การสอบไล่ภาค  1  ปีการศึกษา  2551

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW 2010

Advertisement

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน จำนอง จำนำ

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วนมี  3  ข้อ

ข้อ 1.       นายเอกอายุ 19 ปี 8 เดือน  ทำสัญญากู้ยืมเงินนายโทเป็นเงิน 60,000 บาท  โดยในวันทำสัญญากู้

นายหนึ่งได้ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของนายเอก โดยนายหนึ่งเข้าใจว่านายเอกบรรลุนิติภาวะแล้ว  ต่อมาหนี้เงินกู้ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ นายเอกผิดนัดไม่นำเงินมาชำระคืนให้นายโท  ถ้านายโทได้เรียกร้องให้นายหนึ่งรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน นายหนึ่งจะยกข้อต่อสู้ดังต่อไปนี้ขึ้นเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
1)  หนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ ตน (นายหนึ่ง) จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะ ตน (นายหนึ่ง)  เข้าทำการค้ำประกันโดยไม่ทราบว่านายเอกเป็นผู้เยาว์

2)  นายหนึ่งได้เรียกร้องให้นายโทไปเรียกให้นายเอกทำการชำระหนี้ตามสัญญากู้  แต่นายโทไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของนายหนึ่ง  นายหนึ่งจึงอ้างว่านายโทเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้นายหนึ่งรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน  เพราะนายโทเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

ธงคำตอบ

มาตรา 681 อันค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์

หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข จะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้ นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้

หนี้อันเกิดแต่สัญญาซึ่งไม่ผูกพันลูกหนี้ เพราะทำด้วยความสำคัญผิด หรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้น ก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่ เข้าทำสัญญาผูกพันตน

มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด ท่านว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียก ให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น

มาตรา 688 เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน จะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษา ให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดใน พระราชอาณาเขต

วินิจฉัย

1)   ตามอุทาหรณ์ สัญญากู้เงิน 90,000 บาท ระหว่างนายเอก (ผู้เยาว์) กับนายโท (เจ้าหนี้) เป็นโมฆียะ เพราะนายเอกลูกหนี้เป็นผู้เยาว์  บกพร่องในเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 153  แต่แม้หนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธานจะเป็นโมฆียะกรรม แต่ก็เป็นหนี้ที่สมบูรณ์อยู่จนกว่าจะมีการบอกล้าง โดยผู้มีสิทธิในการบอกล้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 175

ดังนั้น ถึงแม้ว่าในขณะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน นายหนึ่งผู้ค้ำประกันจะไม่ทราบว่านายเอกลูกหนี้เป็นผู้เยาว์ก็ตาม  การค้ำประกันก็มีผลใช้บังคับได้เพราะเมื่อหนี้ประธานตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อยู่ก็อาจมีการค้ำประกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคแรก  นายหนึ่งจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน  ข้อต่อสู้ของนายหนึ่งฟังไม่ขึ้น (หมายเหตุ  กรณีตามอุทาหรณ์ ไม่เข้ากรณี ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคท้าย เพราะหนี้เงินกู้ยังไม่ได้มีการบอกล้าง จึงยังคงผูกพัน นายเอกลูกหนี้อยู่)

2)   ตามอุทาหรณ์  การที่นายหนึ่งผู้ค้ำประกันได้เรียกร้องให้นายโทเจ้าหนี้ไปบังคับชำระหนี้จากนายเอกตามสัญญากู้เงินก่อน เป็นการเกี่ยงตาม ป.พ.พ. มาตรา 688  ซึ่งสิทธิในการเกี่ยงตามมาตรานี้ แม้นายโทเจ้าหนี้จะมิได้ปฏิบัติตาม  นายหนึ่งผู้ค้ำประกันก็จะอ้างว่านายโทเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้  เพราะเมื่อนายเอกลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด ความรับผิดของนายหนึ่งผู้ค้ำประกันก็เกิดมีขึ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 แล้ว  ดังนั้นข้อต่อสู้ของนายหนึ่งจึงฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

