การสอบซ่อมภาค 1 ปีการศึกษา 2546

ข้อสอบกระบวนวิชา  LAW1001 หลักกฎหมายมหาชน

Advertisement

ถามข้อ 1. จงยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนมา 5 ฉบับ พร้อมอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายมหาชนกับตัวนักศึกษาให้ชัดเจน

ธงคำตอบ    ประเด็นที่ 1   นักศึกษาจะต้องทราบว่า กฎหมายมหาชนมีลักษณะอย่างไร กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ในทางปกครองแก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประเด็นที่ 2  นักศึกษาจะต้องยกตัวอย่างกฎหมายมหาชนให้ได้ 5 ฉบับ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง

กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่รัฐ

กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น พ. ร.บ.ระเบียบ

บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ. ศ.2545 พ.ร.บ. อ.บ.จ. พ.ร.บ. อ.บ. ต. พ.ร.บ. เทศบาล พ.ร.บ. กทม.
พ. ร.บ. บริหารราชการเมืองพัทยา พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ประเด็นที่ 3    กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษา ดังนี้กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าทีแก่รัฐแก่หน่วยงานของรัฐ และแก่เจ้าพนักงานของรัฐในทางปกครองให้ดำเนินกิจการในหลาย ๆด้าน ตามแต่

กฎหมายจะให้อำนาจไว้ เช่น ในเรื่องการบริการสาธารณสุขหรือการกำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชนตามกฎหมาย และหน่วยงานของรัฐซึ่งใช้อำนาจทางปกครองก็จะใช้อำนาจดังกล่าวแก่ประชาชน นักศึกษา เพื่อให้ปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การจัดระเบียบการปกครอง ดังนั้นกฎหมายมหาชนกับประชาชน รวมทั้งตัวนักศึกษา ผู้อยู่ใต้ปกครองจึงมีความเกี่ยวข้องกัน
โดยตรงไม่สามารถแยกจากกันได้ โดยกฎหมายมหาชนนั้น  โดยหลักๆ แล้วจะเป็นกฎหมายที่ประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนได้บัญญัติไว้ทั้งสิทธิและหน้าที่รับรองไว้สิทธิที่กฎหมายมหาชนบัญญัติรับรอง เช่น สิทธิในการรับการบริการสาธารณะจากรัฐสิทธิในการเเสดงความคิดเห็น สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หน้าที่ๆกฎหมายมหาชนบัญญัติไว้เช่น หน้าที่ในการเลือกตั้งของประชาชน

ข้อ 2 ลักษณะเฉพาะของกฎหมายที่ใช้ในการปฏิรูปประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งเป็นกฎหมายที่มีเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ดังนั้น จึงขอให้นักศึกษาอธิบายขยายความ คำว่า การปฏิรูป และคำว่าสาธารณะประโยชน์ หรือ ประโยชน์สาธารณะ ในความหมายทางกฎหมายมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ประเด็นเกี่ยวกับ การปฏิรูปการกล่าวว่า กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ใช้ในการปฏิรูป อธิบายได้ว่าการปฏิรูปการเมืองการปกครอง

รวมทั้งการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมนั้นเป็นการริเริ่มหรือ เป็นการกำหนดให้มีขึ้นได้โดยอำนาจรัฐ และโดยการใช้กฎหมายมหาชนเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือจัด ระบบการเพื่อการปกครอง รวมทั้งเพื่อขจัดโครงสร้างใหม่ทางด้านเศรษฐกิจสังคมและเพื่อพัฒนาการบริหาร ราชการแผ่นดินในระบอบการปกครองยุคกษัตริย์และในการปกครองระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชนั้น องค์พระมหากษัตริย์นั่นเอง คือ อำนาจรัฐ และพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์มีสถานะเป็นกฎหมาย

ดังนั้น เมื่อพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับการจัดระบบการปกครอง หรือเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างอำนาจรัฐ หรือเกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจการเมือง พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ซึ่งมีสถานะเป็นกฎหมายดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการใช้กฎหมายมหาชนในการปฏิรูป
การปฏิรูปครั้งสำคัญ ๆ ของรัฐที่ผ่านมานั้น อาจพิจารณาได้ว่ามี 4 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ ครั้งแรก ได้แก่ การปฏิรูประบบการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ การปฏิรูปครั้งที่สอง คือ การปฏิรูปครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครั้งที่สาม คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ2475 ซึ่ง ในครั้งนี้ทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นการปฏิรูปโดยใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายมหาชนในภาวะการณ์ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหานานับการ ทั้งปัญหาภายในประเทศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งปัญหาจากต่างประเทศในเรื่องการแข่งขันและการปรับตัวให้ก้าวทันกับ ความเจริญก้าวหน้าในยุคโลกาภิวัฒน์ของโลก ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างรอบด้านอีกครั้งหนึ่งโดยใช้กฎหมาย มหาชนเป็นเครื่องมือในการปฏิรูป เช่น การปฏิรูปกฎหมายการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปแบบเลือกตั้ง การปฏิรูประบบการศึกษา การปฏิรูปราชการ การปฏิรูปเศรษฐกิจ และที่สำคัญในการปฏิรูปประเทศไทย ก็คือ การจัดให้มีการบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546ประเด็นเกี่ยวกับ ประโยชน์สาธารณะลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของกฎหมายมหาชน คือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ อันเป็นลักษณะที่สำคัญที่ทำให้รัฐมีวิธีดำเนินกิจกรรมของรัฐในฐานะที่รัฐมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือเอกชน
ประโยชน์สาธารณะเป็นวัตถุประสงค์ของรัฐในการดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่
ในสังคม ลักษณะของประโยชน์สาธารณะอาจอธิบายเป็นข้อๆได้ดังต่อไปนี้
1 ประโยชน์สาธารณะ คือ การดำเนินการของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมมิใช่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดำเนินการนั้นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่าประโยชน์สาธารณะเป็นความต้องการของบุคคลแต่ละคนที่ตรงกัน และมีจำนวนมากจนเป็นหมู่มากหรือเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมบนความต้องการนั้นถูก ยกระดับให้เป็นประโยชน์สาธารณะ

