การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา  2553

ข้อสอบกระบวนวิชา  HIS1001 อารยธรรมตะวันตก

Advertisement

คำสั่ง  ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ศิลปะของอารยธรรมใดในยุคโบราณถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสนองการพระศาสนา

1.   อียิปต์                  

2.    เมโสโปเตเมีย                

3.   โรมัน                               

4.   กรีก

ตอบ 1       หน้า 616321 (H)  ศิลปะของอารยธรรมอียิปต์โบราณมักถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสนองการพระศาสนา ทำให้งานศิลปะต่าง ๆ ล้วนแสดงออกซึ้งสัญลักษณ์ทางศาสนาทั้งสิ้น นอกจากนี้ศิลปะของอียิปต์โบราณนั้นก็ไม่ใช่ศิลปะเพื่อศิลปะ แต่เป็นศิลปะที่เปลี่ยนแปลงไปตามอุดมคติ วิถีทางการเมืองและสังคม เช่น ในสมัยอาณาจักรเก่าจะนิยมสร้างพีระมิดเพื่อหวังผลในโลกหน้า แต่ในสมัยจักรวรรดินิยมจะสร้างวิหารเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่และอานุภาพของฟาโรห์

2.         ผลงานศิลปกรรมใดแสดงว่าชาวอียิปต์เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะ

1.   พีระมิด

2.   สฟิงซ์

3.   ซิกกูแรต

4.   โอเบลิส์

             ตอบ 1       หน้า 64 – 65 ชาวอียิปต์มีความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอมตะและโลกหน้า ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์ จึงมีวิธีเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการทำเป็นมัมมี่ และสร้างพีระมิดไว้เก็บพระศพของฟาโรห์รวมทั้งยังเขียนเรื่องราวแสดงความบริสุทธิ์และความประพฤติที่ดีของตนเอาไว้เพื่อนำไปแสดงต่อเทพเจ้าโอสิริสเมื่อตนตายไปแล้ว ซึ่งถ้าเขียนเป็นหนังสือจะเรียกว่า “Book of  the Dead” แต่ถ้าเขียนไว้ตามหีบศพจะเรียกว่า “Coffin Texts” และถ้าเขียนไว้บนกำแพงพีระมิดจะเรียกว่า“Pyramid Texts”  

3.         การก่อสร้างสุสาน วัด และวังของชาวอียิปต์ เป็นตัวอย่างของความเจริญทางด้านใด

1.   วิทยาศาสตร์

2.   อักษรศาสตร์

3.   เทคโนโลยี

4.   ถูกข้อ 1 และ 3

ตอบ 4       หน้า 61 – 62 การสร้างสุสานหรือพีระมิด วัด วิหาร และวังของอียิปต์นั้น ได้แสดงถึงความเจริญทางด้านสถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์(โดยเฉพาะดาราศาสตร์) คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและลักษณะทางวิศวกรรมอย่างสูง นั่นคือ สถาปนิกชาวอียิปต์มีความสามารถประดิษฐ์เครื่องมือกลสำหรับเคลื่อนย้ายหินขนาดใหญ่และสิ่งของหนักอื่น ๆ อีกทั้งยังรู้หลักการคำนวณหาปริมาตรของพีระมิดเพื่อรองรับกับแรงกดของหินขนาดใหญ่จำนวนมาก ๆ ได้อย่างสมดุลอีกด้วย 

4.         สังคมของอารยธรรมใดในยุคโบราณที่มีลักษณะเป็นสังคมเมืองตั้งแต่แรกเริ่มมาก่อน

1.   อารยธรรมอียิปต์

2.   โรมัน

3.   อารยธรรมกรีก

4.   เมโสโปเตเมีย

ตอบ 4       หน้า 67 – 69  อารยธรรมเมโสโปเตเมียเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 B.C. โดยชนชาติแรกที่เริ่มสร้างอารยธรรมไว้ในเมโสโปเตเมีย คือ พวกสุเมเรียน ซึ่งพัฒนาการทางวัฒนธรรมของสุเมเรียน  แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1. ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250 – 3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรม คนเมือง หรือสมัยสังคมเมือง (Urban Civilization) 2. ระยะวัฒนธรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C. เป็นสมัยของการสร้างความเจริญในด้านต่าง ๆ

5.         ผู้ปกครองเมโสโปเตเมียพิทักษ์ความยุติธรรมด้วยวิธีใด

             1.   แสดงอำนาจบาตรใหญ่     2.   เชือดไก่ให้ลิงดู           3.   ออกกฎหมาย                  4.   ตั้งศาลพิเศษ

ตอบ 3       หน้า 72 – 7424 (H) ผู้ปกครองเมโสโปเตเมียจะพิทักษ์ความยุติธรรมด้วยการออกกฎหมายโดยเฉพาะในสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี ซึ่งเป็นผู้นำที่ปกครองพวกอะมอไรท์หรือพวก      บาบิโลนเก่าได้มีการร่างประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The code of Hammurabi) ขึ้นมาใช้ โดยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายชองพวกสุเมเรียนที่อาศัยหลัก Lex Talionis (ลัทธิสนองตอบ) คือ ตาต่อตาฟันต่อฟัน ซึ่งประมวลกฎหมายฮัมมูราบีนี้ได้ใช้ต่อมาจนถึงสมัยของกฎหมายโรมัน

6.         ระบบการปกครองใดของเมโสโปเตเมียที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของเทพ

             1.   ระบบคณาธิปไตย             2.   ระบบราชาธิปไตย        3.   ระบบประชาธิปไตย     4.   ระบบทรราช

             ตอบ 2       หน้า 708025 (H) (คำบรรยาย) การปกครองของเมโสโปเตเมียมักจะเป็นการปกครองในระบอบเทวาธิปไตย หรือเทวราชาธิปไตย ซึ่งอาจเรียกได้ว่าการปกครองแบบกษัตริย์เอกาธิปไตยหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั้นคือ กษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพซึ่งเป็นตัวแทนของเทพเจ้าที่ถูกส่งลงมาปกครองพวกมนุษย์ ดังนั้นจึงทรงมีฐานะเป็นเทวกษัตริย์และถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของเทพหรือของกษัตริย์นั้นเอง เช่น การปกครองของ สุเมเรียนและอัสสิเรีย ฯลฯ 

7.         การมีระบบชั่งตวงวัด เป็นเครื่องแสดงความก้าวหน้าของชาวเมโสโปเตเมียในด้านใด

             1.   การปกครอง     2.   การคลัง                           3.   การค้า                              4.   การขนส่ง

             ตอบ 3       หน้า 69 – 7023 – 24 (H), (H1 102 เลขพิมพ์ 42115 หน้า 85) ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือการนับหน่วย 6010         และ 6 เช่น 1 ชั่วโมงมี 60 นาที(10 x 6 = 60)วงกลมมี 360 องศา(60 x 6 = 360) ฯลฯ นอกจากนี้ ชาวสุเมเรียนยังนำเอาหลักการนับหน่วย 60 ไปใช้กำหนดมาตราชั่งตวงวัด ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าด้านการค้าแบบเมโสโปเตเมีย เช่น 60 Shekels = 1 Mina, 6O Minas = 1 Talent เป็นต้น

8.         ในยุคโบราณชาวอียิปต์และชาวสุเมเรียนใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อพัฒนาการเกษตร

             1.   การเคมี         2.   การขนส่งทางทะเล             3.   การชลประทาน             4.   ระบบนาสาม

             ตอบ 3       หน้า 596371 ในยุคโบราณนั้นทั้งชาวอียิปต์และชาวสุเมเรียนต่างก็ใช้เทคโนโลยีด้านการ            ชลประทานเพื่อพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้ามากขึ้น กล่าวคือ ชาวอียิปต์ได้ขุดคูส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเหลือกินเหลือใช้จนส่งเป็นสินค้าออกไปขายได้ในขณะที่ชาวสุเมเรียนก็สร้างเขื่อนและขุดคลองคูทดน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภครวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัย

9.         การจัดตั้งทหารม้าของเมโสโปเตเมีย เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติอะไร

             1.   ยุทธศาสตร์                        2.   จรยุทธ์                             3.   กลยุทธ์                            4.   ยุทธการ

             ตอบ 3       หน้า 7624 (H), (คำบรรยาย) กลยุทธ์ด้านการทหารของเมโสโปเตเมียจะเริ่มต้นด้วยการใช้ทหารราบในการรบ แต่เมื่ออนารยชนแคสไซท์เข้ายึดกรุงบาบิโลนโดยนำม้าและรถศึกขนาดเบาเข้ามาใช้ในบาบิโลเนียเมื่อปี 1750 B.C. ก็ทำให้อาณาจักรต่าง ๆ ในเมโสโปเตเมียหันมาใช้ม้าเทียมเข้ากับรถศึกขนาดเบาในการรบ และต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งทหารม้าขึ้นโดยมีการยุทธ์ที่สำคัญ คือ การทหารแบบรวมเหล่า (ทหารราบ ทหารม้า รถศึก) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติกลยุทธ์ครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์             

10.       การเขียนตัวอักษรของอียิปต์บนกระดาษแสดงนวัตกรรมที่พัฒนาก้าวหน้ากว่าวิธีการเขียนตัวอักษรของอารยธรรมใดในยุคโบราณ

             1.   ของ Crete              2.   ของฟินิเชียน               3.   ของโรมัน                     4.   ของเมโสโปเตเมีย

             ตอบ 4       หน้า 47 – 486922 – 23 (H) เมื่อประมาณ 3,000 B.C. ชาวอียิปต์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรเฮียโรกลิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการบันทึกตัวอักษรลงบนกระดาษปาไปรัส (Papyrus) ซึ่งนวัตกรรมเช่นนี้ถือว่าพัฒนาก้าวหน้ากว่าวิธีเขียนตัวอักษรคูนิฟอร์มหรือตัวอักษรรูปลิ่มของชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมียเป็นอย่างมาก เพราะชาวสุเมเรียนไม่มีกระดาษปาไปรัสเหมือนชาวอียิปต์จึงต้องใช้เหล็กแหลมกดลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนำไปผึ่งแดดหรือเผาไฟให้แห้งแข็งแทน

11.       นครรัฐกรีกใดที่พลเมืองทหารชั้นสูงมีอำนาจแท้จริงในการปกครอง

1.   เอเธนส์                              

2.   สปาร์ตา                           

3.   โครินท์                            

4.   ธีบส์

ตอบ 1      หน้า 126 – 13043 (H), (คำบรรยาย)  ระบอบประชาธิปไตยของกรีกเอเธนส์มีลักษณะเด่น คือเป็นรูปแบบการปกครองที่พลเมืองชายชั้นสูงมีสิทธิทางการเมือง โดยจะมีอำนาจในการพิจารณา   กฎหมายหรือนโยบายต่าง ๆ ที่ผ่านสภาห้าร้อยแล้ว มีสิทธิเลือกผู้แทนไปปกครองและคัดเลือกอาร์คอนเป็นประมุข นอกจากนี้อำนาจแท้จริงในการปกครองยังตกอยู่ที่ทหารชั้นสูง คือ คณะ 10 นายพล ส่วนประชาชนที่เป็นผู้หญิง ทาส และชนต่างด้าวต่างนครจะไม่มีสิทธิทางการเมืองทุกคน ดังนั้นประชาธิปไตยในเอเธนส์จึงสมบูรณ์

12.       เหตุการณ์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นเหตุการณ์อะไร

1.   เหตุการณ์ธรรมชาติ                                                         

2.   เหตุการณ์ของมนุษย์

3.   เหตุการณ์เทพบันดาล                                                      

4.   เหตุการณ์ซ้ำของธรรมชาติ

             ตอบ 2       หน้า 41  (คำบรรยาย)  ประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ของมนุษย์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะทำนายล่วงหน้ามิได้ และไม่อาจนำมาทดลองซ้ำในห้องทดลองส่วนเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นสามารถศึกษาได้จากประสบการณ์เละประสาทสัมผัส ซึ่งเกิดและดับซ้ำเป็น วัฏจักรหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จึงทำให้สามารถทำนายล่วงหน้าได้อย่างเที่ยงตรงโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ประวัติศาสตร์กลายเป็นวิทยาศาสตร์แท้ๆ ได้

13.       หลักฐานต่อไปนี้หลักฐานใดคือซากวัสดุ

             1.   บันทึกความทรงจำ           2.   โบราณสถาน                 3.   ความทรงจำ                    4.   บทเพลง

             ตอบ 2       หน้า 2012 (H), (คำบรรยาย)ซากวัสดุ (Material Remains)ได้แก่ ซากวัสดุโบราณที่เหลือตกค้างมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นหลักฐานในการศึกษามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.ซากสิ่งมีชีวิต (Fossil) คือ ซากสิ่งมีชีวิตในอดีตที่เหลือตกค้างอยู่ตามชั้นหิน 2. เครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธและสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นศิลปะ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดของวิธีการศึกษาเรื่องราวต่างๆ สมัยก่อนประวัติศาสตร์

