การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4002 การว่าความ

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. เมื่อผู้สูงอายุชายวัย 84 ปี มาขอให้ท่านในฐานะนักกฎหมายจัดทำพินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งต้องมีผู้เขียนพินัยกรรมและพยานลงชื่อรับรองสองคนนั้น ท่านควรมีข้อแนะนำต่อผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรม อย่างไรบ้าง ให้ยกหัวข้อที่จะแนะนำอย่างน้อย 4 หัวข้อ

ธงคำตอบ

เมื่อมีบุคคลมาขอให้ข้าพเจ้าจัดทำพินัยกรรมธรรมดาซึ่งต้องมีผู้เขียนพินัยกรรมและพยาน ลงชื่อรับรองสองคนนั้น ข้าพเจ้าจะมีข้อแนะนำต่อบุคคลผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมดังกล่าว (ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1656) ดังนี้คือ

1.         ต้องทำเป็นหนังสือ โดยผู้ทำพินัยกรรมจะเขียนหรือพิมพ์เอง หรือจะให้ผู้อื่นเขียน หรือพิมพ์แทนก็ได้ หากใช้วิธีเขียนก็ต้องเขียนทั้งฉบับ หากใช้วิธีพิมพ์ก็ต้องพิมพ์ทั้งฉบับ และในการเขียนต้องใช้ คน ๆ เดียวเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับ และในการพิมพ์ก็ต้องใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกันทั้งฉบับ

2.         ต้องลง วัน เดือน ปี ขณะที่ทำพินัยกรรม เพราะถ้าไม่ลง วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม แล้วย่อมไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย

3.         ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน พร้อมกัน ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมไมลงลายมือชื่อ ผู้ทำพินัยกรรมอาจลงลายพิมพ์นิ้วมือก็ได้โดยมีพยาน ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 1665) แต่จะ ใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อหรือลงแกงได หรือลงเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้

4.         พยานอย่างน้อยสองคนซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้านั้นต้องลงลายมือชื่อ รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะทำพินัยกรรม จะลงลายมือชื่อในเวลาอื่นไม่ได้

และพยานในพินัยกรรมจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลลังให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และต้องไมเป็นคนหูหนวก เป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง

5.         การขูดลบ ตกเติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะไต้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกันกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้ (ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง)

6.         ผู้เขียนและพยานในการทำพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรส จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้

 

 

ข้อ 2. คำฟ้องคดีอาญา

ข้อเท็จจริง ในสำนวนการสอบสวนคดีเรื่องหนึ่งได้ความว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 03.30 นาฬิกา นายจอมกับนายจิต ได้เข้าไปในวัดขุนข้าง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบล ตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย แล้วลักรถจักรยานยนต์ จำนวน 1 คัน ราคา 45,000 บาท ของนายพงศ์ศักดิ์ มารวย ซึ่งจอดอยู่ข้างโบสถในวัด แล้วหลบหนีไป ตอมาวันที่ 20 มีนาคม 2556 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เจ้าพนักงานจับนายจอมและนายจิตได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ คันที่ทั้งสองร่วมกันลักเอาไปดังกล่าวเป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ชั้นสอบสวนนายจอมให้การปฏิเสธ ส่วนนายจิตให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนได้นำตัว ทั้งสองไปฝากขังไว้ที่ศาลจังหวัดสุโขทัยตามคดีหมายเลขดำที่ ฝ. 339/2556 เสร็จแล้วสรุปสำนวน การสอบสวนส่งพนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย

ข้อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน…

มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์

(1) ในเวลากลางคืน

(7) โดย… หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ต้องระวางโทษ…

มาตรา 335 ทวิ ผู้ใดลักทรัพย์ที่เป็น…

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ได้กระทำในวัด สำนักสงฆ์ สถานอันเป็นที่เคารพใน ทางศาสนา… ผู้กระทำต้อง ระวางโทษ…

สมมุติว่า นักศึกษาเป็นพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัย ได้มีคำสั่งฟ้องคดีนี้ให้เรียงคำฟ้องนายจอมกับนายจิต เฉพาะเนื้อหาคำฟ้องในภาคการกระทำความผิดและการได้ตัวมาดำเนินคดี เท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องคำนึงถึงแบบพิมพ์คำฟ้องแต่ประการใด

ธงคำตอบ

ถ้าข้าพเจ้าเป็นพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสุโขทัยผู้รับผิดชอบดำเนินคดีนี้ ข้าพเจ้า จะเรียงคำฟ้องเพื่อฟ้องนายจอมกับนายจิตในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้

คำฟ้องอาญา

ข้อ 1. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556 เวลากลางคืนก่อนเทียง จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำการ อันเป็นความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือ ได้บังอาจร่วมกันเอารถจักรยานยนต์ จำนวน 1 คัน ราคา 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) ของบายพงศ์ศักดิ์ มารวย ผู้เสียหายซึ่งจอดอยู่ข้างโบสถ์ในวัดไปโดยทุจริต

เหตุเกิดที่ ตำบลตาลเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ข้อ 2. ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2556 เวลากลางวัน เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสองได้พร้อมกัน ยึดรถจักรยานยนต์คันที่จำเลยทั้งสองร่วมกันลักเอาไปดังกล่าวในฟ้องข้อ 1. เป็นของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวนทำการสอบสวบ

ขั้นสอบสวน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ส่วนจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ แต่คดีมีมูล ของกลางพนักงานสอบสวนเก็บรักษาไว้

