การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา ANT 1013 มานุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ลุ่มนํ้าใดเป็นแหล่งกำเนิดแห่งแรกของอารยธรรมล้านนา

(1) ลุ่มน้ำกก    

(2) ลุ่มนํ้าปิง    

(3) ลุ่มน้ำโขง   

(4) ลุ่มน้ำชี

ตอบ 1 หน้า 2 ประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ในยุคเริ่มก่อตั้งชุมชนเจ้านครได้กล่าวถึงความสำคัญ ของลุ่มแม่น้ำกกว่า เป็นแหล่งกำเนิดแห่งแรกของอารยธรรมล้านนาที่ผู้คนสามารถควบคุมนํ้า เพื่อการเกษตรแบบนาดำ จนสามารถผลิตอาหารได้มากเพียงพอที่จะส่งมอบให้ชนชั้นปกครอง ในรูปของการภาษีอากรได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาว่า มีขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 มาแล้ว

2.         อาณาจักรล้านนากำเนิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่เท่าใด

(1) 8    

(2) 13  

(3) 15  

(4) 17

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         ตำนานใดที่เขียนเป็นภาษาบาลี

(1)จามเทวีวงศ์            

(2)พื้นเมืองเชียงใหม่   

(3)เมืองเงินยางเชียงแสน        

(4)ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 2 ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษา เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานของไทยอย่างละเอียด และกล่าวว่าตำนานได้ให้ภาพความรู้ทาง ประวัติศาสตร์พื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำนานพระยาเจือง (มีขีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 1625 – 1705) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานจามเทวีวงศ์ ที่เขียนเป็นภาษาบาลี และตำนานมูลศาสนาที่เขียนเป็นภาษาไทยเหนือ (ไทยยวน)

โดยตำนานเหล่านี้จะเขียนลงบนใบลานเรียกว่า คัมภีร์ใบลาน และสมุดข่อยเรียกว่า คัมภีร์สมุดข่อย

4.         ในยุคใดที่ประเทศไทยได้นำเอาระเบียบวิธีการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาของชาวตะวันตกมาใช้เป็นแนวทาการศึกษาเป็นครั้งแรก

(1) อู่ทอง         (2) สุโขทัย       (3) อยุธยา       (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 4 หน้า 3 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีผลงานการศึกษาในเรื่ยงการดำรงชีวิตและขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมทั้งของคนไทยและชนกลุ่มต่าง ๆ ในแถบสุวรรณภูมิเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการนำเอาระเบียบวิธีการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาของชาวตะวันตกมาใช้เป็นแนวทาง ในการศึกษาเป็นครั้งแรกด้วย

5.         ข้อใดที่เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(1) นิราศตะเลงพ่าย    (2) นิราศลอนดอน

(3) พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน      (4) พระราชนิพนธ์จากบ้าน

ตอบ 3 หน้า 3-4 งานเขียนเรื่องราวของชนต่างชาติที่ได้รับความสนใจแพร่หลายที่สุด คือ พระราชนิพนธ์ไกลบ้านของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)ซึ่งทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2449 – 2450 โดยพระองค์ ทรงเขียนเป็นพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย) จำนวน 43 ฉบับ ทั้งนี้ถือว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นการเปิดโฉมหน้าของการศึกษาสาขามานุษยวิทยาของไทยโดยแท้

6.         จากการศึกษาของ ฮีโรโดตัส” กล่าวว่า ชนชาติใดที่ผู้ชายทำการทอผ้า

(1) โรมัน          (2) อียิปต์        (3)       จีน       (4) อาหรับ

ตอบ 2. หน้า 4 ในช่วงปี 484 – 426 ก่อนคริสตกาล ฮีโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้ออกเดินทางไปยังประเทศอียิปต์ ปาเลสไตน์ บานิโลน แม็คคาโดเนีย และตราซ แล้วทำการจดบันทึกเรื่องราวของผู้คนที่ได้พบเห็น เช่น “…ในประเทศอียิปต์ ผู้หญิงจะเป็นผู้ทำการค้าขาย ในตลาด ในขณะที่ผู้ชายจะทอผ้าอยู่ที่บ้าน ผู้หญิงใช้หัวไหล่เพื่อแบกสิ่งของ ส่วนผู้ชายใช้ศีรษะ ลูกผู้ชายจะไม่ช่วยพ่อแม่ทำงานนอกจากลูกผู้หญิง…” ซึ่งจากผลงานเหล่านี้เองที่ทำให้ นักมานุษยวิทยาสังคมชาวอังกฤษได้ยกย่องเขาว่าเป็นนักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก

7.         ใครคือผู้ที่สนใจและได้เขียนเรื่องราวของคนจีนและอารยธรรมตะวันออก

(1) มาร์โคโปโล            (2) อีโรโดตัส    (3)       ทาซิตัส            (4) เมนเดล

ตอบ 1 หน้า 5 ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 มาร์โคโปโล ผู้ซึ่งเคยรับราชการในสมัยกุบไลข่าน เป็นเวลานานถึง 17 ปี ได้เขียนเรื่องราวของคนจีนและอารยธรรมอันสูงส่งของชนในซีกโลก ตะวันออกเผยแพร่ในยุโรป ส่งผลให้ความเชื่อของชาวยุโรปที่ว่า ศูนย์กลางของอารยธรรม ของโลกมีอยู่เฉพาะในทวีปยุโรปนั้นค่อย ๆ ลดลง

8.         นักมานุษยวิทยาสังคมอังกฤษได้ยกย่องให้ท่านใดเป็นนักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก

(1)มาร์โคโปโล (2)ฮีโรโดตัส     (3)ทาซิตัส        (4)เมนเดล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

9.         ตำนานใดที่เขียนขึ้นเป็นภาษาไทยยวน

(1) พื้นเมืองเชียงรุ้ง     (2) พื้นเมืองเชียงแสน (3)        มูลศาสนา        (4) จามเทวีวงศ์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

10.       ข้อใดที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ

(1)นิทานท้องถิ่น          (2)พงศาวดาร  (3)สารคดี        (4)ตำนาน

ตอบ 3 หน้า 10 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ระบุว่า

1.         ตำนาน คือ เรื่องราวที่แสดงกิจการอันมีมานานแล้วแต่ปางหลังหรือเรื่องราวนมนานที่เล่า สืบต่อกันมา

2.         สารคดี คือ เรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ

3.         พงศาวดาร คือ เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข ของประเทศนั้น

4.         นิทานท้องถิ่น คือ เรื่องที่เล่าจากปากต่อปากของชาวบ้าน

Advertisement