การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา ANT 1013 มานุษยวิทยาเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง   ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         มานุษยวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับอะไร

(1)       ศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในทุกแง่ทุกมุม         

(2) ศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์

(3) ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาทางสังคมของมนุษย์ 

(4) ศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์

ตอบ 1 หน้า 6 มานุษยวิทยา (Anthropology) คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ใน ทุกแง่ทุกมุม โดยคำว่า Anthropologyเป็นคำผสมที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกสองคำ คือ

1.         Anthropos แปลว่า มนุษย์หรือคน

2.         Logos แปลว่า การศึกษาหรือศาสตร์หรือความรู้ที่ได้รับการจัดให้เป็นระบบ

2.         คำว่า Anthropos แปลว่าอะไร

(1)       สัตว์ทุกชนิด     

(2) มนุษย์หรือคน         

(3) สิ่งมิชีวิตทุกชนิด    

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         การวิวัฒนาการของมนุษย์” ตรงกับความหมายใด

(1)       Man 

(2) Human Evolution 

(3) Human Variation 

(4) People

ตอบ 2 หน้า 6 – 716 มานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มานุษยวิทยาเชิงชีววิทยา (Biological Anthropology) สนใจศึกษา 2 หัวข้อใหญ่ คือ

1.         การวิวัฒนาการของมนุษย์ (Human Evolution) โดยเน้นศึกษาหมู่สัตว์ในสายโฮโมเป็นหลัก เพื่อค้นหาต้นตอและสายการวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นมนุษย์ปัจจุบัน

2.         ความแตกต่างในหมู่มนุษยชาติใบยุคปัจจุบัน (Human Variation) เช่น สีผิว ขนาดและ โครงสร้างทางร่างกาย กลุ่มเลือด การปรับตัวของร่างกายต่อภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้เพราะเป็นความแตกต่างที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลาน โดยผ่านทางพันธุกรรมได้

4.         ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ เป็นนักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยใด

(1)       มหิดล (2) ศิลปากร    (3) เชียงใหม่    (4) ธรรมศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 2-3 ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานของไทยอย่างละเอียด และกล่าวว่าตำนานได้ให้ภาพความรู้ทางประวัติศาสตร์- พื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำนานพระยาเจือง (มีชีวิตอยู่ในช่วง พ.ศ. 1625 – 1705)ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน และตำนานจามเทวีวงศ์ งานเหล่านี้ เขียนเป็นภาษาบาลี ยกเว้นตำนานมูลศาสนาที่เขียนเป็นภาษาไทยเหนือ (ไทยยวน) โดยตำนาน เหล่านี้จะเขียนลงบนใบลานเรียกว่า คัมภีร์ใบลาน และสมุดข่อยเรียกว่า คัมภีร์สมุดข่อย

5.         มานุษยวิทยากายภาพ ตรงกับความหมายข้อใด       

(1) มานุษยวิทยาธรรมชาติ

(2)       มานุษยวิทยาวัฒนธรรม         (3) มานุษยวิทยาสรีรภาพ        (4) มานุษยวิทยาเชิงชีววิทยา

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ 

6.         สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่าอะไร

(1)       วัฒนธรรม        (2) สังคม         (3) รูปธรรม      (4) นวัตกรรม

ตอบ 1 หน้า 7 วัฒนธรรม (Culture) หมายถึง สิ่งที่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างและผลิตขึ้น ตลอดจน แต่งเติมเสริมต่อสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น

1.         ผลงานที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ พัดลม ตึก สวนสาธารณะ รถยนต์ ฯลฯ

2.         ผลงานที่เป็นนามธรรม ได้แก่ รูปแบบหรือระบบการอยู่รวมกันเป็นสังคม ศาสนา ค่านิยม ความเชื่อ การปกครองแบบประชาธิปไตย ความดี ความเลว ฯลฯ

7.         มานุษยวิทยาวัฒนธรรมได้มีการแพร่หลายขึ้นในยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาได้รับความสนใจ ในหมูนักวิชาการกลุ่มใด

(1)       อเมริกาใต้        (2) เอเชีย         (3) ออสเตรเลีย            (4) อเมริกัน

ตอบ 4 หน้า 7 ความสนใจศึกษาเรื่องวัฒนธรรมมีมานานแล้ว ต่อมาเมื่อได้มีการจัดระเบียบความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมให้เป็นระบบเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือศาสตร์สาขานี้ขึ้นในยุโรปและแพร่หลายไปยัง สหรัฐอเมริกาในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความรู้สาขานี้จึงได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ในหมู่นักวิชาการชาวอเมริกัน จึงได้เรียกองค์ความรู้ในสาขานี้ว่า มานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Anthropology)

8.         ตามความเชื่อของชาวเขาเผ่าเย้า ใครคือผู้สร้างโลก

(1)       เปี้ยนโกฮูง       (2) สองพี่น้องตระกูลซ้ง

(3)       เทพเจ้าแห่งเขาไทซาน (4) ผิดทั้งหมด

ตอบ 1 หน้า 1-2 นิยายปรัมปราของซาวเขาเผ่าเย้าได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษของ พวกเขาว่า ในวันที่แปดเดือนสี่ของปีหนึ่ง ได้เกิดนํ้าท่วมโลกเจ็ดวันเจ็ดคืน ผู้คนล้มตายจนเหลือเพียง หญิงชายคู่หนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เทวดาองค์หนึ่งชื่อ เปี้ยนโกฮูง” ซึ่งเป็นผู้สร้างโลกและสวรรค์ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเขาเผ่าเย้าได้แปลงตนเป็นชายชราและบอกสองพี่น้องให้แต่งงานกันเพื่อสร้างมนุษย์ ต่อมาเมื่อน้องสาวคลอดลูกเป็นฟัก จึงมีเทวดาองค์หนึ่งเสด็จลงมาผ่าลูกฟัก พร้อมกับรับสั่งว่า ให้โยนเมล็ดฟักลงบนพื้นราบ สวนเนื้อฟักให้โยนขึ้นบนดอย แต่พี่ชายเกิดจำคำสั่งไขว้เขว คือได้โยนเนื้อฟักลงบนพื้นราบ ต่อมาได้กลายเป็นผู้คนทำมาหากินในที่ราบ ส่วนเมล็ดฟักได้โยนขึ้นไปบนดอยและกลายเป็นชาวเขาเผ่าเย้าที่ทำมาหากินอยู่บนดอย

9.         ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช เป็นการชี้ให้เห็นถึงอะไร

(1)       ความอุดมสมบูรณ์ทางภูมิศาสตร์แถบนี้         

(2) ความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ

(3) ความสวยงามของพระธาตุ           

(4) ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมในแถบสุวรรณภูมิ

ตอบ 4 หน้า 3 เอกสารประเภทตำนานที่ปรากฏในภาคต่าง ๆ ของไทย เช่น ตำนานพระธาตุ เมืองนครศรีธรรมราชในภาคใต้ และตำนานพระธาตุพนมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตำนานที่ชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของสังคมต่าง ๆ ในแถบสุวรรณภูมิที่เกิดมีขึ้น นับตั้งแต่โบราณกาล

10.       ข้อใดคือพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็อพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(1)       ประพาสต้น     (2) ไกลบ้าน     (3) สุวรรณโคมคำ        (4) ย้อนรอยอารยธรรม

ตอบ 2 หน้า 3-4 งานเขียนเรื่องราวของชนต่างชาติที่ได้รับความสนใจแพร่หลายที่สุด คือ

พระราชนิพนธ์ไกลน้านของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งทรง นิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในระหว่างปี พ.ศ. 2449 – 2450 โดยพระองค์ทรงเขียน เป็นพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้หญิงนิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย) จำนวน 43 ฉบับ เล่าถึงความทุกข์สุขส่วนพระองค์ในการเสด็จไปครั้งนั้น และบรรยายถึงการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนและขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอย่างละเอียด ซึ่งถือเป็นผลงาน ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นการเปิดโฉมหน้าของการศึกษาสาขามานุษยวิทยาของไทยโดยแท้

11.       นักประวัติศาสตร์ท่านใดที่ได้เดินทางไปยังอียิปต์และเขียนบรรยายความแตกต่างของชาวอียิปต์และชาวกรีกไว้

(1)       ทาซิตัส           

(2) คาร์ปินี และรูโบรค 

(3) มาร์โคโปโล            

(4) ฮีโรโดตัส

ตอบ 4 หน้า 4 ในช่วงปี 484 – 426 ก่อนคริสตกาล ฮีโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้ออกเดินทางไปยังประเทศอียิปต์ ปาเลสไตน์ บาบิโลน แม็คคาโดเนีย และตราซ แล้วทำการ จดบันทึกเรื่องราวของผู้คนที่ได้พบเห็น เซ่น “…ในประเทศอียิปต์ ผู้หญิงจะเป็นผู้ทำการค้าขายในตลาด ในขณะที่ผู้ชายจะทอผ้าอยู่ที่บ้าน ผู้หญิงใช้หัวไหล่เพื่อแบกสิ่งของ ส่วนผู้ชายใช้ศีรษะ ลูกผู้ชายจะไม่ช่วยพ่อแม่ทำงานนอกจากลูกผู้หญิง…” ซึ่งจากผลงานเหล่านี้เองที่ทำให้นักมานุษยวิทยาสังคมชาวอังกฤษได้ยกย่องเขาว่าเป็น ‘‘นักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก

12.       คำว่า Logos หมายถึงอะไร

(1) การจัดระบบวิวัฒนาการของสัตว์

(2)       ความรู้ที่ได้รับการจัดให้เป็นระบบ 

(3) การจัดระบบวิวัฒนาการของพืช         

(4) มนุษย์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

13.       ลุ่มแม่นํ้าใดเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมล้านนา