14.       เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันจึงเกิดอะไรขึ้น

             1.   ประชากรเพิ่ม                    2.   ทำสงครามกัน                3.   อารยธรรม                      4.   ความขัดแย้ง

             ตอบ 3       หน้า 2513(H) อารยธรรม (Civilization)หมายถึง วัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับความสามารถในการประดิษฐ์ตัวอักษรและการเก็บรวบด้วยการบันทึก มีการแบ่งงานกันทำและมีความสำนึกในความเป็นตัวตนของตน ดังนั้นเมื่อใดที่มนุษย์เริ่มแสดงออกถึงความต้องการที่จะบันทึกเรื่องราวของตน มีความหวัง ความเชื่อ และความต้องการที่จะอยู่ร่วมกันมากกว่าอยู่ตามลำพังเราจะถือว่าเป็นการเริ่มต้นสมัยแห่งอารยธรรมของมนุษย์  

15.       การถ่ายทอดคือลักษณะเด่นของอะไร

             1.   วัฒนธรรม                          2.   การพัฒนา                      3.   ความก้าวหน้า                4.   อารยธรรม

             ตอบ 4       หน้า 31 (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ) อารยธรรมมีลักษณะเด่น คือมีการถ่ายทอด        และเผยแพร่ออกไปโดยจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ ไม่อยู่คงที่และเป็นความเจริญซึ่งเกิดขึ้นตามนครไม่ได้เกิดขึ้นตามชนบท 

16.       การเมืองการปกครองของอารยธรรมใดที่ริเริ่มให้มีการเลือกตั้งและมีองค์กรผู้แทนชนชั้น

             1.   ไบแซนไทน์                      2.   กรีก                  3.   โรมัน                               4.   เมโสโปเตเมีย

             ตอบ 2       หน้า 107 – 108117122 – 12742 – 43 (H)  ปรัชญาการเมืองของกรีกถือเป็นต้นแบบของการเมืองในสมัยต่อมา และเป็นต้นกำเนิดหรือแม่แบบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเริ่มขึ้นที่นครรัฐเอเธนส์เป็นแห่งแรก ต่อมาสามัญชนได้เรียกร้องให้สร้างประมวลกฎหมายเพื่อสิทธิอันเท่าเทียมกัน ตลอดจนริเริ่มให้มีการเลือกตั้งและมีองค์กรผู้แทนชนชั้น เพื่อให้เป็นตัวแทนในการปกครองตนเอง (Self-government) อันเป็นการปกครองในอุดมคติของชนชาติกรีกในยุคโบราณ 

17.       เอกภาพของศิลปะเป็นลักษณะของศิลปะชนชาติใดในยุคโบราณ

             1.   กรีกไมซีเน                         2.   กรีก                  3.   โรมัน                               4.   เมโสโปเตเมีย

             ตอบ 2       หน้า 131133 (คำบรรยาย) ศิลปะของชนชาติกรีกในยุคโบราณจะเน้นเรื่องสุนทรียภาพหรือความงาม โดยให้ความสำคัญกับดุลยภาพ คือ การเน้นเรื่องน้ำหนักเท่ากันของสี เส้นแสง และเงา ตลอดจนเน้นความมีเอกภาพของศิลปะหรือการประสานกลมกลืนของทุกสิ่งตามอุดมคติของชาวกรีกที่ว่า “Nothing in excess and everything in proportion” (ไม่มีสิ่งที่เกินไป และทุกสิ่งจะต้องเป็นสัดส่วน)   

18.       ชนกลุ่มใดสร้างอารยธรรมจากการค้าเป็นสำคัญในยุคโบราณ

             1.   เมโสโปเตเมีย                    2.   กรีก                                  3.   อียิปต์                               4.   ฟินิเชียน

             ตอบ 4       หน้า 8427 (H) ชาวฟินิเชียนเป็นชนเผ่าเซมิติกที่เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนด้านซีเรีย (ปัจจุบันคือประเทศเลบานอน) โดยมีอาชีพสำคัญคือ ท่าการค้าหรือการพาณิชยกรรม ทำให้ชาวฟินิเชียนได้รับการยกย่องว่าเป็น พ่อค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” โดยเป็นทั้งนักต่อเรือนักเดินเรือ และนักล่าอาณานิคม ซึ่งอาณานิคมที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญคือ เมืองคาดิซในสเปนและเมืองคาร์เถจบนฝั่งแอฟริกาเหนือ (ปัจจุบันคือประเทศตูนิเซีย) 

19.       การปกครองตนเองคือการปกครองในอุดมคติของชนชาติใดก่อนในยุคโบราณ

             1.   ชาวโรมัน                2.   ชาวกรีก                      3.   ชาวไบแซนไทน์                     4.   ชาวบาบิโลเนีย

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

20.  การใช้สัญลักษณ์มนุษย์ในการสร้างสรรค์ศิลปกรรม เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะชนชาติใด

             1.   อียิปต์                                  2.   โรมัน                               3.   เมโสโปเตเมีย                                 4.   กรีก

             ตอบ 4       หน้า 131, (คำบรรยาย) ชาวกรีกเป็นนักวัตถุนิยมที่มองโลกในแง่กายภาพ ทำให้งานศิลปะของกรีก                ส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายทางโลกเป็นสำคัญ โดยมีเอกลักษณ์เด่น คือ เป็นงานที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของมนุษย์ ตามคตินิยมที่ว่ามนุษย์คือสัตย์โลกที่สำคัญที่สุดในจักรภพ ดังนั้นประติมากรรมบางชิ้นแม้จะเป็นรูปบนของเทพเจ้า แต่ก็ไม่ได้ทิ้งลักษณะความเป็นมนุษย์ไปเลยทีเดียว

21.       ในระบอบทรราชกรีก ผู้นำมีอำนาจโดยวิธีใด

1.   เลือกตั้ง               

2.   คัดเลือก                           

3.   ยึดอำนาจ                        

4.   สืบต่อในวงศ์สกุล

ตอบ 3       หน้า 116 – 11740 (H) ระบอบทรราช (Tyranny) เป็นระบอบการปกครองในยุคหนึ่งของกรีกซึ่งผู้นำจะยึดอำนาจแล้วปกครองตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชน เรียกว่า สัญญาประชาคม     หรือเป็นการก้าวขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง ไม่ใช่จากการสืบสายโลหิต ดังนั้นความหมายของคำว่า ทรราช” (Tyrants) จึงมีความหมายถึงคนไม่ดีหรือผู้ปกครองที่ปกครองแบบกดขี่เพราะเมื่อพวกทรราชปกครองไปได้ระยะหนึ่ง ก็มักจะหลงอำนาจและกลายเป็นเผด็จการไป 

22.  ระบอบนครรัฐเป็นระบอบการปกครองของชนชาติใดมาก่อนในยุคโบราณ

             1.   สุเมเรียน                             2.   กรีก                                  3.   โรมัน                               4.   อิตาลี

             ตอบ 1       หน้า 68 – 70 (คำบรรยาย) สุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่เริ่มสร้างและวางรากฐานทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย ทั้งนี้สันนิษฐานว่าชนกลุ่มนี้อพยพมาจากที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีปเอเชียแล้วเข้ามาตั้งบ้านเรือนในเขตบาบิโลเนียบริเวณซูเมอร์เมื่อ 4,000 B.C. โดยเริ่มจากการเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ต่อมาได้รวมกันเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐจะปกครองตนเองและมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น เมือง Ur, Eridu, Kish เป็นต้น

23.       การนับหลัก 6010 และ 6 เป็นการคิดค้นทางด้านใดของชนใดในยุคโบราณ

1.   ทางเทคโนโลยีของกรีก

2.   ทางวิทยาศาสตร์ของชาวสุเมเรียน

3.   ทางเคมีวิทยา

4.   ทางแคลคูลัสของชาวโรมัน

 ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

24.       จักรวรรดิใดเป็นจักรวรรดิแรกที่ปกครองตามหลักกฎหมาย และจักรวรรดิใดสืบต่อและพัฒนาหลัก  

ปฏิบัตินี้จนเป็นระบบนิติศาสตร์

1.   บาบิโลเนียใหม่ต่อมาจักรวรรดิเปอร์เซีย

2.   สุเมเรียนต่อมาบาบิโลเนียใหม่

3.   บาบิโลเนียเก่าต่อมาจักรวรรดิโรมัน

4.   แคลเดียต่อมาจักรวรรดิไบแซนไทน์

             ตอบ 3       หน้า 73 – 74173253255 (คำบรรยาย) จักรวรรดิแรกที่ใช้กฎหมายเป็นหลักในการปกครอง คือ พวกอะมอไรท์หรือบาบิโลเนียเก่า ส่วนจักรวรรดิโรมันก็ได้ยืดกฎหมายเป็นหลักในการปกครองเช่นเดียวกัน โดยกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโรมันคือกฎหมาย 12 โต๊ะ ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นพื้นฐานแห่งระบบนิติศาสตร์ของโลกตะวันตกในปัจจุบันและก่อให้เกิดกฎหมายสำคัญขึ้น   คือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ) 

25.       การดำเนินชีวิตโดยมีกิจกรรมร่วมกันในสาธารณะเสมอ เป็นลีลาการดำเนินชีวิตของชนชาติใดในยุค

             โบราณ      1.   อียิปต์                      2.   เมโสโปเตเมีย                          3.   กรีก                  4.   สุเมเรียน

             ตอบ 3       หน้า 110130, (คำบรรยาย) เอกลักษณ์ทางสังคมของชาวกรีก คือ วิถีชีวิตในตัวเมืองหรือนครรัฐซึ่งในนครรัฐนี้จะมีสถานที่นัดพบปะประชุมกัน รวมทั้งเป็นตลาดด้วย ทำให้ชีวิตประจำวันของพลเมืองกรีกโดยเฉพาะที่นครรัฐเอเธนส์นั้นจะแสดงถึงความผูกพันกับกิจกรรมสาธารณะและการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การประกอบพิธีกรรม กิจกรรมทางการเมืองการปกครองการกีฬา การละครและความบันเทิง เป็นต้น  

26.       ในยุคกลาง ขุนนางมีอำนาจแท้จริงในระบอบการปกครองแบบใด

             1.   คณาธิปไตย            2.   ศักดินาสวามิภักดิ์                      3.   สมบูรณาญาสิทธิราชย์                 4.   ทรราช

             ตอบ 2       หน้า 223 – 22465 (H), (คำบรรยาย) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล

                                (Feudalism/Feudal) มีหัวใจสำคัญ คือ เป็นระบบความสัมพันธ์โดยมีเงื่อนไขระหว่างเจ้าเหนือหัว (Lord) หรือผู้มีที่ดินจำนวนมาก กับบริวารหรือข้า (Vassal) หรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยมีที่ดิน     (Fiefs/Feuda) เป็นพันธกิจแห่งความผูกพันและภาระหน้าที่ที่มีต่อกัน นอกจากนี้ยังเป็นระบบการเมืองการปกครองในยุคกลางที่ขุนนางท้องถิ่นมีอำนาจอย่างแท้จริงเพราะพวกเสรีชนได้มอบที่ดินให้แก่ขุนนางเพื่อขอความคุ้มครองในยามที่บ้านเมืองเกิดจลาจลแทนการขอความคุ้มครองจากกษัตริย์ซึ่งอ่อนแอและมีฐานะเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น 

27.       การที่ชาวโรมันร่วมกิจกรรมความบันเทิงอย่างเสมอกัน ทำให้ชาวโรมันรู้สึกอะไร

             1.   เจ้าข้าฟ้าเดียวกัน                                                               2.   มีความแตกต่างทางชนชั้นน้อย

             3.   สถานภาพพลเมืองไม่มีความหมาย                               4.   ความแตกต่างทางชนชั้นเป็นเรื่องปกติ

             ตอบ 2       หน้า 177-178, (คำบรรยาย) จากการที่ชาวโรมันเป็นชนชาติที่นิยมมีกิจกรรมร่วมกันในที่สาธารณะมากที่สุด โดยเฉพาะการร่วมกิจกรรมด้านความบันเทิงและการกีฬาอย่างเสมอภาคกัน เช่นการอาบน้ำสาธารณะ การแข่งรถศึกที่ Circus Maximus การต่อสู้แบบกลาดิ    เอเตอร์  (Gladiator)และการละครประเภทต่างๆ ได้ส่งผลทำให้ชาวโรมันมีความรู้สึกแตกต่างหรือเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางชนชั้นน้อยมาก

28.       ระบบเศรษฐกิจโรมันเป็นระบบเศรษฐกิจสากลเพราะมีลักษณะใด

             1.   รัฐควบคุมผูกขาดเศรษฐกิจ                                      2.   การมีระบบจัดเก็บภาษีระบบเดียวทั้งจักรวรรดิ

