การสอบไล่ภาคซ่อมภาค   ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ข้อ 1. รัฐคืออะไร องค์ประกอบของรัฐมีอะไรบ้าง และลักษณะเฉพาะของอำนาจรัฐมีอย่างไร จงอธิบาย
 
ธงคำตอบ
ศาสตราจารย์ยอร์ช บูร์โด ได้อรรถาธิบาย ความหมายของคำว่า รัฐ หมายถึงอำนาจที่ถูกจัดเป็นสถาบัน รัฐ หมายถึง ผู้ถืออำนาจที่เป็นนามธรรมและถาวร โดยมีผู้ปกครองซึ่งเป็นแต่เพียงเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอันสำคัญที่ผ่านไป เท่านั้นเนื่องจาก รัฐ เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้สมมุติให้มีขึ้น ดังนั้นรัฐจึงเป็นนามธรรม องค์ประกอบของรัฐที่อธิบายกันมาแบบดั้งเดิมนั้นจะมีอยู่เพียง 4 ประการ คือ ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล
โดยทั่วไป รัฐจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสลับซับซ้อน และจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆมากมาย ได้แก่1. ดินแดน (territory)
2. ประชากร (population)
3. รัฐบาล (govereignty)
4. อำนาจอธิปไตย (sovereignty)
5. ความต่อเนื่อง (continurity)
6. การดำเนินการทางด้านความมั่นคง (security)
7. การรักษาความสงบเรียบร้อย (order)
8. การอำนวยความยุติธรรม (justice)
9. การสวัสดิการสังคม (welfare)

นอกจากนี้ รัฐต้องประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ ทรัพยากร (resources) การคลัง (finance)ระบบราชการ (bureaucracy) และการดำรงอยู่ในสังคมแห่งรัฐต่างๆ หรือสังคมโลก (existence as part of a socierty ofstates)

ลักษณะเฉพาะอำนาจของรัฐ1. อำนาจรัฐมีลักษณะเป็นอำนาจแห่งการรวมศูนย์และการซ้อนกันของอำนาจ
2. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจแห่งการตัดสินใจ
3. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางพลเรือน ซึ่งมาจากแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อำนาจทาง
พลเรือนอยู่เหนืออำนาจทางทหาร
4. อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางอาณาจักร ไม่ใช่อำนาจทางศาสนจักร

 

ข้อ 2. จงยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนมา ฉบับ พร้อมอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นกฎหมายมหาชน

ธงคำตอบ

 กฎหมายมหาชน ได้แก่

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. กฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองได้แก่ พ.ร.บ. ต่างๆ เช่น พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปก
ครอง พ.ศ. 2539 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายที่ดิน ที่เมื่อเกิดกรณีพิพาทจะต้องนำคดีไปขึ้นศาลปกครอง

เหตุผลที่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองเป็นกฎหมายมหาชนเพราะต่างบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและเมื่อเกิดกรณีพิพาทจะเรียกว่า กรณีพิพาททางปกครอง ซึ่งจะต้องนำคดีไปฟ้องศาลปกครอง

 

ข้อ 3. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้วางรากฐานของกฎหมายขึ้น
ในประเทศไทย การวางรากฐานดังกล่าวของกฎหมายมหาชนคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างโดยสังเขป

ธงคำตอบ

 หลักทฤษฎีของกฎหมายมหาชนได้แก่

– หลักบริการสาธารณะ
– หลักความชอบด้วยกฎหมาย
– หลักความไม่เสมอภาคระหว่างราชการกับเอกชน
– นิติวิธีในกฎหมายมหาชน
– นิติรัฐ นิติกรรม ฯลฯ
เรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายมหาชนดังกล่าว ได้แก่ ที่พระองค์ทรงปฏิรูประบบกฎหมาย ปฏิรูป
ระบบศาล ปฏิรูประบบราชการ (จัดตั้งกระทรวงทบวง กรม ขึ้น) ปฏิรูปการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระบบเทศบาลอันเป็นที่มาของราชการส่วนภูมิภาค การเริ่มสุขาภิบาล อันเป็นพื้นฐานของการกระจายอำนาจ ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน วางรากฐานด้านรัฐวิสาหกิจไทย สาธารณูปโภคต่างๆ

Advertisement