การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา HIS1002 อารยธรรมตะวันออก

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ในวิชาอารยธรรมตะวันออก ดินแดนตะวันออกกลาง” มีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม 

(2) เป็นที่ตั้งของพีระมิดและสวนลอยบานิโลน

(3) เป็นแหล่งความเจริญเริ่มแรกของโลก        

(4) เป็นแหล่งเชื่อมทวีป คือ เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา

ตอบ 3 หน้า 7 ดินแดนตะวันออกกลางหรือตะวันออกใกล้ (The Middle East หรือ Near East) คือ ดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง3 ทวีป ได้แก่ทวีปเอเชียแอฟริกาและยุโรป โดยเป็นดินแดนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ในแง่ของการเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมและ ความเจริญเริ่มแรกของโลก คือ อารยธรวมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์โบราณ รวมทั้งเป็น แหล่งกำเนิด 3 ศาสนาหลักของโลก คือ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

2.         ดินแดนตะวันออกกลาง” คือดินแดนส่วนใด          

(1) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(2) ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้    

(3) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้     

(4) แอฟริกาตะวันออกกลาง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         คำว่า “B.C.” หมายถึงอะไร

(1) พุทธศักราช            (2)       ก่อนสมัยพุทธกาล       (3)       คริสตกาล        (4) ก่อนคริสต์ศักราช

ตอบ 4 หน้า 5, (คำบรรยาย) ก่อนคริสต์ศักราช (Before Christ : B.C.) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติ เช่น 245 ปีก่อน ค.ศ. (หรือ 245 B.C.) หมายถึง 245 ปีก่อนพระเยซูประสูติ

4.         มนุษย์สมัยโบราณรู้จักการทำเกษตรกรรมในช่วงเวลาใด

(1) ยุคหินเก่า   (2)       ยุคหินใหม่       (3)       ยุคทองแดง      (4) ยุคสำริด

ตอบ 2 หน้า 6, (คำบรรยาย) ยุคหินใหม่ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรมคือ เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ แทนการเร่ร่อนและล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร อีกทั้งเริ่มมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง โดยมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยจากดินแดนตอนในเข้ามาตั้งมั่นใกล้ลุ่มแม่น้ำใหญ่ เพื่อมุ่งที่จะใช้น้ำในการทำเกษตรกรรมและดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ซึ่งจากจุดนี้เองที่ทำให้ อารยธรรมโลกโบราณค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจัง

5.         มนุษย์สมัยโบราณกลุ่มใดทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด

(1) สุเมเรียน    (2)       อียิปต์โบราณ  (3)       เปอร์เซียโบราณ          (4) ฮิบรู

ตอบ 2. หน้า 1118-20 อารยธรรมอียิปต์โบราณมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์ โดยชาวอียิปต์ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิงใหญ่ของโลกโบราณ” เนื่องจาก เป็นชนชาติที่มีความรอบรู้และแม่นยำทางด้านคณิตศาสตร์และเรขาคณิต มีทักษะและ ความชำนาญในการก่อสร้าง และกษัตริย์เก่งในการรบและการปกครอง ทำให้ชาวอียิปต์ ได้ทิ้งร่องรอยความเจริญที่เป็นรูปธรรมไว้ให้แก่โลกมากที่สุด เช่น มหาพีระมิดที่เมืองกีชา วิหารเทพเจ้าอะมอนที่คาร์นัค เป็นต้น

6.      อารยธรรมใดเก่าแก่ที่สุด

(1) อินเดียโบราณ      (2) อียิปต์โบราณ       (3)     เมใสโปเตเมีย  (4)     กรีกโบราณ

ตอบ 3 หน้า 21, 81 (เล่มเก่า) อารยธรรมเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหนึ่งในสอง อารยธรรมเริ่มแรกของโลก อารยธรรมนี้มีแหล่งกำเนิดบนดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกรีสและ ยูเฟรตีส หรีอที่เรียกว่า เมโสโปเตเมีย” ซึ่งเราสามารถเรียกดินแดนนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว” (Fertile Crescent) ปัจจุบันดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นที่ตั้งของ ประเทศอิรัก

7.      กลุ่มชนใดเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(1) สุเมเรียน  

(2) อัคคาเตียน           

(3)     อะมอไรท์         

(4)     ฮิตไตท์

ตอบ 1 หน้า 21 – 22, 82 (เล่มเก่า) สุเมเรียนเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีการ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเอเชียกลางแล้วเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ทางตอนใต้ ของเมโสโปเตเมียซึ่งเรียกว่า ซูเมอร์” เมื่อประมาณ 5000 B.C. และถือเป็นผู้วางรากฐาน อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งอารยธรรมที่เด่น ๆมี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกครอง สังคม การประกอบอาชีพ ศาสนา ศิลปะการเขียน สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์

8.      จุดมุ่งหมายของการสร้างซิกกูแรตคืออะไร

(1)    เป็นวิหารเทพเจ้า        (2) เป็นที่เก็บศพและสมบัติผู้ตาย

(3) เป็นสถานที่ศึกษากลุ่มดาวบนท้องฟ้า     (4) เป็นที่อยู่ของผู้ปกครองนครรัฐ

ตอบ 1 หน้า 23 – 24 สถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุด1ของชาวสุเมเรียนก็คือ มหาวิหารหอคอยหรือซิกกูแรต (Ziggurat) ที่ นครรัฐเออรุค ซึ่งสร้างขึ้นด้วยอิฐ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างก็เพื่อใช้เป็น วิหารเทพเจ้า ซึ่งขั้นบนสุดของซิกกูแรตจะถูกกำหนดให้เป็นที่ประทับของเทพเจ้าและเป็น ศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

9.      สิ่งใดเก่าแก่ที่สุด        

(1) ไฮโรกลิฟิก

(2)    คูนิฟอร์ม        

(3) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน           

(4) พีระมิด

ตอบ 2 หน้า 23, (คำบรรยาย) อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งเป็นศิลปะการเขียน ของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย ถือว่ามีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลก (3500 B.C.) โดย อักษรคูนิฟอร์มเป็นตัวอักษรเครื่องหมายที่มีลักษณะคล้ายรูปตัววีในภาษาอังกฤษ ซึ่งาวสุเมเรียน จะจารึกตัวอักษรคูนิฟอร์มลงบนแผ่นดินเหนียวขณะเปียก และนำไปตากแดดหรือเผาให้แห้ง เพื่อเก็บรักษา ข้อความส่วนใหญ่ที่จารึกจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและการปกครอง

10.    ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณอยู่ในช่วงเวลาใด

(1) สมัยก่อนราชวงศ์         (2) สมัยราชวงศ์ (3) สมัยอาณาจักรใหม่          (4) สมัยอาณาจักรเก่า

ตอบ 2 หน้า 9-10 อียิปต์โบราณสมัยราชวงศ์ (3100 – 940 B.C.) เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์โบราณ จัดตั้งชาติและรักษาความเป็นชาติได้ยาวนานถึง 2,160 ปี กษัตริย์ส่วนใหญ่ในสมัยนี้เป็น ชาวอียิปต์โบราณ มีทั้งหมด 21 ราชวงศ์ และถือว่าเป็น ยุคทองของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ซึ่งสมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็น 4 สมัยย่อย ได้แก่ สมัยต้นราชวงศ์ สมัยอาณาจักรเก่า สมัยอาณาจักรกลาง และสมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ

11.       ข้อใดถูก

(1)       อียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกทีเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง

(2)       โอซิริสคือเทพเจ้าสูงสุดของอียิปต์โบราณ

(3)       ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการชลประทานในสมัยอาณาจักรกลาง

(4)       โรมันคือชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์

ตอบ 1 หน้า 17 ชาวอียิปต์โบราณเป็นกลุ่มชนแรกที่มีความเชื่อในเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ วันพิพากษา และโลกหน้ามีจริง นั่นคือ เชื่อว่าผู้ที่ทำความดี เมื่อตายไปดวงวิญญาณจะคงอยู่ และจะเกิดใหม่ ในโลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยความเชื่อดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างมัมมี่ คัมภีร์มรณะหรือ คัมภีร์ผู้ตาย และสุสานหินพีระมิดซึ่งใช้เป็นที่เก็บพระศพและสมบัติของฟาโรห์

12.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ

(1)       สุเมเรียน

(2)       อียิปต์โบราณ

(3)       ฮิตไตท์

(4) กรีกโบราณ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

13.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียโมเนอร์สมัยโบราณ

(1) อัสซีเรียน   

(2)       ฮิตไตท์             

(3)       ฟินิเชียน          

(4) ออตโตมาน เติร์ก

ตอบ 2 หน้า 35 – 38 ฮิตไตท์เป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามาตั้งมั่นในพื้นที่ ทางตะวันออกของเอเชียไมเบอร์แถบคาบสมุทรอนาโตเลีย (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) โดยฮิตไตท์เป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมเอเชียไมเบอร์ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องว่า เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเอเชียไมเนอร์สมัยโบราณ” ซึ่งการรบของฮิตไตท์มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขยายดินแดน และอำนาจ แสวงหาเส้นทางการค้าและแสวงหาแร่เหล็กเพื่อนำมาทำของใช้และอาวุธ

14.       กลุ่มชนใดวางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(1) ฮิบรู

(2)       ฟินิเชียน

(3)       อราเมียน

(4) สุเมเรียน

ตอบ 2 หน้า 39 – 40 ฟินิเชียนเป็นเซมิทกลุ่มแรกที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดน ฟินีเชียบนซายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศเลบานอนในปัจจุบัน) ซึ่งฟินีเชียน ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอารยธรรมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพ่อค้าทางเรือผู้ยิ่งใหญ่ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของตะวันออกกลางสมัยโบราณ และเป็นผู้ถ่ายทอดอารยธรรม โลกตะวันออกสู่โลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

15.       ข้อใดถูก

(1)       มรดกความเจริญที่อราเมียนให้แก่โลกคือการเดินเรือค้าขายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

(2)       สุเมเรียนนำการวางรากฐานอารยธรรมในดินแดนเอเขียไมเนอร์

(3)       พยัญชนะที่ยุโรปใช้กันในปัจจุบันมีรากฐานมาจากพยัญชนะพินีเชียน

(4)       มรดกความเจริญที่ฮิบรูให้แกโลกคือด้านสถาปัตยกรรม

ตอบ 3 หน้า 40 มรดกความเจริญเด่นที่ฟินีเชียนให้ไว้แก่โลกคือ เป็นกลุ่มชนแรกที่นำการประดิษฐ์ พยัญชนะสมบูรณ์แบบ 22 ตัว ต่อมาเมื่อกรีกรับและนำพยัญชนะฟินีเชียนไปใช้ในยุโรป กรีกได้พัฒนาและเพิ่มพยัญชนะจาก 22 ตัวเป็น 26 ตัว ดังนั้นพยัญชนะะฟินิเซียนจึงเป็นรากฐาน ของพยัญชนะที่โลกตะวันตกหรือยุโรปใช้ในปัจจุบัน

16.       แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรู ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไร

(1) อิสราเอล

(2)       อิรัก

(3)       อิหร่าน

(4)       ตุรกี

ตอบ 1 หน้า 4046 ฮิบรูหรือยิวเป็นเซมิทกลุ่มที่สองที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนปาเลสไตน์บริเวณตอนใต้สุดของขายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิบรูเป็นที่ตั้งของประเทศอิสราเอล

17.       ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นขณะฮิบรูอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มชนใด

(1) เปอร์เซียโบราณ

(2)       กรีก

(3)       โรมัน

(4)       มุสลิม

ตอบ 3 หน้า 4459 – 61 ศาลนาคริสต์เนินศาสนาที่สองที่เกิดขึ้นในสังคมฮิบรูหรือยิวในดินแดน ปาเลสไตน์ (ประเทศอิสราเอลในนิจจุบัน) ขณะที่ฮิบรูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน ทั้งนี้ นักศาสนศาสตร์เรียกศาสนาคริสต์ว่า บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaism) เพราะคัมภีร์เก่าของศาสนายูดาห์เป็นคำสอนพื้นฐานซึ่งนำไปสู่การเกิดศาสนาคริสต์