(1)       กก       

(2) ปิง  

(3) มูล 

(4) น่าน

ตอบ 1 หน้า 2 ประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ในยุคเริ่มก่อตั้งชุมชนเจ้านครได้กล่าวถึงความสำคัญของ ลุ่มแม่นํ้ากก” ว่าเป็นแหล่งกำเนิดแห่งแรกของอารยธรรมล้านนาที่ผู้คนสามารถควบคุมน้ำเพื่อการเกษตรแบบนาดำ จนสามารถผลิตอาหารได้มากเพียงพอที่จะส่งมอบให้ชนชั้นปกครอง ในรูปของการภาษีอากรได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาว่ามีขึ้นตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 13 มาแล้ว

14.       ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมล้านนาเริ่มมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่เท่าใด

(1)       10       (2) 13  (3) 15  (4) 16

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ

15.       ใครคือผู้ที่นำระเบียบวิธีการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาของชาวตะวันตกมาใช้เป็นแนวทางการศึกษาในประเทศไทยเป็นท่านแรก         

(1) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(2)       พระยาอนุมานราชธน

(3) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    

(4) พระยาดำรงราชานุภาพ

ตอบ 2 หน้า 3261 – 263, (คำบรรยาย) พระยาอนุมานราชธน เดิมมิซื่อว่า หลีกวงหยง” ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อไทยว่า ยง” และได้รับนามสกุลพระราชทานว่า เสถียรโกเศศ” เป็นผู้ที่นำ ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาของชาวตะวันตกมาใช้เป็นแนวทางการศึกษาในประเทศไทย เป็นท่านแรก และเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาวิชามานุษยวิทยาของไทยเป็นอย่างมาก จึงทำให้ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นปรมาจารย์สาขามานุษยวิทยารุ่นแรกของไทย

16.       นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษยกย่องว่าผู้ใดเป็นนักมานุษยวิทยาคนแรกของโลก

(1) ทาซิตัส       (2)       ทาเลส (3) ชาร์ลส์ ดาร์วิน        (4)     ฮีโรโดตัส

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

17.       ใครคือผู้ที่เขียนเรื่องราวของคนจีนและอารยธรรมอันสูงส่งของชนในซีกโลกตะวันออก

(1) ฮีโรโดตัส    (2)       ยอร์จ ชาลเลอร์            (3) ไดแอน ฟอลซี่         (4)       มารโคโปโล

ตอบ 4 หน้า 5 ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 มารโคโปโล ผู้ซึ่งเคยรับราชการในจีนสมัยกุบไลข่าน เป็นเวลานานถึง 17 ปี ได้เขียนเรื่องราวของคนจีนและอารยธรรมอันสูงส่งของชนในซีกโลกตะวันออกเผยแพร่ในยุโรป ส่งผลให้ความเชื่อของชาวยุโรปที่ว่า ศูนย์กลางของอารยธรรมของโลกมีอยู่เฉพาะในทวีปยุโรปนั้นค่อย ๆ ลดลง

18.       สิ่งที่เราศึกษาต้องมีกรอบเป็นเครื่องรองรับ จึงจะทำให้เกิดความเข้าใจ” เป็นคำกล่าวของใคร

(1) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ          (2) ชาร์ลส์ ดาร์วิน

(3)       พระยาอนุมานราชธน  (4) ไดแอน ฟอสซี่

ตอบ 3 หน้า 38 พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวอยู่เสมอว่า สิ่งที่เราศึกษาต้องมีกรอบเป็นเครื่องรองรับ จึงจะทำให้เกิดความเข้าใจ” อย่างถ่องแท้และเป็นเหตุผลอันง่ายต่อการเสริมเติมแต่งความรู้ต่อไปในอนาคต ซึ่งหมายความว่า ท่านได้เริ่มให้ความสนใจที่จะใช้กรอบความคิดและระเบียบวิธีศึกษา ทางมานุษยวิทยาตะวันตกมาเป็นแนวทางในการศึกษาสังคมและวัฒนธรรม จึงเป็นผลทำให้ สาขามานุษยวิทยาในประเทศไทยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

19.       เสถียรโกเศศ มีความสัมพันธ์กับท่านใดต่อไปนี้

(1) กรมพระยาดำรงราชานุภาพ          (2) พระยาประเสริฐสุนทราศรัย

(3)       เจ้าพระยาจมื่นไวยวรนาถ       (4) พระยาอนุมานราชธน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

20.       Physical Anthropology ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด

(1) Human Evolution         (2) Cultural Anthropology

(3) Human Variation          (4) ข้อ 1 และ 3

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

21.       ข้อใดคือความหมายของคำว่า ตำนาน

(1) เรื่องที่เขียนจากเค้าความจริง         

(2) เรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

(3) เรื่องราวที่มีและเล่าสืบกันมาแต่ปางหลัง  

(4) เรื่องราวในอดีตที่เกี่ยวกับเรื่องจริงไม่อิงนิยาย

ตอบ 3 หน้า 10 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ระบุว่า 1. ตำนาน คือ เรื่องราว ที่แสดงกิจการอันมีมานานแล้วแต่ปางหลังหรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมา 2. สารคดี คือ เรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ 3. พงศาวดาร คือ เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น 4. นิทานท้องถิ่น คือ เรื่องที่เล่าจากปากต่อปากของชาวบ้าน

22.       ศิลาจารึกใดที่เป็นของคนไทยและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

(1) ศิลาจารึกแห่งเมืองเชียงของ          

(2) ศิลาจารึกขอม

(3) ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง            

(4) ศิลาจารึกแห่งอาณาจักรทวาราวดี

ตอบ 3 หน้า 3 ศิลาจารึก เป็นงานเขียนที่บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้บนแผ่นหินทำให้คนในยุคปัจจุบัน สามารถรับรู้เรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี ศิลาจารึกที่เป็นของคนไทยและเป็นที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลาย คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

23.       การศึกษาตามแนว ชีววัฒนธรรม” เป็นการศึกษาในข้อใด 

(1) วิวัฒนาการทางชีวภาพของมนุษย์

(2)       สิ่งแวดล้อม     

(3) วัฒนธรรมที่สร้างขึ้น          

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 1315 การศึกษาตามแนว ชีววัฒนธรรม” (Biocultural Approach) ของนักมานุษยวิทยา- กายภาพ เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการวิวัฒนาการทางชีวภาพของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์อย่างสมบูรณ์

24.       การพัฒนาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมาเป็นกลุ่มสัตว์ ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ เรียกว่าอะไร

(1) Genes  (2) Logos   (3) Primate        (4) Paleotology

ตอบ 3 หน้า 16 – 17 สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นครั้งแรกนั้นจะมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาก็จะมีเซลล์มากขึ้นจนกลายเป็นพืช สัตว์นํ้า สัตว์บก และพัฒนาก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มสัตว์ที่เรียกว่า ไพรเมต (Primate) ซึ่งไพรเมตนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์

25.       การศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เรียกว่าวิชาอะไร

(1)       Human Sciences     (2) Human Adaptopology

(3)       Human Ecology       (4) Human Andropology

ตอบ 3 หน้า 20335 มนุษยนิเวศวิทยาหรือนิเวศวิทยามนุษย์ (Human Ecology) เป็นวิทยาคาสตร์ สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไมีมีชีวิต รวมทั้งในด้านโครงสร้างและการพัฒนาชุมชนหรือสังคมว่ามนุษย์ได้ปรับปรุงสภาพชีวิตของตน ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ในสังคมวิทยาบางครั้งใช้คำนี้ในความหมายเดียวกับคำว่า “Social Ecology”

26.       หัวใจหลักของการศึกษาเกี่ยวกับวิชามานุษยวิทยากายภพคืออะไร

(1) Anthropological study

(2)       Empirical study        (3) Humanism   (4) Physical Anthropology

ตอบ 2 หน้า 21 หัวใจหลักของการศึกษาเกี่ยวกับวิชามานุษยวิทยากายภาพ คือ การเรียนรู้จากข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ (Empirical Study) ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ที่เน้นการศึกษาจากข้อเท็จจริง หลักฐานที่ค้นพบ การสังเกต การวัดขนาดและการคำนวณอายุของหลักฐานที่ได้รับ

27.       กระดูกส่วนใดของมนุษย์ที่นิยมนำมาทำการศึกษามากที่สุด

(1)       กะโหลก          (2) สะโพก       (3) เล็บ            (4) ฟัน

ตอบ 4 หน้า 22 – 23 กระดูกที่นักมานุษยวิทยากายภาพนิยมนำมาใช้ในการศึกษามากที่สุดก็คือ ฟัน ทั้งนี้เพราะฟันเป็นกระดูกที่มีความคงทนและคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ใน ซากดึกดำบรรพ์ของไพรเมตที่เสียชีวิตมาแล้วนับหมื่นนับแสนปี (กระดูกส่วนอื่นที่พบมาก รองลงมาคือ ขากรรไกร แขน ขา หัวกะโหลก ฯลฯ)

28.       วิธี โปแตสเซียม อาร์กอน” เป็นวิธีการใช้ทำอะไร   

(1) คำนวณขนาดของร่างกาย

(2)       คำนวณช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่    (3) คำนวณอายุของโครงกระดูก         (4) คำนวณหาอุณหภูมิของโลก

ตอบ 2 หน้า 24 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการคำนวนหาอายุหรือ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตหรือากดึกดำบรรพ์ คือ การคำนวณด้วยวิธีคาร์บอน-14 และวิธีโปแตสเซียม อาร์กอน กับซากกระดูกของมนุษย์โบราณ ซึ่งทำให้คาดคะเนกาลเวลาได้ ค่อนข้างแม่นยำ

29.       การศึกษาเรื่องราวของการวิวัฒนาการ ต้องอาศัยการวิเคราะห์อะไรเป็นหลัก           

(1) เครื่องมือเครื่องใช้

(2)       ซากกระดูกและอวัยวะ            (3) สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ            (4) เครื่องประดับ

