การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2549 

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ข้อ 1. กฎหมายมหาชนคืออะไร มีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น เช่น รัฐศาสตร์อย่างไร จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชนคือ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถานะและอำนาจ ของรัฐและผู้ปกครองรวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองพลเมือง ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน

ส่วนรัฐศาสตร์นั้น คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ อำนาจ และการปกครอง รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ กำเนิด และวิวัฒนาการของรัฐ รัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และยังศึกษาองค์การทางการเมือง สถาบันทางการปกครองตลอดจนในการปกครองรัฐ วิธีการดำเนินการต่างๆ ของรัฐ รวมทั้งแนวความคิดทางการปกครองและทางการเมืองในรัฐด้วย

กฎหมายมหาชนและรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ 2 ศาสตร์ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะกฎหมายมหาชน
จะศึกษาเรื่องรัฐ อำนาจรัฐ รัฐธรรมนูญและศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐ ซึ่งก็ต้องเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายมหาชนยังต้องศึกษาในด้านนิติศาสตร์อยู่อีกมาก ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการศึกษารัฐศาสตร์ล้วนๆ

 

ข้อ 2. จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้
ก. จงอธิบาย
1) หน่วยงานทางปกครองพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
2) กฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายอะไรบ้าง
3) เจ้าหน้าที่ของรัฐพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชน หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ธงคำตอบ

อธิบาย
1.) หน่วยงานทางปกครอง ได้แก่
– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด และอำเภอ จังหวัดเป็นนิติบุคคลแต่อำเภอไม่
เป็นนิติบุคคล

– หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหาร
ส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
– รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้า การประปา การรถไฟ ฯลฯ
– หน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจในทางปกครองตามกฎหมาย เช่น สภาทนาย
ความ สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ ฯลฯ

2.) กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครอง แก่รัฐ แก่หน่วยงานทาง
ปกครองหรือหน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

3.) เจ้าหน้าที่รัฐ คือบุคคล หรือคณะบุคคลที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองตาม
กฎหมาย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่

กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจ
หน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการในทางปกครองหรือการ บริหารสาธารณะได้จะต้องมีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้หากปราศจาก กฎหมายมหาชนบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ทั้งหน่วยงานของรัฐ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถจะดำเนินการใดๆ ได้

 

ข้อ 3. ระบบกฎหมาย common law และระบบกฎหมาย civil Law กับ ระบบศาลเดี่ยว และระบบศาลคู่ มีความเกี่ยวข้อสัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไรอธิบาย

ธงคำตอบ
– ระบบ common law (ระบบกฎหมายที่มาจากจารีตประเพณี)
– ระบบ civil Law (ระบบประมวลกฎหมาย)
ระบบศาลเดี่ยว หมายถึง ระบบศาลในประเทศที่มีเพียงศาลยุติธรรมประเภทเดียวที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญา คดีประเภทอื่น รวมทั้งคดีปกครองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักกฎหมายที่ศาลนำมาใช้ คือ กฎหมายธรรมดาหรือกฎหมายเอกชน ที่นำมาใช้กับคดีปกครองด้วย
ยกเว้นในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ซึ่งผลของคดีอาจจะกระทบประโยชน์สาธารณะฝ่ายปกครองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้วิธีของศาลระบบ Common Law โดยการนำหลัก naturaljustice มาใช้กับกระบวนการพิจารนาในชั้นของฝ่ายปกครอง กำหนดวิธีพิจารนาที่เหมาะสม และมีการแก้ไขกฎหมายให้การเข้าถึงศาลเป็นที่เข้าใจได้ง่าย และมีสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนั้น ยังใช้วิธีการออกหมายบังคับในกรณีต่างๆ ได้ ประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวก็คือ กลุ่มประเทศแองโกแซกซอน ซึ่งใช้ระบบกฎหมาย Common Law เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกาเป็นต้นระบบศาลคู่ ในประเทศที่เป็นระบบศาลคู่ นอกจากจะมีศาลยุติธรรมพิจารนาคดีระหว่างเอกชนแล้ว ยังมีศาลปกครองเฉพาะพิจารนาคดีปกครอง โดยมีระบบกฎหมายเฉพาะมาใช้คดีปกครอง ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ศาลได้ร่างขึ้นมาเอง และเป็นหลักกฎหมายที่สร้างดุลภาพระหว่างประโยชน์สาธารนะกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้เป็นอย่างดี การที่ศาลปกครองต้องใช้ระบบกฎหมายเฉพาะเป็นผลมาจากการที่คู่ความมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศาลจึงจำเป็นต้องสร้างหลักกฎหมายเฉพาะเป็นผลมาจากการที่คู่ความมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศาลจึงจำเป็นต้องสร้างหลักกฎหมายทั้งวิธีพิจารนา และสาระบัญญัติที่แตกต่างออกไปจากกฎหมายธรรมดา ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ประเทศแรก คือ ฝรั่งเศส ต่อมาได้รีบนำไปใช้กับประเทศยุโรปอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันไทยได้นำระบบนี้มาใช้เช่นเดียวกัน โดย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2442ด้านความสัมพันธ์ กันนั้นมักจะเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย common law ก็มักจะเป็นรูปแบบศาลเดี่ยวคือไม่มีระบบศาลคู่ ( ศาลปกครอง) ส่วนประเทศที่ใช้ระบบศาลปกครอง (ศาลคู่) ก็มักมีระบบกฎหมายเป็นแบบ civili lawแต่ก็ไม่เสมอๆไป ทั้งนี้ เพราะประเทศในอดีต(ก่อนหน้าที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540) ก็ใช้ระบบศาลเดี่ยว ทั้งที่เป็นระบบกฎหมาย civil law มานานแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ปัจจัยในการที่ประเทศใช้ระบบศาลแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับ
1) ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และกฎหมาย
2) ระบบกฎหมายหลักของประเทศที่ใช้อยู่ขณะนั้น
3) ระบบการพิจารนาคดี (แบบไต่สวนและแบบกล่าวหา)
4) แนวคิดกระแสหลักด้านกฎหมายมหาชนที่มีบทบาทต่อประเทศในแต่ละยุคสมัย
5) ความเข้าใจเรื่องคดีปกครองกับคดีทั่วไป
6) แนวคิดเรื่องการวางระบบการควบคุมมิให้การกระทำทางปกครองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
7) อื่นๆ

Advertisement