การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4008 กฎหมายที่ดิน

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายทองครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2496 โดยไม่มีหนังสือสำคัญ แสดงสิทธิในที่ดิน เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับนายทองก็ไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองตามที่ กฎหมายกำหนด แต่ยังคงครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ใน พ.ศ. 2530 นายทอง ได้ขายที่ดินแปลงนั้นให้แกนายเงิน นายเงินได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อมา ขณะนี้ ได้มีประกาศเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่นั้น ดังนี้ อยากทราบว่านายเงินจะนำที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสำรวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดยไม่มี หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคำสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทำการสำรวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ ถ้ามีได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานำหรือส่งตัวแทนมานำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการ สำรวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนด ให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

มาตรา 58 วรรคแรก วรรคสองและวรรคสาม เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในจังหวัดใดในปีใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดจังหวัดที่จะทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์สำหรับปีนั้น เขตจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่รวมท้องที่ที่ทางราชการได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร

เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้น ของการเดินสำรวจรังวัดในท้องที่นั้น โดยปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานที่ดิน ที่ว่าการอำเภอ ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวันเริ่มต้นสำรวจไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ให้บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว นำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมาย เพื่อทำการสำรวจรังวัด ทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย

มาตรา 58 ทวิ วรรคแรก และวรรคสอง เมื่อได้สำรวจรังวัดทำแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวน การทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แกบุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็นที่ดินที่อาจ ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(2) ผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายทองครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดิน และนายทองก็ไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองตามที่กฎหมายกำหนด กรณีนี้ ถือว่านายทองเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) โดยไมมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครอง ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นายทองจึงเป็นบุคคลตามมาตรา 27 ตรี วรรคแรก

ต่อมา ใน พ.ศ. 2530 นายทองได้ขายที่ดินแปลงนั้นให้แกนายเงิน โดยนายเงินได้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมา ในกรณีนี้ถือว่านายเงินเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจาก นายทองตามมาตรา 27 ตรี วรรคสอง ซึ่งให้ถือว่านายเงินเป็นบุคคลตามมาตรา 27 ตรีด้วย

เมื่อปรากฏตามข้อเท็จจริงว่า ขณะนี้ได้มีประกาศเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่นั้น (แบบทั้งตำบล) ตามมาตรา 58 วรรคแรกและวรรคสอง นายเงินก็สามารถนำที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินได้ โดย ต้องปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี วรรคแรก ประกอบมาตรา 58 วรรคสาม กล่าวคือ

1.         นายเงินต้องมาแจ้งภารครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายใน กำหนดเวลา 30 วันนับแต่วันปิดประกาศ และมานำหรือส่งตัวแทนมานำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ มอบหมายทำการเดินสำรวจรังวัดที่ดิน

2.         ถ้านายเงินมิได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานำหรือส่งตัวแทน มานำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมายทำการเดินสำรวจรังวัดที่ดิน ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็ให้ถือว่า นายเงินประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

ดังนั้น เมื่อนายเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว นายเงินก็จะ ได้รับโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (2)

สรุป นายเงินขอออกโฉนดที่ดินได้ เพราะเป็นบุคคลตามมาตรา 27 ตรี วรรคสอง โดยต้อง ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี วรรคแรก ประกอบมาตรา 58 วรรคสาม และจะได้รับโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (2)


ข้อ
2. นายใหญ่ขายที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แกนายเล็กเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2540 โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แก่กัน ใน พ.ศ. 2547 ได้มีประกาศเดิน สำรวจออกโฉนดที่ดิน แต่นายเล็กไมได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดที่ดินของตน แต่ก็ยังคงครอบครองที่ดินต่อเนื่องมา ขณะนี้นายเล็กได้ไปยื่นคำขอออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่านายเล็กจะขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 4 ทวิ     นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 59 “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาเห็นสมควร ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กำหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองด้วย

มาตรา 59 ทวิ ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้ บังคับโดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไมรวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจำเป็นจะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายใหญ่ขายที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่นายเล็ก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2540 โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเองและส่งมอบที่ดินให้แกกัน มิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการโอนที่ไม่ทำตามกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ที่กำหนดว่า การ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” การซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงมีผลเป็นโมฆะ ส่งผลให้นายเล็กเป็นเพียง ผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ภายหลังวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497)

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ใน พ.ศ. 2547 ได้มีประกาศเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน (แบบทั้งตำบล) แต่นายเล็กก็ไม่ได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดที่ดินของตน เมื่อขณะนี้นายเล็กต้องการขอออกโฉนด ที่ดิน จึงต้องพิจารณาการออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ แล้วแต่กรณี

สำหรับการขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามมาตรา 59 ผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินได้ จะต้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ ต้องเป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือแสดงสิทธิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนายเล็กเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน นายเล็กจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามมาตรา 59 ไม่ได้ อีกทั้งในกรณีดังกล่าวนี้ นายเล็กจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองต่อเนื่องตามมาตรา 59 วรรคสอง ไม่ได้เช่นกัน เพราะนายเล็ก มิใช่ผู้ครอบครองต่อเนื่องจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ส่วนผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ซึ่ง ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดง กรรมสิทธิ์ในที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 เท่านั้น เมื่อนายเล็กเป็นผู้ครอบครอง โดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ นายเล็กจึงขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เช่นกัน

