การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายสมสมัยทำสัญญาจ้าง น.ส.สุธิดาและนายพรชัยเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างทดลองงาน มีกำหนด เวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 ตกลงชำระสินจ้างเดือนละ 15,000 บาท ทุก ๆ วันสิ้นเดือน ในระหว่างการทำงานนายสมสมัยนายจ้างได้ประเมินผลการทำงานปรากฏว่า น.ส.สุธิดาไม่ผ่าน การประเมินการทำงาน นายสมสมัยจึงบอกเลิกสัญญาจ้างทันทีเมื่อครบกำหนดเวลา 1 ปี ในวันที่ 31 มีนาคม 2555 และให้เงินปลอบขวัญ 10,000 บาท แต่ น.ส.สุธิดาเห็บว่าไม่ถูกต้อง เช่นนี้ ท่านเห็นว่าอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 17 “สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดย บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน

การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึง เวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้…

มาตรา 30 วรรคแรก ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวับหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

มาตรา 67 วรรคแรก ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้าง จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้าง พึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(2)       ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย 

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ข้าพเจ้าเห็นว่า สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายสมสมัยกับ น.ส.สุธิดา เป็นสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนด 1 ปี เมื่อครบกำหนดเวลา 1 ปีแล้ว สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยไม่ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคแรก

แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า สัญญาจ้างดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทดลองงาน ซึ่งกฎหมายให้ถือว่า เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น หากนายจ้างต้องการเลิกจ้างจะต้องทำตามมาตรา 17 วรรคสอง และวรรคสาม คือ นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนด การจ่ายค่าจ้างในคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากัน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป หรือนายจ้าง จะจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าว และให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีก็ได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายสมสมัยบอกเลิกสัญญาจ้าง น.ส.สุธิดาทันทีในวันที่ 31 มีนาคม 2555 และให้เงินปลอบขวัญ 10,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้นการบอกเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 31 มีนาคม 2555 นั้น ให้ถือว่าเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าและมีผลเป็นการเลิกสัญญาได้ในการจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า คือวันที่ 30 เมษายน 2555 ซึ่งหากนายสมสมัยต้องการบอกเลิกสัญญาจ้าง น.ส.สุธิดา และให้ น.ส.สุธิดาออกจากงาน ในทันที นายสมสมัยก็ต้องจ่ายค่าจ้างของเดือนเมษายน 15,000 บาท ให้แก่ น.ส.สุธิดาตามมาตรา 17 วรรคสาม

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า น.ส.สุธิดาทำงานมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี แต่ยังไม่ครบ 3 ปี ดังนั้น เมื่อนายสมสมัยเลิกจ้าง น.ส.สุธิดา น.ส.สุธิดาย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118(2) คือ 90 วัน (หรือ 3 เดือน) เมื่อ น.ส.สุธิดาได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ดังนั้น นายสมสมัยต้องจ่ายค่าชดเชยให้ น.ส.สุธิดา (3 เดือน คูณด้วย 15,000 บาท) รวมเป็นจำนวนเงิน 45,000 บาท

และนอกจากนี้ เมื่อ น.ส.สุธิดาทำงานครบ 1 ปีแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุด พักผ่อนประจำปี 6 วันทำงาน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 เมื่อนายสมสมัยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ น.ส.สุธิดาสำหรับวับหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างด้วยตามมาตรา 67 (เมื่อ น.ส.สุธิดาได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท อัตราค่าจ้างรายวัน = 15,000 บาท หารด้วย 30 = 500 บาท) ดังนั้น น.ส. สุธิดามีสิทธิได้รับ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอีก (500 X 6 วัน) เป็นเงิน 3,000 บาท

ดังนั้น การที่นายสมสมัยบอกเลิกสัญญาจ้าง น.ส.สุธิดาทันทีในวันที่ 31 มีนาคม 2555 และ ให้เพียงเงินปลอบขวัญ 10,000 บาท จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

สรุป ข้าพเจ้าเห็นว่า การบอกเลิกสัญญาของนายสมสมัยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และ น.ส.สุธิดา มีสิทธิที่จะเรียกร้องในสิงดังต่อไปนี้ คือ

(1)       ค่าจ้างเดือนเมษายน 2555 เป็นเงิน 15,000 บาท

(2)       ค่าชดเชยที่ น.ส.สุธิดามีสิทธิได้รับเป็นเงิน 45,000 บาท

(3)       ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงิน 3,000 บาท

 

