การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา ART 1003 ศิลปะวิจักษณ์

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         จิตรกรรมตามผนังถ้ำของไทยเก่าสุดอยู่ในสมัยใด

(1)       สมัยหินเก่า      

(2) สมัยหินกลาง         

(3) สมัยหินใหม่           

(4) สมัยโลหะ

ตอบ 1 หน้า 71108 (S), (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 39) จิตรกรรมตามผนังถํ้าของไทย ที่เก่าที่สุดอยู่ในสมัยหินเก่า ซึ่งมีการพบหลักฐานทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และ ภาคกลาง เช่น มีการพบการสลักเพิงผาที่เก่าที่สุดที่ถํ้ามิ้ม จ.อุดรธานี หรือมีการพบรูปมือคน ที่ถํ้าฝ่ามือ จ.ขอนแก่น เป็นต้น

2.         พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะ

(1)       ทวารวดี           

(2)       ศรีวิชัย 

(3)       ลพบุรี  

(4)       สุโขทัย

ตอบ 2 หน้า 129 พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะศรีวิชัยที่แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาบ้าง แต่ก็ยังคงเห็นลักษณะเดิมของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยอยู่ ในขณะที่สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ที่พบใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีนั้น ได้รับการซ่อมแซม จนเกือบจะไม่เห็นสถาปัตยกรรมรูปเดิม

3.         ศิลปะของไทยสมัยใดที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะเขมร

(1)       ศิลปะศรีวิชัย   

(2)       ศิลปะลพบุรี    

(3)       ศิลปะสุโขทัย   

(4)       ศิลปะอยุธยา

ตอบ 2 หน้า 132 ศิลปะลพบุรี เจริญขึ้นทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยโดยลักษณะทางศิลปกรรมจะคล้ายคลึงกับศิลปกรรมในเขมร ทั้งนี้เพราะดินแดนส่วนใหญ่ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองลพบุรีของไทยเคยอยู่ในครอบครองของเขมรมาก่อน

4.         พระพุทธรูปทวารวดีรุ่นที่ 2 เป็นอิทธิพลของศิลปะ

(1)       อินเดีย (2)       พื้นเมือง           (3)       เขมร    (4)       สุโขทัย

ตอบ 2 หน้า 123 – 124 พระพุทธรูปทวารวดีแบ่งเป็น 3 รุ่นดังนี้

1.         รุ่นที่ 1 แสดงอิทธิพลของศิลปะอมราวดี คุปตะและหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12

2.         รุ่นที่ 2 แสดงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15

3.         รุ่นที่ 3 แสดงอิทธิพลของศิลปะขอมแบบปาปวนหรือศิลปะลพบุรีตอนต้น มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 15 ลงมา

5.         ศิลปะทวารวดี

(1)       ทำขึ้นจากคติทางศาสนาพุทธหินยานนิกายหนึ่ง         (2) เป็นศิลปะสมัยแรกสุดของไทย

(3) เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทย     (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 119 – 120214 ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะสมัยแรกสุดของไทยที่เจริญขึ้นทางภาคกลาง และทำขึ้นจากคติทางพุทธศาสนาหินยานอย่างเถรวาทที่ใช้ทั้งภาษาบาลีและสันสกฤต พุทธศาสนา มหายาน และศาสนาฮินดู ดังนั้นจึงปรากฏมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีซึ่งเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากคติทางพุทธหินยาน รวมทั้งศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และศิลปะปาละ- เสนะที่ทำขึ้นจากคติทางพุทธศาสนามหายาน

6.         พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดีต่างจากพระพิมฟในสมัยศรีวิชัยคือ

(1)       ทำขึ้นเพื่อสืบศาสนาพุทธ        (2) เป็นพระพิมพ์ดินดิบ

(3) นิยมทำพระกำแพงร้อย      (4) เป็นพระพิมพ์สำริด

ตอบ 1 หน้า 124129 พระพิมพ์ของศิลปะทวารวดีมักสร้างด้วยดินเผาเพื่อไว้สืบพระบวรพุทธศาสนา โดยมักมีพระธรรมหรือคาถาเย ธมมาฯ อันเป็นหัวใจของศาสนาปรากฏอยู่ ส่วนพระพิมพ์ ของศิลปะศรีวิชัยนั้นทำขึ้นจากคติทางมหายาน โดยนิยมทำพระพิมพ์ดินดิบเพราะไม่ได้ถือ การสืบพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง แต่ถือปรมัตประโยชน์ของผู้มรณภพไปแล้ว

7.         ศิลปะของไทยสมัยใดที่นิยมสร้างสถาปัตยกรรมด้วยศิลาแลง

(1)       ศิลปะลพบุรี    (2) ศิลปะสุโขทัย         (3) ศิลปะอยุธยา         (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 136148 สถาปัตยกรรมลพบุรีมักจะก่อด้วยศิลาแลงและสร้างเป็นเทวาลัยบนเชิงเขาสูง ส่วนสถาปัตยกรรมสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรีก็มักจะก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน เช่น พระปรางค์วัดพระพายหลวง หรือศาลตาผาแดง จ.สุโขทัย

8.         เราทราบคำว่า ทวารวดี” จาก

(1)       บันทึกจากจดหมายเหตุจีนในสมัยราชวงค์ฮั่น (2) จารึกบนหลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย

(3) บันทึกจากจดหมายเหตุรายวันของนักพรตจีน       (4) จารึกบนแผ่นทองที่พบที่นครปฐมและอู่ทอง

ตอบ 3 หน้า 119 เราทราบคำว่า ทวารวดี” จากการพบเหรียญเงิน 3 เหรียญที่มีจารึกว่าศรีทวาราวดีศวรปุณย” พร้อมทั้งจดหมายเหตุจีนจากการบันทึกของหลวงจีนเหี้ยนจัง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเขาได้กล่าวถึงอาณาจักรโถโลโปตี้ (ทวารวดี) ว่า อยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร (พม่า) และอาณาจักรอิสานปุระ (เขมร)

9.         เจดีย์วัดกู่กุดอยู่ที่จังหวัด

(1)       เชียงราย          (2) เชียงใหม่    (3) ลำพูน         (4) ราชบุรี

ตอบ 3 หน้า 124 – 125162 (S) สถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดีจะเห็นได้จากรูปเจดีย์เท่านั้นเพราะไม่ปรากฏว่ามีโบสถ์วิหารหลงเหลืออยู่แตอย่างใด เช่น พระเจดีย์จุลประโทนและเจดีย์ วัดพระเมรุ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นซากอาคารใหญ่ก่อด้วยอิฐ บางครั้งย่อมุมและมีบันไดลงไป ข้างล่างเจดีย์วัดกู่กุด จ.ลำพูน ซึ่งจัดเป็นสถาปัตยกรรมทวารวดีตอนปลาย ฯลฯ

10.       ศิลปะอินเดียที่ให้กับศิลปะทวารวดี

(1)       ศิลปะอินเดียสมัยโบราณและศิลปะคันธารราฐ

(2) ศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี

(3) ศิลปะคันธารราฐและศิลปะมถุรา

(4) ศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

11.       ศิลปะที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินโดนีเซีย

(1)       ศิลปะทวารวดี 

(2) ศิลปะศรีวิชัย         

(3) ศิลปะลพบุรี           

(4) ศิลปะเชียงแสน

ตอบ 2 หน้า 126 – 127 ศิลปะศรีวิชัย มีอำนาจขึ้นที่เกาะสุมาตราและขยายอำนาจเข้าครอบครอง ดินแดนทางตอนใต้ของไทย โดยศิลปะในสมัยนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะอินโดนีเซีย คือ เป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบ คุปตะและปาละ-เสนะจากอินเดีย

12.       ศิลปะของไทยยุคใดที่ทำประติมากรรมได้สวยที่สุด

(1) ศิลปะเชียงแสน     

(2) ศิลปะสุโขทัย         

(3) ศิลปะอยุธยา         

(4) ศิลปะรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 143 – 144 ศิลปะสุโขทัย ถือเป็นศิลปะยุคทองของศิลปกรรมไทย ทั้งนี้เพราะ ประติมากรรมในสมัยนี้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบ มีความสวยงามสง่าที่สุด และมีความเรียบง่ายตามอุดมคติผิดไปจากศิลปกรรมสมัยอื่น ๆ

