การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

ข้อ 1. ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า รัฐ ได้ทำสนธิสัญญากับรัฐ จนมีผลบังคับใช้ระหว่างกันโดยสมบูรณ์แล้ว ต่อมารัฐ ไมต้องการที่จะปฏิบัติตามสนธิสัญญานี้ โดยอ้างว่าสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ เนื่องจากการที่รัฐ ยอมทำขึ้น เพราะมีการบังคับข่มขู่หรือใช้กำลังจากรัฐ ถือว่าเป็นสนธิสัญญาที่ ขาดเจตนา ดังนั้น ให้ท่านจงวินิจฉัยว่า ข้ออ้างของรัฐ ตามกฎหมายระหว่างประเทศฟังขึ้นหรือไม่

Advertisement

ธงคำตอบ

สนธิสัญญา ถือว่าเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง จึงอาจมีผลเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์ได้ หากว่ามี สถานการณ์หรือเงื่อนไขบางอย่างเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสนธิสัญญา ซึ่งส่งผลให้สนธิสัญญานั้น ไมมีผลใช้บังคับได้

สนธิสัญญาที่ทำขึ้นโดยขาดเจตนาเพราะมีการบังคับข่มขู่หรือใช้กำลัง ถ้าเป็นการกระทำต่อ บุคคล ย่อมถือว่าสนธิสัญญานั้นไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ แต่ถ้าเป็นการกระทำต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศถือว่า สนธิสัญญานั้นยังสมบูรณ์อยู่มีผลใช้บังคับได้ เช่น กรณีการทำสนธิสัญญาสันติภาพ อาจจะมีการบังคับข่มขู่ ใช้กำลังให้รัฐที่แพ้สงครามยอมทำสนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสันติภาพดังกล่าวนี้ยังถือว่าสมบูรณ์อยู่

ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ค.ศ. 1969 มาตรา 52 ระบุว่า สนธิสัญญาที่ทำขึ้นโดยการบังคับ หรือการคุกคามที่จะใช้กำลัง โดยละเมิดต่อหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งบัญญัติไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ ถือว่าไม่สมบูรณ์” อย่างไรก็ตามการคุกคามโดยใช้กำลังที่จะมีผลทำให้สนธิสัญญาเป็นโมะนั้น จะต้องเป็นการกระทำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กรณีตามอุทาหรณ์ ต้องแยกประเด็นพิจารณาออกเป็น 2 ประการ คือ

1.         เป็นการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับซึ่งมุงกระทำต่อรัฐ หรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำที่มุ่งต่อ รัฐแล้ว สนธิสัญญาระหว่างรัฐ และรัฐ ยังคงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้ ไม่ต้องตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ค.ศ. 1969 มาตรา 52 ดังกล่าวข้างต้น

2.         เป็นการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับซึ่งมุ่งกระทำต่อบุคคลหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำที่มุ่งต่อ บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐ เพื่อทำสนธิสัญญาโดยตรงแล้ว สนธิสัญญาระหว่างรัฐ และรัฐ ตกเป็นโมฆะ ไมสมบูรณ์ ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาฯ ค.ศ. 1969 มาตรา 52 รัฐ จึงสามารถอ้างเพื่อไมปฏิบัติตาม สนธิสัญญาได้

 

ข้อ 2 คำพิพากษาของศาลสำหรับกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายเพราะศาลมีอำนาจแต่เพียงนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยูแล้วมาบังคับใช้ในการตัดสินคดีเท่านั้น ไม่สามารถสร้าง หลักกฎหมายขึ้นมาเองได้ แต่ในทางตำรา คำพิพากษาของศาลถือว่าเป็นที่มาประการหนึ่งของ กฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ท่านจะอธิบายให้ชัดเจนได้อย่างไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ ประเด็นดังกล่าวนี้

