การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2547

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง กฎหมายมหาชน หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้อำนาจทางปกครอง การบริการสาธารณะและศาลปกครอง

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐแก่หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายนั้นแล้ว เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนแก่ประชาชน เรียกว่ากรณีพิพาททางปกครอง หรือคดีปกครอง

หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นตลอดถึงรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ เป็นหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐ.ได้แก่ บุคคลและคณะบุคคล ที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครอง

การบริการสาธารณะ  หมายถึง กิจการที่อยู่ในความอำนายการหรือความควบคุมของฝ่ายปกครอง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน กิจการเหล่านี้โดยสภาพแล้วไม่อาจบรรลุสำเร็จได้ หากปราศจากอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายมหาชน

ศาลปกครอง เป็นศาลที่ใช้พิจารณาคดีปกครองคือ คดีที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครอง การใช้อำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายมหาซนแล้วเกิดกรณีพิพาททางปกครอง ต้องนำคดีไปพิจารณาในศาลปกครอง

การใช้อำนาจทางปกครอง เป็นการที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตาม กฎหมายมหาชนซึ่งเรียกว่าอำนาจในทางปกครอง ให้ประชาชนกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือให้ประชาชนงดเว้นกระทำการเช่น การสั่งให้ นาย ก. รื้อบ้านที่สร้างผิดแบบ

 

ข้อ 2 จงอธิบายว่ากฎหมายมหาชนกับตัวนักศึกษามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ประกอบให้ชัดเจน

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่แก่รัฐแก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าพนักงานของรัฐในทางปกครองให้ดำเนินกิจการในหลาย ๆ ด้าน ตามแต่กฎหมายจะให้อำนาจไว้ เช่น ในเรื่องการบริการสาธารณะหรือการกำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชนตามกฎหมาย และหน่วยงานของรัฐซึ่งใช้อำนาจทางปกครองก็จะใช้อำนาจดังกล่าวแก่ประชาชน เพื่อให้ปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การจัดระเบียบการปกครอง ดังนั้นกฎหมายมหาชนกับประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองจึงมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ไม่สามารถแยกจากกันได้ โดยกฎหมายมหาชนนั้นโดยหลักแล้วจะเป็นกฎหมายที่ประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนได้บัญญัติไว้ทั้งสิทธิและหน้าที่รับรองไว้

 สิทธิที่กฎหมายมหาชนบัญญัติรับรองเช่น สิทธิในการรับการบริการสาธารณะจากรัฐ สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หน้าที่ที่กฎหมายมหาชนบัญญัติไว้ เช่น หน้าที่ในการเลือกตั้งของ ประชาชน

 

ข้อ 3 จงอธิบายว่าศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีลักษณะใดบ้าง
ธงคำตอบ

ศาล ปกครองมีอำนาจพิจารณาคดี ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำ หรือละเว้นการกระทำที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิด ชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย (รัฐธรรมนูญมาตรา 276)

นอก จากนี้ในปัจจุบัน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ ยังได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องดังต่อไปนี้(ตามมาตรา 9)
1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำโดยไม่ ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดอันเนื่องมาจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ หน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นหรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับ ประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อ หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด หรือปฏิบัติหน้าทีดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อ ศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

6. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

ส่วนเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง มีดังนี้1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
3. คดีอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนาญ พิเศษ อื่น

จากอำนาจหน้าที่ของศาลปกครองดังกล่าว หากศาลปกครองเห็นว่าการกระทำทางปกครอง กฎ คำสั่งทางปกครอง หรือนิติกรรมทางปกครองใด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการกระทำทางปกครอง กฎ คำสั่งทางปกครองหรือนิติกรรมทางปกครองดังกล่าวนั้น และสามารถพิพากษาให้มีการชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ได้ ถ้ามีคำขอดังกล่าวด้วย แต่ศาลปกครองไม่มีอำนาจลงโทษทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา และไม่มีอำนาจลงโทษทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องของคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม

กรณีนี้จึง เห็นได้ว่า คดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองดังกล่าวนั้นแตกต่างจากคดีอาญาที่มีการ กล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าเป็นพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งการฟ้องคดีอาญาดังกล่าวมุ่งหมายที่จะให้ศาลลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อการกระทำหรือการวินิจฉัยสั่งการที่เป็นสาเหตุแห่งการฟ้อง คดีอาญานั้นแต่อย่างใดส่วนในคดีปกครองนั้น ผู้ฟ้องคดีมุ่งที่จะให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการกระทำหรือการวินิจฉัยสั่งการที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายและกระทบถึงสิทธิของผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ โดยมิได้มุ่งหมายให้มีการลงโทษทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

Advertisement