13.       งานจิตรกรรมฝาผนังไทยมีลักษณะตามข้อใด

(1)       ภาพสามมิติ    

(2) มีระยะใกล้และไกล 

(3) ภาพสองมิติ         

(4) ภาพแบนเรียบ

ตอบ 3 หน้า 41221 – 222 ลักษณะพิเศษของภาพจิตรกรรมไทย คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสีและเส้นเท่านั้น ทำให้มีลักษณะเป็นรูปแบบเรียบ หรือเป็นภาพสองมิติ ที่ไม่มีความลึก ผิดกับภาพเขียนของศิลปะตะวันตก ซึ่งเป็นภาพสามมิติที่มีความลึก เพราะ ประกอบไปด้วยสี เส้น แสง และเงา

14.       ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกตามความเป็นจริง          

(1) ภาพหุ่นนิ่งของดอกชบา

(2)       ภาพเหมือนของหนูแหวน         (3) ภาพชีวิตชุมชนแออัด         (4)       ต้นนารีผล

ตอบ 4 หน้า11,36(S) การแสดงออกตามความเป็นจริง (Realism) เป็นการเปิดเผยสภาพความจริง จากธรรมชาติและสังคม โดยศิลปินจะแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ตามความเข้าใจและความต้องการ เช่น ภาพวาดด้านประวัติศาสตร์ ภาพเหมือนจริงหรือหุ่นนิ่งที่ถอดแบบมาจากธรรมชาติ อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวชีวิตจริงของคน ชีวิตชุมชนแออัด ความยากจน ฯลฯ

15.       ภาพสามมิติมีลักษณะอย่างไร          

(1) แบนราบ

(2)       มีความลึกในภาพ        (3) เส้นคมกริบดังคมมีด          (4)       รูปทรงเป็นสี่เหลียมคางหมู

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ

16.       ความเศร้าแทนด้วยเส้นใด     

(1) เส้นตั้งตัดกัน

(2)       เส้นโค้งเป็นครึ่งวงกลม            (3) เส้นเฉียงเป็นรูปกรวย        (4)       เส้นโค้งลงสู่พื้น

ตอบ 4 หน้า 264423051 – 53 (S) ความหมายของเส้น มีดังนี้

1.         เส้นตรง ให้ความรู้สึกแข็งแรง มั่นคง    2. เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนโยน อ่อนหวาน อ่อนไหว

3. เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคง จริงจัง   4. เส้นนอน ให้ความรู้สึกสงบ นิ่งเฉย ผ่อนคลาย

5.         เส้นซิกแซ็ก ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิง ต่อเนื่อง ไม่สิ้นสุด ตื่นเต้น

6.         เส้นที่กระจายออกเป็นรัศมี ให้ความรู้สึกกระจายออก ระเบิด ความมีกำลังเพิ่มขึ้น

7.         เส้นโค้งลงสู่พื้น ให้ความรู้สึกเศร้า เหนื่อยหน่าย ฯลฯ

17.       ศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งใดในการสร้างศาสนสถาน

(1)       ศาสนา            (2) ความเชื่อในเทพเจ้า           (3) ธรรมชาติ   (4) สงคราม

ตอบ 1. หน้า 15, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 28) ศาสนาเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพราะเมื่อเกิดศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ศิลปกรรมทุกแขนง ต่างก็สร้างขึ้นเพื่อรับใช้ศาสนาเป็นสวนใหญ่ ดังจะเห็นได้ว่ามีการสร้างศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และจิตรกรรมอันเนื่องมาจากศาสนาอยู่มากมาย

18.       ข้อใดไม่ใช่หลักสำคัญของสุนทรียภาพ         

(1) ความมีระเบียบ

(2)       ความประสานกลมกลืน         (3) ความงาม   (4) ความเป็นธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 88 – 89 (ร) หลักสำคัญของสุนทรียภาพ หรือการรู้คุณค่าในความงามมีอยู่ 3 ประการ คือ

1.         ความมีระเบียบ (Order) 2. ความประสานกลมกลืน (Harmony) 3. ความงาม (Beauty)

19.       ศิลปะภาพพิมพ์มีลักษณะตามข้อใด  

(1) เขียนเป็นลายเส้น

(2)       ระบายด้วยสีลงบนผ้า (3) กดหรือประทับจากแม่พิมพ์           (4) มักเป็นสีเอกรงค์

ตอบ 3 หน้า 97 (S) ศิลปะภาพพิมพ์ (Graphic Arts) มาจากภาษาลาตินว่า “Premere”ซึ่งแปลว่า การกดให้ติด” หมายถึง การสร้างรูปหรือเครื่องหมายลงบนวัสดุผิวราบใด ๆ ด้วยวิธีการกดหรือประทับจากแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีผิวพื้นแบนราบ มีลักษณะ 2 มิติ มีความกว้างและความยาว โดยปราศจากความหนาหรือความลึก

20.       ข้อใดคืองานประติมากรรม

(1)       ผ้าลายนํ้าไหลจากเมืองน่าน

(2) วีนัส วีเลนดอร์ฟ

(3)       ภาพหญิงสาวส่องกระจกของปิกาลโซ

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 51 ประติมากรรมยุคโบราณที่ทำขึ้นครั้งแรกของคนสมัยหินหรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มักจะนิยมทำเป็นรูปผู้หญิง ไม่มีหน้าตา แต่มีรูปร่างอ้วน แสดงว่าประติมากรรมที่ทำขึ้นมานี้ มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ และแสดงออกถึงการนับถือผู้หญิงเป็นใหญ่หรือนับถือ เพศแม่อย่างชัดเจน เช่น พบประติมากรรมลอยตัวที่ประเทศเยอรมนี คือ วีนัส วีเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์

21.       ข้อใดคืองานนิเทศศิลป์

(1)       การออกแบบลายผ้า 

(2) ตุ๊กตาดินเผา 

(3) เครื่องไม้ลายไทย   

(4) กำไลแผ่นทองลายไทย

ตอบ 1 หน้า 102 – 103 (S) งานนิเทศศิลป์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการธุรกิจและการโฆษณา เช่น การออกแบบหนังสือเด็ก ภาพประกอบในนิตยสาร การออกแบบเครื่องหมายสัญลักษณ์ การออกแบบลายผ้า ลายกระเบื้องเคลือบ ตลอดจนการออกแบบผลิตภัณฑ์จำพวก เครื่องปันดินเผา ฯลฯ

22.       งานจิตรกรรมฝาผนังข้อใดคือสัญลักษณ์ของความดีงามที่ศิลปินไทยโบราณได้ปรุงแต่งขึ้น

(1)       ครุฑ     

(2) เทพยดา     

(3) อสูร            

(4) คชสีห์

ตอบ 2 หน้า 44 (S) งานจิตรกรรมฝาผนังของศิลปินไทยในสมัยโบราณ มักจะสร้างสิ่งสมมุติเพื่อเป็นสัญลักษณ์ เช่น การเขียนภาพพระพุทธเจ้าขึ้นใหม่เพื่อแทนความหมายของนิพพาน. การเขียนรูปยักษ์มาร อสูรหรือปีศาจ แทนความหมายของอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้าย,การเขียนรูปเทพยดา เทวดา นางฟ้า แทนความหมายของความดีงาม ฯลฯ

23.       จุดมุ่งหมายของการสร้างงานสถาปัตยกรรมอียิปต์เพื่อสิ่งใด 

(1) พระผู้เป็นเจ้า

(2)       วีรบุรุษ 

(3) คนที่ตายไปแล้ว     

(4) ตอบแทนบุญคุณธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 116(S) สถาปัตยกรรมของอาณาจักรอียิปต์มีจุดมุ่งหมายในการสร้างขึ้นเพื่อคนที่ตาย ไปแล้ว โดยผู้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมนั้นได้ เช่น การสร้าง มัสตาบา และพีระมิด ซึ่งแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ ตามความต้องการของฟาโรห์

24.       ประติมากรรมศิลปะอียิปต์มีลักษณะอย่างไร 

(1) ชอบสลักรูปหิน

(2)       ชอบแกะหินอ่อนสีชมพูเข้ม      (3) เป็นแท่งหินสี่เหลี่ยม ทึบตัน           (4) เป็นโลหะสีเขียว

ตอบ 3 หน้า 115-116 (S) ประติมากรรมของศิลปะอียิปต์จะเป็นแท่งหินสี่เหลี่ยม ซึ่งมีทั้งแบบ นูนเต็มตัวและแบบนูนต่ำ โดยรูปคนจะคล้ายกับหุ่น เน้นความงามด้านหน้า หรือมีลักษณะ มองตรงไปข้างหน้า แนวคางจะขนานกับเส้นพื้น ไม่ก้มไม่เงยหน้า ให้ความรู้สึกมั่นคงทึบตัน ไม่นิยมเน้นกล้ามเนื้อ และชอบตกแต่งด้วยแก้วหินสี

