การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา ANT 3057 สังคมและวัฒนธรรมไทย

Advertisement

คำสั่ง   ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         ข้อใดเป็นความหมายของ สังคม

(1)       สังคมประกอบด้วยคน

(2) คนอยู่รวมกันเป็นระยะเวลายาวนาน

(3) คนอยู่รวมกันมีความสัมพันธ์กัน   

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) สังคม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มาอยู่รวมกันและมีความสัมพันธ์กัน โดยที่รูปแบบความสัมพันธ์นั้นย่อมเป็นไปตามแบบแผนหรือวัฒนธรรมที่สังคมกำหนด เพราะคน ในสังคมใดย่อมต้องได้รับการถ่ายทอด อบรมขัดเกลา ให้ต้องปฏิบัติตามแบบแผนของสังคมนั้น เช่น พ่อแม่พาลูกไปซื้อของ เป็นกลุ่มสังคมที่คงทนถาวร เพราะเป็นสถาบันครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กันทางลายโลหิต เป็นต้น

2.         ข้อใดคือสักษณะของสังคมไทย

(1)       ประกอบด้วยคนหลายชาติพันธ์          

(2) ความสัมพันธ์เน้นความเท่าเทียมกัน

(3) ประกอบด้วยคนไทย          

(4) สภาพภูมิศาสตร์แต่ละภาคไม่แตกต่างกัน

ตอบ 1 หน้า 15, (คำบรรยาย) ลักษณะของสังคมไทย มีดังนี้

1.         มีลักษณะ วิวิธพันธุ์” คือ ประกอบด้วยคนที่มีความแตกต่างหลากหลายในด้านชาติพันธุ

2.         สังคมไทยในแต่ละภูมิภาคแต่ละท้องถิ่นมีโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมย่อยของตนเองแตกต่างกันไป ทำให้มีระบบความคิด ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมที่ต่างกัน และแต่ละกลุ่มสังคมก็มีฐานะทางสังคมไม่เท่าเทียมกัน

3.         มีความแตกต่างด้านกายภาพของสิ่งแวดล้อมและดินฟ้าอากาศ หรือมีสภาพภูมิศาสตร์ แต่ละภาคที่แตกต่างกัน

3.         ข้อใดคือลักษณะของสังคมเมือง

(1)       ประชากรกระจายกันอยู่เป็นกระจุกเล็ก ๆ       

(2) มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

(3) ระบบความสัมพันธ์เน้นแบบทางการ         

(4) สิ่งแวดล้อมเป็นธรรมชาติ

ตอบ 3 หน้า 5-6 ลักษณะของสังคมเมือง มีดังนี้

1.         เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมากอยู่กันอย่างแออัด

2.         ระบบความสัมพันธ์เน้นแบบทางการ

3.         มีการแบ่งงานในองค์กรต่าง ๆ ค่อนข้างชัดเจน

4.         วิถีชีวิตขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5.         โครงสร้างทางสังคมซับซ้อน มีการกำหนดสถานภาพและบทบาทของคนไว้อย่างชัดเจน

6.         สภาพแวดล้อมทางกายภาพเต็มไปด้วยวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ฯลฯ

4.         ความสัมพันธ์โดยใช้ความรู้สึกอารมณ์ ปรากฏมากในสังคมประเภทใด

(1)       ชุมชนเกษตรกรรม       (2) เมืองอุตสาหกรรม

(3) เมืองตากอากาศชายทะเล (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 4-7, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในสังคม แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1.         แบบปฐมภูมิ คือ ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ เน้นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดสนิทสนม และใช้ความรู้สึกอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องในการติดต่อสัมพันธ์กัน โดยมีจารีตประเพณีเป็นกลไกควบคุมพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของคน มักปรากฏในสังคมชนบท สังคมง่าย ๆ หรือสังคมพื้นบ้าน สังคมดั้งเดิมหรือสังคมประเพณี และสังคมเกษตรกรรม

2.         แบบทุติยภูมิ คือ ความสัมพันธ์แบบเป็นทางการตามกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน หรือตาม กฎหมายเป็นหลัก มักปรากฏในสังคมเมือง สังคมซับช้อน สังคมทันสมัย และสังคมอุตสาหกรรม

5.         การแบ่งสังคมออกเป็นสังคมประเพณีและสังคมทันสมัย พิจารณาจากอะไรเป็นเกณฑ์

(1)       สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ        (2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

(3) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     (4) การทำมาหากิน

ตอบ 3 หน้า 7, (คำบรรยาย) สังคมดั้งเดิมหรือประเพณีและสังคมทันสมัย เป็นการแบ่งสังคมโดยใช้เกณฑ์วัฒนธรรมด้านองค์ความรู้ หรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทั้ง 2 สังคมจะแตกต่างกันในด้านโครงสร้างและหน้าที่ ดังนี้

1.         สังคมดั้งเดิมหรือประเพณี คือ สังคมที่สมาชิกอาศัยอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกัน โดยมีจารีตประเพณีเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมสังคม

2.         สังคมทันสมัย คือ สังคมที่มีความเจรัญก้าวหน้าในด้านเทคนิควิทยา แต่ความสัมพันธ์ ของคนในสังคมกลับห่างเหิน ดังนั้นการควบคุมสังคมจึงต้องเป็นทางการชัดเจน

6.         โครงสร้างของสังคมคืออะไร

(1)       สิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้าง          (2) ความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่รวมกัน

(3) พฤติกรรมของคน   (4) ความเชื่อ

ตอบ 2 หน้า 8-9 โครงสร้างของสังคม คือ ระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่รวมกันในสังคม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีฐานะและคุณค่าที่แตกต่างกัน เช่น ความสัมพันธ์ ระหว่างเครือญาติกลุ่มนายทุน-กรรมกรคนรวย-คนจนขุนนาง-ไพร่เด็ก-ผู้ใหญ่ ฯลฯ

7.         ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตน รวมเรียกว่าอะไร

(1)       ระบบเศรษฐกิจ (2) วัฒนธรรม            (3) เทคโนโลยี  (4) ความเชื่อ

ตอบ 2 หน้า 1044, (คำบรรยาย) วัฒนธรรม หมายถีง ทุกสิ่งทุกอย่างหรือผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ คิดสร้างขึ้นทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เพื่ออำนวย ความสะดวกในการดำรงชีวิต และเพื่อเป็นแบบแผนพฤติกรรมให้แก่สมาชิกในสังคม เช่น การเรียนหนังสือ การสวดมนต์ การทำอาหาร การสร้างที่อยู่อาศัย ฯลฯ

8.         สังคมไทยมีวัดเป็นจำนวนมาก สื่อให้เห็นอะไร

(1)       ความอุดมสมบูรณ์       (2) ความเชื่อเกี่ยวกับบุญ-กรรม

(3) ความมั่งคั่งของทรัพยากร  (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ตั้งแต่อดีตวัดและวังของไทยมีความสัมพันธ์กันในฐานะเป็นศูนย์กลางในการ ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการที่ประเทศไทยมีวัดวาอารามและพระมหาราชวังสวยงามมากมาย ก็แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่งของทรัพยากร จึงทำให้คนไทยมีเวลาสร้างสรรค์ สิ่งสวยงามขึ้น เพื่อตอบสนองความเชื่อด้านพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อเรื่องบุญ-กรรม เป็นต้น

9.         จารีตเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมสังคมแบบใด       

(1) สังคมนิยม

(2)       ดั้งเดิมหรือประเพณี    (3)       อุตสาหกรรม    (4)       ทันสมัย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

10.       พฤติกรรมข้อใดเป็นวัฒนธรรม          

(1) การเรียนหนังสือ

(2)       การสวดมนต์   (3)       การทำอาหาร   (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

11.       มนุษย์ส่งทอดวัฒนธรรมจากชนรุ่นหนึ่งสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งโดยวิธีใด       

(1) การสั่งสอนโดยตรง

(2)       การขัดเกลาทางสังคม 

(3)       การกระทำให้ดู            

(4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 10-11, (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม มีดังนี้

1.         เป็นผลผลิตจากระบบความคิดของมนุษย์ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดสร้างสรรค์ขึ้น

2.         เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

3.         มีลักษณะไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามสภาพแวดล้อม

4.         เป็นมรดกทางสังคม เช่น ภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ ประเพณี วิถีการดำรงชีวิต ฯลฯ ที่ถ่ายทอดหรือส่งต่อจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งด้วยวิธีการสั่งสอนโดยตรง การอบรมขัดเกลาทางสังคม และการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

