การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1003  อารยธรรมโลก

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ศิลาจารึกโรเซตตาที่ชองโปลิอองอ่านได้ความ ทำให้รู้เรื่องอะไร

(1)       เทคโนโลยีการทำซีเมนต์         

(2) ประมวลกฎหมาย

(3) พิธีกรรมการดองศพ          

(4) ประวัติศาสตร์ราชวงศ์

ตอบ 4 หน้า 9-10, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 18) ในปี 1822 B.C. ชองโปลิออง(Champollion) นักโบราณคดีและนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส สามารถตีความในแผ่นศิลา จารึกโรเซตตา (Rosetta Stone) ซึ่งจารึกด้วยอักษรเฮียโรกลิฟิก เดโมติก และกรีกโบราณได้สำเร็จเป็นท่านแรก จึงทำให้นักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาได้ทราบว่าอียิปต์ในสมัยราชวงศ์ถูกแบ่ง ออกเป็น 3 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยอาณาจักรเก่าหรือสมัยพีระมิด สมัยอาณาจักรกลาง และสมัย อาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

2.         ฮิคโซส อนารยชนจากปาเลสไตน์บุกอียิปต์จนได้ชัยชนะเพราะอะไร

(1)       ม้าและรถศึก  

(2) เรือไฟ        

(3) เกราะเหล็ก

(4) กองทหารแบบฟาลังก์

ตอบ 1 หน้า 9, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 55 – 56) ในสมัยอาณาจักรกลาง อียิปต์ถูกยึดครองโดย พวกฮิคโซส (Hyksos) ซึ่งเป็นอนารยชนป่าเถื่อนจากเขตปาเลสไตน์ที่เข้ามารุกรานอียิปต์ผ่าน ช่องแคบสุเอซ โดยพวกฮิคโซสรู้จักการใช้ม้าและรถศึกในการต่อสู้จึงสามารถยึดครองอียิปต์ล่าง ได้นานถึง 150 ปี ผลจากเหตุการณ์นี้ทำให้ชาวอียิปต์เกิดความรู้สึกชาตินิยม มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และรวมกำลังกันเพื่อต่อต้านศัตรู

3.         ลถาปัตยกรรมของสุเมเรียนมักสร้างด้วยวัสดุอะไร

(1) ดินเหนียว  

(2) ไม้ 

(3) อิฐ 

(4) ปูน ทราย

ตอบ 3 หน้า 17 สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของชาวสุเมเรียนมักจะสร้างด้วยอิฐ ที่เด่นคือ ซิกกูแรต(Ziggurat) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อศาสนาที่มีลักษณะคล้ายกับพีระมิด สร้างบนฐานที่ยกสูงจาก ระดับพื้นดิน ข้างบนทำเป็นวิหารของเทพเจ้า โดยมีบันไดทอดยาวขึ้นไป

4.         ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีบอกเรื่องใดของชาวอะมอไรท์ให้ได้ทราบ 

(1) มี 3 ชนชั้นในสังคม

(2) เป็นสังคมประชาธิปไตย   

(3) สามีตาย ภรรยาตกเป็นของหลวง 

(4) ไม่มีทาส

ตอบ 1 หน้า 17 – 18 ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีของชาวอะมอไรท์ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมาย ของชาวสุเมเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายที่ใช้หลักการลงโทษแบบสนองตอบ (Lex Talionis) หรือตาต่อตา ฟันต่อฟัน นอกจากนี้ยังเป็นประมวลกฎหมายที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางสังคม ของเมโสโปเตเมียว่าประกอบไปด้วย 3 ชนชั้น ดังนี้

1. ชนชั้นสูง ได้แก่ ข้าราชการ และนักรบ

2. ชนชั้นกลาง ได้แก่ พวกเสรีชน ช่างฝีมือ พ่อค้า และชาวนาชาวไร่

3. ชนชั้นต่ำ ได้แก่ พวกใช้แรงงานติดอยู่กับที่ดิน และทาส

5.         อาณานิคมของฟินิเชียนส่วนใหญ่อยู่ที่ใด

(1) อเมริกา     

(2) แอฟริกา    

(3) เมดิเตอร์เรเนียน    

(4) ยุโรป

ตอบ 3 หน้า 19 ชาวฟินิเชียนเป็นนักเดินเรือที่มีความสามารถ ทำให้ประสบความสำเร็จสูงสุดทางด้านการค้าทางเรือในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยศูนย์กลางการค้าที่สำคัญมี 2 แห่ง คือเมืองท่าคาร์เถจในแอฟริกาเหนือ และเมืองท่าคาดิซในสเปน นอกจากนี้ชาวฟินิเชียนยังเห็นความสำคัญของการแสวงหาอาณานิคม เพราะช่วยส่งเสริมให้การค้าขยายตัว โดยอาณานิคมจะเป็นทั้งตลาดสินค้าและแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ ทั้งนี้อาณานิคมของฟินิเชียนส่วนใหญ่จะอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

6.         เมื่อราวพันปีก่อนคริสตกาล กรีกดอเรียนยึดศูนย์กลางของอารยธรรมมีโนนได้ เมืองหลวงของอารยธรรมแห่งนี้อยู่ที่ใด

(1) คาบสมุทรกรีก      

(2) เกาะครีต   

(3) เอเชียไมเนอร์        

(4) คอเคซัส

ตอบ 2 หน้า 26 ดอเรียน (Dorians) เป็นชาวกรีกกลุ่มสุดท้ายที่เข้ามารุกรานบริเวณภาคกลางของ คาบสมุทรกรีกด้านตะวันออกของแหลมเพโลพอนนีซัส (Peloponnesus) และหมู่เกาะทาง ตอนใต้ของทะเลอีเจียน จนกระทั่งในปี 1,000 B.C. พวกดอเรียนสามารถยึดครองเมืองคนอร์ซัส ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมีโนน (Minoan Civilization) บนกาะครีตได้สำเร็จ

7.         อะโครโปลิสคืออะไร

(1) ตลาด        

(2) กองตำรวจการเมือง

(3) ป้อม          

(4) ย่าน

ตอบ 3 หน้า 27 – 28 การปกครองของกรีกจะมีลักษณะเป็นแบบนครรัฐ (City-State) หรือที่เรียกว่า “Polis” ซึ่งเน้นถึงการพึ่งพาตนเองและสนใจแต่กิจการภายในรัฐของตน โดยแต่ละนครรัฐ จะประกอบด้วยบริเวณป้อมที่เรียกว่า อะโครโปลิส’’ (Acropolis) ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่ประชุมและเป็นศูนย์กลางทางศาสนา

8.         นิสัยทหารและเผด็จการของกรีกสปาร์ตาเกิดจากอะไร

(1) การทำสงครามเพื่อตั้งรัฐและรักษาอำนาจ

(2) ชอบวิธีกดขี่บังคับ

(3) เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการใช้ที่ดิน      

(4) ที่ตั้งรัฐ

ตอบ 1 หน้า 29 – 30, (คำบรรยาย) นครรัฐสปารีตาเป็นชนชาวกรีกที่สืบเชื้อสายมาจากพวกดอเรียนแท้ๆ และมีรูปแบบการปกครองในระบอบเผด็จการทหาร (Military City-State) เนื่องจาก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดังนั้นจึง ให้ความสำคัญกับระบบทหารและมีความคิดที่ฝังแน่นว่าการจะรักษาอำนาจไว้ได้ตลอดไปนั้น จำเป็นต้องปกครองด้วยระเบียบวินัยที่เคร่งครัดและมีการบังคับบัญชาอย่างเข้มงวด เพื่อให้สามารถ รักษาอำนาจสูงสุดของชนชั้นปกครองและบีบบังคับพวกทาสหรือเชยศึกให้อยู่ภายใต้อำนาจได้

9.         ผลที่เกิดจากการทำสงครามเปอร์เซีย ทำให้กรีกมีกีฬาชนิดใหม่เกิดขึ้นคืออะไร

(1) มาราธอน  

(2) วิ่งผลัด      

(3) กระโดดสูง

(4) พุ่งแหลน

ตอบ 1 หน้า 35 ผลของสงครามเปอร์เซียหรือสงครามมาราธอนระหว่างกรีกเอเธนส์กับเปอร์เซียได้ทำให้เกิดวีรบุรุษชาวเอเธนส์ชื่อ เฟดิพพิดิส (Phedippedes) ซึ่งวิ่ง 2 วัน 2 คืนระหว่างเอเธนส์ กับสปาร์ตาเพื่อนำข่าวข้าศึกบุกไปแจ้งแก่สปาร์ตาเพื่อขอกำลังทหารมาช่วย และแจ้งข่าวชัยชนะของเอเธนส์จนตัวเขาล้มลงเสียชีวิต เหตุการณ์นี้ได้ทำให้เกิดการแข่งขันวิ่งมาราธอนหรือวิ่งทน ในระยะทาง 26 ไมล์ เมื่อมีการฟื้นฟูกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1896ซึ่งผลก็คือ นักวิ่งชาวกรีก ได้เป็นแชมป์คนแรก

10.       อริสโตเติลเป็นพระอาจารย์ของกษัตริย์พระองค์ใด

(1)       ดาริอุสมหาราชแห่งเปอร์เซีย  

(2) อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย

(3) เซอร์ซิสแห่งเปอร์เซีย        

(4) ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย

ตอบ 2 หน้า 37 – 38 อริลโตเติล เป็นนักปรัชญาคนสำคัญของกรีกโบราณและเป็นพระอาจารย์ของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนียโดยมีแนวคิดที่สำคัญ 3ประการ คือ ไม่เห็นด้วย กับการแปงกลุ่มชนชั้นในสังคม เห็นว่ารัฐที่ดีควรมีชนชั้นปานกลางมากกว่าคนมีและคนจน รวมทั้งเห็นว่าการปกครองที่ดีจะต้องใช้กฎหมายเป็นหลักมิใช่บุคคล เพราะกฎหมายเกิดจาก เหตุผลซึ่งเป็นผลของความคิดอย่างรอบคอบและสมดุล

11.       เรื่องใดที่ไม่ใช่การคิดค้นได้ของกรีกโบราณ

(1) อะตอม      

(2) โลกเป็นพลวัต

(3) โรคเกิดจากของเหลวในร่างกายไม่สมดุล 

(4) ละครเสียดสีทางการเมือง

ตอบ 4 หน้า 36 – 40 ความเจริญที่เกิดจากการคิดค้นได้ของกรีกโบราณ มีดังนี้

1.         เชื่อว่าโลกเป็นพลวัตที่เต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวของพลังและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

2.         เชื่อว่าโลกประกอบด้วยธาตุ 4 อย่าง คือ ดิน นํ้า ลม ไฟ

3.         เชื่อว่าสสารทุกชนิดเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอมที่เคลื่อนที่ได้

4.         เชื่อว่าโรคทุกโรคเกิดจากความไม่สมดุลของของเหลวในร่างกาย มิใช่การถูกผีสิงหรือ การกระทำของสิ่งศักดิ์สิทธิ์

5.         เกิดการละครขึ้น 2 ประเภท คือ ละครโศกนาฏกรรม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา และ ละครสุขนาฏกรรม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการล้อเลียนนักการเมือง

12.       ในการหาความรู้ของกรีกโบราณใช้วิธีการใด

(1)สังเกต        

(2)วิจารณ์       

(3) คณิตศาสตร์         

(4)ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 38, (คำบรรยาย) การศึกษาหาความรู้ของชาวกรีกโบราณจะเริ่มต้นจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ต่อมาจึงเริ่มใช้วิธีการสันนิษฐานและศึกษาโดยอาศัยหลักเหตุผล แบบคณิตศาสตร์ รวมทั้งใช้หลักวิภาษวิธี นั่นคือ การเปิดโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง

13.       อเล็กซานเดอร์มหาราชกรีฑาทัพบุกยึดครองดินแดนที่เคยเป็นจักรวรรดิของชนชาติใดมาก่อนทั้งหมด

(1) เปอร์เซีย   

(2) โรมัน         

(3) อัสซีเรียน  

(4) อียิปต์

ตอบ 1 หน้า 42, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 46) หลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระราชโอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของกรีก ในปี  336 B.C. แล้ว พระองค์ได้ทรงดำเนินการขยายอาณาเขตต่อจากพระราชบิดา โดยทำการ รบเพื่อปลดปล่อยหัวเมืองต่าง ๆ ของกรีกบนเอเชียไมเนอร์ให้พ้นจากเาารปกครองของเปอร์เซีย จากนั้นทรงยกทัพผ่านซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย แล้วเข้ายึดครองจักรวรรดิเปอร์เซีย และได้ขยายอำนาจมาจนถึงชายแดนของอินเดียบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุได้สำเร็จในปี 323 B.C.

