การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

 ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3016 กฎหมายปกครอง(สำหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. ในฐานะที่นักศึกษาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพฯให้นักศึกษาอธิบาย อย่างละเอียดว่ากรุงเทพมหานครกับกฎหมายปกครองมีความเกี่ยวข้องหรือมีความ สัมพันธ์ต่อกันอย่างไร

ธงคำตอบ

กรุงเทพมหานครกับกฎหมายปกครองมีความเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้คือ

กฎหมายปกครอง” คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ชองรัฐ ซึ่งอำนาจและหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะซึ่งเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครอง

รวมทั้งการใช้อำนาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือการกระทำทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การทำสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

ตัวอย่างกฎหมายปกครอง เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง เป็นต้น

กรุงเทพมหานคร” ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครนั้น ได้กำหนดให้ กรุงเทพมหานครเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานทางปกครองประเภทหนึ่งและมีอำนาจ หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อยชองประชาชน การทะเบียน การสาธารณสุข การคมนาคมขนส่ง การผังเมือง การศึกษาและส่งเสริมการกีฬา เป็นต้น ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าว คืออำนาจหน้าที่การจัดทำบริการสาธารณะ นั่นเอง

และในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะต่าง ๆ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้นั้น เพื่อให้ การจัดทำบริการสาธารณะเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำ กรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร จึงจำเป็นต้องมีการออกกฎ หรือออกคำสั่งทางปกครอง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองเพื่อมาบังคับใช้กับบุคคลซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งการกระทำการ ดังกล่าวนั้นเรียกว่า การใช้อำนาจทางปกครอง

แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครนั้นจะต้องใช้อำนาจและหน้าที่เฉพาะเท่าที่กฎหมายระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครได้กำหนดไว้เท่านั้น และนอกจากนั้นถ้าการใช้อำนาจทางปกครอง ได้ไปเกี่ยวพันกับกฎหมายปกครองอื่น ๆ ที่ได้กำหนดกฎเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติในการใช้อำนาจทางปกครองไว้ การใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าวก็ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายปกครองอื่น ๆ นั้นกำหนดไว้ด้วย

ตัวอย่างเช่น ถ้ากรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะใช้อำนาจทางปกครอง เพื่อที่จะออกกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง ถ้าจะให้กฎหรือคำสั่งทางปกครองที่ออกมานั้นเป็นกฎหรือคำสั่งทางปกครอง ที่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ออกกฎหรือคำสั่งทางปกครองจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กำหนดไว้

เช่น ตามมาตรา 13 ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้ใดมีส่วนด้เสียในเรื่องที่ตนมีอำนาจพิจารณาทางปกครองจะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ หรือ ตามมาตรา 30 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคูกรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้คู่กรณีได้มีโอกาสโต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตน เป็นต้น

และถ้าการใช้อำนาจทางปกครองของกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครนั้นไมถูกต้อง หรือไมชอบด้วยกฎหมายตามที่กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งเป็นกฎหมายปกครองได้กำหนดไว้ ย่อมก่อให้เกิด ข้อพิพาททางปกครองหรือที่เรียกว่า คดีปกครอง” ขึ้น

ก็จะต้องนำคดีพิพาทนั้นไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้ ศาลปกครองเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ทั้งนี้เพราะศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามกฎหมาย จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองประเภทหนึ่ง

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครย่อมมีความเกี่ยวข้อง และมีความสัมพันธ์กับกฎหมาย ปกครอง ดังที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น


 

ข้อ 2. นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ส่วนหนึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ไปเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอบ้าง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้าง ปลัดเทศบาลบ้างฯ

จงอธิบายว่ากฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีส่วนเกี่ยวข้องกับปลัดอำเภอตั้งแต่ สมัครสอบเข้าเป็นปลัดอำเภอจนกระทั่งเกษียณอายุราชการอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างให้ชัดเจน

ธงคำตอบ

กฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักศึกษาที่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไปเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอ ทั้งนี้เพราะ

กฎหมายปกครอง” นั้น นอกจากจะเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงาน ทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อการออกกฎ

คำสั่งทางปกครองหรือการดำเนิน กิจกรรมทางปกครองอื่น ๆ แล้ว ยังเป็นกฎหมายที่บัญญัติหลักในการจัดองค์กรของการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดระเบียบในการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรนั้นด้วย

ส่วน วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น หมายถึง การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดำเนินการ ใด ๆ ในทางปกครองตามกฎหมายนี้

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากบทนิยามหรือความหมายทั่ว ๆ ไปของกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครองแล้ว จะเห็นได้ว่า กฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ปลัดอำเภอในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐฝายปกครองนับตั้งแต่การสมัครสอบเข้าเป็นปลัดอำเภอจนกระทั่งเกษียณ อายุราชการ กล่าวคือ

ในการสมัครสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอนั้น คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ การประกาศ รายชื่อของผู้มีสิทธิในการสอบและการประกาศรายชื่อผู้ที่สอบได้ รวมทั้งวิธีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอนั้น ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนดไว้

และในกรณีที่ได้มีการเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอแล้ว ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น ก็จะต้อง เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตลอดเวลา เช่น

ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของปลัดอำเภอ หรือในกรณีที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีก เช่น ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของบุคคล ดังกล่าว ก็จะต้องทราบว่ากฎหมายปกครองต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.น. ระเบียบ ข้าราชการพลเรือน หรือกฎหมายปกครองอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เช่น กฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นนั้น ได้บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแกบุคคลเหล่านั้นไว้อย่างไร เพื่อทีจะทำให้บุคคลเหล่านั้นได้ใช้ อำนาจปกครองได้อย่างถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของปลัดอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครองอื่น ๆ (ในกรณีที่ได้รับเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น) นั้น ส่วนใหญมักจะเป็นเรื่องของการใช้อำนาจทางปกครอง เพื่อออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือเพื่อดำเนินการทางปกครองในรูปแบบอื่น ๆ

เช่น การกระทำทางปกครองที่เรียกว่า ปฏิบัติการ ทางปกครอง เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะให้การใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน และวิธีการตามที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กำหนดไว้ด้วย

ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ปลัดอำเภอจะใช้อำนาจทางปกครอง เพื่อออกคำสั่งทางปกครอง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ปลัดอำเภอจะต้องทราบว่า กฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องดังกล่าวแกปลัดอำเภอหรือไม่ หรือถ้ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้ กฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือขั้นตอนในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้หรือไม่อย่างไร

ทั้งนี้เพราะถ้าปลัดอำเภอได้ใช้อำนาจทางปกครองและออกคำสั่งทางปกครองตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้อำนาจไว้ รวมทั้งได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายได้กำหนดไว้ คำสั่งทางปกครองที่ออกมานั้น ก็จะเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่ชอบด้วยกฎหมาย

แต่ถ้าปลัดอำเภอได้ออกคำสั่งทางปกครองมาโดยที่ไมมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้หรือ ออกคำสั่งทางปกครองมา โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ค่าสั่งทางปกครองนั้น ก็จะเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาได้


 

ข้อ3. จงอธิบายสาระสำคัญของหลักกระจายอำนาจปกครองโดยวิธีการกระจายอำนาจปกครองแบบพื้นที่ (หรืออาณาเขต) กับวิธีการกระจายอำนาจปกครองแบบกิจการ (หรือเทคนิค) ว่ามีอย่างไร และ ทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ธงคำตอบ

หลักกระจายอำนาจทางปกครอง” คือ หลักการที่ราชการบริหารส่วนกลางได้มอบอำนาจ ปกครองบางส่วนให้แกองค์กรอื่นซึ่งมิใช่องค์กรของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อไปจัดทำบริการสาธารณะบางอย่าง โดยมีความเป็นอิสระ ไมอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลเท่านั้น

การกระจายอำนาจ มีได้ 2 รูปแบบ คือ

1.             การกระจายอำนาจตามเขตแดนหรือตามพื้นที่ (หรือกระจายอำนาจตามอาณาเขต) เป็นวิธีการกระจายอำนาจให้แกส่วนท้องถิ่น โดยให้ส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาแยกต่างหากจากส่วนกลาง และให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น แล้วส่วนกลางก็จะมอบอำนาจให้องค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นไปดำเนินจัดทำกิจการบริการสาธารณะ ตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดขอบเขตหรือพื้นที่ไว้ ซึ่งโดยหลักทั่วไปองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้นก็จะ ไปจัดทำกิจการนอกเขตหรือนอกพื้นที่ที่กำหนดไวัไมได้ นอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยเฉพาะ

ซึ่งวิธีการกระจายอำนาจให้แก่ส่วนท้องถิ่นวิธีนี้ กระท่าโดยการมอบอำนาจการจัดทำกิจการบริการสาธารณะหลาย ๆ อย่างให้แกส่วนท้องถิ่นไปจัดทำโดยเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง และด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเพื่อสนองตอบต่อความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ

สาระสำคัญของหลักการกระจายอำนาจตามเขตแดนหรือตามพื้นที่ ได้แก่

1)            มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากและเป็นอิสระจากราชการ บริหารส่วนกลางมีงบประมาณ และเจ้าหน้าที่เป็นของตนเอง เพื่อจัดทำบริการสาธารณะตามที่ได้รับมอบหมาย

2)            มีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญของการกระจายอำนาจตามเขตแดนหรือ ตามพื้นที่ กล่าวคือ บุคลากรหรือผู้บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาต่าง ๆ จะต้องมาจากการเลือกตั้งจากราษฎรใน ท้องถิ่นนั้น

