การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา ANT3057 สังคมและวัฒนธรรมไทย

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         เพราะเหตุใดเราจึงต้องเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมไทย

(1)       เราเป็นคนไทย 

(2) วัฒนธรรมคือวิถีชีวิตของคนไทย

(3) สังคมและวัฒนธรรมไทยอยูในตัวตนของเรา         

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 1, (คำบรรยาย) การศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นเรื่องที่คนไทยศึกษาได้ตลอดเวลา เพราะเราคือคนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะจากสังคมไทยตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นสังคมและวัฒนธรรมไทยจึงอยู่ทั้งในตัวตนของเราและอยู่ล้อมรอบตัว ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน เวลา และสถานที่ ในทุก ๆ ด้าน เช่น วิถีชีวิตหรือความเป็นอยู่ ของคนไทย พฤติกรรมความคิด ทัศนะในการมองโลก ค่านิยม ความเชื่อ ระบบการศึกษา เป็นต้น

2.         ข้อใดสะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย

(1)       วรรณกรรม      

(2) ภาพยนตร์  

(3) ประเพณี    

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 1, (คำบรรยาย), (ดูคำอธบายข้อ 1. ประกอบ) การศึกษาภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย นอกจากจะศึกษาวิเคราะห์ได้จากสังคมต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราแล้ว ยังสามารถศึกษาวิเคราะห์ได้ จากวรรณกรรม ตำนาน พิธีกรรมทางศาสนา งานบุญ ประเพณี ซึ่งจะทำให้ได้ภาพสะท้อนของสังคม และวัฒนธรรมไทยในอดีต หรือการชมละครวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อโฆษณาต่าง ๆ ก็จะทำให้เราเข้าใจสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน เป็นต้น

3.         ข้อใดคือความหมายของคำว่า สังคม‘’

(1)       คนที่มาอยู่รวมกันมีความสัมพันธ์กันตามที่สังคมกำหนด

(2)       ประเทศไทยมีประชากรชายประมาณ 30 ล้านคนเศษ

(3)       กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกัน            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) สังคมและวัฒนธรรมจะมีความหมายแตกต่างกันดังนี้ 1. สังคม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มาอยู่รวมกัแเละมีความสัมพันธ์กันตามแบบแผนที่สังคมกำหนด ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรม ประเพณี สถานภาพ (ตำแหน่ง) และบทบาทที่ตนสังกัด เป็นต้น

2.         วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมที่สังคมกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางให้สมาชิก ประพฤติปฏิบัติ หรือใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมได้อย่างราบรื่นและถาวร

4.         ศาสตร์สาขาใดจะทำให้เราเข้าใจภาพรวมของสังคมไทยได้ดีขึ้น

(1)       ภูมิศาสตร์        (2) วิทยาคาสตร์          (3) สหวิทยาการ          (4) มนุษยศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 14, (คำบรรยาย) การศึกษาเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของสังคมไทยได้ดีขึ้นนั้น จะต้องใช้ ความรู้จากหลายสาขาประกอบกันที่เรียกว่า สหวิทยาการ” ซึ่งได้แก่

1.         ภูมิศาสตร์ เป็นการศึกษาที่ตั้ง ขอบเขต ภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศ

2.         ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาความเป็นมาของชนชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

3.         เศรษฐศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากร การผลิต และการบริโภค

4.         สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ศึกษาความเป็นมา ตลอดจนโครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม

5.         สังคมเมืองแตกต่างจากสังคมชนบทในด้านใด

(1)       มีคนไม่มาก     (2) มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคมสูง

(3) เจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 4-6 ลักษณะสังคมชนบทและสังคมเมืองมีความแตกต่างกัน ดังนี้

1. ชนบทส่วนใหญ่เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนัก ส่วนสังคมเมืองมีขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก 2. ชนบทมีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคมสูง ส่วนสังคมเมือง มีความหลากหลายในเกือบทุกด้าน 3. ในชนบทเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนใหญ่ดัดแปลงจากธรรมชาติ ส่วนสังคมเมืองมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ

6.         สังคมประเพณีและสังคมทันสมัย เป็งเรูปแบบสังคมที่ใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวทกำหนด

(1) สิ่งแวดล้อม            (2) ระบบความสัมพันธ์           (3) วัฒนธรรม  (4) ระบบเศรษฐกิจ

ตอบ 3 หน้า 3 – 46 – 7 นักวิชาการแบ่งรูปแบบของสังคมตามตัวกำหนดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้ 1. แบ่งตามสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต คือ สังคมชนบทกับสังคมเมือง

2.         แบ่งตามระบบความสัมพันธ์ คือ สังคมง่าย ๆ (สังคมพื้นบ้าน) กับสังคมซับซ้อน

3.         แบ่งตามวัฒนธรรม คือ สังคมดั้งเดิม (สังคมประเพณี) กับสังคมทันสมัย

4.         แบ่งตามเทคโนโลยีที่ใช้ หรีอวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจของคน คือ สังคมเกษตรกรรม กับสังคมอุตสาหกรรม

7.         โครงสร้างทางสังคมคืออะไร  

(1) คนที่มาอยู่รวมกัน

(2)       ความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่ร่วมกัน   (3) กฎเกณฑ์ทางสังคม           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 8-9 โครงสร้างทางสังคม คือ ระบบความสัมพันธ์ของคนที่มาอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีฐนะและคุณค่าที่แตกต่างกัน เช่น ความสัมพันธ์ ระหว่างเครือญาติกลุ่มนายทุน-กรรมกรคนรวย-คนจนขุนนาง-ไพร่เด็ก-ผู้ใหญ่ ฯลฯ

8.         ข้อใดคือองค์ประกอบของโครงสร้างสังคม    

(1) สถาบันต่าง ๆ

(2)       กลุ่มคน            (3) สถานภาพและบทบาท      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 8-9 องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม ได้แก่ 1. กลุ่มทางสังคม (Social Groups) ที่มีฐานะและคุณค่าแตกต่างกัน เช่น กลุ่มคนชาติพันธ์ต่าง ๆ กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มประชาชน กลุ่มผู้มีอิทธิพล กลุ่มแรงงน ฯลฯ 2. สถาบันทางสังคม (Social Institution) ซึ่งสถาบันหลัก ๆ ได้แก่ ครอบครัว ศาสนา การศึกษา เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ฯลฯ

3.         สถานภาพและบทบาท (Status and Roles) คือ ตำแหน่งและหน้าที่ในกลุ่มสังคม

9.         ข้อใดคือลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม         

(1) เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

(2)       เกิดจากการเรียนรู้       (3) เกิดจากสัญชาตญาณ       (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 10 – 11. (คำบรรยาย) ลักษณะสำคัญชองวัฒนธรรม ได้แก่

1. เป็นผลผลิตจากระบบความคิดของมนุษย์ หรือเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์

2.         เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือเกิดจากการกระทำโต้ตอบกัน ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ            3. มีองค์ประกอบของความคิด โลกทัศน์ ค่านิยมทางสังคม ซึ่งเป็นตัวท่าหนดมาตรฐานของพฤติกรรม         4. เป็นมรดกทางสังคมที่ส่งต่อจากชนร่นหนึ่ง

ไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง         5. มีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ คือ ภาษา ซึ่งเป็นเครื่องมือ ที่มนุษย์ใช้สื่อสารและส่งต่อความรู้ต่างๆ     6. มีลักษณะเป็นสากล ใช้ในระดับกว้างหรืออาจใช้ในระดับแคบเฉพาะกลุ่มคนก็ได้ ฯลฯ

10. ข้อใดทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว       

(1) การอยูรวมกันเป็นสังคมเมือง

(2)       ภาษาที่เป็นระบบสัญลักษณ์ (3) การเคารพระบบอาวุโส      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 311 – 12, (คำบรรยาย) การที่มนุษย์มีความสามารถในการสร้างและใช้ระบบสัญลักษณ์ เช่น ภาษาพูดและภาษาเขียน รวมทั้งสื่อสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสัมพันธ์กัน อย่างราบรื่น ตลอดจนสามารถสะสม พัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีจาก ชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้นระบบสัญลักษณ์จึงถือเป็นพื้นฐานของ วัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือช่วยสร้างความมั่นคงให้แกสังคม โดยระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ต่างกัน ก็จะทำให้การใช้ภาษาแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม

11.       ข้อใดแสดงถึงวัฒนธรรมในแนวดิ่ง

(1)       การไหว้            

(2) การยิ้ม       

(3) การเล่นพื้นบ้าน     

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 46 – 47 วัฒนธรรมไทยแนวดิ่ง คือ ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างวัฒนธรรมเจ้ากับไพร่ ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านสถานภาพ เพราะคนแต่ละคนจะมีสถานะที่ลดหลั่นกันเป็นลำดับใน โครงสร้างของสังคม โดยแบบแผนพฤติกรรมที่แสดงถึงความไมเท่าเทียมกันในแนวดิ่ง ได้แก่

