การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552

 ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2201 การเขียนข่าว

คำแนะนำ ข้อสอบมีทังหมด 8 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. ตามหลักการที่ศึกษา ข่าว” คืออะไร และรายงานเนื้อหาประเภทไดได้บ้าง ยกตัวอย่างเนื้อหา แต่ละประเภทประกอบ ประเภทละ 2 ตัวอย่าง (ไมต้องเขียนข่าว)    (10 คะแนน)

แนวคำตอบ

ข่าว คือ รายงานข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ รวมทั้งความเห็น ของบุคคลซึ่งมีความสำคัญเป็นที่น่าสนใจของผู้รับสารหรือมีผลกระทบต่อสาธารณชน และต้องมีการรายงานหรือ แถลงให้ผู้คนได้รับทราบ

1.         ข่าวการเมือง เช่น การจัดการเลือกตั้ง การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

2.         ข่าวเศรษฐกิจ เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย มูลค่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

3.         ข่าวอาชญากรรม เช่น ข่าวฆาตกรรม ข่าวปล้นชิงทรัพย์

4.         ข่าวการศึกษา เช่น ความเปลี่ยนแปลงในการสอบแอดมิดชั่น ความเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการเรียนการสอน

5.         ข่าวกีฬา เช่น ผลการแข่งขันของกีฬาประเภทต่าง ๆ การจัดแข่งชันฟุตบอลโลก

6.         ข่าวบันเทิง เช่น ความเคลื่อนไหวในวงการบันเทิง กิจกรรมของดารานักร้อง

7.         ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ความก้าวหน้าในวงการแพทย์ การประดิษฐ์ คิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์

8.         ข่าวสตรี เด็ก และเยาวชน เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ ความเคลื่อนไหวของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง

9.         ข่าวท้องถิ่น เช่น การเมืองท้องถิ่น เศรษฐกิจชุมชน

10.       ข่าวต่างประเทศ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความขัดแย้ง ระหว่างประเทศเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้

ข้อ 2. ข่าวอาชญากรรมกับข่าวการเมืองมีคุณค่าเชิงข่าวด้านใดบ้าง ยกตัวอย่างประเด็นข่าวประกอบ การอธิบาย   (10 คะแนน)

ถ้านักศึกษาเป็นบรรณาธิการข่าวจะให้น้ำหนักความสำคัญแก่ข่าวประเภทใดมากกว่ากัน เพราะเหตุใด อธิบายโดยใช้หลักการเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองของนายทวารข่าวสารหรือ Gate Keeper (10 คะแนน)

1.         ความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร คือ ข่าวอาชญากรรมเป็นอุทาหรณ์สอนใจผู้อ่าน เช่น การนำเสนอประเด็นข่าวปล้นชิงทรัพย์ก็อาจทำไห้ผู้อ่านระมัดระวังไมนำของมีค่าติดตัว และหลีกเลี่ยงการเดินทาง ไปในที่เปลี่ยว ๆ

2.         ความเปลี่ยนแปลง คือ ข่าวอาชญากรรมเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ข่าวภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิในภาคใต้ของไทย เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ทุกวัน

3.         ความไม่คาดคิด คือ ข่าวอาชญากรรมเป็นเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงว่าจะเกิดชื้น เช่น ข่าวการจลาจลเผาบ้านเผาเมืองในกรุงเทพฯ เป็นวิธีการที่ไม่เคยปรากฏเป็นข่าวมาก่อน

4.         ความมีเงื่อนงำ คือ ข่าวอาชญากรรมบางข่าวยังไม่รู้ว่าเรื่องจะจบลงอย่างไร เช่น ข่าวฆาตกรรม ซึ่งตำรวจยังไมสามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้

5.         เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ข่าวอาชญากรรมทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ

6.         ความใกล้ชิด คือ เป็นเรื่องใกล้ตัว เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น ข่าวปล้นบ้าน ขโมยรถยนต์ อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกตอไป

7.         ความขัดแย้ง/การเผชิญหน้า คือ ข่าวอาชญากรรมเป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งทั้งทางกายและความคิด มีการเผชิญหน้าปะทะกัน เช่น ข่าวประท้วงรัฐบาลที่มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