18.       กลุ่มชนใดได้รับการยกย่องว่า เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ”

(1) อราเมียน

(2)       เซลจุก เติร์ก

(3)       ออตโตมาน เติร์ก

(4)       ฟินิเชียน

ตอบ 1 หน้า 46 – 47 อราเมียนเป็นกลุ่มชนที่อพยพจากเมโสโปเตเมียเข้ามาตั้งมั่นในดินแดนซีเรีย บริเวณตอนเหนือของชายฝั่งตะวันออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ประเทศซีเรียในปัจจุบัน) ทั้งนี้ อราเมียนได้รับการยกย่องว่า เป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ่ของตะวันออกกลางสมัยโบราณ” โดยเส้นทางการค้าทางบกของอราเมียน ได้แก่ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย ชายฝั่งตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และดินแดนลุ่มแม่นํ้าไนล์ มีศูนย์กลางการปกครองและการค้าขายอยู่ที่เมืองดามัสกัส และใช้ภาษาอารมิกเพื่อประโยชน์ในการค้าขายทางบก

19.       ศูนย์กลางของจักรวรรดิลิเดียนคือดินแดนใด

(1) เอเชียไมเนอร์         

(2)       เมโสโปเตเมีย  

(3)       ปาเลสไตน์       

(4) คาบสมุทรอาระเบีย

ตอบ 1 หน้า 47 – 48 ในปี 680 B.C. ชาวลิเดียนได้ร่วมกับจัดตั้งอาณาจักรลิเดียนขึ้นในดินแดน ลิเดียบริเวณทางตะวันตกตอนกลางของเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ซึ่งลิเดียน จะเก่งในการรบและการค้าขาย จึงทำให้พื้นที่ของอาณาจักรขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิลิเดียน โดยมีกรุงซาร์ดีสเป็นเมืองศูนย์กลางทั้งการปกครองและการค้าขาย

20.       ใครคือผู้นำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(1) ดาริอุสที่ 1

(2)       ไซรัสที่ 2

(3)       นาโบนิคัสที่     3

(4) โครอีซุสที่ 4

ตอบ 2 หน้า 51 ไซรัสที่ 2 เนินกษัตริย์องค์ที่ 4 ของเปอร์เซีย ซึ่งทรงเก่งในการรบและการขยายดินแดน โดยในปี 550 B.C. เมื่อไซรัสที่ 2 มีชัยชนะเหนือเมดีสแล้ว พระองค์ได้รวมมีเดียเข้ากับเปอร์เซีย และเรียกดินแดนนี้ว่า “ เปอร์เซีย ” จากนั้นทรงนำการจัดตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณขึ้น โดยกำหนดให้ซูซาเป็นเมืองหลวง

21.       ผู้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองมาจากกลุ่มชนใด

(1) ฮิตไตท์

(2)       อัสซีเรียน

(3)       ออตโตมาน เติร์ก

(4) มุสลิม

ตอบ 2 หน้า 5256 – 5759 จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณรับรูปแบบการปกครองจักรวรรดิมาจาก อิสซีเรียน โดยเริ่มรับในสมัยไซรัสที่ 2 และนำมาปรับปรุงจนรูปแบบการปกครองมีความสมบูรณ์ ในสมัยดาริอุสที่ 1 (Darius I) ซึ่งเป็นสมัยที่ถือว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ โดยหลักในการปกครองจักรวรรดิของดาริอุสที่ 1 ประการหนึ่งก็คือ เน้นกระจายการปกครอง จากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคด้วย 2วิธี คือ กำหนดภูมิภาคสำคัญและเมืองศูนย์กลางของ ภูมิภาค และการปกครองระบบเขต (The Satrapy System) ที่มุ่งการเข้าถึงประชาชนและ พื้นที่ด้วยการปฏิบัติจริง

22.    หลักการปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณคืออะไร

(1)    การเข้าถึงประชาชนและพื้นที่

(2) จักรวรรดิคือแผ่นดินและประชาชน

(3) ประชาชนคือผู้รับใช้กษัตริย์

(4) บูชาในบรรพบุรุษและสุริยเทพ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

23.    ถนนสายยุทธศาสตร์ของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณเชื่อมดินแดนเปอร์เซียกับดินแดนใด

(1) เมโสโปเตเมีย

(2) คาบสมุทรบอลข่าน

(3) คาบสมุทรอนาโตเลีย

(4) ปาเลสไตน์

ตอบ 3 หน้า 52, 57 ในสมัยดาริอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ ทรงให้มีการสร้างถนนหลวง (The Royal Road or The Royal Post Road or The King’s Highway) หรือถนนสายยุทธศาสตร์ ที่เชื่อมจากเมืองหลวงซูซาในจักรวรรดิเปอร์เซียไปสู่เอเชียไมเนอร์บนคาบสมุทรอนาโตเลียโดยมี ปลายทางสิ้นสุดที่อีเพซุสซึ่งเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลอีเจียน ซึ่งถนนหลวงสายนี้จะใช้ประโยชน์เพื่อการคมนาคม การค้าขาย การเคลื่อนกองกำลังทหาร และการสื่อสารส่งข้าวในทุกพื้นที่ของ จักรวรรดิ

24.    ข้อใดถูก

(1)    ศาสนาโซโรแอสเตอร์คือศาสนาของจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ

(2)    อะมอไรท์นำการสร้างจักรวรรดิแรกของโลก

(3)    แหล่งกำเนิดอารยธรรมฮิตไตท์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเลบานอน

(4)    อับราอัมคือผู้นำฮิบรูอพยพจากดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์มุ่งกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์

ตอบ 1 หน้า 58 – 59 กษัตริย์ไซรัสที่ 2 ทรงกำหนดให้ศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นศาสนาของ

จักรวรรดิเปอร์เซียโบราณ (550 – 330 B.C.) ซึ่งหลักคำสอนซองศาสนานี้มี 4 ประการ คือ

1. มีลักษณะเป็นเอกเทวนิยม (Monotheistic) นั่นคือ ให้ยึดมั่นในเทพเจ้าอะฮูรา มาสดา เพียงองค์เดียว    

2. คิด พูด และทำความดี

3. ไม่คิด ไม่พูด และไม่ทำความชั่ว

4. วันพิพากษาและโลกหน้ามีจริง

25.    “บุตรสาวแห่งศาสนายูดาห์” (The Daughter of Judaism) หมายถึงอะไร

(1) นางมาเรีย            

(2) อิสราเอล  

(3) ศาสนาคริสต์        

(4) กรุงเยรูซาเล็ม

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

26.    แหล่งกำเนิดอารยธรรมอิสลามคือดินแดนใด

(1) ตะวันออกกลาง   

(2) คาบสมุทรอนาโตเลีย 

(3) คาบสมุทรอาระเบีย 

(4) คาบสมุทรบอลข่าน

ตอบ 3 หน้า 63, 72 – 75 อารยธรรมอิสลามหรือมุสลิมมีแหล่งกำเนิดอยู่ใบคาบสมุทรอาระเบีย (ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน) ซึ่งในช่วงเวลาที่จักรวรรดิอิสลามอยู่ภายใต้การปกครอง ของราชวงศ์อับบาสิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของกหลิบฮารัน เอลราชิด นั้น ได้รับการยกย่องว่าเป็น ยุคทองของารยธรรมอิสลาม” โดยแท้จริง

27.       ยุคทองของอารยธรรมอิสลามคือช่วงเวลาใด

(1)       ออตโตมาน เติร์ก

(2) ราชวงศ์อุมัยยัค

(3)       เซลจุก เติร์ก

(4)       ราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ

28.       ใครคือกาหลิบองค์แรกของจักรวรรดิมุสลิม

(1) อาบู บากร์

(2) โอธมาน

(3) อาลี

(4)       มูวียะ

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 จักรวรรดิอิสลามในช่วงปี 632 – 661 จะอยู่ภายใต้การนำของกาหลิบ 4 องค์ โดยมเมดินาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของจักรวรรดิอิสลาม ทั้งนี้ชาวมุสลิมจะเป็นผู้เลือกกาหลิบ ทั้ง 4 องศ์เป็นผู้นำสังคมมุสลิม ได้แก่ อาบู บากร์ (ได้รับเลือกให้เป็นกาหลิบองศ์แรกของ จักรวรรดิมุสลิม) โอมาร์ โอธมาน และอาลี

29.       มรดกความเจริญที่แคลเดียนให้แก่โลกคือด้านใด

(1)       การปกครอง

(2) สถาปัตยกรรม

(3)       ศาสนา

(4)       ภาษา

ตอบ 2 หน้า 32,93(เล่มเก่า) มรดกความเจริญทางอารยธรรมที่สำคัญที่แคลเดียนให้ไว้แก่โลกได้แก่

1.         ด้านสถาปัตยกรรม ที่เด่นได้แก่ สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน และกำแพงอิชต้า ซึ่งสร้างขึ้น ในสมัยของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

2.         ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ การกำหนดดวงดาวสำคัญ 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เป็นชื่อของวันต่าง ๆ ใน 1 สัปดาห์

30.       ออตโตมาน เติร์ก คือใคร       

(1) เติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป

(2) เติร์กผู้นำกองกำลังมุสลิมในสงครามครูเสด         

(3) เติร์กผู้ขับไล่ไบแซนไทน์ออกจากคาบสมุทรอนาโตเลีย

(4) เติร์กผู้นำการบริหารจักรวรรดิมุสลิมในสมัยราชวงศ์อับบาสิต

ตอบ 1 หน้า 77 – 8588 ออตโตมาน เติร์ก เป็นกลุ่มเติร์กที่เข้ามามีบทบาทในเอเชียไมเนอร์ในช่วง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยในปี 1453 มูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad II) ได้ นำกองกำลังมุสลิม ยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ส่งผลให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ของโรมันตะวันออกต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ยังเป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่รุกรานยุโรป เป็นเติร์กกลุ่มสุดท้ายที่ถือครอง พื้นที่ส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เป็นบรรพบุรุษของประชาชนตุรกีในปัจจุบัน เป็นผู้นำ การปกครองจักรวรรดิยาวนานถึง 623 ปี รวมทั้งเป็นผู้ผสมผสานความเจริญของโลกตะวันออก และโลกตะวันตกได้เป็นอย่างดี

31.       พื้นที่ทางภาคตะวันตกส่วนใหญ่ของจีนมีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ           

(2) เต็มไปด้วยพื้นน้ำ

(3) เป็นช่องแคบติดกับประเทศอินเดีย            

(4) เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์

ตอบ 1 หน้า 97 จีนเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่หรือประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศที่อยู่ทางภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นพื้นที่ที่สูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ โดยปกคลุมด้วยภูเขา เทือกเขา และที่ราบสูง เช่น ภูเขาหิมาลัย ภูเขาคุนลุ้น ที่ราบสูงทิเบต ๆลๆ ส่วนพื้นที่ทาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้จะเป็นที่ราบที่ลาดเอียงไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

32.       กำแพงเมืองจีนเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์สมัยใด

(1) ราชวงศ์โจว

(2) ราชวงศ์จีน

(3) ราชวงศ์หมิง

(4) ราชวงศ์หยวน

ตอบ 2 หน้า 102109167 – 169 (เล่มเก่า) ผลงานที่สำคัญของจิ๋นซี ฮ่องเต้ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งราชวงศ์จิ๋น มีดังนี้ 1. ทรงนำแนวคิดหลักของสำนักฝาเจี่ยมาใช้ในการรวบรวมแผ่นดินจีน ที่แตกแยกในสมัยราชวงศ์โจวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาก็คือ ประเทศจีน (China) 2. ทรงปกครองจักรวรรดิด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และทรงเป็นประมุขผู้มีอำนาจ เด็ดขาดเพียงองศ์เดียว 3. ประกาศให้นำตัวอักษรจีนมาใช้เขียนในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ 4. ทรงต่อเติมและเชื่อมกำแพงเมืองที่มีอยู่ก่อนแล้วเข้าด้วยกันเป็นกำแพงเมืองจีบที่สมบูรณ์ ฯลฯ