5.         ใช้ได้ทั้งในระดับกว้างหรือระดับสากล และระดับแคบเฉพาะกลุ่มคนก็ได้ ฯลฯ

12.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรม        

(1) เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

(2)       เป็นสิ่งที่ได้มาจากการเรียนรู้   

(3) เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้น         

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

13.       เพราะเหตุใดพฤติกรรมของคนไทยจึงแตกต่างจากคนชาติอื่น          

(1) สติปัญญาต่างกัน

(2)       ลักษณะกายภาพต่างกัน        

(3) ค่านิยมต่างกัน       

(4) ความต้องการทางชีวภาพต่างกัน

ตอบ 2 หน้า 111315, (คำบรรยาย) การที่สังคมแต่ละสังคมมีลักษณะทางกายภาพด้านสิ่งแวดล้อม หรือสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้การคิดสร้างสรรค์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นแบบแผนของ การดำรงชีวิต หรือแบบแผนพฤติกรรมของคนในแต่ละสังคมหรือแต่ละชนชาติแตกต่างกันไปด้วย ดังที่พัทยา สายหู กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นตราประจำสังคม” คือ เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้รู้ว่า คนเหล่านั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มกัน

14.       ข้อใดคือลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมไทย   

(1) คนไทยเป็นเจ้าของ

(2)       มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (3) ตอบสนองความต้องการของคนไทย          (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 1444, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมไทยมีความหมายกว้างขวางมาก คือ เป็นแบบแผน พฤติกรรมที่สังคมไทยกำหนดขึ้น หรือเป็นสิ่งที่คนไทยคิดสร้างขึ้นมา คนไทยเป็นเจ้าของ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทยอง ดังนั้นวัฒนธรรมไทยจึงเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต ของคนไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อใช้เป็นแนวทางให้คนไทยประพฤติปฏิบัติ

15.       ข้อใดเป็นมรดกทางสังคม

(1)       องค์ความรู้       (2) ประเพณี    (3) วิถีการดำรงชีวิต     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

16.       สิ่งที่ดีงาม ดีเลิศ มีคุณค่า ได้แก่วัฒนธรรมด้านใด

(1)       วิถีชีวิต (2) พฤติกรรม  (3) ศิลปะ        (4) เครื่องมือเครื่องใช้

ตอบ 3 หน้า 1048 ความหมายของคำว่า วัฒนธรรม” ในยุคแรกของสังคมไทย คือ สิ่งที่ดีงาม ดีเลิศ มีคุณค่า ซึ่งคนในสังคมได้ใช้ประพฤติปฏิบัติและแสดงออกมาช้านานในลักษณะที่เป็น ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะต่าง ๆ อันมีทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ควรอนุรักษ์ ซึ่งใช้กันมา อย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีต

17.       แบบแผนการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ จัดเป็นวัฒนธรรมในความหมายใด

(1) วิถีชีวิต       (2) เครื่องมือเครื่องใช้

(3)       สิ่งที่ดีงาม มีคุณค่า      (4) บุคลิกภาพ

ตอบ 1 หน้า 49, (คำบรรยาย) ความหมายของคำว่า วัฒนธรรม” ในยุคที่มีการศึกษาสังคมไทย และวัฒนธรรมตามหลักมานุษยวิทยาอย่างแท้จริง คือ วิถีชีวิตของมนุษย์ หรือแบบแผน การดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับสังคม

18.       ทักษะในการแสดงโขน เป็นวัฒนธรรมระดับใด

(1) สากล         (2) วัฒนธรรมหลวง

(3)       วัฒนธรรมราษฎร์         (4) วัฒนธรรมในครอบครัว

ตอบ 2 หน้า 12, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมในแต่ละสังคมประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

1.         วัฒนธรรมหลักหรือวัฒนธรรมหลวง คือ วัฒนธรรมส่วนรวมของคนในสังคม เพื่อแสดงถึง ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ความเป็นระเบียบ รวมทั้งเพื่อการบูรณาการหรือ ความเป็นเอกภาพของสังคมไทย ได้แก่ ภาษา กฎหมาย ศาสนา แบบแผนพฤติกรรม จารีตประเพณี การละเล่นบางอย่าง (เช่น ทักษะในการแสดงโขน) ฯลฯ

2.         วัฒนธรรมรองหรือวัฒนธรรมราษฎร์ คือ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มเฉพาะภาค ได้แก่ ความเชื่อ สำเนียงภาษา ทัศนคติ ค่านิยม ลักษณะนิสัย กิริยาท่าทาง ทักษะในการประกอบอาชีพ ฯลฯ

19.       วัฒนธรรมเป็นตราประจำสังคม” เป็นคำกล่าวของผู้ใด

(1) พัทยา สายหู          (2) ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง

(3)       สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ     (4) สุด แสงวิเชียร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ

20.       สังคมใดมีความต้องการวัฒนธรรมน้อยอย่าง

(1) เงาะซาไก   (2) กลุ่มใช้แรงงาน

(3)       ชาวกรุงเทพฯ   (4) ชาวจีนในประเทศไทย

ตอบ 1 (คำบรรยาย) สังคมใดก็ตามที่มีความเป็นอยู่ง่าย ๆ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ก็จะมีความต้องการในวัฒนธรรมน้อยอย่าง ประกอบกับหากสังคมนั้นอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ ความจำเป็นในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ก็จะมีน้อย เช่น สังคมของพวกเงาะซาไก และชาวเลทางภาคใต้ของไทย

21.       การศึกษาสังคมไทยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งควรใช้ศาสตร์แขนงใด

(1) สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเท่านั้น         

(2) ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

(3)       คติชนวิทยาและโบราณคดี      

(4) หลายแขนงร่วมกัน

ตอบ 4 หน้า 14, (คำบรรยาย) การศึกษาเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของสังคมไทยได้อย่างลึกซึ้ง จะต้อง ใช้ความรู้จากคาสตร์หลายสาขาหรือหลายแขนงร่วมกัน เรียกว่า สหวิทยาการ” ซึ่งได้แก่

1.         ภูมิศาสตร์ เป็นการศึกษาที่ตั้ง ขอบเขต ภูมิอากาศ และลักษณะภูมิประเทศ

2.         ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาความเป็นมาของชนชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

3.         เศรษฐศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากร การผลิต และการบริโภค

4.         สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาความเป็นมา โครงสร้างของสังคมและ วัฒนธรรม ฯลฯ

22.       เราศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทยเพื่ออะไร

(1)       รู้จักความเป็นมาของตนเอง    

(2) พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย

(3)       ส่งเสริมประชาธิปไตย 

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วัตถุประสงค์ในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทย มีดังนี้

1.         สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างกลุ่มคน สังคม และวัฒนธรรมได้

2.         มีความรู้ ความเข้าใจ และอธิบายโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมได้

3.         รู้จักความเป็นมาของตนเอง และสามารถวิเคราะห์พัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมไทย

4.         วิเคราะห์ที่มาของภูมิปัญญา ความเชื่อ และลักษณะอุปนิสัยชองคนไทยได้ ฯลฯ

23.       การที่จะเข้าใจสังคมไทย ควรต้องศึกษาในภูมิภาคใด           

(1) เอเชียตะวันออก

(2)       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้        

(3) เอเชียกลาง            

(4) เอเชียใต้

ตอบ 2 หน้า 18 สังคมไทยตั้งอยู่กึ่งกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์(ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย) มีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นผืนแผ่นดินที่ยาวยื่นลงไปทางทิศใต้ ซึ่งเป็นคาบสมุทร และมีทะเลขนาบ 2 ด้าน คือ ทะเลจีนในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ทางทิศตะวันออก กับทะเลอันดามันในมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางทิศตะวันตก ทำให้ประเทศไทยมีลมมรสุมจากทะเล ทั้ง 2 ด้านพัดผ่าน จึงทำให้เกิดฤดูกาลที่สำคัญ 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูแล้ง

24.       เชื้อชาติไทย พี่ชายของคนจีน” เป็นหนังสือที่เขียนโดยผู้ใด

(1) หมอด็อดด์ (2) ลาคูเพอรี่   (3) วัยอาจ       (4) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตอบ 1 หน้า 2123 William Clifton Dodd (หมอด็อดด์) เป็นหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันที่ได้ เขียนหนังสือชื่อ เชื้อชาติไทย พี่ชายของคนจีน” ขึ้น ซึ่งเขามีความเชื่อว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ แถบเทือกเขาอัลไต (จีน) และได้ยืนยันแนวคิลนี้โดยใช้หลักฐานด้านภาษาพูด (ภาษาไต) และ ชาติพันธุ์มองโกลอยด์เป็นหลัก ทำให้แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและมีอิทธิพลครอบงำสังคมไทย อยู่เป็นเวลายาวนาน ดังจะเห็นได้จากหนังสือชื่อ หลักไทย” ของขุนวิจิตรมาตรา และยังปรากฏ อยู่ในแบบเรียนของไทย แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับน้อยมาก

25.       จากหนังสือเชื้อชาติไทย พี่ชายของคนจีน กล่าวว่าบ้านเกิดของชาติไทยอยู่ที่ใด