8.         ความทันต่อกาลเวลา คือ ข่าวอาชญากรรมเป็นข่าวที่สดใหม่ ทันเหตุการณ์ หรือ บางข่าวก็เพิ่งเปิดเผย

ข่าวการเมืองมีคุณค่าเชิงข่าว (News Value) โดยรวม ดังนี้

1.         ความเกี่ยวพันกับผู้รับสาร คือ ข่าวการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับผู้รับสารทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เช่น ข่าวจัดการเลือกตั้งก็มีผลให้ประชาชนต้องไปใช้สิทธิทางการเมืองเพื่อเลือกคนดีเข้ามาบริหารประเทศ

2.         ผลกระทบ คือ ข่าวการเมืองมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมาก เช่น ข่าวการที่รัฐบาลประกาศขึ้นภาษี ข่าวรัฐบาลกู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจ ฯลฯ

3.         ความเปลี่ยนแปลง คือ ข่าวการเมืองเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ข่าวการประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ข่าวการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ฯลฯ

4.         ความไมคาดคิด คือ ข่าวการเมืองบางข่าวก็เป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้น เช่น ข่าวการก่อจลาจล ฯลฯ

5.         ความมีเงื่อนงำ คือ ข่าวการเมืองบางข่าวก็ยังไม่รู้ว่าเรื่องจะจบลงเช่นไร ทำให้ต้องติดตาม ต่อไป เช่น ข่าวทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองที่ยังสาวไปถึงต้นตอไม่ได้

6.         เร้าความสนใจของมนุษย์ คือ ข่าวการเมืองทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ข่าวการไม่ยอมเข้าประชุมสภาของ ส.ส. ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อหน่าย 

7.         ความใกล้ชิด คือ ข่าวการเมืองเป็นเรื่องราวใกล้ตัว เกิดขึ้นไนสังคมไทย และยังเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วไป เช่น ข่าวนโยบายเรียนฟรีที่รัฐบาลได้ประกาศออกมาใช้

8.         ความโดดเด่น/ดัง/ชื่อเลียง คือ ข่าวการเมืองจะเกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นที่รู้จักของ ประชาชน เช่น ข่าวการปฏิบัติภารกิจของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับวาระโอกาสที่สำคัญและ สถานที่ที่มีชื่อเสียง

9.         ความขัดแย้ง/การแข่งขัน/การเผชิญหน้า คือ ข่าวภารเมืองเป็นเรื่องที่มีความขัดแย้ง ทั้งทางกายและทางความคิด รวมทั้งยังมีการแข่งขันและการเผชิญหน้า เช่น ข่าวการชุมนุมทางการเมือง

10.       ความทันต่อเวลา คือ ข่าวการเมืองเป็นข่าวที่สดใหม่ ทันเหตุการณ์ หรือบางข่าวก็เพิ่ง เปิดเผย เช่น ข่าวการทุจริตของภาครัฐที่กระทำต่อเนื่องมานาน แต่เพิ่งมีการค้นพบ

หลักการพิจารณากลั่นกรองข่าวของนายทวารข่าวสาร (Gate Keeper)

เมื่อผู้สื่อข่าวรายงานเรื่องราวต่าง ๆ มายังกองบรรณาธิการแล้ว บรรณาธิการข่าวจะทำหน้าที่ กลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งว่าจะนำเสนอเรื่องใดบ้าง ซึ่งระหว่างข่าวอาชญากรรมกับข่าวการเมือง ควรจะให้น้ำหนัก ความสำคัญกับข่าวการเมืองมากกว่า โดยพิจารณาจากหลักการของผู้รักษาประตูหรือนายทวารข่าวสาร (Gate Keeper) มาคัดเลือกข่าว ซึ่งมือยู่ 5 ประการ คือ

1.         ความน่าลนใจ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ประชาชนสนใจใคร่รู้อยากติดตาม ทำให้ความเล็ก/ใหญ่ของแต่ละข่าวไม่เท่ากัน โดยข่าวที่น่าสนใจคือข่าวที่ผู้อ่านต้องการจะอ่านมากที่สุด ซึ่งข่าว การเมืองย่อมน่าสนใจสำหรับผู้อ่านในสถานการณ์ขณะนี้