ตอบ 2 หน้า 16 นักมานุษยวิทยากายภาพศึกษาเรื่องราวของการวิวัฒนาการของมนุษย์ โดยอาศัยการวิเคราะห์ซากกระดูกและอวัยวะซึ่งเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ ซากเน่าเปื่อย หรือฟอสซิล (Fossil) ของสิ่งมีชีวิตที่เคยมีชีวิตในอดีต แลัวนำมาเปรียบเทียบกับโครงสร้างกายวิภาคของสัตว์และมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน เพื่อสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับสายการวิวัฒนาการจนกลายเป็นโฮโม เซเปียนส์

30.       ส่วนใดของซากมนุษย์ที่ใช้ในการบ่งชี้เพศได้ดี

(1)       อวัยวะเพศ      (2) กะโหลก     (3) กระดูกสะโพก       (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 24 เกณฑ์ที่จะชี้ว่าซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์โบราณเป็นเพศใดนั้น สามารถดูได้จาก กระดูกสะโพก โดยกระดูกสะโพกของเพศหญิงจะมีโครงสร้างแบน กว้าง และอยู่ในตำแหน่งต่ำ เพื่อจะสามารถผายออกได้เมื่อตั้งครรภ์ ส่วนกระดูกสะโพกของเพศชายจะอยู่ในระดับสูงและ แคบกว่ามาก

31.       ไพรเมต” คืออะไร   

(1) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

(2)       สัตว์เซลล์เดียว           

(3) สัตว์เลื้อยคลาน     

(4) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เลือดอุ่น มีกระดูกสันหลัง

ตอบ 4 หน้า 176369 ไพรเมต เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง มีเลือดอุ่น และมีกระดูกสันหลังโดยไพรเมตรุ่นแรกเกิดขึ้นบนโลกในยุคซีโนโซอิกเมื่อราว 65 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งนักมานุษยวิทยา ถือว่าไพรเมตเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการการเป็นมนุษย์ โดยสัตว์ในลำดับนี้แบ่งออกเป็น 1. ลำดับตํ่าสุด ได้แก่ ลิงเลมูร์ ลิงทาร์เซีย 2. ลำดับสูง ได้แก่ ลิง ค่าง ชะนี และวานร (เช่น ชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง) ซึ่งต่อมาวานรได้วิวัฒนาการเป็นมนุษย์โบราณและ สุดท้ายพัฒนาเป็นโอโม เซเปียนล์ หรือมนุษย์ยุคปัจจุบัน

32.       ไพรเมตอุบัติขึ้นในโลกครั้งแรกในราวกี่ล้านปีมาแล้ว

(1) 50  

(2) 65  

(3) 75  

(4) 80

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

33.       นักมานุษยวิทยากายภาพท่านใดที่ได้ศึกษาพฤติกรรมของลิงอุรังอุตัง

(1) ฟิลลิส ฮอลินาว      

(2) เจน กูดเดลล์          

(3) ไดแอน ฟอสซี่         

(4) เซนต์ ออกัสติน

ตอบ ใม่มีข้อใดถูก หน้า 1872 – 73 นักมานุษยวิทยากายภาพที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของไพรเมต ที่ไม่ใช่มนุษย์ในสภาพธรรมชาติ ได้แก่ 1. ไดแอน ฟอสซี่ ศึกษาพฤติกรรนของลิงกอริลลา ในประเทศแองโกล่า 2. เจน กูดเดลล์ ศึกษาพฤติกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของลิงในแถบ แอฟริกาตะวันออกและชิมแปนซีนประเทศยูกานดา 3. ฟิลลิส ฮอลินาว ศึกษาพฤติกรรม ของลิงแลงเกอร์ในประเทศอินเดีย   4. บิรุท กอลดิกาส-บรินดามลร์ ศึกษาพฤติกรรมของลิงอุรังอุตังในหมู่เกาะบอร์เนียว ลิงแบมบูนในแอฟริกา และลิงมาคัสในตอนกลางของ ประเทศญี่ปุ่น

34.       นักมานุษยวิทยากายภาพท่านใดที่เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลิงแลงเกอร์

(1)       ฟิลลิส ฮอลินาว           (2)       เจน กูดเดลล์   (3) ไดแอน       ฟอสซี่  (4)       เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

35.       นักมานุษยวิทยากายภาพท่านใดทำการศึกษาเกี่ยวกับลิงกอริลลา

(1)       ฟิลลิส ฮอลินาว           (2)       เจน กูดเดลล์   (3) ไดแอน       ฟอสซี่  (4)       เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

36.       การศึกษากลุ่มไพรเมตในสกุลโฮโม มีชื่อเรียกเฉพาะว่าอะไร

(1) มนุษยนิเวศวิทยา

(2)       มานุษยวิทยากายภาพ          

(3) วิชามนุษย์โบราณวิทยา    

(4) มานุษยวิทยาชีวภาพ

ตอบ 3 หน้า 19 วิชามนุษย์โบราณวิทยา (Human Paleotology) เป็นวิชาที่ทำการศึกษากลุ่มไพรเมตโบราณในสกุลโฮโม โดยศึกษาวิเคราะห์ซากโครงกระดูกและชิ้นส่วนกระดูกที่ค้นพบ (Fossil Remains)

37.       ข้อใดที่ไม่สามารถมองเห็นความแตกต่างของมนุษย์ด้วยตาเปล่า

(1) สีผิว           (2)       ดวงตา (3) เส้นผม       (4)       กลุ่มเลือด

ตอบ 4 หน้า 1999 ความแตกต่างระหว่างมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         ความแตกต่างที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Phenotype) ได้แก่ สีผิว สีของนัยน์ตา เส้นผม รูปทรงของใบหน้า ขนาดของร่างกาย กระดูกขากรรไกร ฯลฯ

2.         ความแตกต่างภายในยีนที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Genotype) ได้แก่ กลุ่มเลือด คุณลักษณะด้อย (Recessive Trait) ที่มีอยู่ในยีน ฯลฯ

38.       Man ในความหมายของวิชามานุษยวิทยา หมายถึงข้อใด

(1) มนุษย์เพศชาย       (2)       คนและสัตว์เพศผู้        (3) สิ่งมีชีวิตเพศผู้        (4)       มนุษย์ทั้งปวง

ตอบ 4 หน้า 20 ในวิชามานุษยวิทยากายภาพนั้น จะใช้คำว่า “Man” ในความหมายที่กว้างขวางกว่า ความหมายที่ว่า ผู้ชาย” (Male)โดยจะใช้คำว่า “Man” ในความหมายกว้างขวางรวมไปถึง มนุษย์ทั้งปวง” (Human Beings)

39.       ข้อใดไม่จัดอยู่ในวิธีการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์

(1)       การตั้งสมมุติฐาน        (2) การสังเกต (3) การคาดเดา           (4) การทดลอง

ตอบ 3 หน้า 21 วิธีการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามใช้การสังเกตและการทดลองจาก หลักฐานที่ค้นพบจริง ๆ เพื่อนำมาพิสูจน์ตามสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น ซึ่งการพิสูจน์จะกระทำกัน หลายครั้งจนแน่ใจว่าความรูที่ได้รับเป็นเหตุเป็นผลตามสมมุติฐานหรือไม่ และในขั้นสุดท้าย จะสรุปเป็นทฤษฎีและกฎเพื่อใช้ในการอธิบายต่อไป

40.       ใครคือผู้ที่ทำการเสนอทฤษฎีการวิวัฒนาการ

(1) Georges Louis Leclerc

(2) Charles Darwin        

(3) Nicolus Copernicus    

(4) Giordano Bruno

ตอบ 2 หน้า 273576 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เป็นผู้เสนอทฤษฎีการวิวัฒนาการ และเสนอ แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกสรรทางธรรมชาติ โดยได้เขียนสรุปข้อคิดเห็นในเรื่องการเลือกสรรตาม ธรรมชาติเบื้องต้นในปี ค.ศ. 1844 และในปี ค.ศ. 1859 จึงได้พิมพ์เป็นหนังสือชื่อ On Origin of Species ซึ่งเป็นหนังสือเล่มที่นำชื่อเสียงก้องโลกให้แก่เขา และต่อมาในปี ค.ศ. 1871 ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับบรรพบุรุษของมนุษย์ชื่อ The Descent of Man

41  ใครคือผู้ที่กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีจุดเริ่มต้นมาจากนํ้า

(1) Heraclitus    

(2) Tales    

(3) Aristotle       

(4) Lucretius

ตอบ 2 หน้า 27 – 28 ทาเลส (Tales) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่างปี 640 – 546 ก่อนคริสต์ศักราช กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีจุดเริ่มต้นมาจากนํ้า” ซึ่งจากทัศนะนี้เองทำให้ทาเลสเป็นคนแรกที่นำเสนอแนวคิด ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์แทนการกล่าวตามนิยายปรัมปราดังเช่นคนร่วมสมัยอื่น ๆ ที่ชี้นำว่า สรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตในโลกล้วนได้รับการสร้างขึ้นจากอำนาจเหนือรรมชาติแทบทั้งสิ้น

42.       De Rerum Natura เป็นผลงานการเขียนของใคร

(1) St. Augustin 

(2) Nicolus Copernicus

(3) Lucretius 

(4) Giordano Bruno

ตอบ 3 หน้า 28 ลูเครติอุส (Lucretius) ซึ่งมีชีวิตอยู่ราว 99 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้เขียนบทกลอนชื่อ “De Rerum Natura” โดยกล่าวว่า พืชจะเกิดก่อนสัตว์ สัตว์ที่มีอวัยวะของร่างกายที่อยู่ใน ชั้นสูงขึ้นจะมีการแยกกลุ่มตามเพศ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการวิวัฒนาการจากสัตว์ชั้นต่ำกว่า และ สภาวะธรรมชาติที่ผันแปรจะก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดแปลกใหม่ที่มีสภาพร่างกายที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมใหม่นั้น

