การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา ART 1003 ศิลปะวิจักษณ์

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.         ข้อใดคือหลักสำคัญของสุนทรียภาพ 

(1) ความมีระเบียบ

(2) ความประสานกลมกลืน    

(3) ความงาม  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 88 – 89 (S) หลักสำคัญของ สุนทรียภาพ” หรือการรู้คุณค่าในความงามนั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ 1. ความมีระเบียบ (Order) 2. ความประสานกลมกลืน (Harmony) 3. ความงาม (Beauty)

2.         ศิลปะภาพพิมพ์มีลักษณะตามข้อใด 

(1) เขียนเป็นลายเส้น

(2) ระบายด้วยสีเอกรงค์        

(3) กดหรือประทับจากแม่พิมพ์          

(4) เขียนแล้วนำมาปะติด

ตอบ 3 หน้า 97 (ร) ศิลปะภาพพิมพ์ (Graphic Arts) มาจากภาษาลาตินว่า “Premere” ซึ่งแปลว่าการกดให้ติด” หมายถึง การสร้างรูปหรือเครื่องหมายลงบนวัสดุผิวราบใด ๆ ด้วยวิธีการกด หรือประทับจากแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีผิวพื้นแบนราบ มีลักษณะ 2 มิติ มีความกว้าง และความยาว โดยปราศจากความหนาหรือความลึก

3.         ข้อใดคืองานประติมากรรม    

(1) ผ้าลายนํ้าไหลจากเมืองน่าน

(2) วีนัส วีเลนดอร์ฟ   

(3) ภาพหญิงสาวส่องกระจกของปิกาสโซ     

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 51 ประติมากรรมที่ทำขึ้นครั้งแรกของคนสมัยก่อนประวัติสาสตร์จะมีลักษณะกลม และสรีระส่วนต่าง ๆ ได้ขยายออกจนผิดความจริง แสดงว่าประติมากรรมที่ทำขึ้นมานี้ มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เช่น พบประติมากรรมลอยตัวที่ประเทศเยอรมัน คือ วีนัส วีเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์

4.         ข้อใดคืองานนิเทศศิลป์           

(1) การออกแบบลายผ้า

(2) ลายกระเบื้องเคลือบ         (3) เครื่องปั้นดินเผา     (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 102 – 103 (S) งานนิเทศศิลป์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจและการโฆษณา เช่น การออกแบบหนังสือเด็ก การออกแบบเครื่องหมายสัญลักษณ์ การออกแบบลายผ้า ลายกระเบื้องเคลือบ ตลอดจนการลอกแบบผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ

5.         ข้อใดคือสัญลักษณ์ของความดีงามที่ศิลปินไทยในสมัยโบราณได้ปรุงแต่งขึ้นในงานจิตรกรรมฝาผนัง

(1)       ครุฑ     (2) เทพยดา     (3) อสูร            (4) คชสีห์

ตอบ 2 หน้า 44 (S) งานจิตรกรรมฝาผนังของศิลปินไทยในสมัยโบราณ มักจะสร้างสิ่งสมมุติเพื่อเป็นสัญลักษณ์ เช่น การเขียนภาพพระพุทธเจ้าขึ้นใหม่เพื่อแทนความหมายของนิพพานการเขียนรูปยักษ์มาร อสูรหรือปิศาจแทนความหมายของอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้าย,การเขียนรูปเทพยดา เทวดา นางฟ้า แทนความหมายของความดีงาม ฯลฯ

6.         ศิลปกรรมของเชื้อชาติใดมีลักษณะศิลปะอนารยะ

(1)       จีน       (2) อินโดนีเซีย (3) หมู่เกาะทะเลใต้     (4) อินเดีย

ตอบ 3 หน้า 114 (S) ศิลปะอนารยะ เป็นศิลปะของชนชาติที่ยังไมเจริญในยุคปัจจุบัน เช่น ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกา และดินแดนหมู่เกาะทะเลใต้ ฯลฯ

7.         จุดมุ่งหมายของการสร้างงานสถาปัตยกรรมอียิปต์เพื่อสิ่งใด

(1)       พระผู้เป็นเจ้า   (2) วีรบุรุษ       (3) คนที่ตายไปแล้ว     (4) ตอบแทนบุญคุณธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 116 (S) สถาปัตยกรรมของอาณาจักรอียิปต์ มีจุดมุ่งหมายในการสร้างขึ้นเพื่อคนที่ตาย ไปแล้ว โดยผู้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมนั้นได้ เช่น การสร้างมัสตาบา และพีระมิด ซึ่งแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ ตามความต้องการของฟาโรห์

8.         ประติมากรรมศิลปะอียิปต์มีลักษณะอย่างไร

(1)       ชอบสลักรูปหิน            (2) ชอบแกะหินอ่อนสีชมพูเข้ม

(3) เป็นแท่งหินสี่เหลี่ยม ทึบตัน           (4) นิยมทำรูปปูนปั้น

ตอบ 3 หน้า 115 (S) ประติมากรรมของอียิปต์จะเน้นความงามด้านหน้า หรือมีลักษณะมองตรงไป ข้างหน้า แนวคางจะขนานกับเส้นพื้น ไม่ก้มไม่เงยหน้า ให้ความรู้สึกมั่นคงทึบตัน ไม่นิยมเน้นกล้ามเนื้อ ชอบตกแต่งด้วยแก้วหินสี โดยบางส่วนจะทาสีและปิดทองประดับประดาอย่างแวววาว ตระการตา อีกทั้งยังชอบถ่ายทอดรูปมนุษย์กับสัตว์อันเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่เคารพบูชา

9.         งานจิตรกรรมศิลปะอียิปต์แสดงออกซึ่งความงดงามอย่างไร

(1)       รูปคนมักสลับด้านกัน  (2) ไม่ได้คำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ

(3) แสดงภาพใกล้ไกลด้วยวิธีซ้อนทับกัน        (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 118 (S) งานจิตรกรรมรูปคนของศิลปะอียิปต์มักจะสลับด้านกัน โดยไม่ได้คำนึงถึง ลักษณะตามธรรมชาติ เช่น เขียนส่วนหัวและท่อนขาจนถึงเท้าเป็นรูปด้านข้าง เขียนตาและ ทรวงอกเป็นรูปด้านหน้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมแสดงภาพใกล้ไกลด้วยวิธีซ้อนทับกัน เช่น จิตรกรรมฝาผนังกลุ่มนางร้องไห้ในสุสานของราโมเซส เป็นต้น

10.       ชนเผ่าใดในอาณาจักรแอสซีเรียนเป็นช่างฝีมือที่ชำนาญในการออกแบบลวดลายพรม

(1)       เปอร์เซียน        (2) แสสซาเนียน          (3)       อเคเมเนียน      (4)       อินเดีย

ตอบ 1 หน้า 119 – 120 (S) ชาวเปอร์เซียนที่อยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรแอสซีเรียน เป็นช่างฝีมือ ที่มีความชำนาญในการถักทอ ออกแบบลวดลายพรม และเครื่องโลหะต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงิน โดยนำมาออกแบบเป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย และสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโลหะ

11.       ชนชาติใดได้แสดงออกทางศิลปกรรมอย่างมีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์

(1)       อียิปต์  

(2) ซิมิติกส์      

(3)       กรีก     

(4)       เปอร์เซียน

ตอบ 3 หน้า 120 (S) ศิลปะกรีกเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของอารยธรรมตะวันตกที่แสดงออกทาง ศิลปกรรมอย่างมีเหตุผล ไม่ได้มุ่งสนองความเชื่อในอำนาจวิญญาณใด ๆ เชื่อในการค้นคว้า หาความจริงอย่างมีหลักเกณฑ์ อีกทั้งยังเคารพในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่มีความงาม เพี่อช่วยกล่อมเกลาพัฒนารสนิยมของมวลมนุษย์

12. วัสดุประเภทใดได้ปรากฎอยู่ในโครงสร้างของงานประติมากรรมศิลปะกรีก

(1)       อิฐ        

(2) ปูนปั้น        

(3)       หินอ่อน            

(4)       ศิลาแลง

ตอบ 3 หน้า 121 (S)124 (S) งานประติมากรรมของศิลปะกรีกนอกจากจะมีความสามารถสูงในการแกะสลักวัสดุจำพวกหินต่าง ๆ และไม้แล้ว ยังนิยมใช้โลหะหล่อเป็นประติมากรรมอีกด้วย เช่น ประติมากรรมบนเงินเหรียญ นอกจากนี้ในงานสถาปัตยกรรมก็นิยมใช้หินอ่อนเนื้อละเอียด เป็นวัสดุในการถ่อสร้างวิหารด้วยเช่นกัน

13.       เสาแบบไอโอนิกของกรีก มีความงามในรูปทรงอย่างไร

(1) ป้อม มีร่องคม        

(2) สูงชะลูด หัวเสาเป็นรูปก้นหอย

(3) บาง แต่งหัวเสารูปกามเทพแบกพวงมาลัย            

(4) ใหญ่โต หัวเสาเป็นดอกปาปิรัส

ตอบ 2 หน้า 121 – 122 (S) วิหารกรีกจะมีการออกแบบตกแต่งรูปทรงของเสาเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.         แบบดอริก จะมีลักษณะใหญ่ รูปทรงป้อม มีรองขนานกัน

2.         แบบ ไอโอนิก จะมีรูปทรงสูงชะลูด หัวเสาตกแต่งเป็นรูปวงก้นหอย มีร่องเสามากกว่าแบบดอริก

3.         แบบโครินเธียน จะมีรูปทรงบางกว่าแบบไอโอนิก ตกแต่งหัวเสาด้วยใบพืชคล้ายกับผักกาด

14.       ข้อใดคือความงามของประติมากรรมศิลปะกรีก

(1) ดวงตาใหญ่มาก มองตรงไปข้างหน้า         (2) คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความงาม

(3) เน้นความงามของรูปทรง   (4) มีปริมาตรใหญ่โต ทึบตัน

ตอบ 3 หน้า 123 – 124 (S) ศิลปกรรมกรีกในสมัยหลังจะนิยมสร้างประติมากรรมตามเทพนิยายและชีวิตจริง โดยแสดงกายวิภาคของมนุษย์และสัตว์อย่างชัดเจน เปิดเผยและเน้นความงามของ รูปทรงอย่างบริสุทธิ์โดยปราศจากเครืองนุ่งห่ม และแสดงความอ่อนหวานอย่างมีชีวิตจิตใจ มากกว่ารูปประติมากรรมในระยะแรก เช่น รูปปั้นวินัส เดอ ไมโล (Venus De Miio)ซึ่งถือเป็นผลงานชั้นเยี่ยมของกรีกที่มีความงามเป็นเลิศ

15.       วีนัส เดอ ไมโล เป็นผลงานประติมากรรมชั้นเยี่ยมของศิลปะใด

(1)       บาบิโลเนียน   (2) แอสซีเรียน (3) กรีก            (4) โรมัน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

16.       เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในศิลปะโรมันมีลักษณะอย่างไร         

(1) รูปทรงเรียบง่าย

(2)       เป็นที่สถิตของเทพเจ้า            (3) รับใช้มวลชนในสังคม        (4) เบาลอย สอบเข้าข้างบน

ตอบ 1 หน้า 126 – 127 (S) สถาปัตยกรรมของศิลปะโรมันจะมีลักษณะทึบตัน ใหญ่โต มั่นคงแข็งแรง และมีการจัดวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบสวยงาม นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างและ รูปทรงแบบเรียบง่ายโดยไม่ประดับตกแต่งมากนัก ซึ่งถือเป็นการแสดงออกในลักษณะที่เป็น เอกลักษณ์ของตนเอง

17.       จิตรกรรมในสมัยโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์

(1)       เราพบทั่วไปในแหล่งที่ทำการขุดค้น   (2) เราพบตามผนังถํ้า เพดานถ้ำ

(3)       เราพบตามหุบเขา แหล่งที่อยู่อาศัยของคนทั่วไป (4) เราพบในภาพวาดบนแผ่นจารึก

ตอบ 2 หน้า 49 – 51 จิตรกรรมในสมัยโบราณก่อนประวัติศาสตร์มักพบตามถ้ำ เช่น ตามผนังถ้ำ และเพดานถาที่อยู่ลึกจากปากถํ้าเข้าไป บางครั้งจึงเรียกว่า ศิลปะถ้ำ” โดยถ้ำแรกสุดที่พบ จิตรกรรมภาพเขียนของคนก่อนประวัติศาสตร์ คือ ถํ้า Allaimra ที่อยู่ทางตอนเหนือของสเปน โดยพบภาพเขียนเป็นภาพกวางตัวเมีย ส่วนที่ถํ้า Laussel ในฝรั่งเศส ได้พบภาพเขียนเป็น ภาพสัตว์ เช่น รูปม้า วัวไบซัน และกวาง           

18.       จิตรกรรมผนังถ้ำที่เก่าที่สุดเราพบที่   

(1) ทางตอนเหนือของสเปน

(2)       ทางตอนใต้ของสเปน  (3) ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส (4) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

19.       ศิลปะในข้อใดเป็นผลงานสูงสุดของมนุษย์

(1) ศาสนศิลปะ           (2) ศิลปะพื้นบ้าน        (3) ศิลปะถ้ำ    (4) ศิลปะบนหน้าผา

ตอบ 1 หน้า 4 (S)12 (S) ศาสนศิลปะ (Religious Art) หรืองานศิลปกรรมในลัทธิความเชื่อถือ และศาสนา ถือเป็นงานสร้างสรรค์ที่เหนือกว่างานสร้างสรรค์ด้านอื่น ๆ เพราะเป็นงานศิลปะ ที่เกิดจากความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา (Intellectual Appreciation) ที่มีคุณค่าเหนือกว่าศิลปะ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ประติมากรรมพระพุทธรูป ภาพเขียนพุทธประวัติ หรือศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อการบูชาต่าง ๆ เป็นต้น

20.       ข้อใดเกี่ยวข้องกับความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา       