             3.   พลเมืองทุกหนแห่งควบคุมวิถีเศรษฐกิจเอง      4.   รัฐไม่แทรกแซงหรือควบคุมวิถีเศรษฐกิจ

             ตอบ 2       หน้า 177, (คำบรรยาย) ในช่วงที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกมีความเจริญสูงสุดนั้น เป็นสมัยที่เรียกว่า สากลรัฐโรมัน” ซึ่งถือว่าเป็นจักรวรรดิในอุดมคติของชาวยุคกลางและเป็นแบบ อย่างของลักษณะจักรวรรดิสากลที่มีเอกภาพและสันติสุขนั่นคือ มีการปกครองตนเองในระดับมณฑลที่ใช้ภาษาละติน กฎหมาย ระบบเศรษฐกิจด้านการจัดเก็บภาษีและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตลอดจนระบบ       การศาลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เป็นดินแดนที่คนต่างเชื้อชาติต่างภาษาต่างวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติและราบรื่น 

29.       ชาวกรีกเอเธนส์มีลัทธินิยมใดในการกำจัดบุคคลไม่พึงปรารถนา

             1.  กักบริเวณ            2.   ขับเนรเทศ                      3.   บัพพาชนียกรรม                           4.   จองจำชั่วชีวิต

             ตอบ 2       หน้า 126 – 12743 (H), (คำบรรยาย) ระบบออสตราซิสม์ (Ostracism) คือ การขับเนรเทศบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาออกนอกประเทศ โดยให้ประชาชนเขียนชื่อผู้เป็นภัยต่อรัฐลงบนเปลือกหอยออสตราคอน (Ostrakon) ถ้าผู้ใดได้คะแนนเสียงเกิน 6,000 เสียง และสภาประชาชนส่วนใหญ่ลงมติเห็นด้วยบุคคลนั้นต้องถูกเนรเทศออกจากนครรัฐเอเธนส์เป็นเวลา 10 ปี

30.       ในยุคกลาง จักรวรรดิใดมีนโยบายรัฐควบคุมเศรษฐกิจ

             1.   โรมันอันศักดิ์สิทธิ์            2.   ไบแซนไทน์                   3.   ชาร์เลอมาญ                   4.   เปอร์เซีย

             ตอบ 2       หน้า 289 – 291341 (103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 221) การค้าระบบกิลด์ในยุคกลาง โดยเฉพาะในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกนั้นบรรดาพ่อค้า และช่างฝีมือไม่อาจทำการค้าได้เองโดยลำพัง เพราะรัฐบาลมีนโยบายควบคุมและผูกขาดเศรษฐกิจโดยผ่านสมาคมเฉพาะอาชีพ (Guild System) ดังนั้นพ่อค้าและช่างฝีมือจึงต้องรวมตัวกันเป็นสมาชิกของสมาคมเฉพาะอาชีพ คือ สมาคมพ่อค้าและสมาคมช่างฝีมือเพื่อให้สามารถทำการค้าและปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนได้ 

31.       ความนิยมรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นรูปโค้งและวงกลม เป็นความนิยมมากของอารยธรรมชนชาติใดในยุคโบราณ       

1.   เมโสโปเตเมีย                    

2.   ชาร์เลอมาญ                   

3.   โรมัน               

4.   มาซิโดเนีย

ตอบ 3       หน้า 176179 ผลงานทางสถาปัตยกรรมรองโรมันนับเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะการจัดตั้งสถานที่ทำการของรัฐ ศาลสถิตยุติธรรม โรงมหรสพแอมพิเธียเตอร์รูปครึ่งวงกลมและประตูชัยรูปโค้ง ซึ่งการก่อสร้างของโรมันนั้นจะได้รับแบบอย่างมาจากกรีก เพียงแต่เพิ่มการใช้ประตูโค้งและรูปโดมหรือวงกลมซึ่งกรีกไม่มี นอกจากนี้จะมุ่งการก่อสร้างขนาดใหญ่มากกว่าการคำนึงถึงอัตราส่วน 

32.       อะไรคือลักษณะเด่นชองวิธีคิดของนักปรัชญากรีก                                       

1.   การคิดเชื่อถือเทพลิขิต                     

2.   การศรัทธาวิทยาศาสตร์                

3.   การคิดตามหลักเหตุผล

4.   การคิดตามหลักเทวนิยม

             ตอบ 3       หน้า 137 – 139, (คำบรรยาย) ปรัชญากรีกในระยะแรกจะคิดลึกซึ้งในเรื่องมนุษย์และธรรม ชาติซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดของชาวกรีกว่า เป็นการค้นหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล โดยใช้หลักวิภาษวิธี คือ การเปิดโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์แนว คิดต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางไม่จำกัดอยู่เฉพาะข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่ง นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากุญแจที่จะไขไปสู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ก็คือ พลังแห่งเหตุผลของคน (Logos) หรือการคิดตามหลักเหตุผลนั่นเอง

33. ในยุคโบราณ อารยธรรมใดพัฒนาจากการผสมผสานอารยธรรมกรีกกับอารยธรรมโลกตะวันออก

             1.   โรมัน                  2.   เฮลเลนิก                         3.   เฮลเลนิสติก                   4.   กรีกเฮลเลนิก

             ตอบ 3       หน้า 144 – 14647 (H) อารยธรรมเฮลเลนิสติก (Hellenistic Civilization) เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นหลังสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งเป็นจักรพรรดิเปอร์เซียที่ทรงพยายามรวมลักษณะที่ดีของชีวิตแบบโลกตะวันตก (อารยธรรมกรีกเฮลเลนิก) เข้ากับลักษณะที่ดีแบบโลกตะวันออก  (อารยธรรมเปอร์เซีย) ทำให้ปัจจุบันเราเรียกอารยธรรมนี้ว่า เฮลเลนิสดิก” (Hellenistic) เพื่อให้แตกต่างจากอารยธรรมกรีกบริสุทธิ์ทีเรียกว่า เฮลเลนิก” (Hellenic) 

34.       การจัดขบวนรบแบบ Phalanx ใช้หน่วยรบหลักอะไร

             1.   ทหารม้า                  2.   รถศึก                           3.   ทหารราบ                        4.   ทหารราบหุ้มเกราะ

             ตอบ 4       หน้า 144 (คำบรรยาย) ฟาแลนซ์ (Phalanx) คือ การจัดขบวนรบของกองทัพกรีกแบบเรียงแถวหน้ากระดาน ซึ่งเดิมจะมีแค่ 2 แถว จากนั้นก็พัฒนามาเป็น 4 แถว และ 8 แถวตามลำดับ โดยให้แถวที่ 1 ถืออาวุธสั้น และแถวต่อมาถืออาวุธยาวตามลำดับ ซึ่งสาเหตุที่กรีกต้องจัดขบวนรบแบบนี้ก็เพราะทหารราบหุ้มเกราะ (Hoplite) ที่เป็นหน่วยรบหลักต้องถืออาวุธและโล่ที่มีน้ำหนักมาก ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้าจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการจัดขบวนรบแบบฟาแลนซ์เพื่อให้กองทัพเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลำดับ 

35.       นักปรัชญากรีกคิดลึกซึ้งเรื่องใดก่อนในระยะแรก

             1.   ธรรมชาติ                           2.   เทววิทยา                         3.   ความลี้ลับ                        4.   สังคม

             ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ 

36.       ประชาธิปไตยเอเธนส์มีลักษณะใด

             1.   ประชาชนทุกชนชั้นมีสิทธิทางการเมือง                     2.   พลเมืองหญิงชายมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง

             3.   ประชาชนมีสิทธิ์ยับยั้งกฎหมาย                                    4.   พลเมืองชายชั้นสูงมีสิทธิทางการเมือง

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ 

37.       ข้อใดคือลักษณะของจักรวรรดิสากลของจักรวรรดิโรมัน

1.   การให้สถานภาพพลเมืองแก่ชนทุกเชื้อชาติ      

2.   การใช้ภาษา กฎหมาย และการศาลแบบเดียวกัน

3.   การให้สิทธิทางการเมืองแก่พลเมือง

4.   การให้ทุกหนแห่งปกครองตนเอง

ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ 

38.       จักรวรรดิใดของยุคโบราณเป็นจักรวรรดิในอุดมคติของชาวยุคกลาง

             1.   จักรวรรดิไบแซนไทน์                                                     2.   จักรวรรดิโรมันตะวันตก

             3.   จักรวรรดิมาชิโดเนีย                                                        4.   จักรวรรดิชาร์เลอมาญ

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ 

39.       ในสมัยเรืองอำนาจ สังคมโรมันเป็นสังคมสากลเพราะมีลักษณะใด

             1.   มีธรรมเนียมประเพณีแบบเดียวกัน                               2.   ประชากรเชื้อชาติเดียวมัน

             3.   ประชาชนเป็นพลเมืองหมด                                          4.   มีประชากรหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

40.       เหตุใดวิถีเศรษฐกิจโรมันจึงมีการใช้แรงงานทาสเป็นหลัก

             1.   เพราะมีการค้าทาส                                                           2.   เพราะมีการเกษตรเพื่อการค้า

             3.   เพราะมีการค้าระหว่างประเทศ                                     4.   เพราะมีศึกสงครามบ่อย

             ตอบ 2       หน้า 176, (คำบรรยาย) ในสมัยโรมันเรืองอำนาจสุดขีดหรือสมัยสันติสุขโรมัน (Pax Romana) ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและใช้แรงงานจากพวกทาสเป็นหลักโดยเฉพาะในช่วงที่การเกษตรขยายตัวเป็นการเกษตรเพื่อการค้า แต่ในช่วงปลายของสมัยนี้ได้มีเกษตรกรกลุ่มใหม่เกิดขึ้นคือ พวก Colonus ที่เข้ามาทำงานในไร่แทนพวกทาส ซึ่งพวกนี้จะไม่ใช่ทั้งทางและเสรีชน แต่จะถูกผูกติดอยู่กับที่ดิน 

41.       เหตุใดจักรพรรดิโรมันจึงมิได้ทรงรับผิดชอบต่อประชาชนในการปกครองจักรวรรดิ

1.   เพราะทรงสืบราชสันตติวงศ์                                         

2.   เพราะทรงเป็นเทวราช

3.   เพราะทรงมาจากการเลือกตั้ง                                         

4.   เพราะทรงเป็นผู้แทนประชาชน

             ตอบ 2       หน้า 169 – 170, (คำบรรยาย) ในสมัยของออกุสตุสที่ 1 ซึ่งเป็นสมัยที่เริ่มต้นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือจักรพรรดิราชย์ของจักรวรรดิโรมันนั้น ถือเป็นยุคที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “Roman’s Golden Age” (ยุคทองของโรมัน) และตั้งเป็นยุคที่จักรพรรดิโรมันมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงในฐานะของเทพเจ้า คือ จักรพรรดิทรงเป็นเทวราชซึ่งปกครองจักรวรรดิโดยรับผิดชอบต่อทวยเทพ แต่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนนอกจากนี้จักรพรรดิยังมีสิทธิเลือกรัชทายาทด้วยพระองค์เองอีกด้วย 

42.       ในยุคกลาง ชนกลุ่มใดในสังคมมีอำนาจเป็นอิสระและมีอภิสิทธิ์

1.   พ่อค้าและช่างฝีมือ

2.   พระและขุนนาง

3.   คอมมูนของชนชั้นกลาง        

4.   ชนชั้นกลาง

ตอบ 2       หน้า 304 – 305, (คำบรรยาย) การแบ่งชนชั้นในยุคกลางนั้นจะเป็นการแบ่งตามบทบาทหน้าที่ในสังคม ซึ่งมีอยู่ 3 ชนชั้น คือ

1. พระหรือนักบวชเป็นชนชั้นสูงในสังคม มีหน้าที่สำคัญในการสวดมนต์และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ประชาชน ทำให้พระกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ประชาชนต้องเสียภาษีให้และต้องปฏิบัติตามคำสั่ง

2. ขุนนาง เป็นอภิสิทธิ์ชน มีหน้าที่ร่างกฎหมายและระเบียบคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า

3. สามัญชน เป็นพวกไร้อภิสิทธิ์ มีหน้าที่ใช้แรงงานทั่วไป ซึ่งได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และช่างฝีมือ  

43.       ในยุคกลาง พ่อค้ารวมตัวกันในแต่ละนครจัดตั้งเป็นองค์กรประเภทอะไร

             1.   พรรคการเมือง 2.   สหภาพการค้า               3.   สมาคมเฉพาะอาชีพ          4.   องค์กรผู้แทน

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ

44.       ในยุคกลาง การอภิเษกร่วมราชวงศ์ก่อให้เกิดปัญหาอะไร

             1.   การสืบราชย์                                                                      2.   การปกครองท้องถิ่น

             3.   เกิดระบบศักดินาสวามิภักดิ์                                            4.   การรวมเป็นจักรวรรดิยาก

