การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4008 กฎหมายที่ดิน

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. นายหนึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2494 โดยไมมีหนังสือสำคัญ แสดงสิทธิในที่ดิน ใน พ.ศ. 2538 ได้มีประกาศเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน นายหนึ่งได้ไปแจ้งการ ครอบครองที่ดินแต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจรังวัด นายหนึ่งไมได้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำการรังวัดที่ดินของตนจึงไม่ได้รับโฉนดที่ดิน ใน พ.ศ. 2542 นายหนึ่งได้ยกที่ดินแปลงนั้น ตีใช้หนี้ให้แท่นายสอง นายสองได้ครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา ใน พ.ศ. 2553 นายสอง ได้นำที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินและทางราชการก็ออกโฉนดที่ดินให้ในปีเดียวกัน ขณะนี้นายสอง ต้องการจะยกที่ดินนั้นให้แก่นายสามบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ อยากทราบว่านายสองจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แกนายสามได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 27 ตรี เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้นของการสำรวจ ตามมาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับโดย ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคำสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 27 ทวิ แต่ได้ ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึงวันทำการสำรวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้ สิทธิในที่ดินนั้น ให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน นับแต่วันปิดประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานำหรือส่งตัวแทนมานำ พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนด ให้ถือว่ายังประสงค์ จะได้สิทธิในที่ดินนั้น

เพี่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

มาตรา 59 ทวิ ผู้ซึ่งครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้ บังคับโดยไมมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 แต่ไม่รวมถึงผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี ถ้ามีความจำเป็นจะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นการเฉพาะราย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควร ให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ประมวลกฎหมายนี้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร ถ้าเกินห้าสิบไร่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

เพี่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย

วินิจฉัย

ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ที่จะขอออกโฉนดที่ดิน แบบเฉพาายไว้ดังนี้

1.         จะต้องเป็นผู้ครอบครองก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญ แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 5 และรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าวด้วย

2.         ต้องไม่ใช่ผู้ซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี กล่าวคือ ผู้ซึ่งมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี จะไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ ไม่ได้

3.         มีความจำเป็นต้องออกโฉนดที่ดิน และพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร และต้องมีเนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ ถ้าเกิน 50 ไร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ร่าราชการจังหวัด

กรณีตามอุทาหรณ์ นายสองจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นายสามได้หรือไม่ เห็นว่า นายหนึ่ง ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 โดยไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน กรณีเช่นนี้ถือว่า นายหนึ่งเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2497) โดยไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

ต่อมาได้ความว่า ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นายหนึ่งได้ไปแจ้งการครอบครองที่ดิน แต้ไม่ด้ไปนำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัด ที่ดินของตน กรณีเช่นนี้ต้องถือว่า นายหนึ่งเป็นผู้ซึ่งได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรีแล้ว แม้นายหนึ่งจะไม่ได้ไปนำ พนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจรังวัดที่ดิน อันทำให้ไม่ได้รับโฉนดที่ดินตามมาตรา 58 วรรคสามก็ตาม ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุว่าตามมาตรา 27 ตรี ใช้คำว่า หรือ” แสดงว่าปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ระหว่างให้ไปแจ้ง การครอบครองที่ดินหรือมานำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจรังวัดที่ดิน ดังนั้น นายหนึ่งจึงเป็นบุคคลผู้มีสิทธิ ขอออกโฉนดแบบเฉพาะรายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ วรรคแรก

และเมื่อในปี พ.ศ. 2542 นายหนึ่งได้ยกที่ดินแปลงนั้นตีใช้หนี้ให้แก่นายสอง และนายสอง ได้ครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา กรณีนี้ถือว่า นายสองเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ต่อเนื่องจาก นายหนึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ วรรคสอง จึงมีสิทธิขอออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ วรรคแรก

เมื่อได้ความว่าในปี พ.ศ. 2553 นายสองได้นำที่ดินไปขอออกโฉนดที่ดินและทางราชการได้ ออกโฉนดที่ดินให้ จึงถือเป็นการได้รับโฉนดที่ดินแบบเฉพาะราย ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว การได้โฉนดที่ดินมาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 59 ทวิ นั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติ ห้ามโอนไว้แต่ประการใด ดังนั้น นายสองจึงจดทะเบียนโอนที่ดินให้แกนายสามได้