(1) ประติมากรรมศิลปะสุโขทัย

(2)       ภาพเขียนรูบดอกกุหลาบ

(3) ภาพเหมือนของพอล โกแกง

(4) ภาพสลักบานประตูลายพันธ์พฤกษ์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

21.       ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของการเรียนวิชาศิลปะวิจักษณ์

(1) รู้คุณค่าของศิลปกรรม

(2)       วาดรูปได้ยอดเยี่ยม     

(3) รสนิยมทันสมัย      

(4) เข้าใจธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 3 จุดมุ่งหมายในการเรียนวิชาศิลปะวิจักษณ์ คือ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและพิจารณา งานศิลปะอย่างมีเหตุผล ตลอดจนเข้าใจประวัติความเป็นมาจนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ งานศิลปะได้ กล่าวคือ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งสวยง พื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เกิด ทัศนคติที่ดี รู้จักคุณค่าของศิลปกรรม และยังเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าไจ อย่างมีหลักการจนสามารถรู้วิธีการเบื้องต้นในการอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติได้

22.       ความรู้สึกทางด้านความงามของมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อใด

(1) พร้อมกับมนุษย์      

(2)       ยุคหินเก่า        

(3) ยุคหินใหม่  

(4) มีการก่อสร้างเทวาลัย

ตอบ 1 หน้า 1 (S) ความรู้สึกทางด้านความงาม นับเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่มีติดตัวมาแตกำเนิด เพียงแต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการแสดงออกเท่านั้น จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า จุดเริ่มต้นของศิลปะได้กำเนิดขนมาพร้อมกับมนุษย์

23.       ความซาบซึ้งทางสุนทรียรสเกียวข้องกับข้อใด

(1) ความรัก     

(2)       ความดี 

(3) ความงาม   

(4) ความเชื่อถือ

ตอบ 3 หน้า 3 (S)12 – 13 (ร) สุนทรียรสหรือรสของศิลปะจะก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในสุนทรียภาพ หรือความงามของศิลปะ ซึ่งนับเป็นความเข้าใจที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดย มีสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ 1. ความซาบซึ้งทางอารมณ์ 2. ความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา

24.       ศิลปะประยุกต์มีจุดมุ่งหมายตามข้อใด

(1) สร้างความศรัทธา  (2)       ประโยชน์ใช้สอย         (3) ให้ความสนุกสนาน            (4) ให้ความสงบ

ตอบ 2 หน้า 8 – 93 – 4 (S) ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) คือ งานศิลปะที่ผู้สร้างตั้งใจสร้างหรือ ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็นการรู้จักนำเอาศิลปะมา ดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ซึ่งถือเป็นประโยชน์สุขทางกายของมนุษย์ เช่น เครื่องประดับ เครื่องจักร ผ้า เครื่องหนัง เครื่องเคลือบ และเครื่องใช้สอยต่าง ๆ เป็นต้น

25.       เยาวชนที่คุ้นเคยกับศิลปกรรมอันงดงามจะมีลักษณะอย่างไร

(1) กล้าหาญอดทน     (2)       มีทักษะในการติดต่อ (3) มีความคิดอ่านสุขุม  (4) ก้าวร้าว รุนแรง

ตอบ 3 หน้า 21 (S) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ให้ข้อคิดว่า เด็กที่คุ้นเคยกับงานศิลปะหรือได้ พบเห็นสิ่งประณีตสวยงามนั้น ต่อไปในอนาคตก็จะกลายเป็นของจำเป็นต่อชีวิตของเด็ก เพราะจะช่วยให้มีความคิดอ่านประณีตสุขุม นอกจากนี้ศิลปะก็ยังช่วยให้เยาวชนของชาติ กลายเป็นคนดีขึ้น และประพฤติปฏิบัติไปตามกฎแห่งศีลธรรม

26.       ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1)       ศิลปะช่วยอบรมจิตใจของเราได้         (2) งานศิลปะมาจากสิ่งอกุศลหรือทุศีลก็ได้

(3)       ศิลปะเป็นสมบัติส่วนบุคศล    (4) เข้าใจศิลปะต้องเข้าใจธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 6 (S)21 (S)85 (S), (ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ) การเข้าใจศิลปะจะต้องเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งศิลปินอาจแสดงออกมาจากสิ่งที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ทุศีล) ก็ได้ ดังนั้นผลงานทางศิลปะ จึงไม่ได้จำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ และไม่ได้แบ่งแยกความแตกต่างของเชื้อชาติ ภาษา ผิวพรรณ หรือหน้าตา แต่ศิลปะมีความเป็นกลางหรือเป็นสากล อันเป็นสมบัติที่น่าภูมิใจของมวลชนทั่วโลก

27.       การแสดงออกด้วยการตัดทอนคืออะไร          

(1) ภาพเหมือนจริง

(2)       ไม่ลอกเลียนธรรมชาติทั้งหมด            (3) ภาพในชีวิตประจำวัน        (4) ลอกเลียนธรรมชาติ

ตอบ 2 หน้า 37 (S) การแสดงออกด้วยการตัดทอน (Distortion) เป็นการแสดงออกที่ศิลปินจะไม่ลอกเลียนธรรมชาติทั้งเหมด แต่จะเน้นเฉพาะส่วนสำคัญหรือจุดเด่นที่ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ ส่วนที่รองลงมาหรือไม่น่าสนใจก็จะตัดทิ้งออกไปโดยไม่ถ่ายทอดออกมาให้เห็น

28.       ข้อใดไม่ใช่วิจิตรศิลป์

(1) จิตรกรรม   (2) ประติมากรรม        (3) ภาพถ่าย    (4) สถาปัตยกรรม

ตอบ 3 หน้า 8 วิจิตรศิลป์ (Fine Art) หมายถึง จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมวรรณศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของธรรมชาติ จนส่งเสริมให้ศิลปิน เกิดความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะ เป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากความสัมพันธ์กันอย่างประณีต ของเส้นและมวลสิ่งหรือสิ่งที่มีความผสมกลมกลืนกันอย่างงดงาม

29.       ข้อใดคือการถ่ายทอดตามความรู้สึก

(1)       นามธรรม         (2)       เหมือนจริง       (3)       ตัดทอน            (4) ลายเส้น

ตอบ1  หน้า 1138 – 39 (S)57 – 58 (S)221 ศิลปะนามธรรม เป็นการถ่ายทอดตามความรู้สึก(Abstraction) หรือการแสดงออกในลักษณะนามธรรม ซึ่งนำเอารูปทรงต่าง ๆ ที่พบเห็นใน ธรรมชาติมาจัดเสียใหม่ โดยจัดองค์ประกอบของภาพอย่างอิสระ มีการใช้สีสันที่แสดงถึงความ มีอิสระเสรีทางอารมณ์ ตลอดจนการสร้างรูปทรงที่แปลกใหม่ไม่เหมือนธรรมชาติ เพื่อเป็นสื่อนำจิตใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น รูป หญิงสาวกำลังร้องไห้” ของปิกาสโซ เป็นต้น