43.       ในยุคใดที่ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ของยุโรปหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว

(1) ยุคดึกดำบรรพ์       

(2) ยุคหิน        

(3) ยุคเก่า        

(4) ยุคกลาง

ตอบ 4 หน้า 28 – 29, (คำบรรยาย) ยุคกลางหรือยุคมืดของยุโรป เป็นยุคที่ความเจริญทางวิทยาศาสตร์หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว ทั้งนี้เพราะผู้คนต้องยอมรับและกระทำตามคำอธิบายของศาสนาในเรื่อง การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและมนุษยชาติทั้งมวลโดยยุคมืดของยุโรปได้คลี่คลายลงในคริสต์ศตวรรษ ที่ 16 เมื่อศาสนจักรได้รับการท้าทายจากปรัชญาเมธีทางการเมืองที่พยายามผลักดันอำนาจของสันตะปาปาที่กรุงโรมให้พ้นจากอำนาจทางการเมือง

44.       ยุคมืดของยุโรปที่ถูกศาสนจักรควบคุม ได้คลี่คลายลงในคริสต์ศตวรรษที่เท่าใด

(1)16   (2)17   (3)18   (4)19

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

45.       ใครคือบิดาแห่งการศึกษาสาขาสัตววิทยา

(1) Charles Lyll 

(2) Eramus Darwin

(3) George Cuvier

(4) Georges Louis Leclerc

ตอบ 3 หน้า 33 ยอร์จ คูเวียร์ (George Cuvier) น้กวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้รับการขนานนามว่าเป็น บิดาแห่งการศึกษาสาขาสัตววิทยา” ที่เชี่ยวชาญในการศึกษาด้านกระดูก โดยเขา ไม่เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ที่บังเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการจากพันธุ์เก่า แต่เห็นว่า สิ่งมีชีวิตทุกกลุ่มทุกพันธุ์ได้รับการกำหนดโครงสร้างของรูปร่างให้เป็นเช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ แน่นอนตายตัว แต่เมื่อโลกต้องพบกับภัยพิบัติอย่างร้ายแรง จะทำให้สิ่งมีชีวิตบางส่วน ถูกทำลายลง จากนั้นสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ก็จะอุบัติขึ้นและขยายพันธุ์ต่อไป

46.       Theory of Fixity of Species คืออะไร

(1) ทฤษฎีการวิวัฒนาการ       (2) ทฤษฎีเสถียร

(3)       ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง          (4) ทฤษฎีสถิต

ตอบ 4 หน้า 35 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบนกกระจาบ 13 ชนิด ที่อาศัยอยู่บน หมู่เกาะกาลาปาโกสในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับประเทศโคลัมเบีย โดยพบว่า นกดังกล่าว มีความแตกต่างกันทั้ง ๆ ที่สภาพแวดล้อมของแต่ละเกาะไม่ได้แตกต่างกันทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้เขาจึงตั้งคำถามว่าอะไรคือสาเหตุที่ก่อให้เกิดความแตกต่างทางด้าน ร่างกายหากมิใช่ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ซึ่งจากข้อสงสัยนี้ทำให้เขาให้ความเชื่อถือทฤษฎีสถิต (Theory of Fixity of Species) น้อยลง

47.       หนังสือเล่มใดที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ชาร์ลส์ ดาร์วิน     

(1) The Descent of Primate

(2)       On Origin of Species        

(3) System Naturae 

(4) Theory of Biology

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ

48.       ข้อใดที่ไม่ใช่หลักการที่ก่อให้เกิดการวิวัฒนาการ

(1) Mutation     (2) Speciation   (3) Migration    (4) G.enetic Drift

ตอบ 2 หน้า 39 – 42 หลักการที่ก่อให้เกิดการวิวัฒนาการ ได้แก่

1.         การผ่าเหล่าหรือมิวเทชั่น (Mutation)

2.         การเคลื่อนย้ายของยีนหรือไมเกรชั่น (Migration)

3.         โอกาสในการจับคู่ของยีน (Genetic Drift)

4.         การจัดระเบียบใหม่ภายในโครงสร้างของยีน (Recombination)

5.         การเลือกสรรตามธรรมชาติ (Natural Selection)

49.       นักปราชญ์ท่านใดที่มีทัศนะว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกสามารถเคลื่อนไหวได้

(1)       Tales        (2) Aristotle       (3) Lucretius      (4) Heraclitus

ตอบ 4 หน้า 28 เฮราคลิตัส (Heraclitus) กล่าวว่า ทุกสิ่ง (ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต) บนโลกนี้สามารถเคลื่อนไหวได้” ซึ่งนับว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่ตรงข้ามกับแนวคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง จะมีสภาพคงที่ หยุดนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

50.       นักวิทยาศาสตร์ท่านใดที่ทำการจำแนกและจัดลำดับพืชและสัตว์    

(1) Georges Louis Leclerc

(2)       Carolus Linnaeus     (3) William Harvey   (4) Giordano Bruno

ตอบ 2 หน้า 29 – 30 คาโรลัส ลินเน่ (Carolus Linnaeus) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1707 – 1773 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับระบบการจำแนกพืชและสัตว์ชื่อ “Systema Naturae” โดยได้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1758 ซึ่งนับว่าเป็นผลงานที่ทำให้ ลินเน่มีชื่อเสียงอย่างมากเพราะเขาได้จำแนกพืชและสัตว์ออกเป็นกลุ่ม ๆ อย่างเป็นระบบ และ ตั้งชื่อเรียกพืชและสัตว์แต่ละประเภทตามสปีชี่ โดยพิจารณาถึงโครงสร้างและหน้าที่ทางชีวภาพ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ความสำเร็จของลินเน่ก่อให้เกิดคำกล่าวที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง สรรพสิ่งขึ้นบนโลก ส่วนลินเน่เป็นผู้จัดจำแนกอย่างเป็นระบบ

51.       ข้อใดที่หมายถึง การเลือกสรรตามธรรมชาติ

(1) Natural Selection         

(2)       Mutation 

(3) Genetic Drift        

(4)            Nationalization

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

52.       นักปราชญ์ท่านใดที่ตั้งสมมุติฐานว่า จักรวาลจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

(1) ชาร์ลส์ ดาร์วิน        

(2)       ชาร์ลล์ ลีลล์     

(3) เซนต์ ออกัสติน      

(4)       ยอร์จ คูเวียร์

ตอบ ไมุมีข้อใดถูก หน้า 30 ยอร์จ หลุยส์ เลอเคลร์ (Georges Louis Leclerc) หรือที่รู้จักกันในนาม บุฟฟง” (Buffon)ขุนนางชาวฝรั่งเศส มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1707 – 1778ได้ตั้งสมมุติฐาน ว่า จักรวาลจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่” จากสมมุติฐานดังกล่าว บุฟฟง จึงให้ความเห็นต่อไปอีกว่า เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะมองสิ่งมีชีวิตทั้งมวลว่าเป็นกระบวนการของระบบที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ทุกสิ่งหาได้มีโครงสร้างทางกายภาพที่แน่นอนตายตัว

53.       มีการค้นพบความรู้เกี่ยวกับเซลล์และโมเลกุลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่เท่าใด

(1) ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20            

(2) ตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20

(3)       ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21     

(4) ตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 21

ตอบ.2 หน้า 273740 ตอนกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นพบความรู้เกี่ยวกับเซลล์และโมเลกุลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจในเรื่องโมเลกุลและ การเปลี่ยนแปลงภายในยีน จึงทำให้เข้าใจกลไกของกระบวบการวิวัฒนาการอย่างละเอียดยิ่งขึ้น

54.       เมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว นักปราชญ์ชาติใดที่ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับโลก จักรวาล และมนุษย์

(1) โรมัน          (2)       กรีก     (3)       ฝรั่งเศส            (4)       สเปน

ตอบ 2 หน้า 27 เมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับโลก จักรวาล และมนุษย์ โดยได้กล่าวยํ้าว่า สิ่ง 3 สิ่งนี้มีความเกี่ยวพันและสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น

55.       ลูเครติอุส ได้เขียนบทกลอนชื่อว่าอะไร

(1) Syatema Naturae (2)     Kadeir Teyrnon (3)    Natural Systems (4)  ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

56.       ท่านใดที่ได้อธิบายว่า มนุษย์ทุกชีวิตในโลกสืบสายตระกูลมาจากอาดัมและอีวา

(1)       ชาร์ลล์ ดาร์วิน (2)       ฮีโรโดตัส          (3)       ยอร์จ คูเวียร์    (4)       เซนต์ ออกัสติน

ตอบ 4 หน้า 28 เซนต์ ออกัสติน อธิบายวา มนุษย์ทุกชีวิตในโลกสืบสายตระกูลมาจากอาดัมและอีวาซึ่งเป็นบรรพบุรุษคู่แรกที่พระเจ้าสร้างขึ้นเมื่อราว 6,000 ปีมาแล้ว

57.       ลินเน่ มีชื่อเสียงมากจากการเขียนหนังสือเล่มใด      

(1) On Origin of Species

(2)       The Descent of Man         (3)       Systema Naturae     (4) De Return Natura

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

58.       บุฟฟง” คือชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของใคร       

(1) มาร์โคโปโล

(2) ยอร์จ หลุยส์ เลอเคลร์        (3)       เซนต์ ออกัสติน            (4) คาโรลัส ลินเน่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

59.       นักวิทยาศาสตร์ท่านใดที่เป็นผู้เสนอ หลักยูนิฟอร์ม (Uniformitarionism)

(1)       ชาร์ลส์ ดาริวิบ (2)       คาร์ล มาร์ก      (3)       คาโรลัส ลินเน่  (4)       ชาร์ลส์ ลีลล์

