การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิขา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)

1.             ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกันในแง่ของการผลิตและสร้างสถานที่จัดเก็บสื่อในยุคโบราณ

(1)ห้องสมุดเมืองนิเบเวห์และชาวอัสสิเรียน      

(2) กฎหมายและบาบิโลเนียน

(3) คูนิฟอร์มและสุเมเรียน   

(4) แผ่นหนังและอียิปต์

ตอบ 4 หน้า 6 – 8, (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 9) พระเจ้าเปอร์กามัมแห่งกรีกทรงดำริใช้

แผ่นหนังสัตว์ฟอก (Parchment) เพื่อใช้บันทึกข้อเขียนแทนแผ่นดินเหนียว แผ่นไม้ แผ่นหิน แผ่นบรอนซ์ กระดูกและกระดองสัตว์ ไหม ผ้าลินิน และกระดาษปาไปรัส โดยแผ่นหนังเหล่านี้ เมื่อนำมาเย็บรวมกันเป็นเล่มก็จะเรียกว่า โคเด็กข่” (Codex) ซึ่งนับเป็นต้นแบบของการเย็บเล่ม หนังสือในปัจจุบัน (ส่วนชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่รู้จักบันทึกเหตุการณ์และข่าวสารความรู้ ต่าง ๆ ลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus) ด้วยตัวอักษรภาพที่เรียกว่า ไฮโรกสิพิก” (Hieroglyphic) ตั้งแต่ 3,000 B.C.)

2.             ข้อใดกล่าวถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด

(1)           ผู้จัดรายการ แฉตอนเย็น” ให้สารสนเทศซึ่งเป็นเรืองส่วนตัวของพระเอกละครเก้งกวางแห่งช่องสี่สี ที่มีแฟนเป็นชะนีสี่คน (ในเวลาเดียวกัน)

(2)           กระทรวงพาณิชย์ให้สารสนเทศด้านกฎหมายแก่นักธุรกิจไทยในการทำธุรกิจที่ประเทศกัมพูชา

(3)           คุณน้ำหวานได้รับสารสนเทศเชิญให้เข้าร่วมงานกับกลุ่มต้มตุ๋นข้ามชาติผ่านอีเมล์

(4)           คุณแดงพิงโฆษกวิทยุให้สารสนเทศเกี่ยวกับสรรพคุณของยาลดความอ้วน

ตอบ 2 หน้า 35, (คำบรรยาย) คำว่า สารสนเทศ” (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองและประมวลผลแล้ว ตลอดทั้ง ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดและ เผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคำว่า ข้อมูล” (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือ ข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

3.             ข้อใดกล่าวถึง การศึกษา” ไต้ครอบคลุมที่สุด

(1)           แดงไม่สนใจเรียนในห้องเรียน แต่เก็บเกี่ยวความรู้การทำนาจากพ่อและแม่

(2)           เอกเรียนรู้การใส่ปุ๋ยนาข้าวจากครูเจตนา โดยไม่ใส่ใจการอธิบายของพี่ชายซึ่งเป็นปราชญ์ดินของหมู่บ้าน

(3)           สมหญิงได้ตั้งใจฟังครูอธิบายและค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมชะนี

(4)           อภิชัยเรียนรู้วิธีซ่อมเครื่องซักผ้าจากร้านซ่อมเครื่องออนไลน์ โดยไม่สนใจคำแนะนำของภรรยา

ตอบ 3 หน้า 16 – 20, (คำบรรยาย) การศึกษา หมายถึง การเสาะแสวงหาความรู้จากหลาย ๆ ทางเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องนั้น ๆ โดยวิธีศึกษาหาความรู้ที่เป็นพื้นฐานของ การแสวงหาความรู้มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ การอ่าน การฟัง การไต่ถาม และการจดบันทึก

ซึ่งตรงตามหลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ สุ จิ ปุ ลิ” ดังนี้

1.             สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การฟังหรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังลือ และการค้นคว้า หาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2.             จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ

3.             ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคำตอบจากผู้รู้

4.             ลิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึก

4. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นความเป็นมาของห้องสมุดในประเทศไทย

(1)    หอพระมณเฑียรธรรม คือ หอไตรแห่งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

(2)    หอหลวงสร้างขึ้นเพื่อเก็บเอกสารของราชสำนักในสมัยกรุงศรีอยุธยา

(3)    ตึกถาวรวัตถุใช้เป็นหอไตรแห่งวัดมหาธาตุในสมัยรัชกาลที่ 5

(4)    หอพุทธสาสนสังคหะสร้างขึ้นในวัดเบญจมบพิตร

ตอบ 3 หน้า 9 – 10, (คำบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลำดับยุคสมัยดังนี้

1.      สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัดวาอารามต่าง ๆ

2.      สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการของราชสำนัก

3.      สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจำรัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม หรือหอไตรภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1,

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร) และหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามลำดับ

5.      การใช้หนังลือ “Post Capital Society” เพื่อประกอบการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ตรงกับวัตถุประสงค์ ของห้องสมุดใบข้อใดมากที่สุด

(1) เพื่อความจรรโลงใจ

(2) เพื่อข่าวสารความรู้

(3) เพื่อการค้นคว้าวิจัย

(4) เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย

ตอบ 3 หน้า 24 ห้องสมุดโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ

1.      เพื่อการศึกษา เข่น การจัดหาหนังลือประกอบการเรียนเอาไว้ให้บริการ

2.      เพื่อให้ข่าวสารความรู้ เช่น การที่ห้องสมุดจัดให้มีหนังสือพิมพ์เอาไว้ให้บริการ

3.      เพื่อการค้นคว้าวิจัย เช่น การจัดให้มีฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ศูนย์สารสนเทศ ฯลฯ

4.      เพื่อความจรรโลงใจ เช่น การจัดหาหนังสือธรรมะ อัตชีวประวัติบุคคลสำคัญ กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมซีไรต์ไว้ให้บริการ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ชีวิต

5.      เอการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การให้บริการหนังลือบันเทิงต่าง ๆ นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯเพื่อช่วยให้ผู้อ่านผ่อนคลายความตึงเครียดได้

6.      วิธีการอ่านแบบวิเคราะห์เป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเรียนในข้อใดมากที่สุด

(1)    การเตรียมตัวสอบวิชา กฎหมายอาญา

(2)    การค้นหาคำว่า กฎหมายอาญา” จากพจนานุกรมกฎหมายไทย

(3)    การตัดสินใจเลือกซื้อหนังลือ กฎหมายอาญา

(4)    การทำรายงานเรื่อง ปัญหากฎหมายอาญาของไทย

ตอบ 4 หน้า 18, (คำบรรยาย) การอ่านแบบวิเคราะห์ (Critical Reading) เป็นทักษะการอ่านในระดับสูงสุด ถือว่าเป็นสุดยอดของกระบวนการอ่านเอาความ ซึ่งผู้อ่านมักเป็นนักวิจัยหรือ นักวิชาการที่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะอ่านมาก่อน เพราะเป็นการอ่านที่ต้องใช้วิจารณญาณ อย่างมาก สามารถแลดงความคิดเห็น พร้อมทั้งประเมินค่าหรือวิจารณ์สิ่งที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล และมีหลักเกณฑ์ เช่น การอ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลมาประกอบการทำรายงาน ทำวิจัย การอ่านบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น

7.         กฤตภาค การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ” หาอ่านได้จากฝ่ายใดของสำนักหอสมุดกลาง ม.ร.

