การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. ในศาลแพ่งมีนายเอก ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง นายโท นายตรี และนายจัตวา ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง นายเอกได้จ่ายสำนวนคดีให้นายดำและ น.ส.สวย ผู้พิพากษาศาลแพ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง

เมื่อได้มีการสืบพยานโจทก์ ไปแล้วสามปาก นายโทได้รับคำร้องเรียนจากฝ่ายจำเลยว่า น.ส.สวยเป็นญาติกับฝ่ายภริยาโจทก์ จำเลยเกรงว่าจะไม่ได้รับความยุติธรรมขอให้โอนสำนวนคดีให้กับผู้พิพากษาอื่นเป็นองค์คณะ

นายโทจึงนำหนังสือร้องเรียนนี้ไปปรึกษากับนายเอก นายเอกบอกให้นายโททำความเห็นเสนอขอ เรียกคืนและโอนสำนวนคดีเสนอต่อตน นายโทแจ้งว่าตนเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาผู้ซึ่งได้รับคำร้อง เห็นควรให้นายตรีซึ่งเป็นรองอธิบดีเช่นกันเป็นผู้เสนอความเห็นแทน นายเอกจึงอนุญาตให้นายตรี เสนอความเห็นแทนนายโท เมื่อนายเอกได้รับความเห็นจากนายตรีแล้ว จึงเรียกสำนวนคดีดังกล่าวคืน และโอนให้นายแมนผู้พิพากษาประจำศาลเป็นองค์คณะแทน น.ส.สวย

ท่านเห็นว่า การกระทำดังกล่าว ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 33 วรรคแรกและวรรคสอง การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบขององค์คณะผู้พิพากษาใด ประธนศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็นองค์คณะในสำนวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทำได้

ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น แล้วแต่กรณี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโส ถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้น เป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีหนึ่งคนหรือมีหลายคนแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้นทั้งหมด ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุด ของศาลนั้นเป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็น‘’

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 33 วรรคแรกนั้น เมื่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบของศาล จ่ายสำนวนคดีให้แกองค์คณะผู้พิพากษาในศาลไปแล้ว ก็ต้องให้องค์คณะดังกล่าวนั้นพิจารณาคดีไปจนเสร็จสำนวน จะเรียกคืนสำนวนคดีหรือโอนสำนวนจากองค์คณะผู้พิพากษาผู้รับผิดชอบสำนวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น ไม่ได้ เว้นแต่

1. เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม และ

2. รองประธานศาลฎีกา รองประธนศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ซึงมิได้เป็นองค์คณะในคดีนั้น เสนอความเห็นให้เรียกคืนสำนวนคดีนั้น หรือให้โอนสำนวนคดีนั้นไปให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่น

กรณีตามอุทาหรณ์ นายเอกอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งได้จ่ายสำนวนคดีให้นายดำและ น.ส.สวย ผู้พิพากษาศาลแพ่งเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อได้มีการสืบพยานโจทก์ไปแล้ว สามปาก

ได้มีการร้องเรียนจากฝ่ายจำเลยว่า น.ส.สวยเป็นญาติกับฝ่ายภริยาโจทก์ จึงถือว่าเป็นกรณีที่อาจจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรม ดังนั้นในการเรียกสำนวนคดีคืนและโอนสำนวนคดีนี้ไปให้องค์คณะ ผู้พิพากษาอื่นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไป ในกรณีนี้เป็นศาลแพ่ง นายเอกอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งจะกระทำได้ ก็ต่อเมื่อให้รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพงที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้น คือนายโทได้เสนอความเห็นให้กระทําได้

แต่ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ ปรากฏว่า นายโทซึ่งเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งที่มีอาวุโส สูงสุดในศาลนั้นไมได้เป็นผู้ทำความเห็นเสนอขอเรียกคืนและโอนสำนวนคดีเสนอต่อนายเอก แต่ผู้ที่ทำความเห็น เสนอต่อนายเอกเป็นนายตรี ซึงเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งที่มีอาวุโสถัดลงมา และกรณีดังกล่าวก็ไม่เข้าข้อยกเว้นของมาตรา 33 วรรคสอง

ที่นายโทไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือเข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืน หรือโอนนั้นแต่อย่างใด ดังนั้น การที่นายเอกได้อนุญาตให้นายตรีเสนอความเห็นแทนนายโท และเมื่อนายเอกได้รับ ความเห็นจากนายตรีแล้วจึงเรียกสำนวนคดีดังกล่าวคืน และโอนให้นายแมนผู้พิพากษาประจำศาลเป็นองค์คณะ แทน น.ส.สวยนั้น จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 33

สรุป การกระทำดังกล่าวของนายเอกไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. มานิตย์ทายาทของมนัสผู้ตายยื่นคำร้องต่อศาลแขวงนครปฐม ขอเป็นผู้จัดการมรดกไมมีพินัยกรรม ของมนัสซึ่งมีเงินอยู่สองแสนเก้าหมื่นบาทอยู่ในธนาคาร มาโนชทายาทอีกคนหนึ่งของมนัสยื่นคำร้องคัดค้านว่าค่าร้องของมานิตย์ไม่เป็นความจริง

ความจริงมนัสมีเงินฝากอยู่ในธนาคารสองล้านบาท การที่มานิตย์มายื่นคำร้องต่อศาลแขวงไม่ถูกต้องและศาลแขวงไม่มีอำนาจรับค่าร้องของมานิตย์ ไว้พิจารณา เพราะขัดต่อพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) โดยศาลแขวงมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้น ขอให้ศาลแขวงนครปฐมพิพากษา ยกคำร้องของมานิตย์ ตามหลักฐานซึ่งมาโนชนำส่งศาลพร้อมคำร้องคัดค้านได้ความว่ามนัสผู้ตาย มีเงินฝากอยู่ในธนาคารจำนวนหนึ่งล้านสองแสนเก้าหมื่นบาท