2 การพิจารณาว่าเครื่องใช้เป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือเป็นประโยชน์สาธารณะหรือไม่ เนื่องจากความต้องการของแต่ละบุคคลนั้นเป็นภาวะความรู้สึกทางจิตใจ ดังนั้น จึงจำเป็นมีองค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นผู้กำหนดว่าเรื่องใดเป็นประโยชน์สาธารณะ โดยทั่วไปถือว่า ได้แก่ รัฐสภา เนื่องจากเหตุผลว่ารัฐสภาเป็นศูนย์รวมของผู้แทนที่มาจากทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเรื่องที่รัฐสภาพพิจารณา แล้วก็ถือเป็นความต้องการของประชาชนด้วย กล่าวคือ ผู้แทนของประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนในกรณีนั้น ๆ แล้ว ดังนั้น หากรัฐสภาได้ตรากฎหมายให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีอำนาจดำเนินการในเรื่องใดเรื่องนั้นก็คือ ความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือประโยชน์สาธารณะนั่นเอง
3 ประโยชน์สาธารณะเป็นเรื่องที่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมดังนั้นฝ่ายปกครองจึงไม่อาจจะเลือกใช้ดุลพินิจได้ว่า จะดำเนินการหรือไม่ และถ้าเป็นกฎหมายที่รัฐสภาได้ตราออกมาให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครองเพื่อดำเนินการ แล้ว หากฝ่ายปกครองไม่ดำเนินการย่อมเป็นการอันมิชอบ ซึ่งฝ่ายปกครองอาจจะต้องรับผิดชอบเรื่องค่าเสียหายจากการไม่ดำเนินการนั้น ลักษณะดังกล่าวเป็นความแตกต่างระหว่างอำนาจในกฎหมายมหาชนกับสิทธิในกฎหมาย เอกชนกล่าวคือ สิทธิในกฎหมายเอกชนนั้น เจ้าของสิทธิอาจจะงดเว้นไม่ใช้สิทธิของตนก็ได้ แต่อำนาจในกฎมหาชนไม่ใช่สิทธิ ด้วยเหตุนี้ในเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ฝ่ายปกครองอำนาจดำเนินการของฝ่าย ปกครองจึงไม่อาจจะอ้างได้ว่าเป็นสิทธิชองฝ่ายปกครองที่จะใช้หรือจะไม่ใช้ อำนาจนั้น

 

ข้อ 3 ท่านเข้าใจศาลปกครองอย่างไร จงอธิบาย

ธงคำตอบ

ศาลปกครอง เป็นองค์กรควบคุมฝ่ายปกครองในประเทศที่มีระบบศาลคู่ กล่าวคือ มีศาลยุติธรรม
พิจารณาคดีข้อพิพาทระหว่างเอกชน และมีศาลปกครองพิจารณาพิพากษาคดีปกครองแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม โดยศาลปกครองก็เป็นองค์กรศาลที่มีความเป็นอิสระ มีวิธีพิจารณาคดีและวินิจฉัย เสร็จเด็ดขาดในศาลนั้นโดยศาลปกครองมีศาลสูงสุดเฉพาะของตนเอง ที่สำคัญก็คือ มีระบบกฎหมายปกครองเป็นการเฉพาะที่แตกต่างไปจากกฎหมายเอกชน ทั้งสาระบัญญัติและสบัญญัติที่สร้างโดยศาลโดยปกติแล้วศาลปกครอง จะควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของฝ่ายปกครองศาลปกครองจะไม่ก้าวล่วง ไปพิจารณาความเหมาะสมในการใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองแต่ในทางปฏิบัติศาล ปกครองจะเป็นผู้วางหลักเกณฑ์ระหว่างความชอบด้วยกฎหมายกับดุลพินิจเองประเทศ ต้นแบบที่ใช้ระบบศาลคู่คือฝรั่งเศส และต่อมาได้มีการยอมรับไปใช้ในประเทศต่าง อย่างกว้างขวาง เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เบลเยี่ยม สเปนอียิปต์ รวมทั้งไทยในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามมีระบบศาลคู่ก็อาจมีข้อเสียคือ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของศาลว่าคดีใดจะขึ้นศาลใดแต่มีข้อดีในแง่ที่ว่า ศาลปกครองจะมีผู้พิพากษาที่เชี่ยวชาญเฉพาะคดีและมีระบบกฎหมายปกครองเป็นการ เฉพาะที่ประสานประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลได้อย่างมีดุลยภาพ

Advertisement