33.       แม่น้ำเหลืองมีความสำคัญในด้านใดมากที่สุด          

(1) แหล่งกำเนิดเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน

(2) ศูนย์กลางวัฒนธรรมเริ่มแรกของจีน         

(3) เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ เช่น เมืองซีอาน

(4) ชาวยุโรปใช้ลำน้ำนี้เป็นเส้นทางลำเลียงกองกำลังเข้ายึดครองจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 16

ตอบ 2 หน้า 97 – 99146 (เล่มเก่า)149 – 150 (เล่มเก่า) แม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน โดยจะเชื่อมระหว่างจีนภาคเหนือกับภาคกลางเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อประรัตศาสตร์จีน นั่นคือ เป็นแม่น้ำที่สร้างความ อุดมสมบูรณ์ให้แก่สองฟากฝั่งที่แม่น้ำไหลผ่าน รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดหรือศูนย์กลางวัฒนธรรม เริ่มแรกของจีนในยุคหินใหม่ประมาณ 4000 B.C. มาแล้ว ดังจะเห็นได้จากการขุดค้นพบ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาลีและเสียน และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำมาจากดินเหนียวคลุกกับใบไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจีนในยุคก่อนประวัติศาสตร์

34.       รายได้หลักของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้มาจากแหล่งใด

(1)       การค้ากับต่างประเทศ

(2) รายได้จากการเก็บภาษีที่ดิน

(3)       รายได้จากภาษีผ่านทาง

(4) ภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต

ตอบ 2 หน้า 109, (คำบรรยาย) เศรษฐกิจของจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะขึ้นอยู่กับการเกษตร เป็นหลัก โดยเน้นไปที่การใช้ประโยชน์บนที่ดินและการทำเกษตรกรรม ซึ่งรายได้หลักของ รัฐบาลจีนในสมัยนี้จะมาจากการขายผลผลิตสินค้าด้านเกษตรกรรม การเก็บภาษีที่ดิน ภาษีรัชชูปการ และภาษีจากการผูกขาดสินค้าบางชนิด ได้แก่ เกลือ เหล็ก เหล้า และใบชา

35.       ผู้ใดไม่ใช่นักประวัติศาสตร์จีนโบราณ

(1) ซือมา เชียง

(2) ปาน กู

(3) ขงจื๊อ

(4) ลี ลีซาน

ตอบ 4 หน้า 105 – 108172 (เล่มเก่า)174 – 175 (เล่มเก่า) นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของ จีนโบราณ ได้แก่ 1. ซือมา เขียง ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนแรก ของจีน โดยผลงานเด่นของเขาคือ บันทึกของนักประวัติศาสตร์ 2. บุคคลในตระกูลปาน ได้แก่ ปาน เปียวปาน กู และปาน เจา ซึ่งได้นำผลงานของซือมา เชียง มาเขียนเพิ่มเติม เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น 3. ขงจื๊อ โดยผลงานเด่นของเขาคือ ตำรามีค่า 5 เล่ม หรือคัมภีร์ทั้ง 5 (The Five Classics) ฯลฯ

36.       มรดกที่ราชวงศ์โจวเหลือไว้ให้แก่โลกปัจจุบันคืออะไร

(1)       แนวคิดทางด้านการปกครองที่ว่าจักรพรรดิสืบเชื้อสายมาจากสวรรค์

(2)       เส้นทางเดินเรือเชื่อมภาคเหนือกับภาคใต้ที่เรียกว่า คลองใหญ่

(3)       กระบวนการยุติธรรมที่ก้าวหน้ากว่าชาติตะวันตกในสมัยเดียวกัน

(4)       การจัดกองทัพโดยใช้ ระบอบกองธง” ตามแบบอย่างของชาวฮั่นโบราณ

ตอบ หน้า 102, (คำบรรยาย) มรดกความเจริญที่สำคัญที่จีนสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกให้ไว้แก่โลก ปัจจุบัน คือ แนวคิดทางด้านการเมืองการปกครองที่ยอดเยี่ยมซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีแห่งสวรรค์” โดยกษัตริย์จะถือว่าตนเป็น โอรสหรือบุตรแหงสวรรค์” หมายถึง องค์จักรพรรดิที่สืบเชื้อสาย มาจากสวรรค์ให้ลงมาปกครองมนุษย์ และได้รับอำนาจที่สวรรค์มอบให้เพื่อใช้ปกครองโลก เรียกว่า อาณัติแห่งสวรรค์

37.       นักปรัชญาจีนโบราณท่านใดที่มีอิทธิพลแนวคิดเหนือจิ๋นซี ฮ่องเต้ ทางด้านการเมืองมากที่สุด

(1) ขงจื๊อ          

(2) ลีสือ           

(3) ซุนจื๊อ         

(4) โมจื๊อ

ตอบ 2 หน้า 164 (เล่มเก่า)167, (คำบรรยาย) ประเทศจีนสามารถรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ อีกครั้งด้วยความสามารถของจินซี ฮ่องเต้ ผู้นำแห่งอาณาจักรจิ๋น จากนั้นทรงสถาปนาราชวงศ์แรก ขึ้นปกครองจีนในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยอาศัยหลักการของสำนักฝาเจี่ยหรือลัทธินิติธรรม เป็นเครื่องมือในการปกครองภายใต้คำปรึกษาของเสนาบดีลีสือ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าลีสือเป็น นักปรัชญาจีนโบราณที่มีแนวคิดทางด้านการเมืองเหนือกว่าจิ๋นซี ฮ่องเต้ เป็นอย่างมาก

38.       ฝิ่นเป็นสาเหตุของความขัดแย้งใครกับใคร

(1) จีนกับญี่ปุ่น

(2) จีนกับสหรัฐอเมริกา

(3)       จีนกับอังกฤษ

(4)       จีบกับรัสเซีย

ตอบ 3 หน้า 112, (คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์แมนจูช่วงปี ค.ศ. 1699 ผู้ปกครองจีนได้อนุญาตให้ อังกฤษเข้ามาค้าขายได้ที่เมืองแคนตอน แต่ต้องปฏิบัติตามระบบการค้าที่เมืองแคนตอนของ รัฐบาลจีน ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ทำให้อังกฤษเสียเปรียบมากที่สุด ต่อมาอังกฤษจึงแก้ปัญหานี้ด้วย การนำฝิ่นเข้ามาขายในจีน ทำให้จีนต้องปราบปรามอย่างหนัก จนนำไปสู่การทำสงคราม ระหว่างจีนกับอังกฤษขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1839 – 1842 เรียกว่า สงครามฝิ่น” ซึ่งผลปรากฏว่า จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้

39.       สังคมจีนแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ชนชั้นในสมัยใด

(1) หยวน

(2) หมิง

(3)       สมัยสาธารณรัฐ

(4)       สมัยคอมมิวนิสต์

ตอบ 1 หน้า 111, (คำบรรยาย) สังคมจีนเป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของขงจื๊อ โดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 5 ชนชั้นโดยอาศัยอาชีพเป็นเกณฑ์ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ของจีน ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ คือ ราชวงศ์มองโกล (ราชวงศ์หยวน) และราชวงศ์แมนจู (ราชวงศ์ชิง)จะมีเพียง 4 ชนชั้นโดยอาศัยเชื้อชาติเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง และมักกำหนดให้ผู้ที่มีเชื้อชาติ ของตนเป็นชนชั้นสูง

40.       ใบสมัยราชวงศ์หมิง คนป่าเถื่อน” หมายถึงชนกลุ่มใด

(1) ชาวตะวันตก

(2) ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(3) ชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือของจีน

(4) ชาวญี่ปุ่น

ตอบ 1 หน้า 204 (เล่มเก่า)215229, (คำบรรยาย) ในสมัยราชวงศ์หมิงช่วงปี ค.ศ. 1514 ได้เริ่ม มีพ่อค้าชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายด้วย รวมทั้งได้นำความรู้หรือเทคนิคใหม่ ๆ เข้ามาเผยแพร่ ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวโปรตุเกสไม่ได้รับการต้อนรับมากนัก เนื่องจากชาวจีน มีความคิดว่าตนนั้นเป็นประเทศที่มีความเจริญมากที่สุด จนมองดูชาวตะวันตกชาติต่าง ๆ ว่าเป็น คนป่าเถื่อน” ดังนั้นชาวจีนจึงไม่ยอมรับความเจริญของคนป่าเถื่อนมาใช้ในประเทศของตน

41.ที่เรียกว่า ชาวฮั่น” หมายถึงผู้ใด

(1) ชาวจีนโพ้นทะเล

(2) ชาวจีนที่อาศัยอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่

(3) ชาวจีนไต้หวัน

(4) ชาวจีนที่อพยพไปตั้งรกรากบนคาบสมุทรเกาหลี

ตอบ 2 หน้า 194 (เล่มเก่า)207209, (คำบรรยาย) ในประวัติศาสตร์ของจีนเกือบทุกราชวงศ์จะอยู่ ภายใต้การปกครองของชาวฮั่นหรือชาวจีนแท้ ๆ ทีอาศัยอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่ ยกเว้น 2 ราชวงศ์ ที่จีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นหรือเป็นชาวต่างซาติ นั่นคือ ราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกล ซึ่งนับเป็นราชวงศ์ต่างชาติราชวงศ์แรกที่เข้ามาปกครองจีน และราชวงศ์ชิง หรือราชวงศ์แมนจู

42.       ก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะมีอำนาจเหนือแผ่นดินจีน พรรคใดปกครองประเทศจีนอยู่

(1) พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า

(2) พรรคบอลเชวิค 28

(3) พรรคก๊กมินตั๋ง

(4) พรรคสมานฉันท์

ตอบ 3 หน้า 113 – 114, (คำบรรยาย) จีนในสมัยสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1912 – 1949) ตกอยู่ภายใต้ การปกครองซองพรรคก๊กมินตั๋ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 ปัญญาชนจีน 13 คน (รวมถึงเมาเซตุง) ได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นอย่างเป็นทางการ จากนั้นพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ร่วมกับ ซุนยัดเซ็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นในปี ค.ศ. 1923 แต่หลังจากที่ซุนยัดเซ็น ถึงแก่อสัญกรรม พรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของเจียงไคเช็คไม่ศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์ จึงได้เกิดความขัดแย้งกันจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อจนกระทั้งสิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายชนะและก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือแผ่นดินจีนนับตั้งแต่นั้น

43.       สงครามใดที่ทำให้จีนต้องเสียอำนาจเหนือเกาหลีไปให้แก่ญี่ปุ่น

(1) สงครามโลกครั้งที่ 1           

(2) สงครามโลกครั้งที่ 2

(3) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1  

(4) สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2

ตอบ 3 หน้า 113, (คำบรรยาย) สงครามจีน-ญี่ปุนครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1894 – 1895) เป็นสงครามระหว่าง ราชวงศ์แมนจูของจีนกับจักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ญี่ปุ่นต้องการครอบครอง คาบสมุทรเกาหลีเพื่อเป็นฐานในการรุกรานเอเชียในอนาคต อีกทั้งยังต้องการเข้าไปขยายอิทธิพล ทางการเมืองและเศรษฐกิจในจีน โดยผลของสงครามปราฏว่าจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น ซึ่งจีนเคยดูถูกว่าเป็นซาติที่ด้อยอารยธรรม และทำให้จีนต้องสูญเสียอำนาจเหนือดินแดนเกาหลี ไปให้แก่ญี่ปุ่นในที่สุด

44.       นายสี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งใดในรัฐบาลอย่างเป็นทางการของจีนปัจจุบัน

(1) ประธานสูงสุดของประเทศ

(2) นายกรัฐมนตรี

(3) ประธานสมัชชาแห่งซาติ

(4) ประธานาธิบดี

ตอบ 4 (คำบรรยาย) นายสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด (ประธานาธิบดี) แห่งสาธารณรัฐประชาขนจีนคนปัจจุบัน โดยเริ่มดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสี จิ้นผิง ถือวาเป็นหัวหน้าของคณะผู้นำจีนรุ่นที่ 5 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ของจีนคือ หลี่ เค่อเฉียง