ตอบ 4 หน้า 33 ชาร์ลส์ ลีลล์ (Charles Lyll) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นผู้เสนอ หลักยูนิฟอร์ม” (Uniformitarionism) เขาได้คัดค้านทฤษฎีภัยพิบัติของคูเวียร์ โดยกล่าวแย้งว่าชั้นหินของโลก ที่ก่อรูปมาเป็นดังเช่นทุกวันนี้ได้ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เรื่อยมา

60.       ใครคืออาจารย์ของชาร์ลล์ ดาร์วิน     

(1) ยอร์จ คูเวียร์

(2)       จอห์น สตีเวนล์ เฮนสโลว์         (3)       ชาร์ลส์ ลิลล์     (4) อีรามัส ดาร์วิน

ตอบ 2 หน้า 34 – 35 ชาร์ลส์ ดาร์วิน เกิดในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1809 เขาเข้าศึกษาระดับ ปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี ค.ศ. 1828 และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1831 ณ ที่นี้เองที่ทำให้เขาเริ่มให้ความสนใจความรู้สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเมื่อได้เป็นลูกศิษย์ ของศาสตราจารย์ทางพฤกษศาสตร์ชื่อ จอห์น สตีเวนส์ เฮนสโลว์

61.       ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้เดินทางรอบโลกไปกับเรืออะไร

(1) S.M.H. Bridge       

(2)       H.S.M. Bengi    

(3)       H.M.S. Beagle  

(4)       ผิดทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 35 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้รับเชิญให้เดินทางรอบโลกไปกับเรือชื่อ H.M.3. Beagleโดยเริ่มออกเดินทางจากเมืองท่าของประเทศอังกฤษในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1831 และ กลับถึงประเทศอังกฤษในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 รวมเวลาเดินทางรอบโลกราว 5 ปี

62.       ใครคือผู้ที่เสนอแนวคิด การเลือกสรรทางธรรมชาติ

(1) ชาร์ลส์ ดาร์วิน        

(2)       คาร์ล มาร์ก      

(3)       คาโรลัส ลินเน่  

(4)       ชาร์ลส์ ลีลล์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ

63.       ชาร์ลส์ ดาร์วิน ใช้เวลาในการเดินทางรอบโลกกี่ปี

(1)2ปี  

(2)3ปี  

(3)       5ปี       

(4)       7ปี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

64.       ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้แวะที่เกาะกาลาปาโกส และเขาได้ทำการศึกษาสัตว์ประเภทใดที่เกาะนี้

(1) นกเขา        (2)       นกกระจาบ      (3)       นกขุนทอง        (4)       นกกระตั้ว

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

65.       แนวความคิดในการเลือกสรรทางธรรมชาติ หมายถึงอะไร

(1) พืชและสัตว์มีความแตกต่างกัน     (2) ทุกชีวิตจะเพิ่มขึ้นตามแบบเรขาคณิต

(3)       ทุกชีวิตต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด        (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 36 แนวความคิดในการเลือกสรรทางธรรมชาติตามทัศนะของชาร์ลส์ ดาร์วิน มีดังนี้

1.         พืชและสัตว์ทั้งหลายจะมีความแตกต่างกัน    2. ทุกชีวิตจะเพิ่มปริมาณเป็นทวีคูณตาม

ระบบเรขาคณิต           3. ทุกชีวิตจะต้องปรับตัวและต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตรอด

66.       มนุษย์ยุคต้นโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ เรียกว่าอะไร

(1) ชวา            (2) ปักกิ่ง         (3) สวอนสโคมบ์         (4) โครมันยอง

ตอบ 4 หน้า 89 – 90 มนุษย์โครมันยอง (Cro-magnon) เป็นโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ ในยุคต้น โดยมีการค้นพบซากกระดูกของมนุษย์โครมันยองเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านโครมันยอง บริเวณตอนใต้ ของประเทศฝรั่งเศส มนุษย์กลุ่มนี้มีชีวิตอยู่ในระหว่างครึ่งหลังของยุคนํ้าแข็งรุ่นสุดท้ายที่มีอากาศ อบอุ่นและหนาวสลับกันไป เป็นมนุษย์ที่มีความสามารถในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยไม้ กระดูกและเขาสัตว์  ปั้นรูป ทำเครื่องปั้นดินเผา และสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมอื่น ๆ ได้ เช่น วิธีการล่าสัตว์ ศิลปะ และพิธีกรรม นอกจากนี้ยังริเริ่มพิธีการฝังศพด้วย

67.       ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นประสาท ตับ จัดอยู่ในเซลล์ประเภทใด

(1)โครโมโซม   (2)โซมาติกเซลล์          (3) เซลล์สืบพันธุ์         (4) เซลล์ร่างกาย

ตอบ2 หน้า 47 เซลล์ในร่างกายของมนุษย์ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โซมาติกเซลล์ (Somatic Cells) โดยในร่างกายของคนเรานั้นจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อ (Tissues) หลายประเภท ที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และตับ เป็นต้น ซึ่งเนื้อเยื่อ เหล่านี้เป็นที่รวมของโซมาติกเซลล์นับเป็นจำนวนหลายพันล้านเซลล์ โดยโซมาติกเซลล์จะมี การสร้างขึ้นใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไปในทุก ๆ 7 ปี 2. เซลล์สืบพันธุ์ (Sex Cells)จะทำหน้าที่นำรหัสที่เป็นคุณลักษณะของพ่อแม่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานทางพันธุกรรม

68.       หน่วยของสารประเภทต่าง ๆ ประกอบกันขึ้นเป็นยีนอยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ คืออะไร

(1) โครโมโซม  (2)       โซมาติกเซลล์  (3)       เซลล์สืบพันธุ์   (4)       เซลล์ร่างกาย

ตอบ 1 หน้า 49 โครโมโซม คือ หน่วยของสารประเภทต่าง ๆ ที่ประกอบกับขึ้นเป็นยีนอยู่ภายใน นิวเคลียสของเซลล์ โดยโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าเป็นชนิดหรือพันธุ์เดียวกันกจะมีลักษณะเหมือนกัน

69.       ข้อใดที่ไม่ใช่สารทางชีวภาพที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์

(1) คารโบไฮเดรต        (2)       กรดนิวคลิอิก   (3)       ไขมัน   (4)       ผิดทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 49 เซลล์ (Cell) ประกอบด้วยสารทางชีวภาพหลัก 4 ชนิด คือ

1.         คารโบไฮเดรต (Carbohydrates)        2. ไขมัน (Lipid)

3.         กรดนิวคลิอิก (Nucleic Acids) 4. โปรตีน (Proteins) (สำคัญที่สุด)

70.       สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของโมเลกุลดีเอ็นเอมีกี่ตัว

(1) 1    (2)       2          (3)       3          (4)       4

ตอบ 4 หน้า 53 – 54 โมเลกุลดีเอ็นเอ (Deoxyribonucleic Acid ะ DNA) เป็นสารจำพวกโปรตีนพิเศษ ที่ถือว่าเป็นตัวนำคุณลักษณะทางชีวภาพของพ่อและแม่ไปสู่ลูกหลาน ซึ่งประกอบด้วยสารเคมี 4 ตัว ได้แก่ Adenine, Guanine Cytosine และ Thymine นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของนํ้าตาลและฟอสเฟตอันเป็นตัวนำคุณลักษณะทางพันธุกรรมด้วย

71.       ท่านใดที่ได้นำเสนอรายงานการวิจัยต่อที่ประชุมของ Natural History Society of Biunn

(1) คาร์ล วอน  เนเกลี  

(2)       เมนเดล            

(3)       ฟรีดริช ฟรานซ์ 

(4)       ชาร์ลล์ ลีลล์

ตอบ 2 หน้า 57 – 60 เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) พระชาวออสเตรีย เป็นลูกชาวนา เกิดที่หมู่บ้านซิเลเซียน ประเทศออสเตรีย เขาได้ค้นพบกฎแห่งพันธุกรรม (พันธุศาสตร์) เป็นคนแรก โดยได้ทำการค้นคว้าทดลองด้วยการนำถั่วผิวเรียบกับถั่วผิวขรุขระมาผสมข้ามพันธุ์ ภายหลังที่ได้ ทำการค้นคว้าทดลองเป็นเวลานานถึง 8 ปี จึงได้เขียนรายงานการวิจัยต่อที่ประชุมของ Natural History Society of Brunn ในปี ค.ศ. 1865 แต่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจในงานขชิ้นนี้เลย ผลงาน การวิจัยของเมนเดลได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางภายหลังจากมีผู้นำผลงานของเขาไปศึกษาอย่าง จริงจัง และได้รับการยอมรับเมื่อราวปี ค.ศ. 1900 หรือภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว 16 ปี

72.       กรดนิวคลิอิก มีกี่ชนิด

(1) 2    

(2) 3    

(3) 4    

(4) 5

ตอบ 1 หน้า 49 ภายในนิวเคลียสจะมีกรดนิวคลิอิก 2 ชนิดที่ทำหน้าที่หลักในการถ่ายทอดรหัส ทางพันธุกรรม คือ   1. ดีเอ็นเอ (Deoxyribonucleic Acid : DNA) 2. อาร์เอ็นเอ

(Ribonucleic Acid : RNA)

73.       DNA ทำหน้าที่อะไร

(1) ถ่ายทอดรหัสทางพันธุกรรม

(2)       สร้างเซลลใหม่ในร่างกาย        (3) ถ่ายทอดรหัสทางเพศ        (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

74.       DNA ทำหน้าที่คล้ายกับอะไร

(1) โครโมโซม  (2)       RNA (3)       โซมาติกเซลล์  (4)       เซลล์ทางเพศ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

