การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวบวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศในกรณีของจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และหลักกฎหมายทั่วไป มีลักษณะอย่างไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ธงคำตอบ

จารีตประเพณีระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ได้บัญญัติไว้เป็น

ลายลักษณ์อักษร มีลักษณะไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ หรือยกเลิกได้ โดยการปฏิบัติหรือไม่รับปฏิบัติของรัฐต่าง ๆ ซึ่งการก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณีที่ยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ

1.         การปฏิบัติ (ปัจจัยภายนอก) หมายถึง รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติอย่างเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลง และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร สำหรับระยะเวลานานเท่าใดไม่มีกำหนดแน่นอน แต่ก็คงต้องเป็น ระยะเวลายาวนานพอควร และไม่มีประเทศใดคัดค้าน แต่การปฏิบัติไม่จำเป็นจะต้องเป็นการปฏิบัติของรัฐทุกรัฐในโลก เพียงแต่เป็นการปฏิบัติของรัฐกลุ่มหนึ่งก็เพียงพอ

2.         การยอมรับ (ปัจจัยภายใน) หมายถึง การจะเปลี่ยนการปฏิบัติให้เป็นจารีตประเพณี ระหว่างประเทศนั้น จะต้องได้รับการยอมรับการกระทำดังกล่าวจากสมาชิกสังคมระหว่างประเทศ คือ รัฐหรือ องค์การระหว่างประเทศได้ตกลงยอมรับลักษณะบังคับของการปฏิบัติเช่นนั้นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ (เสมือนเป็นกฎหมาย) แต่จารีตประเพณีระหว่างประเทศไม่จำต้องยอมรับโดยทุกประเทศ

ส่วนหลักกฎหมายทั่วไป เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากประเทศ ต่าง ๆ ที่มีความศิวิไลซ์ทางด้านกฎหมาย ซึ่งหมายถึง

1.         หลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั่วไปที่ยอมรับและใช้บังคับอยู่ในกฎหมายภายในของรัฐ ทั้งหลาย โดยบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายภายในของรัฐต่างๆ หรือกฎหมายภายในของประเทศที่มี ความเจริญในทางกฎหมาย ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป อันอาจนำมาเป็นหลักในการพิจารณาวินิจฉัย คดีได้ เช่น หลักที่ว่าสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้ทำสัญญา หลักความสุจริตใจ หลักกฎหมายปิดปาก หลักผู้รับโอนไม่มิสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

2.         หลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐต่าง ๆ ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ โดยทั่วไป โดยมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น หลักความ เสมอภาคเท่าเทียมกันของรัฐไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก เป็นต้น

จะเห็นว่าหลักกฎหมายทั่วไปเกิดจากการที่รัฐต่าง ๆ ยอมรับคล้ายกับจารีตประเพณี แต่ยังไม่ถึง ขั้นที่เป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เพราะไม่ได้เกิดจากการยอมรับปฏิบัติติดต่อกันมาเหมือนจารีตประเพณี แต่เกิดจากการที่สังคมระหว่างประเทศยอมรับเพราะถือว่าชอบด้วยเหตุผลทางกฎหมาย ซึ่งจะแตกต่างกับจารีตประเพณี ระหว่างประเทศที่เกิดจากการที่รัฐทั่วไปยอมรับปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานานไม่ว่าเรื่องดังกล่าว จะชอบด้วยเหตุผล ทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น จารีตประเพณีระหว่างประเทศจึงแตกต่างจากหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องของเหตุผลทางกฎหมาย

 

ข้อ 2. ผลของสนธิสัญญา กรณีที่เกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐภาคีเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กรณีเมื่อเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐภาคีสนธิสัญญา ผลของสนธิสัญญาจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น จะต้องแยกพิจารณาว่า เป็นสนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) หรือสนธิสัญญาหลายฝ่าย (พหุภาคี)

สำหรับสนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) โดยหลักการแล้วถือว่าสนธิสัญญาที่ทำไว้ก่อนเกิด สงครามของรัฐคู่สงคราม (รัฐภาคีสนธิสัญญา) สิ้นสุดลง เว้นแต่

