.Photosynthesis

100.    ปฏิกิริยาชีวเคมีที่ทำให้โลกได้รับออกซิเจน แล้วบรรยากาศของโลกเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต คือ

(1) การหายใจ (Respiration)    (2) การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis)

(3) การสังเคราะห์สารประกอบเคมี (Chemosynthesis) (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 26 – 2738, (คำบรรยาย), (ดูดำอธิบายข้อ 99. ประกอบ) การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เป็นวิธีการที่เซลล์พืชนำเอาพลังงานแสงมาใช้สร้างสารอาหารประเภท นํ้าตาลกลูโคส ด้วยปฏิกิริยาระหว่างก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์กับนํ้า และเกิดก๊าซออกซิเจน เป็นผลพลอยได้ ซึ่งจากปฏิกิริยาของกระบวนการนี้ จะช่วยทำให้ นบรรยากาศของโลกได้รับก๊าซออกซิเจนมากขึ้นจนเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต และยังช่วยลด ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันอีกด้วย

Advertisement