2.         ความสำคัญ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีความสำคัญต่อตัวเรา ผู้อ่าน สังคม และคนทังประเทศ ซึ่งข่าวการเมืองย่อมสำคัญต่อคนทั้งประเทศมากกว่าข่าวอาชญากรรม

3.         ความชอบธรรม หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีความถูกต้องทางจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม ซึ่งข่าวการเมืองสามารถรายงานได้โดยไม่ผิดกฎหมายและเป็นเรื่องที่ผู้คนสมควรรับรู้ เพราะมี ผลกระทบต่อคนจำนวนมาก

4.         ความมีประโยชน์ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ซึ่งข่าวการเมือง สามารถให้ความรู้ ยกระดับสติปัญญา และรสนิยมของผู้อ่านได้

5.         ความสดทันสมัย หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสด ๆ ใหม่ ๆ หรือพึ่งเกิดขึ้นไมนาน ซึ่งข่าวการเมืองใดมีความสดมากก็ยิ่งมีคุณค่าข่าวสูงและเป็นที่สนใจของผู้อ่านมาก

ข้อ 3. รูปแบบการเขียนข่าวที่นิยมใช้มากที่สุด คือรูปแบบใด มีวิธีการพิจารณาจัดลำดับเนื้อเรื่องอย่างไร ยกตัวอย่างประเด็นเนื้อหาประกอบคำอธิบาย โดยไมต้องเขียนข่าว  

แนวคำตอบ

รูปแบบการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid)

การเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ เป็นการรายงานข่าวในลักษณะสรุปย่อข้อเท็จจริงที่สำคัญ ๆ เป็นความนำของข่าว แล้วจึงค่อยขยายรายละเอียดของข้อเท็จจริงเหล่านั้นตามลำดับ จึงเป็นรูปแบบการเขียนข่าว ที่นิยมใช้มากที่สุด โดยมีวิธีการพิจารณาจัดลำดับเนื้อเรื่องออกเป็น 2 รูปแบบ

1 แบบถือความสำคัญเป็นหลัก เริ่มต้นด้วยความนำซึ่งสรุปข้อเท็จจริงที่สำคัญและจำเป็น ตามด้วยเนื้อข่าวที่เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่มีความสำคัญและความน่าสนใจลดหลั่นกันลงไปจนถึง ย่อหน้าสุดท้ายซึ่งสำคัญน้อยที่สุด เหมาะกับข่าวเหตุการณ์ที่มีเนื้อหาเดียว หรือเป็นเหตุการณ์ที่มีเนื้อหาง่าย ๆ ไม่สลับซับช้อน เช่น ข่าวรับสมัครนักศึกษาใหม่ ข่าวดาราค้ายาเสพติด ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาเขียนเป็นแผนผังจะมี ลำดับเนื้อเรื่อง

ความนำ / ประเด็นสำคัญ >ข้อเท็จจริงที่ 1 >ข้อเท็จจริงที่ 2 >ข้อเท็จจริงที่ 3 >ข้อเท็จจริงที่ 4

2.         แบบถือเวลาที่เกิดเหตุการณ์เป็นหลัก เริ่มต้นด้วยความนำซึ่งสรุปย่อเหตุการณ์และ ผลลัพธ์ทั้งหมด ตามด้วยเนื้อข่าวที่เป็นรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเล่าตามลำดับเวลาที่เกิดเหตุการณ์ ก่อนหลัง อาจมีข้อเท็จจริงเสริมในตอนท้าย จึงเหมาะกับข่าวเหตุการณ์ระทึกใจ เหตุการณ์ที่ข้อมูลข่าวมีความ ต่อเนื่องกันตลอด และเหตุการณ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น ข่าวแข่งขันกีฬา ฟุตบอล ซึ่งเมื่อนำมาเขียนเป็นแผนผังจะมีลำดับเนื้อเรื่อง

ความนำ >เล่าเรื่องตามลำดับเวลา >ครึ่งแรก-ครึ่งหลัง >ต่อเวลา >สรุปผลแท้-ชนะ >ข้อเท็จจริงเสริม

