101.    โฮโม เซเปียนส์ มีวัฒนธรรมแบบใด

(1) โอดูแวน     

Advertisement

(2) อาชูเลี่ยน   

(3)มุสเตอเรียน            

(4)       แม็กเดลิเนียน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 92. ประกอบ

102.    แหล่งเพาะปลูกโบราณที่สำคัญในยุคต้น คือแถบใด

(1) จอร์แดน     

(2) เม็กซิโก      

(3) ออสเตรเลีย            

(4)       อิตาลี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 99. ประกอบ

103.    วัฒนธรรมของโฮมินิดยุคโฮโม อีเรคตัส เรียกว่าอะไร

(1)คาริแคน      

(2)โอดูแวน      

(3)อาชูเลี่ยน    

(4)มุสเตอเรียน

ตอบ 3 หน้า 838695 วัฒนธรรมของโฮมินิดยุคโฮโม อีเรคตัส เรียกว่า วัฒนธรรมอาชูเลี่ยน (Acheulian) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. มีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่สำคัญ คือ เครื่องมือหินสำหรับสับหรือตัด ซึ่งแหล่งทำหิน ที่สำคัญ ก็คือ อาซูเลี่ยน    2. สามารถสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ล่าสัตว์ขนาดใหญ่ได้

3.         อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม         4. ริเริ่มใช้ ไฟ” เป็นครั้งแรก

5. เป็นกลุ่มแรกที่ริเริ่มการใช้ภาษาในการสื่อสาร โดยใช้ระบบสัญลักษณ์ด้านภาษาพูด เพื่อบ่งบอกถึงความต้องการและความรู้สึกของตน ฯล

104.    โฮโม อีเรคตัส ไม่มีการค้นพบในทวีปใด

(1) เอเชีย         (2) อเมริกา      (3) ออสเตรเลีย            (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 84 – 85 มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของโฮโม อีเรคตัส ในทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา แต่ไม่พบใบทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบนั้น ได้แก่ ซากกระดูกของมนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิ่ง และมนุษย์ไฮเดลเบอร์ก

105.    กันนาร์ แอนเดอร์สัน ได้ค้นพบซากกระดูกที่ใด

(1) โรม (2) เจอริโช       (3) อาซีเลียน   (4) โจวโข่วเตี้ยน

ตอบ 4 หน้า 85 ในปี ค.ศ. 1921 กันนาร์ แอนเดอร์สัน (J. Gunnar Anderson) นักธรณีวิทยาชาวสวีเดน ได้ค้นพบซากกระดูกและฟันกรามของมนุษย์ที่หมู่บ้านโจวโข่วเตี้ยน ประเทศจีน การค้นพบ ดังกล่าวก่อให้เกิดความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป โดยเฉพาะนายแพทย์เดวิดสัน แบล็ค (Davidson Black) แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์ กรุงปักกิ่ง ที่ได้รวบรวมนักวิชาการมาทำการ ค้นหาและวิเคราะห์ซากกระดูกนี้อย่างจริงจัง โดยได้ตั้งชื่อซากโฮมินิดนี้ว่า ซิแนนโธรปัส” (Sinanthropus) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มนุษย์ปักกิ่ง

106.    เดวิดสัน แบล็ค ได้ตั้งชื่อซากโฮมินิดที่ค้นพบว่าอะไร

(1) พิธิแคนโธรปัส       (2) นีแอนเตอร์ธอลส์    (3) ซิแนนโธรปัส          (4) ไฮเดลเบอร์ก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 105. ประกอบ

107.    กลุ่มโฮโมกลุ่มใดที่เป็นกลุ่มแรกที่เริ่มใช้ภาษาในการสื่อสาร

(1) โฮโม เซเปียนส์       (2)โฮโม อีเรคตัส          (3)โฮโม บาซิลลัส        (4)โฮโม ฮาบิลิส

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 103. ประกอบ

108.    ผู้ใดคือผู้ที่ค้นพบซากกระดูกในชวา

(1) เดวิดสัน แบล็ค      (2) ฟรานซ์ ไวเดนริช    (3) ออตโต้ ชูเทนแซค   (4) ยูยีน ดูบัว

ตอบ 4 หน้า 84 ยูยีน ดูบัว (Eugene Dubois) ชาวฮอลันดา ได้ค้นพบหัวกะโหลกและกระดูกโคนขา ในชวาประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1891 จึงนำมาศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด และเขียนเป็นบทความออกมาเผยแพร่ โดยได้ตั้งชื่อสิ่งที่ค้นพบว่า พิธิแคนโธรปัส อีเรคตัส” (Pethecanthropus Erectus) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มนุษย์ชวา

109.    ใครคือผู้ที่ทำการศึกษามนุษย์ฮเดลเบอร์ก

(1) เดวิดสัน แบล็ค      (2) ฟรานซ์ ไวเดนริช    (3) ออตโต้ ชูเทนแซค   (4) ยูยีน  ดูบัว

ตอบ 3 หน้า 85 – 86 ศาสตราจารย์ออตโต้ ชูเทนแซค (Otto Schoetensack) แห่งมหาวิทยาลัย ไฮเดลเบอร์ก ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ซากกระดูกขากรรไกรล่างของมนุษย์ที่เจ้าของบ่อทรายพบที่บ่อดูดทรายในทวีปยุโรปอย่างละเอียด และได้ตั้งชื่อว่า โฮโม ไฮเดลเบอร์เจนซิส” (Homo Heidelbergensis) หรือที่รู้จักกันในนาม มนุษย์เฮเดลเบอร์ก” ซึ่งจัดอยู่ในสปีชี่ โฮโม อิเรคตัส

110.    เคยมีการสันนิษฐานว่าโฮโม อีเรคตัส มีแหล่งกำเนิดในแถบใด

(1)ขั้วโลกเหนือ            (2)ขั้วโลกใต้    (3)ตะวันออกกลาง      (4)เส้นศูนย์สูตร

ตอบ 4 หน้า86 นักวิทยาศาสตร์เคยสันนิษฐานว่า โอโม อีเรคตัส แต่เดิมนั้นมีแหล่งกำเนิดตามเส้นศูนย์สูตร ต่อมาได้อพยพกระจัดกระจายไปทางเหนือและบางส่วนก็ข้ามไปอาศัยอยู่ในทวีปยุโรป

Advertisement