สรุป นายเล็กเป็นผู้ครอบครองโดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จึงขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้เลย


ข้อ 3. นายหนึ่งกับนายสองเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดิน 2 แปลง โดยมีชื่อในโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลงร่วมกัน ต่อมานายสองถึงแก
ความตาย หลังจากเสร็จงานศพ นายหนึ่งได้ปรึกษากับทายาทของนายสองว่า จะขอรวมที่ดินทั้ง 2 แปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ซึ่งทายาทของนายสองก็เห็นพ้องด้วย ดังนี้ อยากทราบว่ากรณีดังกล่าว นายหนึ่งและทายาทของนายสองจะขอรวมที่ดินได้หรือไม เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

วินิจฉัย

การรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญอยู่ 5 ประการ ซึ่งอยู่ ภายใต้คำสั่งของกรมที่ดิน ที่ 12/2500 เรื่องการรวมโฉนดที่ดิน ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 กล่าวคือ

1.         ต้องเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้

2.         ต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับ และยังมีชีวิตอยู่ทุกคน

3.         ต้องเป็นที่ดินทีติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ไม่มีที่ดินของผู้อื่นหรือที่สาธารณประโยชน์มาคั่นอยู่

4.         ต้องเป็นที่ดินในจังหวัดเดียวกัน แม้จะต่างตำบล ต่างอำเภอก็ให้รวมกันได้ เมื่อรวม โฉนดแล้วให้ถือว่าที่ดินส่วนใดอยู่ในเขตตำบลอำเภอใดมากก็ให้ใช้ตำบลและอำเภอนั้น สำหรับโฉนดที่ดินแปลงใหม่

5.         ต้องเป็นที่ดินในเขตสำนักงานที่ดินเดียวกัน

กรณีตามอุทาหรณ์ นายหนึ่งและทายาทของนายสองจะขอรวมที่ดินได้หรือไม่นั้น เห็นว่า ที่ดิน 2 แปลงซึ่งนายหนึ่งกับนายสองเป็นเจ้าของร่วมกันนั้น ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน คือ นายหนึ่งและนายสอง เมื่อปรากฏ ตามข้อเท็จจริงว่า นายสองได้ถึงแก่ความตายโดยมีทายาทของนายสองเข้ารับมรดกในที่ดินนั้น ในกรณีดังกล่าวนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินได้ถึงแก่ความตาย อันถือว่าผู้ที่มีชื่อในโฉนดที่ดินมีชีวิตอยู่ไม่ครบทุกคน จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ประการที่ 2 ของการรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกัน ดังนั้น นายหนึ่งและทายาท ของนายสองจึงขอรวมที่ดินเข้าเป็นแปลงเดียวกันไม่ได้

สรุป นายหนึ่งและทายาทของนายสองจะขอรวมที่ดินเข้าเป็นแปลงเดียวกันไม่ได้


ข้อ 4. อยากทราบว่าที่ดินซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครองจะโอนให้แก่กันได้หรือไม่ ตามกฎหมายที่ดิน

ธงคำตอบ

อธิบาย

ที่ดินซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครอง หมายถึง ที่ดินที่ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ แต่มีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิ ในที่ดินอย่างหนึ่งอย่างใดที่ทางราชการออกให้ คือ หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3)ใบจอง (น.ส.2)ใบไต่สวน (น.ส.5) เป็นต้น

การจะพิจารณาว่าที่ดินซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครองจะ โอนให้แกกันได้หรือไม่ ตามกฎหมายที่ดิน มีหลักคือ ให้พิจารณาว่าที่ดินนั้นได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วหรือไม่ ถ้ามี ก็สามารถโอน ได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9 ที่กำหนดว่า ที่ดินที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่า ได้ทำประโยชน์แล้วให้โอนกันได้

ดังนั้น ที่ดินซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครองจะโอนให้แกกันได้หรือไม่ สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้

1.         ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ ทำประโยชน์แล้วตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 1 ดังนั้น เมื่อที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดิน ที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงสามารถโอนให้แก่กันได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมาย ที่ดินมาตรา 9 เว้นแต่ในบางกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติห้ามโอนไว้ เช่น ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 และ มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เป็นต้น

2.         ที่ดินที่มีใบจอง (น.ส.2)

ใบจอง เป็นเพียงหนังสือที่แสดงว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินได้รับอนุญาตให้เข้าครอบครอง ที่ดินของรัฐชั่วคราว แต่ที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วจนกว่าจะได้รับ โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ดังนั้น สำหรับที่ดินที่มีใบจองหรือที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจองนั้น ถ้ายังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่ จะตกทอด ทางมรดกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคสอง

3.         ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครองนั้น จะทำการโอนทางทะเบียนไมได้ เนื่องจาก ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9 แต่ อย่างไรก็ดี ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง แม้จะโอนกันไม่ได้ตามกฎหมายที่ดิน แต่ก็สามารถโอนกันได้ ตามกฎหมายแพ่งโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378

ดังนั้น ที่ดินซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครองจะโอนให้แก่กันได้เฉพาะที่ดินที่มีหนังสือรับรองการ ทำประโยชน์ ส่วนที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าทำประโยชน์แล้ว เช่น ที่ดินที่มีใบจอง ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครองจะโอนให้แก่กันไมได้

Advertisement