1.         สนธิสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อบังคับใช้โดยตรงในเวลาสงคราม เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วย กฎหมายและจารีตประเพณีในการทำสงครามทางบก ค.ศ. 1907อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก ค.ศ. 1949

2.         สนธิสัญญาบางชนิด เช่น การยกดินแดน

3.         สนธิสัญญานั้นเองได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้คงดำเนิบต่อไปแม้เมื่อเกิดสงคราม เช่น สนธิสัญญาลงวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 ระหว่างอังกฤษ ฮอลแลนด์ และรัสเซีย ซึ่งกำหนดว่าอังกฤษจะต้องจ่ายเงินให้รัสเซียแม้ว่าจะทำสงครามกับรัสเซียก็ตาม ใน สงครามไคเมียระหว่างอังกฤษกับรัสเซีย อังกฤษก็ยังชำระหนี้ให้รัสเซียต่อไป

สำหรับสนธิสัญญาหลายฝ่าย (พหุภาคี) ซึ่งมีทั้งรัฐคู่สงคราม (รัฐภาคีสนธิสัญญา) และรัฐ เป็นกลางเป็นภาคีในสนธิสัญญา ผลของสนธิสัญญาระหว่างคู่สงครามเป็นแต่เพียงระงับไปชั่วคราวจนกว่า สงครามสงบ โดยมีการทำสนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญานั้นยังไม่ถือว่าสิ้นสุดลง แต่ผลระหว่างรัฐเป็นกลางกับ รัฐคู่สงคราม หรือระหว่างรัฐเป็นกลางที่เป็นภาคีสนธิสัญญายังใช้บังคับอยู่เช่นเดิม เช่น สงครามในปี ค.ศ. 1870 ไม่ได้ ทำให้สนธิสัญญาปารีสวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1856 สิ้นสุดลง และสนธิสัญญาวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1839 ที่ค้ำประกัน ความเป็นกลางของเบลเยียมไม่ได้สิ้นสุดลง เมื่อเยอรมนีบุกเบลเยียมในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 แต่ยังคงใช้อยู่ จนกระทั่งได้มีการทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เช่นเดียวกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ค.ศ. 1939 ก็ไม่ได้ทำให้ องค์การสันนิบาตชาติเลิกล้มไป จนกระทั่งเกิดองค์การสหประชาชาติขึ้นมาแทน

 

ข้อ 3. นายบารัก โอบามา ชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของอเมริกาเมื่อไม่นานมานี้ และจะเป็นผู้นำรัฐบาล ของประเทศอเมริกาต่อไปอีกหนึ่งสมัย ในฐานะที่ท่านผ่านการศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ มาแล้ว อธิบายให้เข้าใจว่ารัฐบาลใหม่ของประเทศนี้จำเป็นที่จะต้องรับการรับรองตามหลักเกณฑ์ ของกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ (ต้องอธิบายหลักเกณฑ์โดยละเอียดประกอบด้วย) และ ประเทศอเมริกาเป็นรัฐในรูปแบบใด แตกต่างจากรูปแบบของประเทศไทยหรือไม่ อธิบายให้ชัดเจน

งคำตอบ

รัฐบาล คือ คณะบุคคลที่มีอำนาจกระทำการในนามองค์กรฝ่ายบริหารของรัฐ ซึ่งเป็น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ ในกรณีมีรัฐเกิดขึ้นใหม่และมีการรับรองรัฐก็ถือเป็นการรับรองรัฐบาลโดยปริยายด้วย ตามปกติแล้วรัฐต่าง ๆ ย่อมมีคณะบุคคลผลัดเปลี่ยนเข้ามามีอำนาจกระทำการเป็นฝ่ายบริหารของรัฐ

ในกรณีทีมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามปกติหรือตามวิถีทางของกฎหมายภายในของรัฐ เช่น รัฐบาล มาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการรับรองรัฐบาลชุดใหม่แต่อย่างใด

การรับรองรัฐบาลใหม่ จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

1.         กรณีที่รัฐบาลใหม่มิได้ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางของกฎหมาย คือ เป็นกรณีที่ มีคณะบุคคลขึ้นครองอำนาจโตยวิธีการที่ผิดแปลกไปจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งโดยปกติที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ คือ การปฏิวัติรัฐประหาร หรือการได้อำนาจโดยการใช้กำลังบังคับ

