การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา ANT 1013 มานุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง   ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ตำนานใดต่อไปนี้ที่เขียนเป็นภาษาบาลี

(1)       พระยาเจือง     

(2) จามเทวีวงศ์           

(3) เมืองเงินยางเชียงแสน       

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 2-3 ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษา เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานของไทยอย่างละเอียด และกล่าวว่าตำนานได้ให้ภาพความรู้ทาง ประวัติศาสตร์พื้นเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำนานพระยาเจือง(มีชีวีตอยูในช่วงพ.ศ. 1625 – 1705) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานจามเทวีวงศ์ งานเหล่านี้ เขียนเป็นภาษาบาลี ยกเว้นตำนานมูลศาสนาที่เขียนเป็นภาษาไทยเหนือ (ไทยยวน) โดย ตำนานเหล่านี้จะเขียนลงบนใบลานเรียกว่า คัมภีร์บลาน และสมุดข่อยเรียกว่า คัมภีร์สมุดข่อย

2.         นักมานุษยวิทยาคนแรกของโลกคือใคร

(1)       ทาซิตัส            

(2)       อีโรโดตัส          

(3)       คาร์ปินี

(4)        ทาเลส

ตอบ 2 หน้า 4 ในช่วงปี 484 – 426 ก่อนคริสตกาล ฮีโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้ออกเดินทางไปยังประเทศอียิปต์ ปาเลสไตน์ บาบิโลน แม็คคาโดเนีย และตราซ แล้วทำการ จดบันทึกเรื่องราวของผู้คนที่ได้พบเห็น เช่น “…ในประเทศอียิปต์ ผู้หญิงจะเป็นผู้ทำการค้าขาย ในตลาด ในขณะที่ผู้ชายจะทอผ้าอยู่ที่บ้าน ผู้หญิงใช้หัวไหล่เพื่อแบกสิ่งของ ส่วนผู้ชายใช้ศีรษะ ลูกผู้ชายจะไม่ช่วยพ่อแม่ทำงานนอกจากลูกผู้หญิง…” ซึ่งจากผลงานเหล่านี้เองที่ทำให้ นักมานุษยวิทยาสังคมชาวอังกฤษได้ยกย่องเขาว่าเป็นนักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก

3.         พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนิพนธ์ไว้มีจำนวนกี่ฉบับ

(1)       18        

(2)       23        

(3)       37        

(4)       43

ตอบ 4 หน้า 3-4 งานเขียนเรื่องราวของชนต่างชาติที่ได้รับความสนใจแพร่หลายที่สุด คือ พระราชนิพนธ์ไกลบ้านของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัฃกาลที 5) ซึ่ง ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2449 – 2450 โดยพระองศ์ ทรงเขียนเป็นพระราขหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย) จำนวน 43 ฉบับ ทั้งนี้ถือว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นการเปิดโฉมหน้าของ การศึกษาสาขามานุษยวิทยาของไทยโดยแท้

4.         ชาวกรีกโบราณได้แล่นเรือไปตามเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนในศตวรรษที่เท่าใดก่อนคริสต์ศักราช

(1)       8          (2) 12              (3) 15  (4) 17

ตอบ 1 หน้า 4 ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์คักราช ชาวกรีกโบราณได้แล่นเรือไปตามเมืองต่าง ๆที่ตั้งอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน พวกเขาได้บรรยายถึงความแตกต่างของคนและเมืองท่าต่าง ๆ ความรู้ดังกล่าวก่อให้เกิดประโยซน์มหาศาลแก่พอค้าที่ทำการค้าขายระหว่างกัน

5.         ทาซิตัส” เป็นชาวอะไร

(1) กรีซ            (2) โรมัน          (3) อียิปต์        (4) ผิดทั้งหมด

ตอบ 2 หน้า 4 – 5 ทาซิตัส (Tacitus) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน ได้เขียนเรื่องราวของคนเถื่อน(ชนเผาเยอรมัน) ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของยุโรป โดยกล่าวถึงลักษณะโครงสร้างทางร่างกาย แบบบ้าน สภาพแวดล้อมทางสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างละเอียด

6.         ความหมายของคำว่า “Logos” ในภาษากรีก คืออะไร

(1) มนุษย์        (2) ศาสตร์       (3) นักปราชญ์ (4) เทพเจ้า

ตอบ 2 หน้า 6 มานุษยวิทยา (Anthropology) คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ใน ทุกแง่ทุกมุม โดยคำว่า Anthropologyเป็นคำผสมที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกสองคำ คือ

1.         Anthropos แปลว่า มนุษย์หรือคน

2.         Logos แปลว่า การศึกษาหรือศาสตร์หรือความรู้ที่ได้รับการจัดให้เป็นระบบ

7.         ฮีโรโดตัส ได้เดินทางไปที่ใด

(1) จีน  (2)       หมูเกาะมาดากัสกา     (3) บาบิโลน    (4)       บอร์เนียว

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

8.         ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เขียนเป็นภาษาอะไร

(1) บาลี           (2)       สันสกฤต         (3) ไทยเหนือ   (4)       ไทยยวน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

9.         นักประวัติศาสตร์ท่านใดที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับคนเถื่อน (ชนเผ่าเยอรมัน)

(1) คาร์ปินี       (2)       ทาซิตัส            (3) ฮีโรโดตัส    (4)       มาร์โคโปโล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

10.       ลุ่มแม่นํ้าใดที่เป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมล้านนา

(1) ลุ่มแม่น้ำปิง           (2)       ลุ่มแม่นํ้าสาละวิน        (3) ลุ่มแม่น้ำกก           (4)       ลุ่มแม่น้ำโขง

ตอบ 3 หน้า 2 ประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ในยุคเริ่มก่อตั้งชุมชนเจ้านครได้กล่าวถึงความสำคัญของ ลุ่มแม่น้ำกก” ว่าเป็นแหล่งกำเนิดแห่งแรกของอารยธรรมล้านนาที่ผู้คนสามารถควบคุมนํ้า เพื่อการเกษตรแบบนาดำ จนสามารถผลิตอาหารได้มากเพียงพอที่จะส่งมอบให้ชนชั้นปกครอง ในรูปของการภาษีอากรได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาว่ามีขึ้นตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 13 มาแล้ว

Advertisement