(1) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์

(2)ฝ่ายวารสารและเอกสาร    

(3) ฝ่ายเทคนิค           

(4) ฝ่ายบริการผู้อ่าน

ตอบ 2 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือกและประเมินคุณค่าวารสาร จัดทำดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทำบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทำกฤตภาคไว้ให้บริการ

8.         แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่ทำหน้าที่สงวนเอกสารเก่าของหน่วยงานราชการเพื่อใช้อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย และวิชาการ

(1)       ศูนย์เอกสาร    (2) พิพิธภัณฑ์ (3) หอจดหมายเหตุ     (4) ห้องสมุดเฉพาะ

ตอบ 3 หน้า 36 หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานสารสนเทศที่จัดเก็บรวบรวมรักษาเอกสารจดหมายเหตุที่สำคัญ ๆ ไว้มากที่สุด เช่น เอกสารทางราชการ จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งเป็นเอกสารโบราณหรือเอกสารเก่าย้อนหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศหรือของทางราชการ หน่วยงานเอกขนและบุคคล ทั้งนี้เพื่อรวบรวมเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย วิชาการ หรือการค้นคว้าวิจัย และเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ

9.         ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1)       ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บรรณารักษ์กำลังดำเนินการจัดซื้อจัดหา

(2)       ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บริษัทเสนอขายให้กับห้องสมุด

(3)       ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกและพร้อมให้บริการ

(4)       ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดได้ติดต่อให้บริษัทมาสาธิตวิธีการใช้งาน

ตอบ 3 หน้า 5576133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบ ที่ห้องสมุดได้คัดเสือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งตีพิมพ์บนแผ่นกระดาษ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกและพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ให้บริการและขวยผู้ใช้ค้นหา สารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10.       ข้อใดกล่าวถึงเชิงอรรถของหนังสือได้ชัดเจนที่สุด

(1)       ส่วนที่ช่วยอธิบายคำหรือข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(2)       ส่วนที่ให้คำอธิบายคำยากหรือศัพท์เฉพาะ

(3)       บัญชีคำหรือวลีที่ปรากฏในตอนท้ายของหนังสือ

(4)       บัญชีรายชื่อหนังสือหรือเอกสารอื่นที่ปรากฏในท้ายเล่มของหนังสือ

ตอบ1 หน้า 64 เชิงอรรถ (Footnotes) เป็นส่วนที่อธิบายคำหรือขยายข้อความบางตอนที่ปรากฏ ในเนื้อเรื่อง เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบถึงแหล่งที่มาของข้อความว่ามาจากแหล่งใด หรืออธิบาย คำยาก ให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากข้อความตอนนั้น โดยทั่วไปเชิงอรรถจะปรากฏอยู่ที่ตอนล่างของหน้าที่มีข้อความที่อ้างถึงนั้น หรืออาจรวมอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ ทั้งนี้ประโยชน์ของ เชิงอรรถก็คือ ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรืองได้ดียิ่งขึ้น และบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ยกมา อ้างอิง ซึ่งผู้สนใจอาจไปหาอ่านเพิ่มเติมในภายหลัง

11.       หน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ที่แสดงรายกานเชื่อมโยงหน้าเว็บเพจเข้าด้วยกันให้ประโยชน์คล้ายกับส่วนใด ของหนังสือมากที่สุด

(1) หน้าลิขสิทธิ         (2) หน้าคำนำ  (3) หน้าปกหนังสือ      (4) หน้าสารบัญ

ตอบ 4 หน้า 62 – 63, (คำบรรยาย) โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นั้น โดยผู้ใช้สามารถ Link ไปยังเว็บเพจหรือ หน้าเอกสารบนเว็บไซต์เพื่ออ่านข้อมูล โดยหน้าโฮมเพจจะมีลักษณะคล้ายกับหน้าสารบัญ (Content) ของหนังสือ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงลำดับเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น และช่วยให้ ผู้อ่านทราบขอบเขตหรือโครงเรื่องของหนังสือเล่มนั้นว่าแบ่งเป็นภาค เป็นตอน หรือเป็นบท อย่างไร อยู่หน้าไหน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการค้นหาเรื่องที่ต้องการอย่างกว้าง ๆ

12.       ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบสำคัญในหน้าปกของหนังสือพิมพ์ที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

(1) ความนำ     (2) พาดหัวข่าว            (3) สารบัญข่าว           (4) ภาพข่าว

ตอบ 3 หน้า 65 – 66 ส่วนประกอบหลักที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ มี 3 ส่วน ได้แก่

1.         พาดหัวข่าว (Headline) เป็นอักษรตัวดำหนาขนาดใหญ่เรียงอยู่ส่วนบนสุดของหน้ากระดาษ ซึ่งจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สรุปสาระสำคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว ถือเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่าน และจูงใจให้อยากรู้รายละเอียดของข่าวสารมากที่สุด

2.         ความนำ (Lead) หรือวรรคนำหรือโปรยข่าว เป็นย่อหน้าแรกของข่าวแต่ละข่าว ซึ่งจะเป็น ประโยคสั้น ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามอ่านข่าวตลอดทั้งเรื่อง

3.         ภาพข่าว (Photographs) เป็นส่วนประกอบที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะสามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี รวมทั่งยังช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์ให้น่าอ่านอีกด้วย

13.       สำนักเทคโนโลยีการศึกษาได้จัดทวิดีทัศน์คำบรรยายวิชา LIS 1003 เพื่อให้นักศึกษาเรียนด้วยตัวเอง ตามอัธยาศัย (Course on Demand) จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) สื่อทัศนวัสดุ           (2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์   (3) สื่อโสตทัศน์            (4) สื่อโสตวัสดุ

ตอบ 3 หน้า 67 – 7377 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ           1. โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง

แถบบันทึกเสียง ซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ 2. ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิก รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใส หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ 3. สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวิดีทัศน์ วีซีดี ดีวีดี ฯลฯ