25.       งานจิตรกรรมศิลปะอียิปต์แสดงออกซึ่งความงดงามอย่างไร

(1) รูปคนมักสลับด้านกัน        (2) ไม่ได้คำนึงถึงลักษณะธรรมชาติ

(3)       แสดงภาพใกล้ไกลด้วยวิธซ้อนทับกัน  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 118(S) งานจิตรกรรมรูปคนของศิลปะอียิปต์มักจะสลับด้านกันโดยไม่ได้คำนึงถึง ลักษณะตามธรรมชาติ เช่น เขียนส่วนหัวและท่อนขาจนถึงเท้าเป็นรูปด้านข้าง เขียนตาและ ทรวงอกเป็นรูปด้านหน้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังนิยมแสดงภาพใกล้ไกลด้วยวิธีซ้อนทับกัน เช่น จิตรกรรมฝาผนังกลุ่มนางร้องไห้ในสุสานของราโมเซส เป็นต้น

26.       ชนชาติใดได้แสดงออกทางศิลปกรรมอย่างมีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์

(1) อียิปต์        (2) ซิมิติกส์      (3) กรีก            (4) เปอร์เซียน

ตอบ 3 หน้า 120 (S) ศิลปะกรีกเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของอารยธรรมตะวันตกที่แสดงออกทาง ศิลปกรรมอย่างมีเหตุผล ไม่ได้มุ่งสนองความเชื่อในอำนาจวิญญาณใด ๆ เชื่อในการค้นคว้า หาความจริงอย่างมีหลักเกณฑ์ อีกทั้งยังเคารพในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่มีความงาม เพื่อช่วยกล่อมเกลาพัฒนารสนิยมของมวลมนุษย์

27.       วัสดุประเภทใดได้ปรากฏอยู่ในโครงสร้างของงานประติมากรรมศิลปะกรีก

(1) อิฐ  (2)       ปูนปั้น  (3)       หินอ่อน            (4)       ศิลาแลง

ตอบ 3 หน้า 121 (S)124 (S) งานประติมากรรมของศิลปะกรีกนอกจากจะมีความสามารถสูงใน การแกะสลักวัสดุจำพวกหินต่าง ๆ และไม้แล้ว ยังนิยมใช้โลหะหล่อเป็นประติมากรรมอีกด้วย เช่น ประติมากรรมบนเงินเหรียญ นอกจากนี้ในงานสถาปัตยกรรมก็นิยมใช้หินอ่อนเนื้อละเอียด เป็นวัสดุในการก่อสร้างวิหารด้วยเช่นกัน

28.       ความเข้มเกิดจากความแตกต่างของสิ่งใด

(1) รูปทรง        (2)       สี          (3)       แสงและเงา     (4)       จุด

ตอบ 3 หน้า 56 (S) ความเข้ม (Value) หมายถึง ค่าของความแตกต่างที่เกิดจากแสงและเงาซึ่งคุณค่าของแสงและเงาจะช่วยให้งานศิลปะมีลักษณะเป็นแท่งหรือเป็นกลุ่มก้อน จนทำให้ เกิดเป็นภาพสามมิติขึ้น และก่อให้เกิดความงามในทางศิลปะ

29.       ชะลอมไม้ไผ่มีรูปทรงอย่างไร

(1) ลายเรขาคณิต       (2)       ลายเส้นตรง     (3)       ลายเส้นแย้ง    (4)       ลายจักสาน

ตอบ 1 หน้า 22360 (S) รูปทรง (Form) แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.         อินทรียรูป คือ รูปทรงที่มีชีวิต มีกฎเกณฑ์และมีโครงสร้างที่แน่นอน

2.         รูปทรงเรขาคณิต คือ รูปทรงที่เกิดจากการสร้างของมนุษย์ให้เกิดเป็นเส้นตรงเป็นรูปมีเหลี่ยมมุม รูปวงกลม รวมถึงการตกแต่งด้วยแบบลายเส้นในการจักสาน ได้แก่ ตะกร้า ชะลอม กระบุง และลายในการลักทอ (เช่น ผ้าไหมลายน้ำไหลจากน่าน ฯลฯ)

3.         รูปทรงอิสระ คือ รูปทรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่มีโครงสร้าง

30. อินทรียรูป คือรูปทรงอย่างไร

(1)       มีโครงสร้างแน่นอน

(2) มีโครงสร้างอิสระ

(3)       มีโครงสร้างเป็นทรงเรขาคณิต

(4) มีโครงสร้างที่เกิดจากความเข้ม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31.       ความรู้สึกเรื่องความมั่นคงของตัวอาคารเกิดขึ้นจากข้อใด

(1) การใช้ฐานอาคารเป็นเส้นตรง        

(2) หลังคาพื้นเรียบเป็นเส้นตรง

(3)       ตัวอาคารสีอ่อน            

(4) ตัวอาคารเป็นทรงสี่เหลี่ยม

ตอบ 1 หน้า 25 – 26 เส้น (Line) จะก่อให้เกิดทิศทาง ขนาด รูปร่าง และรูปลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังนั้นศิลปินจึงต้องรู้จักนำเส้นเหล่านี้มาใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะและหน้าที่ เช่น เส้นฐานของอาคารจะใช้เส้นตรงตามแนวนอนเพอให้ความรู้สึกเป็นเส้นฐานที่มั่นคง แต่ถ้าใช้เส้น ผิดลักษณะหน้าที่ เช่น ใช้เส้นโค้งเป็นเส้นฐานของอาคารจะทำให้ดูเหมือนว่าอาคารนั้น กำลังจะทรุดลง เป็นต้น

32.       สีวรรณะเย็นให้ความรู้สึกแก่ผู้พบเห็นอย่างไร

(1) ตื่นเต้นเร้าใจ          

(2) มีพลังสูง    

(3) ผ่อนคลายอารมณ์ 

(4) สนุกสนาน

ตอบ 3 หน้า 3568 (S) สี (Colour) แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ

1.         สีวรรณะร้อน จะให้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ รุนแรง ขัดแย้ง และสนุกสนานร่าเริง เช่น สีเหลือง ส้ม แสด แดง ม่วงแดง แดงชาด เทาอมแดง ฯลฯ

2.         สีวรรณะเย็น จะให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลายอารมณ์ และเรียบง่าย เช่น สีเขียว เขียวอ่อน เขียวแก่ ม่วงนํ้าเงิน คราม นํ้าเงิน ม่วง ฯลฯ

33.       วรรณะสีร้อนคือข้อใด

(1)       ม่วงน้ำเงิน      

(2) คราม          

(3) เขียวมะกอก          

(4) เทาอมแดง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

34.       ความขัดแย้งในงานศิลปะไม่เกี่ยวข้องกับข้อใด        

(1) ดูไม่ซํ้าซาก

(2)       ให้ความรู้สึกลงตัวพอดี           (3) รู้สึกเกิดความแตกต่างขึ้น  (4) รู้สึกเกิดพลัง

ตอบ 4 หน้า 79 (S) การรู้จักใช้ความขัดแย้งที่ไม่ขัดกันในการประกอบงานศิลปะจะทำให้งานมีเสน่ห์ ไม่ขาดรสหรือจืดชืด เพราะการตัดกันจะช่วยให้ดูไม่ซํ้าซาก และรู้สึกเกิดความแตกต่างขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องเข้าใจนำความกลมกลืนกับความขัดแย้งมาประกอบกันให้ลงตัว จึงจะเกิด ผลงานที่มีความงามอย่างพอเหมาะพอดี

35.       บ้านเรือนควรใช้สีใด  

(1) ชมพู ม่วง แดง

(2)       ขาว ครีม สีกระสอบ     (3) เขียวหยก คราม นํ้าเงิน      (4) เหลืองมะนาว แดง ทอง

ตอบ 2 หน้า 70-71 (S) งานสถาปัตยกรรมภายในบ้านเรือนส่วนใหญ่ มักจะนิยมใช้สีเรียบง่าย และไม่สะดุดตาจนเกินไป เพราะจะทำให้ไม่รู้สึกเบื่อง่าย เช่น สีขาว สีครีม สีเนื้อ สีกระสอบ และสีอ่อนๆ ของวรรณะเย็น ส่วนการใช้สีสดๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจให้สะดุดสายตา มักนิยมใช้ตามอาคารทางธุรกิจ บาร์ ไนต์คลับ ฯลฯ

36.       ข้อใดคือสีตรงกันข้าม

(1) แดงส้ม ชมพูหม่น   (2) นํ้าตาลทอง ครีม (3) แดงเข้ม นํ้าเงิน (4) ขาว เทา

ตอบ3 หน้า 36,69(S) สีตรงกันข้ามหรือสีคู่จะเป็นสี่ที่ตัดกันอย่างแท้จริงซึ่งสีบางสีจะเอามาผสมกัน ไม่ได้เพราะสีจะเน่าและไม่สวย โดยสีชนิดนี้มีมากคู่ด้วยกัน เช่น สีเขียวกับสีแดงเลือดนก,สีเหลืองกับสีม่วงสีน้ำเงินกับสีส้มสีแดงกับสีเขียวนํ้าเงิน ฯล