(1) สิบสองปันนา         (2) ส่านซี         (3) อัลไต          (4) เสฉวน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

26.       ในเรี่องประวัติศาสตร์สยามของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เห็นว่าถิ่นเดิมของไทยอยู่ที่ใด

(1) ยูนนาน กุยโจ กวางสี เสฉวน         (2) เทือกเขาอัลไต

(3)       น่านเจ้า ตาลีฟู (4) สิบสองปันนา

ตอบ 1 หน้า 21-22, (คำบรรยาย) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนอไว้ในหนังสือเรื่องประวัติศาสตร์สยามว่า ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแถบมณฑลยูนนาน กุ้ยโจ กวางสี และเสฉวน ซึ่งสอดคล้องกับลาคูเพอรี่ ที่ได้เสนอว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่แถบกวางตุ้ง กวางไส กุยจิ๋ว เสฉวน และยูนนาน ตลอดจนนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ที่ชื่อ วัยอาจ (Wyatt) และ นักภาษาศาสตร์อีกหลายท่าน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ และปรีดี พนมยงค์ ก็เห็นในทำนองเดียวกัน โดยอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าคนแถบนี้มีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับไทย

27.       นักวิชาการท่านใดเห็นว่า คบไทยมิได้อพยพมาจากที่อื่น

(1)       พาร์คเกอร์       (2) เบเนดิกท์   (3) สุด แสงวิเชียร        (4) ขจร สุขพานิช

ตอบ 3 หน้า 1722, (คำบรรยาย) นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้เปรียบเทียบโครงกะโหลกของคนไทยปัจจุบันกับกะโหลกของมนุษย์ยุคหินใหม่ซึ่งพบที่ตำบลบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี พบว่า โครงกะโหลกทั้งคู่ไม่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจนพอที่จะแบ่งเป็นคนละเชื้อชาติได้ เขาจึงได้ข้อสรุปและเขียนหนังสือชื่อว่า คนไทยอยู่ที่นี่” ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ และศรีศักร วัลลิโภดม ที่ใช้หลักฐานด้านโบราณคดีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ มาแสดงพัฒนาการของมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม โดยทั้งหมดสรุปว่า คนไทยไม่ได้อพยพ มาจากไหน แต่เป็นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ที่นี่ (สุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)มาตั้งแต่ดั้งเดิม และปัจจุบันแนวคิดนี้ก็ได้รับความสนใจมากขึ้น

28.       ข้อใดเป็นหลักฐานในการตัดสินว่าคนไทยมิได้อพยพมาจากที่อื่น

(1)       การเปรียบเทียบ DNA ในเม็ดเลือด (2) การเปรียบเทียบโครงกะโหลก

(3) ภาษาพูด    (4) ความเชื่อ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29.       คนไทยมาจากแหลมมลายู เป็นแนวคิดที่ใช้อะไรเป็นหลักฐาน

(1)       ภาษาพูดตระกูลเดียวกัน        (2) เปรียบเทียบ DNA ในเม็ดเลือด

(3) วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม  (4) เปรียบเทียบโครงกะโหลก

ตอบ 2 หน้า 22 – 23, (คำบรรยาย) นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เสนอว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ทางใต้ แถบคาบสมุทรมลายูและชวา (อาณาจักรศรีวิชัย) เนื่องจากเมื่อเขาได้เปรียบเทียบความถี่ของยีน ระหว่างคนไทยกับคนจีนและคนอินโดนีเซียแล้ว พบว่ายีนของคนไทยคล้ายคลึงกับยีนของ คนอินโดนีเซียมากกว่าของคนจีน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของนายแพทย์ประเวศ วะสี และ เสมอชัย พูลสุวรรณ ที่ยืนยันว่าคนไทยไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากจีน โดยทั้งหมดใช้หลักฐาน การทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรมด้วยวิธีการเปรียบเทียบยีน (DNA) ในเม็ดเลือด เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเชื้อชาติ

30.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอาณาจักรสุโขทัย        

(1) พลเมืองส่วนใหญ่ย้ายมาจาก 2 ฝั่งโขง

(2)       ทำสัมฤทธิ์      (3) มีศูนย์กลางด้านการค้า      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 31 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ได้เกิดแคว้นศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้น ซึ่งเป็นต้นเค้าของ อาณาจักรสุโขทัย โดยเริ่มจากการเป็นชุมชนถลุงเหล็กจนขยายตัวเป็นศูนย์กลางด้านการค้า และมีพลเมืองส่วนใหญ่ย้ายมาจาก 2 ฝั่งโขง จึงทำสัมฤทธิ์ (สำริด) เก่งเนื่องจากได้สะสม ความรู้และประสบการณ์มาจากยุคเหล็ก และเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมบ้านเชียงด้วย

31.       อะโรคือกลไกสำคัญที่ทำให้ชุมชนกลายเป็นสังคมไทย

(1)       ภาษา   

(2) การแลกเปลี่ยนทางสังคม

(3)       ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน     

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 24,(คำบรรยาย) กลไกสำคัญที่ทำให้ชุมชนต่าง ๆ เกิดพัฒนาการกลายเป็นสังคมไทย ได้แก่

1.         การเกิดพัฒนาการทางภาษาที่ใช้สื่อสารกันเข้าใจ และการมีวัฒนธรรมร่วมกัน

2.         การสมรส ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน และนำไปสู่การจัดระบบเครือญาติ

ที่ขยายออกเป็นชุมชนใหญ่     3. การแลกเปลี่ยนทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

32.       ภาษาไทยอยู่ในตระกูลภาษาใด

(1)       ออสโตรนีเชียน            

(2)       ออสโตรเอเชียติก         

(3) ไท-คะได    

(4)       สิโน-ทิเบตัน

ตอบ 3 หน้า 25 ภาษาไทยมีที่มาจากตระกูลภาษาไท-คะได (Tai-Kadai) หรือไท-ลาว ซึ่งในปัจจุบัน มีกลุ่มคนที่พูดภาษาไทยประมาณ 90 ล้านคน กระจายอยู่ตามลุ่มนํ้าโขง สาละวิน ดำ แดง ขาว และเจ้าพระยา โดยภาษาไทยมีคำที่เกิดขึ้นใหม่จากการผสมผสานภาษาของเพื่อนบ้าน ได้แก่ ภาษาเขมร บาลี สันสกฤต เป็นจำนวนมาก

33.       ข้อใดคือกลุ่มคนดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใตั

(1)       เงาะซาไก        

(2)       ตองเหลือง       

(3) ชาวเล        

(4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 23 – 24, (คำบรรยาย) กลุ่มชนดั้งเดิมหรือชาติพันธุ์เร่ร่อนที่อาศัยอยู่ในสุวรรณภูมิหรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 2 กลุ่ม คือ

1.         ออสโตรลอยด์ (Austroloid) เป็นพวกที่มีรูปร่างสูงเพรียว ผมหยักศกเป็นคลื่น ปากหนา ผิวคล้ำ ปัจจุบันคือขชนพื้นเมืองของศรีลังกาและออสเตรเลีย รวมทั้งพวกผีตองเหลือง

2.         นิกริโตหรือนิกรอยด์ (Nigroid) เป็นพวกที่มีรูปร่างเตี้ย ผิวดำ ปากหนา ผมหยิกหยอย ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามเกาะในทะเลอันดามันที่เรียกว่า มอร์แกนหรือชาวเล และบนคาบสมุทรมลายูทางใต้ของไทย เช่น พวกเงาะซาไก เป็นต้น

34.       อะไรคือเอกลักษณ์ดั้งเดิมของวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) การนับถืออำนาจเหนือธรรมชาติ    (2) การนับถือศาสนาพุทธ

(3) การยกย่องเพศชาย           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 27, (คำบรรยาย) เอกลักษณ์ดั้งเดิมของวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสืบทอด มาจนถึงทุกวันนี้ คือ 1. การนับถืออำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ การเคารพนับถือผีสางเทวดา ผีบรรพบุรุษ และผีวีรชน 2. การยกย่องสตรี 3. การเพาะปลูก

35.       กลุ่มชาติพันธุ์ใดที่กระจายอยู่แถบอีสานของไทย

(1) เขมร ส่วย กุย มอญ           (2) เกรียง        (3) กะเหรี่ยง    (4) ชาวป่า

ตอบ 1 หน้า 34 กลุ่มฃาติพันธุเขมร ส่วย กุย มอญ มีภาษาพูดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ส่วนใหญ่เข้ามาอยู่กระจัดกระจายแถบภาคอีสานของไทย เนื่องจากการอพยพและสงคราม ทำให้มีการผสมผสานด้านวัฒนธรรมอย่างมากกับชาติพันธุ์ไทย

36.       ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยระบบใดที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