30.       รูป หญิงสาวกำลังร้องไห้” ของปิกาสโซ เป็นศิลปกรรมตามข้อใด

(1) เหมือนจริง (2)       นามธรรม         (3)       ประทับใจ        (4) ป๊อบ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31.       จินตนาการของช่างเขียนไทยในเรื่องไตรภูมิพระร่วงเกี่ยวข้องกับสิ่งใด

(1)       ความงามของเมือง      

(2)       นรกสวรรค์       

(3)       การนับถือศาสนา        

(4) ประวัติศาสตร์

ตอบ2 หน้า 155 ความเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ได้มีอิทธิพลต่อจินตนาการของช่างเขียนสมุดภาพไตรภูมิพระร่วงมาก แต่จากลักษณะของบุคคลในภาพแสดงให้เห็นว่าช่างมีอิสระทางความคิด ทำให้องค์ประกอบและการเขียนยังไม่ถูกต้องกับระบบแบบแผน เช่น เรื่องของนรกก็เป็น ความคิดส่วนตัวของช่างที่แสดงออก ดังนั้นจึงทำให้ภาพวาดมีความสวยงามและมีชีวิตจิตใจ

32.       ข้อใดคือการแสดงออกตามความเป็นจริง      

(1) ภาพหุ่นนิ่งดอกพุทธรักษา

(2)       ภาพปูนปั้นเทพธิดา    

(3) ภาพผู้คนแออัดกันในนรก  

(4) ลายเส้นจากจินตนาการ

ตอบ 1 หน้า 36 (S) การแสดงออกตามความเป็นจริง (Realism) เป็นการเปิดเผยสภาพความจริงจาก ธรรมชาติและสังคม โดยศิลปินจะแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ตามความเข้าใจและความต้องการ เช่น ภาพวาดด้านประวัติศาสตร์ ภาพเหมือนจริงหรือหุนนิ่งที่ถอดแบบมาจากธรรมชาติอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวชีวิตจริงของคน ชีวิตการทำงาน ความยากจน ฯลฯ

33.       ภาพสามมิติมีลักษณะอย่างไร

(1) แบนราบ    

(2) มีความลึกในภาพ

(3)       เส้นคมกริบดังคมมีด   

(4) รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู

ตอบ 2 หน้า 41221 – 222 ภาพสามมิติได้แบบอย่างการเขียนมาจากศิลปะตะวันตก ดังนั้นจึงมี ลักษณะเป็นภาพที่มีความลึกและประกอบไปด้วยสี เส้น และเงา ผิดกับภาพเขียนของศิลปะ ตะวันออกที่มักจะประกอบไปด้วยสีและเส้นเท่านั้น ท่าให้ภาพเขียนมีลักษณะเป็นรูปแบน ๆ หรือเป็นภาพสองมิติที่ไม่มีความลึก

34.       แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปะคืออะไร

(1) ธรรมชาติ   (2) ศาสนา       (3) สังคม การปกดรอง            (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 91941 (S) แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปะไมใช่มาจากธรรมชาติแต่เพียงอย่าง เดียวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ศาสนา ความเชื่อถือ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เชื้อชาติ สังคม การปกครอง และวัสดุที่ใช้ในการสร้าง ฯลฯ

35.       งานจิตรกรรมฝาผนังไทยมีลักษณะตามข้อใด

(1) ภาพสามมิติ           (2) มีระยะใกล้และไกล (3) ภาพสองมิติ         (4) เขียนซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ

ตอบ 3 ดูคำอธิบาย1ข้อ 33. ประกอบ

36.       เส้นที่ดูเหมือนถูกตัดด้วยคมมีดในผลงานของปิกาสโซ ได้ความรู้สึกอย่างไร

(1) ความกลัว  (2) ความดีงาม            (3) ความสง่างาม        (4) ความรุนแรง

ตอบ 4 หน้า 53 – 54 (S) เส้นที่ปิกาสโซนำมาใช้ในภาพเกร์นิกานั้น มีลักษณะตรงซึ่งบอกถึงความ แข็งกร้าวเป็นส่วนใหญ่ แม้จะมีเส้นโค้งอยู่บ้างแต่ก็ดูแข็งแรงเหมือนเส้นที่ถูกตัดด้วยมีดคม โดยเส้นต่าง ๆ ที่มารวมกันเข้าในลักษณะพุ่งตัดเป็นกากบาทนี้ทำให้ภาพดูสับสน ยุ่งเหยิง และเป็นภาพความรุนแรงแห่งสงครามที่ทุกคนไม่ปรารถนาจะได้พบ

37.       เส้นที่ให้ความรู้สึกมั่นคง จริงจัง คือข้อใด

(1)       เส้นตั้ง (2) เส้นซิกแซ็ก            (3) เส้นเฉียง    (4) เส้นนอน

ตอบ 1 หน้า 2651 – 53 (S) ศิลปินจะต้องรู้จักนำเส้นต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับหน้าที่ เช่น เส้นตั้ง จะให้ความรู้สึกมั่นคง จริงจังเส้นซิกแซ็ก จะให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง ตื่นเต้น,เส้นเฉียง จะให้ความรู้สึกรวดเร็วเส้นนอน จะให้ความรู้สึกสงบ นิ่งเฉย ผ่อนคลาย,เส้นโค้งลงสู่พื้น จะให้ความรู้สึกเศร้า เหนื่อยหน่าย ฯลฯ

38.       ถ้าผู้วาดภาพขาดชีวิตจิตใจ ภาพนั้นจะดูเศร้า หากใช้เส้นในการแสดงออก หมายถึงเส้นที่มีลักษณะอย่างไร

(1) เส้นตั้งตัดกัน          (2) เส้นโค้งเป็นวงกลม

(3)       เส้นเฉียงเป็นรูปกรวย  (4) เส้นโค้งลงสู่พื้น

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39.       เส้น” ในศิลปกรรมไทย ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากอะไร

(1)       ความสำนึกบาป          (2) ความเชื่อในเทพเจ้า           (3) ธรรมชาติ   (4)       สงคราม

ตอบ 3 หน้า 54 (Sเส้น” ในศิลปกรรมไทยนั้น ช่างไทยได้นำมาออกแบบเป็นลายไทย ลายกนก ให้เป็นศิลปะประจำชาติ ซึ่งลายไทยต่าง ๆ เหล่านี้ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติและได้คิดค้นปรับปรุงให้เหมาะสมกับองค์ประกอบของงานศิลปะในแบบไทย

40.       ค่าของความแตกต่างที่เกิดจากแสงและเงาคืออะไร

(1) ความเข้ม   (2) จุด  (3)       รูปร่าง  (4)       รูปทรง

ตอบ 1 หน้า 56 (S) ความเข้ม (Value) หมายถึง ค่าของความแตกต่างที่เกิดจากแสงและเงา ซึ่งคุณค่าของแสงและเงาจะช่วยให้งานศิลปะมีลักษณะเป็นแท่งหรือเป็นกลุ่มก้อน จน ทำให้เกิดเป็นภาพ 3 มิติขึ้น และก่อให้เกิดความงามในทางศิลปะ

41.       รูปทรงที่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและมีโครงสร้างคือข้อใด

(1) เรขาคณิต  

(2) อินทรียรูป  

(3)       อิสระ   

(4)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 60 (S) รูปทรง (Form) แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ  