37.       ความสมดุลที่ไม่เท่ากันมีผลให้งานศิลปะมีลักษณะอย่างไร

(1) มั่นคง น่าศรัทธา    (2) อ่อนหวาน เบาลอย (3) ก้าวร้าว รุนแรง (4) มีเสน่ห์ สนุกขึ้น

ตอบ4 หน้า 3076 (S) ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน เป็นความสมดุลที่มิได้เท่ากันโดยแท้จริงเพราะมี การจัด,ขนาด รุปร่าง สี รูปทรง ฯล ให้มีความแตกต่างกันทั้งสองข้าง แต่ให้มีลักษณะสมดุล ด้วยตาโดยประมาณ ซึ่งจะส่งผลให้งานศิลปะมีความแปลก มีชีวิตชีวา น่าสนใจ มีเสน่ห์และ สนุกขึ้น จึงทำให้ไม่น่าเบื่อหรือไม่จืดชืดตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

38.       ภาพชนิดใดที่ถ่ายทอดตามความรู้สึก

(1) นามธรรม   (2) เหมือนจริง (3)       ตัดทอน            (4)       หุ่นนิ่ง

ตอบ1 หน้า 1122138 – 39 (S)57 (S) การถ่ายทอดตามความรู้สึกด้วยใจ (Abstraction)หรือการแสดงออกในศิลปะนามธรรมหรือมโนศิลป์ (Abstract) คือ การนำเอารูปทรงต่าง ๆ ที่พบเห็นในธรรมชาติมาจัดเสียใหม่ หรือปรุงแต่งดัดแปลงใหม่ ดังนั้นจึงอาจจะมีลักษณะ กึ่งธรรมาติ กึ่งนามธรรม และผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติอยู่บ้าง เช่น ศิลปะแบบคิวบิสม์จัดเป็นศิลปะแบบกึ่งจินตนาการที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม เน้นมุม และรูปทรงบิดเบี้ยว แต่ก็ยังพอพิจารณาดูรูปลักษณะได้ว่าเป็นรูปอะไร

39.       ข้อใดมิได้เกี่ยวกับจินตนาการของช่างเขียนไทยในสมัยโบราณ

(1) คชสีห์         (2) กินรี            (3)       ม้ามังกร           (4)       กิเลน

ตอบ 4 หน้า 19 (S)31 (S) จินตนาการก้าวไกลหรือความคิดเพ้อฝัน เป็นจินตนาการเหนือความจริง ที่มนุษย์ทำให้แตกต่างไปจากที่ตนเคยเห็น โดยบางทีก็ทำให้ดูลํ้าลึกน่าติดตาม หรือทำให้ชวน สงสัยว่ามีจริงหรือไม่ เป็นไปได้หรืออย่างไร เช่น การที่ช่างเขียนไทยในสมัยโบราณเขียนภาพ ลายกนก กินรี คชสีห์ นางยักษ์ ม้ามังกร หรือสัตว์ในนิยายโบราณต่าง ๆ (ส่วนกิเลนเป็นสัตว์ ในวรรณคดีจีน)

40.       การแสดงออกด้วยการตัดทอนคืออะไร

(1) ภาพเหมือนจริง      (2) ไม่ลอกเลียนธรรมชาติทั้งหมด

(3)       ภาพในชีวิตประจำวัน  (4) ตัดทอนภาพจากธรรมชาติตามความพอใจ

ตอบ 2 หน้า 1137 (S) การแสดงออกด้วยการตัดทอน (Distortion) เป็นการแสดงออกที่ศิลปิน จะไม่ลอกเลียนธรรมชาติทั้งหมด แต่จะเน้นเฉพาะส่วนสำคัญหรือจุดเด่นที่ก่อให้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจ ส่วนที่รองลงมาหรือไม่น่าสนใจก็จะตัดทิ้งออกไป ไม่ถ่ายทอดออกมาให้เห็น

41.       ข้อใดให้ความรู้สึกมั่นคง จริงจัง

(1) เส้นตั้ง        

(2) เส้นซิกแซ็ก            

(3) เส้นเฉียง    

(4) เส้นนอน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

42.       ช่องไฟดี” ในงานศิลปะ หมายถึง

(1) มีแสงและเงาดี      

(2) จัดวางเส้น รูปร่าง รูปลักษณะดี

(3)       ไม่ปล่อยที่ว่างมากหรือน้อยเกินไป      

(4) จัดภาพแบ่งเป็นช่วง ๆ

ตอบ 3 หน้า 28 ช่องไฟ (Space) หมายถึง การจัดวางเส้น รูปร่าง รูปลักษณะ แสงและเงาให้มีความพอดี โดยไม่ปล่อยให้มีส่วนที่ว่างเปล่ามากหรือน้อยจนเกินไป หรืออาจกล่าวได้ว่า ความงามของศิลปกรรมจะดีขึ้นได้ก็เพราะมวลสิ่งถูกจัดขึ้นอย่างสมสัดส่วน (Proportion)ตามความคิดเห็นของศิลปิน

43.       การเรียนศิลปะวิจักษณ์ เพื่อให้ผู้เรียน

(1) สามารถวาดรูปได้ถูกต้องตามทฤษฎี         

(2) รู้จักการใช้สีในวงจรสีได้อย่างเหมาะสม

(3)       ตัดตอนความงามจากธรรมชาติแล้วนำมาเขียนเป็นรูป 

(4) ซาบซึ้งในความงามของศิลปกรรม

ตอบ 4 หน้า 3-4 จุดมุ่งหมายในการเรียนศิลปะวิจักษณ์มีดังนี้ 1. เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของ โครงสร้างของศิลปะ 2. เพื่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความงามของศิลปกรรม  3.เพื่อพัฒนารสนิยม 4. เพื่อศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ สภาพสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมของคนในอดีต

44.       สุนทรียะของธรรมชาติ หมายถึง

(1) ความงามที่เห็นได้ทั่วไป     (2) ความงามอย่างมีระเบียบ

(3)       ความสวยของสี           (4) ความหลากหลายในรูปทรง

ตอบ 2 หน้า 12 สุนทรียะในวิสัยของธรรมชาติ หมายถึง สุนทรียะแห่งความมีระเบียบและความงาม โดยธรรมชาติมักจะมีกฎแห่งสุนทรียะ ซึ่งก่อให้เกิดความมีระเบียบ ความเหมาะสมกลมกลืน และความงามอยู่ทั้งสิ้น ดังนั้นในธรรมชาติจึงมีความงาม ความสะเทือนใจ และให้ความนึกคิด แก่ผู้พบเห็นอยู่เสมอ

45.       ศาสนศิลปะ เกี่ยวข้องกับข้อใด

(1) ศิลปะอันเกิดจากความงาม           (2) ศิลปะอันเกิดจากพุทธิปัญญา

(3)       ศิลปะอันสลับซับซ้อนของธรรมชาติ    (4) ศิลปะที่เป็นแท่งรูปเหลี่ยม

ตอบ 2 หน้า 2004 (S)12 (S) ศาสนศิลปะ (Religious Art) หรืองานศิลปกรรมในลัทธิความเชื่อถือ และศาสนา ถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สูงสุดและเหนือกว่างานสร้างสรรค์ด้านอื่น ๆ เพราะเป็น งานศิลปะที่เกิดจากความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญาที่มีคุณค่าเหนือกว่าศิลปะทั้งหลายที่มนุษย์ ได้สร้างขึ้น เช่น ประติมากรรมพระพุทธรูในศิลปะสุโขทัย ภาพเขียนพุทธประวัติ โบสถ์ วิหาร หรือศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อการบูชาต่าง ๆ เป็นต้น

46.       ศิลปะประยุกต์ หมายถึงข้อใด

(1) โต๊ะ เก้าอี้   (2) ภาพวาด    (3) รูปปั้น         (4) พิมพ์ลาย

ตอบ 1 หน้า 8 – 93 – 4 (S)127 (S) ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) คือ ศิลปะที่ตั้งใจสร้างหรือ ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อประโยชนใช้สอย หรือเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เครื่องประดับ (ต่างหู กำไลแขน เข็มกลัด) เครื่องจักร ผ้า เครืองหนัง เครื่องเคลือบ รวมทั้งสะพานส่งนํ้า หรือเขื่อนกั้นนํ้าของศิลปะโรมัน ฯลฯ ซึ่งอาจจะแบ่งย่อยออกไปเรียกว่า พาณิชย์ศิลป์หรืออุตสาหกรรมศิลป์” แต่ถ้าหากประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อประดับตกแต่งในอาคาร สถานที่ก็จะเรียกว่า มัณฑนศิลป์” เช่น การออกแบบเครื่องเรือน โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ

47.       เมื่อคุ้นเคยกับงานศิลปะมาก ๆ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเราอย่างไม่รู้ตัว

(1) ความซาบขึ้ง          (2) ความคิดอย่างสุขุม (3) ความสับสน          (4) ความอ่อนน้อม

ตอบ2 หน้า 21 (S) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ให้ข้อคิดว่า เด็กที่คุ้นเคยกับงานศิลปะมาก ๆหรือได้พบเห็นสิ่งประณีตสวยงามนั้น ต่อไปในอนาคตก็จะกลายเป็นของจำเป็นต่อชีวิตของเด็ก เพราะจะช่วยให้มีความคิดอ่านประณีตสุขุม นอกจากนี้ศิลปะก็ยังช่วยให้เยาวชนของชาติ กลายเป็นคนดีขึ้น และประพฤติปฏิบัติไปตามกฎแห่งศีลธรรม

48.       ข้อใดคือหลักฐานชั้น 1 ในการวิจัย    

(1) ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย

(2)       พงศาวดารโยนก         (3) โบราณวัตถุ โบราณสถาน (4) ภาพวาดทั้งสีนํ้าและสีนํ้ามัน

ตอบ 3 หน้า 7, (คำบรรยาย) นักโบราณคดีมีความเห็นว่า ศิลปกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะบ่งบอกถึงความเจริญในอดีต ดังนั้นศิลปกรรม อันได้แก่ ศิลาจารึก โบราณวัตถุ และโบราณสถานต่าง ๆ ย่อมเป็นหลักฐานชั้นที่ 1 ในการวิจัยหรือการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ดีที่สุด

49.       ข้อใดไม่ใช่วิจิตรศิลป์

(1) จิตรกรรม   (2) ประติมากรรม        (3) สถาปัตยกรรม       (4) ภาพถ่าย

ตอบ 4 หน้า 822122 (S) วิจิตรศิลป์ (Fine Art) หมายถึง จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และภาพพิมพ์ ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของธรรมชาติจนส่งเสริม ให้ศิลปินเกิดความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะ หรือเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากความสัมพันธ์กัน อย่างประณีตของเส้นและมวลสิ่งหรือสีที่มีความผสมกลมกลืนกันอย่างงดงาม

50.       ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1) ศิลปะช่วยอบรมจิตใจของเราได้    (2) งานศิลปะมาจากสิ่งอกุศลหรือทุศีลก็ได้

(3)       ศิลปะเป็นสมบัติส่วนบุคคล   (4) เข้าใจศิลปะต้องเข้าใจธรรมขาติ

ตอบ 3 หน้า 6 (S)21 (S)85 (S) ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะมีดังนี้

1. การเข้าใจศิลปะจะต้องเข้าใจ ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวก่อนเป็นลำดับแรก

2. ศิลปะช่วยอบรมชักจูงจิตใจ มนุษย์ให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในสุนทรียภาพ อันเป็นบ่อเกิดของความมีพุทธิปัญญา

3.         ศิลปะมีความเป็นกลางหรือเป็นสากล ซึ่งเป็นสมบัติอันน่าภาคภูมิใจของมวลชนทั่วโลก

4.         งานศิลปะอาจแสดงออกมาจากสิ่งที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ทุศีล) ก็ได้ ฯลฯ

51.       เสาแบบไอโอนิกของกรีก มีความงามในรูปทรงอย่างไร

(1) ป้อม มีร่องคม        

(2) บาง แต่งหัวเสารูปกามเทพแบกพวงมาลัย

(3) สูงชะลูด หัวเสาเป็นรูปก้นหอย      

(4) ใหญ่โต หัวเสาเป็นดอกปาปิรัส

ตอบ 3 หน้า 121 – 122 (S) วิหารกรีกจะมีการออกแบบตกแต่งรูปทรงของเสาเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.         แบบดอริก จะมีลักษณะใหญ่ รูปทรงป้อม มีร่องขนานกัน

2.         แบบไอโอนิก จะมีรูปทรงสูงชะลูด หัวเสาตกแต่งเป็นรูปวงก้นหอย มีร่องเสามากกว่าแบบดอริก

3.         แบบโครินเธียน จะมีรูปทรงบางกว่าแบบไอโอนิก ตกแต่งหัวเสาด้วยใบพืชคล้ายกับผักกาด

52.       เทือกเขาวินธัยแบ่งอินเดีย

(1) ให้เป็นอินเดียเหนืออินเดียใต้         

(2) ให้ออกจากประเทศต่าง ๆ ทางตอนเหนือ

(3) ให้เป็นอินเดียตะวันออกและตะวันตก       

(4) ให้เป็นอินเดียและศรีลังกา

ตอบ 1 หน้า 81 ประเทศอินเดียมีพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยตอนกลางของประเทศจะมีเทือกเขาวินธัย แบ่งอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งแต่กอนนี้ภาคเหนือจะเรียกว่า แคว้นฮินดูสถาน” ส่วนดินแดนทางภาคใต้จะเรียกว่า แหลมเดคข่านหรือทักษิณบถ

53.       อิทธิพลของศิลปะอิหร่านเข้าสู่อินเดีย

(1)       2 ครั้ง   

(2) 3 ครั้ง         

(3) 4 ครั้ง         

(4) 5 ครั้ง

ตอบ 1 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 46) ศิลปะอิหร่านได้เข้ามามีอิทธิพลต่อศิลปะอินเดียถึง 2 ครั้ง คือ เมื่อได้เข้ามาครอบครองดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าสินธุตั้งแต่ประมาณพุทธกาลถึง พ.ศ. 250 และต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 17 อิหร่านก็มีอำนาจเหนืออินเดียอีกครั้ง จึงทำให้อิทธิพลของ ศิลปะอิหร่านปรากฏในศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก

54.       อารยธรรมอินเดียสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่อินเดีย 

(1) ได้รับอิทธิพลของอารยัน

(2)       ได้รับอิทธิพลของอิสลาม        (3) ได้เข้าสู่ฮินดูยุคกลาง         (4) ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว

ตอบ 4 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 44) อารยธรรมอินเดียแบ่งได้ดังนี้

1. อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 1,500 ปีก่อนฅริลตกาล) ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปา 2. อารยธรรมอารยัน (ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล)

3.         อารยธรรมฮินดูยุคกลาง (ประมาณ พ.ศ. 1313 – 1743)

4.         อารยธรรมอิสลาม (ประมาณ พ.ศ. 1743 – 2346)

5.         อารยธรรมอินเดียสมัยใหม่ (เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2346 ซึ่งเป็นปีที่ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ จนถึงปีปัจจุบัน)

55.       ศิลปะอินเดียเป็นศิลปะ

(1)       นามธรรม         (2) รูปธรรม      (3) แบบอุดมคติ          (4) ที่สร้างขึ้นจากธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 84 ศิลปะอินเดียเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic Art) คือ การอาศัยรูปร่างจากธรรมชาติเป็นเกณฑ์ในการสร้างจินตนาการของศิลปิน และการแสดงออกของศิลปินก็มิได้ แสลงออกให้ตรงตามธรรมชาติ แต่เป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของสังคมมากกว่า

56.       อารยธรรมยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของอินเดีย         

(1) อารยธรรมโมเหนใจดาโรและฮารัปปา

(2)       อารยธรรมอารยัน       (3) อารยธรรมฮินดู      (4) อารยธรรมอิสลาม

ตอบ 1 หน้า 5985 อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ ได้แก่ วัฒนธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปา ซึ่งเจริญขึ้นแถบลุ่มแม่นํ้าสินธุ และเป็นวัฒนธรรมที่เจริญขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่าง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ของอินเดีย เพราะพบหลักฐานทางโบราณคดี ทั้งสองสมัย โดยโบราณวัตถุสำคัญในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบ คือ ตราประทับที่ทำจาก หินสบู่ในแคว้นปัญจาบและสินธุ

57.       ศาสนาพุทธเจริญขึ้นในแคว้นใดของอินเดีย

(1)       แคว้นปัญจาบ            (2) แคว้นอัสสัม           (3) แคว้นมคธ  (4) แคว้นสินธุ

