การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา ART 1003 ศิลปะวิจักษณ์

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         จิตรกรรมตามผนังถํ้าของอินเดียเก่าสุดอยู่ในสมัยใด

(1)       สมัยหินเก่า      

(2) สมัยหินกลาง         

(3) สมัยหินใหม่           

(4) สมัยโลหะ

ตอบ 2 หน้า 5875 จิตรกรรมตามผนังถํ้าของอินเดียที่เก่าที่สุดอยู่ในสมัยหินกลางโดยมีการพบหลักฐาน ที่ถํ้า The Great Billa Surgam Cave ใน Kurnool ซึ่งลักษณะของการเขียนภาพที่ปรากฏ ในถํ้าไม่ว่าจะเป็นรูปคน สัตว์ อาวุธ และเครื่องใช้ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาพเขียนในถ้ำของประเทศฝรั่งเศสตามแบบของพวกแมกดาเลเนียน

2.         จิตรกรรมในถํ้าที่หุบเขานามาดาเหมือนภาพเขียนที่ใด

(1)       เยอรมนี           

(2) ฝรั่งเศส      

(3) อังกฤษ      

(4) อิตาลี

ตอบ 2 หน้า 216, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 38) หุบเขานามาดา (Namada) ของประเทศอินเดีย เป็นแหล่งที่พบจิตรกรรมภาพเขียนฝาผนังในถํ้าสมัยก่อนประวัติศาสตร์มากที่สุด โดยรูปภาพ และเทคนิคการเขียนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาพเขียนในถํ้าที่พบในประเทศสเปนและฝรั่งเศส

3.         สถาบัตยกรรมที่สำคัญของศิลปะสมัยอมราวดี คือ

(1)       ศาสนสถานที่สลักลึกเข้าไปในภูเขา    

(2) สถูปสำหรับบรรจุพระบรมอิฐิของพระพุทธเจ้า

(3) ศาสนสถานที่สร้างขึ้นกลางแจ้ง    

(4) พระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมอัฐของพระพุทธเจ้า

ตอบ 2 หน้า 97 – 98 ศิลปะอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7 – 9) เจริญขึ้นทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย แถบลุ่มแม่นํ้ากฤษณาโดยเฉพาะที่เมืองอมราวดี นาคารชุนิโกณฑะ ชัคคัยยะเปฎะ และโคลิ ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์สัตตวาหนะ เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 6 โดยมีสถาปัตยกรรม ที่สำคัญที่สุด คือ สถูปสำหรับบรรจุพระบรมอิฐิธาตุของพระพุทธเจ้า

4.         ภาพเขียนในสมัยคุปตะ

(1)       เมื่อทำภาพสามมิติ ช่างนิยมทำภาพที่อยู่ใกล้ใหญ่และอยู่ไกลเล็กลง

(2)       เมื่อทำภาพสามมิติ ช่างนิยมทำเป็นภาพซ้อน ๆ กันขึ้นไป

(3)       เมื่อทำภาพสามมิติ ช่างนิยมทำภาพที่ต้องการเน้นให้ใหญ่เป็นพิเศษ

(4)       เมื่อทำภาพสามมิติ ช่างนิยมแบ่งภาพออกเป็นช่วง ๆ

ตอบ 2 หน้า 103 ภาพเขียนในสมัยคุปตะจะนิยมเขียนแบ่งเป็นช่วง ๆ และมีลวดลายประดับตกแต่ง ส่วนการทำภาพให้เป็นสามมิตินั้น ช่างคุปตะนิยมทำเป็นภาพซ้อน ๆ กันขึ้นไป โดยภาพบุคคลที่อยู่ไกลจะเขียนให้รูปเล็กลง จึงทำให้เกิดเป็นภาพสามมิติขึ้นมาได้

5.         ทิวเขาหิมาลัยอยู่ทางทิศใดของประเทศอินเดีย

(1)       ทิศตะวันออก   (2) ทิศตะวันตก           (3) ทิศเหนือ     (4) ทิศใต้

ตอบ 3 หน้า 81 ประเทศอินเดียมีพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ทางทิศเหนือมีทิวเขาหิมาลัยเหยียดยาว จากตะวันออกไปยังตะวันตก ซึ่งเป็นบ่อเกิดของแม่นํ้าสินธุและแม่น้ำคงคา

6.         ศิลปะอินเดียที่เจริญขึ้นแถบแม่น้ำกฤษณา คือ

(1) ศิลปะคันธารราฐ   (2) ศิลปะมถุรา            (3) ศิลปะอมราวดี       (4) ศิลปะคุปตะ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

7.         หุบเขานามาดาของอินเดียมีความสำคัญ คือ

(1) เป็นแหล่งที่พบภาพเขียนที่ถํ้ามากที่สุด     (2) เป็นแหล่งที่มีทิวทัศน์สวยงามมากที่สุด

(3) เป็นแหล่งที่พบขวานหินมากที่สุด  (4) เป็นแหล่งที่พบภาชนะที่ทำด้วยโลหะมากที่สุด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

8.         สถาปัตยกรรมเก่าสุดที่พบในอินเดียไม่เก่าไปกว่า

(1) พุทธศตวรรษที่ 1    (2) พุทธศตวรรษที่ 2    (3) พุทธศตวรรษที่ 3    (4) พุทธศตวรรษที่ 4

ตอบ 3 หน้า 90 นักโบราณคดีให้ความเห็นว่า สถาปัตยกรรมในยุคแรกเริ่มของอินเดียนั้นคงจะ สร้างด้วยดินเหนียวและไม้ซึ่งแตกสลายได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่เหลือร่องรอยให้คนรุ่นหลังได้เห็น ทำให้สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเก่าสุดที่เหลืออยู่ไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 3 แม้ว่า พุทธศาสนาจะเจริญขึ้นในอินเดียตั้งแต่พุทธกาลมาแล้วก็ตาม

9.         ยุคทองของศิลปะอินเดียเจริญขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่เท่าใด

(1) ที่ 3 – 5       (2) ที่ 5 – 7       (3) ที่ 7 – 9       (4) ที่ 9 – 11

ตอบ 4 หน้า 100109 ยุคทองของศิลปะอินเดียซึ่งเป็นศิลปะที่มีความงามสูงสุด คือ ศิลปะสมัยคุปตะ ที่เจริญขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 9-11 ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์คุปตะ และในยุคนี้ ยังเป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางด้านปรัชญาการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องในศาสนาอีกด้วย

10.       จากแบบอย่างศิลปะต่างชาติ ได้กลายเป็นแบบอย่างของศิลปะอินเดียอย่างแท้จริงเพราะ

(1)       ทิวเขาหิมาลัยขวางกั้นความเจริญจากภายนอก

(2)       ภูมิประเทศมีทิวเขามากมายขวางกั้นความเจริญจากภายนอก

(3)       ช่างอินเดียมีความสามารถพิเศษในการดัดแปลง      

(4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 82109 ศิลปกรรมรุ่นแรกของอินเดียจะปรากฏอิทธิพลของศิลปะเมโสโปเตเมียศิลปะอิหร่าน และศิลปะกรีกอย่างเห็นได้ชัด แต่ด้วยอิทธิพลของลักษณะภูมิประเทศที่มีทิวเขา มากมายขวางกั้นความเจริญจากโลกภายนอก และความชำนาญของช่างพื้นเมืองที่มีความสามารถ พิเศษในการดัดแปลง จึงทำให้ศิลปะอินเดียได้กลายจากอิทธิพลของศิลปะต่างชาติมาเป็นแบบอย่าง ของศิลปะอินเดียที่มีความงดงามตามแบบอุดมคติของศิลปะทางตะวันออกอย่างแท้จริง

11.       ศิลปกรรมรุ่นแรกของอินเดียปรากฏมิอิทธิพลของ

(1) ศิลปะอียิปต์          

(2) ศิลปะเมโสโปเตเมีย          

(3) ศิลปะเขมร 

(4) ศิลปะจีน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

12.       วัฒนธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปาเจริญขึ้นแถบลุ่มแม่นํ้า