1.         ภาษากาย (กิริยาท่าทาง) หรือที่เรียกว่ากิริยามารยาท เช่น การไหว้ การเดินสวนกัน ฯลฯ

2.         ภาษาพูดและภาษาเขียน 3. ความแตกต่างในศักดิ์ของร่างกาย เช่น เท้าตํ่าสุด หัวสูงสุด เป็นต้น

12.       ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับวัฒนธรรม

(1)       สังคมสร้างวัฒนธรรม  

(2) วัฒนธรรมเป็นแบบแผนพฤติกรรมของสังคม

(3)       วัฒนธรรมช่วยควบคุมสังคม  

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 1214 สังคมกับวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและไมสามารถแยกออก จากกันได้ เพราะเมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมก็จะต้องสร้างวัฒนธรรมขึ้นเป็นแบบแผน พฤติกรรมของสังคม เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้เป็นไป ตามกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน สังคมจึงจะดำรงอยู่ได้โดยมั่นคงราบรื่น ซึ่งความสัมพันธ์อันนี้ เปรียบเสมือนกายกับใจ หรือเหรียญ 2 ด้าน ที่จะขาดซึ่งกันและกันไม่ได้

13.       ข้อใดคือวัฒนธรรมสากล

(1) การนับถือศาสนา   (2) การไหว้ทักทาย      (3) การนับถือไสยศาสตร์        (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 10, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมอาจใช้ในระดับกว้างหรือเรียกว่าวัฒนธรรมสากล คือ วัฒนธรรม ที่ทุกสังคมมีเหมือน ๆ กัน เช่น ภาษา (ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน) ศาสนา กฎหมาย ฯลฯ หรือใช้ในระดับแคบ คือ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มคนในสังคมใดสังคมหนึ่ง เช่น สังคมไทยมี วัฒนธรรมการไหว้เพื่อแสดงความเคารพ มีการรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก มีการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ มีความเชื่อเรื่องไสยสาสตร์และโหราศาสตร์ ฯลฯ

14.       สังคมไทยมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านใด

(1) ทัศนคติ      (2) ชาติพันธุ์    (3) วัฒนธรรม  (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ     3 หน้า 11 – 1214 – 15, (คำบรรยาย) สังคมไทยไม่ได้มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนด้านกายภาพของสิ่งแวดล้อมและชาติพันธุ์ของคน เนื่องจากสังคมไทยประกอบด้วยกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่หลากหลาย จึงทำให้คนไทยมีระบบความคิด ทัศนคติ และความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่เมือต้องมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมก็จะต้องอาศัยวัฒนธรรมหลัก หรือวัฒนธรรมหลวง มาหล่อหลอมให้มีพฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน หรือมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคม

15.       การศึกษาสังคมไทยในมิติทางมานุษยวิทยา เกิดขึ้นเมื่อไร

(1) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2   (2) ลังสงครามโลกครั้งที่ 2

(3)       หลัง 14 ตุลาคม 2516 (4) ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา

ตอบ 2 หน้า 16 – 18 การศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทยมีพัฒนาการแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

1.         ยุคแรกช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การศึกษาเป็นแบบพรรณนาหรือบรรยายแบบแผน การดำเนินชีวิตของคนไทย      2. ยุคภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มมีการศึกษาในเชิงมานุษยวิทยา โดยจะอยู่ภายใต้กรอบของแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่เป็นหลัก

3.         ยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงวันที่ 14 ตุลาคม 2516 การศึกษาได้ฉีกแนวออกมาสนใจ ความขัดแย้ง และความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม

16.       ชนชาติใดเรียกดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า สุวรรณภูมิ

(1)       อังกฤษ            (2) อินเดีย       (3) โปรตุเกส    (4) เปอร์เซีย

ตอบ 2 หน้า 1826 – 27 สุวรรณภูมิ หมายถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด หรืออุษาคเนย์ ซึ่งประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา (เขมร) มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน และฟิลิปปินส์ โดยคำว่า สุวรรณภูมิ มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต 2 คำ คือ สุวรรณ + ภูมิ แปลว่า แผ่นดินทอง หรือแหลมทอง ซึ่งเป็นคำที่ชาวอินเดียโบราณที่เข้ามาติดต่อแลกเปลี่ยน สิ่งของเป็นผู้ใช้เรียก เพราะดินแดนแถบนี้มีความมั่งคั่งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ

17.       ข้อใดคือ สุวรรณภูมิ”        

(1) ไทย มาเลเซีย สิงคโบร์

(2)       ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้     (3) เอเชียใต้     (4) เอเชียตะวันออก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

18.       นักวิชาการท่านใดเชื่อว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน

(1) สุด แสงวิเชียร        (2) สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ

(3)       สมเดีจกรมพระยาดำรงราชานุภาพ    (4) สุจิตต์ วงษ์เทศ

ตรบ 3 หน้า 21 – 22 สาคูเพอรี่ เสนอว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน แถบกวางตุ้ง กวางไส กุยจิว เสฉวน และยูนนาน ซึ่งสอดคล้องกับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้เสนอว่า ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่มณฑลยูนนาน กุ้ยโจ กวางสี และเสฉวน ตลอดจน นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ที่ชื่อ วัยอาจ (Wyatt) และนักภาษาศาสตร์อีกหลายท่าน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ และปรีดี พนมยงค์ ก็เห็นในทำนองเดียวกัน โดยอยู่บนหลักฐานที่ว่าคนแถบนี้ มีภาษาพูดและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับไทย

19.       คนไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนมีหลักฐานด้านใดสนับสนุน

(1) ชาติพันธุ์เดียวกัน   (2) วัฒนธรรมและภาษาพูด

(3)       ลักษณะอาชีพเกษตรกรรม      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

20.       คนไทยที่เราศึกษาหมายถึงใคร

(1) คนที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย   (2) คนที่พูดภาษาไทย

(3)       คนผิวเหลืองในเอเชีย  (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ1 หน้า 14, (คำบรรยาย) คนไทยในความหมายที่เราศึกษา หมายถึง สังคมไทย หรือกลุ่มคน ขนาด ใหญ่ที่ถือสัญชาติไทยตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย ๆ มากมาย

21. นักวิชาการท่านใดเชื่อว่า คนไทยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ดั้งเดิม

(1)       จิตร ภูมิศักดิ์    

(2) สุด แสงวิเชียร        

(3) สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ          

(4) ถูกทั้งหมด

ตรบ 2 หน้า 1722, (คำบรรยาย) นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ได้เปรียบเทียบโครงกะโหลกของ คนไทยปัจจุบันกับกะโหลกของมนุษย์ยุคหินใหม่ซึ่งพบที่ตำบลบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี พบว่า โครงกะโหลกทั้งคู่ไม่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจนพอที่จะแบ่งเป็นคนละเชื้อชาติได้ เขาจึงได้ข้อสรุปและเขียนหนังสือชื่อว่า คนไทยอยู่ที่นี่” ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ และศรีศักร วัลลิโภดม ที่ใช้หลักฐานด้านโบราณคดีก่อนสมัยประวัติศาสตร์ มาแสดงพัฒนาการของมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม โดยทั้งหมดสรุปว่า คนไทยไมได้อพยพ มาจากไหน แต่เป็นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ที่นี่ (สุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)มาตั้งแต่ดั้งเดิมและปัจจุบันแนวคิดนี้ก็ได้รับความสนใจมากขึ้น

22.       ยีนของคนไทยคล้ายคลึงกับยีนของชาวอินโดนีเซียมากกว่าจีน” เป็นผลการศึกษาของนักวิชาการท่านใด

(1)       สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ    

(2) ประเวศ วะสี          

(3) เสมอชัย พูลสุวรรณ           

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 22 – 23, (คำบรรยาย) นายแพทย์สมศักดิ์ พันธุ์สมบุญ เสนอว่า ถิ่นเดิมของไทยอยู่ ทางใต้แถบคาบสมุทรมลายูและชวา (อาณาจักรศรีวิชัย) เนื่องจากเมื่อเขาได้เปรียบเทียบความถี่ ของยีนระหว่างคนไทยกับคนจีนและคนอินโดนีเซียแล้ว พบว่ายีนของคนไทยคล้ายคลึงกับยีน ของคนอินโดนีเซียมากกว่าของคนจีน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของนายแพทย์ประเวศ วะสี และเสมอชัย พูลสุวรรณ ที่ยืนยันว่าคนไทยไมได้สืบเชื้อสายมาจากจีน โดยทั้งหมดใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรมด้วยวิธีการตรวจสอบยีน (DNA) ในเม็ดเลือด เป็นเกณฑ์ใน การกำหนดเชื้อชาติ