ข้อ 2. น.ส.รัศมีเป็นลูกจ้างได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าในระหว่างปีที่ ทำงานนั้น น.ส.รัศมีได้ลาป่วย 20 วัน และเกิดสารพิษรั่วในโรงงานทำให้ น.ส.รัศมีต้องรักษาตัวอยู่ 1 เดือน นายจ้างจึงให้ค่าจ้างในระหว่างการลา 1 เดือน 20 วันนี้เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช่นนี้ ท่านเห็นว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 32 วรรคแรกและวรรคสาม ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วย ตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันขั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาล ของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของ ทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการ ทำงาน และวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้

มาตรา 57 วรรคแรก ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวับลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับ อัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน

และตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

เจ็บป่วย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตาม ลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษา พยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่ จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง …

มาดรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกิน สามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ น.ส.รัศมีได้ลาป่วย 20 วัน ซึ่งตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี

ตามมาตรา 32 วรรคแรก ประกอบมาตรา 57 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เมื่อ น.ส.รัศมีลาป่วย 20 วัน และอัตราค่าจ้างรายวันของ น.ส.รัศมี เท่ากับ 500 บาท (15,000 หารด้วย 30) น.ส.รัศมีจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้าง ในวันลาป่วยเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท (500 คูณด้วย 20)

ส่วนกรณีที่ น.ส.รัศมีเจ็บป่วยเพราะเกิดสารพิษรั่วใบโรงงานนั้น ถือเป็นการเจ็บป่วยเนื่องจาก การทำงาน (พ.ร.บ. เงินทดแทนมาตรา 5) น.ส.รัศมีจึงมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน คือ นายจ้าง จะต้องจัดให้ น.ส.รัศมีได้รับการรักษาพยาบาลทันที และจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ น.ส.รัศมีตามมาตรา 13 โดย จ่ายจริงเท่าที่จำเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ ไม่เกิน 45,000 บาท และหาก น.ส.รัศมี เจ็บป่วยรุนแรง นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท

และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า น.ส.รัศมีต้องรักษาตัวอยู่ 1 เดือน จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทำงานติดต่อกันได้เกิน 3 วัน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่ น.ส.รัศมีอีกตามมาตรา 18(1) แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทน คือ ต้องจ่ายเป็นจำนวนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน ตลอดระยะเวลาที่ น.ส.รัศมีไม่สามารถทำงานได้

ดังนั้น การที่นายจ้างให้ค่าจ้างแก่ น.ส.รัศมีนระหว่างการลา 1 เดือน 20 วันนี้ เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงไม่ถูกต้อง เพราะการที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจาก ความเจ็บป่วยที่เทิดขึ้นเนื่องจากการทำงานไมให้ถือว่าเป็นวันลาป่วยตามมาตรา 32 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.

คุ้มครองแรงงาน นายจ้างจึงไม่สามารถนำมารวมกันได้

สรุป การกระทำดังกล่าวของนายจ้าง ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง และ น.ส.รัศมีมีสิทธิได้รับ เงินค่าจ้างในวันลาป่วยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน จำนวน 10,000 บาท และมีสิทธิได้รับเงินตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน ดังนี้

1.         ค่ารักษาพยาบาล ในขั้นแรกจะได้รับไม่เกิน 45,000 บาท และหากเจ็บป่วยรุนแรง จะได้รับเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท

2.         ค่าทดแทนในกรณีที่ น.ส.รัศมีไม่สามารถทำงานได้เป็นจำนวน 9,000 บาท

 

ข้อ 3. นายจ้างมีคำสั่งให้นายสมบูรณ์คนขับรถยนต์ได้รับค่าจ้าง 12,000 บาท และนายพิมลหัวหน้าได้รับ ค่าจ้าง 15,000 บาท นำสินค้าไปส่งที่สาขาจังหวัดแพร่ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ระหว่างการเดินทาง รถยนต์ตกเขาปรากฏว่านายสมบูรณ์หายตัวไป ส่วนนายพิมลได้รับบาดเจ็บต้องรักษาตัวอยู่ถึง 2 เดือน ในวันที่ 1 เมษายน นางสุดาภริยาของนายสมบูรณ์ได้มาพบนายจ้างของนายสมบูรณ์เพื่อเรียกร้อง สิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่นนี้นางสุดาและนายพิมลจะมีสิทธิอะไรบ้าง เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง

สูญหาย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงาน หรือปฏิบัติตาม คำสั่งของนายจ้างนั้น รวมตลอดถึงการที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างเดินทาง โดยพาหนะทางบก ทางอากาศ หรือ ทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้างซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าพาหนะนั้นได้ประสบเหตุอันตรายและลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทั้งนี้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่เกิดเหตุนั้น

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษา พยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่ จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง…

มาตรา 15 “ กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็นตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 16 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้นายจ้าง จ่ายค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพของลูกจ้างเป็นจำนวนหนึ่งร้อยเท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

มาตรา 18 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1)       ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้ เกินสามวันไม่ว่าลูกจ้างจะสูญเสียอวัยวะตาม (2) ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สามารถ ทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สามารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(4)       ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างถึงแกความตายหรือสูญหาย

มีกำหนดแปดปี

มาตรา 20 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตายหรือสูญหาย ให้บุคคล ดังต่อไป่นี้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง

(2)       สามีหรือภริยา

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นางสุดาและนายพิมลจะมีสิทธิอะไรบ้าง แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายพิมล

การที่นายจ้างมีคำสั่งให้นายพิมลนำสินค้าไปส่งที่สาขาจังหวัดแพร่ และระหว่างการเดินทาง รถยนต์ที่นายพิมลเดินทางไปนั้นได้ตกเขา จนทำให้นายพิมลได้รับบาดเจ็บนั้น ถือได้ว่านายพิมลประสบอันตราย เนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างตามมาตรา 5 ดังนั้น นายพิมลจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน โดยมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง ดังนี้ คือ

1.         ค่ารักษาพยาบาล โดยนายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เมื่อนายพิมลไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัส นายจ้างจึงต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ในเบื้องต้นไม่เกิน 45,000 บาท แต่หากนายพิมลได้รับบาดเจ็บรุนแรง (สาหัส) จะได้รับเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท ตามมาตรา 13

2.         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน โดยนายจ้างต้องจ่ายตามความจำเป็น ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ในกรณีนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ให้นายพิมลเป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 15

3.         ค่าทดแทนในกรณีที่ไม่สามารถทำงานได้ เมื่อนายพิมลได้รับบาดเจ็บต้องรักษาตัว เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งถือว่าติดต่อกันเกิน 3 วัน นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทดแทนในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่นายพิมลไม่สามารถทำงานได้

เมื่อนายพิมลได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท 

โดยต้องจ่ายเป็นเวลา 2 เดือน รวมเป็นเงิน 18,000 บาท (9,000 × 2) ตามมาตรา 18(1)

กรณีของนางสุดา

กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งให้นายสมบูรณ์ขับรถยนต์นำสินค้าไปส่งที่สาขาจังหวัดแพร่ และระหว่างการเดินทางรถยนต์ได้ตกเขาและปรากฏว่านายสมบูรณ์ได้หายตัวไปนั้น ถือได้ว่านายสมบูรณ์ได้สูญหาย ไปในระหว่างเดินทางเพี่อไปทำงานให้นายจ้าง เพราะพาหนะที่เดินทางนั้นประสบอันตรายและมีเหตุอันควร เชื่อว่านายสมบูรณ์ถึงแก่ความตาย ซึ่งตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน มาตรา 5 จะให้ถือว่าเป็นการสูญหาย และมีสิทธิ ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ ก็ต่อเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 120 วันนับแต่วันที่เกิดเหตุนั้น

ดังนั้น เมื่อนายสมบูรณ์สูญหายไปในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ การที่นางสุดาภริยาของนายสมบูรณ์ มาพบนายจ้างของนายสมบูรณ์เพื่อเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายในวันที่ 1 เมษายน อันเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 20(2) นั้น จึงมิอาจกระทำได้เพราะยังไม่ครบกำหนด 120 วันนับแต่วันที่นายสมบูรณ์สูญหาย ซึ่งกรณีนี้ นางสุดาต้องรอจนครบ 120 วันก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน โดยมีสิทธิไต้รับเงินทดแทน จากนายจ้าง ดังนี้ คือ

1.         ค่าทำศพ โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำศพให้แก่นางสุดาเป็นจำนวน 100 เท่าของ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุด (300 บาท) ตามมาตรา 16 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท (100 คูณด้วย 300)

2.         ค่าทดแทนในกรณีสูญหาย โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้นางสุดาในอัตรา ร้อยละ60ของค่าจ้างรายเดือนมีกำหนด8ปีตามมาตรา 18(4)เมื่อนายสมบูรณ์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท

สรุป นางสุดาและนายพิมลจะมีสิทธิอะไรบ้างนั้น เป็นไปตามที่ได้อธิบายข้างต้น

 

ข้อ 4. ถ้าในบริษัทแห่งหนึ่งมีลูกจ้าง 200 คน หากว่าลูกจ้างมีความต้องการเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จะต้องดำเนินการอย่างไรตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ตั้งแต่ เริ่มต้นจนสำเร็จ จงอธิบาย

ธงคำตอบ

อธิบาย

ในกรณีที่ลูกจ้างต้องการเรียกร้องให้ฝ่ายนายจ้างพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ดังนี้คือ

ฝ่ายลูกจ้างจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องนั้นไปยังฝ่ายนายจ้าง โดยทำเป็นหนังสือแจ้งไปยังฝ่ายนายจ้าง (มาตรา 13 วรรคแรก) และข้อเรียกร้องดังกล่าวจะต้อง

1.         มีรายชื่อ และ

2.         มีลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในจำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 ของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อบริษัทแห่งหนึ่งมีลูกจ้างทั้งหมด 200 คน ในกรณีเช่นนี้จะต้องมีลูกจ้าง

และถ้าลูกจ้างได้เลือกตั้งผู้แทนเพื่อเข้าร่วมเจรจาไว้แล้วให้ระบุชื่อผู้แทนที่จะเข้ร่วมเจรจาไม่เกิน 7 คน พร้อมกับการแจ้งข้อเรียกร้องด้วย แต่ถ้าหากลูกจ้างยังมิได้เลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างก็มีสิทธิยืนข้อเรียกร้อง ไปก่อน และเลือกตั้งผู้แทนตามไปในภายหลังก็ได้ (มาตรา 13 วรรคสาม)

ทั้งนี้ เมื่อนายจ้างได้รันข้อเรียกร้องแล้ว ต้องแจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนเป็นหนังสือให้ฝ่ายลูกจ้าง ทราบโดยมิชักช้า และให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่นายจ้างได้รับข้อเรียกร้อง (มาตรา 16)

ในกรณีที่สามารถตกลงทันได้จะต้องดำเนินการดังนี้

การทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและการจดทะเบียนข้อตกลง (มาตรา 18)

1.         ให้นายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ตกลงร่วมกันเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี

2.         ให้นายจ้างติดประกาศข้อตกลงดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยภายใน 3 วัน นับแต่ที่ตกลงกับ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

3.         ให้นายจ้างนำข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างไปจดทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายภายใน 15 วัน

ผลผูกพันข้อตกลง (มาตรา 19)

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ตกลงร่วมกันใหม่นี้ จะมีผลผูกพันและใช้บังคับได้กับนายจ้าง และลูกจ้างที่ได้ร่วมลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตลอดจนถึงมีผลผูกพันกับลูกจ้างซึ่งได้ ลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเข้าร่วมเจรจากับอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ส่วนลูกจ้างที่ไม่ได้เข้าร่วมในการเจรจาตั้งแต่ต้นหรือไม่ได้ ลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทน โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้รับสิทธิตามข้อตกลงใหม่แต่อย่างใด (มาตรา 19 วรรคแรก)

แต่ถ้าลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเกินกว่า 2 ใน 3 ของลูกจ้างทั้งหมด หรือลูกจ้างที่ เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานในกิจการประเภทเดียวกัน ซึ่งเข้าเป็นตัวแทนร่วมเจรจา แทนลูกจ้าง เกินกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น ดังนี้ ให้ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับกับลูกจ้างและนายจ้างที่ทำงานในกิจการประเภทเดียวกันทั้งหมด

และถ้าผู้แทนลูกจ้างเป็นผู้เจรจากับฝ่ายนายจ้างเองและมีลูกจ้างเกี่ยวกับข้อเรียกร้องนั้น เกินกว่า 2 ใน 3 ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับกับลูกจ้างทุกคนในกิจการนั้น (ซึ่งรวมถึงลูกจ้าง 1 ใน 3 ที่ไม่ได้เข้าร่วมในการเรียกร้องด้วย)

ห้ามทำสัญญาขัดกับข้อตกลง (มาตรา 20)

ภายหลังจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ตลอดเวลาทีข้อตกลงมีผลใช้ บังคับอยู่ ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่ การทำสัญญาจ้างนั้นจะให้คุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าเดิม เช่นนี้นายจ้างสามารถที่จะทำได้

Advertisement