(1) คงคา         

(2) ยมนา         

(3) สินธุ           

(4) กฤษณา

ตอบ 3 หน้า 5985 วัฒนธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปาเจริญขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็น วัฒนธรรมที่เจริญขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ ของอินเดีย เพราะพบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งสองสมัย โดยโบราณวัตถุสำคัญในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบ คือ ตราประทับที่ทำจากหินสบู่ในแคว้นปัญจาบและสินธุ

13.       โบราณวัตถุที่สำคัญที่โมเหนโจดาโร

(1)       เครื่องมือหิน     

(2) หม้อดินเผา

(3) ตราประทับทำจากหินสบู่   

(4) ซากพระราวังโบราณ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14.       ข้อใดที่เกี่ยวกับอารยธรรมฮินดูยุคกลาง

(1) ลุ่มแม่น้ำสินธุ         (2) พวกอารยัน            (3) นิยมบูชาวีรบุรุษ     (4) มุสลิม

ตอบ 3 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 44) อารยธรรมฮินดูยุคกลาง ถือเป็นยุคที่ชนชั้นนักรบ มีอำนาจมาก นิยมบูชาวีรบุรุษ และเป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ได้เปลี่ยนมาเป็นศาสนาฮินดู ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นหลายลัทธิ คือ ลัทธิไศวนิกาย นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นใหญ่,ลัทธิวิษณุนิกาย นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ และลัทธิศักติ นับถือพระมเหสี ของเทพต่าง ๆ เช่น พระศรีมหาอุมาเทวีหรือนางทุรคา (ผู้เข้าถึงได้โดยยาก) ฯลฯ

15.       ศิลปกรรมของอินเดียเกี่ยวข้องกับสิ่งใด

(1) ชีวิตความเป็นอยู่   (2) ศาสนา       (3) วัฒนธรรม  (4) ประเพณี

ตอบ 2 หน้า 83 – 84 ศาสนาเป็นแรงบันดาลใจอย่างมากต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของอินเดีย เพราะปรากฏว่าศิลปกรรมของอินเดียทำขึ้นเพื่อรับใช้ศาสนาทั้งสิ้น เช่น ศิลปกรรมทางศาสนา ในพุทธศตวรรษที่ 4-14 นิยมแสดงออกมาเป็นภาพสลักนูนสูงและนูนตํ่าขนาดยาว หรือ เขียนภาพเล่าเรื่องบนผนังขนาดใหญ่

16.       ศิลปะใดที่เข้ามามีอิทธิพลต่อศิลปะอินเดียถึง 2 ครั้ง

(1) ศิลปะเมโสโปเตเมีย          (2) ศิลปะอิหร่าน         (3) ศิลปะกรีก  (4) ศิลปะโรมัน

ตอบ 2 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 46) ศิลปะอิหร่านได้เข้ามามีอิทธิพลต่อศิลปะอินเดียถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อได้เข้ามาครอบครองดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าสินธุตั้งแต่ประมาณพุทธกาลถึง พ.ศ. 250 และต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17 อิหร่านก็มีอำนาจเหนืออินเดียอีกครั้ง จึงทำให้อิทธิพลของ ศิลปะอิหร่านปรากฏในศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก

17.       ศิลปะอินเดียเสื่อมลงเพราะเหตุใด

(1) ภูมิประเทศมีทิวเขามากเกินไป      (2) สังคมอินเดียมีกฎเกณฑ์และข้อบังคับมากเกินไป

(3) อิทธิพลของศิลปะต่างชาติมากเกินไป       (4) ชาวอินเดียไม่เชี่ยวชาญงานศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 83 – 84109 การที่สังคมอินเดียมีกฎเกณฑ์และข้อบังคับมากเกินไป ทำให้ช่างอินเดีย ไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการสร้างสรรค์งานศิลปะได้อีก เพราะช่างต้องการเพียงงานศิลปะที่ตรงตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับอันเกิดจากความเชื่อเท่านั้น จึงเป็นผลให้ศิลปะ อินเดียเสื่อมลงในที่สุด เช่น การเสื่อมลงของศิลปะคุปตะ ซึ่งเป็นศิลปะยุคทองของอินเดีย

18.       ศาสนสถานในศิลปะคุปตะ

(1) ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์            (2) นิยมทำหลังคาเป็นชั้น ๆ

(3) นิยมสลักลึกเข้าไปในภูเขา            (4) นิยมสร้างสถูปเป็นพื้น

ตอบ 1 หน้า 102 สถาปัตยกรรมในสมัยคุปตะจะนิยมสร้างไว้กลางแจ้ง โดยในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2พุทธศาสนสถานในศิลปะคุปตะที่สร้างขึ้น เช่น โบสถ์วิหาร สถูป ฯลฯ มักจะเลียนแบบ และได้รับอิทธิพลจากเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งลักษณะทางสถาปัตยกรรมเช่นนี้ได้ให้ อิทธิพลต่อการสร้างเจดีย์ของพม่า (Pagoda) และบุโรพุทโธของอินโดนีเซียด้วย

19.       ลักษณะพิเศษของศิลปะปาละ-เสนะ คือประติมากรรม

(1) หนักทึบ ไม่มีความงามแต่อย่างใด (2) มักมีแผ่นหลังประกอบ

(3) ตั้งอยู่บนฐานที่สูงขึ้น         (4) มีรูปอวบอ้วน

ตอบ 2 หน้า 105 ลักษณะพิเศษของศิลปะปาละ-เสนะ คือ ประติมากรรมมักมีแผ่นหลังประกอบ ซึ่งมีลวดลายประดับอยู่มากมายติดอยู่กับพระพุทธรูป โดยพระพุทธรูปส่วนใหญ่ในสมัยนี้ มักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่หล่อด้วยสำริดและสร้างด้วยศิลา แต่ไม่มีความสวยงามเลย

20.       สถาปัตยกรรมในยุคแรกเริ่มของอินเดีย

(1) มีความเรียบง่ายมากที่สุด

(2) มักเจาะลึกเข้าไปในภูเขา

(3) มักสร้างด้วยดินเหนียวและไม้

(4) มักพบตามถํ้า

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

21.       เมื่อประติมากรรมและภาพเขียนในศิลปะคุปตะเสื่อมลงแล้ว

(1) นิยมเพิ่มรายละเอียดและเครื่องประดับมากขึ้น    

(2) นิยมใช้สีสันสดและหลายสีมากยิ่งขึ้น

(3) นิยมทำภาพเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น  

(4) นิยมเพิ่มตัวบุคคลในภาพมากขึ้น

ตอบ 1 หน้า 101 – 103 พระพุทธรูปสมัยคุปตะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยุคทองของอินเดียเริ่มเสื่อมลง เมื่อหมดสมัยของพระเจ้ากุมารคุปต์ในพุทธศตวรรษที่ 12 และหลังจากนี้เป็นต้นไปประติมากรรม ต่าง ๆ จะมีร่างกายหนักทึบและเพิ่มลวดลายมากขึ้น ส่วนภาพเขียนที่เป็นภาพบุคคลนั้นก็จะเพิ่มรายละเอียดและเครื่องประดับ ทำให้ภาพบุคคลเดี่ยวๆ ดูแข็งกระด้างไม่มีชีวิตจิตใจอีกต่อไป

22.       มหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดีย เป็นมหาวิทยาลัยแห่ง

(1) พุทธศาสนา           

(2) ศาสนาพราหมณ์    

(3) ศาสนาอิสลาม       

(4) ศาสนาเชน

ตอ     1 หน้า 213152 (S) มหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดีย เป็นงานสถาปัตยกรรมในสมัยศิลปะปาละ-เสนะ ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพุทธศาสนา โดยเป็นศูนย์กลางใหญ่ ของพุทธศาสนาลัทธิตันตระ อยู่ในแคว้นเบงกอล

23.       ศาสนาพุทธเจริญขึ้นในแคว้นใดของอินเดีย

(1) แคว้นปัญจาบ        

(2) แคว้นอัสสัม           

(3) แคว้นมคธ  

(4) แคว้นสินธุ

ตอบ 3 หน้า 90 พระพุทธศาสนาเจริญขึ้นในอินเดียที่แคว้นมคธหรือมคธราฐในสมัยพระเจ้าพิมพิสาร และเจริญขึ้นถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชราวพุทธศตวรรษที่ 3 ดังนั้นในยุคแรกเริ่ม ของการทำศิลปกรรมอินเดียนี้ พุทธศาสนาจึงมีบทบาทเป็นอย่างมาก

