การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553
ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1201 พื้นฐานวัฒนธรรมไทย

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)
1. ข้อใดคือความหมายของผู้นำ “มีฤทธิ์อำนาจ” ของชุมชนไทยในบริเวณภาคใต้ของจีน
1. ผู้นำที่เป็นองค์อวตารของเทพเจ้า
2. ผู้นำที่อ้างว่ามีความสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิที่ชุมชนนับถือ
3. ผู้นำที่เป็นจักรพรรดิราช
4. ผู้นำที่สามารถแผ่อำนาจได้ทั้ง 8 ทิศ

Advertisement

ตอบ 2 หน้า 80-81 ลักษณะผู้นำของชุมชนไทยในบริเวณภาคใต้ของจีนประการหนึ่ง คือ ผู้ นำจะอ้างที่มาจากสวรรค์ และอ้างการมีความสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ เช่น สามารถติดต่อกับวิญญาณของอดีตผุ้นำคนก่อนๆ ได้ ซึ่งนักวิชาการจะเรียกผู้นำในลักษณะนี้ว่า “ผู้นำที่มีฤทธิ์อำนาจ” (Big Men or Men of Prowess) และเมื่อผู้นำนี้ตายไปก็จะได้รับการนับถือบูชาว่าเป็นบรรพบุรุษคนหนึ่งด้วย

2. หลักการเรื่องผู้นำที่เป็นมหาชนสมมุติ ปรากฏในหลักฐานใด
1. ไตรภูมิพระร่วง

2. ศิลาจารึกหลักที่ 1

3. พระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร

4. คัมภีร์พระเวท

ตอบ 3 หน้า 92 พระไตรปิฎก ตอนอัคคัญสูตร ได้กล่าวถึงผู้นำที่ดีว่า ผู้นำควรเป็นมนุษย์เหมือนประชาชนมิใช่เทพเจ้า ได้รับการยอมรับและเลือกสรรจากประชาชนเพราะมีคุณธรรมสูงกว่าผู้อื่นจึงเรียก ว่าเป็นมหาชนสมมุติ มีหน้าที่รักษาความสงบของชุมชนโดยลงโทษคนชั่ว และประชาชนจะตอบแทนด้วยการแบ่งผลผลิตหรือภาษีให้

3. พระจักรพรรดิราชหรือจักรวาทิน มีคุณสมบัติอย่างไร
1. มีพระบรมเดชานุภาพจากชัยชนะในสงคราม

2. มีพระราชฐานะต่ำกว่า “มหาชนสมมุติ”

3. ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีจนเต็มเปี่ยม

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 93 พระไตรปิฎกในส่วนสุตตันตปิฎก จักรกวัตติสูตร ได้ระบุว่า ผู้นำที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศจะได้รับการยกย่องว่าเป็นพระจักรพรรดิราชหรือ จักรวาทิน ซึ่งหมายถึง กษัตริย์แห่งจักรวาลหรือพระราชาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะได้เป็นพระจักรพรรดิราชก็คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมสั่งสมบารมีมาจนเต็มเปี่ยม

4. ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 มีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัยคือ
1. เน้นความสูงส่งของจักรพรรดิราช

2. ไม่อ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดั่งพระโพธิสัตว์

3. มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 98 ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ล้านนาใช้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 จะมีส่วนที่แตกต่างจากสถาบันกษัตริย์สุโขทัย คือ ไม่มีการเน้นความสูงส่งของพระจักรพรรดิราช หรือไม่มีการอ้างบทบาทของผู้ปกครองดุจดั่งพระโพธิสัตว์ และไม่มีการใช้ราชาศัพท์กับกษัตริย์เหมือนดังทางสุโขทัย

5. ในคติพราหมณ์ เทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาล เรียกว่าอะไร
1. มหาเสนาบดี

2. จตุโลกบาล

3. ไศเลนทร์

4. จตุสดมภ์

ตอบ 2 หน้า 99, (คำบรรยาย) ในคดีพราหมณ์มีความเชื่อว่า ในระบบจักรวาล (universe หรือ Macrocosmos) มีทิศหลักที่สำคัญอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ซึ่งแต่ละทิศจะมีเทวดาหรือยักษ์ผู้รักษาทิศทั้ง 4 ของจักรวาลอยู่ประจำรวมทั้งหมด 4 ตน เรียกว่า โลกาปะละ หรือจตุโลกบาล

6. ข้อใดถูกในสมัยสุโขทัย
1. ไม่ปรากฏอิทธิพลลัทธิเทวราชาในสมัยสุโขทัย

2. สุโขทัยนำลัทธิเทวราชาเต็มรูปแบบมาใช้

3. สุโขทัยนำลัทธิเทวราชามาใช้ในยามที่อาณาจักรแตกแยกหรือมีการแย่งชิงอำนาจ

4. ลัทธิเทวราชามีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย

ตอบ 3 หน้า 100 สถาบันกษัตริย์สุโขทัยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คงมีการนำคติบางอย่างของลัทธิเทวราชามาใช้ แต่อาจใช้ไม่เต็มรูปแบบหรือตลอดเวลา เช่น อาจนำลัทธิเทวราชามาใช้ในยามที่อาณาจักรแตกแยกและต้องรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ หรือในยามที่มีการทำรัฐประหารแย่งชิงอำนาจกษัตริย์พระองค์ก่อน

7. ในช่วงแรกของสุโขทัย ผู้ช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์คือใคร
1. กรมพระราชวังบวรฯ หรือวังหน้า

2. จตุสดมภ์

3. ลูกเจ้าลูกขุน

4. ประชาชนชาวกรุงสุโขทัย

ตอบ 3 หน้า 101 ในช่วงแรกของสุโขทัยนั้น ผู้ช่วยในการบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ (พ่อขุน) หรือ ข้าราชการ ได้แก่ บรรดาเชื้อพระวงศ์ที่เป็นญาติใกล้ชิดเป็นส่วนใหญ่ และอีกส่วนหนึ่งคงเป็นบริวารที่ไม่ใช่ญาติ โดยเรียกข้าราชการเหล่านี้รวมๆ กันไปว่า ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งนี้ เพราะยังไม่มีการแยกกลุ่มบุคคลอย่างชัดเจนว่าเป็นเจ้านายหรือขุนนางเหมือนใน สมัยอยุธยา

8. คติทางศาสนาพราหมณ์ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบเทวราชา คือข้อใด
1. ราชธานีในโลกมนุษย์ต้องสร้างแบบรูปจำลองของจักรวาล

2. เกษียรสมุทร คือ ศูนย์กลางของจักรวาล

3. ทิศสำคัญในจักรวาลมี 10 ทิศ

4. เขาพระสุเมรุตั้งอยู่นอกชมพูทวีป

ตอบ 1 หน้า 99 คติทางศาสนาพราหมณ์ที่ เชื่อมโยงกับระบบเทวราชา คือ คติที่ว่าราชธานีของโลกมนุษย์จะต้องสร้างให้เป็นรูปจำลองของจักรวาล อาณาจักรของมนุษย์จึงจะเจริญรุ่งเรืองสืบไป ทั้งนี้โครงสร้างของจักรวาลตามคติของศาสนาพราหมณ์นั้นจะมีเขาพระสุเมรุเป็น แกนกลางและเขาพระสุเมรุจะตั้งอยู่ตรงใจกลางของชมพูทวีปซึ่งเป็นรูปกลม

9. เหตุใดจึงต้องมีการปกครองแบบทหาร
1. เพราะอาณาจักรต้องทำสงครามตลอดเวลา
2. เพื่อควบคุมประชากรที่มีมากเกินไป

3. เพราะประชากรมีจำนวนจำกัด

4. เพื่อควบคุมชาวต่างชาติให้อยู่ใต้การปกครองแบบทหาร

ตอบ 3 หน้า 102 การปกครองแบบทหาร หมายถึง ลักษณะการปกครองที่ข้าราชการและประชาชนทุกคนต้องออกรบไปยามมีศึก ซึ่งถือเป็นประเพณีการปกครองของชุมชนไทยมาแต่ตั้งเดิมโดยมีรากฐานมาจาก ประชากรของชุมชนยังมีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะจัดแบ่งออกเป็นทหารประจำการและพลเรือนได้

10. ข้อใดหมายถึงการปกครองแบบนครรัฐ
1. เมืองต่างๆ มีลักษณะเป็นอิสระดุจเป็นรัฐหนึ่ง

2. แว่นแคว้นมีการรวมกันอย่างหลวมๆ

3. การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่มีประสิทธิภาพ

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 104-105, (คำบรรยาย) สุโขทัยจะมีการปกครองส่วนภูมิภาคแบบนครรัฐ (City Stale) คือ การที่เมืองหรือนครต่างๆ มีลักษณะเป็นอิสระดุจเป็นรัฐของตัวเอง แว่นแคว้นจึงมีการรวมตัวกันแต่เพียงหลวมๆ ในลักษณะสมาพันธรัฐ ทำให้การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้เจ้าเมือง ชั้นนอก (เมืองลูกหลวง) มีอิสระเป็นอย่างมากจากเมืองหลวง และอาจเคยตัวเป็นอิสระหรือเข้ามาแย่งชิงอำนาจเมื่อเมืองหลวงอ่อนแอ เช่น กรณีที่พญาลิไทยเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยยกกำลังเข้ามาชิงราชย์ที่เมืองสุโขทัย ได้สำเร็จ

11. ข้อใดถูก
1. สุโขทัยไม่มีปัญหาจากระบบนครรัฐ
2. สุโขทัยไม่มีการปกครอบแบบทหาร
3. ปัญหาการกบฏของเมืองลูกหลวงเกิดขึ้นมากในสมัยต้นอยุธยา
4. อยุธยาประสบความสำเร็จในการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง

12. ปัจจัยข้อใดทำให้อยุธยาเจริญก้าวหน้าเหนืออาณาจักรอื่นๆ
1. ระบบการเกณฑ์แรงงานที่รัดกุม
2. มีการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง
3. ไม่มีปัญหาจากระบบนครรัฐ
4. มีอำนาจเด็ดขาดเหนือเมืองประเทศราช

ตอบ 1 หน้า 47 ปัจจัยสำคัญในด้านอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ทำให้อยุธยาเจริญก้าวหน้าเหนืออาณาจักรไทยอื่นๆ มีดังนี้
1. มีที่ตั้งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์
2. ความสามารถของพระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้นำในการสงครามและการปกครอง 3. มีระบบการเกณฑ์แรงงานประชาชนอย่างรัดกุม
4. อาณาจักรโดยรอบอยุธยาอยู่ในสภาพอ่อนแอ ทำให้อยุธยาไม่มีศัตรูที่จะเข้ามาคุกคาม

13. ข้อใดคือเอกสารสำคัญที่ใช้ศึกษาการปกครองส่วนกลางในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
1. โองการแช่งน้ำ

2. กฎมณเฑียรบาล

3. พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

4. กฎหมายตราสามดวง

ตอบ 3 หน้า 149 การศึกษาลักษณะการบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองส่วนกลางภายหลังการปฏิรูป ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สามารถหารายละเอียดและความแน่นอนได้มากขึ้นจากเอกสารสำคัญที่ตกทอดมาในยุค หลัง คือ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เชื่อว่าตราขึ้นในสมัยของพระองค์

14. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของกฎมณเฑียนบาล
1. เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

2. เป็นการจัดทำเนียบศักดินา

3. เป็นกฎเกณฑ์ที่บุคคลทั้งหลายต้องปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์

4. เป็นกฎหมายควบคุมไพร่พลทั่วราชอาณาจักร

ตอบ 3 หน้า 124 กฎหมายที่สำคัญที่รองรับสถานะอันสูงส่งดุจเทวะของพระมหากษัตริย์อยุธยาก็คือ “กฎมณเฑียรบาล” ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งถือเป็นเอกสารฉบับแรกที่บันทึกเกี่ยวกับสถานะและพระราชอำนาจของพระมหา กษัตริย์อยุธยาลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติที่บุคคลทั้งหลายต้องกระทำต่อพระมหา กษัตริย์และพระราชวงศ์

15. ข้อใดถูก
1. ธรรมศาสตร์เป็นสาขาคดีของราชศาสตร์

2. กฎหมายธรรมศาสตร์ครอบคลุมคดีความที่เกิดขึ้นในอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด

3. พระราชกำหนดหรือพระราชบัญญัติ บัญญัติโดยยึดหลักธรรมศาสตร์

4. ราชศาสตร์ คือ กฎหมายหลักของอยุธยา

ตอบ 3 หน้า 134-135 กฎหมายที่ใช้ตัดสินคดีในสมัยอยุธยา ได้แก่
1. พระ ธรรมศาสตร์ ถือเป็นกฎหมายหลักอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด แต่กฎหมายธรรมศาสตร์ก็ไม่สามารถครอบคลุมกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในอาณาจักร อยุธยาได้ทั้งหมด
2. พระ ราชศาสตร์ คือ พระราชกำหนดและพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตราขึ้นโดยใช้พระธรรมศาสตร์เป็น แม่บท จะใช้เมื่อมีกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ในพระธรรมศาสตร์ ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าราชศาสตร์เป็นสาขาคดีของธรรมศาสตร์

16. ข้อใดหมายถึง “คดีศาลรับส่ง”
1. คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุน

2. คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงรับสั่งให้กรมลูกขุนตัดสิน

3. คดีที่ประชาชนฟ้องร้องกรมลูกขุน

4. คดีพิพาทระหว่างคนไทยและคนต่างชาติ

ตอบ 1 หน้า 135-136 คดีที่พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย จะเรียกว่า “ความรับสั่ง” แต่ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรถวายฎีกาขึ้นมา โดยพระมหากษัตริย์ทรงมอบให้กรมพระตำรวจเป็นผู้สอบสวน และพระองค์จะทรงตัดสินเองโดยไม่ผ่านกรมลูกขุนคดีเช่นนี้เรียกว่า “คดีศาลรับสั่ง”

17. ข้อใดคือนโยบายการปฏิรูประบบราชการของพระบรมไตรโลกนาถ
1. แบ่งงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน

2. แบ่งการปกครองออกเป็นภูมิภาค

3. กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

4. จัดตั้งเมืองลูกหลวงในเขตเมืองชั้นใน

ตอบ 1 หน้า148 นโยบายการปฏิรูประบบราชการของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีดังนี้
1. แบ่ง แยกงานบริหารออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รวมทั้งตั้งกรมสำคัญขึ้นใหม่ 2 กรม คือ กรมกลาโหมทำหน้าที่ดูแลฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทยทำหน้าที่ดูแลฝ่ายพลเรือน
2. จัดการ ปกครองในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง (แต่มิได้ยกเลิกเด็ดขาด) โดยจัดให้เขตเมืองชั้นในเป็นเขตมณฑลราชธานี ซึ่งเมืองหลวงเข้าไปควบคุมโดยตรง

18. เหตุใดการแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถจึงไม่สมบูรณ์
1. กรมใหญ่มีงานในความรับผิดชอบหลายประเภท

2. เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมด

3. กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ฝ่ายพลเรือน

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 155-156 สาเหตุที่ทำให้ระบบแบ่งงานตามลักษณะหน้าที่เฉพาะอย่างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไม่สมบูรณ์ มีดังนี้
1. กรมใหญ่ เช่น กรมพระคลังมีงานในความรับผิดชอบหลายประเภทในเวลาเดียวกัน
2. เวลาเกิดศึกสงคราม ข้าราชการทุกกรมกองต้องออกไปรบได้เหมือนกันหมดถ้าได้รับคำสั่ง
3. กรมที่มีลักษณะงานเป็นแบบทหารถูกจัดไว้ในฝ่ายพลเรือน ส่วนกรมที่มีลักษณะงานเป็นพลเรือนกลับถูกจัดไว้ในฝ่ายทหาร

19. การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะแบบใด
1. แบ่งงานตามหน้าที่โดยเคร่งครัด

2. ยกเลิกกรมสำคัญ 6 กรม

3. แบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นภูมิภาค

4. กระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

ตอบ 3 หน้า 157-158 การเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลายคือ ระบบแบ่งงานตามหน้าที่เฉพาะอย่าง (Functional Basis) ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนสลายไปเป็นระบบแบ่งหน้าที่บริหารราชการออกเป็นส่วนภูมิภาค (Territorial Basis) มีดังนี้
1. กรมกลาโหมปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคใต้
2. กรมมหาดไทยปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองภาคเหนือ
3. กรมพระคลังปกครองทหารและพลเรือนในหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก

20. ข้อใดคือผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองในส่วนกลาง
1. เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกัน

2. กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง

3. กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้น

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 158-159 ผลจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานของกรมกองส่วนกลางในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้
1.เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกับกรมที่เคยรับผิดชอบงานเฉพาะบางกรมเป็นเหตุให้กรมที่เคยมีหน้าที่เฉพาะอย่างเสื่อมอำนาจลง
2. กรมย่อยทำงานเป็นอิสระจากกรมใหญ่มากขึ้นทุกที
3. การจัดให้กรมเล็กขึ้นสังกัดกรมใหญ่สับสนกันมากขึ้น

21. เขตมณฑลราชธานีจัดตั้งขึ้นในรัชกาลใด
1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
2. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
3. สมเด็จพระนเรศวร
4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

22. การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมีลักษณะอย่างไร
1. มีการจัดตั้งเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร
2. มีการแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ
3. มีการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค
4. มีการจัดตั้งเขตมณฑลราชธานี

ตอบ 2 หน้า 162-164 การปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มีดังนี้ 1. รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มอำนาจให้เมืองหวงควบคุมเขตภูมิภาคได้มั่นคงขึ้น (แต่มิได้มีผลถาวร) 2. ยกเลิกระบบเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานครในเขตเมืองชั้นนอกและจัดแบ่งหัวเมืองในเขตชั้นนอกเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับ 3. จัดส่งขุนนางออกไปเป็นเจ้าเมืองเหล่านี้ และให้แต่ละเมืองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง ฯลฯ

23. ข้อใดถูกในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงต้น
1. ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ข้าราชการต้องถวายบังคมพระรัตนตรัยก่อนพระเชษฐาบิดร

2. มีการยกเลิกพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

3. ยึดแบบอย่างพระราชพิธีฯ เหมือนในสมัยอยุธยา

4. พราหมณ์ไม่มีบทบาทในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อไป

ตอบ 1 หน้า 126, 187-188 ในยุคต้นรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นยุคที่ความสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ในฐานะเทวราชาของพระมหากษัตริย์ถูกลดลง ไป คือได้มีการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยให้มีการทำความเคารพรัตนตรัยก่อนพระเชษฐาบิดร (เทวรูปของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งแสดงว่าได้ลดฐานะของพระมหากษัตริย์ลงมาอยู่ใต้พระรัตนตรัยที่เป็นสิ่ง สูงสุด

24. ข้อใดที่แสดงว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยึดอุดมการณ์ธรรมราชา
1. การตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม

2. การสังคายนาพรไตรปิฎก

3. การลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎร

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 183-186 พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทรงยึดอุดมการณ์ธรรมราชาเป็นหลักสำคัญที่สุด โดยมีแนวทางดังนี้
1. ทรงตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมซึ่งมิได้เกี่ยวกับราชการบ้านเมืองโดยตรงแต่อย่างใด
2. ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยการสังคายนาพระไตรปิฎก ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและพระพุทธรูปจำนวนมาก
3. ทรงปกป้องคุ้มครองประชาชน โดยการลดเวลาเกณฑ์แรงงานราษฎรและดูแลมิให้มูลนายข่มเหงรังแกราษฎร ฯลฯ

25. การบริหารราชการในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีลักษณะแบบใด
1. มีการแบ่งงานตามลักษณะงานโดยไม่เคร่งครัด

2. มีการแบ่งงานออกเป็นภูมิภาค

3. มีการแบ่งงานตามลักษณะงานโดยเคร่งครัด

4. มีการแบ่งงานออกเป็นมณฑลต่างๆ

ตอบ 2 หน้า 158, 194-195 โครงสร้างระบบบริหารราชการแผ่นดินทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในสมัยต้นรัตน โกสินทร์ยังเป็นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ จัดระบบบริหารราชการแผ่นดินแบบแบ่งงานออกเป็นเขตแดนหรือภูมิภาค (Territorial Basis) เพียงแต่จะมีการเพิ่มจำนวนหรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกรมกองไปบ้าง (ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ)

26. ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงใช้มาตรการใดในการควบคุมอำนาจเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอก
1. ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมือง

2. ให้กรมการเมืองรับเงินเดือนจากเมืองหลวง

3. ให้เจ้านายไปกำกับราชการหัวเมืองชั้นนอก

4. ยกเลิกระบบกินเมือง

ตอบ 1 หน้า 195 ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นไป ได้มีการใช้นโยบายแบ่งแยกความจงรักภักดีออกเป็นสองทาง (Dual Allegiance) กล่าวคือ ให้ขุนนางในเมืองหลวงเป็นผู้แต่งตั้งกรมการเมืองตำแหน่งต่างๆ แทนที่จะให้เจ้าเมืองเป็นผู้แต่งตั้งดังแต่ก่อน เพื่อให้เมืองหลวงมีอำนาจควบคุมเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองชั้นนอกได้มากขึ้น เพราะกรมการเมืองย่อมเกิดความภักดีต่อขุนนางในเมืองหลวงซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง ตนด้วย มิใช่ภักดีต่อเจ้าเมืองเพียงคนเดียว

27. ผลงานสำคัญในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลางในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงแรก พ.ศ. 2417-2418 คือข้อใด
1. จัดตั้งสภาพที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาองคมนตรี
2. จัดตั้งกระทรวงต่างๆ

3. การปรับคณะเสนาบดีครั้งใหญ่

4. การปฏิรูปกฎหมาย

ตอบ 1 หน้า 227-228 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในส่วนกลางช่วงแรก พ.ศ.2417-2418 โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้นมา 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (State Council หรือ Council of State) และสภาองคมนตรี (Privy Council) ซึ่งสภาทั้งสองนี้ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ก่อนลงมือปฏิบัติหน้าที่

28. ข้อใดคืออุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผ่นดินในช่วงแรกของ ร.5 ต้องหยุดชะงัก
1. การขัดขวางจากพวกอนุรักษนิยม

2. การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก

3. การขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 228-229 อุปสรรคที่ทำให้การปฏิรูปราชการแผ่นดินในระยะแรกของรัชกาลที่ 5 ต้องหยุดชะงักลง ได้แก่
1. การขัดขวางจากฝ่ายอนุรักษนิยมทั้งในลักษณะของการดื้อแพ่งและการต่อต้านด้วยกำลังอาวุธ
2. การแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก
3. การ ขาดประสบการณ์ของกลุ่มสยามหนุ่ม โดยเฉพาะบรรดาสมาชิกสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินซึ่งยังไม่คุ้นเคยกับการแสดง ความคิดเห็น และยังเกรงกลัวต่ออิทธิพลของฝ่ายอนุรักษนิยมอยู่

29. ข้อใดคือผลงานเด่นของการปฏิรูปช่วงที่ 2 ของ ร.5
1. การตั้งกรมสำคัญ 6 กรม

2. การฟื้นฟูการปกครองแบบนครรัฐ

3. การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง

4. การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์

ตอบ 3 หน้า 229-231 ผลงานเด่นของการปฏิรูปในระยะที่สองของรัชกาลที่ 5 คือ การออกประกาศพระบรมราชโองการจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 กระทรวง โดยเพิ่มจากเดิม 6 กระทรวงแต่ละกระทรวงมีหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งการจัดตั้งกระทรวงในครั้งนี้จะเห็นได้ถึงการสูญอำนาจของขุนนางตระกูล บุนนาค และการขึ้นมามีอำนาจของฝ่ายเจ้านายที่ได้เป็นเสนาบดีถึง 10 กระทรวง

30. ผลสำเร็จในการปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดจากข้อใด
1. การใช้ระบบ “กินเมือง”

2. การเพิ่มอำนาจให้เมืองประเทศราช

3. การจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาล

4. การฟื้นฟูระบบเมืองลูกหลวง

ตอบ 3 หน้า 56, 234-235 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยการจัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น เพื่อให้เมืองหลวงสามารถควบคุมอาณาจักรและประเทศราชได้อย่างทั่วถึง ทำให้ประเทศไทยสามารถผนวกดินแดนในเขตชั้นนอกและเขตประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น อันหนึ่งอันเดียวกับส่วนกลางในลักษณะรัฐประชาชาติ (National State) ได้สำเร็จ

31. ข้อใดถูกต้องในการประนมมือไหว้ผู้มีพระคุณและผู้มีอาวุโส
1.ประนมมือให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง นิ้วชี้จรดปลายจมูก
2. ประนมมือให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว
3. ประนมมือให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
4. ประนมมือให้นิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผาก ปลายนิ้วชี้จรดศีรษะ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) วัฒนธรรมการไหว้ตามประเพณีไทยมี 4 ลักษณะ ดังนี้
1. การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันหรือรับไหว้ ผู้ไหว้จะประนมมือกลางอก ปลายนิ้วตั้งตรงขึ้นเบื้องบนโดยอาจก้มหน้าลงเล็กน้อย
2. การไหว้ผู้ที่อาวุโสกว่า ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้อยู่ตรงปลายสันจมูก แล้วก้มหน้าลง
3. การ ไหว้บิดามารดาหรือผู้ที่มีพระคุณและผู้มีอาวุโสอันเป็นที่เคารพยิ่ง ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง
4. การไหว้พระภิกษุสงฆ์ ผู้ไหว้จะยกมือประนมขึ้นให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้วปลายนิ้วชี้จรดตีนผมแนบหน้าผาก พร้อมกับค้อมหรือย่อตัวลง

32. เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำใด
1. แม่น้ำปิง

2. แม่น้ำยม

3. แม่น้ำน่าน

4. แม่น้ำเจ้าพระยา

ตอบ 2 หน้า 23-24, (คำบรรยาย) เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำยมซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง โดยจะมีศูนย์กลางของชุมชนเมื่อแรกตั้งอยู่ที่เมืองเก่าสุโขทัยบริเวณวัดพระ พายหลวง หลังจากนั้นจึงย้ายมาอยู่ในตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบันบริเวณวัดมหาธาตุ

33. เมืองหลวงของราชอาณาจักรไทยสมัยใดที่มีลักษณะเป็นเกาะ
1. สุโขทัย

2. ล้านนา

3. อยุธยา

4. ธนบุรี

ตอบ 3 หน้า 22-23, 35, 510, (คำบรรยาย) ราชอาณาจักรอยุธยาเริ่มขึ้นตั้งแต่มีการสร้าง กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ ใน พ.ศ. 1893 โดยพระเจ้าอู่ทองเป็นผู้ย้ายศูนย์กลางของแคว้นอโยธยาแต่เดิม เข้ามาตั้งมั่นเป็นเมืองหลวงหรือราชธานีแห่งใหม่ ณ เกาะอยุธยาซึ่งถือเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมมากทั้งในด้านการปกครอง ยุทธศาสตร์ และด้านเศรษฐกิจเพราะมีการคมนาคมสะดวก และมีแม่น้ำเจ้าพระยาล้อมรอบเกาะ

34. สังคมไทยสมัยใดที่มีความคล้ายกันมากที่สุด
1. สุโขทัย-ล้านนา

2. สุโขทัย-อยุธยา

3. ล้านนา-อยุธยา

4. สุโขทัย-รัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 270, (คำบรรยาย) สังคมของสุโขทัยและล้านนาในพุทธศตวรรษที่ 19-21 จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีลักษณะผสมของสังคมหมู่บ้านที่ยังมีหลักความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติกับ สังคมเมืองที่พยายามวางแบบแผนกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกอย่างเป็น ทางการมากขึ้น ดังนั้นเมืองสำคัญในแคว้นสุโขทัยและล้านนาจึงล้วนมีวิวัฒนาการไปจากหมู่บ้าน ที่ขยายตัวหรือจากการรวมกลุ่มของหมู่บ้านทั้งสิ้น

35. “เบื้องตีนนอน” ที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง หมายถึงทิศใด
1. ทิศตะวันออก

2. ทิศตะวันตก

3. ทิศเหนือ

4. ทิศใต้

ตอบ 3 (คำ บรรยาย) ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้กล่าวถึงทิศทั้ง 4 ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างจากปัจจุบัน กล่าวคือ เบื้องตีนนอน (ทิศเหนือ), เบื้องหัวนอน (ทิศใต้), เบื้องตะวันออก (ทิศตะวันออก) และเบื้องตะวันตก (ทิศตะวันตก)

36. ไพร่ชั้นดีในสมัยล้านนามีหลายอาชีพที่ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน ไพร่ในข้อต่อไปนี้ข้อใดที่ถูกเกณฑ์แรงงาน
1. ชาวนา

2. ช่างฝีมือ

3. พ่อค้า

4. เศรษฐี

ตอบ 1 หน้า 283 เอกสารทั้งของสุโขทัยและล้านนาได้จัดแบ่งไพร่ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ไพร่ชั้นดี คือ ไพร่ที่มีความรู้ความสามารถหรือมีฐานะดี เช่น ช่างฝีมือ พ่อค้า และเศรษฐีซึ่งจะได้รับยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์แรงงานเหมือนไพร่สามัญ แต่อาจต้องเสียเงินหรือส่วยเป็นการชดเชย 2. ไพร่สามัญ คือ สามัญชนส่วนใหญ่ที่ทำมาหากินด้วยการทำไร่ไถนา ไม่มีความรู้ความสามารถพิเศษอันใด จึงต้องมาให้แรงงานตามกำหนด เช่น ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ฯลฯ

37. “ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ได้มรดกมาก” เป็นข้อความในกฎหมายไทยสมัยใด
1. สุโขทัย

2. ล้านนา

3. อยุธยา

4. รัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 295, (คำบรรยาย) สังคมสมัยล้านนามีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ว่าเมื่อ พ่อแม่ตายไปให้จัดมรดกแก่ลูกที่แสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ได้มากกว่าคนอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อตอบแทนความดีและให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นด้วย ดังข้อความในกฎหมายมังรายศาสตร์ของล้านนาที่ว่า “ผิลูกหลานมีอยู่หลายคน ผู้ใดมีคุณต่อพ่อแม่มาก ก็ให้มรดกมาก…”

38. “ผู้ เป็นท้าวพระยานี้ แม้จะพิพาทเจรจาสิ่งใดก็ดี อย่าเจรจามาก แม้จะยิ้มแย้มด้วยสิ่งใด อย่ายิ้มแย้มมากแต่พอประมาณเถิด” เป็นข้อความที่ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ถามว่าสะท้อนให้เห็นค่านิยมใดของคนไทยสมัยสุโขทัยชัดเจนที่สุด
1. มีความสำนึกในสถานะความสูงต่ำของบุคคล

2. ต้องปฏิบัติตนให้ถูกกับสถานะ

3. เป็นสังคมในระบบอุปถัมภ์-บริวาร

4. เป็นสังคมที่ยกย่องคนดี

ตอบ 1 หน้า 294, (คำบรรยาย) ค่านิยมในสมัยสุโขทัยจะมีการปลูกฝังเรื่องความสำนึกในสถานะสูงต่ำของบุคคล โดยถือว่าผู้ใหญ่มีความสูงศักดิ์กว่าผู้น้อย ซึ่งปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงที่ได้กล่าวถึงการวางตัวของผู้ใหญ่ว่าต้อง ไว้ตัวต่อหน้าผู้น้อย โดยไม่พูดจาเล่นหัวกับผู้น้อยให้เกินไปเพื่อมิให้ผู้น้อยถือสนิทกับผู้ใหญ่ ได้ และยังมีคำสอนให้ผู้ใหญ่รู้จักควบคุมอารมณ์เก็บกิริยาอาการเวลาอยู่ต่อหน้า ผู้น้อย ดังข้อความจากโจทย์ข้างต้น

39. ข้อใดผิดเกี่ยวกับทาสวัด
1. ไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน
2. ไม่ต้องส่งส่วยให้รัฐ

3. ไม่ต้องออกรบ

4. ทาสวัดสืบตระกูลไม่ได้

ตอบ 4 หน้า 353 ทาสวัดหรือข้าพระอารามในสมัยอยุธยามีลักษณะดังนี้
1. มี ที่มาจากการที่พระมหากษัตริย์ยกทาสหรือไพร่หลวงให้แก่วัด หรือมาจากเจ้านายขุนนางยกข้าทาสหรือไพร่สมให้วัดเป็นครัว คือ ให้ไปทั้งพ่อแม่ลูก
2. การเป็นทาสวัดจะสืบตระกูลไปถึงลูกหลานต่อไปด้วย
3. ทาสวัดจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงานแม้ในยามสงคราม และไม่ต้องส่งส่วยให้แก่รัฐ
4. ทาสวัดที่ไม่ต้องการทำงานให้วัดก็สามารถส่งส่วยให้วัดแทนได้ ฯลฯ

40. “ผู้ ปกครองที่อธรรม เบียดเบียนประชาชน กินสินบนจากลูกความ ตายไปต้องตกนรกหรือเกิดเป็นเปรตได้รับความทรมานอย่างมาก” เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารใด
1. มังรายศาสตร์

2. ไตรภูมิกถา

3. กฎหมายตราสามดวง

4. มหาชาติคำหลวง

ตอบ 2 277 ในวรรณกรรมเรื่องไตรภูมิกถา ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไทยได้มีการปลูกฝังความ เชื่อว่า ลูกเจ้าลูกขุนที่
เป็นขุนธรรมย่อมมีผลให้ดินฟ้าอากาศเป็นปกติตามฤดูกาล และย่อมเป็นที่รักของเทวดา ส่วนผู้ปกครองที่อธรรม เบียดเบียนประชาชนกินสินบนจากลูกความ ตายไปต้องตกนรกหรือเกิดเป็นเปรต ได้รับความทรมานอย่างมาก

41. “นาย ตีนผู้ใดรบศึกในสนามรบ ได้หัวนายช้างนายม้ามา ควรเลี้ยงดูให้เป็นใหญ่” ข้อความดังกล่าวแสดงถึงไพร่สามารถเลื่อนฐานขึ้นเป็นขุนนางได้ ถามว่าเป็นกฎหมายสมัยใด
1. สุโขทัย
2. ล้านนา
3. อยุธยา
4. ธนบุรี

ตอบ 2 หน้า 285 ในสมัยล้านนามีกฎหมายระบุว่า ทหารที่หนีทัพจะถูกประหารชีวิตและริบทรัพย์สินลูกเมียเป็นของหลวง แต่ยามสงครามก็อาจเป็นเวลาที่ไพร่ที่มีฝีมือในการรบได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็น ขุนนางได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า “นายตีนผู้ใดรบศึกในสนามรบได้หัวนายช้างนายม้ามา ควรเลี้ยงดูให้เป็นใหญ่…หากนายตีนได้หัวนายม้า ควรเลื่อนขึ้นเป็นนายม้านายตีนได้หัวนายช้าง ควรเลื่อนขึ้นเป็นนายช้าง…”

42. ข้อใดไม่จัดอยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
1. ฉลองพระบาทเชิงงอน

2. ธารพระกร

3. วาลวิชนี

4. พระสุพรรณราช

ตอบ 4 หน้า 124, 127, (คำบรรยาย) เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หมายถึง เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงพระบารมี ประกอบด้วย ของ 5 สิ่ง ได้แก่
1. พระมหาพิชัยมงกุฎ คือ สัญลักษณ์ของการเป็นองค์ประมุขของแผ่นดิน
2. พระแสงขรรค์ชัยศรี คือ สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ
3. ธารพระกร คือ สัญลักษณ์แห่งพระปัญญาอันยิ่งใหญ่
4. พระวาลวิชนีและพรแส้จามี คือ สัญลักษณ์แห่งการบันดาลความอยู่เย็นเป็นสุข ปัดเป่าผองภัยและความทุกข์ร้อนของประชาชนให้หมดสิ้นไป
5. ฉลองพระบาทเชิงงอน คือ สัญลักษณ์แห่งการทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพในทุกหนทุกแห่ง

43. พระสงฆ์ทำหน้าที่ตัดสินคดีความร่วมกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง โดยอิงหลักเกณฑ์ในชาดกหรือวินัยสงฆ์ถามว่าปรากฏในกฎหมายสมัยใด
1. สุโขทัย

2. ล้านนา

3. อยุธยา

4. ธนบุรี

ตอบ 2 หน้า 280 ในสมัยล้านนา พระสงฆ์จะทำหน้าที่ตัดสินคดีความร่วมกับเจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองโดยอาศัยอิง กับหลักเกณฑ์ในชาดกหรือวินัยสงฆ์ที่เข้ากันได้ นอกจากนี้ลักษณะกฎหมายของล้านนายงปรากฏอิทธิพลของวินัยสงฆ์เข้ามาปะปนอยู่ เป็นอันมาก โดยพระเถระผู้ใหญ่ดังเช่นพระสังฆราชสามารถกล่าวตักเตือนให้สติแก่พระมหา กษัตริย์ที่ประพฤติผิดทำนองคลองธรรมได้

44. ขุนนางอยุธยาไม่มีสิทธิทำสิ่งใด
1. เป็นเจ้าเมือง
2. เป็นเสนาบดี

3. เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์

4. ไปมาหาสู่กันอย่างเสรี

ตอบ 4 หน้า 323-324, 329-332 พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงคานอำนาจของขุนนางดังนี้
1. กำหนดให้ความสูงศักดิ์และอภิสิทธิ์ของขุนนางตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
2. กำหนด ขอบเขตการเคลื่อนไหวของขุนนางไว้อย่างรัดกุม เช่น มีกฎหมายห้ามขุนนางไปมาหาสู่กันอย่างเสรี รวมทั้งไม่ให้คบค้ากับพวกเจ้านายด้วย เป็นต้น
3. กำหนดบทลงโทษขุนนางที่ทำหน้าที่บกพร่องไว้อย่างมากมายและรุนแรง

45. ยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทย คือ “สมเด็จเจ้าพระยา” ถามว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์แรกคือใคร
1. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

2. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์

3. สมเด็จเจ้าพระยามหาพิชัยญาติ

4. สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์

ตอบ 1 หน้า 319, 405, (คำบรรยาย) ยศสมเด็จเจ้าพระยา ถือเป็นยศสูงสุดของขุนนางในประวัติศาสตร์ไทย โดยสมเด็จเจ้าพระยาในประวัติศาสตร์ไทยจะมีอยู่ทั้งหมด 4 องค์ คือ
1. สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ (ทองด้วง)
2. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิส บุนนาค)
3. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)
4. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

46. หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนไพร่ในสมัยอยุธยา ได้แก่ข้อใด
1. ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนหมวดหมู่เดียวกับญาติพี่น้องของตน

2. ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนกับมูลนายที่มีภูมิลำเนาเดียวกับตน

3. ผู้หญิงและพระสงฆ์ต้องขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน

4. 4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 341-342 หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนไพร่ในสมัยอยุธยามีดังนี้
1. ไพร่ ที่มีอายุตั้งแต่ 9 ขวบขึ้นไปต้องมาขึ้นทะเบียน แต่ไพร่จะถูกเกณฑ์แรงงานเมื่ออยู่ในวัยฉกรรจ์ (ผู้ที่แต่งงานแล้ว) คือ อายุประมาณตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
2. ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนกับมูลนายที่มีภูมิลำเนาเดียวกับตน แต่ต่อมาภายหลังไพร่ขึ้นสังกัดกับมูลนายที่อยู่ต่างภูมิลำเนากันได้
3. ไพร่ต้องขึ้นทะเบียนสังกัดหมวดหมู่เดียวกับพ่อแม่ญาติพี่น้องของตน
4. ผู้หญิงและพระสงฆ์ก็จะต้องมาขึ้นทะเบียนไพร่ แม้ว่าจะไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน นอกจากเวลาที่จำเป็นจริงๆ ฯลฯ

47. การสักข้อมือไพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
1. เพื่อรู้ชื่อมูลนาย
2. เพื่อรู้จำนวนไพร่

3. เพื่อรู้ภูมิลำเนาไพร่

4. เพื่อป้องกันไพร่หลบหนี

ตอบ 4 หน้า 392, 417, (คำบรรยาย) การสักข้อมือไพร่เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุง ธนบุรีเป็นต้นมา โดยได้กำหนดให้สักข้อมือไพร่เป็นตัวอักษรไว้ที่ด้านใน ระบุชื่อมูลนายและชื่อเมืองอันเป็นภูมิลำเนาเพื่อป้องกันไพร่หลบหนี สับเปลี่ยนมูลนาย หรือหนีไปหลบซ่อนอยู่ต่างเมืองและตามป่าเขาอีก จึงเป็นทางป้องกันมิให้ไพร่หลวงสูญหาย หรือมิให้ไพร่หลวงหนีไปเป็นไพร่สมของมูลนายได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน

48. การสักข้อมือไพร่ เริ่มครั้งแรกในสมัยรัชกาลใด
1. สมเด็จพระนเรศวร

2. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

3. สมเด็จพระเจ้าตากสิน

4. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

49. ข้อใดถูกเกี่ยวกับทาสในสมัยอยุธยา
1. นายเงินมีสิทธิไม่รับค่าตัวทาส

2. นายเงินขึ้นค่าตัวทาสไม่ได้

3. นายเงินไม่มีสิทธิลงโทษทาส

4. นายเงินไม่มีสิทธิส่งทาสไปรบแทนตน

ตอบ 2 หน้า 352, 354-356 ในสมัยอยุธยา นายเงินมีสิทธิเหนือทาสดังนี้
1. ใช้งานทาสได้ทุกอย่าง
2. ใช้ทาสไปรับโทษหรือเข้าคุกแทนตนได้ แต่ถ้าทาสขายขาดไปรับโทษแทนนายเงินจะมิได้ลดค่าตัวและไถ่ถอนตัวเป็นอิสระไม่ได้
3. ใช้ทาสไปรบแทนตนได้
4. ลงโทษทาสได้แต่ต้องไม่ทำให้ทาสนั้นพิการหรือตายไป
5. ขายทาสต่อไปได้ แต่ขึ้นราคาค่าตัวทาสตามใจชอบไม่ได้ และถ้าทาสมีเงินมาไถ่ตัว นายเงินจะไม่ยอมรับค่าตัวทาสไม่ได้ ฯลฯ

50. “ทาสในเรือนเบี้ย” ของไทยสมัยอยุธยา เทียบได้กับทาสชนิดใดของล้านนา
1. ลูกข้าหญิง

2. ซื้อมาด้วยข้าวของ

3. ฉิบหายด้วยความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง

4. ข้อยมาเป็นข้า

ตอบ 1 หน้า 290, 351, (คำบรรยาย) ข้าหรือทาสในสมัยล้านนามี 5 ประเภท คือ
1. ข้าที่ซื้อด้วยข้าวของ ซึ่งตรงกับทาสสินไถ่ของอยุธยา
2. ลูกข้าหญิง ซึ่งตรงกับทาสในเรือนเบี้ยของอยุธยา
3. มอบตัวเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพงของอยุธยา
4. ฉิบหายด้วยความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งจึงเข้าเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสที่ได้มาด้วยการช่วยให้พ้นโทษปรับของอยุธยา
5. ข้อยมาเป็นข้า ซึ่งตรงกับทาสเชลยของอยุธยา

51. ศักดินากำหนดจากสิ่งใด
1. ที่ดินของบุคคลนั้น
2. ไพร่ของบุคคลนั้น
3. ยศของบุคคลนั้น
4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 358, (คำบรรยาย) การกำหนดให้บุคคลมีศักดินากันคนละเท่าใดนั้นจะกำหนดจาก ยศ ตำแหน่ง และความรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ โดยผู้ใดมียศสูง มีตำแหน่งและงานในความรับผิดชอบสำคัญมาก ผู้นั้นก็จะมีศักดินาสูง ดังนั้นเมื่อเห็นตัวเลขศักดินาของผู้ใดก็สามารถทราบถึงความสูงศักดิ์ของ บุคคลนั้นได้โดยประมาณ
52. การกำหนดศักดินามีประโยชน์อย่างไร
1. ใช้กำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล

2. ใช้กำหนดไพร่ในสังกัดของบุคคล

3. ใช้กำหนดบทลงโทษของบุคคล

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 359-360 ระบบศักดินามีประโยชน์ในการกำหนดฐานะบุคคลในทางสังคม และกำหนดระเบียบในการปกครองด้านต่างๆ ดังนี้ 1. เป็นเครื่องมือกำหนดความสูงศักดิ์ของบุคคล อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลต่างๆ เพื่อจัดระเบียบของสังคม 2. เป็นเครื่องกำหนดบทลงโทษของบุคคลที่มีความผิด 3. เป็นเครื่องวัดและกำหนดไพร่พลในสังกัด 4. เป็นเครื่องกำหนดอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษบางอย่าง

53. ข้อใดไม่ถูกเกี่ยวกับระบบศักดินา
1. ศักดินาเป็นเครื่องวัดความสูงศักดิ์ของคนในแผ่นดิน

2. ศักดินาเป็นเครื่องมือลงโทษผู้ทำผิด
3. ผู้มีศักดินาสูงสุดในแผ่นดิน ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน

4. ทาสมีศักดินา 5 ไร่

ตอบ 3 หน้า 309, 357 กฎหมายอยุธยากำหนดให้ประชาชนทุกคนยกเว้นพระมหากษัตริย์จะได้รับพระราชทาน ศักดินาประจำตัวเป็นจำนวนเลขลดหลั่นกันไปตามยศและตำแหน่งโดยผู้ที่มีศักดินา สูงสุดในแผ่นดิน คือ เจ้านายระดับกรมพระราชวังบวรฯ (วังหน้า) มีศักดินา 100,000 ไร่ ส่วนผู้ที่มีศักดินาต่ำสุด คือ ยาจก วณิพก ทาส และลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่ (ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ)

54. ตำแหน่งวังหน้ายกเลิกไปในรัชกาลใด
1. รัชกาลที่ 3

2. รัชกาลที่ 4

3. รัชกาลที่ 5

4. รัชกาลที่ 6

ตอบ 3 หน้า 395 ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างวังหลวงและวังหน้าในสมัยรัตนโกสินทร์จะ สิ้นสุดลงโดยเด็ดขาดเมื่อกรมพระราชวังบวรฯ (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 5 สิ้นพระชนม์ลงใน พ.ศ. 2428 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ยกเลิกตำแหน่งวังหน้าโดยสถาปนาตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชขึ้นมา แทนที่เป็นครั้งแรก ทำให้การสืบราชสมบัติของไทยถูกกำหนดเป็นแบบแผนตามกฎหมาย

55. เหตุใดไพร่จึงถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์
1. การเน้นการปกครองแบบธรรมราชา

2. รัฐต้องการให้ไพร่ใช้เวลาปลูกข้าวมากขึ้น

3. มีแรงงานจากจีนเข้ามามากขึ้น

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 416-424, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานน้อยลงในสมัยรัตนโกสินทร์จนกระทั่งมีการยก เลิกระบบไพร่อย่างสิ้นเชิงในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
1. กษัตริย์เน้นการปกครองแบบธรรมราชา
2. การคุกคามและเผยแพร่แนวความคิดตามแบบตะวันตก
3. การเปลี่ยนแปลงลักษณะเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้รัฐต้องการให้ไพร่ใช้เวลาปลูกข้าวมากขึ้น
4. กรรมกรชาวจีนเข้ามาเป็นแรงงานในไทยมากขึ้น
5. ภาวะการทำสงครามและการถูกรุกรานโดยอาณาจักรใกล้เคียงกับไทยหมดไป

56. การปฏิรูปการปกครองและสังคมในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อขุนนางอย่างไร
1. ขุนนางได้เป็นเสนาบดีมากกว่าเจ้านาย

2. ขุนนางไม่ได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลอีกต่อไป

3. ขุนนางตระกูลบุนนาคเสื่อมอิทธิพลลง

4. ขุนนางได้เก็บเงินจากเจ้าภาษีไว้เป็นสมบัติส่วนตัวมากกว่าแต่ก่อน

ตอบ 3 หน้า 411-412 การปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลต่อขุนนางดังนี้
1. คณะเสนาบดีรุ่นเก่าที่มีตระกูลบุนนาคเป็นผู้นำเสื่อมอิทธิพลลง โดยเสนาบดีรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านายมากกว่าขุนนาง
2. ข้าราชการมีเงินเดือน และการใช้เงินส่วนของรัฐเพื่อกิจการส่วนตัวนับเป็นของต้องห้าม
3. การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการจะพิจารณาจากความรู้เป็นหลัก
4. มีการเปิดรับสามัญชนที่มีการศึกษาดีเข้าสู่ระบบราชการ ฯลฯ

57. การเปิดประเทศมีผลต่อไพร่อย่างไร
1. ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานมากขึ้น

2. ไพร่เสียเงินค่าราชการมากขึ้น

3. ไพร่ปลูกข้าวมากขึ้น

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 416, 424 ภายหลังการเปิดประเทศ เศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากระบบผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง มาเป็นระบบผลิตเพื่อส่งออก ทำให้ความสำคัญของไพร่ในฐานะแรงงานและผู้ส่งส่วยลดลงไปมาก แต่ไพร่จะมีบทบาทสำคัญยิ่งในด้านการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก โดยเฉพาะการปลูกข้าว ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญที่สุดของไทย

58. อะไรเป็นเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้คนจีนที่เรียกว่า “อั้งยี่” ลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทย
1. มีพวกมาก

2. มีฐานะทางการเงินดี

3. มีขุนนางหนุนหลัง

4. เป็นคนในบังคับต่างชาติ

ตอบ 4 หน้า 439 ในสมัยรัชกาลที่ 5 สมาคมลับของชาวจีนหรืออั้งยี่ได้เกิดขึ้นหลายกลุ่ม และมีกิจกรรมหลายด้านที่ทำผิดกฎหมายไทย แต่พวกอั้งยี่ก็สามารถลอยนวลอยู่เหนือกฎหมายไทยได้เพราะคนจีนจำนวนมากได้ไป จดทะเบียนเป็นคนในบังคับตะวันตกชาติต่างๆ โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อมีคดีเกิดขึ้นก็สามารถขึ้นศาลกงสุลของชาติที่ตนได้ไปขึ้นทะเบียน ไว้และตำรวจไทยจะจับกุมตัวได้ก็ต่อเมื่อกงสุลของชาตินั้นอนุมัติแล้วเท่า นั้น

