การสอบไล่ภาค ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ข้อ 1. กฎหมายมหาชนคืออะไร ลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชนมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย เพื่อประโยชน์สาธารณะ ( lnterest genral) หรือ public interest นักศึกษาเข้าใจประโยชน์สาธารณะอย่างไร และองค์กรใดบ้างที่แสดงออกถึงประโยชน์สาธารณะ จงอธิบาย

ธงคำตอบ

กฎหมายมหาชน( Public Law) เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ สถานะและอำนาจ ของรัฐและผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือผู้ปกครองกับพลเมือง ผู้อยู่ใต้อาณัติการปกครองในบริบทที่รัฐ หรือผู้ปกครอง (ผู้ใช้อำนาจรัฐ) มีเอกสิทธิ์ (privilgeg) ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน (private) 

หลักประโยชน์สาธารณะ คือ การตอบสนองความต้องกาของมหาชน (คนส่วนใหญ่) มิได้ตอบสนองความต้องการของเอกชนคนใดคนหนึ่ง และตอบสนองความต้องการของผู้ดำเนินการนั้นเอง แล้วสามารถอรรถาธิบายได้ว่าประโยชน์สาธารณะ คือ ความต้องการของแต่ละคนที่เหมือนกันและมีจำนวนมากรวมกัน กลายเป็นมหาชนคนหมู่มากหรือเป็นประโยชน์ของคนส่วนมากในสังคม 

ความต้องการของคนหมู่มากในสังคมจึงถือว่าเป็นประโยชน์สาธารณะ (publicinterest) และมีความผิดแผกแตกต่างกับประโยชน์ส่วนบุคคลของเอกชนแต่ละคน (individual interest)องค์กรที่แสดงถึงประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร องค์การของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร ในส่วนของรัฐบาลต้องมีการวางนโยบายของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนในการบริหารประเทศนโยบายของรัฐบาลต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ นอกจากนั้น 

ประโยชน์สาธารณะเป็นสิ่งที่ฝ่ายปกครองมีพันธกิจต้อง ดำเนินการ หากเป็นกิจกรรมที่รัฐสภาได้ตราเป็นกฎหมายออกมาแล้ว หากฝ่ายปกครองบิดพลิ้วหรือเพิกเฉยหรือละเลยไม่ดำเนินการย่อมเป็นการไม่ชอบ เหตุผลที่ให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจดำเนินการก็เพราะฝ่ายปกครองมีภาระหน้าที่ที่ จะต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของคนหมู่มากในสังคม ฝ่ายปกครองจึงต้องใช้อำนาจนั้นให้ภาระหน้าที่นั้น บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย 

ในส่วนองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้แก่ รัฐสภาทำหน้าที่ตรากฎหมายมาบังคับใช้กับประชาชน และควบคุมตรวจสอบ (review) การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล โดยมุ่งไปที่ประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญสำหรับองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ คือ ศาล อาจจะเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ละศาลมีบทบาทอำนาจหน้าที่แตกต่างกันแต่ก็มีเป้าหมายอันเดียวกันคือ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะด้วย

 

ข้อ จงอธิบายเรื่องต่อไปนี้

– ยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนมา ฉบับ
– หน่วยงานของรัฐได้แก่หน่วยงานใดบ้าง
– เจ้าหน้าที่ของรัฐได้แก่ใครบ้าง
– การใช้อำนาจทางปกครองเป็นอย่างไร
จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชน หน่วยงานของรัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐ การใช้อำนาจทาง
ปกครอง และศาลปกครอง

ธงคำตอบ

ตัวอย่างกฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติป่าไม้ ประมวลกฎหมายอาญา

(1) หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ หน่วยงานในการบริหารราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ

(2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ บุคคล หรือคณะบุคคลที่ได้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองของรัฐได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ฯ

(3) การใช้อำนาจทางปกครอง คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น
ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ สิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก็ตาม

กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้า
หน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจในทางปกครองที่ทำให้เกิด การก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวร หรือชั่วคราว ได้นั้นจักด้องมีกฎหมายมหาชนบัญญัติรองรับในการให้อำนาจหน้าที่ไว้ และเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครอง  ซึ่งเรียกว่า กรณีพิพาททางปกครองจะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง ต่อไป

 

ข้อ 3. ตามที่ท่านได้ศึกษามาแล้วในเรื่องการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ที่ว่ามีความจำเป็นจะต้องควบคุมการใช้อำนาจรัฐดังกล่าว คือ ควบคุมอะไรและเหตุใดจึงต้องมีการควบคุม วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดีที่สุดคืออะไรเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จงอธิบาย

ธงคำตอบ

การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ คือ การควบคุมการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐหน่วยงานของรัฐ การใช้ดุลพินิจมี รูปแบบดังนี้ คือ

1. ดุลพินิจทั่วไป
2. ดุลพินิจที่เป็นอำนาจผูกพัน
1) ดุลพินิจทั่วไป หรือเรียกว่า อำนาจดุลพินิจอำนาจดุจพินิจ คือ เสรีภาพที่กฎหมายให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะตัดสินใจว่าในกรณีเฉพาะเรื่องกรณีใดกรณีหนึ่ง สมควรเลือกคาสั่งใดในบรรดาคำสั่งหลาย ๆ อย่างที่มีความแตกต่างกันออกไป และดำเนินการออกคำสั่งตามที่ได้ตัดสินใจ เลือก ไว้

อำนาจดุลพินิจ ย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งที่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองกระทำการอย่างอิสระโดยที่กฎหมายมิได้บัญญัติกำหนดสิ่งอันตนจักต้องการทำไว้ล่วงหน้าอำนาจดุลพินิจ หากพิเคราะห์โดยถ่องแท้แล้วก็คือ ความสามารถอันกฎหมายให้อำนาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองในอันที่จะเลือกว่าในบรรดาคำสั่งซึ่งตามกฎหมายแล้วล้วนแต่สามารถออกได้ทั้งสิ้น คำสั่งใดที่พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามความมุ่งหมายแห่งอำนาจหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด ก็พึงทำการออกคำสั่งนั้น

อำนาจดุลพินิจ คือ อำนาจที่กฎหมายมอบให้องค์กรของรัฐฝ่ายปกครองสามาถกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยอิสระ แต่ต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องตามกฎหมาย และชอบด้วยเหตุผล ก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ

2) ดุลพินิจที่เป็นอำนาจผูกพันอำนาจผูกพันเป็นอำนาจที่กฎหมายมอบให้แก่องค์กรของรัฐฝ่ายปกครององค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยบัญญัติ
บังคับไว้ล่วงหน้า เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น องค์กรของรัฐฝ่ายปกครององค์กรนั้น จักต้องออกคำสั่ง และต้องออกคำสั่งที่มีเนื้อหาความตามที่ได้กำหนดไว้นั้น

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าลักษณะของการใช้อำนาจผูกพันนั้น หมายความว่าการจะตัดสินใจในทางกฎหมายได้ต้องมีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นมาก่อน ถ้าข้อเท็จจริงอย่างนี้เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ก็ผูกพันที่ว่าต้องตัดสินใจไปในทางนี้เท่านั้น คือตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จะตัดสินใจเป็นอย่างอื่นหาไม่ เช่น การร้องขอจดทะเบียนสมรส ชายและหญิง มีคุณสมบัติและเงื่อนไขครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สมัครใจสมรสกัน ต้องการจดทะเบียนสมรสกัน เจ้าหน้าที่ต้องจดทะเบียนให้ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จะปฏิเสธไม่จดทะเบียนไม่ได้ แต่ถ้าชายและหญิงมีอายุ 15 กับ 14ปี ตามลำดับ ต้องการจดทะเบียนสมรส กรณีข้อเท็จจริงในเรื่องอายุไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้สมรสกันได้ กรณีเช่นนี้ นายทะเบียนครอบครัวสามารถปฏิเสธการจดทะเบียนสมรสได้ เจ้าหน้าที่ไม่เลือกดุลพินิจเพื่อที่จะรับจดทะเบียนให้ตามความประสงค์ของชาย และหญิง โดยพิจารณาเห็นว่าชายหญิงทั้งสองนี้มีความปรารถนาต้องการใช้ชีวิตร่วมกันฉัน สามีภริยา เช่นนี้ย่อมทำไม่ได้
ความแตกต่างระหว่างอำนาจดุลพินิจ และอำนาจผูกพัน