24.       พุทธศิลปะในยุคแรกเริ่มของอินเดีย

(1) มักเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพุทธประวัติ  (2) มักเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ

(3) มักเป็นพระพุทธเจดีย์        (4) มักเป็นศาสนสถาน

ตอบ 4 หน้า 91 พุทธศิลปะในยุคแรกเริ่มของอินเดียที่เหลือร่องรอยไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็นเก่าสุด คือ ศิลปกรรมในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศตวรรษที่ 3 ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกและ อิหร่าน (เปอร์เซีย) เช่น มักสร้างเป็นศาสนสถานที่เจาะลึกเข้าไปในภูเขา โดยมีลักษณะเป็นถํ้า ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ เป็นถํ้าวิหาร และถํ้าเจดีย์สถาน

25.       พระพุทธรูปคันธารราฐเกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) มีความสวยงามตามธรรมชาติ       (2) มีความสวยงามตามแบบศิลปะกรีก

(3) มีความสวยงามตามแบบศิลปะอินเดีย      (4) มีความสวยงามที่เรียบง่ายมาก

ตอบ 2 หน้า 93 – 94 พระพุทธรูปสมัยคันธารราฐของอินเดียจะมีความสวยงามตามแบบศิลปะกรีก อย่างชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้จากพระพักตร์ พระเกศา และการครองจีวรที่แทบจะไม่มีลักษณะ ของอินเดียเหลืออยู่เลย คือ มีการครองจีวรห่มคลุมพระอังสา (บ่าหรือไหล่) ทั้ง 2 ข้าง โดยมี จีวรแนบกันมากับพระองคั และมีริ้วนูนหนาเป็นวงโค้งซ้อนกันทางด้านหน้า

26.       ช่างโบราณไม่กล้าแสดงรูปพระพุทธรูปเพราะ

(1) ยึดมั่นในพระศาสนามากเกินไป    (2) ช่างไม่มีความชำนาญ

(3) เกรงกลัวต่อบาป    (4) ปฏิบัติตามบรรพบุรุษ

ตอบ 1 หน้า 83 – 849243 (S) ในยุคที่เริ่มสร้างรูปเพื่อรำลึกถึงพุทธธรรม ช่างอินเดียโบราณที่ ยึดมั่นในพระศาสนามากเกินไปจะไม่กล้าแสดงรูปพระพุทธรูปแต่จะเว้นเหลือไว้แต่พระแท่นว่าง นอกจากนี้ในการสลักภาพนูนสูงก็จะทำเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าเท่านั้น เพื่อแสดง ให้เห็นว่าพระพุทธองค์นั้นหมดแล้วซึ่งความเห็นแก่ตัว ไม่ได้ยึดในตนอีกต่อไปหรือคล้ายกับ ปราศจากตัวตน

27.       พระพุทธรูปคันธารราฐมีการครองจีวรแบบใด

(1) ห่มคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง จีวรเป็นริ้ว    (2) ห่มเปิดพระอังสาขวา

(3) ห่มคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง จีวรเรียบ      (4) ห่มเปิดพระอังสาซ้าย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

28.       พระพุทธรูปยกชายจีวรขึ้นระหว่างพระโสณี

(1) พระพุทธรูปคันธารราฐ       (2) พระพุทธรูปมถุรา

(3) พระพุทธรูปอมราวดี           (4) พระพุทธรูปคุปตะ

ตอบ 2 หน้า 95, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 55) การครองจีวรของพระพุทธรูปมถุรา จะเป็นแบบใหม่ คือ ครองเฉพาะจีวรและสบงโดยไม่ปรากฎว่ามีสังฆาฏิ และมักห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย พระหัตถ์ซ้ายมักยกชายจีวรขึ้นระหว่างพระโสณี (ตะโพก)

29.       พระพุทธรูปอินเดียเริ่มเป็นแบบอย่างของศิลปะอินเดียอย่างแท้จริงในสมัยใด

(1) สมัยคันธารราฐ      (2) สมัยมถุรา  (3) สมัยคุปตะ (4) สมัยอมราวดี

ตอบ 2 หน้า 959799 พระพุทธรูปอินเดียเริ่มเป็นแบบอย่างของศิลปะอินเดียอย่างแท้จริง ในสมัยมถุรา (พุทธศตวรรษที่ 7-8) แต่ความเป็นอินเดียอย่างแท้จริงและลักษณะของ มหาบุรุษปรากฏขึ้นอย่างครบครันในพระพุทธรูปสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9)ซึ่งถือได้ว่ามีความงามตามแบบอินเดียโดยแท้ เพราะไม่เห็นลักษณะของอิทธิพลต่างชาติเลย

30.       พระพุทธรูปสมัยคุปตะของอินเดีย

(1)       มีความงามอย่างเรียบง่าย แต่รูปประติมากรรมหนักทึบ

(2)       มักนิยมห่มคลุมพระอังสาสองข้าง จีวรเป็นริ้ว เป็นพระพุทธรูปกรีก

(3)       ขมวดพระเกศาวนขวา นิยมห่มเฉียงเปิดพระอังสาซ้าย จีวรเป็นริ้ว

(4)       นิยมแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และเทวดา

ตอบ 4 หน้า 101 พระพุทธรูปสมัยคุปตะของอินเดียจะไม่นิยมแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง แต่เป็นทั้งพระมหากษัตริย์และเทวดา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดาก็ได้ ดังเช่นที่ช่างคุปตะไม่ได้แสดงให้เห็นมุกขลึงค์อันเป็นลักษณะที่แสดงให้รู้ถึงเพศเลย

31.       พระพุทธรูปยุคทองของอินเดียเริ่มเสื่อมลง

(1) หลังพุทธศตวรรษที่ 12       

(2) หลังพุทธศตวรรษที่ 13

(3) หลังพุทธศตวรรษที่ 14       

(4) หลังพุทธศตวรรษที่ 15

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

32.       พระพุทธรูปอินเดียเริ่มเป็นแบบอย่างของศิลปะอินเดียอย่างแท้จริงในสมัยใด

(1) สมัยคันธารราฐ      

(2) สมัยมถุรา  

(3) สมัยคุปตะ 

(4) สมัยอมราวดี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

33.       ยุคทองของพระพุทธรูปไทยคือสมัยใด

(1) สมัยทวารวดี          

(2) สมัยศรีวิชัย            

(3) สมัยลพบุรี 

(4) สมัยสุโขทัย

ตอบ 4 หน้า 143 – 144 ศิลปะสมัยสุโขทัย ถือเป็นศิลปะยุคทองของศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะ ประติมากรรมพระพุทธรูปไทยในสมัยนี้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบ มีความสวยงามสง่า ที่สุด และมีความเรียบง่ายตามอุดมคติผิดไปจากศิลปกรรมสมัยอื่น ๆ

34.       เพราะเหตุใดงานศิลปกรรมพุทธศาสนาในสมัยโบราณ ช่างฝีมือจึงเว้นที่ว่างไว้ไม่วาดหรือปั้น

(1) ไม่กล้าแสดงออกด้วยรูปทรง         (2) ขาดประสบการณ์

(3) ไม่ได้ยึดในตนอีกต่อไป      (4) เกรงกลัวบาป

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ

35.       พระพุทธรูปนาคปรก เริ่มทำในสมัยใด

(1) สมัยมถุรา  (2) สมัยอมราวดี          (3) สมัยคุปตะ (4) สมัยปาละ-เสนะ

ตอบ 2 หน้า 121 พระพุทธรูปนาคปรกในอินเดียมีกำเนิดครั้งแรกในศิลปะอมราวดี และทำแต่เฉพาะ ในศิลปะอมราวดีเท่านั้น หลังจากนั้นจึงได้ส่งผลต่อไปยังศิลปะลังกาแบบอนุราชปุระ นอกจากนี้ ยังให้อิทธิพลต่อศิลปะคุปตะและหลังคุปตะของอินเดียอีกด้วย

36.       พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร คือ

(1)       พระพุทธรูปที่นั่งในท่าขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง

(2)       พระพุทธรูปที่นั่งในท่าขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว

(3)       พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท   (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 139 – 140 พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร คือ พระพุทธรูปประทับนั่งในท่าขัดสมาธิ แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ส่วนพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ คือ พระพุทธรูปประทับนั่งในท่าขัดสมาธิ แลเห็นฝ่าพระบาทเพียงข้างเดียว พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา

37.       พระพุทธรูปที่ปรากฏครั้งแรกของไทยได้รับอิทธิพลจากศาสนาใด

(1) ศาสนาพราหมณ์    (2) ศาสนาพุทธหินยาน (3) ศาสนาพุทธมหายาน (4) ศาสนาฮินดู

ตอบ 2 หน้า 122 พระพุทธรูปที่ปรากฏครั้งแรกของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธหินยาน อย่างเถรวาท และอิทธิพลของศิลปะอมราวดี โดยพุทธศาสนาเถรวาทที่อยูในความนับถือของ คนสมัยนั้นคงเป็นนิกายมูลสรรวาสติวาท ซึ่งใช้ภาษาสันสกฤตเป็นหลัก

38.       พระพุทธรูปทวารวดียุคแรกได้รับอิทธิพลของศิลปะใด

(1) ศิลปะอมราวดี คุปตะ หลังคุปตะ  (2) ศิลปะขอมแบบปาปวน

(3) ศิลปะพื้นเมือง       (4) ศิลปะอิสลาม

ตอบ 1 หน้า 123 – 124 พระพุทธรูปทวารวดีแบ่งเป็น 3 รุ่นดังนี้

1.         รุ่นที่ 1 หรือยุคแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะอมราวดี คุปตะและหลังคุปตะ มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 12

2.         รุ่นที่ 2 แสดงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15

3.         รุ่นที่ 3 แสดงอิทธิพลของศิลปะขอมแบบปาปวนหรือศิลปะลพบุรีตอนต้น มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 15 ลงมา

39.       จิตรกรรมตามผนังถํ้าของไทยเก่าสุดอยู่ในสมัยใด

(1) สมัยหินเก่า            (2) สมัยหินกลาง         (3) สมัยหินใหม่           (4) สมัยโลหะ

ตอบ 1 หน้า 71108 (S), (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 39) จิตรกรรมตามผนังถํ้าของไทย ที่เก่าที่สุดอยู่ในสมัยหินเก่า ซึ่งมีการพบหลักฐานทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และ ภาคกลาง เช่น มีการพบการสลักเพิงผาที่เก่าที่สุดที่ถํ้ามิ้ม จ.อุดรธานี หรือมีการพบรูปมือคน ที่ถํ้าฝ่ามือ จ.ขอนแก่น เป็นต้น

40.       ถํ้าฝ่ามืออยู่ในจังหวัดใด

(1) ขอนแก่น

(2) เชียงราย

(3) กาญจนบุรี

(4) อุดรธานี

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

41.       บ้านเชียงเป็นสถานที่รู้จักกันทั่วไปเพราะ      

(1) เป็นแหล่งมีความเจริญ มีทิวทัศน์สวยงามที่สุด

(2)       เป็นแหล่งที่มีโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์มากที่สุด

(3)       เป็นแหล่งที่มีผู้ก่อการร้ายมากที่สุด   

(4) เป็นแหล่งที่พบเครื่องมือหินมากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 112 (S) ศิลปะบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นศูนย์กลางของแหล่งกำเนิดอารยธรรมของมนุษย์ที่มีโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์มากที่สุด โดยจากหลักฐานทางโบราณวัตถุที่ค้นพบมีอายุถึง 6,000 – 5,000 ปี ดังนั้นจึงนับได้ว่า บ้านเชียงเคยเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

42.       วัฒนธรรมของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์แสดงออกมาในรูปใด

(1) ภาษา         

(2) อักษร         

(3) ศิลปกรรม  

(4) เพลงร้อง

ตอบ 3 หน้า 47 วัฒนธรรมของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มักแสดงออกมาในรูปของศิลปกรรม นับตั้งแต่เครื่องใช้ไม้สอย เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องประดับต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกให้รู้ ถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ และเทคโนโลยีในสมัยนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับการจดบันทึก

43.       หัวเสาแบบโครินเธียน เป็นอิทธิพลของศิลปะใด

(1) กรีก            

(2) อียิปต์        

(3) เปอร์เซีย    

(4) เมโสโปเตเมีย

ตอบ 1 หน้า 94 – 95121 – 122 (S) สถาปัตยกรรมในศิลปะคันธารราฐของอินเดียจะได้รับอิทธิพล จากศิลปะกรีก เช่น การนิยมทำหัวเสาแบบโครินเธียน (Corinthian) ซึ่งมักจะประดับลวดลาย ด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ บนหัวเสา เช่น ลายใบอาคันธัส ลายใบปาล์ม ลายพวงองุ่น และ ลายกามเทพแบกพวงมาลัย ฯลฯ

44.       สมัยหินลาง หมายถึง

(1) ยุคสมัยหนึ่งของสมัยก่อนประวัติศาสตร์   (2) สมัยกลางของสมัยก่อนประวัติศาสตร์

(3) สมัยที่คนสมัยหินรู้จักใช้หินเป็นอาวุธ        (4) สมัยที่คนสมัยหินรู้จักใช้เหล็กเป็นอาวุธ

ตอบ 1 หน้า 49 – 5663 – 6875 ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งของยุโรปและของไทย แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ 1. ยุคสมัยหินเก่า 2. ยุคสมัยหินกลาง 3. ยุคสมัยหินใหม่ 4. ยุคสมัยโลหะ

45.       ประติมากรรมของคนสมัยหินนั้นมักแสดงออกถึงสิ่งใด

(1) ความต้องการให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล      (2) ความมีบุตรหลานมากมาย

(3) ความมั่งมีศรีสุข     (4) ความอุดมสมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 51 ประติมากรรมที่ทำขึ้นครั้งแรกของคนสมัยหินหรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะนิยมทำเป็นรูปผู้หญิงไม่มีหน้าตา แต่มีรูปร่างอ้วน แสดงว่าประติมากรรมที่ทำขึ้นมานี้ มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ และแสดงออกถึงการนับถือเพศแม่อย่างชัดเจน เช่น พบประติมากรรมลอยตัวที่ประเทศเยอรมนี คือ วีนัส วีเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf)

ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์

46.       ภาพเขียนที่ผนังถํ้า เขียนขึ้นเพื่อสิ่งใด

(1) เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจที่ตนเคยพบเห็นมาก่อน           (2) เพื่อใช้สอนชนรุ่นหลัง

(3) เพื่อแสดงออกถึงแรงบันดาลใจจากความงามนั้น ๆ (4) ถูกทั้ง 3 ข้อ

ตอบ 4 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 39) ภาพเขียนที่ผนังถํ้าหรือศิลปกรรมในถํ้าส่วนใหญ่ได้รับ แรงบันดาลใจจากสัตว์ชนิดต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งนอกจากจะเขียนขึ้นเพื่อเป็น สิ่งเตือนใจตนแล้ว ก็ยังเขียนขึ้นเพื่อสั่งสอนชนรุ่นหลังให้รู้จักวิธีล่าสัตว์ที่ถูกต้องอีกด้วย

47.       ศิลปกรรมรุ่นแรกสุดของคนก่อนประวัติศาสตร์

(1) รูปคน         (2) รูปสัตว์       (3) รูปฝ่ามือ     (4) รูปป่าเขา

ตอบ 3 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 39 – 40) รูปฝ่ามือหรือภาพมือคน เป็นศิลปกรรมรุ่นแรกสุด ของคนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งพบในผนังถํ้าทั้งในยุโรปและเอเชีย โดยมีเทคนิคในการทำ คือ การใช้สีทาบนฝ่ามือแล้วทาบฝ่ามือลงไปบนผนังถํ้า หรือการใช้ฝ่ามือทาบลงบนผนังถํ้าแล้ว ใช้สีพ่นรอบ ๆ ฝ่ามือ เป็นต้น

48.       ลักษณะพิเศษของภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์

(1) มักนิยมเน้นสิ่งที่มีความหมายต่อพวกเขา  (2) มักนิยมเขียนด้วยสีดำ

(3) มักนิยมเขียนตัดเส้นด้วยสีดำ        (4) มักนิยมเขียนด้วยสีหลาย ๆ สี

ตอบ 1 หน้า 73 ลักษณะพิเศษของภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ คือ ศิลปินมักนิยมเน้นในสิ่งที่ มีความหมายและมีความสำคัญต่อพวกเขา โดยการเขียนรูปนั้น ๆ ให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เช่น รูปสัตว์ขนาดใหญ่หรือรูปคนขนาดใหญ่ท่ามกลางรูปคนและสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เป็นต้น

49.       แบบอย่างของศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์เป็นไปตามแบบอย่างประเทศใด

(1) เขมร           (2) อินเดีย       (3) จีน  (4) มาเลเซีย

ตอบ 2 หน้า 81 ศิลปะอินเดีย ถือเป็นแม่บทและเป็นผู้วงรากฐานทางวัฒนธรรมให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอาคเนย์ เพราะไม่ว่าจะเป็นคติทางศาสนา การแสดงออกทางขนบธรรมเนียมประเพณี รูปแบบทางศิลปะ และการจัดการปกครองในยุคแรกเริ่ม ก็เป็นไปตามแบบอย่างอินเดียทั้งสิ้น

50.       มวลชนได้สัมผัสสุนทรียภาพในศิลปะเป็นครั้งแรกเมื่อ

(1) มนุษย์ได้กำเนิดขึ้น

(2) สมัยก่อนประวัติศาสตร์

(3) สมัยอาณาจักรโรมัน

(4) สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป

ตอบ 1 หน้า 1 (S) สุนทรียภาพในศิลปะ หรือความรู้สึกทางด้านความงาม นับเป็นธรรมชาติที่เกิดมา กับมนุษย์ทุกรูปทุกนาม ซึ่งจะมีระดับความแตกต่างกันในด้านการแสดงออกเท่านั้น จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าจุดเริ่มต้นของศิลปะได้กำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการกำเนิดขึ้นของมนุษย์

51.       สุนทรียรสในวิชาศิลปะวิจักษณ์ ให้ความรู้สึกซาบซึ้งในเรื่องใด

(1) ความรัก     

(2) ความงาม   

(3) ความสวย  

(4) ความบันเทิง

ตอบ 2 หน้า 3 (S)12 – 13 (S) สุนทรียรสหรือรสของศิลปะจะก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในสุนทรียภาพ หรือความงามของศิลปะ ซึ่งนับเป็นความเข้าใจที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยมีสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ 1. ความซาบซึ้งทางอารมณ์ 2. ความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา

52.       ลักษณะพิเศษของศิลปะบริสุทธิ์

(1) ให้ความชื่นชมยินดีทางด้านจิตใจ  

(2) ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน

(3) ให้ความรู้สึกเหมือนจริงทุกประการ           

(4) ให้ความรู้สึกไม่เหมือนจริง

ตอบ 1 หน้า 87 (S) ศิลปะบริสุทธิ์ (Fine Art or Pure Art) เป็นงานศิลปะที่คำนึงถึงประโยชน์ ทางจิตใจ คือ ช่วยให้มีความสุขสบายใจ ทำให้เกิดความประทับใจที่ดื่มด่ำ มีความศักดิ์สิทธิ์ ในทางจิต เกิดอารมณ์สะเทือนใจไม่เสื่อมคลายและไม่สูญหายไปจากความทรงจำ ดังนั้นจึงจัดเป็นงานศิลปะอมตะหรือเรียกว่า วิจิตรศิลป” ซึ่งเป็นศิลปะชั้นสูง ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์

53.       สิ่งบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะ

(1) ความสันโดษ          

(2) ความเชื่อในเรื่องวิญญาณ

(3) ความสะเทือนอารมณ์        

(4) ความกตัญณูต่อธรรมาติ

ตอบ 3 หน้า 10 ถึงแม้ว่าธรรมชาติจะเป็นแรงบันดาลใจอันเร้นลับที่ผลักดันให้ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะ ออกมาใบรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง สุดแล้วแต่ประสบการณ์และอารมณ์สะเทือนใจของศิลปินผู้นั้น แต่หากปราศจากอำนาจแห่งความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ อันก่อให้เกิดมโนภาพหรือจินตนาการ ขึ้นในจิตใจด้วยแล้ว งานศิลปะก็มิอาจสร้างสรรค์ขึ้นมาได้

54.       ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะจาก

(1) ธรรมชาติ   (2) คิดขึ้นเอง   (3) เลียนแบบจากงานอื่น        (4) เสียงเพลง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 53. ประกอบ

55.       มนุษย์ สัตว์ จัดเป็นรูปลักษณะของศิลปะแบบใด

(1) อิสระ          (2) ที่กำหนดแล้ว         (3) เรขาคณิต  (4) ธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 11 รูปลักษณะของงานศิลปะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ           1. แบบธรรมชาติเป็นรูปลักษณะที่ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ภูเขา ต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้มนุษย์ สัตว์ ฯลฯ

2.         แบบเรขาคณิต เป็นรูปลักษณะที่ได้แบบอย่างจากธรรมชาติมาบ้าง เช่น เส้นตรง เส้นโค้ง ฯลฯ

3.         แบบอิสระ เป็นรูปลักษณะที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และเปลี่ยนแปลงไปตามความนิยมหรือ ความเห็นชอบของผู้ประดิษฐ์

56.       ศิลปะในข้อใดเป็นผลงานสูงสุดของมนุษย์

(1) ศาสนศิลปะ           (2) ศิลปะพื้นบ้าน        (3) ศิลปะถํ้า    (4) ศิลปะบนหน้าผา

ตอบ 1 หน้า 2004 (S)12 (S) ศาสนศิลปะ (Religious Art) หรืองานศิลปกรรมในลัทธิความเชื่อถือ และศาสนา ถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สูงสุดและเหนือกว่างานสร้างสรรค์ด้านอื่น ๆ เพราะเป็น งานศิลปะที่เกิดจากความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญาที่มีคุณค่าเหนือกว่าศิลปะทั้งหลายที่มนุษย์ ได้สร้างขึ้น เช่น ประติมากรรมพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย ภาพเขียนพุทธประวัติ โบสถ์ วิหาร หรือศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อการบูชาต่าง ๆ เป็นต้น

57.       ศิลปะของไทยยุคแรกเริ่ม คือศิลปะสมัยใด

(1) ศิลปะสมัยทวารวดี            (2) ศิลปะสมัยศรีวิชัย

(3) ศิลปะสมัยลพบุรี   (4) ศิลปะสมัยเชียงแสน

ตอบ 1 หน้า 116 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงแบ่งยุคสมัยของศิลปะในประเทศไทยไว้ รวม 7 สมัย ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มไปจนถึงยุคสุดท้ายไว้ดังนี้ 1. สมัยทวารวดี 2. สมัยศรีวิชัย 3. สมัยลพบุรี 4. สมัยเชียงแสน 5. สมัยสุโขทัย 6. สมัยอยุธยา 7. สมัยรัตนโกสินทร์

58.       ศิลปะยุคสุดท้ายของไทย คือศิลปะสมัยใด

(1) ศิลปะสมัยทวารวดี            (2) ศิลปะสมัยสุโขทัย

(3) ศิลปะสมัยอยุธยา (4) ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

59.       ภาพเขียนของจีนเจริญสูงสุดในสมัยใด

(1) สมัยราชวงศ์ฮั่น      (2) สมัยราชวงศ์ถัง      (3) สมัยราชวงศ์ซ่ง      (4) สมัยราชวงศ์หมิง

ตอบ 2 หน้า 39220 ภาพเขียนของจีนเจริญสูงสุดในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งถือเป็นยุคทองของศิลปะจีน ส่วนภาพเขียนในสมัยราชวงศ์ซ่งหรือซ้องนั้น ศิลปินจีนนิยมเขียนภาพภูมิประเทศหรือภาพทิวทัศน์ อันสวยงาม เช่น ภาพภูเขา ต้นไม้ ฯลฯ ผลุบโผล่อยู่ในสายหมอก