45.       ใครคือผู้นำคำกล่าวที่ว่า แมวขาวแมวดำไม่สำคัญขอให้จับหนูได้ก็พอ

(1) เมาเซตุง

(2) โจวเอินไหล

(3) ซุนยัดเซ็น

(4) เติ้งเสี่ยวผิง

ตอบ 4 หน้า 115, (คำบรรยาย) เติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้ปกครองจีนรุ่นใหม่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่” เนื่องจากเขาได้นำคำขวัญที่ว่า แมวขาวแมวดำไม่สำคัญขอให้ จับหนูได้ก็พอ” มาใช้เป็นนโยบายในการสร้างความกินดีอยู่ดี รวมทั้งใช้นโยบาย 4 ทันสมัย เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ ส่งผลให้จีนกลายเป็นชาติที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก

46.       วัฒนธรรมทูมูลิ ญี่ปุ่นรับมาจากชาติใด

(1)  รัสเซีย

(2) จีน

(3) มองโกเลีย

(4) เกาหลี

ตอบ 4 หน้า 125 วัฒนธรรมทูมูลิหรือวัฒนธรรมหลุมฝังศพ เป็นวัฒนธรรมความเจริญรุ่นแรกของญี่ปุ่นโบราณอย่างหนึ่งที่รับมาจากเกาหลีโดยผ่านกลุ่มชนชั้นสูงในสังคม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสุสาน หรือหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่ใช้บรรจุศพของบุคคลสำคัญของประเทศโดยเฉพาะองค์จักรพรรดิ ทั้งนี้จะมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น รูปตุ๊กตาดินเผาหรือตัวฮานีวา อาวุธของนักรบ และ เครื่องประดับต่าง ๆ ฝังรวมลงไปในหลุมฝังศพด้วย โดยเริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกบนเกาะคิวชิว

47.       สถาปัตยกรรมที่เมืองนาราและเฮอิอัน ญี่ปุ่นนำแบบอย่างมาจากชาติใด

(1) อิตาลี

(2) กรีก-โรมัน

(3) จีน

(4) เกาหลี

ตอบ 3 หน้า 126 – 129 ความเจริญที่สำคัญที่ญี่ปุ่นโบราณรับมาจากจีน ได้แก่

1. ตัวอักษรจีน 2. รูปแบบการปกครองใบสมัยราชวงศ์ถังของจีน 3. ศาสนาพุทธ 4. สถาปัตยกรรม โดยมีการสร้างบ้านเมืองเพื่อรองรับหน่วยงานปกครองต่าง ๆ เช่น ปราสาทราชวัง สถานที่ราชการ ๆลๆ มีการจำลองรูปแบบตึกรามบ้านช่องจากจีน และ มีการก่อสร้างเมืองสำคัญที่สวยงาม เช่น เมืองหลวงแห่งนครนารา เมืองหลวงเกียวโต แห่งยุคเฮอิอัน เป็นต้น

48.       นอกจากศาสนาพุทธแล้วที่รับมาจากจีน ลัทธิชินโตญี่ปุ่นรับมาจากใคร

(1)       จากนักบวชชาวจีนที่เดินทางเข้ามาแสวงบุญในญี่ปุ่นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5

(2)       เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นเอง ไม่ได้รับมาจากใคร

(3)       นักบวชจากลังกาเป็นผู้นำเข้ามา สายหนึ่งที่ญี่ปุ่น อีกสายหนึ่งที่จีน

(4)       เป็นผลงานของพระภิกษุนาม ถังซำจั๋ง” ที่นำมาจากอินเดีย

ตอบ 2 หน้า 126, (คำบรรยาย) ลัทธิชินโต เป็นลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ป่นโบราณที่ไม่ได้รับมา จากใคร แต่ได้รับอิทธิพลมาจากธรรมชาติอันงดงามและสิ่งแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์ของชาวญี่ปุ่นเอง โดยเน้นการควบคุมธรรมชาติมากกว่าความหวาดกลัว และเชื่อว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีวิญญาณ ดังนั้นจึงมีการนับถือธรรมชาติโดยไม่มีเกณฑ์ใด ๆ แน่นอน ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้สถาปนา ลัทธิชินโตของรัฐ” ขึ้น ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นที่เน้นความเป็นชาตินิยม และการนับถือองค์จักรพรรดิว่ามีฐานะเป็นเทพ

49.       จากเอกสารโบราณของญี่ปุ่น กล่าวว่าผู้รวมอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นหนึ่งเดียวคือใคร

(1) เทพีแห่งดวงอาทิตย์นามว่า ระมาเตระสึ    

(2) จักรพรรดิจิมมู เทนโน

(3) จักรพรรดินี นินโทกุ            

(4) โชกุน อิเอยาสิ

ตอบ 2 หน้า 125250 (เล่มเก่า) ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นโบราณนั้น จักรพรรดิจิมมู เทนโน ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของญี่ปุ่น และเป็นหลานชายของนินิงิผู้สืบเชื้อสายมาจาก เทพีแห่งดวงอาทิตย์นามว่าอะมาเตระสึ ได้อพยพจากตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะคิวชูไปยังฝั่งตะวันออกของบริเวณยามาโตในที่ราบคิงกิบนเกาะฮอนชูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ ที่ตรงนี้เองที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เละก่อตั้งประเทศญี่ปุ่นขึ้นเมื่อ 660 ปีก่อนคริสตกาล

50.       ญี่ปุ่นในสมัยโชกุน โชกุนตระกูลใดสร้างความเจริญให้กับประเทศมากที่สุด

(1)       อาชิกากา

(2) มินาโมโต

(3) โตกูกาวา

(4) สัตโซฮิโต

ตอบ 3 หน้า 131 – 132, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 302308311) ญี่ปุ่นในสมัยศักดินา มีความเจริญสูงสุดภายใต้การนำของโชกุนตระกูลโตกูกาวา ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความสงบเรียบร้อย ในสังคมอันเกิดจากมาตรการทางสังคม เช่น นโยบาย การเข้าเวร” ที่ขุนนางหรือผู้นำนครรัฐ ต่าง ๆ ต้องเดินทางมาแสดงความจงรักภักดีต่อองค์โชกุนที่เมืองเอโดะในทุก ๆ ปี ระบบซันกิน โกไต และการทหารของโตกูกาวาทำให้การค้าขายเจริญเติบโตอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดระบบนายทุนขนาดย่อมและเกิดเมืองใหญ่ ๆ ขึ้นหลายแห่ง เช่น เอโดะ โอซากา และเกียวโต ซึ่งก็เจริญขึ้นอย่างมาก จนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในด้านต่าง ๆ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ความเจริญเติบโตของญี่ปุ่นในสมัยใหม่ต่างก็มีรากฐานมาจากความเจริญ ที่เกิดขึ้นในสมัยนี้เกือบทั้งนั้น

51.       เมืองใหญ่ ๆ เช่นโอซากา เอโดะ เจริญขึ้นอย่างมากในญี่ปุ่นในสมัยศักดินามาจากสาเหตุใด

(1)       นโยบายเปิดประเทศต้อนรับความเจริญจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา

(2)       นโยบายสร้างความมั่นคงทางการเมืองของโชกุนตระกูลต่าง ๆ

(3)       นโยบาย การเข้าเวร” ที่ผู้นำนครรัฐต่าง ๆ ต้องเดินทางมาแสดงความจงรักภักดีต่อองค์โชกุน

(4)       นโยบายปฏิรูปที่ดินและแจกจ่ายให้แก่ชาวนา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52.       บทละครโน” กับ บทละครกาบูกิ” แตกต่างกันอย่างไร

(1)       บทละครโนเป็นที่นิยมในกลุ่มชนชั้นสูง บทละครกาบูกิเป็นที่นิยมของชนชั้นต่ำ

(2)       บทละครโนจัดแสดงในชนบท ส่วนบทละครกาบูกิจัดแสดงในเมืองหลวง

(3)       บทละครโนเกิดขึ้นก่อนบทละครกาบูกิ

(4)       ทั้งบทละครโนและบทละครกาบูกิเป็นที่ต้องห้ามในสมัยโตกูกาวา

ตอบ 1 หน้า 131298 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) การละครของญี่ปุ่นในสมัยศักดินายุคแรกมี 2 แบบ คือ

1.         ละครโน เป็นบทละครร้องหรือละครรำที่มีท่ารำอย่างเลิศและขึงขัง ไม่มียิ้มแย้ม ซึ่งเป็น

ที่นิยมกันในกลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง ได้แก่ โชกุน พวกไดเมียว และนักรบหรือซามูไร

2.         ละครกาบูกิ เป็นบทละครแบบใหม่ที่มีความครึกครื้นสนุกสนาน ซึ่งเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ชนชั้นกลาง ได้แก่ พวกพ่อค้า และชนชั้นต่ำภายในเมือง

53.       จีนถูกอังกฤษเปิดประเทศ ส่วนญี่ปุ่นถูกชาติใดบังคับให้เปิดประเทศ

(1) รัสเซีย

(2) อังกฤษ

(3) สหรัฐอเมริกา

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 3 หน้า 133 ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วงหลังสงครามฝิ่น ชาติตะวันตกต้องการติดต่อกับญี่ปุ่น มากขึ้น เริ่มจากรัสเซียและอังกฤษที่เดินทางเข้ามาขอเปิดประเทศ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่ง มาจบลงที่สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ส่งบายพลเรือเปอร์รีพร้อมเรือปืนเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1853 ต่อมาญี่ปุ่นได้ยอมลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคกับสหรัฐอเมริกา จากนั้นญี่ปุ่นก็ลงนามเปิดประเทศกับชาติตะวันตกอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น

54.       พรรคการเมืองใดที่ปกครองประเทศมากครั้งที่สุด หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

(1)พรรคความหวังใหม่

(2) พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น

(3) พรรคเสรีประชาธิปไตย

(4) พรรคปฏิรูปประเทศ

ตอบ 3 หน้า 343 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) พรรคการเมืองที่มีความสำคัญยิ่งของญี่ปุ่นภายหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลที่ปกครอง ประเทศญี่ปุ่นมานานที่สุด (ประมาณ 54 ปี) แต่ในที่สุดก็ต้องหมดอำนาจลงเนื่องจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (DPJ) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา จนกระทั่งผลการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ที่ผ่านมาปรากฏว่า นายชินโซะ อาเบะ หัวหน้าพรรค LDP ได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง โดยเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนปัจจุบัน

55.       นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนปัจจุบันคือใคร

(1) นายชินโซะ อาเบะ   

(2) นายโคอิซูมิ          

(3) นายอิชิกาวา          

(4) บายซูซูกิ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 54. ประกอบ

56.       ทำไมประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เกาหลีจึงเป็นประเทศที่อ่อนแอที่สุด

(1)       มีเขตแดนติดกับมหาอำนาจ เช่น จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย

(2)       ชาวเกาหลีไม่มีความสามัคคีกัน เช่น เหนือกับใต้

(3)       ชาวเกาหลีผูกพันกับจีนมากเกินไป จนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ    

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 141, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 330) ด้วยเหตุที่เกาหลีมีสภาพทางภูมิศาสตร์ หรือสถานที่ตั้งที่ไม่ปลอดภัยเนื่องจากมีเขตแดนติดกับประเทศมหาอำนาจ 3 ชาติ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย รวมทั้งอาณาจักรโบราณของชนเผ่าเร่ร่อนทางภาคเหนือ ตลอดจนความสำคัญ ทางจุดยุทธศาสตร์ ทำให้เกาหลีต้องตกเป็นสมรภูมิรบหลายครั้ง และไม่เคยพบกับความสงบเลย ถ้าไม่ตกเป็นอาณานิคม ก็ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยไป ส่งผลให้เกาหลีในอดีตกลายเป็น ประเทศที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกด้วยกัน

