การสอบไล่ภาค ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001  หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ข้อ 1. ขอให้นักเรียนอธิบาย ลักษณะทางกฎหมายมหาชนของประโยชน์สาธารณะ มาพอสังเขป

ธงคำตอบ

ประโยชน์สาธารณะเป็นวัตถุประสงค์ของรัฐในการดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม ลักษณะของประโยชน์สาธารณะอาจอธิบายเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. ประโยชน์สาธารณะ คือ การดำเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมมิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดำเนินการนั้นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่า ประโยชน์สาธารณะเป็นความต้องการของบุคคลแต่ละคนที่ตรงกันและมีจำนวนมากจน เป็นคนหมู่มากหรือเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมจนความต้องการนั้นถูกยกระดับให้ เป็นประโยชน์สาธารณะ 

2. การพิจารนาว่าเรื่องใดเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะหรือไม่ เนื่องจากความต้องการของแต่ละบุคคลนั้นเป็นภาระความรู้สึกด้านจิตใจ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีองค์กรหนึ่งเป็นผู้กำหนดว่าเรื่องใดเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยทั่วไปถือว่าได้แก่ รัฐสภา เนื่องจากเหตุผลว่ารัฐสภาเป็นศูนย์รวมของผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนทั่วประเทศ 

ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเรื่องใดที่รัฐพิจารนาแล้ว ย่อมถือเป็นความต้องการของประชาชนด้วย กล่าวคือ ผู้แทนของประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนในกรณีนั้นๆ แล้ว ดังนั้นหากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอำนาจดำเนินการใน เรื่องใด เรื่องนั้นก็คือความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะนั่นเอง 

3. ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

ดังนั้นฝ่ายปกครองจึงไม่อาจจะเลือกใช้ดุลพินิจได้ว่าจะ ดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะและถ้าเป็นกฎหมาย ที่รัฐสภาได้ตราออกมาให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครองเพื่อดำเนินการแล้วหากฝ่ายปกครอง ไม่ดำเนินการย่อมเป็นการอันมิชอบซึ่งฝ่ายปกครองอาจจะต้องรับผิดเรื่องค่า เสียหายอีกด้วยหากมีเอกชนได้รับความเสียหายจากการไม่ดำเนินการนั้นลักษณะดัง กล่าวเป็นความแตกต่างระหว่าง อำนาจ ในกฎหมายมหาชน กับ สิทธิ ในกฎหมายเอกชน กล่าวคือ สิทธิในกฎหมายเอกชนนั้นเจ้าของสิทธิอาจจะงดเว้นไม่ใช้กฎหมายกำหนดให้ฝ่าย ปกครองมีอำนาจดำเนินการฝ่ายปกครองจึงไม่อาจจะอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของฝ่าย ปกครองที่จะใช้หรือจะไม่ใช้อำนาจนั้น 

 

ข้อ 2. ในกรุงเทพมหานครในเขตรอบนอกได้มีการยกเลิกการมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกดังกล่าว และในอนาคตบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ ควรมีบทบาทอย่างไร จงอธิบายพอสังเขปธงคำตอบการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทยตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 

ราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรม เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการรวมอำนาจ โดยการปกครองแบบนี้อำนาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลำดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้านเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการแบ่งอำนาจ ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ส่วนกลางมอบอำนาจตัดสินใจบางประการให้แก่เจ้า หน้าที่ของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลางตลอดเวลา

ราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. อบต. เทศบาล พัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการกระจายอำนาจ โดยรัฐจะมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรส่วนกลางหรือ ส่วนภูมิภาคเพื่อจัดทำบริการสาธารณะบางอย่าง โดยจะมีอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของส่วนกลาง เพียงแต่ขึ้นอยู่ในการกำกับดูแลเท่านั้น

การควบคุมบังคับบัญชา เป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใดๆก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสมสามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอน คำสั่งหรือว่าการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ

ส่วนการควบคุมกำกับดูแล ไม่ใช่อำนาจบังคับบัญชา แต่เป็นอำนาจควบคุมกำกับดูแลให้เป็นไปตาม
กฎหมาย ดังนั้นองค์การควบคุมกำกับไม่มีอำนาจไปสั่งการองค์กรภายใต้การควบคุมให้ปฏิบัติตามที่ตนเห็นสมควรทำได้แต่เพียงกำกับดูแลตาม ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น การควบคุมกำกับดูแลนี้เป็นการควบคุมระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นนั่นเอง

ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า กทม. เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นพิเศษ การที่ยกเลิกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคให้หมดไปจาก กทม. จึงถือว่าถูกต้องแล้วที่กระทรวงมหาดไทยดำเนินการที่ผ่านมา เพราะเป็นไปตามหลักการจัดการบริหารราชการแผ่นดินข้างต้น แต่ในอดีต ด้วยเหตุผลหลายประการจึงทำให้มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตรอบนอก แต่เวลาและเงื่อนไขการพัฒนาการทางการเมืองเปลี่ยนแปลงจากในอดีต จึงต้องจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกัน

ดังนั้น ในอนาคตบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะไม่ปรากฏตัวในราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของ
การเป็นองค์ประกอบของกรรมการต่างๆ ใน อบจ. อบต. เทศบาล พัทยา หรือ กทม. ก็ตาม จะต้องปรับบทบาทไปสู่การทำงานอย่างราชการส่วนภูมิภาคร่วมกับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัด

 

ข้อ 3. ปรัชญาของอริสโตเติลที่ว่า การปกครองที่ดีที่สุดจะต้องเป็นการปกครองของกฎหมายไม่ใช่ของ
คน อันเป็นพื้นฐานของแนวคิดนิติรัฐ ในฐานะที่ท่านศึกษาแนวคิดเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ แนวคิดดังกล่าวจะนำไปใช้อย่างไรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย จงอธิบายโดยละเอียด

ธงคำตอบ

 หลักนิติรัฐ หมายถึง รัฐ ยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมาย นั่นคือ ฝ่ายปกครองหรือฝ่ายบริหาร หรือเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องกระทำการในอำนาจหน้าที่ภายในขอบเขตของ กฎหมาย และรัฐธรรมนูญ กิจการของฝ่ายปกครอง จึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและถูกควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกันสิทธิของผู้อยู่ใต้ปกครองจากการกระทำของรัฐ

1. การควบคุมแบบป้องกัน หมายถึง ก่อนที่ ฝ่ายบริหารจะได้วินิจฉัยสั่งการหรือก่อนจะมีการกระทำในทาง
ปกครอง ที่จะไปกระทบต่อสถานภาพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะมีระบบป้องกันเสียก่อน กล่าวคือ มีกฎหมายกำหนดกระบวนการ หรือขั้นตอนต่างๆ ก่อนที่จะมีคำสั่งออกไป กระบวนการควบคุมดังกล่าวในกฎหมายของต่างประเทศมีตัวอย่างเช่น

– การโต้แย้งคัดค้าน กล่าวคือ ผู้ที่อาจเสียหายจากการกระทำของฝ่ายปกครองจะต้องสามารถแสดงข้อโต้แย้งของตนได้ก่อนมีการกระทำนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปกครองที่ดื้อดึง

– การปรึกษาหารือ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจการให้เหตุผล เพื่อเป็นหลักในการ
ควบคุมการใช้ดุลยพินิจของฝ่ายปกครอง

หลักการไม่มีส่วนได้เสีย กล่าวคือ ผู้มีอำนาจส่งทางปกครองต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่สั่งการนั้น
การไต่สวนทั่วไปเป็นวิธีการที่กำหนดให้ฝ่ายปกครองต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยทำการรวบรวมความคิด
เห็นของบุคคลที่มีส่วนได้เสีย แล้วทำเป็นรายงานก่อนที่ฝ่ายปกครองจะต้องตัดสินใจกระทำที่จะมีผลกระทบผู้มี ส่วนได้เสียการควบคุมแบบป้องกันของประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540

2. การควบคุมแบบแก้ไข เป็นการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครองหลักการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว ซึ่งกระทำได้หลายวิธี ดังนี้

2.1 การควบคุมองค์กรภายในของฝ่ายบริหารเอง เช่น
– การร้องทุกข์
– การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยทางปกครอง

2.2 การควบคุมโดยองค์กรภายนอกของฝ่ายบริหาร เช่น
– การควบคุมทางการเมือง ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
– การควบคุมโดยองค์กรพิเศษ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
– การควบคุมโดยศาลปกครอง

การควบคุมแบบแก้ไขนี้ เป็นการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว และเกิดปัญหาจากการใช้อำนาจการปกครองนั้นขึ้น จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้

Advertisement