ธงคำตอบ

คำพิพากษาของศาล มีอิทธิพลในการสร้างกฎหมายภายในอย่างมาก แต่คำพิพากษาของศาล ยังไมถือว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นเพียงแต่แหล่งที่มาอีกประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ไม่ใช่แหล่งที่มาโดยตรงเหมือนเช่นสนธิสัญญาและจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กล่าวคือ คำพิพากษาของศาลในคดีก่อนเป็นเพียงวิธีการเสริมที่ช่วยผู้พิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการในการใช้กฎหมายหรือแปลความหมายของ กฎหมายเท่านั้น

อย่างไรก็ตามคำพิพากษาของศาลมีบทบาทในการบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศดยทงอ้อม ไนกรณีดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจทำให้เป็นหลักกฎหมายได้ในที่สุด

1.         ในการใช้หลักกฎหมายบังคับคดี       ผู้พิพากษาอาจจะต้องตีความตัวบทกฎหมายซึ่ง สามารถถือเป็นหลักกฎหมายในการบังคับคดีในครั้งต่อไปได้

2.         ในบางกรณีศาลอนุญาโตตุลาการหรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอาจจะได้รับมอบหมาย จากคู่กรณีให้สร้างหลักกฎหมายขึ้นมาใหม่

3.         การยึดถือคำพิพากษาของศาในคดีก่อนๆ มาเป็นบรรทัดฐานหรือมาตรฐานในการพิจารณาคดี แม้ว่าไม่ผูกพันศาลที่จะต้องตัดสินคดีตามคำพิพากษาเดิม แต่ทางปฏิบัติหากข้อเท็จจริงทำนองเดียวกัน ศาลมักจะตัดสินตามแนวคำพิพากษาเดิมที่ตัดสินไว้ และจะกลายเป็นหลักกฎหมายในที่สุด

 

 

ข้อ 3. จงอธิบายว่าการดำเนินการเพื่อที่จะรับรองรัฐบาลใหม่ของประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น จะเกิดขึ้นได้ ในกรณีใดบ้าง และรัฐบาลที่ไมได้รับการรับรองมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างไร หรือไม

งคำตอบ

รัฐบาล คือ คณะบุคคลที่มีอำนาจกระทำการในนามองค์กรฝ่ายบริหารของรัฐ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ สำคัญของรัฐ ในกรณีมีรัฐเกิดขึ้นใหม่และมีการรับรองรัฐก็ถือเป็นการรับรองรัฐบาลโดยปริยายด้วย ตามปกติแล้ว รัฐต่าง ๆ ย่อมมีคณะบุคคลผลัดเปลี่ยนเข้ามามีอำนาจกระทำการเป็นฝ่ายบริหารของรัฐ

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามปกติหรือตามวิถีทางของกฎหมายภายในของรัฐ เช่น รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการรับรองรัฐบาลชุดใหม่ แต่อย่างใด

การรับรองรัฐบาลใหม่ จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

1.         กรณีที่รัฐบาลใหม่มิได้ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางของกฎหมาย คือ เป็นกรณีที่มี คณะบุคคลขึ้นครองอำนาจโดยวิธีการที่ผิดแปลกไปจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งโดยปกติที่ปรากฏให้เห็นอยู่ เสมอ คือ การปฏิวัติรัฐประหาร หรือการได้อำนาจโดยการใช้กำลังบังคับ

2.         กรณีที่มีการตั้งรัฐบาลขึ้นมีอำนาจปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐ โดยการแย่งอำนาจ ปกครองจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ ทำให้มี 2 รัฐบาลในรัฐเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลที่ตั้งขึ้นในกรณีดังกล่าว เรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลโดยพฤตินัย จึงสมควรที่จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐอื่น