23.       ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเชื้อสายอะไร

(1)       มองโกลอยด์    (2)       ออสโตรลอยด์  (3)       ออสโตรนีเชียน            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ. 1 หน้า 1923 ประชากรทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเชื้อสายมองโกลอยด์ (Mongoloid) หรือผิวเหลืองเหมือนกัน แต่อาจจำแนกได้เป็นหลายชาติพันธุ์ตามสภาพภูมิศาสตร์และเวลา

24.       ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะสังคมไทย

(1)       ประกอบด้ายกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย        (2) ส่วนไหญมีอาชีพเกษตรกรรม

(3) ความเชื่อไสยศาสตร์          (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 13. และ 14. ประกอบ

25.       ตระกูลภาษาใดมีคนพูดมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1)       ออสโตรเอเชียติก         (2)       ไท-คะได          (3)       สิโน-ทิเบตัน     (4) ทิเบโต-เบอร์แมน

ตอบ3 หน้า 24 – 25 ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกเป็น 5 ตระกูล คือ

1.         ออสโตรนีเชียน (Austronesian) หรือมาลาโย-โปลีนีเชียน (Malayo-Polynesian) ได้แก่ ภาษาของกลุ่มคนที่พูดภาษามาเลย์ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายทะเลและเกาะแก่งต่าง ๆ

2.         ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) หรือมอญ-เขมร ได้แก ภาษาของพวกซาไก มอญ เขมร กุย ส่วย ฯลฯ ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเชื่อว่าเป็นภาษาของกลุ่มชนดังเดิมในพื้นที่แถบนี้

3.         เท-คะได (Tai-Kadai) หรือ ไท-ลาว ได้แก่ ภาษาของไทย ลาว (โซ่ง ดำ แดง ขาว) กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ ฯลฯ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำโขง สาละวิน ดำ แดง ขาว และเจ้าพระยา

4.         สิโน-ทิเบตัน (Sino-Tibetan) ได้แก่ ภาษาของม้ง เย้า จีนฮ่อ ขะฉิ่น ฯลฯ ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

5.         ทิเบโต-เบอร์แมน (Tibeto-Burman) ได้แก่ ภาษาของพม่า อีก้อ มูเซอ เกรียง ลีซอ ลัวะ

26.       ข้อใดคือตระกูลภาษาของกลุ่มชนดั้งเดิมชองเอเชียตะวันออกเฉียงไต้

(1)       ออสโตรเอเชียติก         (2)ไท-คะได     (3) สิโน-ทิเบตัน           (4)ทิเบโต-เบอร์แมน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27.       เพราะเหตุใดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงถูกเรียกว่า อินโดจีน

(1) เคยถูกครอบงำโดยจีนและอินเดีย (2) อยู่ติดกับจีนและอินเดีย

(3) วัฒนธรรมเป็นแบบจีนและอินเดีย (4) ประชากรมีชาติพันธุ์จีนและอินเดีย

ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์หรือสุวรรณภูมินั้น แต่เดิมชาวตะวันตกจะเรียกว่า อินโดจีน” เนื่องจากอยู่ตรงกลางระหว่างอินเดียและจีน นอกจากนี้ยังมีอคติว่าพื้นที่แถบนี้เป็นสังคมป่าเถื่อน ไม่มีวัฒนธรรม ดังนั้นจึงถูกครอบงำ โดยวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจีน

28.       อะไรเป็นวัฒนธรรมดังเดิมที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้ของคนในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) การนับถือผี            (2) การยกย่องสตรี

(3) การยกย่องเพศชาย           (4) การนับถือผีและการยกย่องสตรี

ตอบ 4 หน้า 27, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีเอกลักษณ์ ของตนเอง ซึ่งสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ คือ 1 การเคารพนับถือผีสางเทวดา ผีบรรพบุรุษ และผีวีรชน           2. การยกย่องสตรี       3. การเพาะปลูก

29.       เพราะเหตุใดกลุ่มคนกลุ่มบนจึงพัฒนาล่าช้า

(1) เพราะทำมาหากินลำบาก  (2) อยู่ห่างทะเลการคมนาคมลำบาก

(3) ส่วนใหญ่เป็นชาวเขา         (4) เป็นชนกลุ่มน้อยของสังคม

ตอบ 2 หน้า 27, (คำบรรยาย) พื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองโดยใช้ทะเลเป็นเกณฑ์ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.         กลุ่มบน ได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ตอนเหนือของอินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม กลุ่มนี้พัฒนาการช้าเพราะอยู่ห่างไกลทะเล การติดต่อคมนาคมจึงลำบาก

2.         กลุ่มล่าง ได้แก่ บริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน มาเลเซีย และหมูเกาะทางตอนใต้ เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการของชุมชนขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการติดต่อแลกเปลี่ยน สังสรรค์กับชาวต่างชาติได้สะดวก เพราะอยู่ติดทะเล

30.       จากหลักฐานด้านโบราณคดีระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมนุษย์อาศัยอยู่นานกว่า 7 แสนปีเพราะอะไร

(1) ความหลากหลายทางชีวภาพ        (2) อุดมสมบูรณ์

(3) ดินฟ้าอากาศหลากหลาย  (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 27 – 28 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ระบุว่า สุวรรณภูมิหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออุษาคเนย์ มีมนุษย์อาศัยอยู่มานานกว่า 7 แสนปี เนื่องจาก

1.         เป็นพื้นที่ที่มีสภาพดินฟ้าอากาศหลากหลาย

2.         มีความหลากหลายทางชีวภาพ และอุดมสมบูรณ์ด้วยแรธาตุ

3.         มีพื้นที่กว้างขวาง แต่สัดส่วนของคนต่อพื้นที่ตํ่ามาก

31.       พัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมทยเริ่มมีขึ้นเมื่อใด

(1)       คนเริ่มเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์          

(2) ตั้งแต่กลุ่มคนโยกย้ายร่อนเร่หาอาหารเพื่อยังชีพ

(3) มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี           

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 28 พัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมไทยเริ่มมีขึ้นเมื่อคนเริ่มทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงมีการตั้งถิ่นฐานถาวรขึ้น ทำใหไม่ต้องเดินทางโยกย้ายร่อนเร่หาอาหารเพื่อยังชีพอีกต่อไป

32.       การที่จะเข้าใจสังคมไทยจะต้องศึกษาในภูมิภาคใด 

(1) เอเชียตะวันออก

(2)       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้         

(3) เอเชียกลาง            

(4) เอเชียใต้

ตอบ 2 หน้า 26 การศึกษาความเป็นมาของชนชาติไทยจะต้องศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ของภูมิภาค- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย จะศึกษาย้อนไปแค่อาณาจักรสุโขทัยไม่ได้ เนื่องจากพื้นที่นี้เป็น ลักษณะสังคมที่เรียกว่า วิวิธพันธุ์ คือ มีประชากรเผ่าพันธุ์ต่างๆมาอยู่รวมกันซึ่งมีลักษณะ เป็นเผ่าพันธุ์ผสมจากหลายเผ่าพันธุปะปนกัน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนและมีพัฒนาการทาง ด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมกัน เพราะฉะนั้นการที่จะเข้าใจสังคมไทยจึงต้องทำความเข้าใจ พัฒนาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด

33.       ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดต่อกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

(1) ผู้อาวุโส      (2) เพศชาย     (3) เพศหญิง    (4) ผู้มีลักษณะพิเศษ

ตอบ 3 หน้า 28 ชุมชนหมู่บ้านยุคแรกเมื่อราว 5,000 – 6,000 ปีก่อนประวัติศาสตร์ ได้เริ่มทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และตั้งถิ่นฐานถาวรขึ้น ทำให้คนไม่ต้องร่อนเร่หาอาหารอีกต่อไป โดยชุมชนหมู่บ้านยุคแรกมักเกิดขึ้นตามลุ่มน้ำที่เพาะปลูกได้ และเชื่อกันว่าหัวหน้าหมู่บ้าน ในยุคแรกๆ เป็นผู้หญิง ซึ่งทำหน้าที่ติดต่อกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

34.       โลหะสัมฤทธิ์ประกอบด้วยอะไร

(1) เหล็ก          (2) เหล็กกับทองแดง   (3) ดีบุกกับทองแดง    (4) ตะกั่วกับเหล็ก

ตอบ 3 หน้า 28 – 29 ราว 4,000 ปีที่ผ่านมา คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถถลุงโลหะ แล้วเอามาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยโลหะที่สำคัญ ได้แก่

1.         โลหะสัมฤทธิ์ คือ โลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก หรือตะกั่ว