ข้อ 4. ในการรายงานข่าวไฟไหม้ห้องเก็บเอกสารในที่ทำการของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ควรใช้แหล่งข่าว อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 แหลงข่าว 

และควรนำเสนอประเด็นใดบ้างในเนื้อข่าว     (5 คะแนน)

แนวคำตอบ

แหล่งข่าวที่ผู้สื่อข่าวควรใช้ในการรายงานข่าวไฟไหม้ 

–           เจ้าหน้าที่ตำรวจ

–           ศูนย์ข่าวข่ายต่าง ๆ ของตำรวจ

–           มูลนิธิการกุศลต่าง ๆ

–           สถานีดับเพลิง นักดับเพลิง

–           โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล

–           ผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ และผู้มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์

–           พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์

–           บริษัทประกันภัย (กรณีที่เจ้าของสถานที่เกิดเหตุได้ทำประกันอัคคีภัยเอาไว้)

–           ห้องสมุดหนังสือพิมพ์ เพื่อหาข้อมูลย้อนหลังที่เกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

ฯลฯ

ประเด็นที่ควรนำเสนอในเนื้อข่าวไฟไหม้ มีดังนี้

–           เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่

–           ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้นเพลิงเกิดขึ้นที่ไหน ลุกลามไปอย่างไร ความยากลำบาก ในการดับเพลิง

–           สภาพความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

–           รายชื่อผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ อาการ การรักษา และมีบุคคลที่มีชื่อเสียงเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์อย่างไร

–           ความเห็นของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับสาเหตุซองไฟไหม้

–           คำสัมภาษณ์ของผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้ประสบเหตุ และผู้มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับ พรรคการเมืองที่ถูกไฟไหม้

–           ข้อมูลเสริม เช่น ประวัติ ความเป็นมา สิ่งบอกเหตุก่อนหน้านี้

ข้อ 5. คุณลักษณะ (Identification) หมายถึงอะไร ในการรายงานข่าวมรณกรรมต้องกล่าวถึงคุณลักษณะ อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบโดยไม่ต้องเขียนเนื้อข่าว          (10 คะแนน)

แนวคำตอบ

คุณลักษณะ (Identification) หมายถึง ตัวตน ลักษณะรูปพรรณสัณฐาน และคุณสมบัติ ของแหล่งข่าวทั้งที่เป็นบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ รวมทั้งบุคคลและสถานที่ที่มาเกี่ยวข้องอยู่ในเหตุการณ์ที่เป็นข่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการขยายความเพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ

คุณลักษณะที่ต้องระบุในการรายงานข่ารมรณกรรม 

1.         คุณลักษณะของบุคคล เช่น ซื่อ-นามสกุลอายุอาชีพหรืองานอดิเรกยศหรือ ตำแหน่งเกียรติภูมิหรือชื่อเสียง รวมทั้งผลงานที่เป็นที่รู้จัก และในกรณีที่ผู้ตายเป็นญาติของบุคคลที่มีชื่อเสียง ก็จะต้องอ้างถึงญาติหรือคนใกล้ชิดที่เป็นคนดังอีกด้วย

2.         คุณลักษณะของสถานที่ เช่น สถานที่ที่เสียชีวิต ซึ่งต้องระบุคุณลักษณะโดยการบอก ที่ตั้ง เลขที่ ซอย ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือในกรณีที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์อาจต้องบอก หลัก กม. ที่ บนถนนสาย… อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการใด หรือสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันดี นอกจากนี้ยังต้องบอก สถานที่จัดพิธีศพและพิธีสวดพระอภิธรรมว่าจัดที่วัดใด เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพกว้าง ๆ ว่าสถานที่ที่เป็นข่าว อยู่ตรงไหน และอยู่ห่างจากผู้อ่านเพียงใด