57.       ข้อใดไม่ได้รวมอยู่ในยุค 3 อาณาจักร

(1) โชซอน

(2) ปักเจ

(3) โคกูรยอ

(4) ซิลลา

ตอบ 1 หน้า 147, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 328) เกาหลีโบราณมีการปกครองที่เรียกว่า ยุค 3 อาณาจักร” (Three Kingdoms) ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาวเกาหลีแท้ ๆ ประกอบด้วย อาณาจักรโคคูเรียวหรือโคกูรยอ (มีอิทธิพลมากที่สุด) อาณาจักรปักเจ และอาณาจักรซิลลา ซึ่งได้ชื่อว่า ถังจิ๋วหรือถังน้อย” (Little Tang) เนื่องจากได้รับเอาแบบอย่างความเจริญมาจาก จีนในสมัยราชวงศ์ถัง

58.       ข้อใดไม่ใช่ความเจริญที่เกาหลีรับไปจากจีน

(1)       ลัทธิขงจื๊อ

(2) ศาสนาพุทธ

(3) ระบบการสอบไล่

(4) ตัวอักษรฮันกูล

ตอบ 4 หน้า 155 – 156, (คำบรรยาย) เกาหลีโบราณได้รับแบบอย่างความเจริญส่วนใหญ่มาจากจีน เช่น รูปแบบการปกครองที่ทำให้รัฐบาลกลางเข้มแข็งขึ้น การบริหารราชการ ระบบการสอบไล่ เพื่อเข้ารับราชการ ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อ เป็นต้น

59.       ยางบัน จุงอิน ยางมิน และชอนมิน คืออะไร

(1)       ชนชั้นจากสูงไปสู่ต่ำในสังคมของเกาหลีโบราณ

(2)       ชนชั้นจากต่ำสุดไปสูงสุดในสังคมสมัยใหม่ของเกาหลี

(3)       ระดับการศึกษาของเกาหลีจากสูงสุดถึงระดับล่างสุด

(4)       ระดับการศึกษาของเกาหลีจากระดับปฐมวัยจนถึงระดับสูงสุด

ตอบ 1 หน้า 157 สังคมเกาหลีโบราณใบสมัยราชวงศ์ที่มีการกำหนดหน้าที่ของคนในสังคมอย่างละเอียด โดยแบ่งออกเป็น 4 ชนชั้น คือ

1.         ชนชั้นยางบัน เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุด

2.         ชนชั้นจุงอิน เป็นชนชั้นกลาง ได้แก่ ข้าราชการในระดับรับนโยบายมาปฏิบัติ

3.         ชนชั้นยางมิน เป็นชนชั้นสามัญชนซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มช่างฝีมือ ช่างประดิษฐ์ ช่างก่อสร้าง และชาวไร่ชาวนา

4.         ซนชั้นชอนมิน เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ได้แก่ พวกทาสที่สังกัดรัฐบาลและเอกชน รวมทั้ง นักแสดง สตรีที่ขายบริการ นักไสยศาสตร์ และพ่อค้าขายเนื้อสัตว์

60.       นายคิม จอง-อึน เป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ส่วนของเกาหลีใต้คือใคร

(1) นางปาร์ค กึน-เฮ

(2) นายปัก จุง-ฮี

(3) นายปาร์ค ปอง-จู

(4) นายบัก ฮอน-เซ

ตอบ1 (คำบรรยาย) ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือคนปัจจุบันคือ นายคิม จอง-อึน โดยเริ่มดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ส่วนประธานาธิบดีของเกาหลีใต้คนปัจจุบันก็คือ นางปาร์ค กึน-เฮ โดยเริ่มดำรงตำแหนงเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

61.       ในบรรดาภาษาต่าง ๆ ของเอเชียใต้ ภาษาใดที่คนพูดได้มากที่สุด

(1) ฮินดี           

(2) อูรดู            

(3) เบงกาลี     

(4) ปัญจาบี

ตอบ 1 หน้า 175 – 176, (คำบรรยาย) อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านภาษา โดยมี ภาษาพูดกว่า 200 ภาษา และหากนับรวมภาษาถิ่นด้วยจะมีราว 800 ภาษา ทั้งนี้ภาษาต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ใบอินเดียปัจจุบันจะเป็นภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต เช่น ภาษาฮินดี อูรดู เบงกาลี คุชราติ ๆลฯ โดยภาษาที่คนอินเดียพูดและใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ภาษาฮินดี รองลงมา ได้แก่ ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาราชการที่ใช้สอบในมหาวิทยาลัย

62.       คำสอนของศาสนาพราหมณ์ในเรื่องใดที่ขัดแย้งกับหัวใจคำสอนของศาสนาเชนที่สุด

(1) พรหมลิขิต

(2) ระบบวรรณะ

(3) การล้างบาป

(4) การฆ่าสัตว์บูชายัญ

ตอบ 4 หน้า 202 – 203 ศาสนาเชนมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกับศาสนาพุทธมากที่สุด โดยมีลักษณะ คำสอนเป็นแบบอเทวนิยมซึ่งขัดแย้งกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหลายเรื่อง เช่น ไม่เชื่อในเรื่อง พระเจ้าสร้างโลก ระบบวรรณะ การล้างบาปในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ การฆ่าสัตว์บูชายัญ ๆลฯ ทั้งนี้การฆ่าสัตว์บูชายัญนั้นถือว่าเป็นคำสอนที่ขัดแย้งอย่างรุนแรง เนื่องจากหลักคำสอนอันเป็น หัวใจของศาสนาเชนคือ การไม่เบียดเบียน (หลักอหิงสา) ซึ่งเป็นคุณธรรมอย่างยิ่งทั้งในระดับ คฤหัสถ์ทั่วไปและระดับนักบวช

63.       องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดสากลของโลก ถามว่าวันดังกล่าวทำให้ระลึกถึง พระพุทธเจ้าที่สอนให้เชื่อในเรื่องใดมากที่สุด

(1) อริยสัจ 4

(2) ไตรลักษณ์

(3)       เหตุผล

(4)       พระเจ้า

ตอบ 1 (คำบรรยาย)    วันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และถือว่าเป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปัจจัยสำคัญในการแสวงหาความรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือการช้หลักเหตุผลเป็นพื้นฐาน โดยหลักธรรมที่สำคัญซึ่งพระองค์ทรงรู้แจ้ง ได้แก่ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

64.       คนในวรรณะใดที่ศาสนาพราหมณ์สอนว่า เกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม

(1) พราหมณ์

(2) กษัตริย์

(3) แพศย์

(4) ศูทร

ตอบ 1 หน้า 195 – 196 (คำบรรยาย) ในเรื่องระบบวรรณะของสังคมอินเดียโบราณจะเป็นไปตาม คติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่า พระเจ้า (พระพรหม) เป็นผู้สร้าง โดยทรง สร้างมนุษย์เพื่อสันติจากอวัยวะของพระองค์ 4 ส่วน ได้แก่

1.         วรรณะพราหมณ์ (สร้างจากพระโอษฐ์หรือปาก) จัดเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคม ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ และครูอาจารย์ สีประจำวรรณะคือ สีขาว

2.         วรรณะกษัตริย์ (สร้างจากพระพาหาหรือแขน) ได้แก่ นักปกครอง ทหารหรือนักรบ และ ตำรวจ สีประจำวรรณะคือ สิแดง

3.         วรรณะแพศย์หรือไวศยะ (สร้างจากพระโสณีหรือสะโพก) ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า นายธนาคาร ฯลฯ สีประจำวรรณะคือ สีเหลือง

4.         วรรณะศูทร (สร้างจากพระบาทหรือเท้า) จัดเป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ได้แก่ พวกกรรมกร และข้าหรือทาส สีประจำวรรณะคือ สีดำ

65.       ศาสนาใดมีอายุน้อยที่สุด

(1) เชน

(2) สิกข์

(3) คริสต์

(4) อิสลาม

ตอบ 2 หน้า 201203, (คำบรรยาย) อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 4 ศาสนา เรียงตามลำดับ ได้ดังนี้   

1. ศาสนาพราหมณ์ (1,250 – 850 ปีก่อนคริสตกาล)

2.         ศาสนาเชน (540 – 468 ปีก่อนคริสตกาล)

3.         คาสนาพุทธ (536 – 483 ปีก่อนคริสตกาล)

4.         ศาสนาสิกข์ (ค.ศ. 1440)

66.       สีเหลือง เป็นสีประจำวรรณะใด

(1) พราหมณ์

(2) กษัตริย์

(3) แพศย์

(4) ศูทร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

67. อะไรคือจุดมุ่งหมายสามัญในการจัดคนเข้าอยู่ในหลักอาศรม 4

(1) เพื่อกำหนดอาชีพ                        

(2) เพื่อกำหนดถิ่นที่อยู่อาศัย

(3) เพื่อกำหนดฐานะทางลังคม           

(4) เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ

ตอบ 4 หน้า 199, (คำบรรยาย) ตามคำสอนของคาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั้น หลักอาศรม 4 หมายถึง ธรรมหรือหลักการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามวัยหรือตามขั้นตอนของชีวิต โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดขอบของคนในแต่ละอาศรมให้เหมาะกับวัย ซึ่งประกอบด้วย

1.         พรหมจรรยาศรมหรือพรหมจารี (อายุ 1 – 25 ปี) เป็นวัยแห่งการศึกษา

2.         คฤหัสถ์ถาศรมหรือคฤหัสถ์ (อายุ 26 – 50 ปี) เป็นวัยแห่งการครองเรือนหรือการแต่งงาน มีครอบครัว

3.         วานปรัสถาศรมหรือวานปรัสถ์ (อายุ 51 – 75 ปี) เป็นวัยแห่งการบริการสังคม

4.         สันยัสตาศรมหรือสันยาสี (อายุ 76 – 100 ปี) เป็นวัยแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติ โดยการออกบวชตลอดชีพเพื่อแสวงหาโมกษะ

68. ถ้าจัดกำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เข้าอยู่ใบหลักอาศรม 4 ควรจัดไว้ในอาศรมใด

(1) พรหมจรรยาศรม

(2) คฤหัสถาศรม

(3) วานปรัสถาศรม

(4) สันยัสตาศรม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

69. พวกทราวิฑ (Dravidians) มีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์อารยธรรมเอเชียใต้

(1) เป็นพวกแรกที่รุกรานอินเดีย

(2) เป็นผู้สร้างอารยธรรมยุคพระเวท

(3) เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

(4) เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล

ตอบ 3 หน้า 174183188 อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นอารยธรรมเริ่มแรกของเอเชียใต้และของโลก โดยเป็นอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเห็นได้จากการขุดพบซากเมืองโบราณสำคัญ 2 เมือง คือ เมืองโมเหนโจดาโร และฮารัปปา ทั้งนี้ชนชาติที่เป็นผู้สร้างอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุก็คือ พวกทราวิฑหรือดราวิเดียน (Dravidians) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมของอินเดีย โดยพวกทราวิฑจะมีผิวดำ ตัวเล็ก และจมูกกว้าง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘’ทัสยุหรือมิลักขะ ” ปัจจุบันอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของอินเดียและเกาะศรีลังกา

70.เมืองใดเป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกในเอเชียใต้

(1) ฮารัปปา

(2) กัลกัตตา

(3) พาราณสี

(4) ตักศิลา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

71. พระธรรมจักรแทนพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ถามว่าเริ่มเกิดครั้งแรกในราชวงศ์ใด

(1) คุปตะ

(2) เมารยะ

(3) กุษาณะ

(4) โมกุล

ตอบ 2 หน้า 214 – 217 ในสมัยราชวงศ์เมารยะแห่งอินเดียภายใต้การนำของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น ถือเป็นสมัยที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยพระองศ์ทรงส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่ศาสนา รวม 9 สายไปทั่วอินเดียและออกนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก เช่น ทรงส่งพระโสณะและ พระอุตตรเถระไปบังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้น รวมทั้งยังโปรดให้สร้างพระธรรมจักรขึ้น เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรมคำสอน เช่น ปางปฐมเทศนาจะทำเป็นภาพ พระธรรมจักรและมีกวางหมอบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือสวนกวางแห่งกรุงราชคฤห์ เป็นต้น

72.สัตว์ที่ชาวฮินดูนับถือเป็นสัตว์ศักดิสิทธิ์มาแต่โบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่สัตว์ชนิดใด