14.       พ)กอีทรัสคันทิ้งสิ่งใดให้เป็นมรดกแก่ชาวโรมัน

(1) ประตูโค้ง  

(2) อุโมงค์       

(3) กลาดิเอเตอร์         

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 48, (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 159) ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 B.C. พวกอีทรัสคัน ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์ได้เข้ามาปกครองชาวโรมันหรือพวกละติน และได้ถ่ายทอดมรดก ทางอารยธรรมให้แก่ชาวโรมัน อันได้แก่ การก่อสร้างโดยใช้หินการก่อสร้างซุ้มประตูรูปโค้ง (Arches), อุโมงค์ (Vaults), การทำระบบชลประทวิธีการทำนายโดยการตรวจดูร่างกายสัตว์ หรือสังเกตการบินของนกวิธีการเดินทัพแบบฟาลังค์ และการต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์ (Gladiatorial Combats)

15.       ในสมัยสาธารณรัฐโรมันตอนต้น สถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในทางปฎิบัติคือข้อใด

(1) สภาซีเนท  

(2) กงสุล        

(3) ดิกเตเตอร์ 

(4) แอสเซมบลี

ตอบ 1 หน้า 49 รูปแบบการปกครองในสมัยสาธารณรัฐโรมันตอนต้นม 4 ส่วน ดังนี้

1. สภาขุนนาง หรือสภาซีเนท (Senate) เป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่มาจาก พวกแพทริเชียน สภานี้มีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ฝ่ายบริหาร และมีสิทธิที่จะอนุมัติหรือโต้แย้ง ข้อเสนอของเจ้าหน้าที่บริหารได้ทุกฝ่าย           

2. กงสุล (Consul) เป็นประมุขของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารซึ่งมี 2 คน

3. ผู้เผด็จการทางทหาร (Dictator) เป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วง สงครามเท่านั้น โดยจะอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 6 เดือน

4. สภาสามัญ (Centuriate Assembly) ทำหน้าที่ในการเลือกกงสุลและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง แต่ไม่มีสิทธิเข้ารับตำแหน่งนั้น ๆ

16.       หลังจากได้เป็นใหญ่ในคาบสมุทรอิตาลี ต่อมาโรมก็ได้เป็นมหาอำนาจในเมดิเตอร์เรเนียนภายหลังจาก ได้ชัยชนะเหนือชาติใดในสงครามปิวนิก

(1) กรีกมาซิโดเนีย      

(2) เปอร์เซีย   

(3) คาร์เถจ     

(4) เยอรมัน

ตอบ 3 หน้า 51-52 สงครามปิวนิก (264 – 146 B.C.) เป็นสงครามในาารแย่งชิงชิชิลีระหว่างโรม กับคาร์เถจซึ่งเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ ผลของสงครามในครั้งนี้ได้ทำให้โรมกลายเป็น มหาอำนาจในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในฐานะเป็นผู้ชนะแทนที่คาร์เทจนับตั้งแต่ปี 146 B.C. เป็นต้นมา หลังจากนั้นโรมยังได้ครอบครองรัฐเฮเลนิสติกทางตะวันออกและดินแดนฝั่งทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ทำให้โรมมีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น

17.       เมื่อจูเลียส ซีซาร์ ปรับปรุงปฏิทินใหม่ได้อาศัยนักดาราศาสตร์ชาติใดทำงานให้

(1) สุเมเรียน   

(2) กอล          

(3) กรีก           

(4) อินเดีย

ตอบ 3 หน้า 55 จูเลียส ซีซร์ และนักดาราศาสตร์ชาวกรีก ได้ร่วมมือกันในการปรับปรุงปฏิทินใหม่ ที่มีชื่อว่า ปฏิทินจูเลียน” (Julian Calendar) โดยกำหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน และในทุก 4 ปี ได้เพิ่มเวลาที่เหลือ 1/4 วัน เข้าในปีที่เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน อีก 1 วัน รวมทั้งยังให้ชื่อเดือนที่ 5 ของปีว่า July (เดือนกรกฎาคม) ตามชื่อของเขาคือ Julias อีกด้วย

18.       ยุคทองของวรรณกรรมโรมันอยู่ในสมัยของพระจักรพรรดิองค์ใด

(1) คาลิกูลา   

(2) เนโร          

(3) ออกัสตัส   

(4) เวสปาเทียน

ตอบ 3 หน้า 56 – 57 วรรณคดีของโรมันเจริญสูงสุดในช่วงปลายสมัยสาธารณรัฐถึงต้นสมัยจักรวรรดิ โดยเฉพาะในสมัยของจักรพรรดิออกัสตัส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองของวรรณกรรมโรมัน” (Golden Age) ในสมัยนี้จึงมีนักประพันธ์ที่เด่น ๆ หลายคน เช่น ซิเซโร ซีซาร์ เวอร์จิล ฯลฯ ซึ่งกวีจะแต่งบทนิพนธ์อย่างอิสระและมีความเชื่อมั่นไนตัวเองสูง ส่านใหญ่จะกล่าวกึงสงคราม ที่ยิ่งใหญ่ของโรมและจักรพรรดิออกัสตัส

19.       ใน ค.ศ. 380 ธีโอโดซิอุสทรงประกาศให้ศาสนาใดเป็นศาสนาทางการของจักรวรรดิโรมัน

(1) ยูดาห์        

(2) คริสต์        

(3) อิสลาม      

(4) ไม่มีประกาศ

ตอบ 2 หน้า 59 – 60204 – 205 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 หลังจากที่นโยบายการปราบปราม พวกคริสเตียนของรัฐบาลโรมันเริม่อ่อนลง ได้เกิดเหตุการณ์ที่สนับสนุนให้ศาสนาคริสต์กลับมา มีความมั่นคงและแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น ดังนี้

1. จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้ประกาศ กฤษฎีกาแห่งเมืองมิลาน (Edict of Milan) ในปี ค.ศ. 313 โดยให้เสริภาพแก่ประชาชนในการ นับถือศาสนาคริสต์ และออกกฎหมายห้ามขู่บังคับหรือปราบปรามพวกคริสเตียนอีกต่อไป

2. จักรพรรดิธีโอโดซิอุส ได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาทางการหรือศาสนาประจำชาติ โรมันในปี ค.ศ. 380

20.       เมื่อใดที่อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายและสิ้นสุดสภาพ

(1)       กองทหารลีเจียนแห่งชาติโรมันกลายเป็นกองทหารรับจ้าง

(2)       สภาซีเนทถูกลดอำนาจลง

(3)       คริสตจักรกรีกออร์ธอดอกซ์ตั้งขึ้นเป็นนิกายทางการ

(4)       โรมิวลุส ออกุลตุลุส ถูกปลดออกจากตำแหน่งจักรพรรดิ

ตอบ 4 หน้า 61173 ในปี ค.ศ. 476 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5) หลังจากที่โอดอเชอร์ หัวหน้าอนารยชน เยอรมันนิก (Germanic) หรือติวตอนิก (Teutonic) เข้ามาโจมตีกรุงโรมจนแตก และทำการถอดถอนโรมิวสุส ออกุสตุลุส จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันออกจากตำแหน่งแล้ว ได้ส่งผลทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันตกต้องล่มสลายลง ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดความเจริญ ของยุโรปยุคโบราณ และเป็นการเริ่มต้นยุโรปยุคกลางหรือยุคมืดนับตั้งแต่นั้น

21.       คำว่าอนารยชน (Barbarians) ต้นยุคกลางหมายถึงอะไร

(1) ไม่มีความเจริญถึงระดับเมืองใหญ่          

(2) เผ่าเยอรมัน

(3) พวกด้อยความเจริญที่ไม่พูดละติน           

(4) คนป่า

ตอบ 3 หน้า 173 คำว่า อนารยชน’’ (Barbarians)ในช่วงต้นยุคกลางนั้น เป็นคำที่ชาวโรมันยืมมาจาก ภาษากรีก หมายถึง คนต่างด้าว (พวกเยอรมัน) ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าพวกโรมันและพูด ภาษาละตินไม่ได้ โดยมีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณยุโรปเหนือแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทะเลเหนือ ทะเลบอลติก และกระจายลงมาบริเวณลุ่มแม่นํ้าไรน์และแม่น้ำดานูบ

22.       เทพองค์ใดของอนารยชนต้นยุคกลางที่เป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์

(1)โวเดน         

(2)ทิว  

(3)ธอร์

(4) เฟรยา

ตอบ 4 หน้า 175 พวกอนารยชนในช่วงต้นยุคกลางจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ รวมทั้งเชื่อโชคลาง และอภินิหารต่าง ๆ โดยเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดคือ เทพโวเดน (Woden) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่รู้จักกันในนามชื่อวันต่าง ๆ ของสปดาห์ เช่น เทพทิว (Tieu) เป็นเทพเจ้าแห่งสงครามเทพธอร์ (Thor) เป็นเทพเจ้าแห่งลมฟ้าอากาศเทพเฟรยา (Freya) เป็นเทพเจ้าแห่งพืชผล ความรื่นเริง และความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น

23.       โคลวิสแห่งอาณาจักรแฟรงค์ (เมโรวิงเจียน) หันมานับถือคริสต์ตามใคร

(1) จักรวรรดิโรมัน       

(2) มเหสี         

(3) โอรส         

(4) มารดา

ตอบ 2 หน้า 177 – 178 ราชวงศ์เมโรวิงเจียน มีผู้นำที่มีความสามารถมากคือ โคลวิส ซึ่งได้รวบรวม ดินแดนต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในอำนาจและก่อตั้งราชวงศ์เมโรวิงเจียนขึ้น โดยมีกรุงปารีสเป็น เมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักร โดยสิ่งที่ส่งเสริมพระราชอำนาจชองโคลวิสคือ ทรงหันมา นับถือศาสนาคริสต์ตามอย่างพระมเหสีคือ พระนางโคลทิลดา ในปี ค.ศ. 496 ทำให้พระองศ์ ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากพระสันตะปาปา พระบาทหลวง และคริสต์ศาสนิกชนใน ดินแดนยุโรป ทำให้อาณาจักรแฟรงศ์ได้รับการยอมรับมากขึ้น

24.       ใน ค.ศ. 800 ชาร์เลอมาญเสด็จไปกรุงโรมเพื่ออะไร

(1) รบกับมุสลิม          

(2) อภิเษกมเหสี         

(3) ต่อเรือ       

(4) สวมมงกุฎ

ตอบ 4 หน้า 178 – 179 ในปี ค.ศ. 800 พระเจ้าซาร์เลอมาญ กษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงค์ ได้เสด็จ ไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อรับการสวมมงกุฎจักรพรรดิจากสันตะปาปาลีโอที่ 3 ที่วิหาร เซนต์ปีเตอร์ และเข้าพิธีราชาภิเษกตามประเพณีดั้งเดิมของจักรวรรดิโรมันโบราณ ซึ่งเท่ากับ เป็นการรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่อีกครั้งทางภาคตะวันตก แต่ในครั้งนี้จะเรียกว่า จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” (The Holy Roman Empire) ด้วยเหตุที่พระเจ้าชาร์เลอมาญ ไม่โปรดที่จะประทับอยู่ที่กรุงโรม จึงได้สร้างพระราชวังและเมืองหลวงใหม่ที่เมืองเอกซ์ ลา ชาแปล (Aix-ta Chapelle) หรือเมืองอาเคน (Archen) ซึ่งเลียนแบบมาจากเมืองคอนสแตนติโนเปิล และกลายเป็นกรุงโรมใหม่ (The New Rome) อยู่ในดินแดนเยอรมนี

25.       เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สมัยชาร์เลอมาญคือเมืองใด

(1) โรม

(2) ปารีส        

(3) เอกซ์ ลา ชาแปล   

(4) คอนสแตนติโนเปิล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

26.       อะไรคือความหมายของระบบฟิวดัลยุโรปยุคกลาง

(1)       ระบบที่ครอบคลุมชีวิตทุกระดับของชนยุคกลางยุโรป

(2)       การกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปอยู่ที่ขุนนางท้องถิ่น

(3)       ระบบความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้าของพวกขุนนาง           

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 185 ระบบฟิวดัลหรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)ในยุโรปยุคกลาง หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างเจ้า (Lord) กับข้า (Vassal) ของพวกขุนนาง นอกจากนี้หากเป็น ความหมายกว้างจะหมายถึง ระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม และครอบคลุมวิถีชีวิตของบุคคลทุกระดับ ในขณะที่ความหมายแคบจะหมายถึงแต่เฉพาะ การเมืองการปกครองและกฎหมายที่เป็นการกระจายอำนาจการปกครองจากรัฐบาลกลาง ไปยังขุนนางท้องถิ่น ซึ่งเป็นระบบที่ขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจมาก

27.       ประเพณีใดที่ชาวยุคกลางรับจากชนเผ่าเยอรมัน

(1) ระบบอุปถัมภ์       

(2) ระบบพึ่งพา          

(3) ระบบเอื้อประโยชน์

(4) ระบบสวามิภักดิ์

ตอบ 4 หน้า 186 ประเพณีของระบบฟิวดัลในยุคกลางที่รับมาจากชนเผ่าเยอรมันก็คือ ระบบสวามิภักดิ์ (Comitatus) ซึ่งเป็นประเพณีที่ชายฉกรรจ์หรือนักรบต้องกระทำสัตย์ปฏิญาณว่าจะสวามิภักดิ์ และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนทั้งในยามสงบและยามสงคราม โดยเป็นความผูกพันตาม ระเบียบวินัยทหารของเยอรมัน

28.       คำพูดใดของโรลังก์ พระเอกในบทเพลงที่แสดงให้เห็นคุณธรรมของนักรบ

(1)       สิ้นชีพก็สิ้นถือ ทิฐิสิ้นสุบินหวัง

(2) ตายเสียดีกว่าได้ชื่อว่าขี้ขลาด

(3) เป็นการดีกว่าแม้จะเรียนรู้จากศัตรู           

(4) สตรีคือศัตรูต่อพรหมจรรย์

ตอบ 2 หน้า 192 – 193 ลัทธิวีรคติ (Chivalry) เป็นแนวทางประพฤติปฎิบัติและคุณธรรมของอัศวิน และขุนนางในยุคกลาง ซึ่งจะเน้นถึงคุณธรรมจองนักรบ ได้แก่ ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ และ ความจงรักภักดีต่อเจ้า โดยจะเห็นได้จากมหากาพย์เรื่อง บทเพลงของโรลังก์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งได้กล่าวถึงคำพูดของพระเอกที่อยู่ในวงล้อมของศัตรูว่า ตายเสียดีกว่าได้ชื่อว่าขี้ขลาด