3.         คุณลักษณะของเหตุการณ์ ได้แก ลำดับเหตุการณ์การเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ จากนั้นเหตุการณ์ดำเนินไปอย่างไร จบลงอย่างไร และผลที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์จบลงแล้ว ซึ่งในบางกรณีอาจ ต้องบอกถึงเหตุการณ์ตื่นเต้น เช่น มีอาการหัวใจวาย ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ฯลฯ หรือถ้าไม่มีอาจไม่ต้องบอก ก็ได้ เช่น เป็นอาการป่วยธรรมดา เสียชีวิตอย่างสงบที่บ้าน ฯลฯ

ข้อ 6. ลีลา (Style) การเขียนข่าวมีหลายรูปแบบ หากต้องการรายงานข่าวการแข่งขันกีฬา ควรใช้ลีลา การเขียน (Style) แบบใด (5 คะแนน)

และควรนำเสนอประเดินใดบ้าง          (5 คะแนน)

แนวคำตอบ

ลีลาการเขียน (Style) ในการรายงานข่าวการแข่งขันกีฬา

การรายงานข่าวการแข่งขันกีฬาข่าวหนึ่งสามารถใช้ลีลาการเขียนข่าวได้หลายแบบในข่าวเดียวกัน เพราะหากข้อมูลข่าวนั้นได้มาจากการให้สัมภาษณ์หรือแถลงข่าวก็ต้องมีการอ้างอิงคำพูดของบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ หรือบุคคลที่แถลงทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าข้อมูลข่าวที่ได้มาเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลง และมีความคืบหน้าตลอดเวลาก็ควรรายงานตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิด แต่ถ้าเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ก็อาจเขียนใน ลักษณะเรียบง่าย ซึ่งลีลาการเขียนข่าว (Style) แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

1. การเขียนข่าวจากข้อเท็จจริงทั่วไป (Fact Story) มักใช้กับเรื่องที่มีเนื้อหาง่าย ๆ ไม่สลับซับช้อน อาจมีตัวเลข สถิติ หรือเป็นข่าวสั้น ข่าวประกอบภาพก็ได้

2.         การเขียนข่าวจากเหตุการณ์ที่เคลื่อนไหว (Action Story) เป็นการรายงานเหตุการณ์ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เป็นเหตุการณ์ที่มีการกระทำ ความคืบหน้า และความเคลื่อนไหว ซึ่งผู้เขียนข่าว ต้องการรายงานให้ผู้อ่านทราบโดยละเอียดทุกขั้นตอน เหมือนกับผู้อ่านได้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง ได้รับความ ตื่นเต้น ดีใจ สลดใจไปกับบุคคลในข่าว ส่วนใหญ่มักเขียนเรื่องและลำดับรายละเอียดตามลำดับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบความเคลื่อนไหว พัฒนาการของเหตุการณ์ดังกล่าว

3.         การเขียนข่าวจากคำพูดหรือคำปราศรัย (Quote Story) เป็นข้อมูลข่าวหรือข้อเท็จจริง ที่ได้มาจากคำพูด การแสดงความคิดเห็น การแถลง การให้สัมภาษณ์หรือคำปราศรัยของบุคคลสำคัญ รวมทั้ง ประกาศ หรือแถลงการณ์ที่เป็นข้อเขียน โดยจะคัดเฉพาะถ้อยคำที่สำคัญและน่าสนใจมาเขียนเท่านั้น แบงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1)         การยกคำพูดมาโดยตรง (Direct Quote) โดยมีเครื่องหมายคำพูดหรือเลขใน กำกับ ต้องระบุแหล่งที่มาของคำพูดหรือข้อความเพื่อให้ผู้อ่านทราบวาเป็นคำพูดของใคร

2)         การสรุปคำพูดหรือข้อความโดยใช้ภาษาของผู้เขียนเอง และมีเครื่องหมายคำพูด กำกับ (Indirect Quote) แต่จะต้องรักษาข้อเท็จจริงเดิมของผู้พูดเอาไว้ โดยไม่มีการแต่งเติมใด ๆ ทั้งสิ้น และ ระบุแหล่งที่มาของคำพูดเช่นเดียวกัน