1. อินทรียรูป คือ รูปทรงที่มีชีวิต มีกฎเกณฑ์แน่นอน และมีโครงสร้าง

2.         รูปทรงเรขาคณิต คือ รูปทรงที่เกิดจากการสร้างของมนุษย์ให้เกิดเป็นเส้นตรง เป็นรูปมี เหลี่ยมมุม รูปวงกลม รวมถึงการตกแต่งด้วยแบบลายเส้นในการจักสานตะกร้า กระบุง และลายในการถักทอ ฯลฯ

3.         รูปทรงอิสระ คือ รูปทรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไมมีโครงสร้าง

42.       ข้อใดเกี่ยวข้องกับรูปทรงเรขาคณิต   

(1) ชะลอมไม้ไผ่

(2)       ตะกร้าหวายลายดอกพิกุล     

(3) ภาพเหมือนของดอกตะแบก          

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43.       ศิลปะป๊อบนิยมใช้สีตามข้อใด

(1) สีหวานใส   

(2) สีเย็น         

(3) สีตัดกัน      

(4) สีมืด

ตอบ 3 หน้า 61 (S) ศิลปะป๊อบ (Pop Art) มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีการ ล้อเลียน เยาะเย้ย หรือคัดค้านเรื่องของสุนทรียภาพอยู่บ้าง มีการใช้สีสดใสระบายด้วยเทคนิค ของเส้นรอบนอกหรือขอบคม โดยนิยมใช้สีตัดกัน เช่น นํ้าเงินกับแดง แดงกับเหลือง เป็นต้น

44.       รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ความรู้สึกแกผู้ชมอย่างไร

(1) เอาจริงเอาจัง         (2) มั่นคง         (3) มีพลังสูง    (4) สนุกสนาน

ตอบ 1 หน้า 62 – 63 (S) รูปทรง (Form) สามารถสื่อความหมายและความรู้สึกได้เช่นเดียวกับวิธีการ ของเส้น กล่าวคือ เมื่อเปลี่ยนเส้นให้เป็นรูปทรงจะสามารถสื่อความหมายได้เช่นเดียวกัน เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้ความรู้สึกหนักแน่น เข้มแข็ง มั่นคงรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ความรู้สึก ตรงไปตรงมา เป็นกลาง เคร่งขรึม เอาจริงเอาจังรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนให้ความรู้สึก เป็นกลางคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่งดงามกว่า เบากว่า และหวานกว่ารูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ เก๋ สนุกสนาน ไม่เอาจริงเอาจัง ไม่ค่อยเป็นทางการมากนัก ฯลฯ

45.       ศิลปินจีนโบราณนิยมเขียนภาพด้วยสีอะไร

(1) ดำ  (2) แดง            (3) ม่วง            (4) เขียว

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 (S) ชาวจีนได้คิดค้นและนำสีต่าง ๆ มาใช้ย้อมผ้าหรือย้อมด้ายสำหรับทอผ้า แต่จะไม่นิยมเอามาใช้ระบายในภาพเขียน เพราะชาวจีนมีคติการเขียนภาพด้วยหมึกจีน คือ ใช้สีดำแต่เพียงสีเดียว

46.       สีวรรณะเย็นให้าวามรู้สึกแก่ผู้พบเห็นอย่างไร

(1)       ตื่นเต้น เร้าใจ   (2) มีพลังสูง    (3) ผ่อนคลายอารมณ์ (4) สนุกสนาน

ตอบ 3 หน้า 3568 (S) สี (Colour) แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ   1. สีวรรณะร้อน เช่น สีเหลือง ส้ม แสด แดง ม่วงแดง แดงชาด เทาอมแดง ฯลฯ จะให้าวามรู้สึกตื่นเต้น รุนแรง ขัดแย้ง และ สนุกสนานร่าเริง 2. สีวรรณะเย็น เช่น สีเขียว เขียวอ่อน เขียวแก่ ม่วงน้ำเงิน คราม น้ำเงิน ฯลฯ จะให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลายอารมณ์ และเรียบง่าย

47.       ข้อใดคือวรรณะสีร้อน

(1) ม่วงนํ้าเงิน  (2)       คราม   (3)       เขียวมะกอก    (4)       เทาอมแดง

ตอบ 4 ดูดำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48.       ในงานสถาปัตยกรรมนิยมใช้สีอะไรภายในบ้านเรือน

(1)       ชมพู ม่วง แดง (2) ขาว ครีม สีกระสอบ

(3)       เขียวหยก คราม นํ้าเงิน            (4) เหลืองมะนาว แดง ทอง

ตอบ 2 หน้า 70 – 71 (S) งานสถาปัตยกรรมภายในห้านเรือนส่วนใหญ่ มักจะนิยมใช้สีเรียบง่ายและไมสะดุดตาจนเกินไป เพราะจะทำใหไม่รู้สึกเบื่อง่าย เช่น สีขาว สีครีม สีเนื้อ สีกระสอบ และ สีอ่อน ๆ ของวรรณะเย็น ส่วนการใช้สีสด ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจให้สะดุดสายตา มักนิยมใช้ตามอาคารทางธุรกิจ บาร์ ไนต์คลับ ฯลฯ

49.       สีตรงข้ามที่ตัดกันคือข้อใด

(1) แดงส้ม ชมพูหม่น   (2) น้ำตาลทอง ครีม    (3) แดงเข้ม นํ้าเงิน      (4)       ขาว เทา

ตอบ 3 หน้า 3669 (S) สีตรงข้ามหรือสีคู่จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแห้จริง ซึ่งสีบางสีจะเอามาผสมกัน ไม่ได้เพราะสีจะเน่าและไม่สวย โดยสีชนิดนี้มีมากคู่ด้วยกัน เช่น สีเขียวกับสีแดงเลือดนก,สีเหลืองกับสีมวงสีน้ำเงินกับสีส้มสีแดงกับสีเขียวน้ำเงิน ฯลฯ

50.       ความสมดุลที่ไม่เท่ากันมีผลให้งานศิลปะมีลักษณะอย่างไร

(1) มั่นคง น่าศรัทธา    (2) อ่อนหวาน เบาลอย            (3) ก้าวร้าว รุนแรง       (4)       มีเสน่ห์ สนุกขึ้น

ตอบ 4 หน้า 3076 (S) ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน เป็นความสมดุลที่มิได้เท่ากันโดยแท้จริงเพราะมีการจัดขนาด รูปร่าง สี รูปทรง ฯลฯ ให้มีความแตกต่างกันทั้งสองข้าง แต่ให้มีลักษณะสมดุล ด้วยตาโดยประมาณ ซึ่งจะส่งผลให้งานศิลปะมีความแปลก มีชีวิตชีวา น่าสนใจ ไมน่าเบื่อหรือจืดชืดตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