14.       ข้อโดคือทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ให้สาระเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ ของผู้คนในช่วงเวลานั้น ๆ

(1) วารสาร      (2) ต้นฉบับตัวเขียน    (3) กฤตภาค    (4) จุลสาร

ตอบ 4 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัย และอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วใปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยหน่วยงานต่าง ๆ มักจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่เรื่องราวของหน่วยงานนั้น ๆ อาจพิมพ์ออกเป็นเล่มเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์ เป็นตอน ๆ ทั้งนี้รูปเล่มโดยทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจำนวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ‘’อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

15.       สื่อ USB Flash Drive ใช้วิธีการบันทึกข้อมูลเช่นเดียวกับสื่อในข้อใด

(1)ซีดีรอม (CD-ROM)    

(2) วิดีทัศน์ดิจิตอล (DVD)

(3) จานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk)        

(4) จานแสง (Optical Disk)

ตอบ 3 หน้า 75 – 7678, (คำบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ในการ บันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1.         แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสำเร็จรูป

2.         จานแสง (Optical Disk) เช่น CD-ROM, VCD, DVD ฯลฯ

3.         USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการ บันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

16.       ห้องสมุดนิยมอนุรักษ์เนื้อหาสาระจากหนังสือพิมพ์เก่าไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบใด

(1) Winzipdata (2) Metadata    (3) ไมโครฟิล์ม            (4) ไมโครฟิซ

ตอบ 3 หน้า 169 ห้องสมุดโดยทั่วไปนิยมคัดเลือกและจัดเก็บหนังลือพิมพ์ฉบับย้อนหลังที่สำคัญ ๆ ด้วยการถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วนแล้วเก็บไว้ใบรูปของไมโครพิล์ม เพื่อรักษาสภาพและประหยัดเนื้อที่ ในการจัดเก็บ เช่น สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง จะจัดเก็บหนังสือพิมพ์ 10 ฉบับ ไว้ในรูปไมโครพิล์ม ได้แก่ สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวพาณิชย์ มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ ประขาซาติ Bangkok Post และ The Nation

17.       ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหนังลืออ้างอิง

(1)       ห้องสมุดส่วนใหญ่อนุญาตให้ผู้ใช้ยืมไปศึกษาค้นคว้าที่บ้านได้

(2)       ผู้ใช้ต้องอ่านตลอดทั้งเล่มเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ

(3)       ช่วยผู้ใช้ในการเขียนรายการอ้างอิงเมื่อต้องทำรายงานการศึกษาค้นคว้า

(4)       ห้องสมุดใช้เพื่อตอบคำถามและช่วยผู้ใช้ค้นหาคำตอบที่ต้องการได้รวดเร็ว

ตอบ 4 หน้า 8183 – 84140 หนังสืออ้างอิง หมายถึง หนังสือที่จัดทำเป็นพิเศษสำหรับใช้ตอบปัญหา ต่าง ๆ และใช้ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงบางประการมากกว่าที่จะใช้อ่านตลอดเล่ม โดยจะครอบคลุม ความรู้พื้นฐานในทุกสาขาวิชาอย่างกว้างขวาง มีการจัดเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ/ มีระเบียบ เพื่อช่วยให้สามารถค้นหาคำตอบที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และเป็นหนังสือ ที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด ทั้งนี้ผู้จัดทำหนังสืออ้างอิงมักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนั้นเนื้อหาภายในเล่มจึงมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง

18.       หนังสืออ้างอิงในข้อใดที่ให้ข้อเท็จจริงหรือเนื้อหาสาระแตกต่างจากเล่มอื่น ๆ

(1) Encyclopedia (2) Dictionary (3) Directory      (4) Handbook

ตอบ 4 หน้า 107 – 108246 หนังสือคู่มือทั่วไป (Handbook) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้เบ็ดเตล็ดทั่วไปไม่จำกัดสาขาวิชา โดยเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ เช่น แรกมีในสยาม นอกจากนี้ คู่มือบางประเภทยังให้ข้อเท็จจริงหรือเนื้อหาสาระที่แตกต่างจากเล่มอื่น ๆ เช่น Guinness Book of World Records ให้เรื่องราวน่ารู้แปลก ๆ ที่ไม่ปรากฏในหนังสือทั่วไป ได้แก่ ชื่อบุคคลที่สูงที่สุดในโลก ชื่อบุคคลที่มีผมยาวที่สุดในโลก เป็นต้น

19.       ความแตกต่างของคำว่า “retrieve” และ “search” ควรค้นหาคำตอบจากหนังสือในข้อใด

(1)       สารานุกรม       (2) สมพัตสร    (3) พจนานุกรม            (4) นามานุกรม

ตอบ 3 หน้า 84 – 8588 พจนานุกรม (Dictionary) คือ หนังสือที่รวมคำในภาษา มีการเรียงลำดับ ตามตัวอักษร ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวสะกด วิธีการออกเสียง ชนิดของคำ ให้ความหมาย ของคำ วิธีใช้คำ คำที่มีความหมายพ้องกันหรือเหมือนกัน คำตรงกันข้าม และคำสแลง เช่น New Model English-Thai Dictionary เป็นพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยที่รวบรวมคำศัพท์ ภาษาอังกฤษที่นิยมใช้และวิสามานยนามที่สำคัญให้ความหมายให้คำอ่านออกเสียงด้วยภาษาไทย บอกชนิดของคำ เป็นต้น

20.       ต้องการรายชื่อหน่วยงานย่อยในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถหาได้จากข้อใด

(1) นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย    

(2) คู่มือการจัดการส่วนราชการ

(3) สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ 

(4) ทำเนียบรัฐวิสาหกิจไทย

ตอบ 1 หน้า 103105 นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย เป็นหนังสือนามานุกรมของรัฐที่รวบรวมรายชื่อ หน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอิสระ เช่น สำนักพระราชวัง ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ โดยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง รายชื่อผู้บริหารและหมายเลขโทรศัพท์ รหัสโทรเลข และหมายเลขเทเล็กช์ เรียงไว้ตามสำดับอักษรชองชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งมีดรรชนีชื่อส่วนราชการจัดเรียงตามสำดับอักษรก-ฮ และ A – Z อยู่ท้ายเล่ม

21.       International Who’s Who ให้ข้อมูลในข้อใด

(1)       ประมวลภาพงานฉลองพิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

(2)       พระราชประวัติของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

(3)       การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศภูฏาน

(4)       ลำดับเหตุการณ์พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธีบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