ท่านเห็นด้วยกับคำร้องคัดค้านของ มาโนชหรือไม่ และถ้าท่านเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงนครปฐม ท่านจะพิพากษาคดีนี้ว่าอย่างไร ให้อธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแกคดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

วินิจฉัย

ตามมาตรา 17 ประกอบกับมาตรา 25(4) ผู้พิพากษาคนเดียวของศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งซึ่งเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ โดยราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องต้องไม่เกินสามแสนบาท

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่มานิตย์ทายาทของมนัสผู้ตายยื่นคำร้องต่อศาลแขวงนครปฐมขอเป็น ผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรมของมนัสนั้น มานิตย์ไม่ได้ยื้นคำร้องขอรับมรดกของมนัส ดังนั้น คดีนี้ถือว่าเป็นคดี ไม่มีทุนทรัพย์ เพราะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แต่เพียงจัดการมรดกเท่านั้นไมได้รับทรัพย์สินของผู้ตายมาเป็นของตน

และเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่ไม่มีทุนทรัพย์จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง เพราะศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีแพงที่มีทุนทรัพย์เท่านั้น ดังนั้น คดีนี้ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาศาลแขวงนครปฐม ข้าพเจ้าต้องพิพากษายกฟ้อง

ส่วนกรณีที่มาโนชทายาทอีกคนหนึ่งของมนัสได้ยื่นคำร้องคัดค้านว่าคำร้องของมานิตย์ที่ว่า มีเงินของมนัสอยู่ในธนาคารสองแสนเก้าหมื่นบาทนั้นไมเป็นความจริง ความจริงมนัสมีเงินฝากอยู่ในธนาคาร สองล้านบาท การที่มานิตย์มายื่นต่อศาลแขวงไม่ถูกต้องและศาลแขวงไม่มีอำนาจรับคำร้องของมานิตย์ไว้พิจารณา เพราะขัดต่อพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25(4)

โดยศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้น ดังนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับคำร้องคัดค้านของมาโนช เพราะแม้ศาลแขวงจะไมมี อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพงที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าสามแสนบาทก็ตาม แต่ตามมาตรา 25(4) นั้น หมายความถึง คดีที่มีทุนทรัพย์เท่านั้น แต่คดีนี้ที่ศาลแขวงนครปฐมไมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาและต้องพิพากษายกฟ้อง ก็เพราะคดีนี้เป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ไม่ได้พิพากษายกฟ้องตามคำคัดค้านของมาโนช

สรุป ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับคำร้องคัดค้านของมาโนช และถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาศาลแขวง- นครปฐมจะพิพากษายกฟ้องคดีนี้ 

 

ข้อ 3. นายบีถูกฟ้องต่อศาลจังหวดนนทบุรี ข้อหาชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 (อัตราโทษ จำคุกตั้งแต่ห้าบีถึงสิบปี) ปรากฏว่านายบีหลบหนีไมศาล

นายธนัยผู้พิพากษาประจำศาลในศลจังหวัดนนทบุรีได้ออกหมายจับนายบี ต่อมานายบีถูกจับตัวส่งศาลจังหวัดนนทบุรีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จังหวัดนนทบุรีมอบหมายให้นายพรผู้พิพากษาศาลจังหวัดนนทบุรีและนายธนัยร่วมเป็นองค์คณะ พิจารณาคดีนี้

ระหว่างการพิจารณาคดีนายพรย้ายไปรับราชการยังศาลอื่น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จึงมอบหมายให้นายนัทผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดนนทบุรีนั่งพิจารณาคดีร่วมกับนายธนัย จนเสร็จการพิจารณาแล้ว นายนัทกับนายธนัยพิพากษาจำคุกนายบีมีกำหนด 9 ปี จงวินิจฉัยว่า การออกหมายจับ การพิจารณาและการทำคำพิพากษาคดีดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 24 “ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกิน สามบี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไมได้

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไมเป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพง หรือคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งอธิบดีผู้พิพากษา- ศาลชั้นด้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย

มาตรา 30 “เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีที่ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือ ไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทำคำพิพากษาในคดีนั้นได้

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การออกหมายจับ การพิจารณาและการทำคำพิพากษาคดีดังกล่าวชอบด้วย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

การออกหมายจับ ตามมาตรา 24(1) ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจออกหมายเรียก หมายอาญาได้ ดังนั้น การที่นายธนัยผู้พิพากษาประจำศาลในจังหวัดนนทบุรีได้ออกหมายจับซึ่งเป็นหมายอาญา ประเภทหนึ่ง การออกหมายจับจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

การพิจารณาคดี ตามมาตรา 26 ได้บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาคดี ของศาลชั้นต้น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคนเป็นองค์คณะ ดังนั้น การที่นายพรผู้พิพากษาศาลจังหวัดนนทบุรีกับนายธนัยผู้พิพากษาประจำศาลในจังหวัดนนทบุรีร่วมกัน พิจารณาคดีชิงทรัพย์ (อัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี) ดังกล่าว จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

การทำคำพิพากษา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดี นายพรย้ายไปรับราชการ ยังศาลอื่น ถือเป็นการพ้นจากตำแหน่งเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 ดังนั้น การที่ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรีมอบหมายให้นายนัทผู้พิพากษาอาวุโสในศาลจังหวัดนนทบุรีร่วมเป็นองค์คณะ พิจารณาคดีกับนายธนัยจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 28(3) คำพิพากษาให้จำคุกนายบี 9 ปี ของนายนัทและนายธนัยจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การออกหมายจับ การพิจารณา และการทำคำพิพากษาคดีดังกล่าวชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแล้ว

Advertisement