1. อำนาจดุลพินิจ หมายถึง อำนาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ หรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคำสั่งหรือสั่งการใดๆ ได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายกล่าวอีกอย่างหนึ่ง อำนาจดุลพินิจ ก็คือ อำนาจที่กฎหมายเปิดช่องให้องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจเมื่อ มีเหตุการณ์หรีอมีข้อเท็จจริงใด ๆ กำหนดไว้เกิดขึ้น

2. อำนาจผูกพัน อำนาจผูกพันมีความแตกต่างกับอำนาจดุลพินิจข้างต้น กล่าวคือ อำนาจผูกพันเป็นอำนาจหน้าที่ที่องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฏิบัติเมื่อมี ข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เกิดขึ้นตามที่กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนี้ องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่ง และคำสั่งนั้นต้องมีเนื้อความเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น เรื่องการร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อชายและหญิงผู้ร้องขอมีคุณสมบัติครบถ้วน และปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการสมรสที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แล้ว นายทะเบียนครอบครัวจะต้องทำการจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสมรส เสมอ เป็นต้น

เหตุที่เรียก อำนาจหน้าที่ว่าเป็นอำนาจผูกพันก็เพราะคำวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรฝ่ายปกครองของรัฐ ซึ่งกฎหมายยอมรับว่า การปฏิบัติหน้าที่นั้น มีผลใช้บังคับได้สมบูรณ์นั่นเองทั้งอำนาจดุลพินิจ และอำนาจผูกพันนี้ ส่วนใหญ่แล้วกฎหมายจะกำหนดให้ใจทั้งสองอำนาจนี้ไปด้วยกัน

กล่าวคือ เมื่อมีข้อเท็จจริงอย่างใดเกิดขึ้นแล้วองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ แต่จะออกคำสั่งอย่างไรนั้นสามารถตัดสินใจได้อย่างมีอิสระตามที่กฎหมายเปิดช่องให้อำนาจดุลพินิจ เช่น กรณีข้าราชการกระทำผิดวินัยร้ายแรง

กฎหมายบังคับไว้อย่างชัดเจนว่าผู้บังคับบัญชา ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งต้องมีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยกับข้าราชการผู้นั้น แต่ผู้บังคับบัญชา ก็มีอิสระในการตัดสินใจว่าจะสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นสถานใด กล่าวคือ จะสั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ เป็นต้น

หตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ เพราะว่าหากปราศจากการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ จะเป็นช่องทางไปสู่การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นข้ามขั้นตอนหรือวิธีการที่มีการกำหนดไว้ ปราศจากอำนาจ ทำผิดแบบนอกกรอบวัตถุประสงค์ของกฎหมาย สร้างภาระให้ประชาชนเกินสมควร สั่งโดยมีอคติหรือไม่สุจริตเป็นต้น

การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การใช้ดุลพินิจที่ไม่มีวิญญูชนคนใดจะวินิจฉัยเช่นนั้น หรือใช้ดุลพินิจเช่นนั้น และเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ในการธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมของกฎหมาย และไม่ชอบด้วยเหตุผล

การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาที่อ. 142/ 2547 การที่คณะกรรมการอัยการมีมติไม่รับสมัครผู้ฟ้องคดีในการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ประจำปี 2544 โดยใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีกายที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการ โดยมิได้พิจารณาถืงความสามารถที่แท้จริงในการปฏิบัติงานของผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 33 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521 และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ฟ้องคดีตามมาตรา 30 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.254O

Advertisement