60.       ศิลปะจีนในสมัยราชวงศ์ซ่งนิยมเขียนภาพประเภทใด

(1) ภาพสงคราม

(2) ภาพเหมือน

(3) ภาพนก ดอกไม้

(4) ภาพทิวทัศน์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61.       ศิลปะของอินเดียสมัยใดที่ไม่นิยมทำรูปเคารพ

(1) ศิลปะสมัยคุปตะ   

(2) ศิลปะสมัยหลังคุปตะ

(3) ศิลปะสมัยปาละ-เสนะ      

(4) ศิลปะสมัยอิสลาม

ตอบ4 หน้า 106 – 107 ศิลปะอิสลาม (พุทธศตวรรษที่ 18 – 23) จะไม่นิยมทำรูปเคารพแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่ปรากฏว่ามีรูปเคารพที่เป็นประติมากรรมเลย แต่สิ่งที่เหลือให้ชื่นชมและมีความงามที่แปลกใหม่ คือ จิตรกรรมและสถาปัตยกรรม

62.       คุณค่าทางสุนทรียภาพทางศิลปะ คือ

(1)       เป็นการแสดงออกถึงภาพที่ให้ความรู้สึกสะเทือนใจมากที่สุด

(2)       เป็นภาพที่มีการจัดวางเส้น รูปร่าง มวล พื้นผิว และช่องว่างได้อย่างเหมาะสม

(3)       เป็นการแสดงออกถึงลีลา ฝีเแปรงที่แข็งกร้าวเด็ดเดี่ยว

(4)       เป็นการแสดงออกถึงสิ่งแปลกใหม่ในงานศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 32030 คุณค่าทางสุนทรียภาพของศิลปะหรือคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) คือ การจัดวางโครงสร้างของศิลปะให้มีองค์ประกอบของเส้น คุณค่า รูปร่าง มวล พื้นผิว และ ช่องว่างให้มีความสมดุล มีสัดส่วน มีช่วงจังหวะ มีความกลมกลืน มีความขัดแย้ง และมีจุดเด่น ในงานศิลปะได้อย่างเหมาะสม

63.       ลักษณะพิเศษของภาพจิตรกรรมไทย คือ

(1) สองมิติ       

(2) สามมิติ      

(3) ลายเส้น     

(4) สีน้ำ

ตอบ 1 หน้า 41221 – 222 ลักษณะพิเศษของภาพจิตรกรรมไทย คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทย ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสีและเส้นเท่านั้น ทำให้มีลักษณะเป็นรูปแบนเรียบ หรือเป็นภาพสองมิติ ที่ไม่มีความลึก ผิดกับภาพเขียนของศิลปะตะวันตก ซึ่งเป็นภาพสามมิติที่มีความลึก เพราะ ประกอบไปด้วยสี เส้น แสง และเงา

64.       ลักษณะของศิลปกรรมคิวบิสม์

(1) บริสุทธิ์ไร้เดียงสา   (2) นิยมสลักจากก้อนหิน

(3) รูปทรงบิดเบี้ยว      (4) เหมือนธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 22138 – 39 (S)57 (S) ศิลปะนามธรรมหรือมโนศิลป์ (Abstract) คือ การถ่ายทอด ตามความรู้สึกด้วยใจ โดยการนำเอารูปทรงต่าง ๆ ที่พบเห็นในธรรมชาติมาจัดเสียใหม่ หรือ ปรุงแต่งดัดแปลงใหม่ ดังนั้นจึงอาจจะมีลักษณะกึ่งธรรมชาติ กึ่งนามธรรม และผิดเพี้ยนไปจาก ธรรมชาติอยู่บ้าง เช่น ศิลปะแบบคิวบิสม์ จัดเป็นศิลปะแบบกึ่งจินตนาการที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม เป็นมุม และรูปทรงบิดเบี้ยว แด่ก็ยังพอพิจารณาดูรูปลักษณะได้ว่าเป็นรูปอะไร

65.       ศิลปะเพื่อประโยชน์ใช้สอย เรียกอีกอย่างว่า

(1) ศิลปะประทับใจ    (2) ศิลปะบริสุทธิ์         (3) ศิลปะโรแมนดิก     (4) ศิลปะประยุกต์

ตอบ 4 หน้า 8 – 93 – 4 (s)127 (S) ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) คือ ศิลปะที่ตั้งใจสร้างหรือ ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย หรือเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันอย่างใดอย่างหนี่ง เช่น เครื่องประดับ (ต่างหู กำไลแขน เข็มกลัด) เครื่องจักร ผ้า เครื่องหนัง เครื่องเคลือบ รวมทั้งสะพานส่งนํ้า หรือเขื่อนกั้นนํ้าของศิลปะโรมัน ฯลฯ ซึ่งอาจจะแบ่งย่อยออกไปเรียกว่า พาณิชย์ศิลป์หรืออุตสาหกรรมศิลป์” แต่ถ้าหากประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อประดับตกแต่งในอาคาร สถานที่ก็จะเรียกว่า มัณฑนศิลป์” เช่น การออกแบบเครื่องเรือน โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ

66.       ผลงานสูงสุดของมนุษย์คือข้อใด

(1) ศิลปะถํ้า    (2)       ศิลปะเพื่อชีวิต (3)       ศาสนศิลปะ     (4) ศิลปะบริสุทธิ์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

67.       ศิลปะอิสลามเจริญขึ้นในอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่เท่าใด

(1) พุทธศตวรรษที่ 7-9            (2) พุทธศตวรรษที่ 9-11

(3) พุทธศตวรรษที่ 11-14        (4) พุทธศตวรรษที่ 18 – 23

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

68.       การสร้างสรรค์ความงามของศิลปกรรมนานาชาติ มีลักษณะการแสดงออกด้วยสิ่งใด

(1) นํ้าหนัก      (2)       สีหลายสี          (3)       ความเหมือนกัน           (4) รสนิยมที่ต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 5 (S) รสนิยมที่ดีในงานศิลปะ หมายถึง การรู้จักความสัมพันธ์ของโครงสร้างและ ส่วนประกอบขั้นมูลฐานที่สำคัญของงานศิลปะ โดยต้องพิจารณาถึงรูปลักษณะที่สวยงาม และประโยชน์ใช้สอยควบคู่กันไปด้วย ซึ่งรสนิยมในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมของแต่ละชาติ จะแตกต่างกัน อันมีผลมาจากความแตกต่างของขนบธรรมเนียม เชื้อชาติ วัฒนธรรม และ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

69.       ศิลปะกินระวางเนื้อที่ หมายถึงข้อใด

(1) จิตรกรรม ประติมากรรม    (2) ภาพพิมพ์ วาดเส้น

(3) สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์           (4) ต่างหูลายดอกกุหลาบ

ตอบ 1 หน้า 840 ศิลปะกินระวางเนื้อที่ (Space Art) บางครั้งก็เรียกว่า ทัศนศิลป์” (Visual Art or Plastic Art) หมายถึง ศิลปะที่จำกัดระวางเนื้อที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในอากาศด้วยปริมาตร ของศิลปะเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น

70.       ศิลปกรรมที่ให้คุณค่าทางสุนทรียสัมผัสในความงาม

(1) ผ้าฝ้ายทอมือ จากบ้านไร่ไผ่งาม

(2) กำไลเงินลายเรขาคณิต จากชาวม้ง

(3) ภาพเหมือนชาวไทยภูเขา

(4) งานเครื่องเขิน จากเชียงใหม่

ตอบ 3 หน้า 4 (S)184 (S) ศิลปกรรมที่ให้คุณค่าทางสุนทรียสัมผัสในความงาม เป็นงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความพอใจและรื่นรมย์ทางใจของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า ประณิตศิลป์” (Fine Art) เช่น จิตรกรรมภาพวาดต่าง ๆ การจำหลักไม้ การเขียนลายรดนํ้า และการประดับมุก เป็นต้น