29.       นักบุญปอล ชาวยิวเมืองทาร์ซัส กล่าวว่า ศาสดาเยซูเป็นพระมหาไถ่คืออย่างไร

(1) เกิดมาเพื่อชดใช้หนี้บาป   

(2) ผู้ช่วยให้คนดีรอดพ้นภัยจากคนชั่ว

(3) บุตรพระเจ้าที่เกิดมาไถ่บาปแห่งมนุษยชาติ          

(4) ชี้หนทางให้พ้นทุกข์

ตอบ 3 หน้า 203 สาวกคนสำคัญของพระเยซู คือ เซนต์ปอล (St. Paul) หรือนักบุญปอล ซึ่งเดิมชื่อว่า ซอลแห่งทาร์ซัส มีเชื้อสายยิวแต่เป็นชาวเมืองทาร์ซัส แต่เดิมนั้นเซนต์ปอลเคยเลื่อมใสลัทธิสโตอิก ที่มีความเชื่อในเรื่องเหตุผล ต่อมาเขาได้หันมานับถือศาสนาคริสต์ และพยายามเผยแผ่ไปใน เอเชียตะวันออกกลาง โดยคำสอนของเซนต์ปอลจะกล่าวถึงพระเยซูว่าทรงเป็นพระมหาไถ่ เป็นพระบุตรที่เกิดมาเพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษยชาติ และมนุษย์จะปลอดภัยก็ด้วยการยึดมั่นใน คุณธรรมของพระเจ้า

30.       ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 คริสต์ศาสนามีนิกายใหม่ตั้งขึ้นทางตะวันออกคือข้อใด

(1) กรีกออร์ธอดอกซ์  

(2)โรมันคาทอลิก        

(3) ลูเธอรัน     

(4) เพรสไบทีเรียน

ตอบ 1 หน้า 205 ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ศาสนาคริสต์ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ

1.         นิกายโรมันคาทอลิก (ภาคตะวันตก) มีประมุขสูงสุดคือ สันตะปาปา (Pope) มีศูนย์กลาง อยู่ที่กรุงโรม ใช้ภาษาละติน และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันตกและอิตาลี

2.         นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (ภาคตะวันออก) มีประมุขสูงสุดคือ แพทริอาร์ค (Patriarch)มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ใช้ภาษากรีก และเจริญแพร่หลายในยุโรปตะวันออก และรัสเซีย

31.       นักบวชยุคกลางสอนอะไรให้ประชาชน

(1) พอใจในสภาพความเป็นอยู่ของตน          

(2) ทุกคนเสมอกันในสายตาพระเจ้า

(3) หากทำความดีจะได้ไปสวรรค์อย่างแน่นอน          

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 207 พระหรือนักบวชในยุคกลางจะสอนให้ประชาชนพอใจในสภาพความเป็นอยู่ของตน โดยชี้แจงว่า เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่กำหนดไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย คนฉลาดหรือคนโง่ คนมีอำนาจหรือข้าทาสบริวาร ทุกคนล้วนแต่มีความเสมอภาคกันในสายตา ของพระเจ้า ถ้าทำความดีก็จะเข้าถึงพระเจ้าและได้ไปสวรรค์ทุกคน

32.       ผู้ออกรบในสงครามครูเสดมีเครื่องหมายอะไรติดไว้ที่ไหล่

(1) ดาว           

(2) กางเขน     

(3) ดาบและกางเขน   

(4) นกพิราบ

ตอบ 2 หน้า 208 สงครามครูเสด เป็นสงครามศาสนาระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมเพื่อแย่งชิง ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาคือ เยรูซาเล็มและปาเลสไตน์ สงครามในครั้งนี้ทำให้ชาวยุโรป มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวภันที่จะเดินทางไปสู้รบเพื่อศาสนา โดยผู้ไปรบจะมีเครื่องหมายกางเขนติดไว้ที่ไหล่เพื่อแสดงว่าเป็นทหารของพระคริสต์ จนเป็นที่มาของคำว่า ครูเสด” (Crusade) ซึ่งแปลว่า ไม้กางเขน ดังนั้นพวกคริสเตียนที่ไปรบในสงครามครั้งนี้จึงถูกเรียกว่า พวกครูเสด” (Crusader)

33.       จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก ผู้โปรดให้จัดทำประมวลกฎหมายแพ่งขึ้นใน ค.ศ. 529 คือใคร

(1) จัสติเนียน 

(2) ลีโอที่ 3     

(3) ธีโอโดซิอุส

(4) เฮราคลิอุส

ตอบ 1 หน้า 224 – 225 ในปี ค.ศ. 529 จักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออกโปรดให้ จัดทำประมวลกฎหมายจัสติเนียน (The Justinian Code) ขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายแพ่งที่เขียนด้วยภาษากรีก และให้ความสำคัญในเรื่องมนุษยธรรม สามัญสำนึกเรื่อง สาธารณประโยชน์ การป้องกันและคุ้มครองทรัพย์สินส่วนตัว การรักษาไว้ซึ่งอภิสิทธิ์ชน รวมทั้ง มีแนวโน้มสนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้นับว่าทันสมัยมากในเวลานั้น และต่อมาก็ได้กลายเป็นแม่บทของกฎหมายต่าง ๆ เกือบทุกประเทศในยุโรป ยกเว้นอังกฤษ

34.       จักรพรรดิองค์ใดที่สร้างวิหารซานด้า โซเฟีย

(1) จัสติเนียน 

(2) ลีโอที่ 3     

(3) ธิโอโดซิอุส

(4) เฮราคลิอุส

ตอบ 1 หน้า 225 – 226 วิหารซานด้า โซเฟีย (Santa Sophia Church) ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน และถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลกที่มีการ ผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมของตะวันออกกับตะวันตกเข้าด้วยกันเป็นอย่างดี นั่นคือ จะมีการตกแต่งอาคารภายนอกด้วยศิลปะแบบกรีก ส่วนภายในอาคารจะมีการประดับประดา ด้วยหินอ่อนและแก้วโมเสกที่มีสีสันสวยงามตามแบบศิลปะตะวันออก

35.       ดนตรีของจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่ใช้เครื่องออร์แกนเงิน และมีนักร้องเป็นหมู่เด็กชาย แพร่หลายไปยัง ประเทศใดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11

(1) สหรัฐฯ      

(2) เยอรมนี     

(3) อังกฤษ     

(4) รัสเซีย

ตอบ 4 หน้า 227 ดนตรีของจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักเล่นด้วยเครื่องอร์แกนเงิน มีนักร้องเป็น หมู่เด็กชาย และมีเนื้อเพลงเป็นโคลงกลอนแบบซีเรีย ส่วนทำนองร้องได้รับอิทธิพลมาจากโรมัน ทั้งนี้ดนตรีของบิแซนทีนได้แพร่หลายไปยังรัสเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 11 และยังคงมีอิทธิพล อยู่ในปัจจุบัน

36.       เมีองใดเป็นที่กำเนิดแห่งศาสดาของศาสนาอิสลาม

(1) แบกแดด   

(2) ดามัสกัส   

(3) เยรูซาเล็ม 

(4) เมกกะ

ตอบ 4 หน้า 235 – 236, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 64) ศาสนาอิสลามมีแหล่งกำเนิดในคาบสมุทรอาระเบียในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยมีพระมะหะหมัดซึ่งเป็นชาวอาหรับเผ่ากูเรอิช และเกิดที่เมืองเมกกะ เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามหรือเป็นศาสดาพยากรณ์ที่ได้รับโองการ มาจากพระอัลเลาะห์ ซึ่งเป็นพระเจ้าองค์เดียวของศาสนาอิสลาม และมีคัมภีร์โกหร่านหรือ คัมภีร์อัลกุรอานเป็นหลักคำสอน

37.       คัมภีร์โกหร่านเขียนด้วยภาษาใด

(1) อราเมอิค   

(2) ละติน        

(3) อาหรับ      

(4) ฟินิเซีย

ตอบ 3 หน้า 238 – 239 หลังจากที่พระมะหะหมัดสิ้นพระชนม์ กาหลิบอาบู บากร์ ได้เป็นผู้นำสำคัญ ในการรวบรวมคำสอนมาเขียนเป็นคัมภีร์เรียกว่า คัมภีร์โกหร่าน” ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของ ศาสนาอิสลามที่เขียนด้วยภาษาอารบิกหรือภาษาอาหรับ และห้ามแปลเป็นภาษาอื่น ซึ่งเป็นผลดี ทางด้านวิทยาการ เพราะเป็นการกระตุ้นให้มีการเรียนรู้ ทำให้ชาวอาหรับที่พูดภาษาอารบิกใน ท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถอ่านคัมภีร์โกหร่านได้ และทำให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางภาษา

38.       หลักปฏิบัติในการถือศีลอดของอิสลามิกชนคืออย่างไร

(1)       เดือนรอมฎอนคือตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

(2)       อดอาหารตั้งแต่ตะวันตกดินจนรุ่งแจ้ง

(3)       การถือคืลอดยกเว้นให้แก่คนป่วยและเด็กหญิง

(4)       อดกลั้นต่ออารมณ์ไม่พอใจ ไม่โกรธ ไม่พูดหยาบคาย

ตอบ 4 หน้า 240 การถือศีลอดในเทศกาลรอมฎอน (Romadan) ซึ่งตรงกับเดือน 9 ปีจันทรคตินั้น จะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวชาวมุสลิมทุกคนต้อง อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ยกเว้นเฉพาะ คนป่วยและผู้เดินทาง นอกจากนี้ยังต้องระวังความโกรธ ไม่พูดคำหยาบ และอดกลั้นต่อ อารมณ์ความรู้สึกไม่พอใจต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การทำให้เกิดวิญญาณอันบริสุทธิ์

39.       อารยธรรมอิสลามเจริญมากในสมัยใด โดยเริ่มจากการแปลวิชาต่าง ๆ ของต่างชาติเป็นภาษาอาหรับ

(1) ฮารูน อัลราชิด       

(2) กาหลิบอาลี          

(3) ราชวงศ์อุมัยหยัด  

(4) ซารุดิน

ตอบ 1 หน้า 244247 ในสมัยราชวงศ์อับบาสิตได้มีการรับแนวความคิดและความรู้มาจากต่างชาติ เช่น ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาจากกรีกโบราณและอินเดีย รวมทั้งผลงานของ อริสโตเติล ยูคลิด ปโทเลมี อาร์คิมีดีส ฯลฯ โดยในสมัยฮารูบ อัลราชิด ซึ่งเป็นผู้นำที่มี ความสามารถของราชวงศ์อับบาสิต ได้มีการแปลผลงานเหล่านี้มาเป็นภาษาอาหรับ และ ได้มีการถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้แก่นักปราชญ์ในยุโรปตะวันตก ดังนั้นจึงนับว่าเป็นสมัยที่ อารยธรรมอิสลามเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก

40.       สุเหร่าใหญ่ของอิสลามมีลักษณะอย่างไร      

(1) มีหอสูงเรียง

(2) อยู่ใต้อิทธิพลทัศนคติทางศาสนา

(3) มีทางเดินคลุมด้วยหลังคารูปโค้ง  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 249 ศิลปะมุสลิมมักได้รับอิทธิพลจากทัศนคติทางศาสนา และยืมแบบอย่างศิลปะและ วิธีการช่างส่วนใหญ่มาจากบิแซนทีนและเปอร์เซีย ซึ่งสถาปัตยกรรมอิสลามที่เด่น ๆ ได้แก่ สุเหร่าใหญ่ ซึ่งจะมีลักษณะสำคัญคือ มีรูปโดม ทางเดินมีหลังคาเป็นรูปโค้ง หอคอยสูงเรียง เหมือนสุเหร่า หอเรียวสูง และมีลักษณะเป็นโค้งรูปเกือกม้า

41.       เรอแนสซองส์ (Renaissance) แปลว่าอะไร

(1) ตื่นตัว        

(2) ปฏิเสธยุคกลาง    

(3) เกิดใหม่    

(4) มนุษยนิยม

ตอบ 3 หน้า 441443 เรอแนสซองส์ (Renaissance) หมายถึง การเกิดหม่หรือการฟื้นฟู

ศิลปะวิทยาการซึ่งเป็นวัฒนธรรมคลาสสิกหรืออารยธรรมกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ หรือเป็นสมัยที่ เชื่อมต่อยุคกลางเข้ากับยุคใหม่ โดยขบวนการเรอแนสซองส์เริมเกิดขึ้นที่ยุโรปในดินแดนอิตลี เป็นแห่งแรก เนึ่องจากอิตาลีเป็นคูนย์กลางการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันยอก อีกทั้งพวก พ่อค้าที่มั่งคั่งก็ให้การอุปถัมภ์พวกศิลปินและนักเขียนที่สร้างงานศิลปะเป็นอย่างดี

42.       วัฒนธรรมเรอแนสซองส์เกิดขึ้นที่ประเทศใดก่อน

(1) สวีเดน       

(2) ฝรั่งเศส     

(3) อังกฤษ     

(4) อิตาลี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43.       ใครแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมัน        

(1) เช็คสเปียร์

(2) อัลเบริค ลูเธอร์     

(3) สันตะปาปาเกรเกอรี่ที่ 6   

(4) มาร์ติน ลูเธอร์

ตอบ 4 หน้า 453 มาร์ติน ลูเธอร์ นักบวชชาวเยอรมัน ได้ปิดประกาศข้อคิดเห็นไว้หน้าประตูโบสถ์ 95 ข้อ ซึ่งมีใจความว่า พระดำรัสแห่งพระเจ้าไม่ได้อยู่ที่การยึดถือมั่นของวัด แต่อยู่ที่ คัมภีร์ไบเบิล” ทั้งนี้เพื่อต้องการท้าทายและต่อต้านอำนาจของคริสตจักรโรมันคาทอลิก นอกจากนี้เขายังได้แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ศาสนาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพระ และก่อตั้งวัดเยอรมันอิสระขึ้นในระหว่างที่ลี้ภัย ไปพำนักอยู่กับเจ้าชายอิเรคเตอร์ เฟรดริก แห่งแซกโซนี

44.       ใครคือกวีและนักเขียนบทละครคนสำคัญของอังกฤษสมัยเรอแนสของส์ผู้เขียนเรื่องโรมิโอกับจูเลียต