(1) แนวราบ     (2) อุปถัมภ์      (3) เท่าเทียมกัน           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 34 – 35, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยในปัจจุบันที่ถือเป็นมรดกสืบทอดมาจากระบบความสัมพันธ์นอดีต คือ ระบบอุปถัมภ์หรือระบบเครือญาติ (Patron- client Relationship) ในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีฐานะต่างกัน เช่น ผู้ใหญ่กับผู้น้อย หรือนายกับบ่าวที่ต่างยอมรับต่อกัน มีหน้าที่ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยต่อกัน และจะขาดเสีย ซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปไม่ได้

37.       ไทยรับศาสนาพุทธ พราหมณ์ และระบบกษัตริย์มาจากชนชาติใด

(1)       จีน       (2) อินเดีย       (3) เปอร์เซีย    (4) ลาว

ตอบ 2 หน้า 29 – 30 หลักฐานของอินเดียระบุว่า เมืองอู่ทองของไทยเป็นชุมชนในภาคกลางแถบลุ่มนํ้าท่าจีนและแม่กลอง ซึ่งมีความเก่าแก่เกินกว่า 1,700 ปี ได้รับเอาวัฒนธรรมอินเดีย เข้ามาใช้กับวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้เกิดการเผยแผ่และนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์) และเริ่มนำระบบกษัตริย์มาใช้เป็นครั้งแรก

38.       ปัจจุบันโครงสร้างของสังคมไทย ประกอบด้วยกลุ่มใดบ้าง  

(1) ชนชั้นสูง กลาง ตํ่า

(2)       ขุนนาง-ไพร่     (3) นาย-ทาส   (4) นักการเมือง ข้าราขการ และราษฎร

ตอบ 1 หน้า 35, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ของคนในสังคมไทย หรือโครงสร้างของสังคมไทยปัจจุบันถูกกำหนดโดยใช้ลักษณะอาชีพ ตำแหน่งหน้าที่การงาน รายได้ การศึกษา สถานภาพ การพึ่งพาอาศัย และฐานะทางสังคม ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยในปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม ทางสังคมออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ 1 ชนชั้นสูง 2. ชนชั้นกลาง 3. ชนชั้นตํ่า

39.       เศรษฐกิจแบบพอเพียง” ปรากฏขึ้นตั้งแต่เมื่อใด   

(1) ก่อนสนธิสัญญาบาวริ่ง

(2)       สมัยรัชกาลที่ 9            (3) หลังปี 2540           (4) ยุคปัจจุบัน

ตอบ 1 หน้า 37 – 38 ในอดีตก่อนติดต่อกับชาวตะวันตก หรือก่อนเปิดประเทศตามสนธิสัญญาบาวริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ระบบเศรษฐกิจของคนไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง นั่นคือ แต่ละครอบครัวจะผลิตของกินของใช้ขึ้นมาบริโภคเองภายในครอบครัว โดยมิได้มุ่งผลิต เพื่อการค้า แต่เมื่อมีผลผลิตเหลือก็อาจจะแลกเปลี่ยนกับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงบ้าง

40.       จำนวนประชากรของไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในยุคสมัยใด

(1) กรุงศรีอยุธยา        (2) กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (3) สมัยรัชกาลที่ 7         (4) สมัยรัชกาลที่ 9

ตอบ 4 หน้า 32, (คำบรรยาย) ในยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรัชกาลปัจจุบัน ถือเป็นช่วงที่ประชากรไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุด เพราะเป็นระยะที่ประเทศไทย มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้คนอายุยืนขึ้น ในขณะที่คนเกิดเท่าเดิมแต่คนตายน้อยลง

41.       โครงสร้างของสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามแบบประเทศตะวันตก เกิดขึ้นในสมัยใด

(1) กรุงศรีอยุธยา        

(2) กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 

(3) สมัยรัชกาลที่ 7         

(4) สมัยรัชกาลที่ 9

ตอบ 3 (คำบรรยาย) โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 4 และมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดจากหน้ามือเป็นหลังมือตามแบบประเทศตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากเป็นยุคที่สังคมไทยเริ่มเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างเต็มที่

42.       จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความสำคัญอย่างไรต่อสังคมไทย

(1) เปลี่ยนคำว่าสยามเป็นประเทศไทย           

(2) สร้างความเป็นเอกภาพของสังคม

(3)       การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบพึ่งตนเอง           

(4) พัฒนาการปกครองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 20 คำว่า สยาม” นั้น นายปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งในอดีตพระมหากษัตริย์ไทยเรียกดินแดน แห่งนี้ว่า ประเทคสยามเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน แต่ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ประกาศรัฐนิยมให้ใช้ชื่อ ประเทศไทย” แทนโดยให้ใช้ คำว่า ไทย” แทนคำว่า สยาม” นับแต่นั้นจะต้องเรียกคนไทยว่าไทย และเรียกประเทศว่า ประเทศไทย

43.       การเดินย่อตัวเมื่อผ่านผู้ใหญ่” เป็นวัฒนธรรมแบบใด

(1)       วัฒนธรรมแนวราบ      (2) วัฒนธรรมแนวดิ่ง

(3)       วัฒนธรรมชาวบ้าน      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 46 – 47 วัฒนธรรมไทยแนวดิ่ง คือ ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างวัฒนธรรมเจ้ากับไพร่ ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านสถานภาพ เพราะคนแต่ละคนจะมีสถานะที่ลดหลั่นกันเป็นลำดับใน โครงสร้างของสังคม โดยแบบแผนพฤตกรรมที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันในแนวดิ่ง ได้แก่

1.         ภาษากาย (กิริยาท่าทาง) หรือที่เรียกว่ากิริยามารยาท เช่น การไหว้ การเดินสวนกัน และ การเดินย่อตัวเมื่อผ่านผู้ใหญ่ ฯลฯ

2.         ภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น ภาษาที่ใช้กับผู้อาวุโสจะแตกต่างจากกลุ่มเครือญาติ เป็นต้น

3.         ความแตกต่างในศักดิ์ของร่างกาย เช่น เท้าตํ่าสุด หัวสูงสุด เป็นต้น

44.       วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากปัจจัยใด

(1) สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์       (2) ความเชื่อด้านศาสนา

(3) การติดต่อกับชนเผ่าอื่น      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 45 – 46 วัฒนธรรมไทยปัจจุบันมีที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1.         สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษไทยเป็นผู้คิดสร้างขึ้นจาก การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อการมีชีวิตรอด

2.         ความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธและพราหมณ์ที่รับมาจากอินเดีย รวมทั้งความเชื่อดั้งเดิม

3.         การติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์และชนต่างสังคมต่างวัฒนธรรมเผ่าอื่น ๆ

45.       อะไรคือภูมิปัญญาไทย

(1) องค์ความรู้ในการใช้สมุนไพรรักษาโรค      (2) องค์ความรู้ในการสร้างคอมพิวเตอร์

(3) องค์ความรู้ในการจัดการองค์กรแบบสากล           (4) องค์ความรู้ในการรักษาโรคแบบทันสมัย

ตอบ 1 หน้า 52 – 54 ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1.         เป็นองค์ความรู้ของสังคมไทยในเกือบทุกเรื่อง เช่น การทำมาหากินด้วยการทำนาปลูกข้าว การเกษตรแบบผสมผสาน การใช้สมุนไพรรักษาโรค ฯลฯ

2.         เป็นองค์ความรู้ที่คนไทยหรือบรรพบุรุษไทยเป็นผู้คิดสร้างขึ้นมา และได้แปรความรู้จาก นามธรรมมาสู่รูปธรรม เช่น เรือหางยาว รำผีฟ้า เสื้อผ้าที่ทำจากฝ้าย ฯลฯ

3.         เป็นองค์ความรู้เฉพาะท้องถิ่นที่แตกต่างกัน หรือเป็นสิ่งที่เกิดและพัฒนาในระบบนิเวศท้องถิ่น และเมื่อสร้างขึ้นมาแล้วคนไทยในแต่ละท้องถิ่นก็จะเป็นเจ้าของชัดเจน

4.         เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากชีวิตจริงโดยการลองผิดลองถูก หรือผ่านการทดลองจริงด้วยตัวเอง

46.       ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะสำคัญอย่างไร

(1)       เกิดจากการผสมผสานกลมกลืนทางวัฒนธรรมสากลกับไทย

(2)       เกิดจากบรรพบุรุษไทยเป็นผู้คิดสร้างขึ้นมา

(3)       พัฒนามาจากการติดต่อสัมพันธ์กับอินเดีย

(4)       พัฒนามาจากการติดต่อสัมพันธ์กับจีน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47.       องค์ความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นความรู้ที่เกิดจากการทดลองจริง          (2) เป็นความรู้ผีบอก

(3) เป็นความรู้เกิดจากความเชื่อไสยศาสตร์    (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48.       ระบบความเชื่อ จัดเป็นภูมิปัญญาระดับใด