(1) ช้าง

(2) ม้า

(3) นกยู

(4) วัว

ตอบ 4 หน้า 187 ชาวฮินดูมีการนับถือบูชาวัวตัวผู้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพราะถือว่าเป็นสัตว์ศักดิสิทธิ์และเป็นพาหนะของพระศิวะ ซึ่งถ้าใครรับประทานเนื้อวัวจะถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์

73.พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้อำนาจปกครองแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราชา ซึ่งอุดมการณ์การปกครองดังกล่าวเหมือนกับกษัตริย์พระองค์ใด

(1) พระเจ้าอักบาร์       

(2) พระเจ้ากนิษกะ      

(3) พระเจ้าอโศก         

(4) พระเจ้ามิลินท์

ตอบ 3 หน้า 214 – 215, (คำ บรรยาย) พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัยของไทย ทรงใช้อำนาจปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูกและทรงเป็นธรรมราซา ซึ่งจะเหมือนกับการปกครองในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะหรือ โมริยะของอินเดีย

74.       บทละครเรื่องศกุนตลา เป็นมรดกด้านวรรณกรรมของอินเดียที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงแปล เป็นภาษาไทย ถามว่าเป็นผลงานในสมัยใด         

(1) ราชวงศ์เมารยะ/โมริยะ

(2) ราชวงศ์คุปตะ        (3) ราชวงศ์อินโด-แบกเทรีย    (4) ราชวงศ์โมกุล

ตอบ 2 หน้า 219 – 222 ใบสมัยราชวงศ์คุปตะได้ข้อว่าเป็น ยุคทองของอินเดียโบราณ” เพราะมี ความเจริญด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ มากมาย ตังนี้

1.         เป็น ยุคทองของวรรณคดีสันสกฤต‘’ โดยกวีเอกในสมัยนี้ได้แก่ กาลิทาส ซึ่งได้รับการยกย่อง ว่าเป็น เช็คสเปียร์แห่งอินเดีย” โดยผลงานเด่นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ บทละครเรื่องศกุนตลา ซึ่งเป็นวรรณกรรมอินเดียที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาแปลเป็น ภาษาไทย

2.         มีความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม ที่เด่น ๆ คือ การเจาะภูเขาเป็นลูก ๆ ให้เป็นถ้ำเพื่อสร้างสังฆารามหรือเทวสถานและพุทธสถาน ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ถ้ำอชันตา ซึ่งภาพเขียนสีรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณีบนฝาผนังถ้ำที่ 1 ถือว่าเป็นจิตรกรรมชิ้นเอกของยุค

75.       กษัตริย์พระองค์ใดทรงมีขันติธรรมในศาสนา

(1) พระเจ้าบาบูร์         (2)พระเจ้าอักบาร์        (3)พระเจ้าจาหันกีร์      (4) พระเจ้าโอรังเซป

ตอบ 2 หน้า 224 – 225, (คำบรรยาย) พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงเป็นหนึ่งในพระจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยจักรวรรดิโมกุลแห่งอินเดีย โดยเป็นผู้ที่ทำให้จักรวรรดิโมกุลเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด และมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งผลงานที่สำคัญประการหนึ่งของพระองศ์ก็คือ ทรงมีขันติธรรม ในศาสนาหรือให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักในการปกครองประเทศ เนื่องจากทำให้ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติและทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

76.       กษัตริย์พระองค์ใดโปรดให้ส่งสมณทูตมายังดินแดนสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก

(1) พระเจ้าพิมพิสาร (2) พระเจ้ามีลินท์           (3)พระเจ้าอโศก          (4) พระเจ้ากนิษกะ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

77.       ภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำอชันตา เป็นรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี เป็นผลงานสมัยราชวงศ์ใด

(1) เมารยะ      (2)คุปตะ         (3)อินโด-แบกเทรีย      (4) โมกุล

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

78.       เมืองกัวเป็นศูนย์กลางการปกครองและวัฒนธรรมของชนชาติใดในอินเดีย

(1) ดัตซ์           (2) อังกฤษ     (3) ฝรั่งเศส      (4) โปรตุเกส

ตอบ 4 (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 129133), (คำบรรยาย) โปรตุเกสเป็นมหาอำนาจตะวันตก ชาติแรกที่เข้าไปมีอิทธิพลสูงสุดในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยได้เดินเรือเข้ามาค้าขาย ในอินเดียแถบชายฝั่งทะเลตะวันตกนับจากบอมเบย์ไปจนถึงเกาะลังกาควบคู่ไปกับการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จนสามารถแย่งตลาดการค้ามาจากพ่อค้าอาหรับที่มีอิทธิพล อยู่ในดินแดนนี้ได้สำเร็จ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกัว (Goa) ซึงเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการค้า คาสนาคริสต์ การปกครอง และวัฒนธรรมของโปรตุเกส

79.       ผู้นำคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจของอังกฤษในอินเดียได้แก่ใคร

(1) ลอร์ด เบนทิงค์       

(2) ลอร์ด ดัลฮูซี           

(3) โรเบิร์ต ไคลพ์         

(4) ฟรังซัว ดูเปลส์

ตอบ 3 หน้า 232, (HIS 1003 เลขพิมพ์ 55187 หน้า 134 – 135), (คำบรรยาย) โรเบิร์ต ไคลพ์ (Robert Clive) เป็นผู้นำคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการขยายอำนาจของอังกฤษในอินเดีย โดยสามารถนำทหารเข้ามาบุกยึดที่มั่นที่ Pondicherry ของฝรั่งเศสได้ในปี ค.ศ. 1761 และได้ เข้ายึดเมืองกัลกัตตาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอังกฤษในอินเดียได้สำเร็จ จากนั้นอังกฤษก็ แสวงหาอำนาจทางการค้าและการเมืองในอินเดียเพียงชาติเดียว จนสามารถครอบครองอินเดียได้ ทั้งประเทศโดยสมบูรณ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19

80.       อะไรคือสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอยพ่ายแพ้อังกฤษเมือเทียบกับศึกซูลูในแอฟริกา

(1) อังกถษมีความชำนาญในการรบมากกว่า

(2) อังกฤษมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

(3) อังกฤษมีระบบการสื่อสารที่ทันสมัยกว่า

(4) ความแตกสามัคคีในหมู่ชาวอินเดีย

ตอบ 4 หน้า 234 สาเหตุสำคัญที่ทำให้อังกฤษชนะกบฏซีปอยได้ มีดังนี้

1. ผู้นำทัพและทหารอังกฤษ มีประสบการณ์และความชำนาญในการรบมากกว่า และมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า

2.         อังกฤษมีระบบและเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งก็คือ เครื่องโทรเลขที่ช่วยให้สามารถส่งข่าวได้อย่างรวดเร็ว

3.         ผู้ปกครองหลายรัฐเข้าร่วมกับอังกฤษเพื่อปราบกบฏซีปอย อันแสดงให้เห็นถึง

การแตกความสามัคคีในหมู่ชาวอินเดียเอง ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้กบฏซีปอย พ่ายแพ้อังกฤษเมื่อเทียบกับศึกซูลูในแอพ่ริกาใต้

81.       มหาตมะ คานธี ผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านใดที่สุด

(1) อักษรศาสตร์

(2) เศรษฐศาสตร์

(3) นิติศาสตร์

(4) รัฐศาสตร์

ตอบ 3 หน้า 241 – 242 มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน นิติศาสตร์ และเป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยใช้วิธีการต่อสู้ทีเรียกว่า การต่อด้านเงียบ” หรือ ขบวนการสัตยาเคราะห์” ซึ่งเป็นการต่อสู้โดยสันติวิธีและไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง โดยสัตยาเคราะห์ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่ 1. สัตยะ คือ ความจริง 2. อหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียนให้เสียเลือดเนื้อ ไม่ใช้กำลัง หรือ วิธีรุนแรง     3. การดื้อแพ่ง คือ การไม่ปฏิบัติตาม ไม่เชื่อฟ้ง และไม่ใช้อาวุธต่อสู้กับผู้ปกครอง

82.       นักชาตินิยมคนใดที่ได้รับสมญานามว่า “The Grand Old Man of India”

(1) Naoroji

(2) Nehru

(3) Tilak

(4) Gokhale

ตอบ 1 หน้า 238, (คำบรรยาย) เนาโรชิ (Naoroji) เป็นบุคคลแรกที่เรียกร้องสิทธิให้ชาวอินเดียโดยชี้ให้เห็นว่าอังกฤษเอารัดเอาเปรียบอินเดีย อังกฤษควรเลิกตักตวงผลประโยชน์จากอินเดีย อังกฤษควรรับคนอินเดียเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐให้มากขึ้น รวมทั้งเรียกร้องให้ชาวอินเดีย มีบทบาทใบเรื่องกฎหมายและภาษีให้มากกว่านี้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาได้รับสมญานามว่าเป็น มหาบุรุษผู้อาวุโสของอินเดีย” (The Grand Old Man of India) และเป็น บิดาแห่ง นักชาตินิยมอินเดีย” เนื่องจากเป็นผู้ให้กำเนิดลัทธิชาตินิยมในอินเดีย

83.    กฎหมายฉบับใดที่ทำให้มหาตมะ คานธี ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการต่อด้านอังกฤษ

(1)    Morley-Minto Reforms  

(2) Rowlatt Act

(3) Arms Act    

(4) Universities Act

ตอบ 2 หน้า 243 จากการที่นักชาตินิยมอินเดียซึ่งนำโดยติลัก ได้มีการเรียกร้องสิทธิในการปกครอง ตนเองที่เข้มข้นและรุนแรง ทำให้อังกฤษออกกฎหมายเพื่อป้องกันการจลาจลที่เรียกว่า กฎหมายโรว์แลตต์” (Rowlatt Act of 1919) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ มีสิทธิอำนาจในการจับกุมคุมขังผู้ต้องสงสัยว่าก่อการจลาจลหรือคิดล้มล้างรัฐบาลได้ทันที โดยไม่ต้องดำเนินการสอบสวนหรือขึ้นศาลตามขบวนการยุติธรรม ซึ่งนักชาตินิยมมองว่า เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของชาวอินเดียอย่างรุนแรง จนเป็นเหตุให้มหาตมะ คานธี ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการประท้วงต่อต้านอังกฤษเสียเอง

84.    ภายหลังกบฏซีปอย อังกฤษถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่เข้าแทรกแซงอินเดียในเรื่องใด

(1) ด้านการปกครอง

(2) ด้านการคลัง

(3) ด้านการทหาร

(4) ด้านสังคม

ตอบ 4 หน้า 234, 447 – 448 (เล่มเก่า) ภายหลังเหตุการณ์กบฏซีบ่อย รัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินนโยบาย ปกครองอินเดียเป็นแบบอนุรักษนิยม โดยถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะไม่แทรกแซงทางด้านสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย แต่จะปฏิบัติกิจกรรมทางสังคมเฉพาะในกลุ่มของ คนอังกฤษเท่านั้น ทั้งนี้เพราะชาวอินเดียไม่ชอบให้ใครมาเปลี่ยนการดำเนินชีวิตของพวกเขา

85.    “อหิงสา” เป็นคุณสมบัติการต่อสู้ที่สอดคล้องกับผู้นำคนใดมากที่สุด

(1) Jinnah                

(2) Nehru    

(3) Gandhi        

(4) Tilak

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

86.    ข้อใดเป็นหัวใจของการต่อสู้แบบขบวนการสัตยาเคราะห์

(1)    การต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช

(2)    การดื้อแพ่งโดยไมให้ความร่วมมือทุกรูปแบบ

(3)    การต่อสู้โดยใช้พลังธรรมะ ถ้าไม่สำเร็จจึงค่อยใช้กำลัง

(4)    การต่อสู้โดยไม่ใช้กำลัง แต่ใช้พลังธรรมะและการเจรจาต่อรอง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