             ตอบ 1       หน้า 29679 (H), (คำบรรยาย) ในยุคกลางนั้นมักมีการทำสงครามระหว่างกันเกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ปัญหาการสืบราชบัลลังก์หรือสืบราชสันตติวงศ์อันเนื่องมาจากการอภิเษกสมรสร่วมราชวงศ์ เช่น กรณีที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ของอังกฤษทรงเรียกร้องสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส ในฐานะที่ทรงเป็นทายาทของฟิลิปที่ 4 กษัตริย์ต้นราชวงศ์คาเปเตียนของฝรั่งเศส แต่ขุนนางฝรั่งเศสไม่ยินยอม จึงก่อให้เกิดสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานถึง 100 ปี 

45.       สงครามใดในยุคกลางที่ถือว่าเป็นมหายุทธ์

             1.   สงครามสามสิบปี             2.   สงคราม 100 ปี               3.   สงครามครูเสด               4.   สงคราม 7 ปี

             ตอบ 3       หน้า 279 – 28576 – 77 (H) สงครามครูเสดในยุคกลางถือเป็นสงครามมหายุทธ์ที่มีรัฐและฝ่ายต่าง ๆ เข้าร่วมสงครามมากมาย ซึ่งกินระยะเวลาร่วม 200 ปี (รวมทั้งหมด 8 ครั้ง)โดยเป็นสงครามศาสนาระหว่างพวกคริสเตียนกับพวกมุสลิมเพื่อแย่งกันครอบครองกรุงเยรูซาเล็มและเมื่อสิ้นสุดสงครามพวกคริสเตียนก็ไม่สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนจากพวกมอสเล็มได้จึงถือว่าเป็น ความล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์” เพราะชาวยุโรปได้รับบทเรียนต่าง ๆ จากพวกอาหรับและอิสลามอื่น ๆ เป็นอันมาก ซึ่งผลของสงครามนี้ได้ทำให้อำนาจของฝ่ายศาสนจักรเพิ่มขึ้น

46.       เหตุใดสังคมยุคกลางจึงยกย่องพระเป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม

             1.   เพราะพระมีอำนาจปกครองอาณาจักร                         2.    เพราะศาสนจักรคือผู้แทนพระผู้เป็นเจ้า

             3.   เพราะพระมีหน้าที่สวดมนต์และตั้งพิธี                       4.   เพราะพระลงโทษญาติโยมถึงตายได้

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ  

47.       เมื่อสิ้นยุคกลาง ชนชั้นใดตกต่ำเสื่อมถอยอำนาจอิทธิพล

             1.   กษัตริย์                                2.   พ่อค้า                               3.   ชนชั้นกลาง                                   4.   พระ

ตอบ 4       หน้า 303-30431833397 (H) ในช่วงปลายยุคกลางจนถึงต้นยุคใหม่ การปฏิรูปศาสนาโดยเฉพาะนิกายโปรเตสแตนต์ ทำให้ความเป็นกลุ่มก้อนของสถาบันคริสต์ศาสนาแตกกระจัดกระจายส่งผลให้อำนาจของศาสนจักรและสันตะปาปาเสื่อมอิทธิพลลง ในขณะที่กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นเนื่องจากประชาชนในชาติไม่อยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของศาสนจักรอีกต่อไปแต่ได้หันมาชื่นชมชาติภูมิของตน โดยสนับสนุนให้กษัตริย์เป็นผู้ดูแลวัดและจัดการกิจกรรมภายในประเทศอย่างเต็มที่

48.       เมื่อสิ้นจักรวรรดิโรมันใน ค.ศ. 476 สังคมเป็นจลาจล เศรษฐกิจได้หวนคืนสู่ระบบอะไร

             1.   ระบบนาเปิด           2.   ระบบแมเนอร์                           3.   ระบบนาสาม 4.   ระบบล้อมรั้ว

ตอบ 2       หน้า 23766 (H), (คำบรรยาย) เมื่อสิ้นจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ. 476 การเมืองการปกครองของยุโรปได้เข้าสู่ยุคกลาง ซึ่งมีการพัฒนา 2 แบบขนานควบคู่กันไป คือ

1. ในยุคสมัยที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะกลียุค เกิดการจลาจล ก็จะมีการเมืองการปกครองแบบกระจายอำนาจจากกษัตริย์ไปยังขุนนาง หรือที่เรียกว่าระบอบศักดินาสวามิภักดิ์หรือระบอบฟิวดัล รวมทั้งมีการนำระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์มาใช้

2. ในยุคสมัยที่รวมกันเป็นอาณาจักร ก็จะมีการเมืองการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น หรือที่เรียกว่าระบอบราชาธิปไตยหรือจักรพรรดิราชย์ 

49.       ลักษณะใดแสดงว่าศิลปะโรมาเนสก์แตกต่างจากศิลปะโกธิค

             1.   รูปแบบสถาปัตยกรรมนิยมรูปทรงเพรียวเบา              2.   ศิลปะโรมาเนสก์นิยมหลังคาโค้งแหลม

             3.   รูปทรงอาคารหนาหนักนิยมรูปโค้งและวงกลม         4.   นิยมใช้กระจกสีและหินอ่อน

             ตอบ 3       หน้า 313-315 สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างศิลปะโรมาเนสก์กับศิลปะโกธิค คือ ศิลปะโรมาเนสก์ จะนิยมรูปทรงอาคารหนาทึบ ไม่ค่อยมีแสงสว่าง รวมทั้งมีสิ่งก่อสร้างโค้งกลม เสาและกำแพงหนาในขณะที่ศิลปะโกธิคจะนิยมสร้างโบสถ์ที่มีหลังคาโค้งแหลม เซาะเป็นร่อง ซึ่งมีผลให้อาคารดูมีน้ำหนัก เพรียวเบา นอกจากนี้หน้าต่างก็มักประดับด้วยกระจกสีเพื่อให้มีแสงสว่างมากขึ้น 

50.       การเกษตรของยุคกลางเพิ่มผลผลิตโดยวิธีการใด

             1.   ใช้วิทยาศาสตร์                 2.   ระบบนาสาม                  3.   ใช้เครื่องจักร   4.   ใช้กำลังและพลังงาน

ตอบ 2       หน้า 23666 (H), (คำบรรยาย) การเกษตรในระบอบฟิวดัลของยุคกลาง จะใช้ระบบนาสาม(Three Fields System) คือ การแบ่งที่ดินเป็น 3 แปลง แต่มีการหมุนเวียนเพาะปลูกคราวละ 2 แปลงส่วนอีกแปลงหนึ่งพักว่างให้ที่ดินฟื้นตัว ครั้นฤดูกาลต่อมาจึงใช้ที่ดินว่างผืนนั้นแล้วปล่อยแปลงอื่นให้ว่างแทน ทำสลับกันเช่นนี้ทุกปีเพื่ออนุรักษ์ดินและเพิ่มผลผลิต 

51.       รูปแบบสถาปัตยกรรมใดมีลักษณะแตกต่างจากพีระมิดในยุคโบราณ

1.   Portico                                    

2.   Step Pyramid                             

3.   Mastaba                          

4.   Ziggurat

             ตอบ 1       หน้า 496369, (คำบรรยาย) Portico คือ มุขหน้าหรือมุขห้องโถง ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโรมันที่เป็นตัวอาคารส่วนหน้าที่ยื่นออกมาจากอาคารหลังทรงเหลี่ยม โดยจะมีลักษณะเป็นระเบียงทางเข้าที่มีหลังคาและเสากลมแบบกรีก (ส่วน Step Pyramid คือ พีระมิดแบบขั้นบันได Mastaba คือ สุสานหินของอียิปต์ช่วงต้นราชวงศ์ จะมีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายฐานพีระมิด Ziggurat คือ สถาปัตยกรรมของชาวสุเมเรียนที่มีลักษณะคล้ายกับพีระมิด)

52.       อะไรคือลักษณะที่เป็นนวัตกรรมการปกครองแบบโรมัน

             1.   การมีผู้ปกครองร่วมกันเป็นหมู่คณะ                             2.   การเลือกตั้งซ้อน 2 ครั้ง

             3.   การมีผู้นำสูงสุด 2 คนเป็นกงสุล                                    4.   การมีผู้นำสูงสุดคนพียง 1 คน

             ตอบ 3       หน้า 161 (คำบรรยาย) ในสมัยสาธารณรัฐโรมัน ชาวโรมันได้ริเริ่มรูปแบบการปกครองระบอบกงสุล (Consulate System) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการปกครองแบบโรมันเอง นั่นคือระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุล (Consuls) 2 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง              “Magistrates” หรือผู้นำสูงสุด ทำหน้าที่เป็นประมุขของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารโดยจะคัดเลือกมาจากขุนนางสามัญชนอิสระ แต่ส่วนใหญ่จะมาจากพวกแพทริเชียน หรือกลุ่มชนชั้นสูงของสังคม 

53.       ในยุคกลาง ระบอบราชาธิปไตยและระบอบศักดินาสวามิภักดิ์มีความแตกต่างกันเป็นตรงกันข้ามในด้านใดเป็นหลัก

             1.   การนับถือศาสนา             2.   วิธีการใช้อำนาจ            3.   ลัทธิประเพณีการเมือง                 4.   คติวีรชน

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ 

54.       ในปลายยุคกลาง ขุนนางตกยากและตกต่ำด้วยเหตุใด

             1.   เศรษฐกิจตกต่ำ 2.   สงคราม           3.   กษัตริย์มีอำนาจ                              4.   ภัยธรรมชาติ

             ตอบ 2       หน้า 296-29979-80 (H) สาเหตุที่ทำให้ขุนนางตกยากและตกต่ำในปลายยุคกลางนั้นเนื่องมาจากปัญหาทางด้านสงคราม ซึ่งทำให้ขุนนางเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และยังถือว่าเป็นการสิ้นสุดของระบอบฟิวดัลอีกด้วย ไค้แก่

1.   สงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337-1453) เป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาสิทธิในการสืบราชบัลลังก์

2.   สงครามดอกกุหลาบ (ค.ศ.1455-1485) เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่างขุนนาง 2 ตระกูล คือ ตระกูลแลงคาสนตอร์และตระกูลยอร์ค 

55.       เมื่อใดที่บ้านเมืองเป็นจลาจลในยุคกลางผู้คนจะพึ่งพาใครเป็นหลัก

             1.   กษัตริย์                                2.   ขุนนาง                            3.   พ่อค้า                               4.   พึ่งตนเอง

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 26. และ 48. ประกอบ 

56.       ในยุคกลาง การกระจายอำนาจเป็นวิธีการใช้อำนาจของระบอบการปกครองใด

             1.   ราชาธิปไตย                       2.   จักรพรรดิราชย์              3.   ศักดินาสวามิภักดิ์          4.   คณาธิปไตย

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

57.       ข้อใดแสดงว่าอาณาจักรมีอำนาจเหนือศาสนจักรในปลายยุคกลาง

             1.   เกรเกอรี่ที่ 7 ทรงอภัยโทษแก่แฮนรี่ที่ 4                        2.   พระสันตะปาปาประทับที่เมืองอาวิญยอง

             3.   เฮนรี่ที่ 4 เสด็จไปเมืองคนอสซา                                    4.   การลอบสังหารสังฆราชเบคเคท

             ตอบ 2       หน้า 300 – 30380 (H) สมัยการคุมขังแห่งบาบิโลเนียในตอนปลายยุคกลาง (Babylonian  Captivity ค.ศ. 1305 – 1377) เป็นสมัยที่มีการเปรียบเทียบสันตะปาปาว่าเป็นเหมือนกับพวกยิวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่กรุงบาบิโลเนียในยุคโบราณ เนื่องจากสันตะปาปาได้ย้ายที่ประทับจากกรุงโรมในอิตาลีมาอยู่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส ทำให้สันตะปาปาชาวฝรั่งเศสองค์ต่อ ๆ มาก็พำนักอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลานานถึง 70 ปี ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรสามารถบังคับบัญชาศาสนจักรได้ ทำให้สันตะปาปาตกอยู่ภาย ใต้อำนาจขอกษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนสันตะปาปา จนทำให้สันตะปาปามิได้มีฐานะเป็นประมุขสากลอีกต่อไป

58.       เหตุใดการปฏิรูปศาสนาจึงทำให้ศาสนจักรตกต่ำในปลายยุคกลาง

             1.   ญาติโยมเป็นอิสระจากศาสนจักร 2.   ผู้คนไม่อยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของศาสนจักร

             3.   ศาสนจักรตกยาก                                              4.   มีคนเข้ารีตลดฮวบ

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ 

59.       มหาอำนาจชาติใดในปลายยุคกลางเคยมีอำนาจเหนือศาสนจักรที่กรุงโรมและแสดงอำนาจโดยวิธีใด

             1.   อังกฤษ โดยการแต่งตั้งพระคาร์ดินาล              2.   โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยแต่งตั้งพระสันตะปาปา

