การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา ANT 1013 มานุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองมากในช่วงพุทธศตวรรษที่เท่าใด

(1)  13        

(2) 14  

(3) 15 

(4) 16

ตอบ 1 หน้า 2 ประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ในยุคเริ่มก่อตั้งชุมชนเจ้านครได้กล่าวถึงความสำคัญของ ลุ่มแม่น้ำกก” ว่าเป็นแหล่งกำเนิดแห่งแรกของอารยธรรมล้านนาที่ผู้คนสามารถควบคุมนํ้าเพื่อการเกษตรแบบนาดำ จนสามารถผลิตอาหารได้มากเพียงพอที่จะส่งมอบให้ชนชั้นปกครองในรูปของการภาษีอากรได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาว่ามีขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษพี่ 13 มาแล้ว

2.         พระราชนิพนธ์ไกลบ้านเป็นงานเขียนของใคร

(1)       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ห้ว          

(2) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(3) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  

(4) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ 2 หน้า 3-4 งานเขียนเรื่องราวของชนต่างชาติที่ได้รับความสนใจแพร่หลายที่สุด คือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2449 – 2450 โดยพระองค์ทรงเขียน เป็นพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย) จำนวน 43 ฉบับ เล่าถึงความทุกข์สุขส่วนพระองค์ในการเสด็จไปครั้งนั้น และบรรยายถึงการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนและขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอย่างละเอียด ซึ่งถือเป็นผลงาน ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นการเปิดโฉมหน้าของการศึกษาสาขามานุษยวิทยาของไทยโดยแท้

3.         เนื้อหาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ได้บรรยายถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของที่ใด

(1)       เอเชีย   

(2) ยุโรป          

(3)       เอเชียตะวันออก          

(4)       อเมริกา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

4.         มาร์โคโปโล ได้รับราชการในจีนเป็นเวลานานกี่ปี

(1)3ปี  (2)8ปี  (3)17ปี            (4)25ปี

ตอบ 3 ทน้า 5 ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 มาร์โคโปโล ผู้ซึ่งเคยรับราชการในจีนสมัยกุบไลข่านเป็นเวลานานถึง 17 ปี ได้เขียนเรื่องราวของคนจีนและอารยธรรมอันสูงส่งของชนในซีกโลก ตะวันออกเผยแพร่ในยุโรป ส่งผลให้ความเชื่อของาวยุโรปที่ว่า ศูนย์กลางของอารยธรรม ของโลกมีอยู่เฉพาะในทวีปยุโรปนั้นค่อย ๆ ลดลง

5.         จังหวัดใดที่อยู่ในอาณาจักรล้านนา

(1) ลำปาง       (2) ลำพูน         (3)       เชียงใหม่         (4)       ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 10 อาณาจักรล้านนา ได้แก่บริเวณที่ชาวพื้นเมืองใช้ภาษาคำเมือง(ไทยเหนือ)เป็นสื่อในการ พูดและภาษาไทยยวนเป็นภาษาเขียน โดยในยุคต้นนั้นอาณาจักรล้านนาประกอบด้วย เมืองโยนก เชียงแสน เมืองฝาง (ไชยปราการ) เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และเมืองเชียงราย (มังราย) ส่วนในปัจจุบัน อาณาจักรล้านนาประกอบด้วย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน

6.         พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน เขียนเป็นจดหมายรวมทั้งหมดกี่ฉบับ

(1)       43 ฉบับ           (2) 68 ฉบับ     (3)       89 ฉบับ           (4) 115 ฉบับ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. บระกอบ

7.         ใครที่เคยถูกจับขึ้นศาลมองโกล

(1) มาร์โคโปโล            (2) คาร์ปินี       (3)       รูโบรค  (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 5 ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 เมื่อพวกมองโกลขยายอาณาบริเวณมาทางภาคตะวันตกของ ทวีปเอเชีย มีชาวยุโรปสองคนชื่อ คาร์ปินีและรูโบรค ถูกจับและถูกนำขึ้นศาลของพวกมองโกล โดยชายทั้งสองได้เขียนเล่าถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่านี้และนำไปเผยแพร่ในยุโรป

8.         ใครคือผู้ทีเขียนเรื่องราวของคนจีนและอารยธรรมตะวันออก

(1) มาร์โคโปโล            (2) คาร์ปินี       (3)       รูโบรค  (4) ข้อ 2 และ 3

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

9.         ตำนานใดที่เขียนเป็นภาษาไทยยวน

(1)       มูลศาสนา        (2) จามเทวีวงศ์           (3)       พื้นเมืองเชียงใหม่ (4) พระยาเจือง

ตอบ1 หน้า 2-3 ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานของไทยอย่างละเอียด และกล่าวว่าตำนานได้ให้ภาพความรู้ทาง ประวัติศาสตร์พื้นเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำนานพระยาเจือง(มีชีวิตอยู่ในช่วงพ.ศ. 1625 – 1705) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานจามเทวีวงศ์ งานเหล่านี้ เขียนเป็นภาษาบาลี ยกเว้นตำนานมูลศาสนาที่เขียนเป็นภาษาไทยเหนือ (ไทยยวน) โดยตำนาน เหล่านี้จะเขียนลงบนใบลานเรียกว่า คัมภีร์ใบลาน และสมุดข่อยเรียกว่า คัมภีร์สมุดข่อย

10.       เสถียรโกเศศ” คือใคร        

(1) พระยาประเสริฐสุนทราศรัย

(2)       พระยาอนุมานสรรพกิจ           (3) เจ้าพระยาอภัยภูเบศร       (4) พระยาอนุมานราชธน

ตอบ 4 หน้า 261 – 263, (คำบรรยาย) พระยาอนุมานราชธน เดิมมีชื่อว่า หลีกวงหยง” ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อไทยว่า ยง” และได้รับนามสกุลพระราชทานว่า เสถียรโกเศศ” เป็นผู้ที่มี คุณูปการต่อการศึกษาวิชามานุษยวิทยาของไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้ได้รับการยอมรับว่า เป็นปรมาจารย์สาขามานุษยวิทยารุ่นแรกของไทย

Advertisement