87.    ประโยชน์สูงสุดของ “Morley-Minto Reforms” คือเรื่องใด

(1) ปูพื้นฐานการปฏิรูปด้านการศึกษา

(2) ปูพื้นฐานการปฏิรูปด้านคมนาคม

(3) ปูพื้นฐานการปกครองใบระบอบประชาธิปไตย

(4) ปูพื้นฐานใบการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ

ตอบ 3 หน้า 242 – 243 ในปี ค.ศ. 1909 อังกฤษได้ออกกฎหมายปฏิรูปมอรีเลย์-มินโต (Morley- Minto Reforms) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเปิดโอกาสให้ชาวอินเดียได้เข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก ด้วยการให้สิทธิชาวอินเดียเลือกผู้แทน 2 คน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสภารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อินเดียที่กรุงลอนดอน โดยชาวอินเดีย 1 คนจะประจำอยู่ในสภาบริหารของข้าหลวงใหญ่อังกฤษ ในส่วนกลาง ส่วนอีกคนหนึ่งจะประจำอยู่ในสภาระดับท้องถิ่นคือ สภาบริหารประจำแคว้น แต่ละแคว้นของอินเดีย ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกมองว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในเรื่องการปูพื้นฐาน การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้แก่อินเดีย

88.       ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ได้แก่ใคร

(1) มหาตมะ คานธี

(2) เนห์รู

(3) โกขะเล

(4) เนาโรชิ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียคือ เยาวห์ลาล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ส่วนประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียคือ ดร.ราเซนทรี ประสาท (Dr. Rajendra Prasad) รัฐบุรุษอาวุโสของอินเดีย

89.       ท่านใดได้สมญานามว่าเป็น บิดาแห่งประเทศปากีสถาน

(1) เนห์รู

(2) ติลัก

(3) บาเนอร์จี

(4) อาลี จินนาห์

ตอบ 4 หน้า 241. 244 – 245. (คำบรรยาย) มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ (Muhammad Ali linnah) ประธานพรรคสันนิบาตมุสลิม เป็นนักชาตินิยมที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้อินเดียควบคู่ไป กับการต่อสู้เพื่อชาวอินเดียที่เป็นมุสลิม โดยการประชุมสันนิบาตมุสลิมทีละโฮร์ในปี ค.ศ. 1940 จินนาห์ได้เสนอข้อมติเพื่อขอแยกมุสลิมออกจากฮินดูมาตั้งประเทศปากีสถาน จนกระทั่งเมื่อ อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1947 อินเดียได้แยกออกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดีย และปากีสถาน ทำให้จินนาห์ได้รับสมญานามว่าเป็น บิดาแห่งประเทศปากีสถาน‘’

90.       เทพเจ้าองค์ใดเป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค ประทานความสำเร็จให้กับมนุษย์ ตามคติฮินดู

(1) พระพรหม

(2) พระวิษณุ

(3) พระศิวะ

(4) พระพิฆเนศ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พระพิฆเนศ (มีพระเศียรเป็นช้าง) เป็นเทพเจ้าฮินดูที่เป็นพระโอรสองพระศิวะ และพระนางอุมาเทวี เป็นเทพเจ้าแห่งสติปัญญาและศิลปะ เป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรคต่าง ๆ และประทานความสำเร็จให้แก่มนุษย์ อีกทั้งยังเป็นเทพเจ้าที่คนไทยเคารพนับถือมาก จนถูกสร้างเป็นเทวรูปมากที่สุดในเมืองไทยปัจจุบัน

91.       ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงเป็นที่อยู่ของชนกลุ่มใด

(1) พม่า         

(2) ลาว         

(3) กัมพูขา         

(4) เวียดนาม

ตอบ 4 หน้า 257 พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำผืนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 3 เขต ดังนี้

1.         ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีและสาละวิน ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมอญและพม่า

2.         ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขง เป็นที่ราบลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของคนไทย ลาว และกัมพูชา (เขมร)

3.         ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง เป็นเขตที่ตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มตระกูลไทหรือชนชาติไทยในปัจจุบัน ชาวจีน และชาวเวียดนาม

92.       ข้อใดคือประเทศเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) สิงคโปร์

(2) บรูไน

(3) ติมอร์ตะวันออก

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 3 หน้า 256 สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต (Democratic Republic of Timor-Leste) หรือติมอว์ตะวันออก เป็นประเทศที่พึงเกิดขึ้นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเคยเป็น อาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไป จึงถูกผนวก เข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2518 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2542 ติมอร์เลสเต จึงได้แยกตัวเป็นอิสระและได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

93.       วัฒนธรรมอันยาเธียนเป็นวัฒนธรรมยุคหินเก่าในประเทศใด

(1) พม่า

(2) ไทย

(3) มาเลเซีย

(4) อินโดนีเซีย

ตอบ 1 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอายุประมาณ 500,000 – 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งวัฒนธรรมหินเก่าในภูมิภาคนี้จะมีชื่อวัฒนธรรมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามสถานที่ ที่พบก่อน ได้แก่ วัฒนธรรมอันยาเธียนในพม่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียนในไทย วัฒนธรรมแเมปาเนียนในมาเลเซีย และวัฒนธรรมปัตจิตาเนียนในอินโดนีเซีย

94.       ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) มนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำ

(2) ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ

(3) มีการเลี้ยงสัตว์

(4) มีบรรพบุรุษมนุษย์อาศัยอยู่

ตอบ 3 หน้า 266 ยุคหินเก่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะสังคมเป็นแบบสังคมนายพรานและ ยังคงเป็นทาสของธรรมชาติอยู่ นั่นคือ มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์ ไม่มีการ ตั้งถิ่นฐานที่แน่นอน มักอาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา หรือที่ราบริมแม่น้ำ มีการนำหินกรวดแม่น้ำมา ทำเป็นเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งเจ้าของเครื่องมือหินกะเทาะเหล่านี้ก็คือ กลุ่มบรรพบุรุษของ มนุษย์นั่นเอง

95.ข้อใดคือโบราณวัตถุสำคัญของวัฒนธรรมดองซอน

(1) ภาชนะดินเผาสามขา

(2) กลองมโหระทึก

(3) ภาชนะดินเผาลายเขียนสี

(4) เครื่องประดับทำจากกระดูกสัตว์

ตอบ 2 หน้า 270, (คำบรรยาย) วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในยุคเหล็กหรือยุคโลหะ ได้แก่

1.         วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยมีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หลายอย่างที่ทำจากสำริดและเหล็ก เช่น มีดสั้น ดาบ ขวาน เครื่องประดับ และที่เด่นที่สุดก็คือ กลองมโหระทึกสำริด

2.         วัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีการขุดค้นพบ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ซึ่งมีอายุราว 2,300 – 1,800 ปี

96.       บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีอยู่ที่จังหวัดใด

(1) กาญจนบุรี

(2) อุบลราชธานี

(3) อำนาจเจริญ

(4) อุดรธานี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 95. ประกอบ

97.       ข้อใดไม่ใช่สินค้าที่ชาวอินเดียต้องการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) เครื่องเทศ          

(2) ทองคำ           

(3) ไม้หอม       

(4) น้ำหอม

ตอบ 4 หน้า 271 สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ชาวอินเดียต้องการเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับดินแดน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ต้องการสินค้าจากภูมิภาคนี้ อันได้แก่ ทองคำ เครื่องเทศ ไม้หอม และยางไม้หอม โดยเฉพาะทองคำนั้นชาวอินเดียมีความต้องการมากที่สุด

98. “เย่ห์” เป็นชื่อที่จีนเรียกชนกลุ่มใด

(1) เวียดนาม

(2) ลาว

(3) ไทย

(4) กัมพูชา

ตอบ 1 หน้า 274 – 275, 289 หลังจากที่จีนสมัยราชวงศ์จิ๋นเข้าปกครองเวียดนามบริเวณแม่น้ำแดง และแม่น้ำดำในตังเกี๋ยและอันนัมตอนเหนือ จีนได้ให้ชาวเวียดนามหรือที่ชาวจีนเรียกว่า เย่ห์” ปกครองกันเอง ซึ่งต่อมาจีนก็เรียกอาณาจักรของชาวเวียดนามนี้ว่า นานเย่ห์หรือนามเวียด” (Nam Viet)

99. ชาวเขมรโบราณเชื่อว่าบรรพบุรุษของพวกเขาคือใคร

(1) พญานาค

(2) สิงห์

(3) พระศิวะ

(4) ฤาษี

ตอบ 1 หน้า 280 ตามตำนานของชาวกัมพูซากล่าวว่า หลังจากพราหมณ์ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ ได้อภิเษกสมรสกับพระนางโสมาซึ่งเป็นธิดาของพญานาคแล้ว พญานาคซึ่งเป็นพ่อจึงช่วย ดื่มน้ำทะเลจบเหือดแห้งเพื่อสร้างอาณาจักรให้แก่บุตรเขย และตั้งซื่ออาณาจักรนี้ว่ากัมโพช” ดังนั้นชาวเขมรโบราณจึงเชื่อว่าพญานาคเป็นบรรพบุรุษของพวกเขานั่นเอง

100. ข้อใดต่อไปนี้เก่าแก่ที่สุด

(1) เจนละ

(2) ฟูนัน

(3) ทวารวดี

(4) จามปา

ตอบ 2 หน้า 279 – 281 จากเอกสารของจีนได้บันทึกเอาไว้ว่า ฟูนันเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 โดยพราหมณ์ ชาวอินเดียชื่อ โกณฑัญญะ มีเมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ มีเมืองท่าที่สำคัญคือ เมืองออกแก้ว และมีศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

101. ข้อใดคือความสำคัญของเมืองออกแก้ว

(1) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจามปา

(2) เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

(3) เป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรฟูนัน

(4) เป็นแหล่งผลิตเหล็กที่สำคัญ

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 100. ประกอบ

102. ยุคเมืองพระนครของเขมรโบราณเริ่มด้นขึ้นในสมัยกษัตริย์พระองศ์ใด

(1)    ชัยวรมันที่ 1

(2) ชัยวรมันที่ 2

(3) ชัยวรมันที่ 5

(4) ชัยวรมันที่ 7

ตอบ 2 หน้า 285 เขมรโบราณยุคเมืองพระนครเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็น

เจ้าชายเขมรที่เสด็จกลับมาจากชวา โดยทรงรวบรวมเจนละบกและเจนละน้ำเข้าด้วยกันได้สำเร็จ และทรงให้ชื่อใหม่ว่า อาณาจักรกัมพูซา” จากนั้นจึงสถาปนาพระองศ์ขึ้นเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แห่งอาณาจักรกัมพูชา ในสมัยนี้ถือว่าเป็นยุคที่เขมรโบราณรุ่งเรืองที่สุด และมีการสร้างราชธานี ขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ อินทรปุระ หริหราลัย อมเรนทรปุระ และมเหนทรบรรพต

103. ปราสาทบายนสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด     

(1) เป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวง

(2)    เป็นพุทธสถาน           

(3) เป็นที่พักคนเดินทาง

(4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 286, 573 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) ปราสาทบายนสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ลักษณะเด่นของปราสาทบายนคือ บนยอด ของปรางศ์ทุกองค์จะมีการแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผันพระพักตร์ ออกไปทั้งสี่ทิศ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครหลวงหรือ นครธม และเป็นพุทธสถานหรือศาสนบรรพตประจำราชธานีบริเวณกลางเมืองพระนคร

104.    ลินยี่” หมายถึงอาณาจักรใด

(1) พุกาม

(2) ชวา

(3) จามปา

(4) เวียดนาม

ตอบ 3 หน้า 287 ตามบันทึกของจีนระบุว่า อาณาจักรจามปาหรอลินยี่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีน หรือบริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ บริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรังของเวียดนาม ทั้งนี้ลักษณะของชาวจามโดยทั่วไปจะมีลูกตาลึก จมูกเป็นลันโด่ง ผมดำและหยิก

105.    ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มเมืองมอญ

(1) พะโค

(2) สะเทิม

(3) เมาะตะมะ

(4) พุกาม

ตอบ 4 หน้า 292 – 294299 กลุ่มชนเชื้อชาติมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณพม่าตอนล่าง