(1) วิลเลียม เช็คสเปียร์

(2) จอฟฟรีย์ ซอเซอร์  

(3) ฟรานซิส เบคอน

(4) เซอร์โทมัส มอร์

ตอบ 1 (HI 101 เลขพิมพ์ 53214 หน้า 371) วิลเลียม เช็คสเปียร์ เป็นนักเขียนวรรณกรรมผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษในสมัยเรอแนสซองส์ โดยมีผลงานเป็นบทละครทั้งหมด 38 เรื่อง มีทั้งสุขนาฏกรรม โศกนาฏกรรม และประวัติศาสตร์ ซึ่งบทละครที่มีชื่อเสียงของเช็คสเปียร์ เช่น Hamlet, Macbeth, Romeo and Juliet เป็นต้น

45.       ระบบการนำทุนไปประกอบการด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อหากำไรเรียกว่าอะไร

(1) อุตสาหกรรม         

(2) บริษัทร่วมหุ้น        

(3) ทุนนิยม

(4) ารธนาคารและสินเชื่อ

ตอบ 3 หน้า 459 – 460, (HI 101 (H) เลขพิมพ์ 49008 หน้า 88 – 89) ระบบทุนนิยมเป็นระบบ เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น จากความต้องการผลกำไร โดยเน้นการนำทุนไปประกอบการด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อหากำไร จึงทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อความมั่งคั่ง ส่งเสริมให้มีการแสวงหาอาณานิคม ทำให้ มีการใช้เงินตราหมุนเวียนมากขึ้น และทำให้ชนชั้นกลางกลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

46.       เมื่อโปรตุเกสส่งบาร์โธโลมิว ไดแอซ สำรวจรอบชายฝั่งแอฟริกาจนพบแหลมพยุ แหลมที่ปลายสุดทวีปนี้ จึงได้ชื่อใหม่ว่าอะไร

(1) แอตแลนติส          

(2) แหลมแห่งความหวัง

(3) แหลมไดแอซ         

(4) แอฟริกาใต้

ตอบ 2 หน้า 387469 ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกซาติแรกที่เดินทางเข้ามาสู่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำโดยบาร์โธโลมิว ไดแอซ นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ซึ่งได้ค้นพบแหลมพายุ ที่ปลายสุดของทวีปแอพ์ริกา และต่อมาได้ให้ชื่อใหม่ว่า แหลมแห่งความหวังหรือแหลมกู้ดโฮป” (Cape of Good Hope) จากนั้นไดแอซได้เดินทางอ้อมแหลมกู้ดโฮบเพื่อเข้ามาในทวีปเอเชีย ได้สำเร็จ โดยการสนับสนุนของกษัตริย์โปรตุเกสคือ เจ้าชายเฮนรี่ นาวิกราช (Henry the Navigator)

47.       วาสโก ดา กามา ออกเดินทางในนามของโปรตุเกสด้วยเรือ 4 ลำไปอินเดียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีคนนำร่องเป็นคนชาติใด

(1) อิตาลี        

(2) สเปน        

(3) จีน 

(4) อาหรับ

ตอบ 4 หน้า 387469 ในปี ค.ค. 1497 วาสโก ดา กามา นักเดินเรือชาวโปรตุเกสได้เดินทางออก จากโปรตุเกสด้วยเรือ 4 ลำ พร้อมกับคนนำร่องที่มีชื่อเสียงชาวอาหรับชื่อ อาห์หมัด อิบบ์ มาดยิด ซึ่งเป็นผู้ที่นำเรือแล่นข้ามมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงเมืองกาลิกัตบนฝั่งมะละบาร์ของอินเดีย ได้สำเร็จ จึงนับเป็นความสำเร็จครั้งแรกของโปรตุเกสในการเดินเรือมาทางโลกตะวันออก

48.       อะไรคือเหตุที่ดึงดูดใจชาวรัสเซียให้ข้ามเทือกเขาอูราลไปแดนตะวันออก (เอเชีย) ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 17

(1) สิทธิ์จับจองที่ดิน   

(2) แมวนํ้าปลา        

(3) เฟอร์

(4) การประหัตประหารทางศาสนา

ตอบ 3 หน้า 477 – 478 ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 รัสเซียได้ขยายอำนาจสู่เอเชีย โดยมีขนตัวเซเบิ้ลเป็นแรงดึงดูดใจให้รัสเซียเดินทางข้ามเทือกเขาอูราลไปยังดินแดนตะวันออก ทั้งนี้รัสเซีย ได้มุ่งสู่ดินแดนไซบีเรียและยูเครน ซึ่งไซบีเรียถือว่าเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัสเซีย นั่นคือ มีขนสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ ขนตัวเซเบิ้ล จิ้งจอกดำ กระรอก บีเวอร์ และเออร์มีน ซึ่งสามารถนำมา ทำเฟอร์หรือผ้าขนสัตว์เพื่อส่งออกจำหน่ายได้

49.       ตามคำประกาศสิทธิ (Bill of Right) ค.ศ. 1688 ได้กำหนดหลักการที่สำคัญข้อใดให้แก่การปกครองของอังกฤษ

(1) ให้อำนาจเต็มที่แก่กษัตริย์ 

(2) ลดโทษประหารชีวิต

(3) สภามีอำนาจขออนุมัติการขึ้นภาษีและงบบำรุงกองทัพ

(4) การจับกุมคุมขังขึ้นกับการยินยอมของนาย

ตอบ 3 หน้า 483 ในปี ค.ศ. 1688ได้เกิดการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยเป็นสมัยที่พระเจ้าวิลเลียมแห่งราชวงศ์โอเรนจ์ได้ขึ้นครองราชย์ และทรงยอมรับคำประกาศแห่งสิทธิ (Bill of Right) ค.ศ. 1689 ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการปกครองที่มุ่งให้อำนาจสูงสุดแก่รัฐสภา ตามหลักเสรีนิยม นั่นคือ กษัตริย์ไม่มีอำนาจยับยั้งกฎหมายที่ออกโดยสภา สภาเป็นผู้ให้การยินยอม ขึ้นภาษีและบำรุงกองทัพ และการจับกุมคุมขังต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

50.       พวกฟิโลซอฟมีคำขวัญอะไรสำหรับการปกครองซึ่งเป็นไปตามหลักที่จอห์น ล็อค และฌัง ฌาค รุสโซได้ว่าไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 18     

(1) แสงสว่างแห่งปัญญานำพาความเจริญให้สังคม

(2) สัญญาประชาคม 

(3) ขจัดสิ่งเสื่อมเสียทิ้งไป      

(4) ประชาทุกผู้รู้ประโยชน์แห่งตน

ตอบ 2 หน้า 485 คำขวัญสำหรับการปกครอง พวกฟิโลซอฟจะยึดหลัก ‘’สัญญาประชาคมซึ่งเชื่อว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของประชาชน โดยมีนักคิดที่เกียวข้อง ได้แก่

1.         จอห์น ล็อค นักคิดชาวอังกฤษได้เสนอแนวความคิดนี้เอาไว้ในหนังสือชื่อ “Essay on Civil Government”

2. ฌัง ฌาค รุสโซ นักคิดชาวฝรั่งเศส ได้เสนอแนวความคิดนี้เอาไว้ในหนังสือ ชื่อ “The Social Contract”

51.       คำขวัญที่เป็นสื่อสาระของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789คือ เสรีภาพ เสมอภาคภราดรภาพในที่นี้ ภราดรภาพ (Fraternity) แปลว่าอะไร

(1)ชัยชนะ       

(2)สมานฉันท์ 

(3)บูรณาภาพ 

(4)ความเป็นพี่น้อง

ตอบ 4 หน้า 489, (คำบรรยาย) หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศลสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1789ได้มีการประกาศหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและพลเมือง โดยสื่อออกมเป็นคำขวัญของการปฏิวัติ ที่ว่า เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ” ซึ่งสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้

1.         เสรีภาพ คือ เสรีภาพของบุคคลในด้านตาง ๆ หรือปัจเจกชนนิยม

2.         เสมอภาค คือ ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์

3.         ภราดรภาพ คือ ความเป็นพี่น้องกันตามความเชื่อของศาสนาคริสต์

52.       คาร์ล มาร์กซ ผู้เป็นบิดาแห่งลัทธิสังคมนิยมสมัยใหม่บอกว่าอย่างไรเรื่องการเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้น

(1)       ชาวนาชาวไร่ต้องมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง

(2)       รัฐบาลต้องมีมาตรการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

(3)       ให้คนรวยมีเมตตาอุปการะคนจน

(4)       ให้มีการต่อสู้ทางชนชั้น

ตอบ 4 หน้า 494, (คำบรรยาย) คาร์ล มาร์กซ์ เป็นบิดาแห่งลัทธิสังคมนิยมสมัยใหม่ ซึ่งเขาเห็นว่า หนทางเดียวที่จะเปลี่ยนสังคมได้ก็คือ ให้มีการต่อสู้ทางชนชั้น โดยในปี ค.ค. 1864 มาร์กซ์ ไต้ก่อตั้งภาคีกรรมกรระหว่างประเทศที่เรียกว่า องค์การสากลที่ 1 หรือคอมมิวนิสต์สากล” หรือ องค์การคอมมิวนิสต์สากลที่ 1” ขึ้น และได้ประกาศแนวความคิดที่ว่า กรรมกรโลก จงรวมตัวกัน” เพื่อกระตุ้นให้ชนชั้นแรงงานรวมตัวกันเป็นกองกำลังที่มีอำนาจในการต่อรอง

53.       ใครที่อธิบายว่าสัตว์ที่เกิดมีจำนวนมากกว่าที่รอดชีวิตอยู่ได้ ตัวที่แข็งแรงจึงรอดชีวิตได้ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมขาติที่คัดสรรเพื่อให้สืบสายพันธุ์

(1) ซิกมันต์ ฟรอยด์    

(2) ชาร์ลส์ ดาร์วิน

(3) อังรี ดูนังต์ 

(4) หลุยส์ ปาสเตอร์

ตอบ 2 หน้า 503 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้เสนอ ทฤษฎีการคัดเลือกของธรรมชาติ” (Natural Selection) โดยอธิบายว่า สัตว์แต่ละประเภทที่เกิดมามีจำนวนมากกว่าที่รอดชีวิตอยู่ได้ ผู้ที่เหมาะสมที่สุด หรือตัวที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะรอดชีวิตหรืออยู่รอดได้ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติที่คัดสรรแล้ว เพื่อให้สืบสายพันธุ์ต่อไป ซึ่งต่อมาทฤษฎีนี้ได้มีอิทธิพลต่อสังคมตะวันตกทั้งในด้านการเมืยง ด้านการต่างประเทศ และด้านเศรษฐกิจ

54.       สภาพของการปฎิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ที่ประเทศใดเป็นแห่งแรก

(1) ฝรั่งเศส     

(2) อิตาลี        

(3) ฮอลันดา   

(4) อังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 505 – 506 การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเต็มที่ที่อังกฤษเป็นแห่งแรก โดยมีฝรั่งเศส เป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ แต่อังกฤษก็ได้เปรียบฝรั่งเศสในหลา ๆ ด้าน ได้แก่ อังกฤษเป็น ผู้นำในการผลิตเหล็กและถ่านหิน มีเงินทุนอุดหนุน มีผู้ดำเนินธุรกิจที่ชาญฉลาด และได้เปรียบ ในด้านแรงงานมากกว่าฝรั่งเศส

55.       ประเทศใดเป็นผู้นำการใช้วิทยาศาสตร์กับอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19

(1) ฝรั่งเศส     

(2) สหรัฐฯ      

(3) อังกฤษ     

(4) เยอรมนี

ตอบ 4 หน้า 508 – 509 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เยอรมนีเป็นผู้นำโลกในการใช้วิทยาศาสตร์กับ อุตสาหกรรมโดยตรง ส่วนสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกเทคนิคการผลิตจำนวนมาก ๆ (Mass Production)

56.       ประเทศแอฟริกาใต้เคยเป็นของฮอลันดาแต่กลับต้องอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษเพราะแพ้สงครามระหว่างพวกบัวร์กับอังกฤษสงครามมีเหตุจากอะไร           

(1) เหมืองเพชร

(2) เซซิล โรดส์ ขยายอำนาจไปทางเหนือ       

(3) การค้าฝิ่น  

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 517, (คำบรรยาย) ประเทศแอฟริกาใต้จัดตั้งขึ้นโดยชาวฮอลันดา (ดัตช์) หรือพวกบัวร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1890 พวกบัวร์ได้ทำสงครามกับอังกฤษซึ่งเข้ามาบกครองดินแดนเคปโคโลนี ตรงปลายแหลมทางใต้ของแอฟริกา โดยมีสาเหตุมาจากนายเซซิล โรดส์ นายกรัฐมนตรีแห่งอาณานิคมเคปโคโลนิของอังกฤษ ได้วางแผนขยายอำนาจทางการค้าขึ้นไปทางเหนือ ด้วยการ ทำเหมืองเพชรที่คิมเบอร์ลีทางเหนือซองแม่นํ้าโอเรนจ์ อันเป็นการคุกคามการปกครองของพวกบัวร์ จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามขึ้นในที่สุด ซึ่งผลปรากฏว่าอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ และได้จัดตั้ง สหภาพแอฟริกาใต้โดยให้ขึ้นอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษในปี ค.ศ. 1909

57.       ตัวอย่างอิทธิพลทางวัฒนธรรมของชนผิวดำในสังคมอเมริกันคือข้อใด

(1) แฮมเบอร์เกอร์

(2) เรือแคนู     

(3) เพลงแจ๊ส  

(4) การเต้นแท็ป

ตอบ 3 หน้า 519 ชาวอเมริกันได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมทั้งจากชาวแอฟริกันและชาวอินเดียนโดยชาวแอฟริกันหรือชนผิวดำจะมีอิทธิพลอย่างสำคัญในวัฒนธรรมพื้นเมือง เช่น นิยายพื้นบ้าน เพลงแจ๊ส เพลงศาสนา โคลง ฯลฯ ส่วนชาวอินเดียนจะมีอิทธิพลทางด้านภาษาและ สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ทั่วไป เช่น เรือแคนู รองเท้าหิมะ รองเท้าหนังกวาง เป็นต้น