สรุป  1) ฟังไม่ขึ้น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคแรก

2) ฟังไม่ขึ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ประกอบมาตรา 688

ข้อ 2.       นายสิงยืมเงินนางจิ๋มเป็นเงิน 1,500 บาท  โดยไม่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อแต่อย่างใด ต่อมามีนายเอกนำที่ดินของตนมาจำนอง ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2551  มีนายโทนำที่ดินของตนมาจำนองในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551  และมีนายตรีนำที่ดินของตนมาจำนองในวันที่ 1 มีนาคม 2551  ในปีเดียวกัน  ดังนี้ หากที่ดินทั้ง  3 แปลง มีราคา 100,000 บาทเหมือนกัน  และนางจิ๋มเจ้าหนี้ปลดจำนองให้นายเอกเพียงคนเดียวจะมีผลต่อนายโทและนายตรีหรือไม่ อย่างไร

ธงคำตอบ

การที่นางจิ๋มให้นายสิงยืมเงินโดยไม่ทำเป็นหนังสือเพราะว่าได้ยืมเงินเป็นจำนวน 1,800 บาท นั้นถือว่าได้ทำตามกฎหมายแล้ว สัญญาประธานจึงสมบูรณ์  และเนื่องจากการที่นายเอก  โท  ตรี เข้ามาทำสัญญาคนละครั้งนั้น  ไม่ถือว่าเป็นการระบุลำดับแต่อย่างใด  ดังนั้นการที่นางจิ๋มถอนจำนองให้กับนายเอก จึงมีผลเป็นการเฉพาะตนเท่านั้น  นายเอกจึงหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงคนเดียว

ข้อ 3.        ก.กู้เงิน ข. 60,000 บาท โดยนำสร้อยคอหนัก 4 บาท จำนำไว้เป็นประกันหนี้ และมี ค.จำนำสร้อยข้อมือหนัก 1 บาท ไว้เป็นประกันหนี้อีกด้วย  ถึงกำหนดชำระหนี้ ข.ได้นำสร้อยคอและสร้อยข้อมือไปขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ได้เงินสุทธิ 45,000 บาทถ้วน  ยังเหลือหนี้อีก 15,000 บาท  ให้ท่านวินิจฉัยว่า

1)  เงินที่ขาดอยู่นั้น ข.จะเรียกเอาจาก ก. และ ค.ได้อีกหรือไม่  (ให้ท่านแยกประเด็นตอบพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบด้วย)

2)  การกู้เงินครั้งนี้มิได้มีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือ  ข.เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่จากใครได้บ้าง

3)  การบังคับจำนำ  จะทำให้หนี้จำนำ และหนี้กู้ยืมระงับสิ้นไปหรือไม่ อย่างไร

ธงคำตอบ

มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มี หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืม เป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการ ใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือ ชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้ เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

มาตรา 767 เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่า ผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้เสร็จสิ้นไป และถ้า ยังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น

ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระท่านว่าลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับ ใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้น

วินิจฉัย    ตามปัญหา

1)   ข. เรียกเอาหนี้ที่ยังขาดอยู่จาก ค. ได้ เพราะลูกหนี้ยังต้องรับผิดในหนี้ที่ยังขาดอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 767 วรรค 2

ส่วน ค. นั้น  ข. จะเรียกเอาจาก ค. ผู้จำนำทรัพย์สินเป็นประกั้นหนี้ไม่ได้  เพราะ ค. ผู้จำนำสร้อยข้อมือมิได้จำนำเป็นประกันหนี้เป็นส่วนตัว  เพียงแต่ส่งมอบทรัพย์สินไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น  เมื่อบังคับจำนำแล้ว จำนำย่อมระงับสิ้นไป

2)   เมื่อการกู้เงินมิได้มีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653   ข. จึงฟ้องบังคับเอาจำนวนหนี้ที่ขาดอยู่อีก 15,000 บาท  จาก ก. ไม่ได้  ตามหลักฎีกาที่ 200/2496 (ประชุมใหญ่)

3)   -การบังคับจำนำ ทำให้หนี้จำนำระงับ

-แต่หนี้กู้ยืมไม่ระงับ  จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จนครบจำนวน

Advertisement