ตอบ 2 หน้า 99 International Who’s Who เป็นอักขราบุกรมชีวประวัติที่ให้ชีวประวัติบุคคล ทีมีชื่อเสียง และยังมีชีวิตอยู่ในทุกอาชีพจากทุกประเทศทั่วโลก โดยให้รายละเอียดอย่างสั้น ๆ ในด้านวุฒิการศึกษา อาชีพ วันเดือนปีเกิด สถานที่ศึกษา ประวัติการทำงาน ผลงาน สถานที่อยู่ ปัจจุบัน ๆลฯ ซึ่งจะจัดเรียงรายชื่อเจ้าของประวัติตามลำดับอักษรชื่อสกุล นอกจากนี้ยังมี พระราชประวัติโดยสังเขปของพระมหากษัตริย์ที่ยังเป็นประมุขของประเทศต่าง ๆ อยู่ โดยเรียงไว้ตามลำดับอักษรของชื่อประเทศ

22.       สำดับเหตุการณ์ ตุลามหาวิปโยคในปี 2516” ค้นหาได้จากหนังสืออ้างอิงเล่มใดได้รวดเร็วที่สุด

(1) สมุดสถิติรายปีประเทศไทย          

(2) เล่าเรื่องเมืองไทย

(3) สิ่งแรกในเมืองไทย

(4) สยามออลมาแนค

ตอบ 4 หน้า 112 สยามออลมาแนค เป็นหนังสือปฏิทินเหตุการณ์รายปีเล่มแรกของประเทศไทย ที่รวบรวมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปี ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร การศึกษา การแรงงาน เศรษฐกิจ ศาสนา ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ธุรกิจการพาณิชย์ เกษตรกรรม กีฬา การท่องเที่ยว รวมทั้งสถิติในรูปของตาราง เช่น อัตราการเกิดและการตาย ของประชากร จำนวนประชากร เป็นต้น

23.       ข้อใดกล่าวถึง Americana Annual ได้ถูกต้องที่สุด

(1)รวมเรื่องราวที่เป็นที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา

(2) สมุดสถิติรายปีของประเทศสหรัฐอเมริกา

(3) ภาคผนวกของสารานุกรม Americana       

(4) หนังสือรายปีของสารานุกรม Americana

ตอบ 4 หน้า 109 – 110 Americana Annual เป็นหนังสือรายปีของสารานุกรม Americana ที่ให้เนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ทีเกิดขึ้นใบรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งการให้ ข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน คือ

1. เป็นรายงานข่าวในหัวเรื่องที่สำคัญและปฏิทินเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

2. เป็นบทความสังเขปในหัวเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของบุคคลหัวไป ในปีนั้น ๆ โดยจะเน้นเรื่องราวของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่

3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ     

4. ให้ข้อมูลในรูปของตารางและตัวเลขสถิติ

24.       ข้อใดไม่จัดอยู่ในประเภทสิ่งพิมพ์รัฐบาล       

(1) ราชกิจจานุเบกษา

(2)คำพิพากษาและคำสั่งศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. 2550

(3)กินรีของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)           

(4) รายงานผลการดำเนินงานกรมการพัฒนาชุมชน

ตอบ 3 หน้า 131 – 132141 สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ขึ้นเพื่อจำหน่าย หรือแจกเป็นบริการให้เปล่าแก่หน่วยงานและประชาชนที่สนใจ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงมากและจัดเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) ซึ่งอาจมีลักษณะรูปเล่มเป็นหนังสือ วารสาร แผ่นพับ แผนที่และแผนภูมิ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ สวนสาระในเล่มอาจเป็นรายงานการปฏิบัติงาน ร่างกฎหมายและมติต่าง ๆ ราชกิจจานุเบกษา ประมวลกฎหมายต่าง ๆ คำพิพากษาและความเห็นศาล เป็นต้น

25.       ข้อใดให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่มีผมยาวที่สุดในโลก

(1) รายงานประจำปี    (2) สารานุกรม (3) หนังสือคู่มือ           (4) สมพัตสร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

26.       ข้อใดคือระบบจัดหมู่หนังสือที่ใช้ในห้องสมุดโรงเรียนวัดเทพลีลา

(1) ระบบทศนิยมสากล           (2) ระบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน       (4) ระบบโคล่อน

ตอบ 2 หน้า 151 – 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification : DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพรหลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มี หนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจำนวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประซาซน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมวดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการ ในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และกำหนดสัญลักษณ์เป็นเลขอารบิก 3 ตัว ตั้งแต่ 100 – 000 เพื่อแสดงเนื้อหาของหนังสือ นอกจากนี้หากต้องการระบุเนื้อหาของหนังสือให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น ก็ให้ใช้วิธีเขียนเป็นจุดทศนิยมตั้งแต่ 1 ตำแหนงขึ้นไปจนถึงหลาย ๆ ตำแหน่งตามความเหมาะสม

27.       ข้อใดกล่าวถึงการจัดหมวดหมู่หนังสือของห้องสมุดได้ถูกต้องที่สุด

(1)       การจัดเก็บหนังสือโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ

(2)       การจัดเก็บหนังสือตามขนาดของหนังสือ

(3)       การจัดเก็บหนังสือตามความสนใจของผู้ใช้ห้องสมุด

(4)       การจัดเก็บหนังสือตามคำสำคัญที่ปรากฏในชื่อเรื่องของหนังสือ

ตอบ. 1 หน้า 150 การจัดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือให้เป็นระบบโดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระ ของหนังสือเป็นสำคัญ และมีการกำหนดสัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท เพื่อเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ซึ่งหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกัน และ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันจะมีสัญลักษณ์เหมือนกันและวางอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนหนังสือ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจะมีสัญลักษณ์ใกล้เคียงกันและวางอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ไกลกัน

28.       ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในข้อใดที่ใช้เลขอารบิกและอักษรโรมันเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือแต่ละเล่ม

(1) ระบบ DDC และ Colon       (2) ระบบ LC และ DDC

(3) ระบบ NLM และ LC    (4) ระบบ UDC และ LC

บ3 หน้า 153 – 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) และระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของ สหรัฐอเมริกา (National Library Medicine : NLM) จะใช้เลขอารบิกและอักษรโรมันเป็น สัญลักษณ์ของหนังสือแต่ละเล่มเหมือนกัน แต่อาจแตกต่างกันในด้านการจำแนก ทั้งนี้ระบบ LC จะนิยมใช้ในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือวิชาการทั่วไปเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ หรือห้องสมุดมหาวิทยาลัย ส่วนระบบ NLM จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยคาสตร์ในทุกสถาบัน เช่น หอสมุดศิริราช ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เป็นต้น

29.       สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดหมวดหมู่หนังสือวิชาการทั่วไปด้วยระบบใด