58.       ภาษาโปรตุเกสใช้ในประเทศใดในทวีปอเมริกาตอนใต้

(1) เปรู

(2) อาร์เจนตินา          

(3) เวเนซูเอลา

(4) บราซิล

ตอบ 4 หน้า 520 ดินแดนอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกาตอนใต้และประเทศในเครือจักรภพ อังกฤษ จะรับวัฒนธรรมยุโรปมาปรับใช้โดยเฉพาะภาษา เช่น การใช่ภาษาฝรั่งเศสในควีเบค ของแคนาดา การใช้ภาษาโปรตุเกสในบราซิล การใช้ภาษาสเปนในละตินอเมริกา เป็นต้น

59.       เบนิโต มุสโสลินี ผู้ก่อตั้งรัฐฟาสซิสต์ขึ้นเพราะปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจตกต่ำงอย่างมากหลังสงครามโลก ซึ่งเป็นตัวอย่างการใช้อำนาจรัฐบริษัทที่ราษฎรจงรักต่อผู้นำอย่างสูง เป็นคนชาติใด

(1) โปรตุเกส   

(2) สเปน        

(3) ชิลี 

(4) อิตาลี

ตอบ 4 หน้า 534 เบนิโต มุสโสลินี ได้ก่อตั้งรัฐฟาสซิสต์อิตาลีขึ้น เนื่องจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจตกตํ่าลงอย่างมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมุสโสลินีได้ใช้อำนาจเผด็จการในการ ปกครองประเทศ กล่าวคือ ถือนโยบายสร้างเอกภาพและพลังอำนาจโดยปราบปรามความวุ่นวาย ยุ่งยากทั้งทางการเมืองและสังคม ใช้วิธีทารุณโหดร้ายจัดการกับพวกปฏิวัติสังคม และเตรียมการ สงครามเพื่อความรุ่งเรืองของอิตาลี โดยถือว่าอิตาลีเป็นรัฐบริษัท (Corporate state) ที่ราษฎร หรือชนทุกผู้ต้องจงรักภักดีต่อผู้นำอย่างสูง

60.       ประเทศใดที่มีบทบาทในการยุติความเชื่อที่ว่าชนผิวขาวแกร่งกล้าสามารถเกินกว่าจะปราบลงได้

(1) จีน 

(2) เวียดนาม  

(3) อินเดีย      

(4) ญี่ปุ่น

ตอบ 4 หน้า 546 – 547 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศยุโรปอ่อนแอลงอย่างมาก ในขณะที่ ขบวนการกู้ชาติในประเทศอาณานิคมกลับแข็งแกร่งขึ้น จนส่งผลให้อำนาจจักรวรรดินิยมยุโรป สิ้นสุดลงในเวลาต่อมา ซึ่งจะเห็นได้จากหลาย ๆ เหตุการณ์ เช่น ญี่ปุ่นมีบทบาทในการยุติ ความเชื่อที่ว่าชนผิวขาวแกร่งกล้าสามารถเกินกว่าจะปราบลงได้ โดยขับชาวยุโรปออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อังกฤษจัดตั้งเครือจักรภพและมอบเอกราชให้อินเดียในปี ค.ศ. 1947 เป็นต้น

61.       ประเทศใดไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งซองเอเชียใต้

(1) อินเดีย      

(2) อิหร่าน      

(3) มัลดีฟส์     

(4) ปากีสถาน

ตอบ 2 หน้า 7375 เอเชียใต้ (South Asia) หรือที่สื่อมวลชนทางตะวันตกนิยมเรียกว่า อนุทวีปอินเดีย” (Indian Sub-continent) ซึ่งในอดีตนั้นเอเชียใต้มักหมายถึงประเทศอินเดีย แต่ในปัจจุบัน เอเชียใต้จะมีทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฎาน และมัลดิฟส์

62.       อารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุมีศูนย์กลางอยู่ที่ใดในปัจจุบัน         

(1) ตอนกลางของอินเดีย

(2) ศรีลังกา    

(3) ปัญจาบตะวันตก ปากีสถาน        

(4) รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย

ตอบ 3 หน้า 7581 อารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุเกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุหรืออินดัส บริเวณแคว้นปัญจาบตะวันตกในประเทศปากีสถานปัจจุบัน โดยเชื่อกันว่ามีอายุประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าเป็นอารยธรรมเริ่มแรกที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้

63.       ผู้คนในอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุมีความชำนาญในด้านใดเป็นพิเศษ

(1) โหราศาสตร์          

(2) วรรณคดี   

(3) เรขาคณิต 

(4) ปรัชญา

ตอบ 3 หน้า 82 จากหลักฐานที่แสดงถึงอารยธรรมลุ่มแม่นํ้าสินธุที่ขุดค้นพบในซากเมืองโมเหนโจดาโร และเมืองฮารัปปานั้น ทำให้ทราบว่าชาวสินธุมีความสามารถทางด้านวิศวกรสำรวจและความรู้ ทางด้านเรขาคณิตเบื้องต้นเป็นอย่างดี ซึ่งที่เห็นเด่นชัดก็คือ การวางผังเมือง เช่น มีการตัดถนน มีท่อระบายนํ้า บ่อนํ้าสาธารณะ รวมทั้งอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่มีการจัดห้องนํ้าแบบยืนตักอาบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของสุขาภิบาลที่ดีและมีความเจริญสูงมากกว่าดินแดนอื่น ๆ ในยุค ก่อนประวัติศาสตร์

64.       โธตีมีความสำคัญเช่นไรในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

(1) เครื่องนุ่งห่ม          

(2) เทพเจ้า     

(3) เครื่องประดับ        

(4) มาตราตวงวัด

ตอบ 1 หน้า 83 – 86 มรดกของอารยธรรมลุ่มแมน้ำสินธุที่เหลือใว้ในอินเดียปัจจุบัน มีดังนี้

1.         มรดกทางศาสนา ได้แก่ การเคารพนับถือพระศิวะหรือเทพเจ้าแห่งหมู่สัตว์จากการบูชาศิวลึงค์การบูชาต้นไม้ใหญ่ คือ ต้นโพธิ์ และต้นไทร และการนับถือพญานาคและดวงอาทิตย์

2.         รู้จักนำผ้าฝ้ายมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ทั้งนี้ชาวสินธุจะนิยมแต่งกายด้วยผ้าฝ้าย 2 ชิ้น โดยท่อนบนจะใส่เป็นเสื้อเปิดไหลขวา ส่วนท่อนล่างจะนุ่งเป็นผ้าโจงกระเบน หรือที่ชาวอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า โธตี” (Dhoti)   

3. การเคารพนับถือวัวตัวผู้     

4. การไว้หนวดเครา

5. ประเพณีการทำศพซึ่งมี 3 วิธี คือ ฝังศพ นำศพไปทิ้งให้นกกากิน และเผาศพ ฯลฯ

65.       คนกลุ่มใดไม่จัดอยู่ในสังคมอินเดียยุคพระเวท

(1) นักรบ        

(2) สามัญชน  

(3) จัณฑาล    

(4) พระ

ตอบ 3 หน้า 9298 อินเดียในสมัยพระเวท ได้ปรากฏโครงสร้างทางสังคมแบบวรรณะขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่ นักรบหรือกษัตริย์ (ชนชั้นสูงสุด) สามัญชน และ พระ ต่อมาในสมัยอารยธรรมอินโด-อารยัน ได้มีการแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร ซึ่งคนที่อยู่ในวรรณะทั้ง 4 นี้เราเรียกว่า สวรรณะ” หมายถึง พวกที่มีวรรณะสังกัด ส่วนพวกที่ไม่มีวรรณะสังกัดเรียกว่า อวรรณะ” ซึ่งจะได้รับการดูถูกเหยียดหยาม เสมือนว่าเป็นพวกต่ำช้า เป็นตัวเสนียด เป็นอัปมงคลแก่ผู้ที่ได้พบเห็น และมีฐานะตํ่าต้อยกว่า สัตว์เดรัจฉาน เช่น พวกจัณฑาล หริชน หินชาติ ฯลฯ

66.       สมิติ” มีความสำคัญเช่นไรในประวัติศาสตร์อินเดีย           

(1) มหาราชผู้ยิ่งใหญ่

(2) พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์        

(3) องครักษ์ประจำตัวพระราชา         

(4) ที่ประชุมของราษฎรในเผ่า

ตอบ 4 หน้า 93 ลักษณะการปกครองของชาวอารยันสมัยแรกนั้นจะอยู่รวมกันเป็นเผ่า โดยมีหัวหน้าเผ่าที่เรียกว่า ราชา” หรือ ราชันย์” เป็นผู้ปกครอง ซึ่งหัวหน้าเผ่าจะปกครองโดยมีสภา (Sabha) และสมิติ (Samiti) เป็นผู้ช่วย โดยสภาจะเป็นที่ชุมนุมของผู้อาวุโสในเผ่า และสมิติจะเป็นที่ชุมนุม ของราษฎรในเผ่า ซึ่งเทียบได้กับวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน

67.       ใครคือผู้แต่งวรรณกรรมเรื่องมหาภารตะ

(1) วาลมิกิ      

(2) คานธี        

(3) เนห์รู         

(4) วยาสะ

ตอบ 4 หน้า 94, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 194) มหาภารตะ เป็นวรรณกรรมอินเดียในยุคมหากาพย์ที่ประพันธ์โดยฤๅษีวยาสะ โดยถือว่าเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก และมีตอนที่สำคัญที่สุดชื่อว่า ภควัทคีตา” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกันการทำสงครามเพื่อแย่งชิงสิทธิในการปกครองแผ่นดินระหว่างพี่น้อง 2 ตระกูล คือ เการพ (พากมิลักขะหรือทราวิฑ เป็น ตัวแทนฝ่ายอธรรม) กับปาณฑพ (พวกอารยัน เป็นตัวแทนฝ่ายธรรมะ) สงครามนี้ยุติลงโดย ฝ่ายปาณฑพเป็นผู้ชนะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม

68.       วรรณกรรมเรื่องใดเป็นวรรณกรรมร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก

(1) รามายณะ 

(2) ฤคเวท       

(3) สามเวท     

(4) มหาภารตะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69.       สามเวทเป็นคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

(1) สรรเสริญพระเจ้า  

(2) พิธีบวงสรวง         

(3) กลศาสตร์ 

(4) ไสยศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 899196 คัมภีร์พระเวทมี 3 เล่ม เรียกว่า ไตรเพท’’ หริก ไตรเวท” ซึ่งจาริกเป็น ภาษาสันสกฤต ประกอบด้วย

1.         ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพวกอารยัน การสร้างโลก รวมทั้งบทสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทพเจ้าต่าง ๆ

2.         ยชุรเวท เป็นบทแสดงพิธีบวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ และบทสวดในเวลาทำพิธีกรรม

3.         สามเวท เป็นบทแสดงกลศาสตร์หรือศิลปศาสตร์ รวมทั้งสังคีตต่าง ๆ ซึ งต่อมาคัมภีร์พระเวท ก็ได้มีอาถรรพเวทอันเป็นบทสวดคาถาเกี่ยวกับไสยศาสตร์เพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง

70.       พระพรหมทรงสร้างวรรณะแพศย์จากส่วนใดของพระองค์

(1) โอษฐ์         

(2) พระพาหา 

(3) พระโสณี   

(4) พระบาท

ตอบ 3 หน้า 98, (คำบรรยาย) ตามคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า พระพรหมได้ทรง สร้างมนุษย์เป็นชนชั้นต่างๆไว้เพื่อสันติของสังคมจากพระวรกายเองพระองค์ 4 ส่วน ดังนี้

1.         พราหมณ์ สร้างจากพระโอษฐ์ โดยถือว่าเป็นวรรณะสูงสุดที่ทำหน้าที่ทางวิชาการและ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นักบวช นักปราชญ์ ครูอาจารย์

2.         กษัตริย์ สร้างจากพระพาหา ทำหน้าที่ทางการปกครองและบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน เช่น นักรบ นักปกครอง

3.         แพศย์ สร้างจากพระโสณี (ลำตัวถึงสะโพก) ทำหน้าที่ทางด้านกสิกรรมและพาณิชยกรรม เช่น พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ

4.         ศูทร สร้างจากพระบาท ทำหน้าที่รับจ้างหรือรับใช้ เช่น ทาส กรรมกร

71.       หลังจากเหตุการถเร์ใดที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเปลี่ยนจากนโยบายรุกรานมาเป็นธรรมวิชัย

(1) การส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนา  

(2) การรบที่กาลิงคะ

(3) การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3           

(4) การขยายดินแดนทงตอนเหนือ

ตอบ 2 หน้า 114 เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงรบชนะพวกกาลิงคะในแคว้นโอริสสาแล้ว ผลปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และทรงจับไว้เป็นเชลยศึกมากกว่า 150,000 คน ดังนั้นหลังจากที่ สงครามกาลิงคะสิ้นสุดลง พระองค์จึงทรงปรับเปลี่ยนนโยบายในการบริหารใหม่ โดยเปลี่ยน จากนโยบายรุกรานมาเป็นธรรมวิชัย

72.       กวีคนใดเป็นผู้เขียนศกุนตลา

(1) รัชกาลที่ 6 

(2) วาลมิกิ      

(3) กาลิทาส   

(4) อารยภัททะ

ตอบ 3 หน้า 118 สมัยคุปตะของอินเดียเป็นสมัยที่วรรณกรรมหรือวรรณคดีสันสกฤตเจริญรุ่งเรืองมาก โดยกวีที่สำคัญในสมัยนี้คือ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น เช็คสเปียร์แห่งอินเดียโดยเป็นผู้แต่งเรื่อง ศกุนตลา” ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีชิ้นเอกของยุค เพราะได้มีผู้แปลเป็น ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน รวมทั้งภาษาไทยด้วย