การตัดสินใจในการให้การรับรองรัฐบาลใหม่นี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐที่จะให้การรับรองหรือไม่ และอาจจะรับรองโดยมีเงื่อนไขก็ได้ การรับรองรัฐบาลนี้มีผลในลักษณะของการประกาศให้นานาชาติทราบถึง สถานภาพของรัฐบาลที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกับการรับรองรัฐ สำหรับหลักการพิจารณาเพื่อการรับรองรัฐบาลนี้ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.         ทฤษฎี Tobar เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงความชอบธรรมของรัฐบาลที่ ขึ้นมามีอำนาจปกครองประเทศว่าเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เป็นความคิดที่พยายามจะป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยในลาตินอเมริกา ซึ่ง Tobar รัฐมนตรีต่างประเทศเอกวาดอร์ เห็นว่ารัฐไม่ควรรับรอง รัฐบาลที่ได้อำนาจมาโดยการปฏิวัติรัฐประหาร เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลใหม่จะทำให้ถูกต้องตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ โดยได้รับความยินยอมจากสภาที่มาจากการเลือกตั้งเสียก่อน

ทฤษฎี Tobar ใช้เฉพาะในทวีปอเมริกาเทานั้น ประเทศในยุโรปไม่ยอมรับนับถือปฏิบัติ โดยหลักการแล้วทฤษฎีดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เพราะการรับรองรัฐบาลใหม่ก็เหมือนกับการรับรองรัฐ ซึ่งเป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศสภาพของรัฐบาลที่มีอยูแล้วเท่านั้น และการปฏิเสธการรับรองรัฐบาลโดยอ้างว่า เป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมนั้น เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น ดังนั้นทฤษฎี Tobar จึงไม่ได้รับการยึดถือปฏิบัติแต่ปลายปี ค.ศ. 1932 เป็นต้นมา

2.         ทฤษฎี Estrada เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพของรัฐบาลนั้น ที่มีอำนาจอันแท้จริงในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถเช่นว่านี้ก็เพียงพอที่จะเป็นรัฐบาลโดยสมบูรณ์ได้ โดยมิต้องไปพิจารณาถึงความถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐบาล เพราะเป็นกิจการภายในของรัฐนั้น รัฐอื่นไม่มีหน้าที่ไปพิจารณา รัฐทุกรัฐย่อมมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ซึ่งสังคมระหวางประเทศในปัจจุบันนี้ยึดถือตามทฤษฎี Estrada นี้

การรับรองรัฐบาลเป็นอำนาจอิสระของรัฐ แต่เมื่อรัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่มีความมั่นคง มีอำนาจที่ แท้จริงในดินแดน รัฐอื่นก็ควรจะรับรองรัฐบาลใหม่โดยมิชักช้า แต่รัฐบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองย่อมมีฐานะและ สิทธิแตกต่างจากรัฐบาลที่ได้รับการรับรอง ถึงกระนั้นก็ตาม รัฐบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองยังคงมีสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ

1.         มีสิทธิทำสนธิสัญญาได้

2.         มีสิทธิส่งและรับผู้แทนทางการทูต

3.         มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่รัฐตนก่อให้เกิดแกรัฐอื่น

ผลเสียของรัฐบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองอาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณี

1.         กิจการภายในหรือกิจการภายนอก อาจจะไม่สมบูรณ์ในสายตาของรัฐที่ไม่ได้ให้การรับรอง

2.         ประเทศที่ไม่ได้ให้ การรับรองจะไม่ทำการติดต่อสัมพันธ์ด้วย

3.         สิทธิในทางศาลถูกปฏิเสธในรัฐที่ไม่ได้ให้การรับรอง

4.         สิทธิในทรัพย์สินในประเทศที่ไม่ได้ให้การรับรองอาจถูกปฏิเสธ หรือถูกปฏิเสธสิทธิที่จะ เรียกร้องทรัพย์สินในประเทศที่ไม่ได้ให้การรับรอง