ประเด็นข่าวที่ควรนาเสนอในการรายงานข่าวการแข่งขันกีฬา มีดังนี้

1.         ประเด็นข่าวที่ควรนาเสนอก่อนการแข่งขัน ได้แก่ ความสำคัญของการแข่งขันสถิติ ที่ฝานมาระบบการเล่นที่ผ่านมาสภาพความพร้อมของผู้เล่นการวิเคราะห์วิจารณ์การเล่นแผนการเล่นสภาพอากาศที่จะมีผลกระทบต่อการเล่นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชม และผลการแข่งขันที่คาดว่าจะเป็น

2.         ประเด็นข่าวที่ควรนำเสนอหลังการแข่งขัน ได้แก่ ใครเป็นผู้ชนะคะแนนเท่าใดรายละเอียดการแข่งขันตั้งแต่ต้นจนจบเปรียบเทียบการเล่นของแต่ละทีมผู้เล่นดีเด่นมีใครบ้างขาดใครที่ ทำให้ทีมเกิดปัญหาจำนวนผู้เข้าชมสภาพอากาศระหว่างการแข่งขันคะแนนรวม และการทำลายสถิติ

ข้อ 7. จากข้อมูลข่าวต่อไปนี้

ขาดโรงเรียนไปปล้น

เด็ก ขาดเรียน” เป็นเรื่องธรรมดา ใครที่ไม่เคย ขาด (เรียน)” เลยสักครั้งสิแปลก

ก็ชีวิตคนเราไม่ว่าวัยไหนมันก็ต้องมีธุระ มี งานเข้า” กันบ้างล่ะเข้าใจใช่ปะ?

แต่ที่เราไม่เข้าใจเลยก็คือ… มีด้วยหรือ เด็กที่โดดเรียนไปปล้น

แต่เรื่องแบบนี้มันก็เกิดขึ้นแล้ว ที่เมืองวอร์วิค รัฐโรดไอส์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ที่ตำรวจเล่าว่า เมื่อ 2 วันก่อนตำรวจสามารถตามจับตัวเด็กนักเรียนชายวัย 17 ที่บุกเดี่ยวเข้าปล้นธนาคารโคสด์เวย์ คอมมิวนิตี้ แบงก์ได้แล้ว

ทั้งนี้ตำรวจเล่าว่า นักเรียนชายซึ่งตำรวจต้องปิดชื่อด้วยยังเป็นผู้เยาว์เดินเข้าไปที่ธนาคาร แล้วก็ยื่นกระดาษส่งให้พนักงานแบงก์มีใจความว่า ให้ส่งเงินมา หากขัดขืนเค้าจะยิงทุกคนเล้ย

แคชเชียร์ก็หยิบเงินส่งให้ไป

แต่หลังจากนั้นประมาณ 6 ชั่วโมง ไม่รู้ว่า…ทันได้ ใช้เงิน” หรือเปล่า ตำรวจก็อาศัยภาพ ในกล้องทีวีวงจรปิดที่ธนาคารติดไว้ รวมทั้ง ลายนิ้วมือ” บนกระดาษโน้ตตามจับตัวเด็กชายจนได้

และส่งตัวไปอยู่ที่โรงเรียนดัดสันดานเรียบร้อย

คราวนี้เจ้าหนูก็จะได้มีเวลาเรียนรู้ที่จะทำตัวใหม่ และเรียนหนังสืออย่างจริงจังสักที

เพราะขนาดแคในกระดาษโน้ตใบนั้นเจ้าหนูยังเขียนสะกดคำผิดอยู่หลายที่

7.1 ข่าวนี้เขียนด้วยรูปแบบใด รูปแบบดังกล่าวมีลักษณะเด่นอย่างไร            (5 คะแนน)

แนวคำตอบ

รูปแบบการเขียนข่าวแบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid)