(1) ระบบทศนิยมสากล           (2) ระบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน       (4) ระบบโคล่อน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30.       ข้อใดเรียงหนังสือ 4 เล่ม ซึ่งมีสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ได้ถูกต้อง

403.1

 

501.15

 

    402.191

 

402.5

พ324ง

 

ธ345ง

 

บ456ง

 

ก897ค

2550

 

2554

 

2555

 

2553

 

(1) ข-ก-ค-ง     (2) ค-ก-ข-ง     (3) ก-ข-ค-ง     (4) ค-ง-ก-ข

ตอบ 4 หน้า 159 – 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือ จากซ้ายไปขวา จากขั้นบนลงขั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลำดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก ส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลำดับตาม ตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ำกับจึงค่อยเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ำกันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจำหนังสือ และอักษรชื่อเรื่องตามลำดับ (จากโจทย์สามารถเรียงลำดับที่ถูกต้องได้ดังนี้  ค ง ก ข)

31.       ข้อใดกล่าวถึงเลขเรียกหนังสือได้ถูกต้องที่สุด

(1)       สัญลักษณ์ที่สำนักพิมพ์กำหนดขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงในการสั่งซื้อหนังสือ

(2)       สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเพื่อระบุตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(3)       รหัสประจำหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติกำหนดให้กับหนังสือทีผลิตขึ้นในประเทศทุกเล่ม

(4)       รหัสประจำหนังสือที่ห้องสมุดกำหนดเพื่อใช้เป็นรหัสสำหรับการแลกเปลี่ยนหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 191 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะของ หนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็น เครื่องขี้บอกตำแหน่งของหนังสือบนชั้นซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือของห้องสมุด

32.                  ข้อใดจัดเรียงนิตยสารใหม่ของห้องสมุดได้ถูกต้อง

ก                       ข                         ค                      ง                        จ

แทรเวลทริปส์         ดูสร้างคู่สม            เพิอนเดินทาง         เที่ยวรอบโลก        จิเอ็มแทรเวล

(1) ข-จ-ง-ท-ค    (2) จ-ง-ค-ข-ก    (3) ก-ข-ค-ง-จ    (4) ค-ง-จ-ข-ก

ตอบ 1 หน้า 57168 ห้องสมุดโดยทั่วไปจะมีวิธีจัดเก็บวารสารและนิตยสารของห้องสมุดใน 2 ลักษณะ ดังนี้

1.         วารสารและนิตยสารฉบับใหม่หรือฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลำดับอักษร ของชื่อวารสารหรือนิตยสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายขื่อวารสารหรือนิตยสารกำกับไว้ที่ชั้น ตรงกับตำแหน่งที่จัดวาง(จากโจทย์สามารถเรียงลำดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ข จ ง ก ค)

2.         วารสารและนิตยสารฉบับย้อนหลังหรือไม่ใช่ฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดรวมไว้กับวารสาร หรือนิตยสารย้อนหลังฉบับก่อน ๆ โดยนำไปเย็บรวมเป็นเล่มเมื่อได้รับครบปี และนำวารสาร หรือนิตยสารที่เย็บเล่มแล้วไปจัดเรียงไว้บนชั้นตามลำดับอักษรของชื่อวารสารหรือนิตยสาร จากปีที่เก่าไปหาใหม่ โดยมีป้ายชื่อวารสารหรือนิตยสารกำกับไว้ที่ชั้นตรงกับตำแหน่งที่จัดวาง

33. ข้อใดคือสัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับสิ่งพิมพ์รัฐบาล เรื่องรายงานประจำปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1) GP         (2) Ref        (3) SC         (4) GV

ตอบ 1 หน้า 166 – 167 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดแยกสิ่งพิมพ์รัฐบาลออกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกำหนดระบบการจัดหมู่ขึ้นโดยเฉพาะคือ กำหนดอักษร GP (Government Publication) เป็นสัญลักษณ์พิเศษของสิ่งพิมพ์รัฐบาลกำกับเหนือเลขเรียกหนังสือ หลังจากนั้นจึงจัดแยกสิ่งพิมพ์ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวงกรม กอง ฯลฯ

34. ข้อใดเป็นการจัดเก็บแผ่นเสียงที่ถูกต้อง

(1)       จัดเก็บไว้ในกล่อง โดยเรียงตามลำดับเลขทะเบียน

(2)       กำหนดเลขหมู่เช่นเดียวกับหนังสือ และจัดเก็บไว้ในกล่องเรียงตามเลขหมู่

(3)       กำหนดสัญลักษณ์ SR ตามด้วยเลขทะเบียน และเก็บไว้ในซอง 2 ชั้น

(4)       จัดเก็บไว้ในกล่อง โดยเรียงตามลำดับอักษรชื่อเพลงภายใต้ประเภทเพลง

ตอบ 3 หน้า 171 แผ่นเสียง (Phonodisc) เป็นวัสดุบันทึกเสียงประเภทหนึ่งที่มักจัดเก็บด้วยการบรรจุซอง 2 ชั้น แล้วจัดแยกเอาไว้ต่างหาก โดยมีการกำหนดสัญลักษณ์ SR (Sound Recording) ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ แล้วติดป้ายชื่อเรื่องบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และนำไป จัดเรียงไว้ในตู้หรือชั้นเก็บแผ่นเสียง 

35.       สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดเก็บวารสารเย็บเล่มอย่างไร

(1)       จัดรวมไว้กับวารสารย้อนหลังที่ยังไม่ได้เย็บเล่ม

(2)       จัดเก็บตามเนื้อหาของวารสารและเรียงบนชั้นรวมกับหนังสือทั่วไป

(3)       จัดเรียงไว้บนชั้นตามลำดับอักษรชื่อวารสารจากบที่เก่าไปหาใหม่

(4)       จัดเรียงตามลำดับเลขทะเบียนของวารสารเย็บเล่ม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

36.       ข้อใดคือประโยชน์ของเครื่องมือช่วยค้นหนังสือของห้องสมุดมหาวิทยาลัย

(1) ระบุความเป็นมาของหนังสือแต่ละเล่ม      (2) สรุปเนื้อหาของหนังสือพอสังเขป

(3) ให้ข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่ม         (4) นำทางผู้ใช้ไปสู่ความรู้ที่สัมพันธ์กัน

ตอบ 3 หน้า 189 เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศ ได้อย่างสะดวกก็คือ บัตรรายการ ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ใช้หลายประการ ดังนี้

1.         บอกให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศใดบ้าง ใครเป็นผู้แต่ง และจัดวางอยู่ที่ใดในห้องสมุด

2.         ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่ม

3.         ช่วยให้ผู้ใข้สามารถคันหาหนังสือที่ต้องการได้ แม้ไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง

4.         ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเตรียมเขียนรายงาน

5.         ช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชามากน้อยเพียงใด

37.       การจัดเก็บลื่อในข้อใดที่มีการกำหนดหัวเรื่องและจัดเก็บใส่แฟ้มเรียงตามลำดับหัวเรื่อง

(1)ภาพโปร่งใสและไมโครฟิล์ม          

(2) แผนที่และแผนภูมิ

(3) กฤตภาคและจุลสาร         

(4) ภาพนิ่งและภาพเลื่อน

ตอบ 3 หน้า 163170 – 171 วิธีการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคของห้องสมุดจะใช้วิธีเดียวกัน

ส่วนมากนิยมจัดเก็บแยกออกจากวัสดุสารสนเทศอื่น ๆ คือ จัดเก็บโดยกำหนดหัวเรื่องกำกับไว้ ที่มุมบนของปก แล้วนำจุลสารและกฤตภาคที่มีหัวเรื่องเดียวกับเก็บรวบรวมไว้ในแฟ้ม ปิดป้าย ขื่อหัวเรื่องที่แฟ้ม และนำแฟ้มไปจัดเก็บไว้ในตู้เก็บเอกสารเรียงตามลำดับอักษรของหัวเรื่อง โดยที่หน้าลิ้นชักจะมีอักษรกำกับไว้ให้ทราบว่าแต่ละลิ้นชักมีแฟ้มเริ่มจากอักษรตัวใดถึงตัวใด

38.       ต้องการหนังสือชื่อ การศึกษาเพื่อความเป็นไท” ควรสืบค้นผ่านรายการใดของระบบสืบค้นข้อมูลของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง          

(1) เลขมาตรฐานหนังสือสากล

(2)หัวเรื่อง       

(3) คำสำคัญ  

(4) ชื่อเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 190313, (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 29 – 30219228) ในปัจจุบันผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด โดยใช้บัตรรายการแบบออนไลน์ (Online Catalog) ผ่านระบบ OPAC (Online Public Access Catalog) ซึงเป็นการสืบค้นข้อมูลด้วยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านเมนหลัก ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง

ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ หัวเรื่อง คำสำคัญ (Keyword) เลขเรียกหนังสือ เลขประจำหนังสือสากล (ISBN) และเลขประจำวารสาร (ISSN) ในกรณีที่ผู้ใช้ทราบชื่อหนังสือ ก็สามารถสืบค้นข้อมูล โดยเข้าไปทีรายการชื่อเรื่อง

39.       ข้อใดที่ใช้เป็นแนวทางในการช่วยค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1) Online Catalog

(2) Metadata   

(3) Entry Catalog

(4) รายการหลัก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

40.       วิธีการค้นหาหนังสือตามชื่อผู้แต่งในข้อใดทำได้ถูกต้อง

(1) ศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร จามรมาน         

(2) อุทุมพร จามรมาน (ดร.)

(3) อุทุมพร จามรมาน 

(4) ดร.อุทุมพร จามรมาน

ตอบ 3 หน้า 191 – 192249 การบันทึกชื่อผู้แต่งหรือรายการหลักลงบนบัตรรายการ ในกรณีที่ผู้แต่ง เป็นคนไทยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.         ให้ลงชื่อและนามสกุล ถ้ามีตำแหน่งทางวิชาการ ตำแหน่งทางวิขาชีพ หรือคำนำหน้าชื่อบุคคล ได้แก่ นาย/นางสาวดร.แพทย์หญิงศ./ผศ./รศ. ฯลฯ ไม่ต้องลงในบัตรรายการ เช่น อุทุมพร จามรมาน

2.         ถ้าเป็นพระราชวงศ์ มีฐานันดรศักดิ์ หรือยศตำแหนงทางราชการ ได้แก่ ม.ร.ว./ม.ล./ม.จ.คุณหญิงพ.ต.ท. ฯลฯ ต้องลงในบัตรรายการด้วย เช่น เสนีย์ ปราโมชม.ร.ว. เป็นต้น

41.       การเรียงข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือในห้องสมุดข้อใดถูกต้อง

ก. นงค์ ปิยโชติ            ข. นันทวัน เทียนแก้ว    ค. น. นพรัตน์             ง. น้ำผึ้ง เทศนา

(1) ค-ก-ข-ง     (2) ค-ข-ก-ง     (3) ก-ข-ง-ค     (4) ก-ง-ค-ข

ตอบ 1 หน้า 207 – 210 การเรียงลำดับข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือภาษาไทยในห้องสมุด จะใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทย ดังนี้

1.         ให้เรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ โดยไม่คำนึงถึงเสียงอ่าน

2.         คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน ให้เรียงคำที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคำที่มีรูปสระ และ เรียงลำดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

3.         อักษรย่อใด ๆ เช่น น. นิรมล ให้เรียงไว้ตอนต้นของคำที่เป็นอักษรนั้น ๆ ถ้ามีอักษรย่อซ้ำกัน ให้เรียงตามลำดับของอักษรตัวถัดไป เป็นต้น (จากโจทย์ สามารถเรียงข้อมูลที่ถูกต้องได้ดังนี้ ค ก ข ง)

42.       ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเมนูช่วยการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด

(1) หัวเรื่อง      

(2) ชื่อเรื่อง

(3) หมายเลข ISM  

(4) หมายเลข ISBN

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

43.       ต้องการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ควรสืบค้นผ่านเมนูในข้อใด ของรายการสืบค้น

(1) ขื่อหนังสือ 

(2) หัวเรื่อง

(3) เลขหมู่หนังสือ       

(4) เลขทะเบียนหนังสือ

ตอบ2 หน้า 221228 หัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่บรรณารักษ์เลือกมาจาก บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน เพื่อใช้แทนเนื้อเรื่องซึ่งตรงกับเนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือแต่ละเล่ม โดยหัวเรื่องส่วนมากจะเป็นคำสั้น ๆ กะทัดรัด ได้ใจความ ครอบคลุมเนื้อเรื่องของหนังสือทั้งเล่ม แต่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ชื่อเฉพาะที่เป็นคำวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที ชื่อสถาบัน ฯลๆ กำหนดเป็นหัวเรื่องหรือคำค้นได้ด้วย ทั้งนี้การใช้ หัวเรื่องค้นหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด มักใช้ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องทรัพยากรสารสนเทศนั้น 

44.       คำหรือกลุ่มคำในข้อใดใช้เป็นหัวเรื่องสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุดได้

(1)       นก       (2) เคมีวัตถุ    (3) ดอกไม้การจัด   (4) ทวิภพนวนิยาย

ตอบ 1 หน้า 223 – 224228 การกำหนดคำที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่มีลักษณะดังนี้