73.       ข้อใดคือมรดกทางด้านคณิตศาสตร์ที่สังคมอินเดียสมัยคุปตะได้สร้างขึ้น

(1) เลขอารบิก

(2) ระบบทศนิยม       

(3) การคำนวณเส้นรอบวง     

(4) อินฟินิตี้

ตอน 2 หน้า 119 ในสมัยคุปตะของอินเดียได้มีนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากของยุคคือ อารยภัททะ ซึ่งผลงานเด่น ๆ ของเขา ได้แก่ สามารถพิสูจน์ได้ว่าโลกกลมและโคจร รอบดวงอาทิตย์ รวมทั้งเป็นผู้คิดระบบทศนิยมได้เป็นคนแรกของโก โดยถือว่าเป็นมรดก ชิ้นสำคัญของโลก ซึ่งต่อมาชาวอาหรับได้นำไปเผยแพร่ในยุโรป

74.       กษัตริย์พระองค์ใดได้ชื่อว่าเป็น จอมจักรวาล”      

(1) พระเจ้าอโศกมหาราช

(2) ราชาเจฮาน           

(3) พระเจ้าอักบาร์      

(4) พระเจ้าบาบูร์

ตอบ 3 หน้า 123 – 124 พระเจ้าอักบาร์ เป็นกษัตริย์มุสลิมราชวงศ์โมกุลของอินเดียที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และเป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่ายจนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่า มหาราช” อีกทั้ง ยังได้รับพร ะนามว่า จอมจักรวาล” เพราะเป็นที่รักของคนทุกเผ่าพันธุ์

75.       ชาวตะวันตกชาติใดเป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งหลักปักฐานในอินเดีย

(1) อังกฤษ     

(2) ฝรั่งเศส     

(3) เยอรมัน     

(4) โปรตุเกส

ตอบ 4 หน้า 129133 ชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาค้าขายในอินเดียคือ โปรตุเกส ซึ่งประสบผลสำเร็จ ทางด้านการค้าและการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกของ อินเดียนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกา โดยเฉพาะที่เมืองกัวซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า และศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกส ทั้งนี้ประชาชนผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่อาศัยอยู่ใน เมืองกัวเรียกว่า ชาวกวน” ซึ่งจะพดภาษากวน

76.       เมืองกัวมีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์อินเดีย

(1) ศูนย์กลางของโปรตุเกสในอินเดีย

(2) ศูนย์กลางในการศึกษาการแพทย์

(3) เมืองสุดท้ายที่พระเจ้าอักบาร์ทรงตีได้       

(4) เมืองแรกที่อังกฤษยึดครองได้

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 75. ประกอบ

77.       อุปราชคนสุดท้ายของอินเดียคือใคร

(1) เฮสติงส์    

(2) แคนนิ่ง      

(3) รีดดิง         

(4) เมาท์แบทเทน

ตอบ 4 หน้า 135 – 137 ในช่วงปี ค.ศ. 1858 – 1947 อังกฤษได้ส่งอุปราชซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการ ต่างพระเนตรพระกรรณมาปกครองอินเดีย ทั้งนี้อุปราชจะปฏิบัติหน้าที่แทนพระเจ้ากรุงอังกฤษ ในอาณานิคม และมีอำนาจเต็มเสมือนพระเจ้ากรุงอังกฤษทุกประการ โดยอุปราชคนแรกที่อังกฤษ ล่งมาคือ ลอร์ด แคนนิ่ง ส่วนอุปราชคนสุดท้ายคือ ลอร์ด เมาท์แบทเทน ซึ่งเป็นผู้มอบเอกราช ให้แก่อินเดียในปี ค.ศ. 1947

78.       ใครคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย

(1) เนห์รู         

(2) คานธี        

(3) จินนาห์      

(4) อาห์เหมด ข่าน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียคือ ดร.ราเชนทร์ ประสาท (Dr. Rajendra Prasad) รัฐบุรุษอาวุโสของอินเดีย ส่วนนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียคือ เยาวห์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru)

79.       ผู้ใดได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งชาติปากีสถาน

(1) เนห์รู         

(2) คานธี        

(3) จินนาห์      

(4) อาห์เหมด ข่าน

ตอบ 3 หน้า 144161 โมฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Mohammed All Jinriah) เป็นผู้นำการต่อสู้ เรียกร้องเอกราชที่สำคัญของกลุ่มสันนิบาตมุสลิม (All-India Muslim League) ในอินเดีย โดยเขาได้เรียกร้องเอกราชควบคู่ไปกับการขอตั้งประเทศใหม่ ซึ่งมีคนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ภายใต้ชื่อประเทศ ปากีสถาน” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1947 จนทำให้เขาได้รับ การยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งชาติปากีสถาน

80.       ข้ใดคือนโยบายหลักที่อังกฤษมีต่ออินเดียที่ประสบความล้มเหลวมากที่สุด

(1) กฎหมาย   

(2) สาธารณูปโภค

(3) การยกเลิกประเพณีบางประการ  

(4) การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง

ตอบ 3 หน้า 146 – 150, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 233235 – 236) มรดกทางอารยธรรม ที่อังกฤษไดให้ว้แก่อินเดียและเห็นเป็นรูปธรรมจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ด้านกฎหมายและ ระบบการศาล ด้านสาธารณูปโภค ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ด้านการศึกษาและ การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง และด้านการปกครอง ยกเว้นด้านสังคมที่อังกฤษประสบกับ ความล้มเหลว เนื่องจากกฎหมายหลายฉบับของอังกฤษที่ยกเลิกประเพณีหรือพิธีกรรมที่ เหลวไหลต่าง ๆ เช่น ประเพณีสุตตี ประเพณีฆ่าคนบูชายัญ ประเพณีฆ่าทารกเพศหญิง ฯลฯ ทำให้ชาวอินเดียไม่พอใจ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนาและวิถีชีวิตของ พวกเขา

81.       แนวคิดเรื่อง โอรสแห่งสวรรค์” เกิดขึ้นในสมัยใดของจีน

(1)โจว 

(2) ฮั่น 

(3) ถัง 

(4) แมนจู

ตอบ 1 หน้า 274 – 275 จีนในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก กษัตริย์โจวจะถือว่ตนเป็น โอรสแห่งสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิที่ได้รับคำสั่งจากเทพเจ้าเทียนหรือเทพเจ้าแห่งสวรรค์ให้มาขจัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่ประชาชน โดยมีอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อปกครองเรียกว่า อาณัติแห่งสวรรค์” และตราบเท่าที่ทรงประพฤติตนอยู่ในคุณธรรมอันดีงาม อาณัติแห่งสวรรค์จะยังคงอยู่ตลอดไป แต่หากประพฤติผิดหลักธรรม อาณัติแห่งสวรรค์ก็จะสูญสิ้นไป

82.       แนวคิดที่ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนเป็นคนดีโดยกำเนิด แต่สภาพแวดล้อมทำให้มนุษย์กลับกลาย เป็นคนไม่ดีไปได้ แนวทางแก้ไขคือ ต้องให้มนุษย์มีการศึกษา” เป็นแนวคิดของนักปราชญ์คนใด

(1) ขงจื๊อ         

(2) เล่าสือ       

(3) โมจื๊อ         

(4) เม่งจื๊อ

ตอบ 4 หน้า 276 – 277 เม่งจื๊อ ได้กล่าวว่า โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนเป็นคนดีโดยกำเนิด แต่สภาพแวดล้อมทำให้มนุษย์กลับกลายเป็นคนไม่ดีไปได้ ” ซึ่งเขาได้เสนอแนวทาง แก้ไขคือ ต้องให้มนุษย์มีการศึกษา

83.       ในสมัยราชวงศ์ฮั่นได้ให้มรดกสำคัญต่อการปกครองของจีนในเรื่องใด

(1) การตั้งระบบขันทีในราชสำนัก      

(2) ระบบการสอบไล่เพื่อเข้ารับราชการ

(3) การบริหารงานผ่านกรมต่าง ๆ      

(4) ระบบการถ่ายทอดอำนาจจากบิดาสู่บุตร

ตอบ 2 หน้า 278 – 279 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีดังนี้

1.         เป็นสมัยแรกที่ศาสนาพุทธเผยแผ่จากอินเดียเข้าสู่จีน

2.         มีระบบการสอบไล่เข้ารับราชการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ตำราของขงจื๊อเป็นแนวทาง

3.         ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ที่เด่น ๆ ได้แก่ เป็นสมัยแรกที่จีนส่งกองคาราวาน เดินทางไปค้าขายกับตะวันตก (ยุโรป) ไกลถึงอาณาจักรโรมัน (กรุงโรม) จนทำให้เกิด เส้นทางสายไหม” (Silk Route) ขึ้นมีการนำกระดาษมาพิมพ์เป็นธนบัตรแทนเงินตรา ที่ทำด้วยโลหะเป็นครั้งแรก และมีการส่งเรือไปค้าขายในทะเลจีนใต้โดยตรง ฯลฯ

84.       ข้อใดคือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในสมัยราชวงศ์ฮั่น

(1) การค้าผ่านเส้นทางสายไหม         

(2) การส่งเรือมาค้าขายในทะเลจีนใต้โดยตรง

(3) การพิมพ์ธนบัตร   

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

85.       ข้อใดคือผลงานที่สำคัญในสมัยราชวงศ์สุย

(1) การสร้างกำแพงเมืองจีน   

(2) การสร้างพระราชวังที่ปักกิ่ง

(3) การขุดคลองเชื่อมแม่น้ำ 3 สาย    

(4) การรับพุทธศาสนาเข้ามาเป็นครั้งแรก

ตอบ 3 หน้า 280 ราชวงศ์สุยเป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นมากในการปกครองประเทศจีน โดยปกครองจีน เพียง 27 ปี (ค.ค. 589 – 618) ก็เสื่อมลง ซึ่งผลงานที่สำคัญของราชวงศ์นี้ได้แก่ การขุดคลองใหญ่ (Grand Canal) จากเหนือจรดใต้เพื่อเชื่อมแม่นํ้า 3 สายเข้าด้วยกัน คือ แม่นํ้าฮวงโห แม่นํ้าแยงซี และแม่น้ำฮวย

86.       ใครคือนักคิดที่มีบทบาทต่อการเกิดลัทธิขงจื๊อใหม่

(1) หลี ลุงเมียง           

(2) ไหมเฟย    

(3) ซูสี 

(4) จิ๋นซีฮ่องเต้

ตอบ 3 หน้า 282 – 283 นักคิดคนสำคัญที่มีบทบาทต่อการเกิดลัทธิขงจื๊อใหม่คือ ซูลี โดยลัทธินี้ เชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติดีอยู่แล้ว แต่การนำเสนอออกมาเพื่อปฏิบัติจำเป็นต้อง อาศัยการศึกษา และนักปกครองควรมาจากผู้ทีมีการศึกษาดี โดยเฉพาะจากลัทธิขงจื๊อ

87.       หลิวปังกับจูหยวนจังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างไร

(1) เป็นชาวนามาก่อน

(2) เป็นพระมาก่อน

(3) เป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้าย         

(4) เป็นกษัตริย์ต่างชาติ

ตอบ 1 หน้า 278284 หลิวปังและจูหยวนจังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ก็คือ ทรงเป็นสามัญชนหรือ เป็นชาวนามาก่อน โดยหลิวปังนับเป็นชาวนาคนแรกในประวัติคาสตร์จีนที่ได้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินามว่า ฮั่นเกาสู” ส่วนจูหยวนจังก็นับเป็นชาวนาคนที่ 2 ต่อจากหลิวปัง ที่ได้ก่อตั้งราชวงศ์หมิงและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินามว่า พระเจ้าฮังวู” ขึ้นปกครองแผ่นดินจีน

88.       สมัยราชวงศ์หมิงการค้ากับต่างประเทคของจีนมีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งเพราะเหตุใด

(1) ส่งกองเรือไปถึงแอฟริกา   

(2) กษัตริย์ส่งเสริมการค้ากับญี่ปุ่น

(3) มีการศึกษาเรื่องท้องทะเลอย่างกว้างขวาง           

(4) นำเข้าแร่เงินจากญี่ปุ่น

ตอบ 1 หน้า 285 ในสมัยราชวงศ์หมิงได้ส่งเสริมให้มีการเดินทางทางทะเลมากขึ้น ส่งผลให้กองเรือ จีนในสมัยนี้มีความยิ่งใหญ่กว่าสมัยอื่นๆ จนสามารถเดินทางไปไกลถึงชายฝั่งด้านตะวันออก ของทวีปแอฟริกา อย่างไรก็ตามความเป็นเจ้าทะเลของจีนได้ยุติลงในปี ค.ศ. 1433 เพราะผู้ปกครอง ไม่สนับสนุนให้ทำการค้าขาย

89.       ชนชั้นใดที่ไม่ว่าราชวงศ์ใดปกครองจีน จะเป็นคนกลุ่มที่เป็นชนชั้นล่างที่สุดในสังคม

(1) ฮั่นเหนือ    

(2) ฮั่นตะวันออก        

(3) ฮั่นใต้        

(4) ฮั่นตะวันตก

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ชนชาติพื้นเมืองในจีนแปงออกเป็น 4 ชนชั้น ได้แก่

1.         ชนชั้นชาวมองโกลทั่วไป ถือว่าเป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมสูงสด

2.         ชนชั้นชาวเซ่อมู่ เป็นชนเผ่าต่าง ๆ ของดินแดนทางตะวันตกและพวกซีเซี่ย

3.         ชนชั้นชาวฮั่น เป็นพวกที่เคยถูกอาณาจักรจิ๋นปกครองมาก่อน เช่น ชาวฮั่นทางเหนือชาวชี่ตาน ขาวหนี่เจิน ฯลฯ

4. ชนชั้นขาวใต้ เป็นชาวฮั่นใต้แม่นํ้าแยงซีเกียงและชนชาติอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นที่มีฐานะทางสังคมตํ่าสุดในทุกราชวงศ์ที่ขึ้นปกครองจีน