สรุป นายสองสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นายสามได้


ข้อ 
2. นายทองได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินโดยรัฐจัดที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อยให้แก่ประชาชน ทางราชการ ออกใบจองให้ในวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ใน พ.ศ. 2551 นายทองได้ยกที่ดินแปลงนั้นให้แก่นายเพชร น้องชายรวมบิดามารดเดียวกันเพราะนายทองไม่มีทายาทอื่น นายเพชรได้ครอบครองและ ทำประโยชน์ต่อมา ขณะนี้ได้มีประกาศเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ดังนี้ อยากทราบว่านายเพชร จะนำที่ดินแปลงนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 58 วรรคแรก วรรคสองและวรรคสาม เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรจะให้มีการออก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในจังหวัดใดในปีใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดจังหวัดที่จะทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์สำหรับปีนั้น เขตจังหวัดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่รวมท้องที่ที่ทางราชการได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร

เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดท้องที่และวันเริ่มต้น ของการเดินสำรวจรัง วัดในท้องที่นั้น โดยปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานที่ดิน ที่ว่าการอำเภอ ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านแห่งท้องที่ก่อนวันเริ่มต้นสำรวจไมน้อยกว่าสามสิบวัน

เมื่อได้มีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคสอง ให้บุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว นำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมาย เพื่อทำการสำรวจรังวัด ทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นัดหมาย

มาตรา 58 ทวิ วรรคแรกและวรรคสอง เมื่อได้สำรวจรังวัดทำแผนที่ หรือพิสูจน์สอบสวน การทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 58 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แล้วแต่กรณี ให้แกบุคคลตามที่ระบุไว้ในวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่บุคคลนั้นครอบครองเป็นที่ดินที่อาจ ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายนี้

บุคคลซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้ได้ คือ

(3) ผู้ซึ่งครอบครองที่ดินและทำประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จับจองแต่ยังไม่ได้รับค่ารับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไปไม่ได้เว้นแต่จะตกทอด โดยทางมรดก

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเพชรจะนำที่ดินมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เห็นว่า การที่นายทอง เจ้าของที่ดินที่มีเพียงใบจองได้ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แกนายเพชรน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวกันของตน และ นายเพชรได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมานั้น เมื่อไม่ได้เป็นการตกทอดทางมรดก การยกที่ดินให้นายเพชร ดังกล่าว จึงเป็นการโอนที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 8 วรรคสอง ส่งผลให้นายเพชรเป็นเพียงผู้ครอบครอง โดยพลการภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็น ผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3)

และเมื่อได้ความว่า ในขณะนี้ได้มีประกาศของทางราชการเพื่อเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน อัน ถือว่าเป็นการออกโฉนดแบบทั้งตำบลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 วรรคแรกและวรรคสอง ดังนั้น นายเพชร จึงสามารถนำที่ดินแปลงนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้ โดยมานำพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ มอบหมายเพื่อทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินของตนตามวันและเวลาที่ พนักงานเจ้าหน้าที่นัดหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 วรรคสาม และนายเพชรจะได้รับโฉนดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3)

สรุป นายเพชรนำที่ดินแปลงนั้นมาขอออกโฉนดที่ดินได้


ข้อ 3. นางสมศรีเป็นเจ้าของที่ดิน 2 แปลง มีเนื้อที่ติดต่อกัน ที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา นางสมศรี ต้องการจะรวมที่ดินทั้ง 2 แปลง เข้าเป็นแปลงเดียวกันเพื่อจะได้มีโฉนดที่ดินเพียงฉบับเดียว นางสมศรีซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่สะดวกที่จะเดินทางไปจังหวัดสงขลา นางสมศรี จึงได้นำโฉนดที่ดินและเอกสารประกอบในการจดทะเบียนรวมที่ดินไปยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ส่านักงานที่ดินกรุงเทพมหานครเพื่อรับเรื่องส่งไปดำเนินการ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสำนักงานที่ดินที่มีอำนาจ ดังนี้ อยากทราบว่าพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร จะรับดำเนินการ ให้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

มาตรา 72 “ผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้คู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 71

การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินใบไตสวนหรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คู่กรณีอาจยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินแห่งใด แห่งหนึ่งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 ดำเนินการจดทะเบียนให้ เว้นแต่การจดทะเบียนที่ต้องมีการ ประกาศหรือต้องมีการรังวัด