             3.   ฝรั่งเศส แต่งตั้งพระสันตะปาปา                      4.   เยอรมนี ถอดถอนพระคาร์ดินาล

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ 

60.       ในปลายยุคกลางศาสนจักรที่กรุงโรมแตกแยกครั้งใหญ่ด้วยเหตุใด

             1.   ยุโรปครอบงำกรุงโรม                                                     2.   ชิงตำแหน่งพระสันตะปาปา

             3.   อาณาจักรยุให้ศาสนจักรแตกแยก                                 4.   ความขัดแย้งด้วยเรื่องหลักธรรม

             ตอบ 2       หน้า 30380 – 81 (H) ในปลายยุคกลาง ศาสนจักรที่กรุงโรมตกต่ำลงเนื่องจากเกิดการแตกแยกครั้งใหญ่ (The Great Schism) ซึ่งเป็นการแตกแยกกันเองภายในวงการศาสนจักรที่ดำเนินมาถึง 40 ปีโดยมีสาเหตุมาจาการแย่งชิงตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างชาวอิตาลีกับชาวฝรั่งเศส จนส่งผลให้เกิดสันตะปาปาขึ้นพร้อมกัน 2 องค์ทั้งที่กรุงโรมในอิตาลีและที่เมืองอาวิญยองในฝรั่งเศส แต่เหตุการณ์นี้ก็สิ้นสุดลงหลังการประชุมที่คองสตังซ์ในระหว่างปี ค.ศ. 1414 – 1418 ซึ่งได้กำหนดให้มีสันตะปาปาเพียงองค์เดียวประทับที่กรุงโรม

61.       นักวิทยาศาสตร์มองโลกเป็นอะไร

1.   โลกทิพย์             

2.   โลกแห่งจินตนาการ                     

3.   เครื่องจักร                       

4.   ละครโรงใหม่

ตอบ 3       (คำบรรยาย) นักวิทยาศาสตร์ในช่วงต้นยุคใหม่มองระบบจักรวาลว่า โลกคือเครื่องจักร” เพราะมีการทำงานเป็นระบบระเบียบ เป็นไปตามจุดประสงค์ของมันในขณะที่ยุคกลางซึ่งเป็นยุคที่มีความศรัทธาต่อศาสนามากกลับมองว่าระบบจักรวาลเป็นระบบที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติล้วนเกิดจากแผนการของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น 

62.       ผลงานด้านใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

             1.   ประชากรเพิ่ม เกิดง่าย ตายช้า                                        2.   การคิดลึกซึ้งเรื่องโลก

             3.   การกีฬาเพื่อพระเจ้า                                                         4.   การละครเพื่อพระเจ้า

             ตอบ 1       (คำบรรยาย) (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 502 – 503509) จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ของหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ที่ได้ค้นพบจุลินทรีย์ทำให้ชาวตะวันตกระวังในเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด และรู้วิธีควบคุมโรคระบาดด้วยวัคซีน ซึ่งส่งผลให้อัตราการตายน้อยลงและทำให้จำนวนประชากรในยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพิ่มสูงกว่าที่อื่น ๆ ในโลก 

63.       ในศตวรรษที่ 18 ระบบการผลิตสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อมีการใช้อะไรเป็นปัจจัยในการผลิต            

             1.  ระบบทำงานหมุนเวียน   2.   การธนาคาร         3.   เครื่องจักร         4.   หัวสมองรู้คิด

             ตอบ 3       หน้า 340 – 34488 – 89 (H) เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 การปฏิวัติทางการค้าทำให้เกิดเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ คือ ระบอบทุนนิยม (Commercial Capitalism) ซึ่งเป็นระบอบที่ก่อให้เกิดการใช้เงินเหรียญและมีความต้องการสะสมทองแท่งตามระบบมาตรฐานทองคำมากขึ้น นอกจากนี้การปฏิวัติทางการค้ายังส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องจักรในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อผลิตให้ได้ปริมาณมากและรวดเร็วยิ่งขึ้น 

64.       เทวนิยมไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไปในสมัยใดของยุคใหม่

             1.   สมัยฟื้นฟูวิทยาการ                                                          2.   สมัยประเทืองปัญญา

             3.   สมัยปฏิวัติวิทยาศาสตร์                                    4.   การปฏิรูปศาสนา

             ตอบ 2       หน้า 443110 (H) สมัยประเทืองปัญญา (The Enlightenment) หมายถึง การที่วิทยาศาสตร์เริ่มมีความสำคัญโดยเข้ามาแทนที่วิชาเทววิทยา (เทวนิยม) ในการอธิบายเรื่องของจักรภพโดยเป็นยุคที่เน้นความสำคัญของเหตุผลของมนุษย์ในฐานะที่เป็นพื้นฐานแห่งความเจริญก้าวหน้ามีการคิดตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือ เชื่อถือในสิ่งที่พิสูจน์ได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นยุคที่มีการเทิดทูนสภาวะของปัจเจกชนอย่างเต็มกำลัง

65.       การปฏิวัติอุตสาหกรรมหมายถึงกระบวนการอะไร

             1.   เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต                                                         2.   เปลี่ยนแปลงทางการเมือง

             3.   เปลี่ยนแปลงวิธีคิด                                                           4.   เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

             ตอบ 4       หน้า 494561 การปฏิวัติอุตสาหกรรม หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากสังคมเกษตรกรรมและการค้าแบบเก่ามาเป็นสังคมอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนและสัตว์ โดยมีการพัฒนารูปแบบของกำลังใหม่ ๆ คือ น้ำ ไอน้ำ ไฟฟ้า น้ำมันและพลังงานปรมาณู นอกจากนี้ยังมีการผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการอพยพจากชนบทเข้าเมืองด้วย 

66.       การใช้เครื่องจักรในการผลิตเป็นการใช้ทดแทนอะไร

             1.   พลังงานไฟฟ้า                  2.   พลังงานถ่านหิน                 3.   แรงงานมนุษย์             4.   แรงงานไอน้ำ

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ 

67.       การผลิตเป็นอุตสาหกรรมมีลักษณะอะไร

             1.   ผลิตตามฤดูกาล                                                                                 2.   ผลิตตามคำสั่งของลูกค้า

             3.   ผลิตปริมาณมากสารพัดประเภท                                   4.   ผลิตสินค้าพิเศษเฉพาะตามสั่ง

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ 

68. ลัทธิใดส่งเสริมให้มีการสะสมทองแท่งตามระบบมาตรฐานทองคำ

             1.   ลัทธิทุนนิยม              2.   ลัทธิพาณิชย์นิยม   3.   ลัทธิสังคมนิยม               4.   ลัทธิกีดกันสินค้า

             ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ 

69.       กระบวนการใดส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.   การค้นพบดินแดน

2.   การปฏิรูปศาสนา

3.   การปฏิวัติการเกษตร       

4.   การปฏิวัติการค้า

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ 

70.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการมีความหมายในทางโลกโดยเน้นอะไรเป็นสำคัญ

             1.   ศาสนา                                2.   งานศิลป์                          3.   การปกครอง                      4.   กฎหมาย

             ตอบ 2       หน้า  356 – 35892 (H) การฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือเรอเนสซองส์ (Renaissance) คือการเกิดใหม่ของอารยธรรมคลาสสิกหรือเป็นการศึกษาศิลปวิทยาการกรีก-โรมันขึ้นมาใหม่ซึ่งในทางโลกจะเน้นที่งานศิลป์ แต่ในส่วนของมนุษย์นิยมจะเน้นที่งานวรรณกรรม ทั้งนี้การฟื้นฟูศิลปวิทยาการได้ก่อให้เกิดผลงานทั้งทางด้านศิลปะ การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และการกำเนิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่

71.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการโดยเน้นวรรณกรรม เป็นความหมายของการฟื้นฟูในทางด้านใด

1.   มนุษยธรรม                        

2.   ศิลปกรรม                       

3.   อักษรศาสตร์ 

4.   มนุษยนิยม

ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ 

72.       การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นการฟื้นฟูความรู้ทางใด

1.   ความลี้ลับ                           

2.   จริยศาสตร์                        

3.   ทางธรรม                      

4.   ทางโลก

ตอบ 4       หน้า 356 – 357 (ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ) กระบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุคใหม่จะเน้นความสำคัญของมนุษย์ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งจักรภพและมุ่งไปสูการดำรงชีวิตทางโลกเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะอุดมคติของสากลมนุษย์ (Universal Man) ที่เป็นคนรอบรู้ภาษาใต้คำขวัญที่ว่า มนุษย์ทำได้ทุกอย่างที่อยากจะทำ” ดังนั้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการจึงถือว่าเป็นกระบวนการฟื้นฟูความสำคัญในการแสดงออกของปัจเจกบุคคลและประสบการณ์ทางโลก ซึ่งนับว่ามีความแตกต่างจากยุคกลางซึ่งถูกครอบงำจากคริสต์ศาสนาโดยสิ้นเชิง 

73.       ความคิดว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรภพนั้น เป็นความคิดหลักของความเคลื่อนไหวอะไรในยุคใหม่

             1.   การปฏิรูปศาสนา                                                              2.   การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

             3.   การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ                                   4.   การปฏิวัติอุตสาหกรรม

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

  74.     ข้อใดคือสาเหตุทางการเมืองของการปฏิรูปศาสนา

             1.   ศาสนจักรปกครองตนเอง                                               2.   การเรียกค่าบำรุงศาสนา

             3.   การประพฤติผิดศีลธรรม                                                 4.   ศาสนจักรค้าขาย

             ตอบ 1       หน้า 376 – 37797 (H) สาเหตุทางการเมืองของการปฏิรูปศาสนามีดังนี้

1.   สันตะปาปาสนพระทัยแต่เรื่องการขยายดินแดนและเผยแพร่อิทธิพล เพื่อหวังผลให้ ศาสนจักรปกครองตนเองมากกว่าการเป็นผู้นำทางศาสนา

2.   ความเสื่อมของศาสนจักรจากเหตุการณ์การคุมขังแห่งบาบิโลเนียและการแตกแยกครั้งใหญ่

3.   กษัตริย์ต้องการขจัดอิทธิพลของสันตะปาปาออกจากดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองเพื่อเข้าครอบครองและหาผลประโยชน์จากที่ดินของวัด 

75.       เหตุใดอาณาจักรต้องการบังคับบัญชาศาสนจักร

             1.   เพราะต้องการแต่งตั้งพระ                                              2.   เพราะศาสนจักรต้องการปกครองทั้งทวีป

             3.   เพราะต้องการเก็บภาษีวัด                                               4.   ถูกข้อ 1 และ 3

             ตอบ 4       หน้า 243300 – 30168 – 69 (H) 80 (H) สาเหตุที่อาณาจักรต้องการปกครองศาสนจักรมีดังนี้

1. กษัตริย์ต้องการมีอำนาจแต่งตั้งหัวหน้าพระ เพราะกษัตริย์ทรงถือว่าสงฆ์ทำประโยชน์ในที่ดินของพระองค์ ดังนั้นจึงควรถวายความสวามิภักดิ์ตามระบอบฟิวดัล เช่น กรณีของจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 กับสันตะปาปาเกรเกอรี่ที่ 7 แต่ในที่สุดสันตะปาปาก็เป็นฝ่ายชนะ

2. กษัตริย์ต้องการเก็บภาษีวัดเพื่อใช้ในการทำสงคราม เช่น กรณีพระเจ้าฟิลิปที่ 4 กับสันตะปาปาโบนิฟาซที่ 8 แต่ต่อมาสันตะปาปาก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้และสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1303 

76.       เหตุใดการปฏิรูปศาสนาต้องปฏิรูปตัวบุคคลคือนักบวช

             1.   เพราะนักบวชเป็นคณะผู้บริหารศาสนจักร                2.   เพราะนักบวชไม่รู้หนังสือและหลักธรรม

             3.   เพราะนักบวชไม่ประพฤติธรรม                                   4.   ถูกข้อ 2 และ 3

             ตอบ 4       หน้า 37797 – 98 (H), (คำบรรยาย) การปฏิรูปศาสนาที่ดำเนินมาตั้งแต่ปลายยุคกลางเป็นการปฏิรูปตัวนักบวชและศาสนจักรเป็นสำคัญ โดยสาเหตุทางสังคมที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนามี         ดังนี้ 1. มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการฉ้อฉลและความประพฤติที่ผิดวินัยผิดศีลธรรมของพระหรือคณะนักบวชกับเจ้าหน้าที่ศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุด เช่น การซื้อขายตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ของพระที่เรียกว่า “Nepotism”  2. พระไม่รู้หนังสือและหลักธรรมพอที่จะทำการสอนศาสนา   3. การมุ่งพิธีกรรมมากเกินไป            4. ถูกโจมตีจากนักมนุษย์นิยมว่ามนุษย์ควรสนใจในโลกนี้มากกว่าโลกหน้า  