(1)       ระดับที่ 1         (2) ระดับที่ 2   (3) ระดับที่ 3   (4) ระดับที่ 4

ตอบ 3 หน้า 51-52, (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

1.         ระดับพื้นฐานเชิงเทคนิค ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม เช่น ความรู้เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ฤดูกาลใดเหมาะแก่การเพาะปลูก การรู้ว่าพืชสัตว์อะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ ฯลฯ

2.         ระดับการจัดการระบบการผลิตและทรัพยากร เช่น การรู้จักคัดเลือกพันธูพืชและพื้นที่ เพาะปลูก การดูคุณสมบัติของดิน การสร้างเหมืองฝาย ระบบการจัดการน้ำ ฯลฯ

3.         ระดับการควบคุมโดยใช้ระบบความเชื่อและพิธีกรรม เช่น ความเชื่อเรื่องรุกขเทวดา พิธีแห่นางแมวขอฝน รวมทั้งจารีตประเพณีต่าง ๆ

4.         ระดับวิธีคิดหรือค่านิยม ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมและเป็นระดับสูงสุดของสังคม เช่น อยากเป็นหนี้ให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน ป่าอยู่คนอยู่ ฯลฯ

49.       ภูมิปัญญาที่เด่นของภาคเหนือ ได้แก่อะไร    

(1) การปลูกข้าว

(2)       การทำเหมืองฝาย       (3) การตั้งบ้านเรือนใกล้กุดน้ำ            (4) การผูกดอง

ตอบ 2 หน้า 54 – 65 ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นของแต่ละภาค มีดังนี้

1.         ภาคเหนือ ได้แก่ ระบบเหมืองฝาย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาด้านการออกแบบชลประทาน เพื่อการจัดการนํ้าที่เด่นเฉพาะของชาวเหนือ ความรู้เรื่องสมุนไพร การสืบชะตาขุนนํ้า บวชต้นไม้ บวชป่า ฯลฯ

2.         ภาคอีสาน ได้แก่ การทำนาปลูกข้าวในที่ดินดำนํ้าชุม การตั้งบ้านเรือนใกล้กุดนํ้า ความเชื่อ เรื่องดาวผีดาน การตั้งศาลปู่ตาในถิ่นฐานใหม่ ระบบพ่อแก้ว-ลูกแก้ว การผูกเสี่ยววามสามารถในการจับและกินแมลง การทำปลาร้า ฯลฯ

3.         ภาคกลาง ได้แก่ การปลูกบ้านใต้ถุนสูงตามแนวตะวัน การปลูกข้าว ภูมิปัญญาเกี่ยวกับ วัฒนธรรมข้าว และพิธีกรรมที่สืบเนื่องจากตำนานข้าว เช่น พิธีแรกนา พิธีทำขวัญข้าว ฯลฯ

4.         ภาคใต้ ได้แก่ การปลูกบ้านมีตีน การเก็บถนอมอาหาร การผูกดอง ผูกเกลอ ฯลฯ

50.       การปลูกบ้านใต้ถุนสูง เป็นภูมิปัญญาไทยที่ปรากฎในภาคใด

(1) กลาง         (2) เหนือ          (3) ใต้  (4) อีสาน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

51.       อะไรคือเอกลักษณ์เด่นของคนไทย

(1)       การไหว้            

(2) การพูดภาษาไทย   

(3) ลักษณะนิสัย         

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 65 เอกลักษณ์ไทย หมายถึง ลักษณะเด่นที่มีอยู่เฉพาะในหมู่คนไทยหรือสังคมไทยซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นตัวตน (Self) โดยเอกลักษณ์เล่นของคนไทยจะปรากฏทั้งในด้าน รูปธรรมและนามธรรม ดังนี้ 1. ด้านรูปธรรม ได้แก่ สลาปัตยกรรมต่าง ๆ ดนตรี การไหว้ การพูดภาษาไทย สมุนไพรรักษาโรค อาหาร เครื่องแต่งกาย วิถีชีวิตของคนไทย ฯลฯ 2. ด้านนามธรรม ได้แก่ ลักษณะนิสัย ทัศนคติ คุณค่า ความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ ฯลฯ

52.       เอกลักษณ์พื้นฐานของสังคมไทย ได้แก่อะไร

(1)       ชาติ     

(2) ศาสนาพุทธ           

(3) พระมหากษัตริย์     

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) เอกลักษณ์พื้นฐานของสังคมไทย ได้แก่

1.         ชาติ หมายถึง ลักษณะหรือเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย โดยเฉพาะที่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นคนไทย ความภาคภูมิใจและความสำนึกในความเป็นไทย รวมทั้งการมีวัฒนธรรมไทย เช่น ศิลปกรรมไทย พฤติกรรมความเป็นอยู่แบบอ่อนน้อมถ่อมตนของคนไทย อาหารไทย ภาษาไทย ดนตรีไทย ธงชาติและการยืนตรงทำความเคารพเพลงชาติไทย ฯลฯ

2.         ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะอุปนิสัย ทัศนคติในการมองโลก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย

3.         พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาน และทรงมีภาระหน้าที่ ในการขจัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

4.         การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

53.       เอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย ปรากฏได้ในรูปแบบใด

(1)       เพลงชาติไทย 

(2) ความเชื่อ    

(3) การปกครอง          

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54.       เอกลักษณ์ความเป็นศาสนา ปรากฏในรูปแบบโด    

(1) พิธีกรรม

(2)       ลักษณะอุปนิสัย          (3)       การบริโภคทรัพยากร   (4)       การแต่งกาย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

55.       อะไรคือภาระหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ที่คงอยู่มาเป็นเวลากว่า 700 ปี       

(1) เป็นนักรบ

(2)       เป็นเทพเจ้า      (3)       ขจัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎร (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

56.       อะไรคือคุณลักษณะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์

(1) ธรรมราชา

(2)       เทวราชา          (3)       ธรรมราชาและเทวราชา           (4)       เป็นเจ้าชีวิต

ตอบ 3 หน้า 66, (คำบรรยาย) คุณลักษณะของพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละยุคสมัยจะแตกต่างกัน ดังนี้

1.         สมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมิกราชหริอธรรมราชาทีทรงยืดหลักทศพิธราชธรร

2.         สมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทวราชาหรือสมมติเทพที่เชื่อว่าเป็น ปางอวตารของพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์

3.         สมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์มีลักษณะกึ่งกลางระหว่างธรรมราชาและเทวราชา

57.       อะไรคือหลักคำอนของศาสนาพุทธ

(1)       จงทำดี จงทำดี (2) จงทำดี ละเว้นความชั่ว

(3)       จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์    (4) ทำใจให้บริสุทธิ์

ตอบ3  หน้า 83, (คำบรรยาย) หลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจหรือแก่นของศาสนาพุทธ ได้แก่ จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การดับทุกข์

58.       คนไทยมีลักษณะนิสัยบางอย่างคล้ายกัน เนื่องมาจากอะไร

(1)       ประวัติความเป็นมาของสังคม (2) ความเชื่อด้านศาสนา

(3)       การอบรมเลี้ยงดู          (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 68, (คำบรรยาย) ลักษณะนิสัยประจำชาติ อาจหมายถึง ลักษณะนิสัยบางอย่างซึ่งบุคคลที่อยู่ในประเทศเดียวกันมักมีอยู่คล้าย ๆ กัน อันเป็นผลมาจากการเติบโตและได้รับ การอบรมเลี้ยงดูขัดเกลามาจากคนในสังคมที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา มีความเชื่อทางศาสนา มีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (สภาพภูมิศาสตร์) สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจเหมือนกัน

59.       สังคมไทยมี โครงสร้างแบบหลวม” หมายความว่าอย่างไร

(1) คนไทยไม่ชอบรวมกลุ่มกัน (2) คนไทยไม่ค่อยยึดกฎเกณฑ์

(3)       คนไทยชอบสบาย        (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 69, (คำบรรยาย) เอมบรี (Embree) กล่าวว่า สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม(Loosely structured) นั่นคือ คนไทยขาดระเบียบวินัย มีลักษณะปัจเจกบุคคลนิยมสูง ชอบอยู่โดดเดี่ยว ไม่ชอบการรวมกลุ่ม และเป็นสังคมที่มีลักษณะยืดหยุ่นประนีประนอมสูง นอกจากนี้คนไทยยังรักอิสระ ชอบความสะดวกสบาย นิยมเลือกทำตามใจตนเอง ไม่ค่อย ยึดกฎเกณฑ์ ไม่รู้สึกผูกพันต่อหน้าที่ และพยายามหลีกเลี่ยงพันธะทางสังคม จึงมักมีปัญหา ในการทำงานรวมกลุ่มกับผู้อื่น