59. พ.ร.บ. เกณฑ์ทหาร รศ. 124 มีผลให้ระบบไพร่ถูกยกเลิกเด็ดขาด ทั้งนี้ชายฉกรรจ์ทุกคน เมื่ออายุครบ…?…ปีจะต้องมาเกณฑ์ทหารรับราชการในกองประจำการ มีกำหนด…?…ปี จากนั้นแล้วจะปลดปล่อยให้อยู่ในกองหนุน
1. 18, 2

2. 19, 2

3. 20, 3

4. 21, 3

ตอบ 1 หน้า 427 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการออก พ.ร.บ. เกณฑ์ทหาร รศ. 124 ขึ้นใน พ.ศ. 2448 ซึ่งได้กำหนดใช้ชายฉกรรจ์ทุกคนที่มีอายุครบ 18 ปี ยกเว้นคนจีนและคนป่าคนดอย ต้องเข้ามาเกณฑ์ทหารรับราชการในกองทัพมีกำหนด 2 ปี จากนั้นจึงจะได้รับการปลดปล่อยให้อยู่ในกองหนุนขั้นที่ 1 อีก 5 ปี และกองหนุนขั้นที่ 2 อีก 10 ปี จึงจะปลดประจำการและไม่ต้องเสียค่าราชการไปอีกตลอดชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้จึงนับเป็นก้าวสุดท้ายที่จะยกเลิกระบบไพร่โดยสิ้นเชิง

60. คำ ว่า “ไทย” หมายถึงอิสรภาพ “ประเทศไทย” หมายถึง ดินแดนแห่งอิสรภาพ ประเทศไทยนั้นเดิมชื่อว่า “สยาม” ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ.ใด
1. พ.ศ. 2475

2. พ.ศ. 2482

3. พ.ศ. 2490

4. พ.ศ. 2500

ตอบ 2 (คำ บรรยาย) ประเทศไทยเดิมชื่อว่า “สยาม” ซึ่งมีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำ จึงได้ประกาศรัฐนิยมให้ใช้ชื่อ “ประเทศไทย” เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 และให้ใช้คำว่า “ไทย” แทนคำว่า “สยาม” นับแต่นั้นจะต้องเรียกคนไทยว่าไทย และเรียกประเทศไทยว่าประเทศไทย

61. ข้อใดคือพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสังคมไทยตลอดมา
1. การอุตสาหกรรม
2. การค้า
3. การเกษตรกรรม
4. การทำเหมืองแร่

ตอบ 3 หน้า 469, (คำบรรยาย) อาชีพหลักของราษฎรไทย คือ การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสังคมไทยตลอดมา โดยเฉพาะการทำนาถือเป็นอาชีพหลักของราษฎรไทยมาตั้งแต่ยุคต้นๆ รองลงมาก็คือ การทำไร่ทำสวนต่างๆ
62. ลักษณะเศรษฐกิจแบบผลิตเพื่อการบริโภคและการแลกเปลี่ยนภายในชุมชนคือสมัยใด
1. สุโขทัย

2. อยุธยา

3. ธนบุรี

4. รัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 471, 482-483 ลักษณะเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยได้ชื่อว่าเป็น “วัฒนธรรมชาวบ้าน” เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อบริโภคและแลกเปลี่ยนกันภายในชุมชนหรือระหว่างหมู่ บ้านในลักษณะพอเพียงเลี้ยงตนเองได้ ซึ่งถือเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ได้รับการสนับสนุนอย่างยิ่งในปัจจุบันจากพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งจากภาครัฐและเอกชน

63. ข้อใดคือประโยชน์ของ “สรีดภงส์” สมัยสุโขทัย
1. เป็นแหล่งล่าสัตว์

2. นำน้ำมาบริโภค

3. เป็นแหล่งทำประมง

4. เป็นทำนบเก็บกักน้ำช่วยในการเพาะปลูก

ตอบ 4 หน้า 473-475 สุโขทัยจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดเพราะเป็นหนองบึงจำนวนมากและ มีปัญหาเรื่องน้ำ ดังนั้นผู้ปกครองสุโขทัยจึงได้ช่วยเหลือกสิกรในการเพาะปลูกทั้งทางตรงและทาง อ้อมหลายประการ ได้แก่ 1. การ ช่วยเหลือทางด้านการชลประทาน เช่น การสร้างสรีดภงส์ (เขื่อนเก็บกักน้ำ ซึ่งเป็นทำนบเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขา) การขุดสระที่เรียกว่าตระพังและสร้างเหมืองฝายเป็นทำนบกั้นน้ำ 2. ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ราษฎรมีความวิริยะอุตสาหะหักร้างถางพง เพื่อสร้างเป็นไร่เป็นนา เป็นสวน ฯลฯ

64. มีการสร้างทำนบกั้นน้ำสมัยสุโขทัย เรียกว่าอะไร
1. เหมืองฝาย

2. เหมืองปราการ

3. เหมืองแล่ง

4. เหมืองแปลง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

65. เหตุใดสุโขทัยจึงทำเฉพาะประมงน้ำจืด
1. คนสุโขทัยไม่นิยมบริโภคปลาทะเล

2. สุโขทัยไม่มีเครื่องมือจับปลาน้ำลึก

3. สุโขทัยไม่มีเรือทะเลออกน้ำลึก

4. ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 475 แหล่งจับปลาน้ำจืดของสุโขทัยที่มีปลาอุดมสมบูรณ์ที่สุด คงได้แก่ ในแม่น้ำยมตอนใกล้แก่งหลวง ส่วนการจับปลาทะเลนั้นคงจะจับกันแต่เพียงริมฝั่งทะเลในอ่าวไทยเท่านั้นเพราะ ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีเรือใหญ่ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกไปจับปลา ในทะเลลึก นอกจากนี้เครื่องมือจับปลาน้ำลึกในสมัยนั้นก็คงยังไม่มีใช้

66. สินค้าออกของสุโขทัยคืออะไร
1. ข้าว

2. เครื่องสังคโลก

3. เครื่องจักสาน

4. ดีบุก

ตอบ 2 หน้า 479 สินค้าส่งออกที่สำคัญและขึ้นชื่อของสุโขทัย คือ เครื่องปั้นดินเผา หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เครื่องสังคโลก” โดยจะมีทั้งที่เป็นภาชนะเครื่องใช้ ซึ่งที่พบมากที่สุด ได้แก่ จานและชามนอกจากนั้นเป็นเครื่องใช้ที่เป็นเครื่องแก้ว ได้แก่ ขวดและตลับ และที่ใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรมได้แก่ กระเบื้องเคลือบมุงหลังคา ช่อฟ้า บราลี และพลสิงห์

67. “…เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย… ใครจักใคร่ค้าช้างค้า…” แสดงนโยบายอะไรของสุโขทัย
1. ชนิดของสินค้าประเภทสัตว์

2. ชักจูงให้มีการค้ากับเพื่อนบ้าน

3. ชักจูงให้ราษฎรมีอาชีพค้าสัตว์

4. การค้าเสรี

ตอบ 4 หน้า 480 ข้อความในศิลาจารึกที่ว่า “…เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า” หมายความว่า ผู้ปกครองส่งเสริมนโยบายการค้าอย่างเสรี โดยราษฎรสามารถค้าขายสินค้าต่างๆ ได้ตามความต้องการ

68. อยุธยาทำการค้ากับชาติใดในรูปบรรณาการ
1. จีน

2. ญี่ปุ่น

3. อังกฤษ

4. ฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 499-501, 511 การค้าส่วนใหญ่ของอยุธยาในระยะแรกจะเป็นการค้าขายทางเรือสำเภากับประเทศทาง ตะวันออก ได้แก่ การค้ากับจีนในลักษณะบรรณาการ และการค้ากับญี่ปุ่นส่วนการค้ากับประเทศยุโรปตะวันตกเริ่มขึ้นครั้งแรกใน สมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โดยไทยเริ่มค้าขายกับโปรตุเกสเป็นชาติแรก ต่อจากนั้นก็มีฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศสตามลำดับ

69. อยุธยาเปรียบเทียบอะไรว่าเป็นกำแพงปราการป้องกันศัตรูที่จะมารุกราน
1. ที่ราบสูงโคราช

2. แม่น้ำเจ้าพระยา

3. ป่าไม้

4. ดอยอินทนนท์

ตอบ 3 หน้า 495 พ่อค้าชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งบันทึกไว้ว่า ป่าไม้ของอาณาจักรอยุธยามีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลมาก กินพื้นที่มากว่าครึ่งของอาณาจักร และมีสภาพหนาทึบมากจนแทบจะผ่านเข้าไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงให้ความไว้วางใจแก่ป่าของตน เพราะเปรียบได้กับเป็นกำแงปราการป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานได้

70. สมัยอยุธยา โค กระบือ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของคนไทยมาก ยกเว้นข้อใด
1. ใช้เป็นแรงงานสำหรับไถนา

2. ใช้เป็นอาหาร

3. ใช้เป็นค่าปรับแทนเงินตรา

4. ใช้ขุดคลอง

ตอบ 4 หน้า 494 ในสมัยอยุธยา โคและกระบือมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยนั้นมากได้แก่ เป็นแรงงานสำหรับไถนา ใช้เป็นอาหาร ใช้เป็นพาหนะขี่ ใช้เป็นค่าปรับแทนเงินตราได้และสามารถนำไปเล่นกีฬาที่เรียกว่า วิ่งวัววิ่งควาย

71. ตลาดอยุธยามีความสำคัญตามกฎหมายหลายข้อ ยกเว้นข้อใด
1. เป็นสถานที่ให้ความคุ้มครองผู้รับซื้อของโจร โดยไม่รู้ว่าเป็นโจร
2. เป็นสถานที่ให้พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าต้องห้ามได้
3. เป็นสถานที่ให้นักโทษไปขออาหารรับประทานพร้อมผู้คุม
4. เป็นสถานที่ลงโทษผู้ทำผิดเกี่ยวกับการซื้อขาย

ตอบ 2 หน้า 497 ตลาดในสมัยอยุธยามีความสำคัญตามกฎหมายและมีคุณสมบัติพิเศษด้านต่างๆ ดังนี้
1. เป็นสถานที่ให้ความคุ้มครองผู้รับซื้อของโจรที่ไม่ทราบว่าเป็นของโจร
2. เป็นสถานที่ให้ความคุ้มครองจากการรีดไถ
3. เป็นสถานที่ลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการค้าขาย เช่น การขายสินค้าเกินราคาควบคุม, การขายสินค้าต้องห้าม, กรเก็บหัวเบี้ย (อากรตลาด) เกินพิกัดอัตรา ฯลฯ
4. เป็นสถานที่ที่นักโทษไปขออาหารรับประทานเพื่อยังชีพ
72. ชาวอยุธยามีหน้าที่อะไรต่อบ้านเมือง
1. ทำนาเพื่อผลิตข้าวให้มาก

2. ส่งข้าวออกเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประเทศ

3. ส่งอากรค่านาเพื่อนำไปทำนุบำรุงประเทศ

4. จัดประกวดเพื่อหาพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

ตอบ 3 หน้า 492 หน้าที่ที่ชาวนาไทยสมัยอยุธยาพึงปฏิบัติต่อบ้านเมือง คือ เสียอากรค่านาให้แก่รัฐบาลเพื่อรัฐบาลจะได้นำไปทำนุบำรุงประเทศ โดยตามหลักฐานที่ปรากฏ ชาวนาไทยต้องเสียอากรค่านาในรูปของหางข้าว และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ มีหลักฐานว่า เก็บอากรค่านาเป็นตั๋วเงินซึ่งมีพิกัดเก็บไร่ละ 1 สลึงต่อปี ต่อพื้นที่นา 40 ตารางวา

73. ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับไทยคือชาติใด
1. อังกฤษ

2. ฝรั่งเศส

3. ฮอลันดา

4. โปรตุเกส

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

74. เหตุใดผู้ปกครองอยุธยาให้ความสำคัญกับการชลประทานน้อยที่สุด
1. อยุธยาอยู่ในเขตลมมรสุม มีฝนตกตามฤดูกาล

2. การสร้างงานชลประทานสิ้นเปลืองมาก

3. อยุธยายังไม่มีเทคโนโลยีตะวันตก

4. ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของชลประทาน

ตอบ 1 หน้า 488, 510, (คำบรรยาย) สิ่งที่ผู้ปกครองอยุธยาให้ความสำคัญน้อยที่สุด ได้แก่เรื่องการชลประทาน เพราะสภาพภูมิประเทศของอาณาจักรมีแม่น้ำจำนวนมากและเอื้ออำนวยต่อระบบการทำ นาดีอยู่แล้ว กล่าวคือ ดินแดนอยู่ในเขตมรสุมจึงได้รับฝนจากลมมรสุมส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน อาณาจักร เวลาที่น้ำท่วมกลับนำปุ๋ยมาใส่ไร่นา