77.       ข้อใดคือผลของการปฏิรูปศาสนา

             1.   พระมีอำนาจครอบงำอาณาจักร                                     2.   ขุนนางมีอำนาจมากขึ้น

             3.   กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น                                    4.   ศาสนจักรเป็นใหญ่ในยุโรป

             ตอบ 3       หน้า 386101 (H), (คำบรรยาย) ผลของการปฏิรูปศาสนาเมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีดังนี้

1. เป็นการสิ้นสุดของสภาพศาสนาสากล คือ นิกายคาทอลิกไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายเดียวของยุโรปตะวันตกอีกต่อไป  

2. เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ้งแยกตัวออกจากคริสตจักรที่กรุงโรมแล้วเผยแผ่ไปยังดินแดนต่าง ๆ มากมายหลายนิกาย เช่น ลูเธอรันนิสม์ คาลวินิสม์ โพรสไบทีเรียน นิกายอังกฤษ                 

3. เกิดลัทธิชาตินิยม             

4. กษัตริย์และชนชั้นกลาง (พ่อค้า) มีอำนาจมากขึ้นและเกิดระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแทนที่ระบอบฟิวดัล  

5. เกิดสงครามศาสนาและสงครามแย่งชิงดินแดนในโลกใหม่  

78.       วิทยาศาสตร์ต้นยุคใหม่ต้องอาศัยอะไรเป็นสำคัญในการศึกษา

             1.   การจินตนาการ                 2.   การทดลอง        3.   การคิดคาดเดา             4.   การเปรียบเทียบศึกษา

             ตอบ 2       หน้า 37339597 (H), (คำบรรยาย) การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ของยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่นั้นเป็นการปฏิวัติที่อาศัยการสังเกต ประสบการณ์ และการทดลองเป็นเครื่องมือหลักโดยวิทยาศาสตร์พัฒนาเริ่มต้นมาจากการตั้งข้อสมมุติฐานเป็นพื้นฐานก่อน แล้วจึงแสวงหาข้อมูลเพื่อที่จะทดลองและพิสูจน์ข้อสมมุติฐานนั้นเป็นจริงตามที่พิสูจน์ก็จะมีการตั้งขึ้นเป็นทฤษฎี และถ้าหากทฤษฎีเป็นที่ยอมรับมากขึ้นตามลำดับ ทฤษฎีนั้นก็จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ 

79.       อดัม สมิธ มีความคิดต่อต้านการค้าแบบใด

             1.   การค้าเสรี           2.   การค้าผูกขาด                 3.   การค้าโดยรัฐ  4.   การค้าโดยศาสนจักร

             ตอบ 2       หน้า 430499 – 500502 (คำบรรยาย) อดัม สมิธ (Adam smith) บิดาของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้เสนอนโยบายการค้าเสรี (Laissez-faire) หรือนโยบายปล่อยเสรี คือ การที่รัฐบาลจะต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยการตั้งข้อจำกัดทางการค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งเขาได้ให้ทัศนะว่าบุคคลควรมีโอกาสแสวงหากำไรของตนทางเศรษฐกิจโดยไม่ถูกควบคุมและจำกัดด้วยลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ซึ่งมีลักษณะเป็นการค้าผูกขาดเฉพาะแห่ง 

80.       ผู้ปกครองแบบสมัยประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) ใช้อำนาจอย่างไร

             1.   กระจายอำนาจ       2.   กึ่งรวมกึ่งกระจายอำนาจ         3.   แบ่งมอบอำนาจ       4.   รวมอำนาจเด็ดขาด

             ตอบ 4       หน้า 419431491 กษัตริย์หรือผู้ปกครองแบบสมัยประเทืองปัญญา (Enlightened Despots) จะใช้อำนาจในการปกครองตามระบอบราชาธิปไตยที่เป็นการรวมอำนาจเด็ดขาดทำให้กษัตริย์มักจะพยายามหาทางกำจัดพวกขุนนางและพระโดยอ้างว่าเป็นการกำจัดอำนาจของอภิสิทธิ์ชน ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วทรงกำจัดอำนาจขุนนางและพระก็เพื่อเพิ่มพระราชอำนาจซึ่งตัวอย่างของกษัตริย์ที่มีลักษณะดังกล่าว เช่น พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซียและพระนางแคเทอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซียเป็นต้น 

81.       มีกี่ชนชั้น และชนชั้นใดบ้างที่ต่อต้านระบอบเก่าในศตวรรษที่ 18

1.   2 ชนชั้น คือ พระและขุนนาง                                        

2.   3 ชนชั้น คือ พระ ขุนนาง และสามัญชน

3.   2 ชนชั้น คือ ขุนนางและชนชั้นกลาง                          

4.   1 ชนชั้น คือ ชนชั้นกลาง

ตอบ 4       หน้า 455461 (คำบรรยาย) การปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 เป็นการต่อต้านเพื่อล้มระบอบเก่า คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบอบการปกครองแบบรวมอำนาจที่กษัตริย์ทรงใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขต นอกจากนี้พวกอภิสิทธิ์ชน (ชนชั้นสูง)ยังเอารัดเอาเปรียบคนจน ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทางการเมืองและสังคม จนเป็นเหตุให้ชนชั้นกลางออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิมนุษยชนและหน้าที่อันเท่าเทียมกันในสังคมและต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น ซึ่งต่อมาการปฏิวัติก็ได้ขยายไปยังมวลชนและประสบความสำเร็จในที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อเปลี่ยนการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

82.       การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 17 – 20 เป็นการล้มล้างระบอบใด

             1.   ระบอบประชาธิปไตย                                                     2.   ระบอบสาธารณรัฐ

             3.   ระบอบเทวราช                                                                 4.   ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ  

83.       การล้มล้างระบอบเก่ามุ่งหมายสร้างระบอบอะไรแทนที่

             1.   ระบอบจักรพรรดิราชย์                                                    2.   ระบอบประชาธิปไตย   

             3.  ระบอบสาธารณรัฐ                                                            4.   ระบอบเทวราช

             ตอบ 2       ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ  

84.       สงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1642 – 1649 จบลงโดยฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ

             1.   สภาขุนนาง                       2.   รัฐสภา                             3.   กษัตริย์                             4.   สภาสามัญชน

             ตอบ 2       หน้า 411-413107 (H) ในระหว่างปี ค.ศ. 1642-1649 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอังกฤษทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่1 กับรัฐสภาอังกฤษซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเพียวริตัน (Puritans) ในกรณีที่พระองค์ต้องการเงินเพื่อไปปราบปรามการกบฏของพวกสก็อต โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของรัฐสภา และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1649 ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองในระบอบเทวสิทธิ์ในอังกฤษและเปลี่ยนไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic)  

85.       ในปลายศตวรรษที่ 18 ประเทศใดปฏิวัติการเมืองตามอุดมคติของสมัยประเทืองปัญญาเป็นประเทศแรก

             1.   ฝรั่งเศส                               2.   อังกฤษ                            3.   ปรัสเซีย                           4.   สหรัฐอเมริกา

             ตอบ 1       (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 486 – 487489) ในปลายศตวรรษที่ 18 อุดมคติของสมัยประเทืองปัญญาไม่มีผลต่อยุโรปจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 ทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่เป็นแหล่งที่มาทางความคิดแบบประเทืองปัญญา แต่ไม่มีกษัตริย์แบบประเทืองปัญญาปกครอง จนถึงสมัยของพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราช ซึ่งทรงได้รับยกย่องว่าเป็นกษัตริย์แบบประเทืองปัญญา ทั้งนี้เพราะทรงใช้นโยบายปฏิรูปภายในประเทศตลอดจนทรงใช้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

86.       การปฏิวัติฝรั่งเศสมีจุดมุงหมายล้มล้างอำนาจของใคร

             1.   ชนชั้นกลาง                       2.   ชนชั้นขุนนาง                    3.   กษัตริย์                        4.   พระ

             ตอบ 3       หน้า 461 – 462114 – 115 (H)  การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นการปฏิวัติภายใต้การนำของชนชั้นกลางที่ต้องการล้มล้างอำนาจของกษัตริย์และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าหรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการปฏิวัติทางการเมืองของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17 – 20 (ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ) 

87.       การปฏิวัติทางการเมืองในระหว่างศตวรรษที่ 18 – 20 ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในท้ายสุดเมื่อมีใครเข้าร่วม              

             1.   พระ                     2.   ขุนนาง                            3.   พ่อค้า                               4.   มวลชน

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ 

88.       นโปเลียนทรงถือพระองค์เป็นกษัตริย์แบบใด

             1.   แบบประเทืองปัญญา         2.   แบบสาธารณรัฐ             3.   แบบกงสุล                   4.   แบบเสรีนิยม

             ตอบ 1       ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ 

89.       เหตุใดในศตวรรษที่ 19 ยุโรปจึงเป็นโรงงานโลก

             1.   เพราะยุโรปเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต           2.   เพราะยุโรปผลิตสินค้าไปขายทั่วโลก

             3.   เพราะยุโรปตั้งตลาดร่วมยุโรป                                       4.   เพราะยุโรปมีสหภาพศุลกากร

             ตอบ 2       หน้า 495123 (H) การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เคยมีการนำระบบโรงงานที่มีการผลิตโดยการใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่การผลิตในครัวเรือน ทั้งนี้เพราะเมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบการผลิตแบบเก่าไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิวัติระบบการผลิตโดยนำระบบโรงงานและเครื่องจักรเข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้ยุโรปผลิตสินค้าและบริการไปขายทั่วโลกจนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานโลก (เมื่อก่อน ค.ศ. 1914) 

90.       ในกลางศตวรรษที่ 19 ผู้ประกอบการค้าและการอุตสาหกรรมเป็นชนชั้นใด

             1.   ชนชั้นกลาง                       2.   ชนชั้นสูง                         3.   ชนชั้นสามัญ                 4.   ชนชั้นเจ้า

             ตอบ 1       หน้า 343494 – 495561 ในกลางศตวรรษที่ 19 ผู้ประกอบการค้า การอุตสาหกรรมและควบคุมระบบโรงงาน คือ ชนชั้นกลาง (หรือพวกพ่อค้า) ซึ่งเป็นที่มาของลัทธินายทุนดังนั้นชนชั้นกลางจึงกลายเป็นผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรมและมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจสูงมากจนเกือบจะเป็นอภิสิทธิ์ชน ใหม่ในสังคมที่มีอิทธิพลไม่น้อยไปกว่าขุนนางในสมัยฟิวดัล 

91.       ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในต้นยุคใหม่ กษัตริย์ทรงปกครองรัฐโดยทรงรับผิดชอบต่อใคร

1.   ขุนนาง               

2.   พระ                 

3.   พระผู้เป็นเจ้า                                 

4.   ประชาชน

ตอบ 3       หน้า 333 – 33486 (H) ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรปในต้นยุคใหม่นั้นกษัตริย์ทรงอ้างว่าเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกส่งลงมาปกครองมนุษย์และทรงได้รับอำนาจเทวสิทธิ์มาจากพระเจ้า ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ดังนั้นประชาชนจึง ไม่มีสิทธิ์ที่จะปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่ง เพราะถ้าหากคิดล้มล้างกษัตริย์จะถือว่าเป็นความผิดและเป็นบาปใหญ่หลวง 

92.       กษัตริย์รวมอำนาจได้สำเร็จแท้จริงเมื่อทรงมีอำนาจบังคับบัญชาสถาบันใดในต้นยุคใหม่

             1.   พระบรมวงศานุวงศ์         2.   ศาสนจักร          3.   สหภาพการค้า       4.   ชมรมสมาคมของสามัญชน

             ตอบ 2       หน้า 332 – 338402105 (H)  ยุโรปช่วงเริ่มต้นยุคใหม่จนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นั้นจะมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจการปกครองจะถูกรวบรวมเข้าสู่ศูนย์กลางคือ อำนาจสูงสุดจะเป็นของกษัตริย์ โดยกษัตริย์ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางในการปราบปรามขุนนางและศาสนจักรให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจ จนส่งผลให้กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างไม่จำกัดและสามารถรวมอำนาจได้สำเร็จอย่างแท้จริง 

93.       ลักษณะใดแสดงว่ากษัตริย์มีอำนาจล้นเหลือในต้นยุคใหม่

             1.   มีอำนาจลงโทษคนทำผิด                2.   จับกุมคุมขังโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาลสถิตยุติธรรม

             3.   อำนาจแต่งตั้งแม่ทัพและผู้ว่าราชการ        4.   อำนาจให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการ

             ตอบ 2       ในยุโรปเริ่มต้นยุคใหม่ การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะส่งเสริมให้กษัตริย์มีอำนาจอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะในระบบราชการนั้นจะเน้นในด้านกฎหมายและการศาล กล่าวคือ กษัตริย์เป็นผู้ออกกฎหมายทุกฉบับ มีสิทธิประกาศสงคราม แต่งตั้งข้าราชการ จัดระบบภาษี และเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจอย่างล้นเหลือในการตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆรวมทั้งสามารถจับกุมคุมขังได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาลสถิตยุติธรรม 

94.       ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของต้นยุคใหม่ ระบบราชการเน้นอะไรเป็นหลัก

             1.   กฎหมาย             2.   การศาล                           3.   การโฆษณาชวนเชื่อ                     4.   ถูกข้อ 1 และ 2

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ 

95.       ในสมัยประเทืองปัญญามีวิธีการคิดอย่างไร

             1.   คิดลึกซึ้งอย่างปรัชญา                                                      2.   คิดจินตนาการฝันเฟื่อง

             3.   รู้คิดอย่างมีเหตุผล                                                             4.   คิดทบทวนหน้าหลังอย่างผิวเผิน

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ 

96.       ปัญญาชนสมัยประเทืองปัญญามีความคิดต่อต้านอะไร

             1.   วิทยาศาสตร์                       2.   เหตุผล                   3.   วิธีธรรมชาติ                   4.   สถาบันเดิมในสังคม

             ตอบ 4       กลุ่มปัญญาชนหรือผู้นำของสมัยประเทืองปัญญาที่เรียกว่า Philosophes ได้พยายามยกเลิกรูปแบบและสถาบันเดิมในสังคมเพื่อให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมใหม่ โดยพวกเขาเชื่อว่ามนุษย์สามารถสร้างสวรรค์ในสังคมของตนด้วยการรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผล ซึ่งการปฏิรูปสังคมจะทำได้ด้วยการประยุกต์รูปแบบของกฎธรรมชาติ (Natural Law)ในโลกวิทยาศาสตร์ให้แก่ชีวิตมนุษย์และแสวงหากฎธรรมชาติที่จะทำให้ผู้ปกครองปกครองมนุษย์ภายใต้สังคมที่สมบูรณ์แบบให้ได้

  97.     ตามความคิดของจอห์น ลอค ใครมีหน้าที่พิทักษ์สิทธิมนุษยชน

             1.   ศาสนจักร                           2.   รัฐ                                     3.   รัฐบาล                             4.   ประชาชน

             ตอบ 3       จอห์น ลอค (John Locke) นักปรัชญาชาวอังกฤษได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสิทธิธรรมชาติของมนุษย์กล่าวคือ โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในชีวิต ทรัพย์สิน และอิสรเสรี ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่พิทักษ์ปกป้องสิทธิของมนุษย์นี้ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติ ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องไม่กดขี่สิทธิธรรมชาติของประชาชนและต้องมีสัญญาต่อกัน โดยประชาชนได้ยอมสละสิทธิบางประการให้แก่รัฐบาลเพื่อสะดวกต่อการปกครอง หากรัฐบาลกระทำการใดที่ประชาชนไม่พอใจ ประชาชนก็มีสิทธิล้มล้างรัฐบาลที่ไม่พิทักษ์สิทธินั้นได้ 

98.       ศิลปะ Mannerism มีรูปลักษณ์และรูปแบบ เกินพอดี” อย่างไร

             1.   ขาดดุลยภาพ            2.   รูปทรงตามจริง           3.   เน้นธรรมชาติ         4.   ไม่เน้นอารมณ์ความรู้สึก

             ตอบ 1       หน้า 392 จิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จะแสดงออกเป็นแบบ “Mannerism” คือศิลปะการเขียนภาพเกี่ยวกับศาสนาที่แสดงรูปลักษณ์บิดเบี้ยวเกินพอดี เพราะขาดดุลยภาพอันเป็นศิลปะที่มีลักษณะขัดแย้งกับศิลปะคลาสสิกแบบกรีกอย่างสิ้นเชิง (Ant1-Renaissance) เช่น ภาพวาด “Saint Martin and the Beggar” และภาพวาด “View of Toledo” ซึ่งเป็นผลงานของเอล เกรโค จิตรกรชาวกรีกที่มีชื่อเสียง เป็นต้น 

99.       ในสมัยปฏิรูปศาสนา ศิลปะอะไรของโปรเตสแตนต์ที่มีรูปแบบใดแตกต่างจากศิลปะของคาทอลิกและเรียกว่าศิลปะอะไร             

             1.   Baroque รูปแบบเกินจริง                                2.   Mannerism รูปแบบหรูหรา

             3.   Realism รูปแบบเหมือนจริง                           4.   Gothic รูปแบบจินตนาการ

             ตอบ 3       หน้า 391-39252ศิลปะแบบสัจนิยม (Realism) ซึ่งเป็นผลิตผลจากการปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์นั้น จะมีรูปแบบเน้นความเหมือนจริงตามธรรมชาติโดยไม่ต้องตกแต่งอะไรเลยดังนั้นศิลปะแบบนี้จึงมีลักษณะแตกต่างและตรงกันข้ามกับศิลปะแบบบารอค (Baroque) ซึ่งเป็นผลิตผลจากการปฏิรูปศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและมีการตกแต่งประดับประดามากจนเกินจริง

100.     ศิลปะ Romanticism เป็นศิลปะแบบใหม่ที่ต่อต้านศิลปะใดซึ่งเป็นแบบเดิมของต้นศตวรรษที่ 18

             1.   Gothic                                 2.   Neo-Classicism                              3.   Mannerism                     4.   Baroque

             ตอบ 2       หน้า 428473 – 474489119 (H) ในต้นศตวรรษที่ 19 ศิลปะโรแมนติก (Romanticism) กลับได้รับความนิยมแทนที่ศิลปะแบบบารอค ซึ่งศิลปะโรแมนติกนี้เป็นศิลปะแบบใหม่ที่เน้นการต่อต้านข้อจำกัดอย่างแข็งขันของศิลปะนีโอ-คลาสสิก (Neo-Classicism) หรือต่อ ต้านความสุดยอดของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทั้งหมด โดยจะเน้นที่อารมณ์และความคิดความ รู้สึกที่ลึกซึ้งมากกว่าเหตุผลเน้นชีวิตความเป็นอยู่ของปัจเจกชนมากกว่ารัฐ เน้นการนับถือธรรมชาติและการต่อต้านอำนาจเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข

101.     ในต้นศตวรรษที่ 19 ศิลปะใดที่แสดงความสนใจชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และสื่อให้คิดและรู้สึกอย่างลึกซึ้ง   

1.   Baroque               

2.   Realism                         

3.   Romanticism 

4.   Neo-Classicism

ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 100. ประกอบ 

102.     ในต้นศตวรรษที่ 20 บรรดามหาอำนาจตะวันตกมีความสัมพันธ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันด้วยเหตุใด

1.   ผลประโยชน์ขัดกัน                         

2.   แข่งกันลดอาวุธ                             

3.   อุดมการณ์ต่างกัน   

4.   การถือศาสนาต่างนิกาย

             ตอบ 1       หน้า 531 – 532 ในต้นศตวรรษที่20 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจตะวันตกในยุโรปขึ้น  คือ เหตุการณ์การครอบครองคาบสมุทรบอลข่านในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งวิกฤตการณ์นี้ได้กลายเป็นปัญหาที่ไม่อาจยุติได้ ทั้งนี้เพราะชาติยุโรปต่างมุ่งแสวงหาผลประโยชน์อย่างเต็มที่บวกกับแรง    บันดาลใจของลัทธิชาตินิยม ทำให้แต่ละประเทศต่างไม่ยอมสูญเสียผลประโยชน์ของตน จนบานปลายกลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด 

103.     ปัจจัยใดทำให้บรรดามหาอำนาจมั่นใจกล้าที่จะตัดสินใจเปิดฉากสงความโลกครั้งที่ 1

             1.   ระบบพันธมิตร                 2.   ความมั่งคั่ง                      3.   ความมีอำนาจ                 4.   อุดมการณ์

             ตอบ 1       หน้า 533564 การที่บรรดามหาอำนาจรวมตัวกันเป็นระบบพันธมิตรนั้น นับเป็นปัจจัยที่ทำให้บรรดามหาอำนาจกล้าที่จะตัดสินใจเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 1 เร็วขึ้น ทั้งนี้เพราะประเทศที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรต่างก็หวังพึ่งพาประเทศคู่สัมพันธ์ของตนในอนาคตจนไม่กล้าถอนตัวออกมาซึ่งความเกี่ยวพันกันเป็นระบบพันธมิตรนี้เองกลับกลายเป็นการดึงกันเข้าสู่สงครามใหญ่และมีผลให้การรักษาดุลอำนาจในยุโรปล้มเหลวโดยสิ้นเชิง 

104.     ระบบการค้าเสรีใน ค.ศ. 1900 ถูกลัทธินิยมใดทำลายลง

1.   Liberalism                          2.   Capitalism                       3.   Socialism                        4.   Protectionism

ตอบ 4       (คำบรรยาย) ระบบการค้าเสรีในปี ค.ศ. 1900 ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากอิทธิพลของลัทธินิยมปกป้องเศรษฐกิจ (Protectionism) กล่าวคือ เมื่อเริ่มมีการค้าขายอย่างเสรีก็ทำให้ประเทศต่าง ๆ เริ่มที่จะปกป้องสินค้าและบริการของตน ไม่ให้สินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดได้ โดยใช้วิธีการจัดเก็บภาษีและตั้งกฎระเบียบที่เข้มงวด 

105. ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คมีจุดมุ่งหมายที่จะป้องกันความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจใดบ้าง

1.   ฝรั่งเศสกับรัสเซีย

2.   อังกฤษกับฝรั่งเศส

3.   เยอรมนีกับออสเตรีย             

4.   ฝรั่งเศสกับเยอรมนี

             ตอบ 4       หน้า 529 – 530562, (คำบรรยาย) บิสมาร์คจัดตั้งระบบพันธมิตรขึ้นในปี ค.ศ. 1882โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนอัลซัส-ลอเรนน์เป็นหลักทำให้บิสมาร์คต้องพยายามปิดล้อมฝรั่งเศสให้อยู่โดดเดี่ยว โดยการจัดตั้งระบบพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้น เพี่อมิให้พันธมิตรฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งอาจรวมตัวกันได้ในวันข้างหน้าสามารถทำการโจมตีได้ ทั้งนี้ระบบพันธมิตรแบบบิสมาร์คเป็นระบบพันธมิตรแบบตั้งรับในยามสงบ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เกิดการทูตแบบใหม่ขึ้น 

106. การเจรจาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ยึดถือโครงการสันติภาพอะไร ของประเทศใด

             1.   Marshall Plan ของอังกฤษ                                              2.   Atlantic Charter ของรัสเซีย

             3.   Peace Program ของฝรั่งเศส                                          4.   Fourteen Points ของสหรัฐอเมริกา

             ตอบ 4       หน้า 538 – 540544135 – 137 (H) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 14 ข้อ (Fourteen Points) ต่อรัฐสภาอเมริกัน โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ต้องการสถาปนาสันติภาพอันถาวรขึ้นด้วยการจัดตั้งสันนิบาตแห่งสหประชาชาติ เพื่อขจัดข้อขัดแย้งระหว่างประเทศโดยใช้วิธีเจรจาออมชอมหรือยุติด้วยกำลังและการศาล ซึ่งสนธิสัญญานี้ได้ส่งผลให้แผนที่ของยุโรปเปลี่ยนไป เพราะการล่มสลายของจักรวรรดิทั้ง 4 คือ รัสเซีย เยอรมนี ออสเตรีย และตุรกี 

107. คำขวัญใดของการปฏิวัติฝรั่งเศสที่สะท้อนถึงสาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส

             1.   สิทธิมนุษยชนโดยธรรมชาติ                                          2.   อิสรภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ

             3.   ระบอบเก่าจงเจริญ                                                           4.   อิสรเสรีเหนือสิ่งอื่นใด

             ตอบ 2       หน้า 446 – 447 ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสเห็นว่ามนุษย์นั้นเกิดมาดีแต่ต้องมาเสียเพราะสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาและกฎหมายในสังคมนั้น ประชาชนควรมีสิทธิเลือกรัฐบาลของตนเองและควบคุมได้ด้วย โดยแนวคิดนี้ได้ปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่องสัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งได้กลายเป็นคัมภีร์ของการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสตามคำขวัญที่ว่า อิสรภาพ (Liberty) เสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity)”  

108.     การปฏิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 19 อ้างลัทธิใดเพื่อความชอบธรรมของการปฏิวัติ

             1.   ลัทธิทุนนิยม         2.   ลัทธิเสรีนิยม               3.   ลัทธิสังคมนิยม                  4.   ลัทธิจักรวรรดินิยม