ตอบ 3 หน้า 90 พระพุทธศาสนาเจริญขึ้นในอินเดียที่แคว้นมคธหรือมคธราฐในสมัยพระเจ้าพิมพิสาร และเจริญขึ้นถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชราวพุทธศตวรรษที่ 3 ดังนั้นในยุคแรกเริ่ม ของการทำศิลปกรรมอินเดียนี้ พุทธศาสนาจึงมีบทบาทเป็นอย่างมาก

58.       ชาวอินเดียมีความเชื่อเรื่องเทวโลก    

(1) ผิดแปลกไปจากโลกมนุษย์

(2)       บนสวรรค์มีเพียงพระราชวังพระมหากษัตริย์เหมือนโลกมนุษย์

(3)       เหมือนกับโลกมนุษย์ทุกประการ        (4) มีเพียงภูเขาและมหาสมุทรที่เหมือนโลกมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 83, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 45) าวอินเดียมีความเชื่อทีเกี่ยวข้องกับโลกสัณฐาน หรือเทวโลกว่า มนุษย์โลกและเทวโลกมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ เช่น มีพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็คือรูปเทวดา มีพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็คือเทวาลัยที่สร้างจำลอง จากเขาพระสุเมรุ นอกจากนี้ยังมีมหาสมุทร ภูเขา แม่น้ำ และประชาชน

59.       ศิลปะคันธารราฐเจริญขึ้นที่ภาคใดของอินเดีย          

(1) ตะวันตกของอินเดีย

(2)       ตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (3) ตะวันออกของอินเดีย       (4) ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

ตอบ 2 หน้า 93, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 53) ศิลปะคันธารราฐ (พุทธศตวรรษที่ 6-7) เจริญขึ้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกและ ศิลปะอิหร่าน ทำให้มีการสร้างพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้ และเชื่อกันว่าพระพุทธรูปในยุคแรกเริ่มคงทำขึ้นโดยช่างกรีก

60.       พระพุทธศาสนาในอินเดียเจริญถึงขีดสุดในสมัย

(1) พระเจ้าพิมพ์สาร

(2) พระเจ้าอโศก

(3) พระเจ้าโมริยะ

(4) พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

61.       สถาปัตยกรรมรุ่นแรกของอินเดียสร้างด้วย

(1)       ไม้และดินเหนียว        

(2) อิฐปูนสอ    

(3) ไม้  

(4) ดินเหนียว

ตอบ 1 หน้า 90 นักโบราณคดีให้ความเห็นว่า สถาปัตยกรรมในยุคแรกเริ่มของอินเดียนั้นคงจะสร้างด้วยดินเหนียวและไม้ซึ่งแตกสลายได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่เหลือร่องรอยให้คนรุ่นหลังได้เห็น ทำให้สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมเก่าสุดที่เหลืออยู่ไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 3 แม้ว่า พุทธศาสนาจะเจริญขึ้นในอินเดียตั้งแต่พุทธกาลมาแล้วก็ตาม

62.       ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นิยมทำพระพุทธรูป     

(1) เป็นรูปสัญลักษณ์

(2)       ลอยตัว           

(3) เหมือนภาพสลักนูนสูง       

(4) เป็นภาพสลักนูนตํ่า

ตอบ 1 หน้า 92 ศิลปะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น แม้ว่าช่างอินเดียจะทำศิลปกรรมไว้มากมายแต่ในการสลักภาพนูนสูงแล้ว ช่างยังไม่กล้าแสดงรูปพระพุทธเจ้าเป็นภาพบุคคล แต่จะทำเป็น รูปสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าในภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือชาดกเท่านั้น

63.       ศาสนสถานที่เจาะลึกเข้าไปในภูเขาเป็นผังสี่เหลี่ยมเรียกว่า

(1) ถํ้าวิหาร      

(2) ถํ้าเจติยสถาน        

(3) ถํ้าอชันตา  

(4) ถํ้าอโลร่า

ตอบ 1 หน้า 91 ศาสนสถานที่เจาะลึกเข้าไปในภูเขามีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. ถํ้าวิหาร เป็นศาสนสถาน แบบเก่าที่สุด มักมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในทำเป็นห้องเล็ก ๆ เพื่อเป็นที่พักอาศัย ของพระภิกษุ   2. ถํ้าเจดีย์สถาน มักมีแผนผังเป็นรูปไข่ ใช้เป็นที่ชุมนุมของศาสนิกชนเพื่อเคารพบูชาพระพุทธเจ้าเท่านั้น

64.       พระพุทธรูปในศิลปะอินเดียที่เจริญขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6-10 ที่มีแบบอย่างเป็นอินเดียอย่างแท้จริงคือศิลปะ

(1) อินเดียสมัยโบราณ            (2) คันธารราฐ (3) มธุรา          (4) อมราวดี

ตอบ 4 หน้า 959799 พระพุทธรูปอินเดียเริ่มเป็นแบบอย่างของศิลปะอินเดียอย่างแท้จริงในสมัยมธุรา (พุทธศตวรรษที่ 7-8) แต่ความเป็นอินเดียอย่างแท้จริงและลักษณะของมหาบุรุษปรากฎขึ้น อย่างครบครันในพระพุทธรูปสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งถือได้ว่ามีความงาม ตามแบบอินเดียโดยแท้ เพราะไม่เห็นลักษณะของอิทธิพลต่างชาติเลย

65.       สถูปที่เมืองสาญจีและภารทุต เป็นสถูปที่     

(1) เลียบแบบจากเนินดิน

(2) เก่าสุดของอินเดีย  (3) มีส่วนฐานสูงมาก   (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 91-92 สถูปที่เมืองสาญจีและภารหุตของอินเดีย เป็นสถูปที่สร้างขึ้นตั้งแต่ราวพ.ศ. 400 – 550 โดยการเลียบแบบจากเนินดิน องค์สถูปเป็นรูปโอคว่ำ สร้างด้วยอิฐหรือหิน ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสค่อนข้างเตี้ย ดังนั้นจึงถือเป็นสถูปที่เก่าที่สุดของอินเดียและ ได้เป็นแบบอย่างแก่สถูปในสมัยหลังต่อมาทั้งในอินเดียและเอเชียอาคเนย์

66.       พระพุทธรูปในศิลปะอินเดียทำขึ้นครั้งแรกในศิลปะ

(1)       อินเดียสมัยโบราณ     (2) คันธารราฐ (3) มถุรา          (4) อมราวดี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

67.       พระพุทธรูปอินเดียสมัยใดที่ได้รับอิทธิพลของกรีกและอิหร่าน          

(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ

(2)       ศิลปะคันธารราฐ        (3) ศิลปะมถุรา            (4) ศิลปะอมราวดี

ตอบ 3 หน้า 95 พระพุทธรูปอินเดียในสมัยศิลปะมถุรา นอกจากจะปรากฏมีอิทธิพลของศิลปะกรีก ที่ผ่านมาทางด้านคันธาระแล้ว ก็ยังปรากฏอิทธิพลของศิลปะอิหร่านที่ผ่านเข้ามาจากการ ขยายอำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งอิหร่านในราชวงศ์สัสสาเนียนด้วย แต่อิทธิพลของ ศิลปะกริกและอิหร่านที่ปรากฏออกมาในศิลปะมถุราก็ยังไม่ชัดเจนนัก เพราะช่างอินเดีย ได้พยายามดัดแปลงให้เป็นแบบอย่างของอินเดียโดยแท้

68.       ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นแถบลุ่มแม่นํ้าใด

(1) ลุ่มแม่น้ำสินธุ         (2) ลุ่มแม่นํ้าคงคา       (3) ลุ่มแม่น้ำยมุนา       (4) ลุ่มแม่นํ้ากฤษณา

ตอบ 4 หน้า 97 – 98 ศิลปะอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) เจริญขึ้นทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย แถบลุ่มแม่นํ้ากฤษณาโดยเฉพาะที่เมืองอมราวดี นาคารชุนิโกณฑะ ชัคคัยยะเปฎะ และโคลิภายใต้ การอุปถัมภ์ของราชวงศ์สัตตวาหนะ เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 6 โดยมีสถาปัตยกรรม ที่สำคัญที่สุด คือ สถูปสำหรับบรรจุพระบรมอํฐิธาตุของพระพุทธเจ้า

69.       การครองจีวรของพระพุทธรูปมถุรา

(1) ห่มคลุม จีวรเป็นริ้ว (2) ห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย ไม่มีสังฆาฏิ