60.       ค่านิยมอะไรที่คนไทยยึดมั่น ทำให้คนไทยไม่ทำสิ่งที่ไม่ให้ประโยชน์แก่ตน

(1) ปัจเจกบุคคลนิยม  (2) ประสานประโยชน์ (3) เล็งผลปฏิบัติ         (4) ขันติ ความอดกลั้น

ตอบ 3 หน้า 70, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ กล่าวว่า คนไทยเล็งผลการปฏิบัติ หมายถึง คนไทยจะชอบทำเฉพาะสิ่งที่เอื้อประโยชน์กับตนเท่านั้นโดยพิจารณาว่าถ้าสิ่งนั้นขัดกับ ประโยชน์ส่วนตนหรือเกิดความเสียหายก็จะไม่ปฏิบัติ แต่ถ้าเสริมประโยชน์กับตนก็จะปฏิบัติ

61.       ข้อใดคือตัวอย่างของวิกฤตทางวัฒนธรรมในสังคมไทย

(1) การไม่ซื่อสัตย์สุจริต           

(2) การโกงเงินบริจาคสาธารณะ

(3)       การไม่เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม        

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 72, (คำบรรยาย) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ความหมายว่าวิกฤตวัฒนธรรม หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากวิถีชีวิตอันดีงาม หรือวิถีชีวิตของคน ในสังคมที่มีความขัดแย้งสวนกระแสในระบบคุณค่าและมาตรฐานทางศีลธรรม นั่นคือ พฤติกรรม ของคนที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยยึดถือปฏิบัตินั่นเอง ซึ่งตัวอย่างของวิกฤตทางวัฒนธรรม ในสังคมไทย เช่น ความรุนแรงต่าง ๆ ทางสังคมความขัดแย้งด้านผลประโยชน์การไม่เคารพ กฎเกณฑ์ของสังคมการแล้งนํ้าใจ ดูดายการไม่ซื่อสัตย์สุจริต คดโกง หรือทุจริตคอร์รัปชั่นการเน้นเรื่องเงินมากกว่าสิ่งอื่นการทำลายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

62.       วิกฤตวัฒนธรรมไทยเกิดจากอะไร

(1) ความล่าทางวัฒนธรรม      

(2) เด็กไทยใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษา

(3) ความสัมพันธ์แบบเอื้ออาทร           

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 72 – 74, (คำบรรยาย) ที่มาและปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตทางวัฒนธรรมไทย มีดังนี้

1.         เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 และกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้มีการ พัฒนาประเทศให้ทับสมัย เพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เทคนิควิทยา ด้านต่าง ๆ และระบบสื่อสารคมนาคมแบบไร้พรมแดน จบเกิดภาวะทันสมัย แต่ไม่พัฒนา หรือรูปแบบก้าวหน้า เนื้อหาล้าหลัง ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างว่า ความล่าทางวัฒนธรรม” (Culture Lag)

2.         การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ระบบทุนนิยมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิด ความสับสนในมาตรฐานเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ที่เคยยึดถือกันมา

63.       การที่มาตรฐานเกี่ยวกับความดี ความชั่วของคนไทยเกิดความสับสน เกิดจากสาเหตุอะไร

(1)       การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว

(2)       คนเชื่อไสยศาสตร์มากขึ้น       

(3) คนเชื่อโหราศาสตร์มากขึ้น 

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64.       ลักษณะใดเป็นลักษณะของวิกฤตทางวัฒนธรรมไทย

(1) การสูญเสียความเข้าใจ ความภูมิใจในวัฒนธรรม (2) การดำเนินชีวิตเน้นการบริโภควัตถุมากขึ้น

(3)       ความมั่นคงในชีวิต คือ เงิน” (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 75 – 76 ลักษณะของวิกฤตทางวัฒนธรรมไทย อาจพิจารณาได้จากประเด็นต่อไปนี้

1.         การสูญเสียความเข้าใจและความภูมิใจในวัฒนธรรมไทย

2.         การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของคนไทยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งเน้นการบริโภควัตถุมากขึ้น เช่น การนิยมใช้ของมียี่ห้อแพง ๆ นิยมบริโภคอาหาร Fast Food ๆลฯ

3.         เกิดความขัดแย้งในระบบความคิด หรือเกิดข่องว่างระหว่างวัยทางสังคมสูงขึ้น

4.         มองว่าความมั่นคงในชีวิต คือ เงิน” จึงยึดถือเงินเป็นพระเจ้า

5.         ความเชื่อด้านศาสนาลดความสำคัญลง

65.       จากวิกฤตทางวัฒนธรรมของไทย ทำให้เด็กไทยปัจอุบันมีลักษณะนิสัยอย่างไร

(1) ขี้เหงา        (2) ไม่อดทน     (3) เห็นแก่ตัว   (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 70 – 71, (คำบรรยาย) จากวิกฤตทางวัฒนธรรมของไทย ทำให้เด็กไทยรุ่นใหม่มีนิสัยดังนี้

1.         ขี้เหงา ติดเพื่อน           2. ไม่มีความอดทนในการรอคอย 3. เจ้าอารมณ์

4.         เห็บแก่ประโยชน์ส่วนตน 5. ขาดจิตสำนึกสาธารณะ   6. ชอบทันสมัย ฟุ่มเฟือย

ฟุ้งเฟ้อ และตามแฟชั่น            7. ชอบเลียบแบบวัฒนธรรมอื่น (โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก)

ที่แพร่เข้ามาเพื่อความเป็นสากล          8. เห็นแก่ตัว (ดูดาย) ไม่ช่วยเหลือครอบครัว ฯลฯ

66.       สังคมไทยแก้ไขวิกฤตทางวัฒนธรรมด้วยวิธีใด

(1) ปฏิรูปการศึกษา    (2) ส่งเสริมสถาบันครอบครัว

(3) ควบคุมการพัฒนาให้สมดุลกับธรรมชาติ  (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 76 – 77, (คำบรรยาย) การแก้ไขวิกฤตทางวัฒนธรรมควรทำทั้งในระดับบุคคล สถาบัน และสังคมทั้งสังคม ด้วยวิธีการต่อไปนี้

1.         การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาให้อยู่ในสภาพที่สมดุลตามธรรมชาติ

2.         ปฏิรูปและส่งเสริมระบบการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแก่นแท้ของวัฒนธรรมไทย ตลอดจนให้รู้จริงเกี่ยวกับรากฐานวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาไทย

3.         ส่งเสริมสถาบันครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็งและมั่นคง และเปิดโอกาสให้ชุมชน ได้มีส่วนร่วมใบการอนุรักษ์ แก้ไข และปกป้องวัฒนธรรมของตนเอง

4.         เร่งศึกษาถึงอิทธิพลของโลกภายนอกที่มีต่อสังคมไทยในทุกด้าน

5.         ฟื้นฟูสถาบันศาสนาให้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตเหมือนอดีต

67.       การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม” เป็นเป็าหมายการรณรงค์วัฒนธรรมไทยของหน่วยงานใด

(1)       คณะกรรมการเอกลักษณ์ไทย            (2) คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

(3) สำนักนายกรัฐมนตรี          (4) สถาบันการศึกษาต่าง ๆ

ตอบ 2 หน้า 77 – 78 เป้าหมายการรณรงค์วัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีดังนี้

1.         ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูสถาบันชาติ คาสนา พระมหากษัตริย์ให้เป็นหลักของสังคมไทย

2.         ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน

3.         ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณ์ที่ดีงามของไทย 4. ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

5.         ส่งเสริมค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมอันดีงามของไทย ฯลฯ

68.       ระบบความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่มีที่มาจากอะไร 

(1) หลักวิทยาศาสตร์

(2)       ความกลัวในอำนาจเหนือธรรมชาติ    (3) ความเชื่อในธรรมชาติ        (4) หลายปัจจัยประกอบกัน

ตอบ 2 หน้า 79, (คำบรรยาย) ระบบความเชื่อเกิดขึ้นมาพร้อมกับการรวมกลุ่มของสังคมมนุษย์โดยเป็นสิ่งที่มนุษย์ในทุกสังคมผูกสร้างเป็นเรื่องราวขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นรูปธรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีที่มาจากการที่มนุษย์ไม่แน่ใจในธรรมชาติ หรือเกิดความกลัวใบอำนาจเหนือธรรมชาติ ดังนั้นมนุษย์จึงสร้างระบบความเชื่อขึ้นเพื่อเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นการส่งเสริมอำนาจ เป็นการตอบสนองความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดจนเป็นเครื่องมือควบคุมมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีระเบียบ

69.       คนไทยใช้อะไรเป็นมาตรฐานในการเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสังคม

(1) กฎหมาย    (2) เหตุผล       (3) ความเชื่อ    (4) หลักวิทยาศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 79, (คำบรรยาย) มนุษย์ในทุกสังคมจะใช้ระบบความเชื่อเป็นมาตรฐานในการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจสังคม และเข้าใจโลก โดยความเชื่อนี้มักจะผูกพันกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ปรัชญา ตลอดจนศาสนา ซึ่งจะมีส่วนกำหนดความเป็นไปของวิถีชีวิตผู้คนในสังคม

70.       ศาสนาพุทธได้รับการปรับปรุงให้มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในยุคสมัยใด

(1) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (2) พระบรมไตรโลกนาถ          (3) รัชกาลที่ 4 (4) รัชกาลที่ 9

ตอบ 3 หน้า 82 เมื่อไทยยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกและเข้าสู่สมัยใหม่ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ชนชั้นปกครองของไทยเริ่มให้ความสำคัญกับความรู้ ที่อธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นความรู้ความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธจึงได้รับ การปรับปรุงให้ดูมีเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น

71.       ในทัศนะของชาวพุทธ”กรรมคืออะไร

(1)บาปเคราะห์

(2)       การกระทำของเรา       

(3) สิ่งที่พระเจ้ากำหนด           

(4) ผลบุญ

ตอบ 2 หน้า 83, (คำบรรยาย) ในทัศนะของชาวพุทธ กรรม” คือ การกระทำของเรา ซึ่งจะเป็น ตัวกำหนดสร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลาย และเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใด ผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำนั้นก็จะตามมา กรรมที่กระทำไว้ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือ กรรมชั่วจะยังผลให้มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร จึงกล่าวได้ว่าพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ ปัจจุบันจะเป็นเช่นไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ กรรม” หรือบาปบุญที่ได้กระทำไว้ในชาติหนึ่งนั่นเอง

72.       อะไรคือสิ่งยึดเหนี่ยวของคนไทย       

(1) หลักธรรมของศาสนา

(2)       ไสยศาสตร์      

(3) โหราศาสตร์           

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 81 – 83, (คำบรรยาย) ความเชื่อในสังคมไทย ซึ่งเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ของคนไทย แบ่งออกได้ดังนี้

1.         ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ความเชื่อเรื่องขวัญ ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ฯลฯ

2.         ความเชื่อด้านหลักธรรมของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เช่น การเชื่อว่าชีวิต เป็นไปตามกรรม เมตตาธรรมคํ้าจุนโลก ลัทธิเทวราชา พรหมลิขิต คติไตรภูมิ ฯลฯ

73.       ระบบความเชื่อดั้งเดิมในสังคมไทยคืออะไร  

(1) หลักวิทยาศาสตร์

(2)       ศาลนาพุทธ     

(3) เทคโนโลยี  

(4) อำนาจเหนือธรรมชาติ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74.       ความเชื่อและศาสนามีสิ่งที่คล้ายคลึงกันคืออะไร     

(1) มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์

(2)       มีการทดลอง   (3) มีคำสั่งสอน            (4) แสดงการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก

ตอบ 1 หน้า 79 ศาสนาและความเชื่อมีสิ่งที่ตรงกัน เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน คือ มีที่มาจากความเชื่อว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ลึกลับบางอย่างหรือหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือมนุษย์ธรรมดา และความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาตินี้จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งในทางดี และทางร้าย ทั้งให้คุณและให้โทษได้ แต่ความเชื่อจะต่างจากศาสนาในแง่ที่ว่าความเชื่ออาจจะ ไม่แสดงกำเนิดและการสิ้นสุดของโลก หรืออาจไม่มีหลักธรรมคำสอนที่เกี่ยวกับบุญ-บาป เป็นศีลธรรมเหมือนกับศาสนา

75.       วัฒนธรรมข้าว” เป็นภูมิปัญญาของภาคใด

(1)       ภาคเหนือ        (2) ภาคกลาง  (3) ภาคอีสาน  (4) ภาคใต้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

76.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ ขวัญ

(1) คนไทยเชื่อเรื่องขวัญ          (2) ขวัญ” อยู่ในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

(3)       เป็นความเชื่อที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม ศาสนาพุทธและพราหมณ์           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 81, (ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ) ขวัญ คือ สิ่งสำคัญที่อยู่ในตัวของมนุษย์ ซึ่งมีความหลากหลายเพราะอยู่ทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ดังนั้นความเชื่อเรื่องขวัญของคนไทย จึงเป็นความเชื่อที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมกับศาสนาพุทธและพราหมณ์ คือ ผี-แถน และ บาป-บุญ-กรรม

77.       ความเชื่อที่คนไทยใช้อธิบายชีวิตของคนคืออะไร

(1) กฎแห่งกรรม          (2)       บุญ-วาสนา     (3) การกระทำ (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ-4 หน้า 83 ความเชื่อที่คนไทยใช้อธิบายชีวิตพื้นฐานของคน ตลอดจนการกระทำของบุคคล คือ ความเชื่อเรื่องกรรม (การกระทำ) กฎแห่งกรรม วาสนา และบุญบารมี

78.       ศีล” คืออะไร

(1)       ข้อฏิบัติ         (2)       ข้อห้าม (3) บทสวดมนต์           (4)       จารีต

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ศีล หมายถึง การประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักศีลของพระพุทธศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่ศีลจะหมายถึงข้อห้าม ส่วนธรรมจะหมายถึงข้อปฏิบัติ

79.       เพราะเหตุใดคนไทยปัจจุบันจึงนิยมการดูหมอและสะเดาะเคราะห์  

(1) อยากรู้อนาคต

(2)       หาความมั่นใจในการดำรงชีวิต           (3) ชอบทดลอง           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 82, (คำบรรยาย) คนไทยบางส่วนในปัจจุบันยังไม่เป็นคนสมัยใหม่ เพราะยังมีการทรงเจ้า เข้าทรง ดูหมอดู สะเดาะเคราะห์ มีการกราบไหว้บวงสรวงศาลเจ้า ศาลพระภูมิ และต้นไม้ใหญ่ ต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยิ่งพัฒนาไปมากเท่าไหร่ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา และโหราศาสตร์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาที่เป็นไปอย่าง รวดเร็วจนทำให้ผู้คนตามไม่ทัน จึงก่อให้เกิดความสับสนทางความคิดและต้องหาความมั่นใจ ในการดำรงชีวิตในอนาคตด้วยวิธีนี้

80.       เชื้อชาติของคนไทยคือเชื้อชาติใด

(1) คอเคซอยด์            (2) มองโกลอยด์          (3) ออสโตรลอยด์        (4) นิกรอยด์

ตอบ 2 หน้า 1923 ประขากรทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อชาติ (Racial Group) ที่เรียกว่า มองโกลอยด์ (Mongoloid) หรือผิวเหลืองเหมือนกัน แต่อาจจำแนกได้เป็นหลายชาติพันธุ์ตามสภาพภูมิศาสตร์และเวลา

81.       ไสยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอะไร

(1) เวทมนตร์คาถา      

(2) จิตวิญญาณ          

(3)       ผีบรรพบุรุษ     

(4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 82, (คำบรรยาย) ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลัง นํ้ามันพลาย รัก-ยม ฯลฯ ซึ่งคนไทยไต้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

82.       ข้อใดคือ คนไทย” ตามกฎหมาย

(1) คนชาติพันธุ์ไทย     

(2) คนที่ถือสัญชาติไทย

(3)       คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย  

(4) คนที่จำแนกไม่ได้ว่าเป็นคนชาติใด

ตอบ 2 หน้า 14, (คำบรรยาย) คนไทยในความหมายที่เราศึกษาในวิชานี้ หมายถึง คนที่ถือสัญชาติไทย ตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย ๆ มากมาย

83.       ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายอะไร

(1) มหายาน    

(2) หินยาน      

(3)       พราหมณ์         

(4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 83, (คำบรรยาย) ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน (เถรวาท) มากที่สุด (ประมาณ 94%) ซึ่งเผยแผ่มาจากอินเดียตอนใต้ ผ่านศรีสังกา แล้วจึงเข้าสู่สุวรรณภูมิและ มีความเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา โดยประเทศอื่น ๆ ที่นับถือศาสนาพุทธนิกายหินยาน ได้แก่ พม่า เขมร ศรีสังกา และลาว

84.       เหตุใดเอเชียตะวันออกเฉยงใต้จงถูกเรียกว่า ‘’อินโดจีน

(1) เดิมถูกครอบงำโดยจีนและอินเดีย (2) อยู่ติดกับจีนและอินเดีย

(3)       วัฒนธรรมเป็นแบบจีนและอินเดีย       (4) ประชากรมิชาติพันธุจีนและอินเดีย

ตอบ 3- หน้า 26, (คำบรรยาย) ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อุษาคเนย์หรือสุวรรณภูมิ) นั้นแต่เดิมชาวตะวันตกจะเรียกว่า อินโดจีน” เนื่องจากพี้นที่นี้อยู่ตรงกลางระหว่างอินเดียและจีน นอกจากนี้ยังมีอคติว่าพื้นที่แถบนี้เป็นสังคมป่าเลื่อน ไม่มีวัฒนธรรม ดังนั้นจึงถูกครอบงำ โดยวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจีน

85.       เพราะเหตุใดคนไทยปัจจุบันจึงยังคงยึดมั่นในด้านไสยศาสตร์

(1) เกิดความสับสนทางความคิด        (2) มั่นใจในตัวเองสูง

(3)       ชอบเรื่องจิตวิญญาณ  (4) อยากรู้อนาคต

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

86.       อะไรคือประเพณีของสังคมไทย

(1) การแต่งงาน           (2) การบวช     (3) ลอยกระทง            (4) การตาย

ตอบ3  หน้า 86 – 87, (คำบรรยาย) ประเพณีไทยแบ่งตามลักษณะทั่วไปออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.         ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวาระต่าง ๆ ของชีวิตคนไทยแต่ละคน ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับ การเกิด การตาย การบวช การสมรส เป็นต้น

2.         ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นอยู่ ของคนไทย ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ บุญบั้งไฟ แห่นางแมว บูชาพระแม่ธรณี ปั้นเมฆ ตลอดจนงานบุญ และการละเล่นอื่น ๆ เช่น แข่งเรือ การเข้าทรงแม่ศรี ผีครก ผีสาก เป็นต้น

87.       ประเพณีเกี่ยวกับการตาย เป็นประเพณีเกี่ยวข้องกับอะไร

(1) สังคมไทย  (2) ชีวิตของคนไทยแต่ละคน

(3)       โลกหน้า           (4) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88.       ประเพณีไทยมีความสำคัญอย่างไร

(1) แสดงความเป็นอารยะ       (2) ส่งเสริมความสามัคคี

(3)       แสดงความกตัญญรู้คุณ         (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 85 – 86, (คำบรรยาย) ความสำคัญของประเพณีไทย มีดังนี้ 1. แสดงความเป็นอารยะ 2. ส่งเสริมความสามัคคี

3.         แสดงถึงความกตัญญรู้คุณ    4. ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา

5.         แสดงถึงประวัติความเป็นมาของชาติ 6. เป็นมรดกทางสังคม

7.         แสดงโลกทัศน์ของคนไทย       8. แสดงให้เห็บระบบความสัมพันธ์ในสังคม ฯลฯ

89.       ประเพณีใดเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์

(1) แห่นางแมว            (2) บุญบั้งไฟ

(3) บูชาพระแม่ธรณี    (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

90.       การทำปลาร้า” เป็นภูมิปัญญาของภาคใด

(1) กลาง         (2) เหนือ          (3) ใต้  (4) อีสาน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

91.       คนไทยรักสนุกใจเย็น และวัฒนธรรมไทยถูกครอบงำโดยเพศชาย” เป็นผลการศึกษาของใคร

(1) เบเนดิกท์   

(2) ฟิลลิป        

(3) เอมบรี        

(4) มาลินนอฟสกี้

ตอบ 1 หน้า 69, (คำบรรยาย) รูธ เบเนดิกท์ นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่า คนไทยรักสนุก ใจเย็น และวัฒนธรรมไทยถูกครอบงำโดยเพศชาย ซึ่งลักษณะทั้ง 3 นี้เป็นผลมาจากความเชื่อ ทางศาสนา การอบรมขัดเกลาทางสังคม และแบบแผนการเลี้ยงดู นอกจากนี้เขายังให้ทัศนะ ต่อไปอีกว่าสาเหตุที่ทำให้คนไทยชอบสนุกนั้นเกิดจากการอบรมเลี้ยงดู การทำมาหากินแบบ เกษตรกรรม และการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์

92.       เพราะเหตุใดคนไทยจึงมักมีปัญหาในการทำงานรวมกลุ่มกับผู้อื่น

(1) รักอิสระ     

(2) เป็นปัจเจกบุคคลนิยม

(3) ไม่รู้สึกผูกพันต่อหน้าที่       

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

93.       ประเพณีคืออะไร

(1) พิธีกรรม     

(2) หลักจริยธรรม

(3) ธรรมเนียมปฏิบัติที่ส่งต่อกันมา     

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ4 หน้า 85, (คำบรรยาย) ประเพณี คือ แบบแผนของพฤติกรรมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ที่สมาชิกในสังคมได้มีการสร้างและปฏิบัติสืบทอดกันมาในลักษณะของพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่

1.         จารีตประเพณี คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรมและศีลธรรม ผู้ที่ละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษจากสังคม

2.         ธรรมเนียม คือ แบบแผนพฤติกรรมที่สังคมกำหนดไว้และปฏิบัติสืบทอดหรือส่งต่อกันมา

3.         ประเพณีปรัมปรา คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบความคิด คุณค่า ทัศนคติ ซึ่งมีการสั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่อดีตและปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

4.         ขนบธรรมเนียม คือ ประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนและถูกกำหนดขั้นตอนไว้ขัดเจน ในการปฏิบัติ เช่น ประเพณีการสมรส การบวช การตาย ฯลฯ

5.         ธรรมเนียมประเพณีหรือวิถีประชา คือ ประเพณีที่เป็นข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

94.       ประเพณีสงกรานต์มีต้นกำเนิดในสังคมใด

(1) จีน  (2) อินเดีย       (3) เขมร           (4) ไทย

ตอบ 2 หน้า 86 – 87 ประเพณีสงกรานต์ไม่ใช่ประเพณีไทยแต่ดั้งเดิม เพราะปรากฏเป็นพิธีในประเทศต่าง ๆ ด้วย เช่น เขมร พม่า ลาว มอญ ยูนนาน สิบสองปันนา ฯลฯ โดยมีต้นกำเนิด มาจากการที่ไทยรับเอาศาสนาพุทธและพราหมณ์จากอินเดีย จีงมีการรับประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ของอินเดียมาใช้ แต่ได้ผสมผสานความเชื่อของศาสนาพุทธและความเชื่อ เรื่องผีต่าง ๆ เข้าไปด้วย ทำให้ในปัจจุบันสงกรานต์เป็นประเพณีงานบุญ ทำทาน ขนทรายเข้าวัด และสรงนํ้าพระเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข รวมทั้งมีการขอพรและอวยพรซึ่งกันและกัน

95.       ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดินไทย เป็นปัจจัยทำให้เกิดภูมิปัญญาด้านใด

(1) เทคโนโลยีขั้นสูง    (2) การทำมาหากิน

(3) ศิลปะและนันทนาการ       (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาด้านศิลปะและนันทนาการของประเทศไทย คือ ผลโดยตรงที่เกิดจาก ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดินไทย เนื่องจากสังคมใดที่อยู่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์และ มีความมั่งคั่งทางทรัพยากร สังคมนั้นก็จะมีเวลาที่จะสร้างสรรค์ศิลปะและการละเล่นต่าง ๆ ได้

96.       ประเพณ์ปรัมปราเกี่ยวข้องกับอะไร

(1)       ศีลธรรม           (2) ข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

(3) ความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ (4) ระบบความคิด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

97.       ข้อใดคือลักษณะเด่นของจารีตประเพณี        

(1) เน้นศีลธรรม

(2)       เน้นคุณค่า       (3)       เน้นแบบแผนปฏิบัติ    (4) เน้นความสามัคคี

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

98.       การรู้ว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ เป็นภูมิปัญญาระดับใด     

(1) ระดับรูปธรรม

(2)       ระดับนามธรรม            (3)       ระดับการบริหารจัดการ           (4) ระดับสูงสุด

ตอบ ไ ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

99.       กฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ” หมายถึงข้อใด

(1) กลุ่มทางสังคม       (2)       สถาบันทางสังคม

(3/ สถานภาพ  (4)       บทบาท

ตอบ 2 หน้า 8-9 องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม มีดังนี้

1.         กลุ่มทางสังคม (Social Groups) คือ กลุ่มย่อยในสังคมที่มีฐานะและคุณค่าแตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มประชาชบ ทลุ่มผู้มีอิทธิพล กลุมแรงงาน กลุ่มคนรวย-คนจน เป็นต้น

2.         สถาบันทางสังคม (Social Institution) คือ กฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้เป็นหลักในการ ประพฤติปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันของสังคม ซึ่งสถาบันหลัก ๆ ได้แก่ ครอบครัว ศาสนา การศึกษา เป็นต้น

3.         สถานภาพและบทบาท (Status and Roles) คือ ตำแหน่งและหน้าที่ในกลุ่มสังคม

100.    ข้อใดคือตัวอย่างของภูมิปัญญาไทย

(1) เกษตรแบบผสมผสาน       (2)       การทำเหมืองฝาย

(3)       การเก็บถนอมอาหาร   (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 45. และ 49. ประกอบ

Advertisement