75.       โครโมโซมทางเพศของเพศหญิงใช้สัญลักษณใด

(1) XY          (2)       YX     (3)       YY     (4)       XX

ตอบ 4 หน้า 49 โครโมโซมของมนุษย์มีจำนวนทั้งสิ้น 46 ตัว หรือ 23 คู่ โดยในโซมาติกเซลล์จะมีโครโมโซม 2 ประเภท คือ โครโมโซมจำนวน 22 คู่ เรียกว่า ออโตโซม (Autosomes) ส่วนโครโมโซมคู่ที่ 23 เรียกว่า โครโมโซมทางเพศ (Sex Chromosomes) เป็นโครโมโซมที่แตกต่างจากโครโมโซม ตัวอื่น ๆ ทั้งหมด ซึ่งในเพศหญิงจะใช้อักษรแทนว่า XX ส่วนในเพศชายจะใช้อักษรแทนว่า XY

76.       โครมาโซมของมนุษย์ มีทั้งหมดกี่คู่

(1) 46  (2)       44        (3)       23        (4)       22

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ

77.       กระบวนการการแบ่งเซลล์โซมาติกของร่างกายเรียกว่าอะไร

(1) มีโอซิส       (2)       ไมโตซิส           (3)       เซมาซิอิก         (4)       โซมาซิอิก

ตอบ 2 หน้า 49 – 50 การแบ่งแยกเซลล์ (Cell Division) จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.         กระบวนการแบ่งเซลล์โซมาติก เรียกว่า ไมโตซิส (Mitosis) เป็นกระบวนการแบ่งเซลล์ที่ไม่สลับซับซ้อน โดยจะก่อให้เกิดความเจริญเติบโตของร่างกายและทำให้ร่างกายสามารถ ธำรงอยู่ได้ต่อไป ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ Interphase, Prophase, Metaphase, Anaphase และ Telophase

2.         กระบวนการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์หรือเซลล์ทางเพศ เรียกว่า ไมโอซิส (Meios’s) เป็นกระบวนการ แบ่งเซลล์ที่ก่อให้เกิดการสร้างลูกหลาน หรือที่เรียกว่าการสืบพันธุ์ (Reproduction)โดยผ่านกระบวนการพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะ

78.       เราเรียกเซลล์ที่เกิดจากการปฏิสนธิว่าอะไร

(1) ไซโกท        (2) นิวเคลียส   (3) มีโซอิก       (4) มิวเตอิก

ตอบ 1 หน้า 53 ไซโกท (Zygote) คือ เซลล์ใหม่ที่เกิดจากการปฏิสนธิของโครโมโซมของฝ่ายพ่อกับฝ่ายแม่ โดยไซโกทถือเป็นที่รวมคุณลักษณะทางพันธุกรรมของฝ่ายพ่อครึ่งหนึ่งบวกกับฝ่ายแม่ครึ่งหนึ่ง

79.       ใครคือผู้ที่ค้นพบโมเลกุล DNA

(1)ฟรานซิส คริค          (2) เจมส์ วัทสัน           (3)มอริช วิลกินส์          (4)ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 54 การค้นพบโมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) ในระหว่างปี ค.ศ. 1951 – 1953 นั้น เป็นผล มาจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งผู้ที่ค้นพบโมเลกุลดีเอ็นเอ คือ เจมส์ ดี. วัทสัน (James D. Watson), ฟรานซิส คริค (Francis Crick) และมอริช วิลกินส์ (Maurice Wilkins) โดยผลงานดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามได้รับรางวัลโนเบลสาขา การแพทย์และกายวิภาคศาสตร์ในปี ค.ศ. 1962

80.       อาจารย์ของเมนเดล ได้แนะนำให้เขาเลือกทำแบบใดเพื่อเรียนให้จบ

(1) เดินทางรอบใลกไปกับเรือ (2) ออกบวชเป็นพระ

(3)       ขอทุนรัฐบาลเรียนต่อ   (4) รับจ้างทำงานวิจัยหาเงินเรียนต่อ

ตอบ 2 หน้า 57 ในปี ค.ศ. 1841 เกรเกอร์ เมนเดล ต้องหาเงินด้วยการสอนพิเศษเพื่อนำมาเป็น ค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ เขาทำงานหนักมากจึงทำให้สุขภาพทรุดโทรม จึงตัดสินใจนำเรื่อง อนาคตไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ ฟรีดริช ฟรานซ์ โดยอาจารย์ได้แนะนำให้เขาออกบวช เป็นพระ เพราะจะทำให้เขาสามารถศึกษาต่อจนจบและทำการค้นคว้าวิจัยตามที่ต้องการได้

81.       เมนเดลได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยใด

(1) ออกฟอร์ด  

(2) เวียนนา      

(3) เคมบริดจ์   

(4) ลอนดอน

ตอบ2 หน้า 57 ในขณะที่เกรเกอร์ เมนเดล เป็นพระนั้น เขาไม่อาจร่วมกิจกรรมทางศาสนกิจได้อย่างสมบูรณ์ เพราะสุขภาพไม่ดี จึงขอให้เจ้าอาวาสส่งให้ไปเป็นผู้ช่วยครูในโรงเรียนมัธยม และสามารถ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเวียนนาได้ ณ สถานศึกษาแห่งนี้เขาได้พบกับอาจารย์สาขาพฤกษศาสตร์ ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่ยังผลให้เขาสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทดลองวิจัย ในเวลาต่อมา

82.       เมนเดลได้ทำการทดลองผสมข้ามพันธุ์พืชชนิดใด

(1) ถั่วแขก กับถั่วปากอ้า         

(2) แอปเปิ้ลแดง กับแอปเปิ้ลเขียว

(3)       ถั่วผิวเรียบ กับถั่วผิวขรุขระ     

(4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

83.       ไดโนเสาร์และสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ได้สูญพันธุ์ในยุคใด

(1) พรีแคมเบรียน        

(2) พาลิโอโซอิก           

(3) ซีโนโซอิก    

(4) เมโสโซอิก

ตอบ 4 หน้า 63 ยุคเมโสโซอิก (ระหว่าง 225 – 65 ล้านปีมาแล้ว) เป็นยุคที่น้ำแข้งซึ่งปกคลุมโลก ได้ละลายลง ก่อให้เกิดการพังทลายของภูเขาในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยสิ่งมีขีวิต ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ถือเป็นการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบนโลกของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ในขณะที่สัตว์เลื้อยคลานได้ครองอำนาจเหนือโลก ต่อมาในช่วงกลาง จึงมีนกเกิดขึ้น และช่วงสุดท้ายก็มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่

84.       สัตว์ตระกูลไพรเมตเกิดขึ้นครั้งแรกในยุคใด

(1) พรีแคมเบรียน        (2) พาลิโอโซอิก           (3)       ซีโนโซอิก         (4)       เมโสโซอิก

ตอบ 3 หน้า 6369 ยุคซีโนโซอิก (ระหว่าง 65 ล้านปี – 10,000 ปีมาแล้ว) มีสภาพทั่วไปเหมาะสำหรับ การดำรงชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำให้กล่าวกันว่า ยุคนี้เป็นยุคของสัดว์เลี้ยงลูกด้วยนม” และมีสัตว์ในตระกูลไพรเมตเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ได้แก่ ลิงลมและค่าง หรือที่รียกว่า พรอสิเมียน (Prosimian) เมื่อราว 65 – 58 ล้านปีมาแล้ว และในช่วงสุดท้ายของยุค ระหว่าง 1.6 ล้านปี – 10,000 ปี ได้เกิดมนุษย์สายพันธุโฮโม เซเปียนส์ หรือมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับมนุษย์ปัจจุบัน (ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ)

85.       สัตว์พวกแรกที่เป็นไพรเมตในลำดับย่อยพรอสิมี คืออะไร

(1) ค่าง            (2) อุรังอุตัง      (3)       ชะนี     (4)       ลิงเลมูร์

ตอบ 4 หน้า 71 สัตว์ที่มีวิวัฒนาการเป็นไพรเมตในลำดับย่อยพรอสิมีพวกแรก ไดแก่ ลิงลมหรือลิงเลมูร์ เป็นไพรเมตที่มีจมูกยาว มีลักษณะคล้ายสุนัขจิ้งจอก โดยมีขนาดตั้งแต่เท่าหนูไปจนถึง เท่าสุนัข มีหางใช้ในการทรงตัว แด่ไม่อาจใช้เกาะเกี่ยวกิ่งไม้ได้ ส่วนพรอสิมีลำดับย่อยที่สูงขึ้น ได้แก่ ลิงทาร์เซีย เป็นไพรเมตที่มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 8 นิ้ว มีขนปุกปุย ใบหน้าแบนและ มีนัยน์ตาโตตั้งอยู่ตรงด้านหน้า สามารถหันศีรษะได้รอบ 180 องศา ซึ่งปัจจุบันสามารถพบได้ ตามหมู่เกาะมลายูและฟิลิปปินส์

86.       สัตว์จำพวกชะนีที่มีความว่องไวมากจัดอยู่ในวงศ์ใด

(1) Pongidae      (2) Hominidae  (3) Hominid       (4) Hylobatidae

ตอบ 4 หน้า 72 – 73 วงศใหญ่โฮมินอยดี (Hominoidae) จำแนกออกเป็น 3 วงศ์ คือ

1.         Hylobatidae เป็นสัตว์จำพวกชะนีที่ว่องไวผาดโผน สามารถปีนป่ายห้อยโหนบนต้นไม้ ได้อย่างคล่องแคลว มีความสูงไม่เกิน 3 ฟุต และมีขนาดมันสมองราว 100 ลบ.ซม.ได้แก่ ลิงกิบบอน

2.         Pongidae ซึ่งอาจเรียกว่า เอปหรือวานร เป็นลิงขั้นสูงสุด มีขนาดมันสมองราว 400 – 500 ลบ.ซม. ได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง

3.         Hominidae ถือเป็นวงศ์ที่วิวัฒนาการเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์โบราณและจะกลายมาเป็น มนุษย์ปัจจุบัน