3)            มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ต้องรับคำลังหรืออยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของส่วนกลาง ซึ่งความเป็นอิสระในที่นี้ให้รวมถึงความเป็น อิสระในเรื่องงบประมาณและเจ้าหน้าที่ด้วย โดยส่วนกลางจะมีอำนาจแต่เพียงการกำกับดูแลให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

2.             การกระจายอำนาจทางบริการหรือทางเทคนิค เป็นวิธีการกระจายอำนาจ โดยที่ส่วนกลาง จะมอบบริการสาธารณะอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวให้แกองค์กรที่มีการจัดตั้งขึ้นโดยมิได้อยู่ในสังกัดของ ส่วนกลาง ได้แก่ องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน รับไปดำเนินงานด้วยเงินทุนและด้วยเจ้าหน้าที่ ขององค์การนั้น ๆ เช่น การมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเดินรถไฟทั่วทั้งประเทศให้แกองค์การของรัฐคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือการมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น

การกระจายอำนาจทางบริการหรือทางเทคนิคนั้น จะมีสาระสำคัญคล้ายกับหลัก กระจายอำนาจทางเขตแดนหรือพื้นที่ เพียงแต่การกระจายอำนาจทั้งสองวิธีมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้คือ

(ก) การกระจายอำนาจทางบริการหรือกิจการไมถือเอาอาณาเขตเป็นข้อจำกัดอำนาจ หน้าที่เป็นหลักสำคัญเหมือนกับการกระจายอำนาจทางเขตแดน ซึ่งองค์การอาจจัดทำกิจการได้ทั่วทั้งประเทศ หรือ ทำเฉพาะเขตใดเขตหนึ่งก็ได้ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์การนั้น

(ข) การกระจายอำนาจทางบริการหรือกิจการไม่ถือว่าการเลือกตั้งผู้บริหารเป็นเงื่อนไข ในการจัดตั้งองค์กรที่ได้รับการกระจายอำนาจทางบริการ ซึ่งต่างจากการกระจายอำนาจทางเขตแดนที่ผู้บริหาร ต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

 

 

ข้อ 4. นายโชคดี ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองของนักเรียนว่านายโชคดีให้จัดหาคอมพิวเตอร์แก่ โรงเรียนหรือบริจาคเงินเพื่อจัดหาคอมพิวเตอร์แกโรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองหลายคนเดือดร้อน

อธิบดีกรมสามัญศึกษาจึงออกคำสั่งย้ายนายโชคดีไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยม ประจำจังหวัดอื่นทีใกล้เคียง นายโชคดีเห็นว่าคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่เปิดโอกาสให้ตน ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานใดๆ เลย

จึงเป็นคำสั่งที่ไมชอบด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ดังนี้ ท่านเห็นว่าข้ออ้างของนายโชคดีถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบายตามหลักกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

ธงคำตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น คำสั่งทางปกครองหมายความว่า

(1)           การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2)           การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

และตามมาตรา 30 วรรคแรก บัญญัติว่า

ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคูกรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คูกรณีมีโอกาส ที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสโต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตน

ตามบทบัญญัติมาตรา 30 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น การที่เจ้าหน้าที่จะต้องให้คูกรณีมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้คูกรณีได้มีโอกาส โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตนนั้น จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการพิจารณาทางปกครอง คือ การดำเนินการเพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง และคำสั่งทางปกครองนั้นอาจจะไปกระทบสิทธิของคู่กรณีเท่านั้น คู่กรณีจึงจะได้รับสิทธิดังกล่าว

ตาม ปัญหา การที่อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้ออกคำสั่งย้ายนายโชคดี ตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดหนึ่งไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมประจำ จังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงนั้น ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานภายในหน่วยงาน หรือในกรมเดียวกัน และมีผลเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงภารกิจในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น

คำสั่งดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือ หน้าที่ของบุคคล คือยังไมมีผลทำให้สิทธิและประโยชน์นฐานะการเป็นข้าราชการของนายโชคดีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นคำสั่งย้ายนายโชคดีของอธิบดีกรมสามัญศึกษาลังกล่าวจึงไมใช่คำสั่งทางปกครอง ตามความหมาย ของคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5(1) และเมื่อไมใช่คำสั่งทางปกครอง อธิบดีกรมสามัญศึกษาจึงไม่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 30 วรรคแรก

คือไม่ต้องให้นายโชคดีได้ทราบข้อเท็จจริงของคำสั่งนั้น และไม่ต้องให้นายโชคดีได้มี โอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด และให้ถือว่าคำสั่งย้ายดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป ข้ออ้างของนายโชคดีที่ว่าคำสั่งย้ายดังกล่าว เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองนั้น เป็นข้ออ้างที่ไมถูกต้องตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

Advertisement