75. บันทึกของครอว์เฟิร์ดกล่าวว่า “ไม่มีประเทศใดในโลกที่อุดมสมบูรณ์เช่นนี้” เขาหมายถึงอาณาจักรใด
1. สุโขทัย

2. อยุธยา

3. ธนบุรี

4. รัตนโกสินทร์

ตอบ 4 หน้า 517, (คำบรรยาย) อาณาจักรรัตนโกสินทร์มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสภาพพื้นดินเอื้ออำนวยต่อการทำนา ทำสวน และทำไร่เป็นอย่างยิ่ง ดังหลักฐานบันทึกของ ครอว์เฟิร์ดที่กล่าวว่า “…คงจะไม่ผิดที่กล่าวว่า ไม่มีประเทศใดในโลกที่อุดมสมบูรณ์เช่นนี้…”

76. บึงบอระเพ็ดมีคุณสมบัติดีหลายข้อ สำหรับเป็นสถานีบำรุงสัตว์น้ำ ยกเว้นข้อใด
1. มีอาณาเขตกว้างขวาง

2. มีทางน้ำไหลเข้าออกหลายทาง

3. อยู่ใกล้กรุงเทพฯ

4. มีต้นหญ้าสำหรับวางไข่

ตอบ 3 หน้า 528 สาเหตุที่ให้บึงบอระเพ็ดเป็นสถานีบำรุงสัตว์น้ำมีดังนี้
1. เป็นบึงที่ตั้งอยู่ตอนกลาง มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
2. มีทางน้ำไหลเข้าออกจากบึงรวมหลายสายไปสู่ลำน้ำน่าน
3. ในฤดูน้ำมีน้ำเต็มแทบทั่วทั้งบึง
4. อุดมไปด้วยที่อาศัยที่สมควรต่างๆ เช่น มีโขดและเนินดิน มีต้นหญ้าสำหรับวางไข่ และมีอาหารที่เป็นผักหญ้าและพืชอื่นๆ ซึ่งมาตามกระแสน้ำ

77. เหตุใดชาวจีนจึงมีบทบาทควบคุมการค้าภายในของไทย
1. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

2.ไม่ต้องอยู่ในระบบไพร่

3. เป็นพ่อค้าคนกลางเชื่อมชนชั้นเจ้านายกับไพร่

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 537-538 สาเหตุที่พ่อค้าจีนมีบทบาทควบคุมการค้าภายในของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
1. ชาวจีนเป็นพ่อค้าคนกลางเชื่อมช่องว่างระหว่างชนชั้นเจ้านายกับไพร่
2. ชาวจีนไม่ต้องอยู่ในระบบไพร่และไม่ต้องเป็นทาส จึงประกอบอาชีพค้าขายได้ทุกแบบ
3. ชาวจีนได้อภิสิทธิ์เหนือพ่อค้าต่างชาติตะวันตกที่สามารถเดินทางทั่วพระราชอาณาจักรได้
4. ชาวจีนมีมนุษยสัมพันธ์ดีและเข้าใจหลักจิตวิทยาที่จะนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของตน ฯลฯ

78. รัชกาลที่ 5 ทรงช่วยขยายพื้นที่ทำนาด้วยวิธีใด
1. ขุดคลองขยายเนื้อที่เพาะปลูก

2. พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ให้ชาวนา

3. ช่วยหักร้างถางพง

4. ขยายกรรมสิทธิ์ถือครองที่นา

ตอบ 1 หน้า 519-521 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสมัยที่มีการส่งเสริมและทำนุบำรุงการทำนาปลูกข้าวยิ่งกว่าสมัยใดๆ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมในกิจกรรมการทำนาแทบ ทุกด้าน ดังนี้
1. การขุดคลองขยายเนื้อที่เพาะปลูก
2. การจัดหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ
3. การจัดหาเครื่องมือทำนาที่ทันสมัย

79. สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองใดเป็นศูนย์กลางการค้าดีบุก
1. จันทบุรี

2. นครราชสีมา

3. เพชรบุรี

4. ภูเก็ต

ตอบ 4 หน้า 533 แหล่งแร่ดีบุกของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์มีอยู่ 2 แห่ง คือ 1. หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก ได้แก่ เมืองระนอง ตะกั่วป่า กระบุรี ภูเก็ต สงขลา กระบี่ และตรังโยมีเมืองภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการค้าดีบุก 2. ทางตะวันออกของอ่าวไทย ได้แก่ เมืองต่างๆ ที่อยู่มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลปัตตานี เช่น เมืองหนอจิก ยะหริ่ง ยะลา รามันท์ ระแงะ และสายบุรี โดยมีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางการค้าดีบุก

80. รายรับส่วนใหญ่สมัยรัตนโกสินทร์ได้จากอะไร
1. ภาษีอากรของราษฎร
2. ผลกำไรจากการค้าสำเภากับจีน

3. ส่วนที่เก็บได้จากไพร่ส่วย

4. เงินผูกปี้ จากชาวจีน

ตอบ 2 หน้า 551, (คำบรรยาย) ราย รับส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ ผลกำไรที่ได้จากการค้าสำเภากับจีน ซึ่งเป็นการค้าแบบบรรณาการ ทั้งนี้เพราะระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้าที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ทำให้การค้าสำเภากับต่างประเทศกำไรให้แก่อาณาจักรไทยเป็นอันมากซึ่งวิธี การดังกล่าวก็ยังคงใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

81. ข้อใดเป็นความเชื่ออันดับแรกของมนุษย์และวิวัฒนาการขั้นสุดท้าด้านความเชื่อของมนุษย์
1. การบูชาธรรมชาติ ” ละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล
2. การบูชาบรรพบุรุษ ” การนับถือเทพเจ้า
3. การบูชาเทพเจ้า ” การประกอบพิธีกรรม
4. การบูชาธรรมชาติ ” การประกอบพิธีกรรม

ตอบ 1 หน้า 570-571 วิวัฒนาการด้านความเชื่อของมนุษย์มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. การบูชาธรรมชาติ 2. การนับถือผีสางเทวดาหรือลัทธิวิญญาณนิยม 3. การบูชาบรรพบุรุษ 4. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ 5. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ แต่แบ่งแยกหน้าที่ของเทพเจ้าแต่ละองค์ให้ต่างกัน 6. การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 7. การละจากความงมงายไปสู่ความคิดที่มีเหตุมีผล ซึ่งทำให้เกิดพระพุทะศาสนาเป็นศาสนาที่ยิ่งใหญ่ศาสนาหนึ่งของโลก
82. การ ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีไทยจะมีทั้งพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ และบัตรพลีผีสางเทวดาซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนความเชื่อและการนับถือศาสนา ต่างๆ ให้เข้ากันได้ และแสดงถึงการนับถือศาสนาต่างๆ ซ้อนกัน ซึ่งเปรียบได้กับรูปเจดีย์ ความเชื่อในข้อใดเป็นพื้นฐานเจดีย์
1. ศาสนาพุทธ

2. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดี

3. ผีสางเทวดา

4. ไสยศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 573 ชนชาติไทยแต่โบราณจะนับถือศาสนาต่างๆ ซ้อนกันประดุจรูปเจดีย์ คือ นับถือผีสางเทวดาเปรียบเหมือนเป็นพื้นฐานของเจดีย์ ถัดขึ้นไปก็เป็นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และสูงสุดก็คือ พระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนยอดเจดีย์ ซึ่งความเชื่อทั้ง 3 นี้จะมีการนับถือคละเคล้าปะปนกัน จนในที่สุดก็ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

83. พุทธศาสนาลัทธิใดที่เน้นการบูชารูปเคารพ การสวดอ้อนวอนและการประกอบพิธีกรรม จนทำให้มีลักษณะคล้ายศาสนาฮินดู
1. เถรวาท

2. มหายาน

3. วัชรยาน

4. ตันตระ

ตอบ 2 หน้า 576 พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานจะบูชาพระโพธิสัตว์ เน้นการบูชารูปเคารพการสวดอ้อนวอน และการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทำให้ลัทธิมหายานมีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายกับศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ซึ่งการเปลี่ยนแปลใหม่ๆ ของฝ่ายมหายานทำให้เป็นที่ยอมรับ นับถือของชนชั้นทุกวรรณะได้สะดวกขึ้น จนพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานเจริญแพร่หลายและมีศาสนิกชนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

84. วัดป่ามะม่วงเป็นวัดที่สร้างในเขตใด
1. พาราณสี

2. อัมพวนาราม

3. คามวาสี

4. อรัญญวาสี

ตอบ 4 หน้า 585 การสร้างวัดในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยส่วนใหญ่เป็นวัดเล็กและแบ่งการสร้างออกเป็น 2 เขต คือ
1. เขตคามวาสี คือ วัดที่สร้างอยู่ในหมู่บ้านหรือในเมือง
2. เขตอรัญญวาสี คือ วัดที่ปลูกสร้างไว้ในป่า เช่น วัดป่ามะม่วง วัดอรัญญิก เป็นต้น

85. ลัทธิมหายานเจริญอยู่ในสุโขทัย เห็นได้จากอะไร
1. ลัทธิเถรวาทหมดสิ้นไปจากสุโขทัย

2. พุทธเจดีย์ต่างๆ สร้างตามคติมหายาน

3. ใช้ภาษาสันสกฤตในพระธรรม

4. ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 576, 581, (คำบรรยาย) พุทธศาสนาลัทธิมหายานคงจะเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายและเจริญอยู่ในช่วงเวลา หนึ่งของสมัยสุโขทัย ทั้งนี้เพราะพุทธเจดีย์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นสร้างตามคติมหายานแทบทั้งสิ้น และพระธรรมก็ใช้อรรถภาษาสันสกฤตจนแพร่หลาย

86. สมัยพระบรมโกศ พระอุบาลีกับพระอริยมุนี ไปลังกาเพื่ออะไร
1. สร้างวัดไทยในลังกา

2. อัญเชิญพระศรีรัตนมหาธาตุจากลังกา

3. ให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวลังกา

4. ไปรับพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกที่อยุธยา

ตอบ 3 หน้า 595 ใน สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะแห่งลังกาทรงเห็นว่าพระพุทธศาสนาลังกาสิ้นสม ณวงษ์ จึงทรงแต่ราชทูตเชิญพระราชสาสน์เข้ามาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพื่อทูลของพระมหาเถระกับคณะสงฆ์ไทย คือ พระอุบาลีกับพระอริยมุนีและพระสงฆ์อีก 12 รูป เดินทางไปยังประเทศลังกาเพื่อไปให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวสิงหล (ลังกา)

87. การสร้างวัดในสมัยอยุธยามีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างจากสมัยสุโขทัย ลักษณะที่ว่านี้ได้แก่ลักษณะในข้อใด
1. มักมีการสร้างโบสถ์ทุกวัด

2. มีกรุใต้พระเจดีย์ใหญ่

3. เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน

4. มีสถูปเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ

ตอบ 1 หน้า 591 การสร้างวัดในสมัยอยุธยามีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างจากสมัยสุโขทัย กล่าวคือ ทุกวัดมักมีการสร้างโบสถ์ด้วย (สมัยสุโขทัยมักไม่มีโบสถ์ทุกวัด) อาจเป็นเพราะสมัยอยุธยาความจำเป็นในการใช้โบสถ์มีมากขึ้น เนื่องจากการบวชเรียนถือเป็นประเพณีที่สำคัญและแพร่หลายจำนวนพระสงฆ์ก็มี เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นการบรรจุอัฐิของวงศ์สกุลก็มักสร้างเป็นสถูปเจดีย์เรียงราย แทนที่จะบรรจุรวมกันในกรุใต้พระเจดีย์ใหญ่เหมือนอย่างสมัยสุโขทัย

88. กษัตริย์ที่ทรงออกผนวชขณะครองราชย์คือข้อใด
1. พระมหาธรรมราชาลิไทย

2. พระบรมไตรโลกนาถ

3. พระบรมโกศ

4. ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 584, 587-588, 954 การที่พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเสด็จออกผนวชขณะครองราชย์ที่กรุงสุโขทัยครั้ง นั้น มีผลให้สมเด็จพระบรมไตรดลกนาถกษัตริย์ของไทยในสมัยอยุธยาโดยเสด็จพระราชนิยม ตาม โดยพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 2 ที่ออกผนวชขณะครองราชย์เป็นพระภิกษุ ณ วัดจุฬามณี จ.พิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2008