87.       ใครคือผู้ที่ค้นพบโครงกระดูกที่วิวัฒนาการจากออสตราโลพิธิคัสมาเป็นสกุลโฮโม และตั้งชื่อว่า Homo Habilis

(1) Louis Leakey         (2) Robert Broom      (3) Richard Leakey    (4) Raymond Dart

ตอบ 3 หน้า 79 ริชาร์ด ลีกกี้ (Richard Leakey) ได้ค้นพบซากโครงกระดูก ซึ่งคาดว่าได้วิวัฒนาการ สูงขึ้นจากสกุลออสตราโลพิธิคัสมาเป็นสกุลโฮโม โดยเขาตั้งชื่อว่า โฮโม ฮาบิลิส (Homo Habilis) ซึ่งมีขนาดของสมองราว 775 ลบ.ซม. และมีอายุราว 250,000 ปีมาแล้ว

88.       สกุลโฮโมวิวัฒนาการแยกออกจากสกุลออสตราโลพิธิคัสเมื่อราวกี่ปีมาแล้ว

(1) 1 แสนปี     (2) 1 ล้านปี     (3) 2 ล้านปี     (4) 5 ล้านปี

ตอบ 3 หน้า 83 สกุลโฮโมวิวัฒนาการแยกออกจากสกุลออสตราโลพิธิคัสเมื่อราว 2 ล้านปีมาแล้ว และถือกันว่าสกุลโฮโมนี้เป็นสกุลที่พัฒนาขั้นสูงขึ้นจนมาเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน

89.       สกุลโฮโมจำแนกออกเป็น 2 สปีชี่ได้แก่อะไร

(1) Homo Habilis, Homo Robustus   (2) Homo Africanus, Homo Erectus

(3)       Homo Erectus, Homo Sapiens         (4) Homo Sapiens, Homo Fobustus

ตอบ 3 หน้า 217073 – 747783 กลุ่มสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตในวงศ์โฮมินิเดีย (Hominidae) ประกอบด้วย 2 สกุล คือ           1. สกุลออสตราโลพิธิคัส (Australopithecus) แยกออกเป็น 2 สปีชี่ ได้แก่ ออสตราโลพิธิคัส แอฟริกานัส (Australopithecus Africanus) และ ออสตราโลพิธิคัส โรบัสตัส (Australopithecus Robustus) 2. สกุลโฮโม (Fiomo) แยกออกเป็น 2 สปีชี่ ได้แก่ โฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus) และโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens)

90.       โฮโม อีเรคตัส มิได้ถูกค้นพบในทวีปใด

(1) ยุโรป          (2) อเมริกา      (3) เอเชีย         (4) แอฟริกา

ตอบ 2 หน้า 84 – 85 มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของโฮโม อิเรคตัส ในทวีปเอเชีย ยุโรป และ แอฟริกา แต่ไม่พบในทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบนั้น ได้แก่ ซากกระดูกของมนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิ่ง และมนุษย์ไฮเดลเบอร์ก

91.       ใครคือผู้ที่ค้นพบซากกระดูกมนุษย์ชวา

(1)       Richard Leakey        

(2) Harry Nelson        

(3) Eugene Dubois 

(4) Raymond Dart

ตอบ 3 หน้า 84 ยูยีน ดูบัว (Eugene Dubois) ชาวฮอลันดา เป็นผู้ค้นพบซากกระดูกมนุษย์ชวาเป็นคนแรก โดยในปี ค.ศ. 1891 เขาได้ค้นพบหัวกะโหลกและกระดูกโคนขาในชวาประเทศอินโดนีเซีย จึงนำมาศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดและเขียนเป็นบทความออกมาเผยแพร่ โดยได้ตั้งชื่อสิ่งที่ค้นพบว่า พิธิแคนโธรปัส อิเรคตัส” (Pethecanthropus Erectus) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า มนุษย์ชวา

92.       มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในยุคปัจจุบันคือมนุษย์อะไร

(1)       Homo Habilis

(2)       Homo Erectus 

(3) Homo Sapiens Sapiens        

(4)       Australopithecus

ตอบ 3 หน้า 63708691 โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ (Homo Sapiens Sapiens) เป็นมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นสปีชี่ย่อยของโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) โดยเกิดขึ้น ครั้งแรกเมื่อราว 40,000 ปีมาแล้ว

93.       มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกมาแล้วประมาณกี่ปี

(1)       5,000ปี          

(2) 6,000 ปี     

(3) 8,000ปี      

(4) 10,000ปี

ตอบ 4 หน้า 91 มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกเมื่อ 10,000 ปีมาแล้ว โดยบริเวณแหล่งเพาะปลูกโบราณ ที่สำคัญในยุคต้น ได้แก่ ตอนเหนือของจีน เม็กซิโก และเปรู โดยมีผู้ค้นพบหลักฐานว่าดินแดน แถบสุวรรณภูมิของเรานี้เริ่มทำการเพาะปลูกเมื่อ 9,000 ปีมาแล้ว

94.       วัฒนธรรมซองโฮโม เซเปียนส์ เรียกว่าอะไร   

(1)       วัฒนธรรมอาชูเลี่ยน

(2)       วัฒนธรรมอัสสิเรียน    (3) วัฒนธรรมมุสเตอเรียน       (4)       วัฒนธรรมโอดูแวน

ตอบ 3 หน้า 8795 โฮโม เซเปียนส์ มีวัฒนธรรมแบบ มุสเตอเรียน” (Mousterian) โดยโฮโม เซเปียนส์ในยุคแรก (ยุคต้น) ได้แก่

1.         มนุษย์สไตน์เฮม (Steinheim) พบในประเทศเยอรมนี มีอายุราว 300,000 – 200,000 ปีมาแล้ว

2.         มนุษย์สวอนสโคมบ์ (Swanscombe) พบในประเทศอังกฤษ ใกล้กรุงลอนดอน โดยมีชีวีตอยู่ ในช่วงเดียวกับมนุษย์สตน์เฮม

3.         มนุษย์นีแอนเดอร์ธอลส์ (Neanderthals) พบในประทศอิรัก โซเวียต และจีน มีอายุราว 125,000 – 40,000 ปีมาแล้วซึ่งมนุษย์นีแอนเดอร์ธอลส์นี้มีรูปร่างใกล้เคียงกับมนุษย์สมัยใหม่ และถือเป็นมนุษย์ขั้นสุดท้ายที่อะวิวัฒนาการกลายเป็นโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์

95.       กลุ่มใดไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่ยูเนสโกได้แบ่งไว้

(1) Caucasoid    (2) Mongoloid  (3) American     (4) Negroid

ตอบ 3 หน้า 103 องค์การยูเนสโก ได้จัดประชุมนักมานุษยวิทยากายภาพที่กรุงปารีสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1951 โดยได้เห็นพ้องกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ของมนุษย์ในโลกนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1. พวกผิวขาว (Caucasoid)          2. พวกผิวเหลือง (Mongoloid)  3. พวกผิวดำ (Negroid)

96.       กลุ่มอารยันจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ใด

(1) Caucasoid    (2) Mongoloid  (3) Americanoid (4) Negroid

ตอบ 1 หน้า 102 – 103 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวขาว (Caucasoid/Caucasian) ส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ใน ทวีปยุโรป ซึ่งมีการแบ่งแยกย่อยออกเป็น            1. อารยัน เช่น กรีก และอินเดียตอนเหนือ  2. แฮมิติก เช่น อียิปต์โบราณ       3. เซมิติก เช่น บาบิโลเนีย และอาสซิเรีย

97.       มองโกลอยด์ จัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสีผิวอะไร

(1) ขาว            (2) เหลือง        (3) ดำ  (4) ดำ-แดง

ตอบ 2 หน้า 103105 มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวเหลือง (Mongoloid) แบ่งแยกย่อยออกเป็น

1.         มองโกลอยด์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จีน ทิเบต มองโกเลีย

2.         อินเดียนแดง อยู่แถบทวีปอเมริกาทั้งตอนเหนือและตอนใต้

3.         เอสกิโ อยู่แถบเหนือสุดของทวีปอเมริกา รัฐอลาสก้า และตอนเหนือของแคนาดา

4.         มาลายัน อยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มลายู ชวา ไทย บาหลี

98.       ใครคือผู้ค้นพบระบบ ABO

(1) Karl Landsteiner (2) Carl Rojer     (3) Lamark         (4) France Boas

ตอบ 1 หน้า 109 นักวิทยาศาสตร์จัดจำแนกกลุ่มเลือดของมนุษย์ออกเป็นหลายกลุ่มตามโครงสร้าง ในเม็ดเลือดและตามประเภทของสารที่เป็นองค์ประกอบในเม็ดเลือด ซึ่งกรจำแนกนี้มีอยู่ หลายระบบ เช่น ABO System, p System, Lutheran System และ Kell System เป็นต้น สำหรับประเทศไทยใช้การจำแนกกลุ่มเลือดระบบ ABO System ซึ่งเป็นระบบที่ถูกค้นพบโดย คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) เมื่อปี ค.ศ. 1900

99.       ชาวอินเดียนแดงแถบทวีปอเมริกาส่วนใหญมีกลุ่มเลือดใด

(1) A  (2) O           (3) B  (4) AB

ตอบ 2 หน้า 110 การกระจายตัวของมนุษย์ตามกลุ่มเลือดต่าง ๆ มีดังนี้

1.         กลุ่มเลือด จะพบมากในทวีปยุโรป และพบน้อยมากในทวีปอเมริกากลางและใต้

2.         กลุ่มเลือด จะพบมากในแถบตะวันออกกลางและตามเทือกเขาหิมาลัย และพบน้อยที่สุด ในหมู่ชาวโพลีนีเชีย

3.         กลุ่มเลือด จะพบมากในหมู่ชาวอินเดียนแดงแถบทวีปอเมริกา ซึ่งมีความถี่สูงถึง 100% แต่ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางมีเพียง 60 – 70%