             ตอบ 2       หน้า 478 – 479490124 1.   (คำบรรยาย) ลัทธิที่ส่งเสริมให้เกิดความชอบธรรมของการปฏิวัติทางการเมืองในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 19 ได้แก่ 1. ลัทธิโรแมนติก จะเน้นความเป็นเอกภาพของปัจเจกชน  2. ลัทธิชาตินิยม จะเน้นการแสดงความจงรักภักดีสูงสุดต่อชาติพันธุ์ ท้องถิ่นและชาติของตนเนื่องจากมีการใช้ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นสื่อปลูกฝังให้เกิดความรักชาติและการรวมกันเป็นหนึ่งตลอดจนความรู้สึกสำนึกในเชื้อชาติเดียวกัน        3. ลัทธิเสรีนิยม จะเน้นความอิสรเสรีความเสมอภาคตามกฎหมาย และเรียกร้องการปกครองโดยมีผู้แทน  

109.     อะไรคือสื่อทำให้เกิดความรักชาติและรวมกันเป็นหนึ่งในศตวรรษที่ 19

             1.   สถาบันกษัตริย์ 2.   สื่อมวลชน                      3.   วัฒนธรรม                      4.   สภาบันการศึกษา

             ตอบ 3       ดูคำอธิบายข้อ 108. ประกอบ 

110.     ในศตวรรษที่ 19 กรีกและเบลเยียมต่อสู้จนได้รับเอกราชโดยความช่วยเหลือจากใคร

             1.   รัสเซียออสเตรีย              2.   ปรัสเซียรัสเซีย             3.   ฝรั่งเศสรัสเซีย             4.   อังกฤษฝรั่งเศส

             ตอบ 4       หน้า 118 (H) ยุคเมตเตอร์นิก (ค.ศ. 1815 – 1848) คือ ยุคแห่งการต่อต้านระบอบเสรีนิยมในยุโรป โดยมีเจ้าชายเมตเตอร์นิกแห่งอาณาจักรออสเตรียเป็นผู้นำการต่อต้าน แต่ก็ยังมีขบวนการเสรีนิยม   2 แห่งที่สามารถทำการปฏิวัติได้สำเร็จในช่วงศตวรรษที่ 19 คือ 1. การปฏิวัติของพวกกรีกซึ่งแยกตัวออกจากการปกครองของตุรกีในปี ค.ศ. 1821 – 1829 โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซีย อังกฤษและฝรั่งเศส 2. การปฏิวัติของเบลเยียมซึ่งแยกตัวออกจากฮอลแลนด์ในปี ค.ศ. 1830 โดยได้รับความช่วยเหลือจากอังกฤษ 

111.     เมื่อ ค.ศ. 1871 แผนที่ยุโรปเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุใด

1.   ฝรั่งเศสสร้างจักรวรรดิ                                                    

2.   เยอรมนีพ่ายแพ้แก่ฝรั่งเศส

3.   รัสเซียครองโปแลนด์                                                      

4.   เยอรมนีและอิตาลีรวมประเทศ

ตอบ 4       หน้า 512 – 519119 (H), 124 – 129 (H) (คำบรรยาย) จากการที่ประเทศอิตาลีและเยอรมนีสามารถรวมประเทศได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1870 และ ค.ศ. 1871 ตามลำดับ ได้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของลัทธิชาตินิยมและเสรีนิยมว่ามีบทบาทส่งเสริมทำให้เกิดการรวมประเทศเยอรมันและอิตาลีขึ้นซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้แผนที่ยุโรปเปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้ดุลยภาพแห่งอำนาจ (Balance of Power) ได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เนื่องจากเกิดประเทศมหาอำนาจขึ้น คือ ประเทศเยอรมนีและอิตาลี  

112.     ในยุคใหม่ก่อนสงครามโลก บรรดามหาอำนาจรักษาสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยร่วมกันโดยวิธีการใด   

             1.   สร้างระบบพันธมิตร    2.   ตั้งองค์กรกลาง      3.   สร้างสันนิบาต     4.   รักษาดุลยภาพแห่งอำนาจ

             ตอบ 4       (คำบรรยาย) หลักความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในยุโรปตั้งแต่ยุคใหม่เป็นต้นมานั้นได้กำหนดว่าทุกประเทศต้องเคารพในหลักการถ่วงดุลอำนาจ ไม่ให้ประเทศใดมีอำนาจมากจน เกินไปโดยเชื่อว่าสันติภาพและความมั่นคงจะคงอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการรักษาสมดุลหรือดุลยภาพแห่งอำนาจ ถ้ามหาอำนาจใดล่วงละเมิดหลักการถ่วงดุลอำนาจโดยการขยายอาณาเขตออกไปเพื่อตั้งตนเป็นใหญ่ บรรดามหาอำนาจที่เหลือกจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพันธมิตรเพื่อเข้าไปล้อมปราบ หรือเรียกร้องค่าเสียหายชดเชย หรือใช้กำลังยับยั้งโดยการรวมกลุ่มรบเพื่อสั่งสอน แต่จะไม่เข้าไปทำลายรัฐ

113.     ระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 18 ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ในแต่ละรัฐมหาอำนาจ มักสืบเนื่องมาจาก

             ปัจจัยใดเป็นจุดเริ่มต้น          

             1.   การอภิเษกสมรสร่วมราชวงศ์                                        2.   ศาสนาต่างนิกาย

             3.   การแข่งขันการค้า                                                             4.   การล่าอาณานิคม

             ตอบ 2       หน้า 416 – 418108 (H) ในระหว่างศตวรรษที่ 16 – 18 ปัญญาการสืบราชสันตติวงศ์ในแต่ละรัฐมหาอำนาจของยุโรปยุคใหม่ มักมีจุดเริ่มต้นมาจากปัจจัยด้านศาสนาเป็นหลักซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศอังกฤษ เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เกิดความขัดแย้งกับรัฐสภาในเรื่องที่จะให้อังกฤษกลับไปนับถือนิกายคาทอลิกตามอย่างพระโอรสของพระองค์ ทำให้รัฐสภาอังกฤษไปเชิญเจ้าหญิงแมรี่พระราชธิดาของพระองค์ ซึ่งทรงนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ให้มาปกครองอังกฤษแทน และต่อมาในปี ค.ศ. 1701 ก็มีการออกพระราชบัญญัติ Act of settlement ห้ามผู้นับถือคาทอลิกขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษอีก

114.     ในยุคใหม่จนถึงปัจจุบัน มีมหาอำนาจใดบ้างที่เคยถูกล้อมปราบเพราะพยายามตั้งตนเป็นใหญ่ในยุโรป

             1.   สเปน ฝรั่งเศส และเยอรมนี                                           2.   รัสเซีย ปรัสเซีย และออสเตรีย

             3.   ฝรั่งเศส อังกฤษ และสเปน                                             4.   อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี

             ตอบ 1       หน้า 464466468 – 469 (คำบรรยาย) ในยุคใหม่จนถึงปัจจุบันนั้น ประเทศมหาอำนาจที่พยายามตั้งตนเป็นใหญ่เพราะต้องการสร้างจักรวรรดิในยุโรป จนถูกชาติมหาอำนาจอื่น ๆ รวมตัวเป็นพันธมิตรเพื่อล้อมปราบอยู่หลายครั้ง ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะในยุคนโปเลียนที่ยุโรปเกือบทั้งหมดยกเว้นอังกฤษต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส ทำให้มหาอำนาจในยุโรปต้องรวมตัวกันเป็นพันธมิตรถึง 3 ครั้ง เพื่อล้อมปราบฝรั่งเศส นอกจาก นี้ก็ยังมีประเทศสเปนในสมัยสงคราม 30 ปี และประเทศเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้ง  ที่ 1 และ 2

115.     หลังสงครามปราบนโปเลียน บรรดามหาอำนาจประชุมสันติภาพกันที่ใด

             1.   Westpha1ia                        2.   Vienna                             3.   Versailles                        4.   Geneva

             ตอบ 2       หน้า 470 – 472117 (H) ภายหลังสงครามปราบนโปเลียนในปี ค.ศ. 1815 บรรดาผู้นำประเทศมหาอำนาจยุโรปใหม่ ได้แก่ อังกฤษ ปรัสเซีย รัสเซีย และออสเตรีย ได้มาประชุมสันติภาพร่วมกันที่กรุงเวียนนา (Vienna) โดยมีนายกรัฐมนตรีของออสเตรีย คือเจ้าชายคลีเมน ฟอน เมตเตอร์นิก เป็นผู้กำหนดพื้นฐานการประชุมในลักษณะขอความเห็นชอบเพื่อจัดระเบียบยุโรปใหม่ นั่นคือ การกลับไปปกครองดินแดนเท่าที่เคยมีอยู่ก่อนสมัยของนโปเลียน และที่สำคัญคือ การธำรงไว้ซึ่งหลักการถ่วงดุลอำนาจในยุโรปนั่นเอง

116.     หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศใดในยุโรปเป็นต้นตำรับของระบอบฟาสชิสต์

             1.   เยอรมนี                              2.   รัสเซีย                              3.   ออสเตรีย                         4.   อิตาลี

ตอบ 4       หน้า 541 – 543137 – 138 (H) (คำบรรยาย) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดขบวนการชาตินิยม ที่เรียกว่าระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่ผู้นำเดี่ยวมีอิทธิพลครอบงำ หรืออาจอยู่ในรูปองค์กรผู้นำพรรคการเมือง 1 พรรค ใช้อำนาจเด็ดขาดแต่พรรคเดียว แบ่งออกเป็น 2 แบบ ซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกัน ได้แก่

1. ระบอบคอมมิวนิสต์ (เผด็จการซ้าย) เป็นขบวนการต่อต้านลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย

2. ระบอบฟาสซิสต์ (เผด็จการขวา) เกิดขึ้นในอิตาลีและขยายต่อมายังเยอรมนี เรียกว่าลัทธินาซี เป็นขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์และโลกเสรีประชาธิปไตย

1 17.    นอกจากสงครามโลก 2 ครั้งแล้ว ในศตวรรษที่ 20 มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นที่ถือว่าสำคัญมากและทรงอิทธิพลต่อยุโรป     

             1.   การปฏิวัติฝรั่งเศส                                             2.   การปฏิวัติรัสเซีย  

             3.   ระเบิดนิวเคลียร์                                                4.   การประชุมสันติภาพที่แวร์ซายส์

             ตอบ 2       หน้า 136 (H), (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 530 – 531) ในศตวรรษที่ 20 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ทรงอิทธิพลต่อยุโรป คือ การปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 ภายใต้การนำของพรรคบอลเชวิค โดยมีเลนินเป็นผู้นำ ซึ่งได้ส่งผลให้รัสเซียจำเป็นต้องถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และบอลเซวิค ได้ดำเนินการตามหลักสังคมนิยม โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์     และก่อตั้งสหภาพสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียจนส่งผลให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่ขยายไปทั่วยุโรปและทุกส่วนต่าง ๆ ของโลก

118.     หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีกี่จักรวรรดิล่มสลาย ได้แก่จักรวรรดิใดบ้าง

             1.   4 จักรวรรดิคือ รัสเซีย ฝรั่งเศส ตุรกี และฮังการี   

             2.   2 จักรวรรดิคือ รัสเซีย และเยอรมนี

             3.   3 จักรวรรดิคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย        

             4.   4 จักรวรรดิคือ รัสเซีย เยอรมนี ออสเตรีย และตุรกี

             ตอบ 4       ดูคำอธิบายข้อ 106. ประกอบ

119.     หลักการสำคัญขององค์การสหประชาชาติปรากฏในเอกสารชื่ออะไร

             1.   Atlantic Charter                                                2.   Fourteen Points        

             3.   Bill of Rights                                                     4.   Declaration of Human Rights

             ตอบ 4       (HI 103 เลขพิมพ์ 46197 หน้า 543), (คำบรรยาย) องค์การสหประชาชาติเป็นผลมาจากความร่วมมือของประเทศภาคีมหามิตรภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีหลักการสำคัญประการหนึ่งที่ระบุไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และต่อมาหลักการนี้ได้ปรากฏอยู่ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Declaration of Human Righzcts) เมื่อวันที่10 ธันวาคม ค.ศ. 1948  คือ มาตรา 1 ข้อ 3 เพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรมและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชน

120.     หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองระหว่างประเทศมีการแบ่งเป็นกี่ฝ่าย ได้แก่ฝ่ายใดบ้าง

             1.   3 ฝ่าย โลกเสรี โลกคอมมิวนิสต์ โลกกลาง                 

             2.   2 ฝ่าย โลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์

             3.   2 ฝ่าย โลกเสรีสังคมนิยมกับโลกเสรี                           

             4.   2 ฝ่าย โลกคอมมิวนิสต์กับโลกไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

             ตอบ 2       หน้า 556139 (H) ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีดังนี้

1. เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของโลก โดยมหาอำนาจยุโรปตะวันตกได้ลดความสำคัญลง และเกิดประเทศมหาอำนาจใหม่ทำให้การเมืองระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตยซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ซึ่งมีโซเวียตรัสเซียเป็นผู้นำ

2. มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น

3. ประเทศที่ตราเป็นอาณานิคมมีการเรียกร้องขอเอกราช

Advertisement