89. กษัตริย์องค์ใดทรงตรา “กฎหมายพะสงฆ์” เป็นองค์แรก
1. รัชกาลที่ 1

2. รัชกาลที่ 2

3. รัชกาลที่ 3

4. รัชกาลที่ 4

ตอบ 1 หน้า 185-186, 598 รัชกาลที่ 1 ทรงตรากฎหมายสำหรับพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีที่เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ เพื่อใช้บังคับลงโทษพระภิกษุสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักรที่ไม่ประพฤติอยู่ในพระ ธรรมวินัยอันดี เนื่องจากในระยะนั้นมีพระสงฆ์จำนวนไม่น้อยที่มีความประพฤติเสื่อมเสียต่างๆ จึงทรงประณามพระสงฆ์เหล่านั้นว่าเป็น “มหาโจรปล้นทำลายพระศาสนา”

90. รัชกาลที่ 2 ทรงฟื้นฟูการประกอบพิธีใดเป็นครั้งแรก
1. พิธีฉัตรมงคล

2. พิธีวิสาขบูชา

3. พิธีมาฆบูชา

4. พิธีอาสาฬหบูชา

ตอบ 2 หน้า 599-600 รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาดังนี้
1. การปฏิสังขรณ์วัด
2. การปฏิรูปการสอบพระปริยัติธรรม
3. การสร้างพระไตรปิฎกฉบับรดน้ำแดง
4. การส่งสมณทูตไปลังกา
5. การฟื้นฟูการประกอบพิธีวิสาขบูชาเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์
6. การเรียบเรียงหนังสือโอวาทานุศาสนี

91. ข้อใดไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความเป็นธรรมราชาของรัชกาลที่ 3
1. การแจกหรือขายข้าวในราคาต่ำ
2. การสร้างและบำรุงวัด
3. การเก็บภาษีในท้องที่ข้าวยากหมากแพง
4. การสร้างเก๋งโรงทานเพื่อแจกทาน

ตอบ 3 หน้า 95, 601 ในสมัยรัชกาลที่ 3 กษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมราชา คือ การที่ผู้นำทำนุบำรุงศาสนาและสมณชีพราหมณ์ รักษาศีล อบรมสั่งสอนศีลธรรมให้แก่ประชาชน และเอาใจใส่ทำนุบำรุงประชาชนมิให้มีการกดขี่ข่มเหงจนได้รับความเดือนร้อน ซึ่งปรากฏหลักฐานหลายแห่ง เช่น การสร้างและบำรุงวัด การสร้างเก๋งโรงทานเพื่อแจกทาน การงดเก็บภาษีจากราษฎรในท้องที่ข้าวยากหมากแพง และการแจกจ่ายหรือจำหน่ายข้าวในราคาต่ำ

92. การบวงสรวงและการบัตรพลีสังเวยเทวดาของชาวไทย ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของลักทธิในข้อใด
1. ศาสนาพุทธเถรวาท

2. ศาสนาพุทธมหายาน

3. ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

4. ศาสนาอิสลาม

ตอบ 3 หน้า 640 ประเพณีไทยบางประเพณีมักมีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูผสมผสานอยู่ด้วย เช่น ประเพณีโกนจุกจะมีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ ส่วนประเพณีทำบุญอายุและทำขวัญนอกจากจะทำบุญตามคติทางพระพุทธศาสนาแล้ว มักมีการบวงสรวงและทำบัตรพลีสังเวยเทวดาตามลักทธิศาสนาพราหมณ์อีกด้วย

93. ชนชาติแรกที่เข้ามาค้าขายและเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือชนชาติใด
1. โปรตุเกส

2. ฮอลันดา

3. อังกฤษ

4. ฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 640 โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับไทยตั้งแต่รัชกาล สมเด็จพระรามิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เดินทางเข้ามาไทยมากขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชิราชที่ 4 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของตนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำการค้า และเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาธอลิก

94. ข้อความในข้อใดถูกต้องเมื่อกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
1. ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูไม่มีสาสด

2. ศาสนาฮินดูนับถือพระเจ้าองค์เดียว

3. ศาสนาพราหมณ์นิยามบวงสรวงพระศิวะ

4. คำว่า “พราหมณ์” มาจากชื่อของศาสดาในศาสนาพราหมณ์

ตอบ 1 หน้า 636 ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา แต่เป็นศาสนาในรูปของปรัชญา และเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม (Polytheism) คือ มีการนับถือเทพเจ้าหลายองค์นอกจากนี้พิธีกรรมของศาสนาทั้ง 2 ก็จะแตกต่างกัน กล่าวคือ ศาสนาพราหมณ์นิยมการบูชาบวงสรวงต่อพระพรหมเป็นส่วนใหญ่ แต่ศาสนาฮินดูมีเทพเจ้ามากมายและมีฤทธ์เดชต่างกันจึงนิยมบูชาเทพเจ้าหลาย องค์แยกออกไปให้เป็นที่พอพระทัยของเทพแต่ละองค์

95. คำว่า “ปสาน” ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หมายถึงตลาดที่มีห้องแถวเรียงติดต่อกันและขายของแห้งเป็นอิทธิพลที่ได้รับจากข้อใด
1. ขอม
2. พ่อค้าชาวพุกาม

3. ลังกา

4. พ่อค้ามุสลิมชาวเปอร์เชีย

ตอบ 4 หน้า 647 ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย มีคำว่า “ปสาน” สันนิษฐานว่าคงเป็นคำเดียวกับ “พาชัน” (Pasan) ซึ่งหมายถึง ตลาดที่มีห้องแถวเรียงติดต่อกันและขายของแห้ง ซึ่งเป็นอิทธิพลของพ่อค้ามุสลิมชาวเปอร์เชียที่ชำนาญและเก่งด้านการค้า และอาจเป็นคำเดียวกับคำว่า “บาซาร์” และคำอื่นๆ อีกที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

96. ข้อใดเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม
1. ขนบประเพณี

2. ธรรมเนียมประเพณี

3. จารีตประเพณี

4. วัฒนธรรมประเพณี

ตอบ 3 หน้า 653-654 ประเพณีโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. จารีตประเพณี หมายถึง ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมซึ่งมีค่าแก่สังคมโดยส่วนรวม
2. ขนบประเพณี หรือระเบียบประเพณี หมายถึง ประเพณีที่มีระเบียบแบบแผนซึ่งอาจกำหนดไว้โดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้
3. ธรรมเนียม ประเพณี หมายถึง ประเพณีที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่มีผิดถูกดีชั่ว และไม่มีระเบียบแบบแผน หรือเป็นประเพณีที่มีผู้กำหนดขึ้นและเป็นที่ยอมรับในสังคม เช่น การพูดจา มารยาทในสังคม การแสดงความเคารพ ฯลฯ

97. ประเพณีที่มีผู้กำหนดขึ้นและเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น การแสดดงความเคารพ จัดเป็นประเพณีในข้อใด
1. ขนบประเพณี

2. ธรรมเนียมประเพณี

3. จารีตประเพณี

4. วัฒนธรรมประเพณี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

98. ข้อใดเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
1. คนโบราณเวลาจะคลอด ซื้อตุ๊กตามาทำพิธียกให้ผี ผีจะได้เอาตุ๊กตาไปแทนเด็ก

2. การแต่งงานภายหลังได้บวชเรียนแล้ว

3. การทำพิธีโกนจุกเมื่อเด็ก 11-15 ปี

4. 4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 655-658 ประเพณีส่วนบุคคลหรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทย ซึ่งอาจเรียกว่าประเพณีครอบครัวก็ได้ เช่น ประเพณีการเกิดที่คนโบราณเวลาจะคลอดลูก ซื้อตุ๊กตามาทำพิธียกให้ผี ผีจะได้เอาตุ๊กตาไปแทนเด็ก, ประเพณีการโกนจุกเมื่อเด็กอายุ 11-15 ปี, ประเพณีการบวชเณร, ประเพณีการอุปสมบท, ประเพณีการแต่งงานภายหลังได้บวชเรียนแล้ว, ประเพณีการตาย และประเพณีการเผาศพ

99. วันปีใหม่ของไทยตามทางสุริยคติ ตรงกับวันในข้อใด
1. วันที่ 1 มกราคม

2. วันที่ 13 เมษายน

3. วันตรุษไทย

4. วันสารทไทย

ตอบ 2 หน้า 661-662 วันสงกรานต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายน เป็นวันปีใหม่ของไทยตามทางสุริยคติ (นับตามทางพระอาทิตย์ คือ โลกที่เราอยู่นี้หมุนไป 1 รอบดวงอาทิตย์ก็เป็น 1 ปี) ซึ่งประเทศไทยกำหนดให้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่มาตั้งแต่สมัยกรุง สุโขทัยเป็นราชินีจนถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติกัน

100. พิธีในข้อใดเป็นพิธีทางพุทธศาสนา
1. พิธีแรกนา

2. พิธีจรดพระนังคัล

3. พิธีพืชมงคล

4. พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

ตอบ 3 หน้า 640, 668 พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล แต่เดิมมีเพียงพิธีพราหมณ์ย่างเดียว เรียกว่า “พิธีจรดพระนังคัล” เป็นพิธีเวลาเช้า คือ ลงมือไถ แต่ก่อนทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ตามคติพระพุทธศาสนาขึ้นอีก เรียกว่า “พิธีพืชมงคล” คือ การทำขวัญพืช ซึ่งทำที่ท้องสนามหลวงในพระนคร โดยพิธีทั้งสองนี้จะทำพร้อมกันในคืนเดียววันเดียวกัน จึงได้เรียกชื่อติดกันว่า พิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล

101. ข้อใดแสดงว่า ศิลปกรรมสมัยทวารวดีสะท้อนการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท
1. จารึกอักษรปัลลวะ
2. จารึกคาถาเย ธัมมา
3. จารึกอักษรอินเดียใต้
4. จารรึกภาสันสกฤต

ตอบ 2 หน้า 285 วัฒนธรรมทวารวดีมีการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู แต่ศิลปะที่พบมักจะแสดงพุทธศิลป์นิกายเถรวาท (หินยาน) มากที่สุดโดยหลักฐานที่แสดงถึงการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท คือ จารึกคาถา “เย ธัมมา” และจารึกอื่นๆ ที่เป็นภาษาบาลี ซึ่งใช้เฉพาะพุทธศาสนาเถรวาท รวมทั้งงานประติมากรรมอื่นในพุทธศาสนาเถรวาทที่พบอยู่ทั่วไป

102. ศิลปกรรมก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย แบบใดใช้ศึกษาเกี่ยวกับสาสนาฮินดูได้ดีเป็นพิเศษ
1. ทวารวดี

2. ศรีวิชัย

3. เทวรูปรุ่นเก่า

4. ลพบุรี

ตอบ 3 หน้า 683, 691 ศิลปะแบบเทวรูปรุ่นก่า (พุทธศตวรรษที่ 12-14) เป็นประติมากรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่บ่งถึงการแพร่วัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย มาสู่เมืองต่างๆ ตามชายฝั่งมหาสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ร่วมยุคกับศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนา ซึ่งในบางพื้นที่ได้พบอยู่ควบคู่กัน แต่เนื่องจากลักษระพระพักตร์ของเทวรูปแตกต่างไปจากพระพุทธรูปทวารวดี จึงแยกศิลปะแบบ เทวรูปรุ่นเก่าออกต่างหากจากศิลปะทวารวดี

103. อาณาจักรโถโลโปตี้ อยู่ทางทิศตะวันตกของ………………และทิศตะวันออกของ……….
1. เจนละ, จัมปา

2. นามเวียต, ศรีวิชัย

3. อิศานปุระ, ศรีเกษตร

4. ศรีจนาศะ, ฟูนัน

ตอบ 3 หน้า 684 ตามบันทึกการเดินทางของหลวงจีนเหี้ยนจัง (Hiun Tsang) หรือพระถังชำจั๋งซึ่งได้เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียในปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ได้กล่าวถึงอาณาจักรชื่อโถโลโปตี้ (To-lo-po-ti) ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของอิศานปุระ (กัมพูชาปัจจุบัน) และทิศตะวันออกของศรีเกษตร (พม่าปัจจุบัน) ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าชื่อนี้ตรงกับ คำว่า “ทวารวดี” ในภาสันสกฤต