(3)       ห่มเฉียง เป็ดพระอังสาขวา     (4) ห่มคลุม จีวรเรียบติดกับพระวรกาย

ตอบ 2 หน้า 95 – 96, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 55) การครองจีวรของพระพุทธรูปมถุรา จะเป็นแบบใหม่ คือ ครองเฉพาะจีวรและสบงโดยไม่ปรากฏวามีสังฆาฏิ และมักห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย พระหัตถ์ซ้ายมักยกชายจีวรขึ้นระหว่างพระโสณี (ตะโพก) ส่วนอิทธิพล ของศิลปะอิหร่านจะปรากฏชัดในเครื่องแต่งกายของเทวรูปบางองศ์ เช่น รูปพระอาทิตย์ แต่งกายตามแบบนักรบอิหร่าน ฯลฯ

70.       การยืนเอียงตะโพกของพระพุทธรูปอินเดีย เราเห็นครั้งแรกในศิลปะใด

(1) ศิลปะคันธารราฐ   (2) ศิลปะมถุรา            (3) ศิลปะอมราวดี       (4) ศิลปะคุปตะ

ตอบ 4 หน้า 101,103 พระพุทธรูปคุปตะมีความงามตามแบบอุดมคติที่ช่างอินเดียยึดตามกฎของลักษณะ มหาบุรุษ แล้วนำมาประยุกต์เข้ากับความนึกคิดของช่างเอง ดังนั้นพระพุทธรูปจึงมีลักษณะไม่มีเพศ เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดา มักจะแสดงเป็นภาพเต็มตัวหันด้านหน้า มีทั้งที่ยืนตรง และยืนตริภังค์ (ยืนเอียงตะโพก) เป็นครั้งแรก ซึ่งทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ประติมากรรมดูมีความสง่างาม

71.       พระพุทธรูปนาคปรกเริ่มทำครั้งแรกในศิลปะอินเดีย

(1) ศิลปะคันธารราฐ   

(2) ศิลปะมถุรา            

(3) ศิลปะอมราวดี       

(4) ศิลปะคุปตะ

ตอบ 3 หน้า 121 พระพุทธรูปนาคปรกในอินเดียมีกำเนิดครั้งแรกในศิลปะอมราวดี และทำแต่เฉพาะ ในศิลปะอมราวดีเท่านั้น หลังจากนั้นจึงได้ส่งผลต่อไปยังศิลปะลังกาแบบอนุราชปุระ นอกจากนี้ยังให้อิทธิพลต่อศิลปะคุปตะและหลังคุปตะของอินเดียอีกด้วย

72.       ศิลปะอินเดียเริ่มเสื่อมลงในสมัยใด

(1) สมัยอมราวดี          

(2) สมัยคุปตะ 

(3) สมัยหลังคุปตะ      

(4) สมัยปาละ-เสนะ

ตอบ 3 หน้า 100 – 101109 ศิลปะอินเดียที่มีความงามสูงสุดในสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-11) ยังคงทำต่อมาอีกจนหมดสมัยของพระเจ้ากุมารคุปต์ในพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากนั้น เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) ศิลปกรรมก็เริ่มเสื่อมลง เพราะถึงแม้ ประติมากรรมที่ทำขึ้นจะยังคงยึดมั่นในลักษณะของมหาบุรุษ แต่ก็ไม่มีชีวิตจิตใจอีกต่อไป

73.       ศิลปะอิหร่านที่ปรากฏในศิลปะมถุรา เราเห็นได้จาก

(1)       พระพักตร์ของพระพุทธรูป      

(2) เครื่องแต่งกายของเทวรูปบางองค์

(3)       ริ้วผ้าของพระพุทธรูป   

(4) ขมวดพระเกศาของพระพุทธรูป

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

74.       สถาปัตยกรรมในศิลปะคุปตะนิยมสร้าง       

(1) เลียนแบบจากเครื่องไม้

(2)       เลียนแบบเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์         (3) ไว้กลางแจ้ง           (4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 102 สถาปัตยกรรมในศิลปะคุปตะจะนิยมสร้างไว้กลางแจ้ง โดยในสมัยพระเจ้าจับทรคุปต์ที่ 2 พุทธศาสนสถานในศิลปะคุปตะที่สร้างขึ้น เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป ฯลา มักจะเลียนแบบ และได้รับอิทธิพลจากเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งลักษณะทางสถาปัตยกรรมเช่นนี้ได้ให้ อิทธิพลต่อการสร้างเจดีย์ของพม่า (Pagoda) และบุโรพุทโธของอินโดนีเซียด้วย

75.       ศิลปะอินเดียเสื่อมลงเพราะ

(1) ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มากจนเกินไป           (2) ยึดถือธรรมชาติมากเกินไป

(3)       เน้นอุดมคติมากจนเกินไป      (4) เสื่อมลงไปเองตามธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 83 – 84109 การที่สังคมอินเดียมีกฎเกณฑ์และข้อบังคับมากเกินไป ทำให้ช่างอินเดีย ไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการสร้างสรรค์งานศิลปะได้อีก เพราะช่างต้องการเพียง งานศิลปะที่ตรงตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับอันเกิดจากความเชื่อเท่านั้น จึงเป็นผลให้ศิลปะ อินเดียเสื่อมลงในที่สุด เช่น การเสื่อมลงของศิลปะคุปตะ ซึ่งเป็นศิลปะยุคทองของอินเดีย

76.       สถูปของศิลปะอินเดียสมัยใดให้อิทธิพลต่อบุโรพุทโธของอินโดนีเซีย

(1)       สมัยคันธารราฐ           (2) สมัยมถุรา  (3) สมัยอมราวดี          (4) สมัยคุปตะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

77.       ศิลปะปาละ-เสนะ     

(1) นิยมหล่อรูปเคารพด้วยสำริด

(2)       นิยมสลักรูปเคารพด้วยศิลาทราย (3) นิยมทำรูปเคารพด้วยปูนปั้น (4) นิยมทำรูปเคารพด้วยดินเผา

ตอบ 1 หน้า 105 ลักษณะพิเศษของศิลปะปาละ-เสนะ คือ ประติมากรรมมักมีแผ่นหลังประกอบซึ่งมีลวดลายประดับอยู่มากมายติดอยู่กับพระพุทธรูป โดยพระพุทธรูปส่วนใหญ่ในสมัยนี้ มักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่หล่อด้วยสำริดและสร้างด้วยศิลา แต่ไม่มีความสวยงามเลย

78.       ศิลปะปาละต่างจากศิลปะเสนะ

(1) ศิลปะปาละสร้างขึ้นจากคติศาสนาพุทธมหายาน (2) ศิลปะปาละนิยมทำรูปเคารพที่มีแผ่นหลังติดอยู่

(3)       ศิลปะปาละนิยมทำรูปเคารพประทับนั่งบนอาสน์ (4) ศิลปะปาละนิยมทำมุทราต่างไปจากศิลปะเสนะ

ตอป 1 หน้า 105 ศิลปะปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14 – 16) สร้างขึ้นเนื่องจากคติศาสนาพุทธมหายาน ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู คือ ลัทธิตันตระหรือวัชรยาน ดังนั้นจึงปรากฏมีรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทพ และรูปศักติ (พระมเหสีของเทพ) แต่ต่อมาในสมัยศิลปะเสนะ (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18) ได้กลับไปนับถือศาสนาฮินดู จึงทำให้ศิลปกรรมในสมัยนี้เต็มไปด้วยเทพทางศาสนาฮินดู

79.       ลัทธิศักติหมายถึงลัทธิหนึ่งที่บูชา

(1)       พระศิวะ          (2) พระนารายณ์         (3) พระมเหสีของเทพ (4) พระอุมา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

80.       ศิลปะอินเดียสมัยใดที่ไม่นิยมรูปเคารพ         

(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ

(2)       ศิลปะอมราวดี            (3) ศิลปะปาละ-เสนะ (4) ศิลปะอิสลาม

ตอบ 4 หน้า 106 – 107 ศิลปะอิสลาม (พุทธศตวรรษที่ 18 – 23) จะไม่นิยมทำรูปเคารพแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่ปรากฏว่ามีรูปเคารพที่เป็นประติมากรรมเลย แต่สิ่งที่เหลือให้ชื่นชมและมีความงาม ที่แปลกใหม่ คือ จิตรกรรมและสถาปัตยกรรม

ข้อ 81. – 100. ถ้าเห็นว่าถูกต้องให้ระบายตัวเลือก 2 ถ้าเห็นว่าผิดให้ระบายตัวเลือก 4

81.       เราเรียนรู้เรื่องของสีจากธรรมชาติได้

ตอบ 2 หน้า 3366 (S) มนุษย์สามารถพบสีต่าง ๆ ปรากฏอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ดังนั้นศิลปินในสมัยโบราณจึงสามารถเรียนรู้เรื่องของสีได้จากการนำวัสดุในธรรมชาติมาใช้เป็นสีสำหรับขีดเขียน เช่น สีขาวก็ใช้ดินขาวหรือปูนขาวสีเหลืองและสีแดงก็เอามาจากดินเหลืองหรือดินแดง,สีดำก็เอามาจากเขม่าไฟหรือหมึก ฯลฯ