1.         คำนามคำเดียวโดด ๆ เช่น กบ ไกด์ บก ฯลฯ

2.         คำผสมที่เป็นคำนาม 2 คำ เชื่อมด้วย “and”, “กับ”, “และ” ทั้งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง ไปในทางเดียวกัน เช่น ชุมชนกับโรงเรียน บิดาและมารดา ฯลฯ และที่มีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนากับวิทยาศาสตร์ Good and Evil ฯลฯ

3.         คำนามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและมีคำคุณศัพท์ที่ขยายคำแรกให้สื่อความหมายดีขึ้น เช่น เคมีวัตถุ ดอกไม้การจัด ฯลฯ

4.         กลุ่มคำหรือวลี เช่น บริการแปล ชีวิตชนบท ฯลฯ

5.         ชื่อเฉพาะที่เป็นคำวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อพระหรือเทพเจ้า ฯลฯ

45.       ข้อใดกล่าวถึงหัวเรื่องได้ถูกต้องและชัดเจนที่สุด

(1)       คำสำคัญที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

(2)       คำที่ใช้แทนเนื้อหาหนังสือและสื่ออื่น ๆที่ปรากฏในบัญชื่อหัวเรื่อง

(3)       คำสำคัญที่ใช้ค้นหาบทความ วารสาร และหนังสือพิมพ์

(4)       คำควบคุมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

46.       ข้อมูลจากบัญชีหัวเรื่อง (LCSH) ด้านล่าง ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด

School-age child care (May Subd Geog)

UF After school day care

BT Child care

(1) After school day care ใช้เป็นหัวเรื่องได้          

(2) Child care ใช้เป็นหัวเรื่องได้

(3) May Subd Geog   ใช้เป็นหัวเรื่องได้         

(4) School-age child care ห้ามใช้เป็นหัวเรื่อง

ตอบ 2 หน้า 225 – 227 จากบัญชีหัวเรื่องภาษาอังกฤษ (LCSH) ฉบับปัจจุบัน สามารถนำมาอธิบาย หัวเรื่องจากโจทย์ได้ดังนี้

1.         School-age child care คือ หัวเรื่องใหญ่

2.         (May Subd Geog) คือ แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์

3.         After school day care คือ ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง (UF)

4.         Child care คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า (BT)

47.       ข้อใดคือหัวเรื่องที่แบ่งย่อยตามเนื้อหา เพื่อให้ได้หนังสือที่มีเนื้อหาเจาะจงยิ่งขึ้น

(1)       Art, abstract     (2) Monkey and Bird

(3) English Language—Grammar      (4) Essays, Addresses

ตอบ 3 หน้า 224 – 225 หัวเรื่องย่อย เป็นคำหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ ให้เห็นชัดเจนหรือจำเพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (–) อยู่ข้างหน้าคำ เพื่อคั่นระหว่างหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย แบ่งได้ 4 บ่ระเภท ดังนี้

1.         แบ่งตามวิธีเขียน เช่น ภาษาไทยแบบฝึกหัดหนังสือหายากบรรณานุกรม ฯลฯ

2.         บอกลำดับเหตุการณ์ ซึ่งจะแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคลมัย หรือชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ไทยประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย1800 – 1900 ฯลฯ

3.         แบ่งตามขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา เช่น English Language— Grammar,เกษตรกรรมแง่สังคม ฯลฯ

4.         แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น พุทธศาสนาไทยเชียงใหม่ม้าป่าอินเดีย ฯลฯ

48.       ข้อใดเป็นวิธีการเลือกเรื่องหรือหัวข้อเพื่อทำรายงานในรายวิชา การบริหารงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น’’ ที่ถูกต้อง

(1)       เลือกเรื่องที่เพื่อน ๆ ไม่สนใจ เพื่อให้โดดเด่นกว่าคนอื่น

(2)       เลือกเรื่องหรือหัวข้อที่ง่ายที่สุด เพื่อให้เสร็จเร็ว ๆ

(3)       เลือกเรื่องที่น่าสนใจและสอดคล้องกับรายวิชาที่เรียน

(4)       เลือกเรื่องที่อาจารย์ประจำวิชาสนใจ เพื่อให้ไต้คะแนนดี

ตอบ 3 หน้า 238 – 239 การกำหนดเรื่องหรือหัวข้อของรายงานมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้คือ

1.         เลือกเรืองที่น่าสนใจหรือชอบมากที่สุด และควรสอดคล้องกับวิชาที่กำลังศึกษาอยู่

2.         เลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจและที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

3.         เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเราหรือที่เราเกี่ยวข้องด้วย

4.         เลือกเรื่องที่มีข้อมูลให้ค้นคว้าอย่างเพียงพอหรืออยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้

5.         เลือกเรืองที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือไม่ยาวจนเกินไป เพื่อให้ทันกับกำหนดเวลาและ ขนาดของรายงาน

49.       ข้อใดกล่าวถึงขั้นตอนการทำรายงานได้ถูกต้องที่สุด

(1)       ผู้ทำรายงานควรสำรวจข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกหัวข้อรายงาน

(2)       การรวบรวมบรรณานุกรมมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง

(3)       ผู้ทำรายงานต้องทำบัตรบันทึกข้อมูลก่อนการรวบรวมบรรณานุกรม

(4)       การเขียนรายงานควรทำไปพร้อมกับการเขียนบัตรบันทึกจากการอ่าน

ตอน 2 หน้า 238247 – 248263 ขั้นตอนของการทำรายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. การกำหนดชื่อเรืองหรือหัวข้อที่จะทำรายงาน         

2. การสำรวจข้อมูล

3.         การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง

4.         การทำบัตรบันทึกข้อมูล 5. การวางโครงเรื่อง 6. การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง

50.       วิธีการในข้อใดใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลจาก พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อประกอบการทำรายงาน

(1) แบบถอดความ      (2) แบบเรียงความ      (3) แบบลอกความ      (4) แบบสรุปความ

ตอบ.3 หน้า 257260 – 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความ หรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคำนิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโชวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับ กวีนิพนธ์ และบทละครต่าง ๆ ซึ่งถ้าคัดลอกต้นฉบับมาทั้งหมดให้คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (“          ”) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมายจุด 3 จุด (…) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้นโดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทำเมื่อ

1.         ผู้ทำรายงานไม่สามารถหาคำพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2.         เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3.         เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

51.       แหล่งข้อมูลในข้อใดที่นักศึกษาสามารถใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการทำรายงานได้เป็นอย่างดี

(1)       สารานุกรมทั่วไป          (2) วิทยานิพนธ์           (3) รายงานการวิจัย     (4) บทความในวารสาร