71.       ลักษณะพิเศษของศิลปะนามธรรม

(1) ทำเป็นรูปที่ผู้อื่นไม่เข้าใจ    

(2) สร้างความคิดขึ้นมาใหม่

(3) ปรุงแต่งดัดแปลงใหม่        

(4) เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยเห็น

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

72.       ศิลปะนามธรรม

(1) ไม่มีเนื้อหา 

(2) มีแต่ความว่างเปล่า

(3) รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม      

(4) มีรูปร่างบิดเบี้ยว

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

73.       ข้อใดเป็นวิจิตรศิลป์

(1) แจกันรูปแบบแปลกใหม่    

(2) ตึกสูงห้าสิบชั้น

(3) ภาพพิมพ์รูปวัด      

(4) ภาพเหมือนรูปดอกไม้

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

74.       งานหัตถศิลป์คือข้อใด

(1) จี้เพชรแซมด้วยมรกต         (2) ตะกร้าหวายลายดอกพิกุล

(3) ต่างหูรูปพัด            (4) หินสลักเป็นรูปเจดีย์

ตอบ 2 (คำบรรยาย) หัตถศิลป์ (Craft Art) หมายถึง งานศิลปะที่นำไปใช้ในงานหัตถกรรม โดยใช้มือทำเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องปั้นดินเผา งานแกะสลักไม้ งานถักทอ งานหวาย รวมถึงงานช่างสิบหมู่ของไทยด้วย

75.       งานทัศนศิลป์เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) พานพระขันหมาก  (2) ภาพพิมพ์บนผ้าไหม (3) หน้าบันวิหารไม้วัดพันเตา            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 86 (S), (ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ) ทัศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง งานศิลปะที่สัมผัสได้ด้วยการมองเห็น ซึ่งเป็นศิลปะที่มีรูปทรง มีโครงสร้าง และมีผลงานที่สามารถมองเห็น ความงามได้ เช่น งานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ ฯลฯ

76.       ประติมากรรมนูนต่ำคือข้อใด

(1) ภาพปูนปั้นที่เจดีย์จุลประโทน       (2) ลายจำหลักบนใบเสมา

(3) เหรียญห้าบาทไทย            (4) พระพุทธรูปบนฐานเตี้ย

ตอบ 3 หน้า 41 – 42 ประติมากรรม คือ ศิลปกรรมซึ่งเป็นรูปทรงสามมิติ มีการกินที่ในอากาศ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ประติมากรรมนูนตํ่า คือ รูปที่ปั้นหรือแกะสลักให้ยื่นออกมา จากแผนหลัง โดยมีพื้นแบนราบเสมอกันทั่วทั้งองค์ประกอบ เช่น เหรียญเงินตราต่าง ๆ ฯลฯ

2.         ประติมากรรมนูนสูง คือ รูปปั้นหรือแกะสลักที่นูนออกมาจนเกือบหลุดออกจากแผ่นหลัง

3.         ประติมากรรมลอยตัว คือ รูปปั้นที่ไม่มีแผ่นหลัง สามารถดูได้รอบด้านและทุกระดับแนวดู

77.       ภาพหุ่นนิ่งมีลักษณะเกี่ยวข้องกับ

(1) ฉากลับแลเรื่องอิเหนา        (2) ตู้ลายรดนํ้าสมัยอยุธยา

(3) ลายเส้นรูปเหมือนดอกเบญจมาศ (4) รูปเรขาคณิตในศิลปะถํ้า

ตอบ 3 หน้า 36 (S) ภาพเหมือนจริงหรือหุ่นนิ่ง (Still Life) เป็นการแสดงออกตามความเป็นจริง ซึ่งถอดแบบมาจากธรรมชาติอย่งชัดเจน โดยศิลปินจะแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ตามที่เข้าใจ และต้องการแสดงออก ได้แก่ การแสดงออกถึงเรื่องราวชีวิตจริง การทำงาน ความยากจน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ภาพหุ่นนิ่งของนักดนตรี ภาพลายเส้นรูปเหมือน ของดอกไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

78.       ภาพหุ่นนิ่งรูปดอกไม้เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) สีน้ำมัน      (2) ลายเส้น     (3) จิตรกรรม   (4) ประติมากรรม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. ประกอบ

79.       เก้าอี้ฝังมุกของจักรพรรดิจีน

(1) จิตรกรรมที่สดใส    (2) ประติมากรรมอันลํ้าค่า

(3) ความคิดจากจินตนาการ    (4) ความสวยงามของประณีตศิลป์

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

80.       พื้นผิวขัดมันของเก้าอี้ไม้มะเกลือให้ความรู้สึกทางสุนทรียภาพที่

(1) ลื่น มัน       (2) น่าเกรงขาม            (3) บางเบา      (4) เย็น

ตอบ 4 หน้า 64 – 65 (S) พื้นผิวของดิน เปลือกไม้ อิฐ พืช เปลือกไข่ ขนสัตว์ ใยไหม ปีกของแมลง หรือไม้มะเกลือขัดมัน ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะโดยธรรมชาติเป็นวัสดุที่แข็งและสะท้อนแสงได้อย่างดี จะให้ความรู้สึกที่เย็น แต่ถ้ามีลายไม้มากหรือมีสีนํ้าตาลเข้มจนเกือบดำจะให้ความรู้สึกที่อบอุ่นแทน

81.       งานจิตรกรรม

(1) ความคิดสร้างสรรค์จากไม้ 

(2) ภาพดวงอาทิตย์บนผืนผ้าใบ

(3) บ้านสามชั้นทรงสเปน        

(4) ปูนปั้นสีสันสวยงาม

ตอบ 2 หน้า 4195 (S) งานจิตรกรรม (Painting) คือ ภาพเขียนและการเขียนภาพ โดยเป็นกรรมวิธี ของการนำสีชนิดต่าง ๆมาระบายหรือเขียนลงบนแผ่นราบ เช่นผืนผ้าไม้ โลหะ กระดาษ ผนังปูน ฯลฯ เพื่อให้เกิดเป็นภาพที่มีความหมายและมีความงามตามต้องการ

82.       จิตรกรรมฝาผนังของไทย

(1) ให้ความรู้สึกอ่อนหวานเสมอ          

(2) มักเป็นภาพสามมิติ

(3) มีความแบนเรียบ ไม่มีความลึก      

(4) มักเป็นเรื่องในวรรณคดี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

83.       รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้ความรู้สึกที่

(1) หนักแน่น เข้มแข็ง  

(2) สดชื่น ร่าเริง           

(3) เก๋ สนุกสนาน         

(4) ไม่ค่อยเป็นทางการ

ตอบ 1 หน้า 62 – 63 (S) รูปทรง สามารถสื่อความหมายและความรู้สึกได้เช่นเดียวกับวิธีการของเส้น เช่น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะให้ความรู้สึกหนักแน่น เข้มแข็ง มั่นคงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะให้ความรู้สึก ตรงไปตรงมา เป็นกลาง เคร่งขรึม เอาจริงเอาจัง รูปสี่เหลี่ยมคางหมูจะให้ความรู้สึกแปลกใหม่ เก๋ สนุกสนาน ไม่ค่อยเป็นทางการมากนักรูปร่างอิสระจะให้ความรู้สึกสดชื่น ร่าเริง เป็นต้น

84.       ความสมดุลคือข้อใด

(1) ต่างหูข้างหนึ่งเป็นรูปดาวและอีกข้างหนึ่งเป็นรูปเดือน      (2) ที่คาดผมมีโบทางซ้าย

(3) กระถางดอกโป๊ยเซียนแตกกิ่งก้านสาขามากมาย (4) ดอกไม้ปักแจกันเป็นรูปดาว

ตอบ 1 หน้า 30 – 3176 (S) ความสมดุล หมายถึง ความเท่ากันหรือการถ่วงเพื่อให้เกิดการเท่ากัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ความสมดุลที่เท่ากัน คือ ความเท่ากันทั้งซ้ายและขวา เช่น ร่างกายของคน สัตว์ ฯลฯ 2. ความสมดุลไม่เท่ากัน คือ ความสมดุลที่มิได้เท่ากันโดยแท้จริง แต่มีการจัดขนาด รูปร่าง สี รูปทรง ฯลฯ ให้แตกต่างกันทั้ง 2 ข้าง หรือมีลักษณะสมดุลด้วยตา โดยประมาณ เช่น ต่างหูข้างหนึ่งเป็นรูปดาวและอีกข้างหนึ่งเป็นรูปเดือน ฯลฯ