51. เพราะเหตุใด ความขัดแย้ง” จึงให้ความงามในศิลปะ  

(1) ดูไม่ซ้ำซาก

(2)       ให้ความรู้สึกลงตัวพอดี           

(3) รู้สึกเกิดความแตกต่างขึ้น  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 79 (S) การรู้จักใช้ความขัดแย้ง” ที่ไม่ขัดกันในการประกอบงานศิลปะ จะทำให้งานมีเสน่ห์ ไม่ขาดรสหรือจืดชืด เพราะการตัดกันจะช่วยให้ดูไม่ซ้ำซาก และรู้สึกเกิดความแตกต่าง แต่ทั้งนี้จะต้องเข้าใจนำความกลมกลืนกับความขัดแย้งมาประกอบกันให้ลงตัว จึงจะเกิดผลงานที่มี ความงามอย่างพอเหมาะพอดี

52.       เทือกเขาวินธัยแบ่งอินเดีย

(1) ให้เป็นอินเดียเหนืออินเดียใต้         

(2) ให้ออกจากประเทศต่าง ๆ ทางตอนเหนือ

(3)       ให้เป็นอินเดียตะวันออกและตะวันตก 

(4) ให้เป็นอินเดียและศรีลังกา

ตอบ 1 หน้า 81 ประเทศอินเดียมีพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยตอนกลางของประเทศจะมีเทือกเขาวินธัย แบ่งอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งแต่ก่อนนี้ภาคเหนือจะเรียกว่า แคว้นฮินดูสถาน” ส่วนดินแดนทางภาคใต้จะเรียกว่า แหลมเดคข่านหรือทักษิณบถ

53.       ผลงานของทูลูส โลเทร็ค สะท้อนความรู้สึกอย่างไร

(1) การเมือง    

(2)       ความเมตตาสงสาร      

(3)       ธรรมชาติ         

(4)       บาป

ตอบ 2 หน้า 83 – 84 (S) ผลงานของทูลูส โลเทร็ค จิตรกรชาวฝรั่งเศสในแบบโพสอิมเพรสชันนิสม์ ได้แอบแฝงลักษณะคุณธรรมเอาไว้ในผลงาน โดยเขาได้เลือกหยิบเอาชีวิตตามสถานเริงรมย์ แห่งมองมาร์ตเป็นเรื่องสำคัญในผลงานของเขา ซึ่งบันดาลให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เมตตาสงสาร และสังเวชต่อเหล่าสตรีผู้ไร้ความสุขในสถานเริงรมย์ยามราตรี

54.       ผู้ที่นำพระเวทเข้ามาคือ

(1) พวกเตอร์ก (2)       พวกอารยัน      (3)       พวกดราวิเดียน            (4)       พวกชาวลุ่มแม่นํ้าสินธุ

ตอบ 2 หน้า 90 เมื่อชาวอารยันได้เข้ามายึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าสินธุและคงคา ก็ได้นำเอา คัมภีร์พระเวทเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย ซึ่งคัมภีร์พระเวทนี้มีอิทธิพลต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี คติความเชื่อ ตำนานเก่าแก และนิยายพื้นเมืองของชาวอารยันมาก

55.       อิทธิพลของศิลปะอิหร่านเข้าสู่อินเดีย

(1) 2 ครั้ง         (2)       3 ครั้ง   (3)       4 ครั้ง   (4)       5 ครั้ง

ตอบ1 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 46) อิหร่านได้เข้ามาครอบครองดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าสินธุ ตั้งแต่ประมาณพุทธกาลจนถึง พ.ศ. 250 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17 อิหร่านก็เข้ามามีอำนาจ- เหนืออินเดียอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นอิทธิพลของศิลปะอิหร่านจึงปรากฏในศิลปะอินเดียมาก

56.       อารยธรรมอินเดียสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่อินเดีย

(1) ได้รับอิทธิพลของอารยัน    (2) ได้รับอิทธิพลของอิสลาม

(3)       ได้เข้าสู่ฮินดูยุคกลาง   (4) ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว

ตอบ 4 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 44) อารยธรรมอินเดียแบ่งได้ดังนี้    1. อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 1,500 ปีกอนคริสตกาล) ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปา 2. อารยธรรมอารยัน (ประมาณ 1,000 ปีกอนคริสตกาล)          3. อารยธรรมฮินดูยุคกลาง(ประมาณ พ.ศ. 1313 – 1743)      4. อารยธรรมอิสลาม (ประมาณ พ.ศ. 1743 – 2346)5. อารยธรรมอินเดียสมัยใหม่ (เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2346 ซึ่งเป็นปีที่ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ จนถึงปัจจุบัน)

57.       ศิลปะอินเดียเป็นศิลปะ

(1) นามธรรม   (2) รูปธรรม      (3) แบบอุดมคติ          (4) ที่สร้างขึ้นจากธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 84 ศิลปะอินเดียเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic Art) คือ การอาศัยรูปร่างจาก ธรรมชาติเป็นเกณฑ์ในการสร้างจินตนาการของศิลบิน และการแสดงออกของศิลปินก็มิได้แสดงออกให้ตรงตามธรรมชาติ แต่เป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของสังคมมากกว่า

58. ชาวอินเดียมีความเชื่อเรื่องเทวโลก           

(1) ผิดแปลกไปจากโลกมนุษย์

(2)       บนสวรรค์มีเพียงพระราชวัง พระมหากษัตริย์ เหมือนโลกมนุษย์

(3)       เหมือนกับโลกมนุษย์ทุกประการ        (4) มีเพียงภูเขาและมหาสมุทรที่เหมือนโลกมนุษย์

ตอบ3 หน้า 83, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 45) ชาวอินเดียมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับโลกสัณฐานหรือเทวโลกว่า มนุษย์โลกและเทวโลกมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ เช่น มีพระมหากษัตริย์ซึ่งก็คือรูปเทวดา มีพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็คือ เทวาลัยที่สร้างจำลองจากเขาพระสุเมรุ มีมหาสมุทร ภูเขา แม่น้ำ และประชาชน

59.       พระพุทธศาสนาในอินเดียเจริญถึงขีดสุดในสมัย

(1)       พระเจ้าพิมพิสาร          (2)       พระเจ้าอโศก   (3) พระเจ้าโมริยะ        (4) พระเจ้าจันทรคุปต์ที่           2

ตอบ 2 หน้า 90 พระพุทธศาสนาในอินเดียเจริญขึ้นในแคว้นมคธราฐในสมัยของพระเจ้าพิมพิสาร นละเจริญขึ้นถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชราวพุทธศตวรรษที่ 3 ดังนั้น ในยุคแรกเริ่มของการทำศิลปกรรมนี้ พระพุทธศาสนาจึงมีบทนาทเป็นอย่างมาก

60.       อาวยธรรมเก่าสุดของอินเดีย

(1) อารยธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปา

(2) อารยธรรมอารยัน

(3)       อารยธรรมฮินดู

(4) อารยธรรมอิสลาม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 56. ประกอบ