วินิจฉัย

ผู้ที่ประสงค์จะขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากจะมายื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 71 แล้ว บทบัญญัติมาตรา 72 วรรคสอง ยังให้สิทธิคู่กรณีอาจจะมายืนคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดิน แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ แตทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ

1.         ที่ดินที่จะต้องจดทะเบียนนั้นจะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน ใบไต่สวน หรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ กล่าวคือ ถ้ามีเอกสารอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาจะยื่นคำขอไม่ได้

2.         การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการประกาศก่อน กล่าวคือ กรณีใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะต้องทำเรื่องประกาศก่อนที่จะมีการจดทะเบียนจะมาใช้มาตรา 72 วรรคสองไม่ได้

3.         การจดทะเบียนนั้นจะต้องไม่มีการรังวัดก่อน

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร จะรับดำเนินการจดทะเบียนตามคำขอของนางสมศรีได้หรือไม่ เห็นว่า กรณีเป็นเรื่องการจดทะเบียนรวมที่ดิน หลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันตมประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 79 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว แม้ที่ดินที่นางสมศรีจะรวมเข้าด้วยกันนั้นจะเป็นที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน และการจดทะเบียนดังกล่าวไม่ต้องมีการ ประกาศก่อนก็ตาม แต่การจดทะเบียนรวมที่ดินหลายแปลงเข้าเป็นแปลงเดียวกันนั้น บทบัญญัติมาตรา 79 ให้นำ มาตรา 69 ทวิมาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ จะต้องมีการรังวัดสอบเขตที่ดินก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 72 วรรคสอง ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ จึงรับดำเนินการให้ไม่ได้ นางสมศรี ต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลาเท่านั้นตามมาตรา 71

สรุป พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ จะรับดำเนินการให้ไม่ได้


ข้อ 4. บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินแต่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินนั้นได้หรือไม่ ตาม กฎหมายที่ดิน

ธงคำตอบ

อธิบาย

บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินแต่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์” หรือ ผู้มีสิทธิในที่ดิน โดยมีเพียงสิทธิครอบครอง” หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ทางราชการออกให้ คือ หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ใบจอง (น.ส.2)ใบไต่สวน (น.ส.5) เป็นต้น

การจะพิจารณาว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินแต่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสลงกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดิน ต่อไปได้หรือไม่ มีหลักคือ ให้พิจารณาว่าที่ดินนั้นได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วหรือไม่ ถ้ามี ก็สามารถโอนได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ได้รับคำรับรอง จากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วให้โอนกันได้

ดังนั้น บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินแต่ยังไมมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินได้หรือไม่ สามารถแยกพิจารณาดังนี้

1.         ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์แล้วตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ดังนั้น เมื่อที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดิน ที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จึงสามารถโอนให้แกกันได้ตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 เว้นแต่ในบางกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติห้ามโอนไว้ เช่น ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 และมาตรา 58 ทวิ รรคห้า เป็นต้น

2.         ที่ดินที่มีใบจอง (น.ส.2)

ใบจอง เป็นเพียงหนังสือที่แสดงว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินได้รับอนุญาตให้เข้า ครอบครองที่ดินของรัฐชั่วคราว แต่ที่ดินดังกล่าวยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วจนกว่า จะได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ดังนั้น สำหรับที่ดินที่มีใบจองหรือที่ดินที่ได้รับอนุญาต ให้จับจองนั้น ถ้ายังไมได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่ จะตกทอดทางมรดกตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ มาตรา 8 วรรคสอง

3.         ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)

ที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครองนั้น จะทำการโอนทางทะเบียนไม่ได้ เนื่องจาก ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ฯ มาตรา 9 แต่อย่างไรก็ดี ที่ดินที่มี หลักฐานการแจ้งการครอบครอง แม้จะโอนกันไม่ได้ตามกฎหมายที่ดิน แต่ก็สามารถโอนกันได้ตามกฎหมายแพ่ง โดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378

ดังนั้น บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ดินแต่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินให้แกกัน ได้เฉพาะที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ส่วนที่ดินที่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง หรือใบจอง เมื่อ ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว จึงไมสามารถโอนให้แกกันได้

Advertisement