2.         กรณีที่มีการตั้งรัฐบาลขึ้นมีอำนาจปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐ โดยการแย่ง อำนาจปกครองจากรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐ ทำให้มี 2 รัฐบาลในรัฐเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลที่ตั้งขึ้นในกรณี ดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลโดยพฤตินัย จึงสมควรที่จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐอื่น

การตัดสินใจในการให้การรับรองรัฐบาลใหม่นี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของรัฐที่จะให้การรับรองหรือไม่ และอาจจะรับรองโดยมีเงื่อนไขก็ได้ การรับรองรัฐบาลนี้มีผลในลักษณะของการประกาศให้นานาชาติทราบถึง สถานภาพของรัฐบาลที่ได้รับการรับรองเช่นเดียวกับการรับรองรัฐ สำหรับหลักการพิจารณาเพื่อการรับรองรัฐบาลนี้ มีทฤษฎีทีเกี่ยวข้องดังนี้

1.         ทฤษฎี Tobar เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงความชอบธรรมของรัฐบาล ที่ขึ้นมามีอำนาจปกครองประเทศว่าเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เป็นความคิดที่พยายามจะ ป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยในลาตินอเมริกา ซึ่ง Tobar รัฐมนตรีต่างประเทศเอกวาดอร์ เห็นว่ารัฐ ไม่ควรรับรองรัฐบาลที่ได้อำนาจมาโดยการปฏิวัติรัฐประหาร เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลใหม่จะทำให้ถูกต้องตาม ขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ โดยได้รับความยินยอมจากสภาที่มาจากการเลือกตั้งเสียก่อน

ทฤษฎี Tobar ใช้เฉพาะในทวิปอเมริกาเท่านั้น ประเทศใบยุโรปไม่ยอมรับนับถือ ปฏิบัติ โดยหลักการแล้วทฤษฎีดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เพราะการรับรองรัฐบาลใหม่ก็เหมือนกับการรับรอง รัฐ ซึ่งเป็นเพียงการยืนยันหรือประกาศสภาพของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วเท่านั้น และการปฏิเสธการรับรองรัฐบาลโดย อ้างว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมนั้น เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น ดังนั้นทฤษฎี Tobar จึงไม่ได้รับ การยึดถือปฏิบัติแต่ปลายปี ค.ศ. 1932 เป็นต้นมา

2.         ทฤษฎี Estrada เป็นหลักการรับรองรัฐบาลโดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพของรัฐบาลนั้น ที่มีอำนาจอันแท้จริงในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลมีความสามารถเช่นว่านี้ก็เพียงพอที่จะเป็นรัฐบาลโดยสมบูรณ์ได้ โดยมิต้องไปพิจารณาถึง ความถูกต้องตามกฎหมายภายในของรัฐบาล เพราะเป็นกิจการภายในของรัฐนั้น รัฐอื่นไม่มีหน้าที่ไปพิจารณา รัฐทุกรัฐ ย่อมมีอำนาจอธิปไตยของตนเอง ซึ่งสังคมระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้ยึดถือตามทฤษฎี Estrada นี้

กรณีตามปัญหา การที่นายบารัก โอบามา ชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของอเมริกาและจะเป็น ผู้นำรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไปอีกหนึ่งสมัยนั้น ถือได้ว่ารัฐบาลใหม่ของประเทศนี้ซึ่งมีนายบารัก โอบามา เป็นผู้นำเป็นรัฐบาลที่ขึ้นมาปกครองประเทศตามวิถีทางที่กฎหมายได้กำหนดไว้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องรับการรับรอง ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศและแม้จะไม่มีการรับรองรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายบารัก โอบามา ก็ถือว่ารัฐบาลใหม่นี้เป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ สามารถปฏิบัติพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว

สำหรับรูปแบบของรัฐนั้น อาจแบ่งแยกออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ รัฐเดี่ยวและรัฐรวม

1. รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐซึ่งมีการปกครองเป็นเอกภาพไม่ได้แบ่งแยกออกจากกัน มีรัฐบาลกลาง ปกครองประเทศเพียงรัฐบาลเดียว แม้จะมีการกระจายอำนาจปกครองให้แก่ท้องถิ่นแต่ก็ยังอยู่ในความควบคุม ของรัฐบาลกลาง มีประมุขของรัฐแต่เพียงผู้เดียว และมีองค์กรนิติบัญญัติเพียงองค์กรเดียว

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ จะบัญญัติไว้ว่า ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้” แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีรูปแบบของรัฐเป็นลักษณะของ รัฐเดี่ยว” โดยมีประมุขคนเดียวกัน และมีรัฐบาลกลางบริหารปกครองประเทศรัฐบาลเดียว

2. รัฐรวม หมายถึง รัฐหลายรัฐมารวมกันโดยเหตุการณ์หรือผลประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง ซึ่งรัฐรวมระหว่างหลายรัฐดังกล่าวอาจจะเป็นรัฐรวมแบบสมาพันธรัฐ หรือแบบสหพันธรัฐก็ได้

สำหรับรัฐรวมแบบสหพันธรัฐหรือสหรัฐ เป็นการรวมกันของรัฐหลายรัฐในลักษณะที่ ก่อให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นมารัฐเดียว ซึ่งรัฐเดิมที่เข้ามารวมนี้จะสูญสภาพความเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศไป โดยยอมสละอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้แก่รัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการภายนอก เช่น อำนาจในการป้องกันประเทศ อำนาจในการติดต่อกับต่างประเทศ ส่วนกิจการภายในรัฐสมาชิกยังคงมีอิสระเช่นเดิม

สหพันธรัฐอาจจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น เกิดจากหลายรัฐมารวมกันในรูปของ สหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ หรือเกิดการเปลี่ยนรูปจากรัฐเดียวมาเป็นสหพันธรัฐ เช่น เม็กซิโก บราซิล เป็นต้น โดยปกติแล้วรัฐสมาชิกของสหพันธรัฐจะไม่สามารถถอนตัวออกไปได้ เว้นแต่จะกำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐให้รัฐสมาชิกถอนตัวออกได้

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่ารูปแบบของรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกากับของประเทศไทยจะแตกต่างกัน กล่าวคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐในรูปแบบของรัฐรวมแบบสหพันธรัฐหรือสหรัฐ แต่ของประเทศไทยเป็นรัฐ ในรูปแบบของรัฐเดี่ยว

 

ข้4. จงอธิบายกระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธีที่เรียกว่าวิธีการ ศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ” (ศาลโลก)โดยละเอียด และวิธีกรนี้มีความแตกต่างจากวิธีการที่เรียกว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นสำคัญอย่างไร ซึ่งจะต้องอธิบายแยกแยะให้ชัดเจนด้วย

ธงคำตอบ

การระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เป็นการระงับข้อพิพาท ทางศาลตามความหมายที่แท้จริง เนื่องจากเป็นลักษณะของการเสนอข้อพิพาทให้ศาลที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวร โดยมี ผู้พิพากษาประจำอยู่ มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาความของตนเอง แตกต่างจากศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ แต่ก็เป็นการระงับข้อพิพาทในทางกฎหมาย และอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมายเช่นเดียวกัน

สำหรับโครงสร้างของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 นาย แต่จะ เป็นคนในสัญชาติเดียวกับไมได้ ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่ง 9 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่ นอกจากนั้นก็มีการ เลือกตั้งซ่อมทุก ๆ 3 ปี โดยผู้พิพากษา 5 คน จะอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี 5 คนอยู่ในตำแหน่ง 6 ปี และ 5 คนที่เหลือ อยู่ในตำแหน่งได้ครบ 9 ปี ถ้ามีตำแหน่งว่างให้มีการเลือกตั้งซ่อม ผู้ที่ได้รับเลือกจะอยู่ได้เท่าเวลาของผู้ที่ตนแทน การเลือกตั้งกระทำโดยความเห็นชอบร่วมกับของสมัชชาสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งในกรณีนี้ สมาชิกถาวรของคณะมนตริความมั่นคงไม่สามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ มติถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ศาลเลือกประธาน และรองประธานซึ่งอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี และอาจได้รับเลือกใหม่อีก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างประเทศหรือรัฐเท่านั้น และต้องการเกิดจากความสมัครใจของรัฐคู่กรณีด้วย มีเขตอำนาจในเรื่องตังต่อไปนี้คือ