61. สถาปัตยกรรมรุ่นแรกของอินเดียสร้างด้วย

(1) ไม้และดินเหนียว    

(2)       อิฐปูนสอ          

(3) ไม้  

(4) ดินเหนียว

ตอบ 1 หน้า 90 นักโบราณคดีให้ความเห็นว่า สถาปัตยกรรมในยุคแรกเริ่มของอินเดียนั้นคงจะสร้าง ด้วยดินเหนียวและไม้ซึ่งแตกสลายได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่เหลือร่องรอยให้คนรุ่นหลังได้เห็น ทำให้สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่เหลืออยู่ไมเก่าไปทวาพุทธศตวรรษที่ 3 แม้ว่าพุทธศาสนาจะ เจริญขึ้นในอินเดียตั้งแต่พุทธกาลมาแล้วก็ตาม

62.       ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนิยมทำพระพุทธรูป

(1) เป็นรูปลัญลักษณ์  

(2) ลอยตัว       

(3) เหมือนภาพสลักนูนสูง       

(4) เป็นภาพสลักนูนต่ำ

ตอบ 1 หน้า 92 ศิลปะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น แม้ว่าช่างอินเดียจะทำศิลปกรรมไว้มากมายแต่ในการสลักภาพนูนสูงแลัว ช่างยังไม่กล้าแสดงรูปพระพุทธเจ้าเป็นภาพบุคคล แต่จะทำเป็นรูปสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าในภาพเล่าเริ่งพุทธประวัติหรือชาดกเท่านั้น

63.       ศาสนสถานที่เจาะลึกเข้าไปในภูเขาเป็นผังสี่เหลี่ยมเรียกว่า

(1) ถ้ำวิหาร

(2) ถ้ำเจติยสถาน 

(3) ถ้ำอชันตา  

(4) ถ้ำอโลร่า

ตอบ 1 หน้า 91 ศาสนสถานที่เจาะลึกเข้าไปในภูเขามีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1. ถ้ำวิหาร เป็นศาสนสถานแบบเก่าที่สุด มักมีแผนผังเป็นรูปลี่เหลียมผืนผ้า ภายในทำเป็น ห้องเล็ก ๆ เพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ 2. ถ้ำเจดีย์สถาน มักมีแผนผังเป็นรูปไข่ ใช้เป็นที่ชุมนุมของศาสนิกชนเพื่อเคารพบูชา พระพุทธเจ้าเท่านั้น

64.       สถูปที่เมืองสาญจีและภารหุตเป็นสถูปที่      

(1) เลียนแบบจากเนินดิน

(2)       เก่าสุดของอินเดีย       (3) มีส่วนฐานสูงมาก   (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 91 – 92 สถูปที่เมืองสาญจีและภารหุตของอินเดีย เป็นสถูปที่สร้างขึ้นตั้งแต่ราว พ.ศ.400 – 550 โดยการเลียนแบบจากเนินดิน องค์สถูปเป็นรูปโอควํ่า สร้างด้วยอิฐหรือหินตั้งอยู่ บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสค่อนข้างเตี้ย ดังนั้นจึงถือเป็นสถูปที่เก่าที่สุดและได้เป็นแบบอย่างแก สถูปในสมัยหลังต่อมาทั้งในอินเดียและเอเชียอาคเนย์

65.       พระพุทธรูปในศิลปะอินเดียทำขึ้นครั้งแรกในศิลปะ

(1) อินเดียสมัยโบราณ            (2) คันธารราฐ (3) มธุรา          (4) อมราวดี

ตอบ 2 หน้า 93 พระพุทธรูปอินเดียทำขึ้นครั้งแรกในศิลปะคันธารราฐ (พุทธศตวรรษที่ 6-7)ซึ่งเจริญขึ้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยเมื่อพระเจ้ากนิษะกะแห่งเอเชียกลางได้ ยึดดินแดนนี้ในพุทธศตวรรษที่ 6 แล้ว ก็ได้ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนามหายานด้วยการโปรดให้ สร้างรูปเคารพขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเชื่อว่าพระพุทธรูปในยุคแรกเริ่มนี้คงทำขึ้นโดยช่างกรีก

66.       พระพุทธรูปอินเดียสมัยใดที่ได้รับอิทธิพลของกรีกและอิหร่าน

(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ  (2) ศิลปะคันธารราฐ

(3)       ศิลปะมถุรา     (4) ศิลปะอมราวดี

ตอบ 3 หน้า 95 พระพุทธรูปในสมัยมถุรา นอกจากจะปรากฏมีอิทธิพลของศิลปะกรีกที่ผ่านมาทาง ด้านคันธาระแล้ว ก็ยังปรากฏอิทธิพลของศิลปะอิหร่านที่ผ่านเข้ามาจากการขยายอำนาจของ พระมหากษัตริย์แห่งอิหร่านในราชวงศ์สัสสาเนียนด้วย แต่อิทธิพลของศิลปะกรีกและอิหร่าน ที่ปรากฏออกมาในศิลปะมธุราก็ยังไม่ชัดเจนนัก เพราะช่างอินเดียได้พยายามดัดแปลงให้เป็น แบบอย่างของอินเดียโดยแท้

67.       พระพุทธรูปในศิลปะอินเดียที่เจริญขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6-10 ที่มีแบบอย่างเป็นอินเดียอย่างแท้จริง คือศิลปะ

(1) อินเดียสมัยโบราณ            (2) คันธารราฐ (3) มถุรา          (4) อมราวดี

ตอบ 4 หน้า 959799 พระพุทธรูปอินเดียเริ่มเป็นแบบอย่างของศิลปะอินเดียในสมัยมถุรา(พุทธศตวรรษที่ 7-8) แต่ความเป็นอินเดียอย่างแท้จริงและลักษณะของมหาบุรุษปรากฏขึ้น อย่างครบครันในพระพุทธรูปสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งถือได้ว่ามีความงาม ตามแบบอินเดียโดยแท้ เพราะไม่เห็นลักษณะของอิทธิพลต่างชาติเลย

68.       ศิลปะคันธารราฐเจริญขึ้นที่ภาคใดของอินเดีย

(1) ตะวันตกของอินเดีย           (2) ตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย

(3) ตะวันออกของอินเดีย         (4) ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

69.       ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำใด

(1) ลุ่มแม่น้ำสินธุ         (2) ลุ่มแม่น้ำคงคา       (3)       ลุ่มแมน้ำยมุนา            (4)       ลุ่มแม่นํ้ากฤษณา

ตอบ4  หน้า 97 ศิลปะอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7 – 9) เจริญขึ้นทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย แถบลุ่มแม่น้ำกฤษณาโดยเฉพาะที่เมืองอมราวดี นาคารชุนิโกณฑะ ชัคคัยยะเปฎะ และโคลิ ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์สัตตวาหนะ เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 6

70.       การยืนเอียงตะโพกของพระพุทธรูปอินเดียเราเห็นครั้งแรกในศิลปะใด

(1) ศิลปะคันธารราฐ   (2) ศิลปะมถุรา            (3)       ศิลปะอมราวดี (4)       ศิลปะคุปตะ

ตอบ 4 หน้า 103 พระพุทธรูปคุปตะมีความงามตามแบบอุดมคติที่ช่างอินเดียยึดตามกฎของลักษณะ มหาบุรุษ แล้วนำมาประยุกต์เข้ากับความนึกคิดของช่างเอง ดังนันพระพุทธรูปจึงมีลักษณะ ไมมีเพศ เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดา มักแสดงเป็นภาพเต็มตัวหันด้านหน้า และยืนตริภังค์ (ยืนเอียงตะโพก) บ้าง ยืนตรงบ้าง