รูปแบบการรับรองของรัฐบาลไม่มีกำหนดไว้โดยชัดเจนเช่นเดียวกับการรับรองรัฐ อาจจะกระทำ โดยตรง เช่น การส่งโทรเลข จดหมาย ออกแถลงการณ์ หรือประกาศ หรือโดยปริยาย เช่น การติดต่อสัมพันธ์ ทางการทูต โดยการตั้งทูตไปประจำหรือแลกเปลี่ยนทูตซึ่งกันและกัน หรือไม่เรียกทูตของตนกลับเมื่อมีรัฐบาลใหม่ หรือการทำสนธิสัญญากับรัฐบาลใหม่ก็มีผลเท่ากับยอมรับรองโดยปริยายเช่นกัน

 

ข้อ 4. เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ผู้แทนทางการทูตจะได้รับสิทธิพิเศษ และความคุ้มกันหลายประการ ในเรื่องดังกล่าวนี้มีทฤษฎีที่พยายามจะอธิบายและให้เหตุผลถึงการได้รับสิทธิพิเศษ และความคุ้มกัน ของผู้แทนทางการทูต ให้นักศึกษาอธิบายถึงทฤษฎีดังกล่าวโดยละเอียด

ธงคำตอบ

การให้สิทธิและความคุ้มครองทางการทูตแก่คณะผู้แทนทางการทูต เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สมัยโบราณที่กษัตริย์ได้รับเกียรติและการเคารพจากรัฐต่างประเทศ สิทธิดังกล่าวจึงตกทอดไปยังคณะทูต ซึ่งถือว่า เป็นตัวแทนของกษัตริย์ได้รับความคุ้มครองทั้งในและนอกหน้าที่ ในเรื่องนี้ได้มีทฤษฎี 2 ทฤษฎีเกี่ยวข้องมาอธิบาย ถึงเหตุผลที่คณะทูตได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางภารทูต คือ

1. ทฤษฎีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต มาจากความเชื่อว่า กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดไมต้อง รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงไม่ต้องอยู่ในอำนาจของศาลของรัฐต่างประเทศ และตัวแทนของกษัตริย์ก็มีฐานะเช่นเดียวกัน จึงถือว่าผู้แทนทางการทูตในขณะที่ไปประจำอยู่ในรัฐผู้รับ ไม่ถือว่าอยู่ในดินแดนของรัฐผู้รับ แต่ถือ เสมือนว่าอยู่ในดินแดนของตนเอง แม้แต่สถานทูตก็ถือว่าอยู่นอกอาณาเขตของรัฐผู้รับ ฉะนั้นเมื่อผู้แทนทางการทูต ไปกระทำผิด จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลของรัฐที่ตนไปประจำอยู่

ทฤษฎีดังกล่าวได้รับการยอมรับนับถือจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ได้เกิดมีความคิดเห็นว่า สิทธิสภาพนอกอาณาเขตไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง เพราะถ้ามีอาชญากรหลบหนีเข้าไปในสถานทูต ตามหลักการ ดังกล่าวก็จะต้องทำพิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ ต่อมาทฤษฎีนี้ก็เสื่อมความนิยมไป

2. ทฤษฎีบริการสาธารณะ เนื่องจากเห็นว่าคณะทูตดำเนินงานทางการทูต ซึ่งถือว่าเป็นบริการสาธารณะระหว่างประเทศ เพื่อให้คณะทูตดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของรัฐที่ตนไปประจำอยู่ จะได้ไม่ถูกกลั่นแกล้งหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องให้เอกสิทธิ์ และความคุ้มกันแกผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้ยอมรับทฤษฎีนี้เป็นต้นมา

สิทธิพิเศษที่ผู้แทนทางการทูตได้รับตามกฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะเช่นเดียวกับ ประมุขของรัฐ ได้แก่ สิทธิล่วงละเมิดมิได้ทั้งในตัวบุคคลและทรัพย์สิน สิทธิได้รับยกเว้นในทางศาล สิทธิได้รับ ยกเว้นภาษี เป็นต้น

Advertisement