ข่าวข้างต้นเขียนด้วยรูปแบบพีระมิดหัวตั้ง ซึ่งเป็นการรายงานข่าวที่ตรงข้ามกับแบบพีระมิด หัวกลับ คือ เริ่มต้นด้วยความนำในลักษณะเกริ่นนำเรื่อง ตามด้วยเนื้อข่าวซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ค่อย ๆ เพิ่มความ สำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนย่อหน้าสุดท้ายจะสรุปเรื่องที่เป็นไคลแม็กซ์หรือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ผู้อ่านอยากรู้มากที่สุดเอาไว้ จึงมีลักษณะเด่นคือ เหมาะกับข่าวเหตุการณ์สั้น ๆ และใช้กับเรื่องแปลก ๆ ที่คาด ไมถึง เรื่องที่ไม่สามารถเดาตอนจบได้ โดยจะมีลีลาการเขียนให้อ่านสนุกคล้ายเรื่องสั้น เรียกว่า ข่าวสั้นขำขัน รวมทั้งยังใช้กับข่าวอาชญากรรมที่ต้องการให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจผู้อ่าน แต่จะไม่เหมาะกับเรื่องหนัก ๆ ที่จริงจัง เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาเขียนเป็นแผนผังจะมีลำดับเนื้อเรื่องดังนี้

เกริ่นนำ >ข้อเท็จจริงที่ทวี >ความสำคัญหรือบอก >ข่าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ >ประเด็นสำคัญที่สุด

7.2 ให้เขียนข่าวจากข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบลำดับความสำคัญ       (5 คะแนน)

แนวคำตอบ

เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองวอร์วิค รัฐโรดไอล์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานความคืบหน้า กรณีที่มีคนร้ายบุกเดี่ยวเข้าปล้นธนาคารโคสต์เวย์ คอมมิวนิตี้ว่า สามารถจับกุมตัวผู้ที่ก่อเหตุได้เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ปรากฏว่าเป็นเด็กนักเรียนชายอายุเพียง 17 ปี ซึ่งหยุดโรงเรียนไปก่อเหตุปล้นธนาคารเพียงคนเดียว จึงได้ควบคุมตัว ส่งสถานพินิจ เนื่องจากผู้กระทำผิดยังเป็นเด็กและเยาวชนอยู่

เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่า วันเกิดเหตุเด็กนักเรียนชายคนดังกล่าวได้เดินเข้าไปที่ธนาคาร พร้อมกับส่งกระดาษให้พนักงานธนาคารมีข้อความว่า ให้ส่งเงินมา หากขัดขืนจะยิงทุกคน พนักงานธนาคารจึง หยิบเงินส่งให้ แต่หลังจากที่ก่อเหตุได้เพียง 6 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถติดตามจับกุมตัวผู้กระหำ ผิดได้ โดยอาศัยภาพภายในกล้องทีวีวงจรปิดของธนาคาร และหลักฐานจากลายนิ้วมือบนกระดาษที่ส่งให้พนักงานธนาคาร

ข้อ 8. จากข้อมูลข่าวต่อไปนี้ จงเขียนความนำ (10 คะแนน)

และหัวข่าว      (10 คะแนน)

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคาร ไทยพาณิชย์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 19 เมษายนนี้ว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้วิเคราะห์ เชิงลึกถึงปัจจัยทางโครงสร้างประชากรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการบริโภคของคนไทย เพื่อชี้ให้เห็นถึงโอกาส และความท้าทายสำหรับภาคธุรกิจในการตอบสนองแนวโน้มความต้องการในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะจากกลุ่ม ผู้บริโภคใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างประชากรทั้งทางด้านอายุ สถานภาพสมรส ระดับรายได้ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า การบริโภคของเราขึ้นอยูกับว่าเราเป็นใคร เช่น คนหนุ่มสาวในเมือง รายได้น้อยจะมีพฤติกรรมการบริโภคต่างออกไปจากครอบครัวฐานะปานกลางในชนบทที่มีบุตรอยู่ด้วย ซึ่งสถานะ ของเรานั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยผลักดันมาจากความสูงวัย รายได้ที่เพิ่มขึ้น และพฤติกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป ความสูงวัยของประชากรเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด โดยภายในปี 2020 ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยมากกว่า 12 ล้านคน คิดเป็น 17% ของประชากร นอกจากนี้ระดับรายได้ ยังเพิ่มสูงขึ้นโดยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางจะเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของประชากรทั้งหมด พฤติกรรม ของประชากรก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน จะมีการแต่งงานช้าลง การหย่าร้างมากขึ้น และบุตรจะย้ายออกจากบ้าน คุณพ่อคุณแม่และพึ่งพิงตนเองมากขึ้น