90.       ข้อใดเป็นมูลเหตุของการเกิดสงครามระหว่างจีน-อังกฤษระหว่าง. ค.ศ. 1839- 1842

(1) สาวงาม    

(2)ทอง

(3)ฝิ่น 

(4)ขุนนางฝ่ายขวา

ตอบ 3 หน้า 287, (คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1699 ผู้ปกครองจีนได้อนุญาตให้ อังกฤษเข้ามาค้าขายได้ที่เมืองแคนตอน แต่ต้องปฏิบติตามระบบการค้าที่เมืองแคนตอนของรัฐบาลจีน ซึ่งเป็นกฎเกณฑที่ทำให้อังกฤษเสียเปรียบมากที่สุด ต่อมาอังกฤษจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการ นำฝิ่นเข้ามาขายในจีน ทำให้จีนต้องปราบปรามอย่างหนัก จนนำไปสู่การทำสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษขึ้นในช่วงปี ค.ค. 1839 – 1842 เรียกว่า สงครามฝิ่น” ซึ่งผลปรากฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

91.       ข้อความใดเป็นข้อความที่ถูกต้องในการบรรยายเรื่อง การปฏิรูป 100วัน

(1)       การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก

(2)       การปฏิรูปครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง

(3)       รัฐบาลอเมริกันมีบทบาทช่วยเหลือในการวางแผนปฏิรูป

(4)       การปฏิรูปล้มเหลวเพราะอังกฤษเข้าแทรกแซง

ตอบ 1 หน้า 289 กังยู่ไหว เป็นผู้นำในการปฏิรูปประเทศจีนให้ทันสมัยตามแบบตะวันตกทางภาคเหนือ โดยเขาได้นำแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาการจากตะวันตกทั้งหมดเข้ามาใช้ได้เพียง 100 วัน ซึ่งรู้จักกับในชื่อ การปฏิรูป 100 วัน” แต่โครงการปฏิรูปนี้ประสบกับความล้มเหลว ทำให้กังยู่ไหวและพรรคพวกถูกจับเนรเทศ บางส่วนก็ถูกประหารชีวิต

92.       ใครคือผู้เปลี่ยนจีนให้เข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์

(1) โจวเอินไหล           

(2) เหมาเจ๋อตุง           

(3) เติ้งเสี่ยวผิง           

(4) เจียงไคเชค

ตอบ 2 หน้า 291 – 293, (คำบรรยาย) เมื่อปัญญาชนจีนพบว่าแนวคิดแบบตะวันตกไม่สามารถ แก้ปัญหาให้แก่จีนได้อีกต่อไป พวกเขาจึงได้หันไปสู่แนวทางใหม่ นั่นคือ การแก้ไขปัญหา ด้วยแนวทางสังคมนิยม หลังจากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเริ่มถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ภายใต้การนำของปัญญานนจีน 2 ท่าน คือ เฉินตู้ซิ่ว และหลี่ต้าเจา ต่อมาเมื่อเหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศจัดตั้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นที่ปักกิ่งในปี ค.ศ. 1949 เขาจึงดำเนินการ ปฏิรูปประเทศให้เข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของลัทธิมาร์กซ์ (Marxism), เลนิน (Leninism) และเหมา (Maoism)

93.       ใครคือคนกลุ่มแรกที่อาศัยในเกาะญี่ปุ่น

(1) ชาวจีน      

(2) ชาวนารา   

(3) ชาวไอนุ     

(4) ชาวเอโดะ

ตอบ 3 หน้า 305 ชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรก ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่น และถือว่า เป็นบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นที่ยังคงมีบทบาททางสังคมอยู่บริเวณตอนเหนือของเกาะฮอกไกโด ในปัจจุบัน ซึ่งชาวไอนุจะมีลักษณะทางกายภาพหรือมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับชาวตะวันตก (ชาวยุโรป) มากที่สุด เช่น ตามร่างกายมีขนดก หน้าแบน ตาสีฟ้า ผิวขาว ผมทอง รูปร่างสูงใหญ่ เป็นต้น

94.       การปฏิรูปไทกาเป็นผลงานของใคร

(1) จิมมู เทนโน           

(2) เจ้าชายไทกา         

(3) นากะ โนะ โอเยะ  

(4) โตกูกาวา

ตอบ 3 หน้า 307 – 308310316 ในสมัยเจ้าชายนากะ โนะ โอเยะ ได้เกิดแผนการปฏิรูปไทกา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นที่เลียนแบบจีนในสมัยราซวงศ์ถัง โดยเน้นการปฏิรูป ทั้งทางด้านการปกครองและด้านเศรษฐกิจ อาทิเช่น มีการปฏิรูปรูปแบบการปกครองของรัฐบาล ส่วนกลางใหม่ โดยแบ่งกระทรวงออกเป็น 8 กระทรวงสตรีไม่มีสิทธิเป็นจักรพรรดิอีกต่อไป,มีการประกาศโอนที่ดินของนายทุนและผู้มีอิทธิพลเข้ามาเป็นของรัฐ แล้วแจกจ่ายที่ดินดังกล่าว ให้แก่ชาวนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น

95.       ชนชั้นใดคือชนชั้นที่มีฐานะต่ำที่สุดในสังคมญี่ปุ่น

(1) ชาวนา       

(2) ซามูไร       

(3) ช่างฝีมือ    

(4) พ่อค้า

ตอบ 4 หน้า 312 – 313, (คำบรรยาย) สังคมญี่ปุ่นในสมัยศักดินาแบ่งออกป็น 4 ชนชั้น (ตามแนวคิด ของลัทธิขงจื๊อที่รับมาจากจีน) ได้แก่

1. ชนชั้นปกครอง ถือว่าเป็นชนชั้นที่สูงและสำคัญที่สุด ซึ่งประกอบด้วยพวกขุนนางและนักรบหรือซามูไร

2. ชนชั้นชาวไร่ชาวนา

3. ชนชั้นช่างฝีมือ

4. ชนชั้นพ่อค้าและนักธุรกิจ เป็นชนชั้นตํ่าสุดในสมัยนี้ แต่ผลสุดท้ายก็กลายเป็นชนชั้นที่สำคัญที่สุดในสมัยปัจจุบัน

96.       ลัทธิบูชิโดคือแนวทางในการปฏิบัติตนของชนชั้นใด

(1) ชาวนา       

(2) ซามูไร       

(3) ช่างฝีมือ    

(4) พ่อค้า

ตอบ 2 หน้า 313 พวกซามูไรถือว่าเป็ชนชั้นสูงและมีความสำคัญที่สุดในสังคมญี่ปุ่นในสมัยศักดินา โดยพวกซามูไรเหล่านี้จะต้องดำเนินชีวิตตามกฎเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิถีทางของนักรบ” หรือลัทธิบูชิโด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากหลักคำสอนของลัทธิขงจื๊อ ได้แก่ ความกล้าหาญความมีระเบียบวินัย ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมโดยเฉพาะกับสตรี การเสียสละความสุขส่วนตัว การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และการมีชีวิตอย่างสำรวม และสมถะ (ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ)

97.       เทพเจ้าองค์ใดคือเทพเจ้าสูงสุดของชาวญี่ปุ่น

(1) กามิกาเซ  

(2) อะมาเตราสึ          

(3) ชินโต         

(4) โคพัน

ตอบ 2 หน้า 303315 ก่อนที่ศาสนาและลัทธิจากต่างชาติ เช่น ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อและเต๋า ฯลฯ จะเข้ามาเผยแผ่ในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นได้มีการนับถือเทพเจ้าอยู่แล้วซึ่งก็คือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ (สุริยเทวีหรือพระนางระมาเตราสึ) ซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในสมัยนั้น โดยต่อมารู้จักกันในชื่อว่า ลัทธิชินโต” หรือวิถีทางของเทพเจ้า ทั้งนี้ลัทธิชินโตรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยโตกูกาวาตอนปลาย และในสมัยเมอิจิ

98.       ใครคือปฐมกษัตริย์ของชาติเกาหลี

(1) ตันกุน       

(2) วังคอง       

(3) ยี ซองเกีย 

(4) เซจอง

ตอบ 1 หน้า 328, (คำบรรยาย) ชนเผ่าตังกัส (Tangus) ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเกาหลีในปัจจุบัน โดยตามตำนานของเกาหลี เชื่อว่า รัฐบุรุษกึ่งเทพเจ้านามว่า ตันกุน” (Tangun) เป็นปฐมกษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดชาติเกาหลี ซึ่งได้รวบรวมแคว้นต่างๆ ที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี เข้าด้วยกันและก่อตั้งเป็นชาติเกาหลีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ปี 2333 ก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 3 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันกำเนิดชาติเกาหลี

99.       ใครคือผู้รวมเกาหลีสมัยกลางให้เป็นปึกแผ่น

(1) ตันกุน       

(2) วังคอง       

(3) ยี ซองเกีย 

(4) เซจอง

ตอบ 2 หน้า 329 เกาหลีในยุคกลางสามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นได้อีกครั้งภายใต้การนำของวังคอง (Wang Kong) โดยเขาได้ตั้งราชวงศ์โคริโยขึ้นมาและมีเมืองเคซองเป็นเมืองหลวง ในสมัยนี้ ได้เกิดผลงานเด่น ๆ เช่น เกิดพระไตรปิฎกฉบับเกาหลีซึ่งนับว่าเป็นต้นฉบับตัวเขียนที่สมบูรณ์ ที่สุดในโลก มีการทำแท่นพิมพ์โลหะเคลื่อนที่ได้เป็นครั้งแรก เป็นต้น

100.    สงครามเกาหลียุติลงชั่วคราวเพราะเหตุใด

(1) การลงนามในสัญญาทางทหารที่หมู่บ้านปันมุนจอม        

(2) ผู้นำเกาหลีเหนือเสียชีวิตลงกะทันหัน

(3) สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจกับสงครามเวียดนามมากกว่า

(4) จีนเข้าช่วยเกาหลีเหนือทำสงคราม

ตอบ 1 หน้า 332 สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950 – 1953) เป็นสงครามภายในประเทศระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้โดยเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกาหลีเหนือได้ส่งกองกำลังทหารรุกข้ามเขตเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ เข้ามาในเกาหลีใต้ และยึดกรุงโซลได้ภายใน 5 วัน จนในที่สุดก็ได้มีการเซ็นลงนาม ในสนธิสัญญาทางทหารเพื่อหยุดยิงชั่วคราวขึ้นที่หมู่บ้านปันมุนจอม (Panmunjom) ในเขต ปลอดทหาร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสงครามเกาหลีที่กิน ระยะเวลานานถึง 3 ปีนับตั้งแต่นั้น

101.    ชนชาติใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นชนชาติแรกที่ติดต่อกับจีน

(1)ไทย

(2)มาเลเซีย    

(3) เวียดนาม  

(4)พม่า

ตอบ 3 หน้า 368 – 369, (HI 102 เลขพิมพ์ 52058 หน้า 274 – 275) จีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ โดยจีนได้เข้ามาปกครองบริเวณตังเกี๋ยและทางเหนือ ของอันนัมเป็นแห่งแรก และให้ชาวพื้นเมืองหรือที่ชาวจีนเรียกว่า เย่ห์” ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมา จีนก็เรียกชื่ออาณาจักรนี้ว่า นานเย่ห์หรือนามเวียด” (อาณาจักรของเวียดนามเดิม) เมือชุมชนของขาวเวียดขยายตัวมากขึ้นจนสถาปนาอาณาจักรของตนขึ้นได้ ทำให้จีนวิตกว่าจะเป็นอันตรายต่อจีน จึงส่งขุนนางจีนเข้ามาปกครอง จากนั้นได้พยายามทำให้เวียดนามสวามิภักดิ์ต่อจีน โดยการส่งเสริมให้มีการแต่งงานระหว่างชาวจีนกับชาวเวียด ให้เรียนภาษาจีน และปลูกฝังวัฒนธรรมจีน ดังนั้นเวียดนามจึงเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนโดยตรง

102.    รัฐใดคือรัฐแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ฟูนัน          

(2) เจนละ       

(3) กัมพูชา      (4) ศรีวีชัย

ตอบ 1 หน้า 361372 ตามจดหมายเหตุของจีนได้บันทึกไว้ว่า ฟูนันเป็นรัฐหรืออาณาจักรแรกที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-6 นอกจากนี้ยังถือว่า เป็นอาณาจักรแรกที่ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับจีนในสมัยราชวศ์จิ๋น มีเมืองออกแก้ว เป็นศูนย์กลางการค้าทางบกแห่งแรกบริเวณปากแม่น้ำโขง และเป็นอาณาจักรแรกที่รับเอา วัฒนธรรมอินเดียเข้ามาสร้างความเจริญให้กับตน

103.    รัฐใดคือรัฐแรกที่มีการปกครองแบบเทวราชาอย่างแท้จริง

(1) ฟูนัน          

(2) เจนละ       

(3) กัมพูชา     

(4) ศรีวิชัย

ตอบ 3 หน้า 374 พวกเขมรได้รวมตัวเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่งในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งทรง ยกทัพขึ้นมายึดครองอาณาจักรเจนละได้สำเร็จ และได้รวมเจนละบกและเจนละน้ำเข้าด้วยกัน โดยให้ชื่อใหม่ว่า อาณาจักรกัมพูชา” หลังจากนั้นพระองค์ได้ประกอบพิธิราชาภิเษก มีการบูชา ศิวลึงค์ และประกาศพระองค์เป็นเจ้าแห่งจักรวาล ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทวราชาใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง

104.    เพราะเหตุใดอาณาจักรศรีวิชัยจึงล่มสลายลง

(1) กองทัพโจฬะเข้ารุกราน     

(2) กองทัพมองโกลเข้ารุกราน

(3) กษัตริย์ไม่มีความสามารถ 

(4) เชื้อพระวงศ์ก่อการกบฏ

ตอบ 1 หน้า 379 อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายลงนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1025 เนืองจากถูกกองทัพโจฬะในอินเดียภาคใต้เข้ารุกราน แต่ยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1280 ศรีวิชัย จึงหมดอำนาจโดยสิ้นเชิงจากการรุกรานของอาณาจักรมัชฌปาหิตและอาณาจักรไทยในแหลมมลายู