ตอบ 1 หน้า 91243 – 244 สารานุกรมทั่วไป เป็นหนังสืออ้างอิงที่ให้ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นในวิชา ต่าง ๆ ไม่จำกัดสาขา รวมทั้งมีเรื่องของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกในหลายแง่มุม พร้อมกับรายชื่อ หนังสืออ่านประกอบ จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการทำรายงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เค้าโครงเรื่องของหัวข้อสำคัญในสารานุกรมยังใช้เน้นแนวทางเพื่อเลือกเรื่องหรือ หัวข้อของรายงานได้อีกด้วย

52.       ข้อใดกล่าวถึงการเรียบเรียงรายงานได้ถูกต้องที่สุด

(1)       การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลควรใช้หลายรูปแบบเพื่อให้มีความหลากหลาย

(2)       การใช้อักษรย่อหรือคำย่อช่วยให้รายงานมีความกระชับน่าอ่าน

(3)       การเรียบเรียงเนื้อหาจะต้องเป็นไปตามโครงเรืองของรายงานที่ได้วางไว้

(4)       การวางโครงร่างรายงานควรเป็นไปตามข้อมูลที่ได้จากบัตรบันทึก

ตอบ 3 หน้า 263 การเรียบเรียงรายงานฉบับร่างมีข้อควรพิจารณาดังนี้

1.         เรียบเรียงเนื้อหาของรายงานตามลำดับของโครงเรื่องที่วางไว้ เนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

2.         ใช้ภาษาที่ถูกต้อง กะทัดรัด สุภาพ และอธิบายทุกสิ่งให้ชัดเจน

3.         ไม่ใช้อักษรย่อและคำย่อ

4.         ต้องเสนอที่มาของข้อมูล เช่น ตาราง แผนภูมิ ภาคผนวก บรรณานุกรม ฯลฯ อย่างถูกวิธี โดยเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตลอดรายงาน

53.       การเพิ่มตารางแสดงประชากรของประเทศอาเซียน ควรใส่ไว้ในส่วนใดของรายงาน

(1) บรรณานุกรม         (2) ภาคผนวก  (3) เนื้อหา        (4) อภิธานศัพท์

ตอบ 2 หน้า 275 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนท้ายของรายงานที่นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือ จากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เนื่องจากรายการนั้นไม่เหมาะที่จะเสนอแทรกไว้ในส่วนเนื้อหา แต่มีความสัมพันธ์และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่น ตารางแสดงจำนวนประชากร แบบสอบถาม ตารางลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

54.       ข้อใดเขียนรายการอ้างอิงแบบในวงเล็บได้ถูกต้อง

(1) (Wilson, 1996, p. 11 – 15)  

(2) (Wilson 1996, p. 11)

(3) (T.D. Wilson, 1996, p. 11)

(4) (T.D. Wilson, 1996, pp. 11)

ตอบ 2 หน้า 264276 – 277 การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี (Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite-in-Text) โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์ พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมีรูปแบบตามคู่มือ Turabian ดังนี้ (ชื่อผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (ประเวศ วะสี 2555หน้า 29) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงชื่อสกุลของผู้แต่งตามด้วยปีที่พิมพ์และเลขหน้า เช่น (Wilson 1996, p. 11)

55.       ข้อใดเขียนรายการอ้างอิงตอนท้ายของรายงานการศึกษาค้นคว้าได้ถูกต้อง

(1)       รศ.ดร. บุญขม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

(2)       บุญขม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

(3)       รศ. บุญขม ศริสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

(4)       ดร. บุญขม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาลับ.

ตอบ 2 หน้า 254 – 255276 – 277, (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 313 – 315)

รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมสำหรับหนังสือที่ถูกต้องมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1.         รูปแบบตามคู่มือ Turabian มีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ปีที่พิมพ์.

เช่น บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น2554.

2.         รูปแบบตามคู่มือ APA มีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้

ขื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

เช่น บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

56.       รายการในข้อใดที่ใช้อ้างอิงตำแหน่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

(1) IP (2) TCP       (3) DNS      (4) FTP

ตอบ 1 (คำบรรยาย) โปรโตคอล IP (Internet Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้สำหรับระบุตำแหน่ง หรือที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยตรวจสอบ หรืออ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ระบบตัวเลข IP ประกอบด้วยตัวเลข 4 กลุ่ม ถูกคั่นด้วยจุด เช่น 128.56.48.12 เป็นต้น

57.       ข้อใดไม่มีความสัมพันธ์กับเกี่ยวกับการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น

(1) สหรัฐอเมริกา         (2) อาร์พาเน็ต (3) การค้า        (4) การทหาร

ตอบ 3 (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 47 – 48), (คำบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริมแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารในช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับงานวิจัย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนำอินเทอร์เน็ต มาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

58.       รายการต่อไปนี้ [email protected] ส่วนใดใช้อ้างถึงชื่อผู้ให้บริการอีเมล์

(1) @yahoo       

(2) ©yahoo.com

(3) peemasak   

(4) yahoo.com

ตอบ 4 หน้า 311, (คำบรรยาย) จากโจทย์เน้นกลุ่มของ E-mail Address ซึ่งเน้นที่อยู่ประจำตัวของ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ โดย E-mail Address ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ชื่อผู้ให้บริการเครื่องหมาย และชื่อโดเมน (Domain Name) ของเครื่องแม่ข่ายที่เราใช้บริการอยู่ เช่น peemasak คือ ชื่อผู้ใช้ ส่วน yahoo.com คือ ชื่อโดเมนของเครื่องแม่ข่ายของผู้ให้บริการอีเมล์ เป็นต้น

59.       ข้อใดไม่ใช่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

(1) Twitter

(2) Hi5

(3) Wikipedia   

(4) Facebook

ตอบ 3 (คำบรรยาย) เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) คือ เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีจุดเด่นหลักคือ ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสาร ได้ในวงกว้างและหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ในปัจจุบันมีโปรแกรม หรือเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับ Social Network เช่น Facebook, Twitter, Linkedin, Line, MySpace, Hi5 ฯลฯ (ส่วนเว็บไซต์ Wikipedia เน้นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่)

60.       ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมที่ใช้แสดงผลข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Web browser)

(1) Mozila Firefox      (2) Adobe Acrobat

(3) Netscape Navigator     (4) Internet Explorer

ตอบ 2 (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 55) Web browser คือ โปรแกรมเฉพาะที่ใช้แสดงผลข้อมูล บนอินเทอร์เน็ตสำหรับการเข้าสู่บริการเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์ได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น โดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ออกมาใหม่ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด จากอินเทอร์เน็ตโดยตรงและไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator, Mozila Firefox, Opera เป็นต้น (ส่วนโปรแกรม Adobe Acrobat เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการไฟล์ประเภท PDF)

Advertisement