2.         เหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

35.       เพราะเหตุใดชุมชนภาคกลางจึงเติบโตกลายเป็นเมืองขนาดเล็กในช่วงแรก

(1) เพราะขุดพบทอง   (2) เพราะทำการเกษตร           (3) เพราะมีประชากรมาก (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 29 เมื่อประมาณ 2,000 ปี ชุมชนหมู่บ้านในภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ำท่าจีนและลุ่มเจ้าพระยา พัฒนาขึ้นเป็นเมืองขนาดเล็ก โดยประกอบอาชีพด้านการเกษตร เพราะมีทรัพยากรน้อยกว่า จึงพัฒนาช้ากว่าแอ่งโคราช แตเนื่องจากรู้จักติดต่อแลกเปลี่ยนค้าขายทางทะเลกับชุมชนภายนอก จึงทำให้เมืองเล็ก ๆ พัฒนาเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าดินแดนตอนใน

36.       ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์เข้ามาในภาคกลางครั้งแรกที่เมืองใด

(1) สุพรรณภูมิ (2) อู่ทอง         (3) ลพบุรี         (4) อยุธยา

ตอบ 2 หน้า 29 – 30 หลักฐานของอินเดียระบุว่า เมืองอู่ทองซึ่งเป็นชุมชนในภาคกลางแถบลุ่มน้ำท่าจีน และแม่กลอง มีความเก่าแก่เกินกว่า 1,700 ปี และมีการรับเอาวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาใช้กับ วัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้เกิดการนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์) และเริ่มนำ ระบบกษัตริย์มาใช้เป็นครั้งแรก

37.       ประชากรในสมัยสุโขทัยอพยพมาจากที่ใด

(1)       ศรีสัชนาลัย      (2)       สองฝั่งโขง       (3)       แพร่     (4) อู่ทอง

ตอบ 2 หน้า 31 อาณาจักรสุโขทัยก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 โดยเริ่มจากการเป็นชุมชน ถลุงเหล็กจนขยายตัวเป็นศูนย์กลางด้านการค้า และมีพลเมืองส่วนใหญ่ย้ายมาจาก 2 ฝั่งโขง จึงทำสัมฤทธิ์เก่ง เนื่องจากได้สะสมความรู้และประสบการณ์มาจากยุคเหล็กและเป็นผู้สืบทอด วัฒนธรรมบ้านเชียง

38.       ประชากรไทยเพิ่มเป็นจำนวนมากในยุคสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 3  (2)       รัชกาลที่ 5       (3)       รัชกาลที่ 7       (4) รัชกาลที่ 9

ตอบ 4 หน้า 32, (คำบรรยาย) ในยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็น รัชกาลปัจจุบัน ถือเป็นช่วงที่ประชากรไทยมีจำนวนเพิ่มมากที่สุด เพราะเป็นระยะที่ประเทศไทย มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้คนอายุยืนขึ้น ในขณะที่คนเกิดเท่าเดิมแต่คนตายน้อยลง

39.       กลุ่มคนกลุ่มใดมีมากที่สุดในสังคมไทย

(1) ไทย-ลาว    (2)       ไทย-มาเลย์      (3)       มอญ เขมร       (4) เกรียง ส่วย กุย

ตอบ 1 หน้า 33 – 34 โครงสร้างสังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มสังคมย่อย ๆ หลายกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่

1.         ไทย-ลาว เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมากที่สุดในสังคมไทย 2. ไทย-มาเลย์ มีอยู่มากที่สุด

ในภาคใต้ของไทย       3. เขมร ส่วย กุย มอญ ส่วนใหญ่อยู่กระจัดกระจายแถบภาคอีสานของไทย

4.         เกรียง มีมากที่สุดทางภาคเหนือของไทย และอยู่กระจัดกระจายแถวจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี

5.         ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญอาศัยอยู่ทางเหนือของไทย เช่น กะเหรี่ยง อาข่า ลื้อ มูเซอ

6.         ชาวป่า มีอยู่ไม่มากในปัจจุบัน เช่น ผีตองเหลือง เซมัว ซาไก  7. ชาวน้ำ เป็นชนพื้นเมือง

ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามริ่มฝั่งทะเลทางภาคใต้      8. ชนต่างด้าว ส่วนใหญ่จะอยู่ตามเขตเมือง เช่น

คนจีน อินเดีย และชาวตะวันตกประเทศต่าง ๆ

40.       ระบบความสัมพันธ์สังคมไทยที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คืออะไร

(1) ระบบอุปถัมภ์        (2)       แบ่งแยกของสูง-ตํ่า     (3) ระบบประชาธิปไตย (4) ระบบขุนนาง

ตอบ 1 หน้า 34 – 35, (คำบรรยาย) ความสัมพันธ์ทางสังคมของไทยในปัจจุบัน ถือเป็นมรดกสืบทอด มาจากระบบความสัมพันธ์ในอดีตซึ่งเป็นระบบอุปถัมภ์หรือระบบเครือญาติ (Patron-client Relationship) ในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนที่มีฐานะต่างกัน เช่น ผู้ใหญ่กับผู้น้อย หรือนายกับบ่าวที่ต่างยอมรับต่อกัน มีหน้าที่ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยต่อกัน และจะขาดเสีย ซึ่งฝ่ายใดผ่ายหนึ่งไปไม่ได้

41.       ข้อใดคือลักษณะของสังคมไทยปัจจุบัน

(1) เท่าเทียมกัน           

(2) แบ่งแยกของสูง-ตํ่า

(3)       ทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน     

(4) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ตอบ 2 หน้า 35, (คำบรรยาย) สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการแบ่งแยกชองสูง-ตั้า เช่น ผ้านุ่งผู้หญิง (ผ้าซิ่น) ถือว่าเป็นของตํ่า แต่ผ้าขาวม้าผู้ชายถือว่าเป็นของสูง เท้าถือเป็นของตํ่า แต่หัวถือเป็นของสูง ฯลฯ นอกจากนั้นสังคมไทยยังมีการแบ่งแยกความสูง-ต่ำด้านอายุและเพศ เช่น ผู้ใหญ่-ผู้น้อยเด็ก-ผู้อาวุโส และเพศหญิง-เพศชาย ชึ่งมีฐานะและคุณค่าทางสังคมไม่เท่ากัน

42.       โครงสร้างของสังคมไทย ปัจจุบันถูกกำหนดโดยอะไร

(1) อาชีพ         

(2) ตำแหน่งหน้าที่การงาน      

(3) ฐานะทางสังคม     

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 35 โครงสร้างของสังคมไทยปัจจุบันถูกกำหนดโดยใช้ลักษณะอาชีพ ตำแหน่งหน้าที่การงาน การพึ่งพาอาศัย และฐานะทางสังคม ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยเปลี่ยนไปเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่        1. ชนชั้นสูง      2. ชนชั้นกลาง   3. ชนชั้นตํ่า

43.       ข้อใดคือหน้าที่ของครอบครัวไทยปัจจุบัน      

(1) ให้กำเนิดสมาชิกไหม

(2)       อบรมสั่งสอนอาชีพ      (3) ผลิตอาหารและแจกแจงผลผลิต   (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 36 – 37 หน้าที่ของครอบครัวไทยมีดังนี้    1. ให้กำเนิดสมาชิกใหม่

2.         ให้การศึกษาอบรม       3. ให้ความรักความอบอุ่น        4. ให้ความมันคงปลอดภัย

44.       การนับญาติของครอบครัวไทยปัจจุบันเป็นแบบใด   

(1) นับญาติทั้ง 2 ฝาย

(2)       นับญาติทางพ่อ           (3) นับญาติทางแม่      (4) ไม่มีกฎเกณฑ์กติกาชัดเจน

ตอบ 1 หน้า 37 สังคมไทยจะมีการนับญาติทั้ง 2 ฝ่าย คือ นับญาติทั้งทางฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา แต่การสืบสกุลจะนิยมสืบทางฝ่ายบิดา

45.       เพราะเหตุใดครอบครัวไทยในอดีตจึงมีขนาดใหญ่    

(1) เป็นสังคมเกษตร

(2)       ต้องการแรงงาน           (3) ไมรู้จักวิธีควบคุมการเกิด   (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 35 – 36, (คำบรรยาย) สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งต้องการแรงงาน จำนวนมากมาช่วยด้านการเกษตร ประกอบกับในสมัยนั้นยังไมมีการคุมกำเนิดจึงทำให้ ครอบครัวไทยในอดีตมีขนาดใหญ่ เป็นครอบครัวขยาย ซึ่งประกอบด้วยญาติพี่น้องหลายช่วงวัยอายุ อยู่รวมภายใต้หลังคาเดียวกัน หรือตั้งบ้านเรือนอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันเป็นหมู่บ้าน

46.       ข้อใดคือรูปแบบการสมรสของครอบครัวไทยปัจจุบัน

(1) สามีภรรยาเดียว

(2)       สามีภรรยาหลายคน (3) สามี 1 คน มีภรรยาได้หลายคน        (4) ภรรยา 1 คน มีสามีได้หลายคน