105.    เพราะเหตุใดอาณาจักรพุกามจึงล่มสลายลง

(1) กองทัพโจฬะเข้ารุกราน     

(2) กองทัพมองโกลเข้ารุกราน

(3) กษัตริย์ไม่มีความสามารถ 

(4) เชื้อพระวงศ์ก่อการกบฏ

ตอบ 2 หน้า 377, (คำบรรยาย) อาณาจักรพุกามได้ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1278 เนื่องจากถูกกองทัพ มองโกลของจีนเข้ารุกราน เมื่ออาณาจักรแตกแยกจีนจึงเข้ามาปกครองระยะหนึ่ง จากนั้นชาวพม่า ภายใต้การนำของเมงคยินโยก็สามารถรวบรวมบ้านเมืองขึ้นได้ใหม่อีกครั้งในสมัยราชวงศ์ตองอู

106.    ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ชาวตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้      

(1) การค้า

(2) การศาสนา

(3) การปฏิวัติอุตสาหกรรม     

(4) สงครามโลกครั้งที่ 1

ตอบ 4 หน้า 387 – 388 แรงจูงใจที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้ามาขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มี 3 ประการ คือ

1. การค้า เนื่องจากความต้องการเครื่องเทศและทองคำโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าอาหรับ

2. ความต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และอุดมการณ์ทางการเมือง

3. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและขยายตลาดการค้า

107.    บทบาทในด้านใดที่ชาวสเปนประสบความสำเร็จสูงสุดในการเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) การค้า       

(2) การศาสนา

(3) การทหาร  

(4) การปกครอง

ตอบ 2 หน้า 390 บทบาทของชาวสเปนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการเข้ามาขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณหมู่เกาะฟิลิปปินส์ก็คือ การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ซึ่งการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์ของสเปนในฟิลิปปินส์บนจะไม่ใช้วิธีการบังค้บข่มขู่ให้คนพื้นเมืองหันมานับถือ แต่จะให้คณะมิชชันนารีออกไปเผยแผ่ศาสนาโดยชักจูงโน้มน้าวให้คนพื้นเมืองกลับใจมารับ นับถือพระเยซูคริสต์แทนภูตผีต่าง ๆเอง ซึ่งวิธีนี้ได้ทำให้ชาวพื้นเมือหันมานับถือศาสนาคริสต์ มากถึง 92% ของประชากรทั้งประเทศ

108.    เมื่ออังกฤษยึดครองพม่าได้อย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1885 ชะตากรรมของเชื้อพระวงศ์พม่าเป็นเช่นไร

(1) พระเจ้าธีบอและพระราชวงศ์ถูกอพยพไปอินเดีย

(2) กษัตริย์ยังประทับอยูที่อังวะต่อไป

(3) กษัตริย์มีอำนาจปกครองอย่างเต็มที่         

(4) พระเจ้าธีบอแอบหนีมาประทับที่กรุงเทพฯ

ตอบ 1 หน้า 395 ในปี ค.ค. 1885 เมื่ออังกฤษมีอำนาจในพม่าทั้งหมดแล้ว อังกฤษได้ประกาศผนวก พม่าตอนบนเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดียโดยยุบสถาบันกษัตริย์และสภาลุทดอว์ของพม่า แล้วเนรเทศพระเจ้าธีบอซึ่งเป็นกษัตริย์องศ์สุดท้ายของพม่าและราชินีรวมถึงพระราชวงศ์ไปอยู่ที่อินเดีย

109.    ใครคือบิดาแห่งการปฏิวัติของฟิลิปปินส์

(1) ริซาล         

(2) แมกไซไซ   

(3) มากอส      

(4) อาราโย

ตอบ 1 หน้า 405 โฮเซ่ ริซาล (Jose Rizal) เป็นผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของฟิลิปปินส์ จนได้ชื่อว่า เป็น บิดาแห่งการปฏิวัติของฟิลิปปินส์” โดยเขาได้เขียนบทความโจมตีสเปนและให้ข้อคิดเกี่ยวกับ การปฏิวัติและเรียกร้องแบบสันติวิธี ด้วยการให้รัฐบาลสเปนปฏิรูปการปกครองเพื่อให้คนพื้นเมือง มีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น ตลอดจนการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม แต่รัฐบาลสเปนก็ปฏิเสธแนวคิดนั้น

110.    ซูการ์โนใช้วิธีการใดเป็นพื้นฐานในการปกครองอินโดนีเซีย

(1) สังคมนิยม

(2) หลักปัญจศีล        

(3) ทฤษฎีโดมิโน        

(4) แนวทางศาสนาอิสลาม

ตอบ 2 หน้า 407 ซูการ์โน ผู้นำพรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย ได้ประกาศหลักปัญจศีลเพื่อเป็นพื้นฐาน ในการปกครองประเทศ ซึ่งได้แก่ หลักชาตินิยม นานาชาตินิยม การปกครองโดยทางผู้แทน ความเสมอภาคทางสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้า ซึ่งต่อมาหลักปัญจศีลนี้ได้ถูกบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียด้วย

111.    ใครคือผู้นำของขบวนการชาตินิยมของมลายู

(1) อูนุ 

(2) อูถัน          

(3) จีนเป็ง       

(4) หวอเหงเวียนยาบ

ตอบ 3 หน้า 408 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองมลายูแทนที่อังกฤษ และปฏิบัติต่อ ชาวมลายูและชาวอินเดียอยางดี แต่กลับกดขี่ชาวจีนเพราะต้องการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากชาวจีน ทำให้ชาวจีนตั้งขบวนการชาตินิยมตอต้านญี่ปุ้นขึ้น โดยมีจีนเป็ง (Chin Peng) เป็นผู้นำ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษกลับเข้ามาปกครองมลายูตามเดิม แต่กลับยกย่อง ตวนกู อับดุลย์ ราห์มาน ขึ้นเป็นผู้นำของชาวมลายูแทนจีนเป็ง ทำให้เขานำพรรคพวกเข้าป่า ไปเป็นกองโจรคอมมิวนิสต์ และปฎิบัติการต่อต้านรัฐบาลมลายูบริเรณเขตแดนไทย-มลายู

112.    ปัญหาสำคัญที่ทำให้การประกาศอิสรภาพของสมาพันธรัฐมลายูล่าช้าออกไปคือเรื่องใด

(1) แนวคิดทางการเมือง

(2) ศาสนา      

(3) ภาษา        

(4) เชื้อชาติ

ตอบ 4 หน้า 408 – 410 ปัญหาสำคัญที่ทำให้การประกาศอิสรภาพของสมาพันธรัฐมลายู (สหพันธรัฐ มลายู) ล่าช้าออกไปคือ ปัญหาเรื่องเชื้อชาติระหว่างชาวมลายูกับชาวจีน ซึ่งมีความขัดแย้งกัน ทั้งในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิทธิต่าง ๆ ในมลายูที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้สหพันธรัฐ มลายู ประกอบด้วยรัฐเปรัก สลังงอ เนกริแซมบิลัน และปาหัง ต่อมาในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1963 ได้มีการสถาปนาประเทศมาเลเซียและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สหพันธรัฐมาเลเซีย” โดยรวมเอาสิงคโปร์ ซาบาห์ และซาราวักเข้าไว้ด้วย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1965 สิงคโปร์ ได้ขอแยกตัวเองออกจากสหพันธรัฐ เนื่องจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ

113.    ขบวนการชาตินิยมที่มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องอิสรภาพของพม่าคือขบวนการใด

(1) ซายาซาน  

(2) คอมมิวนิสต์          

(3) กลุมตะขิ่น

(4) พม่าเสรี

ตอบ 3 หน้า 410 กลุ่มขบวนภารชาตินิยมที่มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องอิสรภาพของพม่าคือ กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งที่เรียกว่า กลุ่มตะขิ่น’’ (Thakin)โดยมีผู้นำที่สำคัญ 2 คน คือ อูนุ (U Nu) และอองซาน (Aung San)

114.    ขบวนการเวียดมินห์มีความสำคัญเช่นไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม

(1) ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา         

(2) ขบวนการต่อต้านทหารเวียดกง

(3) กองทัพที่ต่อต้านฝ่ายขวาในลาวและกัมพูชา        

(4) กองทัพที่สนับสนุนเวียดนามใต้

ตอบ 1 หน้า 412 – 413, (คำบรรยาย) สันนิบาตเพื่อเอกราชของเวียดนามหรือเวียดมินห์ (Viet Minh) ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามนั้น เป็นกลุ่มชาวเวียดนามรักชาติ ที่ออกมาต่อต้านและขับไล่ญี่ปุ่นออกไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2ต่อต้านฝรั่งเศสที่กลับเข้ามา มีอำนาจในเวียดนามอีกครั้งหนึ่งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อต้านสหรัฐอเมริกา ที่สนับสนุนเวียดนามใต้ไม่ให้ลงประชามติเรื่องที่จะรวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ เข้าด้วยกันภายใต้สนธิสัญญาเจนิวา จนนำไปสู่การเกิดสงครามเวียดนามในปี ค.ศ. 1963 ท้ายที่สุดก็สามารถประกาศรวม 2 เวียดนามเข้าเป็นประเทศเดียวได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1975

115.    ปัญหาใดที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวจากสมาพันธรัฐมลายู

(1) แนวคิดทางการเมือง

(2) ศาสนา      

(3) ภาษา        

(4) เชื้อชาติ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 112. ประกอบ

116.    หลังได้รับเอกราช ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาในการพัฒนาประเทศหลายด้าน ยกเว้นด้านใด

(1) แนวคิดทางการเมือง

(2) ศาสนา      

(3) ภาษา        

(4) เชื้อขาติ

ตอบ 3 หน้า 416 – 417,(คำบรรยาย) ปัญหาของฟิลิปปินส์ภายหลังได้รับเอกราชได้แก่ ปัญหาทาง เศรษฐกิจและสังคม ปัญหาทางการเมือง ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างพวกคริสเตียนกับชนกลุ่มน้อยมุสลิมบนเกาะมินดาเนา และปัญหาความหลากหลายทางเชื้อชาติ ซึ่งเป็น มูลเหตุที่นำไปสู่การแตกแยกทางการเมืองและการผสมผสานทางวัฒนธรรม

117.    ข้อตกลงที่เจนีวามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไร     

(1) ให้อิสระแก่พม่า

(2) แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ประเทศ

(3) ยุติสงครามในอินโดนเชีย  

(4) ให้เอกราชแก่บรูไน

ตอบ 2 หน้า 412 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้แทนของฝ่ายส้มพันธมิตรและเวียดมินห์ได้เข้าร่วม ประชุมที่เจนีวาและตกลงทำสนธิสัญญาเจนิวา ซึ่งการประชุมครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญต่อ ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก กล่าวคือ กำหนดให้แบ่งเวียดนาม ออกเป็น 2 ประเทศคือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ที่เส้นขนานที่ 17° และกำหนดให้มี การลงประชามติภายใน 2 ปีว่าจะรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือไม่ จนกระทั่งกลายเป็นชนวนนำไปสู่การเกิดสงครามเวียดนามในปี ค.ศ. 1963 ในที่สุด

118.    สนธิสัญญาลิงกัตจาตีมีความสำคัญต่อประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) อินโดนิเชีย

(2) ไทย           

(3) ฟิลิปปินส์  

(4) มาเลเซีย

ตอบ 1 หน้า 407 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฮอลันดาได้กลับเข้ามาขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อิกโดยยึดครองอินโดนีเซียตามเดิม และได้เจรจาสงบศึกในสนธิสัญญา ลิงกัตจาตี (Linggadjati Agreement) ตกลงให้อินโดนีเซียมีอำนาจเต็มในชวาและสุมาตรา แต่ฮอลันดาละเมิดข้อตกลงโดยยังคงรุกรานอินโดนีเซียต่อไป จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาและ สหประชาชาติได้จัดประชุมที่กรุงเฮกเพื่อหาข้อยุติ ซึ่งผลของการประชุมทำให้ฮอลันดายอม มอบเอกราชให้อินโดนีเซียอย่างสมบูรณในปี ค.ศ. 1949

119.    ยุคใดที่ได้ชื่อว่าเป็นยุคที่นองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา

(1) ยุคจารีต    

(2) ยุคอาณานิคม       

(3) สมัยนายพลลอนนอล

(4) ยุคเขมรแดง

ตอบ 4 หน้า 422 – 423 กัมพูชาในยุคเขมรแดงที่มีนายเขียว สัมพันธ์ เป็นประมุขของประเทศ และ มีนายพอลพตเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นสมัยที่มีการสังหารประชาชนชาวกัมพูชามากที่สุด เพราะนโยบายซ้ายจัดของพวกเขมรแดงที่มุ่งขจัดผู้ที่เป็นปฎิปักษ์กับตน ส่งผลให้ชาวกัมพูชา อดอยากยากจนอย่างมาก และบางส่วนก็ลี้ภัยออกนอกประเทศ ดังนั้นในยุคนี้จงได้ชื่อว่า เป็นยุคแห่งการนองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา

120.    ประเทศใดที่ได้ชื่อว่าได้รับการปกครองที่ดีที่สุดจากเมืองแม่

(1) พม่า          

(2) อินโดนีเซีย

(3) เวียดนาม  

(4) มาเลเซีย

ตอบ 4 หน้า 419 มาเลเซียเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าได้รับการปกครองที่ดีที่สุดจากเมืองแม่ เพราะอังกฤษ ได้ให้การศึกษาและฝึกการปกครองตนเอง ทำให้มาเลเซียมีประสบการณในการปกครองตนเอง ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการปกครองในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ

Advertisement