71.       การครองจีวรของพระพุทธรูปมถุรา

(1)       ห่มคลุม จีวรเป็นริ้ว      

(2) ห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา

(3) ห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย ไมมีสังฆาฏิ    

(4) ห่มคลุม จีวรเรียบติดกับพระวรกาย

ตอบ 3 หน้า 95 – 96, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 55) การครองจีวรของพระพุทธรูปมถุรา จะเป็นแบบใหม่ คือ ครองเฉพาะจีวรและสบง โดยไม่ปรากฎว่ามีสังฆาฏิ และมักห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย โดยบางครั้งพระพุทธรูปก็จะห่มคลุม ซึ่งคงเลียนแบบมาจากศิลปะคันธารราฐ ส่วนอิทธิพลของศิลปะอิหร่านจะปรากฏชัดในเครื่องแต่งกายของเทวรูปบางองค์ เช่น รูปพระอาทิตย์แต่งกายตามแบบนักรบอิหร่าน ฯลฯ

72.       ศิลปะอิหร่านที่ปรากฏในศิลปะมถุราเราเห็นได้จาก

(1)       พระพักตร์ของพระพุทธรูป       

(2) เครื่องแต่งกายของเทวรูปบางองค์

(3) ริ้วผ้าของพระพุทธรูป         

(4) ขมวดพระเกศาของพระพุทธรูป

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

73.       พระพุทธรูปนาคปรกเริ่มทำครั้งแรกในศิลปะอินเดีย

(1) ศิลปะคันธารราฐ   

(2) ศิลปะมถุรา            

(3) ศิลปะอมราวดี       

(4) ศิลปะคุปตะ

ตอบ 3 หน้า 121 พระพุทธรูปนาคปรกในอินเดียมีกำเนิดครั้งแรกในศิลปะอมราวดี และทำแต่เฉพาะ ในศิลปะอมราวดีเท่านั้น หลังจากนั้นจึงได้ส่งผลต่อไปยังศิลปะลังกาแบบอนุราชปุระ นอกจากนี้ ยังให้อิทธิพลต่อศิลปะคุปตะและหลังคุปตะของอินเดียอีกด้วย

74.       ศิลปะอินเดียเริ่มเสื่อมลงในสมัยใด

(1)       สมัยอมราวดี   (2) สมัยคุปตะ (3) สมัยหลังคุปตะ      (4) สมัยปาละ-เสนะ

ตอบ 3 หน้า 100 – 101109 ศิลปะที่มีความงามสูงสุดในสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 – 11)ยังคงทำต่อมาอีกจนหมดสมัยของพระเจ้ากุมารคุปต์ในพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากนั้นเมื่อ เริ่มเข้าสู่สมัยหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) ศิลปกรรมก็เริ่มเสื่อมลง เพราะถึงแม้ ประติมากรรมที่ทำขึ้นจะยังคงยึดมั่นในลักษณะของมหาบุรุษ แตกไมมีชีวิตจิตใจอีกต่อไป

75.       สถาปัตยกรรมในศิลปะคุปตะนิยมสร้าง       

(1) เลียนแบบจากเครื่องไม้

(2)       เลียนแบบเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์         (3) ไว้กลางแจ้ง           (4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 102 สถาปัตยกรรมในสมัยคุปตะจะนิยมสร้างไว้กลางแจ้ง โดยในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2 พุทธศาสนสถานที่สร้างขึ้น เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป ฯลฯ มักจะเลียนแบบจากเทวาลัยของ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งลักษณะทางสถาปัตยกรรมเช่นนี้ได้ให้อิทธิพลต่อการสร้างเจดีย์ของพม่า (Pagoda) และบุโรพุทโธของอินโดนีเซียด้วย

76.       ศิลปะอินเดียเสื่อมลงเพราะ

(1) ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มากจนเกินไป           (2) ยึดถือธรรมชาติมากเกินไป

(3)       เน้นอุดมคติมากจนเกินไป      (4) เสื่อมลงไปเองตามธรรมชาติ

ตอบ1 หน้า 83109 การที่สังคมในอินเดียมีกฎเกณฑ์และต้อบังคับมากเกินไป ทำใน้ช่างอินเดีย ไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองนการสร้างสรรค์งานศิลปะได้อีก เพราะช่างต้องการเพียง งานศิลปะที่ตรงตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับอันเกิดจากความเชื่อเท่านั้น จึงเป็นผลห้ศิลปะ อินเดียเสื่อมลงในที่สุด เช่น การเสื่อมลงของศิลปะคุปตะ ซึ่งเป็นศิลปะยุคทองของอินเดีย

77.       สถูปของศิลปะอินเดียสมัยใดให้อิทธิพลต่อบุโรพุทโธของอินโดนีเชีย

(1) สมัยคันธารราฐ      (2) สมัยมถุรา  (3) สมัยอมราวดี          (4) สมัยคุปตะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายต้อ 75. ประกอบ

78.       ศิลปะปาละต่างจากศิลปะเสนะ

(1) ศิลปะปาละสร้างขึ้นจากคติศาสนาพุทธมหายาน (2) ศิลปะปาละนิยมทำรูปเคารพที่มีแผ่นหลังติดอยู่

(3) ศิลปะปาละนิยมทำรูปเคารพประทับนั่งบนอาสน์ (4) ศิลปะปาละนิยมทำมุทราต่างไปจากศิลปะเสนะ

ตอบ 1 หน้า 105 ศิลปะปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14 – 16) คงทำขึ้นเนื่องจากศาสนาพุทธมหายานที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู คือ ลัทธิตันตระหรือวัชรยาน ดังนั้นจึงปรากฏมีรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทพ และรูปศักติ (พระมเหสีของเทพ) แต่ต่อมาในสมัยศิลปะเสนะ (พุทธศตวรรษที่ 16-18) ได้กลับไปนับถือศาสน าฮินดู จึงทำให้ศิลปกรรมในสมัยนี้เต็มไปด้วยเทพทางศาสนาฮินดู

79.       ลัทธิศักติหมายถึงลัทธิหนึ่งที่บูชา

(1)       ศิวะ    (2) พระนารายณ์         (3) พระมเหสีของเทพ  (4) พระอุมา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายต้อ 78. ประกอบ

80.       ศิลปะปาละเสนะ      

(1) นิยมหล่อรูปเคารพด้วยสำริด

(2)       นิยมสลักรูปเคารพด้วยศิลาทราย (3) นิยมทำรูปเคารพด้วยปูนปั้น (4) นิยมทำรูปเคารพด้วยดินเผา

ตอบ 1 หน้า 105 ลักษณะเฉพาะของศิลปะปาละและเสนะ คือ มีแผนหลังซึ่งมีลวดลายประดับอยู่มากมายติดอยู่กับพระพุทธรูป โดยพระพุทธรูปส่วนใหญ่ในสมัยนี้มักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่หล่อด้วยสำริดและสร้างด้วยศิลา แต่ไม่มีความสวยงามเลย

Advertisement