ตอบ1 หน้า 36, (คำบรรยาย) รูปแบบการสมรสของครอบครัวไทยในอดีต คือ สามี 1 คน มีภรรยาได้หลายคน แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศมากขึ้น จึงทำให้รูปแบบการสมรสของครอบครัวไทยปัจจุบันเปลี่ยนไป โดยมีการออกกฎหมายให้การสมรส ต้องเป็นแบบสามีภรรยาเดียว แต่ในทางปฏิบัติแล้วชายไทยส่วนใหญ่ก็ยังนิยมมีภรรยามากกว่า 1 คน จึงทำให้สังคมไทยมีปัญหา

47.       ข้อใดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกในสังคมไทยในอดีต           

(1) มีความใกล้ชิด

(2)       ต่างคนต่างอยู่ (3)       พ่อแม่เข้มงวดระเบียบวินัยกับลูก       (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 36 – 37 ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกในสังคมไทยในอดีต จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเกือบทุกเรื่อง และลูกมักจะเป็นศูนย์กลางของครอบครัวที่ได้รับการดูแลเอาอกเอาใจ แต่ในปัจจุบันครอบครัวใกล้ชิดสนิทสนมและให้ความรักความอบอุ่นแก่ลูกน้อยลง เพราะพ่อแม่ ออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้มีเวลาอยู่กับลูกไม่มากนัก

48.       สังคมไทยมีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบตะวันตกในยุคใด       

(1) กรุงศรีอยุธยา

(2)       กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น          (3) สมัยรัชกาลที่ 7      (4) สมัยรัชกาลที่ 9

ตอบ 2 หน้า 44 ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศตะวันตกได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในประเทศ แถบตะวันออก ทำให้ในสมัยรัชกาลที่ 4 สังคมไทยได้ตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้น จึงเริ่ม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของไทยใหม่ และยกเลิกกฎเกณฑ์บางอย่างที่ไม่ทันสมัย เพี่อแสดงให้เหินถึงความเก่าแก่และอารยธรรมของสังคมไทย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 สังคมไทย จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ตามแบบประเทศตะวันตกขึ้น

49.       จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความสำคัญอย่างไรต่อสังคมไทย

(1)       เปลี่ยนคำว่าสยามเป็นประเทศไทย     (2) นำประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม

(3)       พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบพึ่งตนเอง      (4) พัฒนาการปกครองแบบประชาธิปไตย

ตอบ 1 หน้า 20 ดำว่า สยาม” นั้น นายปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แต่ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้ประกาศรัฐนิยมใหัใช้ชื่อ ประเทศไทย” แทน โดยให้ใช้คำว่า ไทย” แทนดำว่า สยาม” นับแต่นั้นจะต้องเรียกคนไทยว่าไทย และเรียกประเทศว่าประเทศไทย

50.       แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นโดยความช่วยเหลือของประเทศใด

(1)       ญี่ปุน   (2) สหรัฐอเมริกา         (3) รัสเซีย        (4) จีน

ตอบ 2 (ดำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงของการตื่นตัวในการพัฒนาตามแบบตะวันตก ประเทศไทยจึงมีการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2504 โดยได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านการเงินและวิชาการจากสหรัฐอเมริกา

51.       เศรษฐกิจของสังคมไทยในอดีต มีลักษณะอย่างไร

(1)       ผลิตเพื่อบริโภค           

(2) ผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น

(3)       ผลิตเพื่อการค้า            

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ1 หน้า 37 – 38 ในอดีตก่อนติดต่อกับชาวตะวันตก หรือก่อนเปิดประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามสนธิสัญญาบาวริ่งนั้น ระบบเศรษฐกิจของคนไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง นั่นคือ แต่ละครอบครัวจะผลิตของกินของใช้ขึ้นมาบริโภคเองภายในครอบครัว โดยมิได้มุ่งผลิต เพื่อการค้า แต่เมื่อมีผลผลิตเหลือก็อาจจะแลกเปลี่ยนกับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงบ้าง

52.       เศรษฐกิจของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 4  

(2) รัชกาลที่ 5  

(3)       รัชกาลที่ 7       

(4)       รัชกาลที่ 9

ตอบ .1 หน้า 38, (ดำบรรยาย) เศรษฐกิจของสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างมากครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังจากมีการเปิดประเทศตามสนธิสัญญาบาวริ่ง ทำให้ประเทศไทยมีการ เปิดประเทศค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ซึ่งนับเป็นก้าวย่างสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทย เริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตเพื่อขายในทางการค้า และมีการบริโภคสินค้าอื่น ๆ มากขึ้น

53.       เศรษฐกิจของสังคมไทยประสบปัญหาอย่างมากในปี พ.ศ. ใด

(1) พ.ศ. 2490 (2) พ.ศ. 2504 (3)       พ.ศ. 2540       (4)       พ.ส. 2547

ตอบ 3 หาน้า 39 เศรษฐกิจของสังคมไทยประสบปัญหาอย่างมากตามภาวะเศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2540ทำให้ประชาชนยากจนลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ตั้งตัว แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยก็ได้ฟื้นตัวขึ้น จากการบริหารของผู้นำประเทศ

54.       ข้อใดคือหน้าที่ของสถาบันการศึกษา

(1) ถ่ายทอดวัฒนธรรม            (2) พัฒนาบุคลิกภาพ  (3)       ฝึกฝีมือแรงงาน           (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 39 หน้าที่ของสถาบันการศึกษา ได้แก่

1.         ถ่ายทอดวัฒนธรรม โดยการอบรมขัดเกลาสมาชิกทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้รู้และประพฤติปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม

2.         ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของคนให้มีความมั่นคง

3.         ช่วยฝึกหัดแรงงานเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

55. สถานที่ใดเป็นสถาบันให้การศึกษาในอดีต

(1) วัด-วัง         (2) ตักศิลา      (3) วัดเท่านั้น   (4) วังเท่านั้น

ตอบ 1 หน้า 40 สถานที่ที่ให้การศึกษาของสังคมไทยในอดีตก็คือวัดและวัง ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับ ต่างประเทศ สังคมไทยก็ได้รับเอาระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนเข้ามา โดยมีการตั้งโรงเรียน แบบสากลขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 และขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ชึ่งมีทั้งสถาบันของรัฐ และเอกชน แต่ระบบการศึกษาของไทยก็ยังคงเป็นระบบบังคับ

56.       สังคมไทยรับเอาระบบการศึกษาในระบบโรงเรียนสากลเข้ามาในสมัยรัชกาลใด

(1) รัชกาลที่ 4  (2) รัชกาลที่ 5  (3) รัชกาลที่ 6  (4) รัชกาลที่ 7

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57.       วัฒนธรรมหลวง เป็นวัฒนธรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

(1) การบูรณาการ        (2) ความเป็นเอกภาพของสังคมไทย

(3)       แสดงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 12, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมในแต่ละสังคมจะประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

1.         วัฒนธรรมหลักหรือวัฒนธรรมหลวง คือ ศิลปะวัฒนธรรมหลักของชาติ ซึ่งสมาชิกรับรู้ และประพฤติปฏิบัติไปในทำนองเดียวก้น เพื่อแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ความเป็นระเบียบ รวมทั้งเพื่อการบูรณาการหรือความเป็นเอกภาพของสังคมส่วนรวม ได้แก่ ภาษาไทยการกินข้าวการไหว้ประเพณีประจำชาติหรือประเพณีหลวง

(เช่น ประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ)

2.         วัฒนธรรมรองหรือวัฒนธรรมราษฎร์ คือ วัฒนธรรมเฉพาะภาคเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างกันไป แต่ละท้องถิ่น ได้แก่ จารีตความเชื่อทักษะการประกอบอาชีพประเพณีท้องถิ่นหรือ ประเพณีราษฎร์ (เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีงานบุญเดือนสิบ ฯลฯ)

58.       วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากปัจจัยใด

(1) สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์       (2) ความเชื่อด้านศาสนาพุทธและพราหมณ์

(3)       การติดต่อกับชนเผ่าอื่น            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 45 – 46 วัฒนธรรมไทยปัจจุบันมีที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษเป็นผู้คิดสร้างขึ้นจากการปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อการมีชีวิตรอด

2.         ความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธและพราหมณ์ซึ่งรับมาจากอินเดีย รวมทั้งความเชื่อดั้งเดิม

3.         การติดต่อสัมพันธ์และสังสรรค์กับกลุ่มชาติพันธุ์และชนต่างสังคมต่างวัฒนธรรมอื่น ๆ

59.       ข้อใดคือภูมิปัญญาไทย

(1) องค์ความรู้ในการทำนาปลูกข้าว   (2) องค์ความรู้ในการสร้างคอมพิวเตอร์

(3)       องค์ความรู้ในการจัดการองค์กรแบบสากล     (4) องค์ความรู้ในการรักษาโรคแบบทันสมัย