85.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับรูปทรงเรขาคณิต

(1) ลายจำหลักหินรูปทรงกลม            (2) ตะกร้าย่านลิเภาลายสามเหลี่ยม

(3) ผ้าไหมลายนํ้าไหลจากน่าน            (4) จิตรกรรมฝาผนังลายเทพชุมนุม

ตอบ 4 หน้า 22360 (S) รูปทรง (Form) แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.         อินทรียรูป คือ รูปทรงที่มีชีวิต มีกฎเกณฑ์และมีโครงสร้างที่แน่นอน

2.         รูปทรงเรขาคณิต คือ รูปทรงที่เกิดจากการสร้างของมนุษย์ให้เกิดเป็นเส้นตรง เป็นรูป มีเหลี่ยมมุม รูปวงกลม รวมถึงการตกแต่งด้วยแบบลายเส้นในการจักสาน เช่น ตะกร้า ชะลอม กระบุง ลายในการถักทอ ฯลฯ

3.         รูปทรงอิสระ คือ รูปทรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่มีโครงสร้าง

86.       สีที่มีความอ่อนหวานคือสีใด

(1) สีแดง         (2) สีชมพู        (3) สีเหลือง     (4) สีเขียว

ตอบ 2 หน้า 71 (S) ในเรื่องจิตวิทยาของสีนั้นถือว่า สีมิอิทธิพลเหนือจิตใจของมนุษย์โดยทั่วไป ดังนั้นสีจึงสามารถบ่งบอกถึงอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นอย่างดี เช่น สีเหลือง หมายถึง ความไพบูลย์สีแดง หมายถึง ความตื่นเต้นเร้าใจสีชมพูหรือสีดอกกุหลาบ หมายถึง ความอ่อนหวานนุ่มนวลสีเขียวและสีนํ้าเงิน หมายถึง ความสงบเงียบ ฯลฯ

87.       สีกลางคือสีใด

(1) ขาว            (2) น้ำเงิน        (3) นํ้าตาล       (4) เทา

ตอบ 4 หน้า 3467 (S) สีทั้งหลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นเกิดจากการผสมกันของแม่สีที่เรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ ได้แก่            1. สีนํ้าเงิน (Prussian Blue)     2. สีแดง (Crimson)3. สีเหลือง (Gamboge Tint) ซึ่งสีทั้งสามนี้เมื่อนำมาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน ก็จะได้สีกลาง (Neutral Tint) คือ สีเทา แต่ถ้าผสมเข้มจัดจะได้สีดำ

88.       สีตรงกันข้ามคือข้อใด

(1) เทาเข้ม       ฟ้าใส   (2) แดง ชมพูอ่อน        (3)       เหลือง  นํ้าตาล (4)       ส้ม นํ้าเงิน

ตอบ 4 หน้า 3669 (S) สีตรงกันข้ามหรือสีคู่จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง ซึ่งสีบางสีจะเอามาผสมกัน ไม่ได้เพราะสีจะเน่าและไม่สวย โดยสีชนิดนี้มีมากคู่ด้วยกัน เช่น สีเขียวกับสีแดงเลือดนก,สีเหลืองกับสีม่วงสีน้ำเงินกับสีส้มสีแดงกับสีเขียวนํ้าเงิน ฯลฯ

89.       ต้นไม้ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ด้านที่โดนแดดเต็มที่จะเป็นสีใด

(1) เหลือง        (2) ขาว            (3)       เทา      (4)       ดำ

ตอบ 2 หน้า 55 – 56 (S) การเขียนรูปที่มีแสงส่องด้านข้างนั้น ด้านที่โดนแดดเต็มที่จะสว่างจนเกิด เป็นน้ำหนักขาว ส่วนที่พอจะได้แสงนิดหน่อยจะกลายเป็นสีเทา และส่วนที่ตรงกันข้ามกับแสง หรือเงาจะเป็นนํ้าหนักดำ

90.       ค่าของความแตกต่างที่เกิดจากแสงและเงาคือ

(1) รูปทรง        (2) ความเข้ม   (3)       จุด       (4)       ทิศทาง

ตอบ 2 หน้า 56 (S) ความเข้ม (Value) หมายถึง ค่าของความแตกต่างที่เกิดจากแสงและเงา ซึ่งคุณค่าของแสงและเงาจะช่วยให้งานศิลปะมีลักษณะเป็นแท่งหรือเป็นกลุ่มก้อน จนทำให้ เกิดเป็นภาพสามมิติขึ้น และก่อให้เกิดความงามในทางศิลปะ

91.       การใช้สีของศิลปะป๊อบ

(1) ชมพู แดงส้ม          

(2) นํ้าเงิน ฟ้าหม่น 

(3) แดง น้ำเงิน      

(4) เหลือง ครีม

ตอบ 3 หน้า 61 (S) ศิลปะป๊อบ มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีการล้อเลียน เยาะเย้ย หรือคัดค้านในเรื่องของสุนทรียภาพอยู่บ้าง มีการใช้สีสดใสระบายด้วยเทคนิคของ เส้นรอบนอกและขอบคม นิยมใช้สีตัดกัน เช่น นํ้าเงินกับแดง แดงกับเหลือง เป็นต้น

92.       เส้นที่กระจายออกเป็นรัศมี หมายถึง

(1) ความหวัง   

(2) ความทะเยอทะยาน

(3) ความมีกำลังเพิ่มขึ้น           

(4) ความมีสง่า

ตอบ 3 หน้า 264423051 – 53 (S) ความหมายของเส้น มีดังนี้

1. เส้นตรง ให้ความรู้สึกแข็งแรง มั่นคง           2. เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนโยน อ่อนหวาน อ่อนไหว

3. เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคง จริงจัง   4. เส้นซิกแซ็ก ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง ต่อเนื่อง

ไม่สิ้นสุด ตื่นเต้น          5. เส้นนอน ให้ความรู้สึกสงบ นิ่งเฉย ผ่อนคลาย

6.         เส้นที่กระจายออกเป็นรัศมี ให้ความรู้สึกกระจายออก ระเบิด ความมีกำลังเพิ่มขึ้น

7.         เส้นโค้งลงสู่พื้น ให้ความรู้สึกเศร้า เหนื่อยหน่าย ฯลฯ

93.       เส้นที่มีลักษณะต่างกันและมีทิศทางต่างกัน

(1) ย้อมมีความกลมกลืนกัน    

(2) เกิดความไม่กลมกลืนกัน

(3) ไร้ชีวิตจิตใจ            

(4) มีความรู้สึกขัดแย้ง

ตอบ 2 หน้า 53 (S) หลักสำคัญในการออกแบบเส้นเพื่อให้รู้สึกว่ามีความกลมกลืนหรือตัดกัน มีดังนี้

1.         เส้นที่มีลักษณะคล้ายกันและมีทิศทางใกล้กัน ย่อมกลมกลืนกัน

2.         เส้นที่มีลักษณะต่างกันและมีทิศทางต่างกัน ย่อมไม่กลมกลืนกัน

94.       เส้นที่มีลักษณะต่างกัน

(1) ย่อมมีทิศทางต่างกัน          (2) ขาดชีวิตจิตใจ

(3) แสดงถึงความขัดแย้งกัน   (4) ไม่มีความกลมกลืนกัน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95.       เส้นซิกแซ็ก หมายถึง

(1) ความมีพลัง            (2) ความต่อเนื่องไม่สิ้นสุด

(3) ความยุ่งเหยิง         (4) ความไม่สมดุล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

96.       เส้นนอนมีความหมาย

(1) สงบ           (2) รวดเร็ว       (3) ต้นพลัง      (4) เหนื่อยหน่าย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

97.       ความมั่นคง แสดงด้วยเส้นใด

(1) เส้นโค้ง      (2)       เส้นตรง            (3)       เส้นเฉียง          (4)       เส้นผ่าน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

98.       เส้นที่ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง คือ

(1) เส้นโค้ง      (2)       เส้นแย้ง           (3)       เส้นตรง            (4)       เส้นซิกแซ็ก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

99.       เส้นโค้ง หมายถึง

(1) ความไม่แน่นอน     (2)ความอ่อนไหว         (3)ความแน่วแน่           (4)ความไม่หยุดนิ่ง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

100.    เส้นโค้งให้ความรู้สึกอย่างไร

(1) อ่อนหวาน

(2)หดหู่

(3)       สงบ

(4)       เหนื่อยหน่าย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

Advertisement