100.    ในแถบลุ่มแม่นํ้าคองโกมีชนกลุ่มใดอาศัยอยู่

(1) ปาปัวนิวกินี           (2) อาชูเลี่ยน   (3)       ปิกมี่    (4)       ทมิฬ

ตอบ 3 หน้า 105 ปิกมี่หรือคนแคระ เป็นมนุษย์ชาติพันธุ์ผิวดำที่มีรูปร่างเตี้ยตํ่ากว่า 140 เซนติเมตร ลงมา มักอาศัยอยู่ตามลุ่มแม่นํ้าคองโกในทวีปแอฟริกา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ทางแหลมมลายู และบางเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

101 สามารถพบคนเลือดกลุ่ม ได้มากในทวีปใด

(1) อเมริกา      

(2) เอเชีย         

(3)      ยุโรป    

(4)       แอฟริกา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 99. ประกอบ

102.    มนุษย์กลุ่มใดที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับมนุษย์สมัยใหม่

(1) สไตน์เฮม   

(2) นีแอเดอร์ธอลส์ 

(3)          สวอนสโคมบ์   

(4)       มฺสเตอเรียน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

103.    ในปัจจุบันมีทฤษฏีที่กล่าวถึงสกุลโฮโมว่ามีสายวิวัฒนาการมาจากจุดไหนอย่างไรกี่ทฤษฏี

(1) 3    

(2) 5    

(3) 7              

(4) 9

ตอบ 4 หน้า 83 ปัจจุบันมีทฤษฎีที่กล่าวถึงสกุลโฮโมว่ามีสายวิวัฒนาการมาจากจุดไหนอย่างไร ทั้งหมด 9 ทฤษฎี

104.    ทวีปใดเป็นแหล่งที่ค้นพบซากที่อยู่ของโฮโม อิเรคตัส

(1) เอเชีย         (2) อาร์คติก     (3)       ออสเตรเลีย     (4)       อเมริกา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

105.    มนุษย์สวอนสโคมบ์ ได้ถูกค้นพบ ณ ที่ใด

(1) เยอรมนี      (2) แอนตาร์กติก          (3)       อังกฤษ            (4)       จีน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

106.    โฮโม เซเปียนส์ ยุคแรก ได้แก่กลุ่มใด

(1)       มนุษย์สไตน์เฮม          (2) มนุษย์นีแอนเดอร์ธอลส์

(3)       มนุษย์สวอนสโคมบ์     (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

107.    บริเวณใดที่เคยเป็นแหล่งเพาะปลูกโบราณที่สำคัญในยุคต้น           

(1) ตอนเหนือของจีน

(2)       ประเทศเม็กซิโก          (3) ประเทศเปรู            (4) ถูกทั้งหมด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

108.    ดินแดนสุวรรณภูมิได้เริ่มทำการเพาะปลูกมาแล้วราวกี่ปี

(1) 5,000ปี      (2)       9,000ปี           (3)       15,000ปี         (4)       30,000ปี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

109.    ปิกมี่” มีความสูงเฉลี่ยราวกี่เซนติเมตร

(1) 100            (2)       120     (3)       140     (4)       150

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 100. ประกอบ

110.    คนกลุ่มใดที่มีอัตราความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังสูง

(1) ผิวขาว        (2)       ผิวดำ   (3)       ผิวเหลือง         (4)       ผิวดำ-แดง

ตอบ 1 หน้า 106 จากการทดลองพบว่า ผิวสีดำของคนนิโกรจะสะท้อนแสงได้เพียง 24% ในขณะที่ ผิวสีขาวของคนยุโรปจะสะท้อนแสงได้ราว 64% นั่นหมายความว่า คนผิวดำจะได้เปรียบในแง่ การดูดซับความร้อนได้ดีกว่าคนผิวขาว ดังนั้นผิวขาวจึงไหม้ได้ง่ายกว่าหากถูกแสงแดดตรง ๆ และผิวขาวยังมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังสูงกว่าผิวดำอีกด้วย

111.    กลุ่มเลือดใดที่มีลักษณะเด่น

(1) A  

(2)       AB

(3)       O        

(4)       ข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 หน้า 109 กลุ่มเลือด O เป็นอัลลีนที่มีคุณลักษณะด้อย (Recessive Trait) ซึ่งการที่จะปรากฎ เป็นเลือดกลุ่ม O ได้ก็ต่อเมื่อมีอัลลีนในยีน (Genotype) เป็น OO เท่านั้น แต่หากผสมกับอัลลีน หรือ จะทำให้เป็น AO หรือ BO คน ๆ นั้นก็จะมีกลุ่มเลือด (Phenotype) เป็น หรือ ทั้งนี้เพราะ และ เป็นอัลลีนทีมีคุณลักษณะเด่น (Dominant Trait)

112.    การจัดระบบกลุ่มเลือดของมนุษย์ตามระบบ ABO System ค้นพบในปี ค.ศ.ใด

(1) 1853         

(2)       1890   

(3)       1900   

(4)       1925

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 98.       ประกอบ

113.    ผิวสิดำของมนุษย์ สามารถสะท้อนแสงได้ราวกี่เปอร์เซ็นต์

(1) 12  

(2)       24        

(3)       36        

(4)       48

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 110. ประกอบ

114.    ที่ราบสูงแอนดิส มีความสูงราวกี่ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล

(1) 8,500        (2)       13,000            (3)       17,500            (4)       12,500

ตอบ 3 หน้า 109 บริเวณที่ราบสูงแอนดิสในทวีปอเมริกาใต้ มีความสูงราว 17,500 ฟุตเหนือระดับ นํ้าทะเล ซึ่งบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีความสูงขนาดนี้จะมีผลต่อภาวะการเจริญพันธุ์หากคนจาก พื้นราบขึ้นไปอาศัยอยู่

115.    ใครคือผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธุ์ของสมาชิกของสังคมเน้นในเรื่องแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ที่เกาะซามัว

(1) เจน กูดเดลส์          (2) มาร์กาเรต มีด

(3)       ฟรานซ์ โบแอส (4) เอ็ดเวอร์ด ไทเลอร์

ตอบ 2 หน้า 259291 มาร์กาเรต มีด (Margaret Mead)ได้ทำการวิจัยเชิงมานุษยวิทยาโดยการ ออกไปศึกษาชีวิตของเด็กสาวบนเกาะซามัวแถบทะเลใต้ ซึ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ของสมาชิก ของสังคมนั้นในเรื่องแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ เช่น ฝึกการขับก่าย การให้อาหาร การรักษาความสะอาด ตลอดจนการอบรมสั่งสอนทางวัฒนธรรม (Socialisation)

116.    ใครคือผู้ที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของวัฒนธรรมของเผ่าพิวโบล เผ่าควาคิตอล และชาวเกาะโดบู

(1) ฟรานซ์ โบแอส       (2) จอห์น เบตตี้           (3) รูธ เบนเนดิกท์        (4) เอ็ดเวอร์ด ไทเลอร์

ตอบ 3 หน้า 259291 รูธ เบนเนดิกท์ (Ruth Benedict) ได้ทำการวิจัยเชิงมานุษยวิทยาโดยทำการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของวัฒนธรรมของชาวอินเดียนแดงเผ่าพิวโบล เผ่าควาคิตอล และชาวเกาะโดบู ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ความแตกต่างในเรื่องของค่านิยม การมองโลก และ สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะของชนแต่ละเผ่า

117.    หนังสือ Primitive Culture ที่เขียนโดย เอ็ดเวรร์ด ไทเลอร์ เขียนขึ้นในปี ค.ศ.ใด

(1) 1815         (2) 1887         (3) 1890         (4) 1903

ตอบ 4 หน้า 255 – 256295 เอ็ดเวอร์ด ไทเลอร์ (Edward B. Tylor) นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ ได้เขียนหนังสือชื่อ “Primitive Culture” ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1903 ซึ่งถือได้ว่าเป็นความพยายาม ในการศึกษาเรื่อง วัฒนธรรม” ของมนุษย์ที่เป็นระบบและมีความสมบูรณ์ที่สุดเล่มแรกของโลก

118.    มนุษย์กลุ่มใดที่สามารถใช้ระบบสัญลักษณ์ในการสื่อสารได้เป็นครั้งแรก

(1) โฮโม อีเรคตัส         (2) โฮโม เซเปียนส์(3) นีแอนเดอร์ธอลส์(4) ออสตราโลพิธิคัส

ตอบ1 หน้า 838695 วัฒนธรรมของโฮมิบนิดยุคโฮโม อีเรคตัส เรียกว่า วัฒนธรรมอาชูเลี่ยน (Acheulian) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้

1.         มีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่สำคัญ คือ เครื่องมือหินสำหรับลับหรือตัด ซึ่งแหล่งทำหิน ที่สำคัญก็คือ อาชูเลี่ยน

2.         สามารถสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ล่าสัตว์ขนาดใหญ่ได้

3.         อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

4.         ริเริ่มใช้ ไฟ” เป็นครั้งแรก

5.         เป็นกลุ่มแรกที่ริเริ่มการใช้ภาษาในการสื่อสาร โดยใช้ระบบสัญลักษณ์ด้านภาษาพูด เพื่อบ่งบอกถึงความต้องการและความรู้สึกของตน ฯลฯ

119.    ซากกระดูกมนุษย์โครมันยองถูกค้นพบในประเทศใด

(1) อังกฤษ      (2) จีน  (3) กรีก            (4) ฝรั่งเศส

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

120.    มนุษย์ใดที่อยู่ในขั้นสุดท้ายก่อนการวิวัฒนาการเป็นโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์

(1) โฮโม อีเรคตัส         (2) นีแอนเดอร์ธอลส์    (3) สวอนสโคมบ์         (4) ชวา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 94. ประกอบ

Advertisement