104. ข้อใดไม่ใช่แหล่งตัวอย่างศิลปกรรมแบบทวารวดีที่ชัดเจน
1. นครปฐม, ราชบุรี

2. กาฬสินธุ์, มหาสารคาม

3. สุราษฏร์ธานี, นครศรีธรรมราช

4. สุพรรณบุรี, ลพบุรี

ตอบ 3 หน้า 684 วัฒนธรรมทวารวดีเจริญขึ้นในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งจะพบศิลปกรรมแบบทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไป โดยบริเวณตอนกลางของประเทศพบมากที่นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี และลพบุรี ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากที่เมืองฟ้า-แดดสูงยางในจังหวัดกาฬสินธุ์ มหาสารคาม และนครราชสีมา นอกจากนี้ยังพบบ้างในภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช แต่ศิลปะกรรมที่พบจะมีไม่มากนัก

105. ตัวอย่างแหล่งนับถือพุทธศาสนามหายานของศิลปะแบบทวารวดี คือข้อใด
1. ถ้ำถมอรัตน์ เมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์

2. งานปูนปั้นประดับสถูป เมืองคูบัว ราชบุรี

3. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เมืองสิงห์ กาญจนบุรี

4. ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 685 การพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์ในเขตวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ที่ถ้ำถมอรัตน์เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และงานปูนปั้นประดับสถูปที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี แสดงว่าบริเวณดังกล่าวเคยมีการนับถือศาสนาพุทธมหายาน เนื่องจากพุทธศาสนามหายานนับถือพระโพธิสัตว์ว่ามีความสำคัญเทียบเท่าพระ พุทธเจ้า

106. ศิลปกรรมศรีวิชัยสร้างขึ้นเพราะนับถือพุทธศาสนามหายาน อะไรเป็นสิ่งยืนยันในเรื่องนี้
1. พระโพธิสัตวือวโลกิเตศวร

2. พระวิษณุสวมหมวกแขกทรงกระบอก

3. สถาปัตยกรรมทรงปราสาท

4. จิตรกรรมเรื่องราวของพระศรีอาริยเมตไตรย

ตอบ 1 หน้า 685, 694-695 ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งศิลปกรรมศรีวิชัยที่ทำขึ้นส่วนใหญ่จะเนื่องมาแต่พุทธศาสนามหายานทั้ง สิ้นโดยเฉพาะความนิยมสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ประจำกัลป์ปัจจุบันทั้งนี้ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโล กิเตศวรที่มีลักษณะศิลปะงดงามแต่มีเพียงครึ่งองค์ คือ พระอวโลกิเตศวรสำริด พบที่หน้าวัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

107. ความนิยมเป็นพิเศษของพระพุทธรูปแบบลพบุรี คือข้อใด
1. พระพุทธรูปปางไสยาสน์

2. พระพุทธรูปปางนาคปรก

3. พระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์

4. พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา

ตอบ 2 หน้า 700-701, (คำบรรยาย) ประติมากรรมสมัยลพบุรีที่มีความนิยมเป็นพิเศษ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก (มีนาคประกอบ หรือมีขนาดนาคสอบลงเบื้องล่าง) ประทับนั่งปางสมาธิขัดสมาธิราบ ซึ่งมักจะสลักด้วยศิลาทราย ส่วนแบบที่หล่อด้วยสำริดมักจะเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กโดยมีลักษณะเฉพาะ คือ มักสร้างเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว หรือหลายองค์อยู่เหนือฐานเดียวกัน

108. ข้อใดไม่ใช่สถาปัตยกรรมแบบลพบุรี
1. พระปรางค์วัดพระพายหลวง
2. พระปรางค์วัดราชบูรณะ

3. ศาลตาผาแดง

4. ปราสาทวัดเจ้าจันทร์

ตอบ 2 หน้า 699-700, 723, (คำบรรยาย) อิทธิพลของศิลปะลพบุรีไม่ได้พบแต่ในเขตเมืองละโว้ (ลพบุรี) เท่านั้น แต่กลับพบในบริเวณเมืองต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เช่น พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี, ปราสาทแบบขอมที่วัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรี,กำแพงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและซุ้มพระพุทธรูป จ.ราชบุรี, ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี, พระปรางค์วัดพระพายหลวงศาลตาผาแดง ต.เมืองเก่า อ.เมือง และปราสาทวัดเจ้าจันทร์ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ฯลฯ (ส่วนพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.อยุธยา เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น)

109. ข้อใดคือตัวอย่างศิลปกรรมแบบลพบุรี
1. พระหริหระ
2. พระตรีกาย

3. พระรัตนตรัยมหายาน

4. ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 701 พระพิมพ์ในสมัยลพบุรี มีทั้งที่ทำด้วยดินเผาและโลหะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ลงมา โดยมักมีรูปพระปรางค์เข้ามาประกอบเสมอ บางครั้งทำเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งในปรางค์ทั้งสามองค์ อันอาจหมายถึง พระตรีกายในศาสนาพุทธมหายาน หรือเป็นแบบพระรัตนตรัยมหายาน คือ ทำเป็นพระพุทธเจ้าอยู่กลาง มีนาคปรก และมีพระอวโลกิเตศวร อยุ่เบื้องขวา มีนางปัญญาบารมีอยู่เบื้องซ้าย

110. ลักษณะของศิลปะแบบหริภุญชัย
1. นิยมพระพุทธรูปสลักจากศิลาทราย

2. มีลักษณะร่วมกับพระพุทธรูปแบบสิงห์ 2

3. ศูนย์กลางอยู่เมืองเชียงแสน

4. สะท้อนการผสมผสานระหว่างขอมกับสุโขทัย

ตอบ 1 หน้า 703-705 ลักษณะของศิลปะแบบหริภุญชัยมีดังนี้
1. มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหริภุญชัย หรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน
2. มีความเกี่ยวข้องกับศิลปกรรมทวารวดี ศิลปกรรมขอมในประเทศไทย และศิลปกรรมพุมกาม
3. นิยม พระพุทธรูปที่สลักจากหินทราบหรือศิลาทราย งานปูนปั้นที่มีแกนโกลนด้วยศิลาแลงและงานดินเผาที่ทำจากแม่พิมพ์ ส่วนงานหล่อสำริดที่พบมีอยู่น้อยมาก
4. พระพุทธรูปมีลักษณะเป็นแบบเฉพาะของตน คือ แสดงลักษณะพื้นเมืองอย่างเด่นชัดฯลฯ

111. พุทธลักษณะของพระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ คือข้อใด
1. พระพักตร์กลม
2. พระรัศมีเป็นเปลว
3. ปางปฐมเทศนา
4. สลักจากมรกต

ตอบ 1 หน้า 716, (คำบรรยาย) พระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ที่วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เป็นตัวอย่างพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรกหรือเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของแบบเชียงแสนอย่างแท้จริง คือ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระรัศมีเป็นรูปบัวตูมหรือลูกกลม พระวรกายอวบอ้วนประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ชายสังฆฏิสั้นเหนือพระถัน

112. ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เขียนจิตรกรรมสำคัญเรื่องอะไร
1. เรื่องปลาบู่ทอง

2. เรื่องหงส์ทอง

3. เรื่องสังข์ทอง

4. เรื่องพรหมจักร

ตอบ 3 หน้า 717, (คำบรรยาย) จิตรกรรมสมัยล้านนาที่ยังหลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่เป็นงานที่อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เช่น จิตรกรรมในวิหารลายคำที่วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เขียนภาพเรื่องสุวรรณหงส์ที่ผนังด้านขวาของพระประธาน ส่วนผนังด้านซ้ายของพระประธานเขียนภาพเรื่องสังข์ทอง ซึ่งสามารถสังเกตลักษณะท้องถิ่นได้ชัดเจน

113. ข้อใดแตกต่างไปจากข้ออื่น
1. พระธาตุดอยสุเทพ
2. พระธาตุลำปางหลวง

3. พระตุหริภุญชัย

4. พระธาตุพนม

ตอบ 4 หน้า 710, 715-716, (คำบรรยาย) สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสนหรือล้านนาไทย (มักเรียกว่าพระธาตุ) ส่วนใหญ่จะนิยมสร้างตามแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมสุโขทัย คือ เป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงกลมแบบลังกา แต่มีฐานสูงย่อมุม มีปล้องไฉน และต้องปิดทองทั้งองค์พระธาตุจึงมักพบเห็นเจดีย์แบบนี้อยู่หลายแห่งทางภาค เหนือของไทย เช่น พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่, พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง, พระธาตุหริภุยชัย จ.ลำพูน ฯลฯ (ส่วนพระธาตุพนม จ.นครพนม อาจอยู่ในสมัยเดียวกับศิลปะทวารวดี)

114. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบเฉพาะของเจดีย์แบบสุโขทัย
1. เจดีย์ทรงปราสาทยอด
2. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม

3. เจดีย์ทรงระฆังฐานสูง

4. ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 3 หน้า 710, (คำบรรยาย) เจดีย์ประธานในสมัยสุโขทัยมีรูปแบบเฉพาะอยู่ 3 แบบ คือ
1. เจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆัง หรือทรงปราสาทห้ายอด
2. เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย
3. เจดีย์ทรงระฆัง หรือทรงกลมแบบลังกา

115. พระปรานในวัดพนัญเชิง คือ พระพุทธรัตนไตรนายก มีลักษณะแบบใด
1. อู่ทองรุ่น 1

2. อุ่ทองรุ่น 2

3. อู่ทองรุ่น 3

4. อยุธยาแบบทรงเครื่อง

ตอบ 2 หน้า 590, 720, (คำบรรยาย) พระเจ้าพนัญเชิง (หลวงพ่อโต) หรือ พระพุทธรัตนไตรนายกเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ประดิษบานเป็นพระประธานอยู่ภายในวิหารวัดพนัญเชิง จ.อยุธยาซึ่งตามหลักฐานปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1867 ก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยา 25 ปี โดยลักษระของพระพุทธรูปจะเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทองรุ่น 2 ที่มีอิทธิพลของศิลปะขอมหรือลพบุรีมากยิ่งขึ้น

116. วัดใดไม่มีเจดีย์ทรงปรางค์
1. วัดพุทไธสวรรย์

2. วัดมหาธาตุ

3. วัดใหญ่ไชยมงคล

4. วัดพระราม

ตอบ 3 หน้า 723 ในสมัยอยุธยาตอนต้นจะนิยมสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ หรือเรียกสั้นๆ ว่าปรางค์โดยพระสถูปอันเป็นประธานของพระอารามมักสร้างเป็นปรางค์อย่างแบบ ลพบุรีหรือแบบอู่ทองมากกว่าแบบสุโขทัย เช่น พระปรางค์ที่วัดพุทธไธสวรรย์ พระปรางค์วัดพระราม พระปรางค์วัดมหาธาตุ และพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.อยุธยา

117. ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง คือแหล่งใด
1. วัดไชยวัฒนาราม

2. วัดพระศรีสรรเพชญ

3. วัดหน้าพระเมรุ

4. วัดธรรมิกราช

ตอบ 2 หน้า 724 ในสมัยอยุธยาตอนกลาง เจดีย์ที่เป็นหลักของพระอารามมักจะสร้างเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา หรือที่เรียกกันว่าเจดีย์ทรงระฆังตามแบบของสุโขทัย เช่น พระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งสร้างใน พ.ศ. 2035 ตรงกับรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2

118. เครื่องประดับตกแต่งสาสนาสถานสมัยรัตนโกสินทร์ คืออะไร
1. ตุ๊กตาหินแบบจีน

2. สัตว์หิมพานต์

3. พญายักษ์ในรามเกียรติ์

4. ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำ บรรยาย) ประติมากรรมที่ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งศาสนสถานในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่รูปจำหลักหินหรือตุ๊กตาหินแบบจีน ซึ่งใช้ประดับในบริเวณวัดที่สร้างหรือบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ก็ยังมีพวกสัตว์หิมพานต์ในวรรณคดี เช่น ครุฑ กินรี พญายักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์ ฯลฯ

119. พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สะท้อนคติใด
1. วัดกลางราชธานี

2. การจำลองจักรวาล

3. เทวโลกชั้นฟ้า

4. เขตแดนท้าวจตุโลกบาล

ตอบ 2 หน้า 730, (คำบรรยาย) พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ถือเป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์ทรงปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์ และเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองจักรวาลหรือแสดงคติจักร วาลศึกาเรื่องเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลที่เทียบได้กับพระมหาธาตุจุฬามณี เจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

120. พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ คือข้อใด
1. พระศรีศากยมุนี

2. พระตรีโลกเชษฐ์

3. พระพุทธชินสีห์

4. พระศรีศาสดา

ตอบ 2 หน้า 599, (คำบรรยาย) พระตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยรัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเป็นปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง 10 ศอก 8 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม (นอกจากพระตรีโลกเชษฐ์แล้ว วัดสุทัศน์ฯ ยังมีพระปรานประดิษฐานอยู่อีก 2 องค์ คือ พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวง และพระพุทธเสฎฐมุนีในศาลาการเปรียญ)

Advertisement