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจฯ นำเอาแนวโน้มต่าง ๆ มาประมาณการโครงสร้างของประชากร ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้พิจารณาในทั้ง 5 มิติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อายุ เพศ รายได้ พื้นที่ที่อยู่อาศัย (กรุงเทพฯ และปริมณฑล หัวเมืองในเขตภูมิภาค และชนบท) และโครงสร้างครัวเรือน (เช่น อยู่คนเดียว สมรสแต่ไมมีบุตร เป็นต้น) ซึ่งพบว่า มีครัวเรือนจำนวนมากขึ้นที่อยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางแต่ไม่ใช่ครัวเรือนในลักษณะดั้งเดิม อีกทั้งยังพบว่ามีผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ความต้องการอาจยังไม่ได้ถูกตอบสนองได้เต็มที่เกิดขึ้นมา เช่น สตรีที่เป็นโสด คูสมรสที่ไม่มีบุตร และคูสมรสที่อยู่กับบุตรหลาน จากรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากร สามารถจัดประเภทของผู้บริโภคได้มากกว่า 4,000 แบบ

ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับโอกาสที่เกิดขึ้นในตลาดครัวเรือนแบบใหม่ ๆ ที่แม้ จะไม่ใช่กลุ่มตลาดที่ใหญ่มาก แตกเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง โดยคาดว่าครัวเรือนแบบ คลาสสิก” หรือครอบครัว พ่อแม่ลูก มีสัดส่วนที่ลดลงเรื่อย ๆ โดยลดลงจากประมาณ 44% ของประชากรในปี 1994 เหลือเพียง 32% ในปี 2007 และจะตกลงมาอยู่ที่ราว 21% ในปี 2020

ในทางตรงกันข้ามคนที่อยู่คนเดียวและคูสามีภรรยาที่ไม่มีบุตรจะเพิ่มขึ้นมาก คาดว่าในปี 2020 จะมีลัดส่วน 6% และ 14% ของประชากรตามสำดับ นอกจากนั้นครอบครัวที่ไม่ใช่ครัวเรือนเดี่ยวจะเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง แต่จะเป็นการเพิ่มขึ้นจากคู่สามีภรรยาที่อยู่แต่กับหลาน (เช่น หลานอยู่กับคุณปู่คุณย่า) และคนโสด ที่อยู่กับญาติ มากกว่าครอบครัวขยายแบบดั้งเดิม

ยกตัวอย่าง คู่สามีภรรยาที่ไม่มีบุตรเป็นลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมมากที่สุด โดยในปี 2007 มีลัดส่วนกว่า 35% แซงหน้าครัวเรือนประเภทที่อยู่คนเดียวที่เคยมีสัดส่วนสูงสุด อีกทั้งยังเป็น ลักษณะครัวเรือนที่ย้ายมาอยู่คอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นสูงที่สุดด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมราว 15% ต่อปี ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การตัดสินใจระหว่างเลือกสร้างบ้านเดี่ยวขายหรือคอนโดมิเนียมอาจไม่พออีกต่อไป แต่ต้องตัดสินใจต่อด้วยว่าจะสร้างประเภทไหน ถึงจะถูกใจผู้เอและขายได้ดี เช่น แทนที่จะมุ่งเน้นห้องพักประเภท Studio มีพื้นที่ใช้สอยไมมาก ตั้งอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้า มาเป็นจัดให้มีห้องพักประเภท 1 – 2 ห้องนอน มีพื้นที่ใช้สอยพอสมควร อาจมีครัวย่อม ๆ มีที่จอดรถเพียงพอ” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าว

แนวคำตอบ หน้า 2855 – 70,

หัวข่าว

ไทยพาณิชย์แนะธุรกิจเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคใหม่ ๆ

ความนำ

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยปัจจัยทางโครงสร้างประชากร ทำให้ การบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป ชี้อนาคตกลุ่มสตรีที่เป็นโสด คูสมรสที่ไม่มีบุตร และคูสมรสที่อยู่กับบุตรหลาน จะมีอัตราเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญ

Advertisement