ด้านตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี ซึ่งชาวพม่าจะเรียกพวกมอญว่า เตลง” ทั้งนี้พวกมอญได้ตั้ง เมืองหลวงอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมวดี บริเวณปากอ่าวเมืองเมาะตะมะ ต่อมาเมื่อ มอญถูกชนชาติพม่ารุกราน จึงถอยร่นลงมาอยู่ทางตอนใต้และสถาปนารัฐของตนขึ้นมาใหม่ ที่เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดีในปี พ.ศ. 1368

106.    ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอาณาจักรพุกาม

(1) รับพุทธศาสนามาจากอินเดียโดยตรง

(2) กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

(3) เป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า

(4) ที่ตั้งอาณาจักรมีความอุดมสมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 294 – 296 พุกามเป็นอาณาจักรแรกที่ปกครองโดยชาวพม่า โดยตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของลุ่มแม่น้ำอิระวดี และอยู่ในเขตที่แห้งแล้งที่สุดของพม่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพุกามคือ พระเจ้าอโนรธา โดยพระองค์ทรงขยายดินแดนออกไปโดยอ้างสิทธิธรรมทางศาสนาในการโจมตี และยึดครองดินแดนต่าง ๆ และทรงสร้างพุกามให้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งนี้อาณาจักรพุกามล่มสลายลงเนื่องจากถูกกองทัพมองโกลของ กุบไลข่านเข้าโจมตีในปี พ.ศ. 1821 กอปรกับมีความอ่อนแอภายในอาณาจักร

107.    โบราณสถานสมัยทวารวดีส่วนใหญ่ใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง

(1) อิฐ

(2) หินทราย

(3) ศิลาแลง

(4) ปูน

ตอบ 1 หน้า 302 โบราณสถานส่วนใหญ่ในสมัยทวารวดีจะใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง อาจมี การใช้ศิลาแลงบ้างแต่ไม่พบการใช้หินในการก่อสร้าง สำหรับอิฐที่ใช้นั้นเป็นอิฐเผาอย่างดี ที่ไส้สุกตลอด เนื้ออิฐแข็ง มีขนาดใหญ่ มีส่วนผสมของแกลบข้าวเหนียวปลูก และมีการตกแต่ง โดยใช้ปูนปั้นประดับ

108.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพ่อขุนรามคำแหง

(1) พระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์

(2) เป็นโอรสของพ่อขุนบางกลางหาว

(3) เคยปกครองที่เมืองศรีสัชนาลัย

(4) เป็นพระสหายกับพระยามังราย

ตอบ 1 หน้า 303 พ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์หรือพ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งมีพระนามเดิมคือ กัมรเตงอัญศรีอินทรบดีนทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงได้ขึ้นปกครอง เมืองศรีสัชนาลัยสืบต่อจากพระเชษฐานามว่าพ่อขุนบานเมือง จากนั้นก็เสด็จขึ้นเสวยราชย์ เป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรสุโขทัยและพัฒนาฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองทุกด้านจนมีความมั่นคง และสงบสุข ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระสหาย 2 องค์ คือ พระยามังราย เจ้าเมืองเชียงราย และ พระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา

109.    ข้อใดกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาถูกต้อง

(1)       วัดที่สำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยาคือ วัดราชบูรณะ

(2)       มีราชวงศ์ปกครอง 6 ราชวงศ์

(3)       ไม่สามารถผนวกสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาได้สำเร็จ

(4)       เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาค

ตอบ 4 หน้า 305 – 307 กรุงศรีอยุธยาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของไทยในปี พ.ศ. 1893 ต่อมาในปี พ.ศ. 1981 อาณาจักรอยุธยาสามารถผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของอยุธยาได้สำเร็จ และตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคทองของ ศิลปะและวิทยาการ โดยมีการสร้างวัดทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ วัดพระศรีสรรเพชญ จนกระทั่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง กรุงศรีอยุธยาก็มีความมั่งคั่งสมบูรณ์ และเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้อาณาจักรอยุธยามีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 34 พระองศ์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณภูมิ สุโขทัย ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง

110.    คชมาดา เป็นเสนาบติคนสำคัญของอาณาจักรใด

(1) ศรีวิชัย

(2) สิงหะส่าหรี

(3) มัชปาหิต

(4) เคดีรี

ตอบ 3 หน้า 315 – 316 มัชปาหิตเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจและความเจริญสูงสุดในประวัติศาสตร์ ของอินโดนีเซีย โดยผู้ที่มีความสามารถและมีส่วนสำคัญในการขยายอำนาจของมัชปาหิตก็คือ มหาเสนาบดีคนสำคัญซื่อ คชมาดา (Gajah Mada) ซึ่งได้ดำเนินนโยบายแผ่อำนาจออกไปยัง เกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย และจัดตั้งสหพันธรัฐอินโดนีเซียขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่คชมาดา เสียชีวิต อาณาจักรมัชปาหิตก็เสื่อมลงตามลำดับ

111.    ข้อใดไมใช่แรงจูงใจที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) ทาส

(2) การปฏิวัติอุตสาหกรรม

(3) การค้า

(4) การเผยแผ่ศาสนาคริสต์

ตอบ 1 หน้า 323 – 324591 – 592 (เล่มเก่า), (คำบรรยาย) แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรป

เดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้ 1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชื่อเสียงในเรื่อง ความมั่งคั่ง 2. ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ 3. ต้องการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์ไปสู่พวกนอกศาสนา 4. ชาวยุโรปมีความสามรถในการต่อเรือที่ดีขึ้น ทำให้ เกิดความมั่นใจในการเดินทางข้ามมหาสมุทรเพื่อสำรวจเส้นทางการค้าและดินแดนใหม่ 5. ต้องการแสวงหาความมั่งคั่งทางวัตถุโดยเฉพาะทองคำ 6. ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และหาตลาดเพื่อระบายสินค้าที่ผลิตได้

112.    ศูนย์กลางของสเตรทเซทเทิลเมนท์ของอังกฤษอยู่ที่ใด

(1) สิงคโปร์

(2) ปีนัง

(3) มะละกา

(4) พม่า

ตอบ 2 หน้า 336 หลังจากที่อังกฤษสามารถเข้ายึดครองปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ได้สำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2373 อังกฤษจึงประกาศรวมอาณานิคมบริเวณคาบสมุทรมลายู อันได้แก่ สิงคโปร์ ปีนัง และมะละกา เข้าเป็น สเตรทเซทเทิลเมนท์” (The Straits Settlement)โดยมีศูนย์กลาง อยู่ที่เกาะปีนัง

113.    ชาวยุโรปชาติใดที่ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(1) โปรตุเกส

(2) สเปน

(3) ดัตช์

(4) ฝรั่งเศส

ตอบ 2 หน้า 329, (คำบรรยาย) สเปนถือว่าเป็นชาวยุโรปที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการเผยแผ่ ศาสนาคริสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในฟิลิปปินส์ ซึ่งสเปนจะเน้นให้คนพื้นเมืองกลับใจมานับถือศาสนาคริสต์เอง โดยไม่ได้ใช้วิธีบังคับข่มขู่ วิธีนี้ทำให้มีชาวพื้นเมืองหันมานับถือศาสนาคริสต์กับมากถึง 92% ซองประชากรทั้งประเทศ

114.    ดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองจาการ์ตาเป็นชื่อใด

(1) ปัตตาเวีย

(2) มะตะรัม

(3) บันทัม

(4) มะละกา

ตอบ 1 หน้า611(เล่มเก่า) เมื่อดัตช์หรือฮอลันดาได้เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในช่วงเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติในบันทัม ทำให้ดัตช์มีอำนาจในบันทัม และขับไล่พ่อค้า ชาวอังกฤษที่ค้าขายอยู่ในบันทัมไปอยู่ที่จาการ์ตา (Jakarta) ซึ่งต่อมาดัตช์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ เป็น ตตาเวีย” (Batavia)

115.    ข้อใดคือเมืองหลวงของฟิลิปปินส์

(1) มะละกา    

(2) เกาะบอร์เนียว       

(3) มะนิลา       

(4) เกาะสุลาเวสี

ตอบ 3 หน้า 329 สเปนสามารถยึดฟิลิปปินส์ได้สำเร็จในครั้งที่ 5 นำโดยเลกัซปีในปี พ.ศ. 2108 โดยกองกำลังทหารของเลกัซปีได้ขึ้นบกที่หมู่เกาะวิสายะและตั้งมั่นอยู่ที่เกาะเซบู ซึ่งเป็น ศูนย์กลางของการขยายอาณาเขตออกไปยังเกาะต่าง ๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2114 เลกัซปี ก็ยึดมะนิลาได้ และประกาศให้มะนิลาเป็นเมืองหลวงของฟิสิปปีนส์จนถึงปัจจุบัน

116.    บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ตั้งอยู่บนเกาะใด

(1) เกาะสุมาตรา

(2) เกาะบอร์เนียว

(3) เกาะชวา

(4) เกาะสุลาเวสี

ตอบ 3 หน้า 331 ในปี พ.ศ. 2145 ดัตช์ได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company ะ v.o.c.) ขึ้นที่บันทัมบนเกาะชวา เพื่อระดมทุนจากกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มาสร้างกองเรือพาณิชย์และกองเรือคุ้มกันขนาดใหญ่ ทำให้บริษัทสามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนแถบนี้ ส่งผลให้การค้าเครื่องเทศของดัตช์ขยายตัว อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอินเดียตะวันออกมีกำไรมหาศาล และทำให้บันทัมกลายเป็นศูนย์กลาง การค้าในบริเวณนี้

ตั้งแต่ข้อ 117. – 120.   จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวันดาลา

(2) ระบบการเพาะปลูก

(3) ระบบโปโล

(4) ระบบเอ็นคอมเมียนดา

117.    ระบบการเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมืองที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 3 หน้า 330 การที่สเปนได้จัดระบบชนชั้นในสังคมของฟิลิปปินส์ใหม่ ทำให้สเปนสามารถ แสวงหาผลประโยชน์จากชาวพื้นเมืองได้โดยผ่าน 2 ระบบ ดังนี้

1.         ระบบโปโล (Polo System) เป็นระบบเกณฑ์แรงงานที่ให้ชาวพื้นเมืองทุกคนยกเว้นหัวหน้าเผ่าและลูกชายคนแรกของหัวหน้าเผ่า ต้องอุทิศแรงงานให้ทางราชการ

2.         ระบบวันดาลา (Vandala System) เป็นระบบบังคับซื้อสินค้า โดยบังคับให้ชาวพื้นเมือง ขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

118. ระบบที่จัดสรรพื้นที่สำหรับปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ

ตอบ 2 หน้า 334 ในพุทธศตวรรษที่ 24 ดัตช์ได้นำระบบวัฒนธรรม (Culture System) หรือระบบ การเพาะปลูก (Cultivation System) มาใช้แสวงหากำไรในเกาะชวา โดยผู้ที่เสนอระบบนี้คือ โยฮานเนส วาน เดน บอสช์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ โดยระบบนี้เป็นการสนับสนุน ให้ทุกหมู่บ้านจัดสรรพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชที่เป็นสินค้าส่งออกที่รัฐบาลต้องการ เช่น อ้อย กาแฟ คราม ฯลฯ เพื่อจ่ายเป็นภาษีให้แก่รัฐบาลอาณานิคม จากนั้นรัฐก็จะนำสินค้าดังกล่าว ไปขายในยุโรป

119. ระบบที่บังคับให้ชาวพื้นเมืองขายสินค้าให้สเปนในราคาต่ำ

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 117. ประกอบ

120. ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้กับฟิลิปปินส์

ตอบ 4 หน้า 330 ระบบเอ็นคอมเมียนดา (Encomienda) คือ ระบบการถือครองที่ดินที่สเปนนำมาใช้ ในฟิลิปปินส์โดยให้ผู้มีสิทธิถือครองที่ดินที่เรียกว่า เอ็นคอมเมียนโดโรส” (Encomiendoros) เรียกเก็บผลประโยชน์จากบุคคลที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินของตนได้ แต่ผู้เข้ามาทำกินในที่ดินนี้ จะต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

Advertisement