ระหว่างสอบสวน จำเลยทั้งสองถูกควบคุมตัวมาตลอด ตามหมายขังของศาลนี้ในคดีหมายเลขดำ ที่ ฝ.339/2556 ขอศาลเบิกตัวจำเลยทั้งสองมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายต่อไป

 

 

ข้อ 3. บริษัท ผลไม้ไทย จำกัด จดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายผลไม้คัดสรรทุกชนิด โดยมีนายอำนวย ยิ่งยวด และนายประสาน สิงหภพ เป็นกรรมการบริหารมีอำนาจลงลายมือชื่อและ ประทับตราสำคัญแทนบริษัท เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2556 บริษัทฯ ได้ทำสัญญาขายมะม่วงอย่างดี จำนวน 500 กล่องราคารวมทั้งหมด 200,000 บาทให้แก่นายปรีดา มงคลทรัพย์ โดยในสัญญาระบุให้ ชำระราคาและรับมอบมะม่วงในวันที่ 22 มกราคม 2556 

ครั้นเมื่อถึงวันที่ 22 มกราคม 2556 นายปรีดาฯ บิดพลิ้วไม่ยอมชำระราคาและไม่ยอมรับมอบมะม่วงกลับปล่อยทิ้งไว้หน้าโกดังเก็บสินค้าตนเอง ไม่แจ้งกลับให้ทางบริษัทฯ ทราบว่าไม่ต้องการมะม่วงกว่าบริษัทจะทราบก็ล่วงเลยเวลาไป 7 วันแล้ว ส่งผลให้ทางบริษัทฯ เกิดความเสียหายเพราะมะม่วงเน่าเสียเกือบทั้งหมด รวมถึงมีค่าใช้จ่าย ในการขนส่ง การจัดเตรียมสินค้าทั้งหมดเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท 

บริษัทฯ ได้มีการติดตามทวงถาม ทางโทรศัพท์กับนายปรีดาฯ หลายครั้ง และส่งจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์เรียกให้นายปรีดาฯ ดังกล่าวชำระราคาและค่าเสียหายในราคาสินค้าทั้งหมดและที่เกิดขึ้น บริษัทฯ โดยนายอำนวย ยิ่งยวด และนายประสาน สิงหภพ จึงได้ทำหนังสือมอบอำนาจแต่งตั้งให้ท่านเป็นตัวแทนในการฟ้องคดี และเป็นทนายความให้กับบริษัทฯ ดังนั้นในฐานะทนายความของบริษัทฯ ให้ท่านยื่นคำฟ้องเรียกให้ นายปรีดาฯ ชำระราคารวมถึงค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามความประสงค์ของตัวความ

ธงคำตอบ

คำฟ้อง

ข้อ 1. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ใช้ชื่อว่า บริษัท ผลไม้ไทย จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการ จำหน่ายผลไม้คัดสรรทุกชนิด โดยมีนายอำนวย ยิ่งยวด และนายประสาน สิงหภพ เป็นกรรมการบริหารมีอำนาจ ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญแทนบริษัท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 1

ในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ (ชื่อนักศึกษา) มีอำนาจฟ้องคดีแทน

รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้อง หมายเลข 2

ข้อ 2. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2556 โจทก์ได้ทำสัญญาขายมะม่วงอย่างดีจำนวน 500 กล่อง ราคารวมทั้งหมด 200,000 บาท (สองแสบบาทถ้วน) ให้แก่จำเลย โดยในสัญญาได้ระบุให้จำเลยชำระราคาและ รับมอบสินค้าในวันที่ 22 มกราคม 2556 รายละเอียดปรากฏตามสัญญาซื้อขาย ฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2556 เอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 3

ข้อ 3. ครั้นถึงวันที่ 22 มกราคม 2556 จำเลยปฏิเสธไม่ยอมชำระราคาและไม่ยอมรับมอบสินค้า กลับปล่อยทิ้งไว้หน้าโกดังสินค้า โดยจำเลยไม่ได้แจ้งกลับให้โจทก์ทราบว่าไม่ต้องการสินค้า และกว่าโจทก์จะทราบ ก็ล่วงเลยเวลาไป 7 วันแล้ว ส่งผลให้ทางโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะสินค้าเน่าเสียเกือบทั้งหมด รวมถึง มีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และการจัดเตรียมสินค้าทั้งหมดเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)

โจทก์ได้มีการติดตามทวงถามทางโทรศัพท์กับจำเลยหลายครั้ง จนท้ายสุดโจทก์ได้ส่งหนังสือ ทวงถามลงทะเบียนไปรษณีย์เรียกให้จำเลยชำระราคาและค่าเสียหายในราคาสินค้าทั้งหมดและที่เกิดขึ้นเป็นเงิน  200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือทวงถามและไปรษณีย์ตอบรับเอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 4 และ 5 จำเลยได้รับหนังสือทวงถามและไปรษณีย์ตอบรับ แต่กลับเพิกเฉย

โจทก์ไม่มีทางใดจะเรียกร้องจากจำเลยได้ จึงขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ…….(ลายมือชื่อนักศึกษา)…….ทนายโจทก์

คำฟ้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ระบุชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ…….(ลายมือชื่อนักศึกษา)…….ผู้เรียงและพิมพ์

คำขอท้ายฟ้อง

1.         ให้จำเลยชำระราคาและค่าเสียหายในราคาสินค้าทั้งหมดและที่เกิดขึ้นเป็นเงินจำนวน

200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)

2.         ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดนับแต่วันฟ้อ จนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น

3.         ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

Advertisement