ตอบ 1 หน้า 53 – 54 ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะสำคัญสรุปได้ดังนี้      1. เป็นความรู้ของสังคมไทยในเกือบทุกเรื่อง   2. เป็นองค์ความรู้ที่คนไทยคิดสร้างขึ้นและได้แปรความรู้จากนามธรรมมาสู่รูปธรรม เช่น การทำนาปลูกข้าว การเกษตรแบบผสมมสาน เรือหางยาว รผีฟ้า เสื้อผ้าที่ทำจากฝ้าย ฯลฯ            3. ภูมิปัญญาไทยในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน และเมื่อสร้างขึ้นมาแล้วแต่ละท้องถิ่นก็จะเป็นเจ้าของชัดเจน 4. เป็นความรู้ที่ได้จากชีวิตจริงโดยการลองผิดลองถูก

60.       ข้อใดถูกต้องที่สุด

(1)       ภูมิปัญญาไทยเกิดจากความเชื่อด้านไสยศาสตร์

(2)       ภูมิปัญญาไทยเกิดจากปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ

(3)       ภูมิปัญญาไทยเกิดจากคนไทยคิดสร้างขึ้น

(4)       ภูมิปัญญาไทยเกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับสากล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

61. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะสำคัญอย่างไร

(1) มีเจ้าของชัดเจน     

(2) เป็นสากลพบได้ทั่ว ๆ ไป

(3)       ไม่มีเจ้าของเป็นของกองกลาง 

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ดูคำอธินายข้อ 59. ประกอบ

62.       อยากเป็นหนี้ให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน” จัดอยู่ในภูมิปัญญาใด

(1) เชิงเทคนิค  

(2) การจัดการ 

(3) การควบคุม            

(4) นามธรรม

ตอบ 4 หน้า 51 – 52. (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

1.         ระดับพื้นฐานเชิงเทคนิคซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม เช่น ความรู้เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ฤดูกาลใดเหมาะแก่การเพาะปลูก การรู้ว่าพืชสัตว์อะไรกินได้ อะไรนำมาใช้สอยได้ ฯลฯ

2.         ระดับการจัดการระบบการผลิตและทรัพยากรซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น การรู้จักคัดเลือก พันธุ์พืชและพื้นที่ในการเพาะปลูก การดูคุณสมบัติของดิน การสร้างเหมืองฝาย ฯลฯ

3.         ระดับการควบคุมโดยใช้ความเชื่อและพิธีกรรมซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อเรื่องรุกขเทวดา รวมทั้งจารีตประเพณีต่าง ๆ

4.         ระดับวิธีคิดหรือค่านิยมซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมและเป็นระดับสูงสุดของสังคม

63.       พิธีกรรม จารีต ประเพณี เป็นภูมิปัญญาไทยระดับใด

(1) เชิงเทคนิค  

(2) การจัดการ 

(3) การควบคุม            

(4) นามธรรม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

64.       ข้อใดคือตัวอย่างของภูมิปัญญาไทย

(1) รำผีฟ้า       (2) เกษตรแบบผสมผสาน       (3) เรือหางยาว            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 59. ประกอบ

65.       ข้อใดคือความสำคัญของภูมิปัญญาไทย

(1) สร้างชาติเป็นปึกแผ่นมั่นคง           (2) สร้างความภาคภูมิใจ

(3) สร้างความสมดุลระหว่างสังคมกับธรรมชาติ         (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ4 หน้า 53 ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยมีดังนี้

1.         สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง            2. สร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย

3.         สามารถประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม

4.         สร้างความสมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

5.         ช่วยปรับวิถีชีวิตคนให้เหมาะสมตามยุคสมัย

66.       การบวชป่าสืบชะตาขุนนํ้า เป็นภูมิปัญญาของภาคใด

(1) เหนือ          (2) กลาง         (3) อีสาน         (4) ใต้

ตอบ 1 หน้า 54 – 65 ภูมิปัญญาที่โดดเด่นของแต่ละภาคมีดังนี้

1.         ภาคเหนือ ได้แก่ ระบบเหมืองฝาย ซึ่งถึอเป็นภูมิปัญญาด้านการจัดการนํ้าที่เด่นเฉพาะ ของชาวเหนือ ความรู้เรื่องสมุนไพร การสืบชะตาขุนน้ำ บวชต้นไม้ บวชป่า ฯลฯ

2.         ภาคอีสาน ได้แก่ ความเชื่อเรื่องดาวผีดาน การตั้งศาลปู่ตาในถิ่นฐานใหม่ ความสามารถในการจับและกินแมลง ระบบพ่อแก้ว-ลูกแก้ว การผูกเสี่ยว ฯลฯ

3.         ภาคกลาง ได้แก่ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้าวและพิธีกรรมสืบเนื่องจากตำนานข้าว เช่น พิธีแรกนา พิธีทำขวัญข้าว ฯลฯ

4.         ภาคใต้ ได้แก่ การปลูกบ้านมีตีน การผูกดอง ผูกเกลอ ความเชื่อเรื่องธาตุสี่ ฯลฯ

67.       บ้านมีตีน” เป็นภูมิปัญญาของภาคใด

(1) ภาคกลาง  (2) ภาคเหนือ   (3) ภาคอีสาน  (4) ภาคใต้

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประก

68.       ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดินไทยเป็นปัจจัยทำให้เกิดภูมิปัญญาด้านใด

(1) เทคโนโลยีชั้นสูง    (2) ศิลปะและนันทนาการ

(3) การทำมาหากิน      (4) การเมืองการปกครอง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ภูมิปัญญาด้านศิลปะและนันทนาการของไทย คือ ผลโดยตรงที่เกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดินไทย เนื่องจากสังคมใดที่อยู่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีความมั่งคั่ง สังคมนั้นก็จะมีเวลาที่จะสร้างสรรค์ศิลปะและการละเล่นต่าง ๆ ได้

69.       ข้อใดคือเอกลักษณ์ที่แสดงความเป็นชาติไทย

(1) ศิลปกรรมไทยตามวัดและวัง         (2) การพูดภาษาไทยอย่างชัดเจน

(3) อาหารไทย (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 65 – 66, (คำบรรยาย) เอกลักษณ์พื้นฐานของสังคมไทย ได้แก่

1.         ชาติ หมายถึง ลักษณะหรือเอกสักษณ์ความเป็นชาติไทย โดยเฉพาะที่แสดงให้เห็นถึง ความเป็นคนไทย ความภาคภูมิใจและความสำนึกในความเป็นไทย รวมทั้งการมี วัฒนธรรมไทย เช่น ศิลปกรรมไทย พฤติกรรมความเป็นอยู่แบบไทย อาหารไทย ภาษาไทย ธงชาติและการยืนตรงทำความเคารพเพลงชาติไทย ฯลฯ

2.         ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะอุปนิสัย ทัศนคติในการมองโลก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย

3.         พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน และทรงมีภาระหน้าที่ ในการขจัดทุกข์บำรุงสุขของคนไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

4.         การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

70.       อะไรคือเอกลักษณ์พื้นฐานของไทย

(1) ชาติ            (2) ศาสนา       (3) พระมหากษัตริย์     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

71.       เอกลักษณ์ของศาสนาปรากฎอยู่ในรูปแบบใด

(1) ทัศนะในการมองโลก         

(2) วิถีการดำเนินชีวิต

(3) ลักษณะอุปนิสัย    

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

72.       อะไรคือภาระหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

(1) ขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร           

(2) เป็นผู้รักษาความยุติธรรม

(3) เป็นนักรบ  

(4) เป็นเจ้าชีวิต

ตอบ 1 ดูคำอธิบาษข้อ 69. ประกอบ

73.       นักวิชาการท่านใดระบุว่าสังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม

(1) เอมบรี        

(2) เบเนดิกท์   

(3) วัยอาจ       

(4) มาลินอฟสกี้

ตอบ 1 หน้า 69, (คำบรรยาย) เอมบรี (Embree) กล่าวว่า สังคมไทยมีโครงสร้างแบบหลวม(Loosely Structured) นั่นคือ คนไทยขาดระเบียบวินัย มีลักษณะปัจเจกบุคคลนิยมสูง ชอบอยู่โดดเดี่ยว ไมชอบการรวมกล่ม และเป็นสังคมที่มีลักษณะยืดหยุ่นประนีประนอมสูง นอกจากนี้คนไทยยังรักอิสระ นิยมเลือกทำตามใจตนเอง ไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์ ไม่ชอบผูกมัด ต่อหน้าที่ และพยายามหลีกเลี่ยงพันธะทางสังคม จึงมักมีปัญหาในการทำงานรวมกลุ่มกับผู้อื่น

74.       อะไรคือลักษณะนิสัยคนไทยในทัศนะของศาสตราจารย์ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง

(1) นิยมความโอ่อ่า      (2) รักความเป็นอิสระ

(3) เคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจ      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 70, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง กล่าวว่า คนไทยมีนิสัยรักความ เป็นไทย มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง มักน้อย สันโดษ ยํ้าการหาความสุขจากชีวิต นิยมความโอ่อ่า สุภาพอ่อนโยน รักอิสระแต่เคารพเชื่อฟังอำนาจ ดังนั้นคนไทยจึงมีนิสัยขัดแย้งในตัวเอง เพราะคนไทยรักอิสระ ไมชอบให้ใครมาสั่ง แต่ถ้ารู้ว่าใครมีอำนาจก็จะกลัวและยอมเชื่อฟังเขา

75.       การรู้ว่าอะไรกินได้ อะไรนำมาใช้สอยได้ เป็นภูมิปัญญาไทยระดับใด

(1) นามธรรม   (2)       รูปธรรม           (3)       สูงสุดของสถาบัน        (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

76.       คนไทยมีลักษณะนิสัยบางอย่างคล้ายทัน เนื่องมาจากอะไร

(1) การศึกษา  (2)       อาชีพ   (3)       การอบรมเลี้ยงดู          (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 68, (คำบรรยาย) ลักษณะนิสัยประจำชาติ อาจหมายถึง ลักษณะนิสัยบางอย่างซึ่งบุคคลที่อยู่ในประเทศเดียวกันมักมีอยู่คล้าย ๆ กัน อันเป็นผลมาจากการเติบโตและได้รับ การอบรมเลี้ยงดูขัดเกลามาจากคนในสังคมที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมา มีความเชื่อทางศาสนา มีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (สภาพภูมิศาสตร์) สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจเหมือนกัน

77.       สังคมไทยมี โครงสร้างแบบหลวม” หมายความว่าอย่างไร

(1) คนไทยชอบรวมกลุ่มเสวนากัน       (2) คนไทยไม่ยึดมั่นกับกฎเกณฑ์ใด ๆ

(3) คนไทยไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยว            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 73. ประกอบ

78.       ค่านิยมอะไรที่คนไทยยึดมันทำให้คนไทยไมทำสิ่งที่ไม่ให้ประโยชน์แกตน

(1) รักสนุก       (2)       ประสานประโยชน์       (3)       เล็งผลปฏิบัติ   (4)       ขันติ ความอดกลั้น

ตอบ 3 หน้า 70, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ กล่าวว่า คนไทยเล็งผลการปฏิบัติ หมายถึง คนไทยจะชอบทำเฉพาะสิ่งที่เอื้อประโยชน์กับตนเท่านั้น โดยพิจารณาว่าถ้าสิ่งนั้นขัดกับ ประโยชน์ส่วนตนหรือเกิดความเสียหายก็จะไมปฏิบัติ แต่ถ้าเสริมประโยชน์กับตนก็จะปฏิบัติ

79.       ข้อใดคือตัวอย่างของวิกฤตทางวัฒนธรรมในสังคมไทย

(1) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์      (2) การโกงเงินบริจาคสาธารณะ

(3) การแล้งน้ำใจ ดูดาย          (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 7276, (คำบรรยาย) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ความหมายโดยสรุปไว้ว่า วิกฤตวัฒนธรรม หมายถึง ปรากฎการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากวิถีชีวิตอันดีงาม หรือ สวนกระแสระบบคุณค่าและมาตรฐานทางศีลธรรม นั่นคือ พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยยึดถือปฏิบัตินั่นเอง เช่น ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์การแล้งนํ้าใจ ดูดายขาดจิตสำนึกสาธารณะเห็นแกตัวหรือเห็นแกผลประโยชน์ส่วนตัวคดโกง ไมซื่อสัตย์,ยโสโอหังให้ความสำคัญกับเงินหรือวัตถุ และเชื่อว่าสวรรค์กับการบริโภคเป็นสิ่งเดียวกัน ฯลฯ

80.       ข้อใดเป็นลักษณะสังคมที่มีความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา

(1)       คนไทยขาดจิตสาธารณะ

(2)       เด็กไทยในเมืองใช้คอมพิวเตอร์ได้ดีกว่าเด็กไทยในชนบท

(3)       โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากแต่นักเรียนยังไม่สามารถใช้ได้อย่างเติมที่

(4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 73 – 74 สังคมไทยมีความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา หรือมีลักษณะรูปแบบก้าวหน้าแต่เนื้อหาล้าหลัง หมายถึง สังคมไทยรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาแต่วัตถุกับเปลือก แต่มิได้เรียนรู้วิธีคิด ตลอดจนเนื้อหาที่แท้จริง จนทำให้เกิดความล่าทางวัฒนธรรม (Culture Lag) เช่น คนไทย มีปัญญาซื้อรถยนต์ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาจราจรได้ หรือการซื้อคอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่ไม่รู้วิธีใช้และไม่มีกฎหมายควบคุมที่ได้ผล เป็นต้น

81.       การที่มาตรฐานเกี่ยวกับความดี ความชั่วของคนไทยเกิดความสับสนนั้น เกิดจากสาเหตุอะไร

(1) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว     

(2) คนไม่นับถือศาสนา

(3) คนมีครอบครัวลดลง          

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 72 – 74 ที่มาหรือสาเหตุของวิกฤตวัฒนธรรมไทยมีดังนื้

1.         เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 และกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เทคนิควิทยาด้านต่าง ๆ และระบบสื่อสารคมนาคมจนเกิดภาวะ ทันสมัย แต่ไม่พัฒนา” หรือเรียกว่าความล่าทางวัฒนธรรม (Culture Lag)

2.         การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ระบบทุนนิยมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความสับสน ในมาตรฐานเกี่ยวกับความดี ความชั่ว ที่เคยยึดถือกันมา

82.       จากวิกฤตทางวัฒนธรรมของไทย ทำให้เด็กไทยปัจจุบันมีลักษณะนิสัยอย่างไร

(1) ชอบแสวงหาความรู้           

(2) ชอบเลียนแบบผู้อื่น

(3) ชอบธรรมชาติ        

(4) ชอบช่วยเหลือผู้อื่น

ตอบ 2 หน้า 70 – 71, (คำบรรยาย) จากวิกฤตทางวัฒนธรรมของไทยทำให้เด็กไทยปัจจุบันมีนิสัยดังนี้ 1. ขี้เหงา ติดเพื่อน   2. ไม่มีความอดทนในการรอคอย

3.         เจ้าอารมณ์     4. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน

5.         ขาดจิตสำนึกสาธารณะ           6. ชอบทันสมัย ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ และตามแฟชั่น

7.         ชอบเลียนแบบผู้อื่นและวัฒนธรรมอื่น (โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตก) ที่แพร่เข้ามา เพื่อความเป็นสากล ฯลฯ

83.       สังคมไทยแก้ไขวิกฤตทางวัฒนธรรมด้วยวิธีได

(1) ปฏิรูปการศึกษา    

(2) ส่งเสริมสถาบันครอบครัว

(3) ควบคุมการพัฒนาให้สมดุลกับธรรมชาติ  

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 76 – 77, (คำบรรยาย) การแก้ไขวิทฤตทางวัฒนธรรมควรทำทั้งในระดับบุคคล สถาบัน และสังคมทั้งสังคม ด้วยวิธีการต่อไปนี้

1.         การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาให้อยู่ในสภาพที่สมดุลตามธรรมชาติ

2.         ปฏิรูปและส่งเสริมระบบการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแก่นแท้ของวัฒนธรรมไทย รู้จริง เกี่ยวกับรากฐานวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิบัญญาไทย

3.         ส่งเสริมสถาบันครอบครัวและชุมชนให้เข้มแข็งและมั่นคง และเปิดโอกาสให้ชุมชน ได้มีสวนร่วมในการอนุรักษ์ แก้ไข และปกป้องวัฒนธรรมของตนเอง

4.         เร่งศึกษาถึงอิทธิพลของโลกภายนอกที่มีต่อสังคมไทยในทุกด้าน

5.         ฟื้นฟูสถาบันศาสนาให้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตเหมีอนอดีต

84.       ระบบความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่มีที่มาจากอะไร

(1) หลักวิทยาศาสตร์   (2) ความกลัวในอำนาจเหนือธรรมชาติ

(3) ความมั่นใจในตนเอง          (4) หลายปัจจัยประกอบกัน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ระบบความเชื่อเป็นสิงที่มนุษย์ในทุกสังคมผูกสร้างเป็นเรื่องราวขึ้นจากเหตุการณ์ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลที่เป็นรูปธรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะปรากฎออกมา ในลักษณะของการเชื่อถือพลังอำนาจนอกเหนือธรรมชาติที่มักมีพิธีกรรมและประเพณีต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ระบบความเชื่อมีขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นการส่งเสริมอำนาจ เป็นการตอบสนองความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดจนเป็นเครื่องมือควบคุมมนุษย์ให้ อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีระเบียบ

85.       คนไทยส่วนใหญ่ใช้อะไรเป็นมาตรฐานในการเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และสังคม

(1) กฎหมาย    (2) เหตุผล       (3) ความเชื่อ    (4) หลักวิทยาศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 79, (คำบรรยาย) มนุษย์ในทุกสังคมจะใช้ระบบความเชื่อเป็นมาตรฐานในการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจสังคม และเข้าใจโลก โดยความเชื่อนี้มักจะผูกพันกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ปรัชญา ตลอดจนศาสนา ซึ่งจะมีส่วนกำหนดความเป็นไปของวิถีชีวิตผู้คนในสังคม

86.       อะไรคือสิ่งยึดเหนี่ยวของคนไทย

(1) หลักธรรมของศาสนา         (2) ไสยศาสตร์ (3) โหราศาสตร์           (4) ถูกทั้งหมด

ตรบ 4 หน้า 81 – 83, (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 84. ประกอบ) ความเชื่อในสังคมไทยแบ่งออก ได้ดังนี้            1. ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา,ความเชื่อเรื่องขวัญความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์โหราศาสตร์ ฯลฯ 2. ความเชื่อด้านศาสนา เช่น การเชื่อว่าชีวิตเป็นไปตามกรรมเมตตาธรรมคํ้าจุนโลกลัทธิเทวราชาพรหมลิขิตคติไตรภูมิ 1ลฯ

87.       ข้อใดคือความเชื่อดั้งเดิมในสังคมไทย

(1) หลักวิทยาศาสตร์   (2) ศาสนาพุทธ           (3) เทคโนโลยี  (4) อำนาจเหนือธรรมชาติ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 86. ประกอบ

88.       ความเชื่อต่างจากศาสนาในแงใด

(1) มีผู้นำ         (2) เชื่อนอำนาจเหนือธรรมชาติ          (3) หลักศีลธรรม          (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 79 ความเหมือนกันของศาสนาและความเชื่อ คือ มีที่มาจากความเชื่อว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ลึกลับบางอย่างหรือหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือมนุษย์ธรรมดา และอำนาจเหนือธรรมชาตินี้ จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งในทางดีและทางร้าย ทั้งให้คุณและให้โทษได้ แต่ความเชื่อจะต่างจากศาสนาในแงที่ว่าความเชื่ออาจจะไม่แสดงกำเนิดและการสิ้นสุดของโลก หรืออาจไม่มีหลักธรรมที่เกี่ยวกับบุญ-บาปเป็นศีลธรรมเหมือนกับศาสนา

89.       ไตรลักษณ์” คืออะไร           

(1) หลักธรรมทางศาสนาพุทธ

(2)       หลักศาสนาพราหมณ์ (3) ลักษณะที่ดี 3 ประการ      (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ไตรลักษณ์ เป็นหลักธรรมทางพุธศาสนา ซึ่งหมายถึงลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป3 ประการ ได้แก่ 1. อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง     2. ทุกขัง คือ ความมีทุกข์

3.         อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน

90.       ความเชื่อที่คนไทยใช้อธิบายชีวิตของคนคืออะไร

(1) กฎแห่งกรรม          (2) บุญ-วาสนา            (3) การกระทำ (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 83 ความเชื่อที่คนไทยใช้อธิบายชีวิตพื้นฐานของคน ตลอดจนการกระทำของบุคคล คือ ความเชื่อเรื่องกรรม (การกระทำ) กฎแห่งกรรม วาสนา และบุญบารมี

91.       ศาสนาพุทธได้รับการปรับปรุงให้มีเหตุผลเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในยุคสมัยใด

(1)       พ่อขุนรามคำแหงมหาราช       

(2) พระบรมไตรโลกนา

(3)       รัชกาลที่ 4       

(4) รัชกาลที่ 5

ตอบ 3 หน้า 82 เมื่อไทยยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกและเข้าสู่สมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ชนชั้นปกครองไทยเริ่มให้ความสำคัญกับความรู้ ที่อธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นความรู้ความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธจึงได้รับ การปรับปรุงให้ดูมีเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น

92.       เพราะเหตุใดคนไทยปัจจุบันจึงนิยมการดูหมอและสะเดาะเคราะห์   

(1) อยากรู้อนาคต

(2)       หาความมั่นใจในการดำรงชีวิต           

(3) ชอบทดลอง           

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 82, (คำบรรยาย) คนไทยบางส่วนในปัจจุบันยังไม่เป็นคนสมัยใหม เพราะยังมีการทรงเจ้า เข้าทรง ดูหมอดู สะเดาะเคราะห์ มีการกราบไหว้บวงสรวงศาลเจ้า ศาลพระภูมิ รวมทั้งต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยิ่งพัฒนาไปมากเท่าไหร่ความเชื่อในเรื่อง ไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา และโหราศาสตร์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาที่ เป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้ผู้คนตามไม่ทัน จึงก่อให้เกิดความสันสนทางความคิดและต้องหา ความมั่นใจในการดำเนินชีวิตในอนาคตด้วยวิธีนี้

93.       ไสยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอะไร

(1) เวทมนตร์คาถา      (2) จิตวิญญาณ          (3) ผีบรรพบุรุษ            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 82, (คำบรรยาย) ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาเครื่องรางของขลัง นํ้ามันพลาย รัก-ยม ฯลฯ ซึ่งคนไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

94.       ศีล คืออะไร

(1) ข้อปฏิบัติ   (2) ข้อห้าม       (3) บทสวดมนต์           (4) คาถา

ตอบ2  (คำบรรยาย) ศีล หมายถึง การประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักศีลของพระพุทธศาสนาซึ่งส่วนใหญ่จะหมายถึงข้อห้าม ส่วนธรรมหมายถึงข้อปฏิบัติ

95.       ข้อใดคือหลักคำสอนของศาสนาพุทธ

(1) จงทำดี จงทำดี       (2) จงทำดี ละเว้นความชั่ว

(3)       ทำจิตใจให้บริสุทธิ์       (4) จงทำดี ละเว้นดวามชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์

ตอบ 4 หน้า 83, (คำบรรยาย) หลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจหรือแก่นของศาสนาพุทธ ได้แก่จงทำดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การดับทุกข์

96.       อะไรคือประเพณีของสังคมไทย

(1)       การแต่งงาน    (2) การบวช    (3) จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (4) การตาย

ตอบ 3 หน้า 86 – 87, (คำบรรยาย ประเพณีไทยแบ่งตามลักษณะทั่วไปออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวาระต่าง ๆ ของชีวิตคนไทยแต่ละคน ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับ การเกิด การตาย การบวช การสมรส เป็นต้น        2. ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับลังคมไทย ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นอยู่ของคน ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ บุญบั้งไฟ แห่นางแมว บูชาพระแม่ธรณี ปั้นเมฆ ตลอดจนงานบุญ และการละเล่นอื่น ๆ เช่น แข่งเรือ การเข้าทรงแม่ศรี ผีครก ผีสาก เป็นต้น

97.       ประเพณีเกี่ยวกับความตาย เป็นประเพณีเกี่ยวข้องกับอะไร

(1) สังคมไทย

(2)       ชีวิตของคนไทยแต่ละคน        (3) ชนกลุ่มน้อย           (4) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

98.       ประเพณีไทยมีความสำคัญอย่างไร   

(1) แสดงความเป็นอารยะ

(2) ส่งเสริมความสามัคคี         (3) แสดงความกตัญญ            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 85 – 86, (คำบรรยาย) ความสำคัญของประเพณีไทยมีดังนี้ 1. แสดงความเป็นอารยะ  2. ส่งเสริมความสามัคคี 3.        แสดงถึงความกตัญญูรู้คุณ     4. ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา5. แสดงถึงประวัติความเป็นมาของชาติ            6. เป็นมรดกทางสังคม 7 แสดงโลกทัศน์ของคนไทย   8. แสดงให้เห็นระบบความสัมพันธ์ในสังคม ฯลฯ

99.       ประเพณีใดเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์

(1) แห่นางแมว            (2) บุญบั้งไฟ   (3) บูชาพระแม่ธรณี    (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

100.    อะไรคือที่มาของทุกสิ่งทุกอย่างในทัศนะของชาวพุทธ

(1) กรรม          (2) พระพรหม  (3) พญาแถน   (4) สิ่งเหนือธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 83, (คำบรรยาย) ในทัศนะของชาวพุทธ กรรม” คือ การกระทำของเรา ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งหลาย และเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเมื่อกระทำสิ่งใด ผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำนั้นก็จะตามมา กรรมที่กระทำไว้ใม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว จะยังผลให้มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร จึงกล่าวได้ว่าพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ปัจจุบัน จะเป็นเช่นไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ กรรม” หรือบาปบุญที่ได้กระทำไว้ในชาติหนึ่งนั่นเอง

Advertisement