82.       นักปรัชญาในยุคปัจจุบันมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของศิลปะเหมือนนักปรัชญาในยุคโบราณ

ตอบ 4 หน้า 5-6 นักปรัชญาสมัยเก่ามักจะกล่าวถึงศิลปะว่ามีพื้นฐานมาจากความงามและความดี ในขณะที่นักปรัชญาในยุคปัจจุบันกลับมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของศิลปะแตกต่างไปจาก นักปรัชญาสมัยเก่า โดยกล่าวว่า ศิลปะคือการสะท้อนความจริงของชีวิตตามที่เป็นอยู่จริง และความแท้จริงนั้นก็คือความงาม ซึ่งความงามของศิลปะอาจจะหมายถึงการพรรณนา เรื่องราวในชีวิตทั้งในแง่ดีและไม่ดีก็ได้

83.       คนเราจะพัฒนารสนิยมได้ต้องรู้จักเอาใจใส่ในสิ่งรอบ ๆ ตัว และปรับปรุงตัวเสมอ

ตอบ 2 หน้า 4 รสนิยมของคนเราทุกคนจะพัฒนาไปตามวัย และย่อมมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าเรารู้จักศึกษาและหาประสบการณ์ใหม่ ๆ พร้อมทั้งรู้จักเอาใจใส่ในสิ่งรอบ ๆ ตัว และ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงตัวอยู่เสมอ โดยนักปราชญ์และศิลปินทั้งหลายให้ความเห็นว่า ความรู้สึก ซาบซึ้งและเข้าใจในศิลปะหรือการประจักษในด้านความงาม เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยพัฒนา รสนิยมของคนให้ดีขึ้นได้

84.       ความหมายของศิลปะ คือ ความดีและความงาม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

85.       การแสดงออกเป็นกระบวนการสำคัญของงานศิลปะ

ตอบ 2 หน้า 10 การแสดงออก (Expression) ถือเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายที่มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างยิ่ง กล่าวคือ ถ้าเกิดอารมณ์สะเทือนใจจนก่อให้เกิดมโนภาพขึ้นในจิตใจแต่มิได้แสดงออก งานศิลปะก็ไม่อาจสร้างสรรค์ขึ้นได้

86.       ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ มีส่วนทำให้รูปแบบของศิลปะแตกต่างกันไป

ตอบ 2 หน้า 1619 สภาพแวดล้อม (ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ฯลฯ) วัสดุที่นำมาใช้ สภาพสังคม ประเพณี และระบบการปกครองที่แตกต่างกัน ย่อมมีผลทำให้แบบอย่างและรูปแบบของ งานศิลปะแตกต่างกันไปด้วย เช่น ในประเทศทีฝนตกชุกก็นิยมทำหลังคายื่นยาวออกมาเพื่อกันแดดและคุ้มฝน ส่วนประเทศที่แห้งแล้งก็มักทำหลังคางอนโค้งเพื่อรองรับนํ้าฝน เป็นต้น

87.       อุตสาหกรรมศิลป์ ได้แก่ เครื่องหนัง เครื่องเคลือบ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

88.       จิตรกรรมจัดเป็นศิลปะกินระวางเนื้อที่

ตอบ 2 หน้า 840 ศิลปะกินระวางเนื้อที่ (Space Art) บางครั้งกิเรียกว่า ทัศนศิลป์” (Visual Art or Plastic Art) หมายถืง ศิลปะที่จำกัดระวางเนื้อที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในอากาศด้วยปริมาตรของศิลปะเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น

89.       จุดมุ่งหมายหนึ่งในการเรียนศิลปะ คือ เรียนเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของมนุษย์นั่นเอง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

90.       ศิลปะเป็นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่มีธรรมชาติและสิ่งอื่น ๆ เป็นแรงบันดาลใจ

ตอบ 2 หน้า 91941 (S) แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะไม่ใช่มาจากธรรมชาติแต่เพียง อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับปีจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ศาสนาและความเชื่อถือ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัสดุที่นำมาใช้ ตลอดจนสังคมและระบบการปกครอง

91.       วีนัส เดอ ไมโล เป็นผลงานประติมากรรมชั้นเยี่ยมของศิลปะโรมัน

ตอบ 4 หน้า 123 – 124 (S) ศิลปกรรมกรีกในสมัยหลังจะนิยมสร้างประติมากรรมตามเทพนิยาย และชีวิตจริง โดยแสดงกายวิภาคของมนุษย์และสัตว์อย่างชัดเจน เปิดเผยรูปทรงอย่างบริสุทธิ์ โดยปราศจากเครื่องนุ่งห่ม เน้นในเรื่องความงามของรูปทรง และแสดงความอ่อนหวานมีชีวิตจิตใจ มากกว่ารูปประติมากรรมในระยะแรก เช่น รูปปั้นวินัส เดอ ไมโล (Venus De Milo) ซึ่งถือเป็น ผลงานชั้นเยี่ยมของศิลปะกรีกที่มีความงามเป็นเลิศ

92.       ความงามของศิลปกรรมกรีก คือ ดวงตาใหญ่ มองตรงไปข้างหน้า

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 24. และ 91. ประกอบ

93.       สถาปัตยกรรมโรมันมักประกอบไปด้วยลวดลายตกแต่งมากมาย

ตอบ 4 หน้า 126 – 127 (S) สถาปัตยกรรมโรมันจะมีลักษณะทึบตัน ใหญ่โต มั่นคง แข็งแรง มีการ จัดวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบสวยงาม และมีโครงสร้างแบบเรียบง่ายโดยไม่ประดับตกแต่ง มากนัก ซึ่งถือเป็นการแสดงออกในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

94.       จิตรกรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เรามักพบในถํ้า

ตอบ 2 หน้า 49-51 จิตรกรรมในสมัยโบราณก่อนประวัติศาสตร์มักพบตามถํ้า เช่น ตามผนังถํ้า และเพดานถํ้าที่อยู่ลึกจากปากถํ้าเข้าไป บางครั้งจึงเรียกว่า ศิลปะถ้ำ” โดยถํ้าแรกสุดที่พบ จิตรกรรมภาพเขียนของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าที่สุด คือ ถํ้า Altamira ที่อยู่ทางตอนเหนือของสเปน โดยพบภาพเขียนเป็นภาพกวางตัวเมีย ส่วนที่ถํ้า Laussel ในฝรั่งเศส ได้พบภาพเขียน เป็นภาพสัตว์ เช่น รูปม้า วัวไบซัน และกวาง

95.       ภาพเขียนกวางตัวเมียอยู่ในถํ้าทางตอนเหนือของสเปน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

96.       ประติมากรรมยุคโบราณนิยมทำเป็นรูปผู้หญิง เพราะนับถือผู้หญิงเป็นใหญ่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

97.       พวกอารยันย่อมมีความเกี่ยวพันกับพระเวทมาก

ตอบ 2 หน้า 90 เมื่อชาวอารยันได้เข้ามายึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคา ก็ได้นำ คัมภีร์พระเวทเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย ซึ่งคัมภีร์พระเวทนี้มีอิทธิพลต่อคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตำนานเก่าแก่ และนิยายพื้นเมืองของชาวอารยันมาก

98.       แหล่งก่อนประวัติศาสตร์สำคัญที่สุดของไทย คือ เชียงราย

ตอบ 4 หน้า 112 (S), (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 40) แหล่งศิลปะกรรมก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกแห่งหนึ่งของไทย คือ ศิลปะบ้านเชียง ซึ่งเป็นศิลปกรรม ในสมัยหินใหม่ตอนปลายที่พบมากที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

99.       สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของอินเดียรู้จักโลหะเพราะพวกโรมันนำเข้ามา

ตอบ 4 (AR 103เลขพิมพ์ 30175 หน้า38) หลักฐานในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของอินเดียเก่าสุด มีเพียงแค่สมัยหินกลาง แต่วัฒนธรรมของคนก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้เจริญสืบเนื่องต่อกันมา จนถึงยุคโลหะ โดยชาวอินเดียได้เรียนรู้การใช้โลหะเหล็กจากชาวเมโสโปเตเมีย จึงปรากฏว่า มีอาวุธแบบแปลกใหม่ที่ทำจากเหล็กและสำริดอีกมาก เช่น การทำหัวลูกศร มีด ดาบ และ ภาชนะเครื่องสำริด

100.    ก่อนประวัติศาสตร์ของอินเดียเก่าสุดเพียงสมัยหินกลางเท่านั้น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 99. ประกอบ

Advertisement