1.         การตีความสนธิสัญญา

2.         ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศ

3.         ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศ

4.         กรณีเกิดการเสียหายเพราะละเมิดพันธะระหว่างประเทศ

นอกจากนี้คู่พิพาทอาจจะขอให้ศาลพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญา และยังมีหน้าที่ให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายแก่คณะมนตรีและสมัชชาของสันนิบาตชาติด้วย ในกรณีที่ถูกร้องขอ

การนำคดีขึ้นสู่ศาลโดยปกติเป็นความประสงค์ชองคู่กรณีเอง นอกจากจะมีสนธิสัญญาที่ คู่กรณีทำไว้บังคับให้ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลนี้ คำตัดสินของศาลผูกพันคู่กรณีให้ต้องปฏิบัติ และถือเป็นที่สุดไม่มี อุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษาชองศาลมีลักษณะเป็นพันธกรณีที่คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตาม และคำพิพากษาถือเป็นสิ้นสุด และผูกพันเฉพาะคูความในคดีเท่านั้น ถ้ารัฐใดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา รัฐอีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยัง คณะมนตรีความมันคง ซึ่งถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่าจำเป็นก็อาจทำคำแนะนำ หรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดผลตามคำพิพากษา

ส่วนการระงับข้อพิพาทโดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นการระงับข้อพิพาท โดยองค์กรที่ยังไม่มีลักษณะเป็นศาลที่แท้จริง โดยศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป็นศาลที่มีการจัดตั้งขึ้นมา สืบเนื่องมาจากการประชุมที่กรุงเฮกในปี 1899 และปี 1907 ซึ่งได้มีการผลักดันให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการใน ลักษณะถาวรขึ้นเรียกว่า ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีที่ทำการอยู่ทีกรุงเฮก ประเทศฮอลแลนด์ โดยรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะส่งรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในด้านกฎหมายระหว่างประเทศในประเทศชองตน เพื่อไปเป็นผู้พิพากษายังศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจำนวน 4 คน และรายชื่อทั้งหมดจะรวบรวมทำเป็น บัญชีไว้ หากมีกรณีพิพาทมาสู่ศาลจึงจะเรียกผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นมาตัดสิน และกรณีที่ถือว่าศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศยังไม่มีลักษณะที่เป็นศาลอย่างแท้จริงก็เพราะว่า ถึงแม้จะมีที่ทำการศาลอย่างถาวรก็ตาม แต่ว่ายังไม่มี ผู้พิพากษาอยู่ประจำตลอดเวลาอย่างศาลทั่วไป และไม่มีการประชุมกันระหว่างผู้พิพากษาด้วยกันอย่างเช่นศาลทั่วไป

กระบวนการระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เรียกว่าวิธีการ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” (ศาลโลก) จะแตกตาางจากวิธีการที่เรียกว่าศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ในประเด็นที่สำคัญ คือ

1.         การนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยปกติจะเป็นความประสงค์ของคู่กรณีเอง เว้นแต่จะมีสนธิสัญญาที่คู่กรณีทำไว้บังคับให้ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลนี้ แต่การนำคดีขึ้นสู่ศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่กรณีเท่านั้น

2.         ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่ประจำอยู่ในศาล แต่ผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีในศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ คือผู้พิพากษาที่คู่พิพาทเลือกมาจากบัญชีรายชื่อ (เป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณี)

3.         การพิจารณาคดีโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จะมีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณา เป็นของตนเอง รวมทั้งมีการประชุมร่วมกันของผู้พิพากษาในศาล แต่การพิจารณาคดีโดยศาลอนุญาโตตุลาการ ระหว่างประเทศจะไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีพิจารณาเป็นของตนเองรวมทั้งไม่มีการประชุมกันระหว่างผู้พิพากษา เหมือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

Advertisement