การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา ART 1003 ศิลปะวิจักษณ์

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         สถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดีมีลักษณะอย่างไร      

(1) มีศาสนสถาน

(2)       มีเทวาลัย         

(3) มีเจดีย์เท่านั้น         

(4) มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

ตอบ 3 หน้า 124 – 125162 (S) สถาปตยกรรมในสมัยทวารวดีจะเห็นได้จากรูปเจดีย์เท่านั้นเพราะไม่ปรากฏว่ามีโบสถ์วิหารหลงเหลืออยู่แต่อย่างใด เช่น พระเจดีย์จุลประโทนและเจดีย์ วัดพระเมรุ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นซากอาคารใหญ่ก่อด้วยอิฐ บางครั้งย่อมุมและมีบันไดลงไปข้างล่างเจดีย์วัดกู่กุด จ.ลำพูน ซึ่งจัดเป็นสถาปัตยกรรมทวารวดีตอนปลาย ฯลฯ

2.         เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม เป็นศิลปะสมัยใด

(1)       ทวารวดี           

(2) ศรีวิชัย       

(3) สุโขทัย       

(4) อยุธยา

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มต้นในข้อใด

(1)       พระเจ้าตากสินตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

(2)       พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตั้งกรุงเทพฯ เป็นราชธานี

(3)       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์

(4)       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์

ตอบ 2 หน้า 156 ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เจริญขึ้นทางภาคกลางของไทย โดยเริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน

4.         พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ คือข้อใด

(1)       ประทับขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาทสองข้าง พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา

(2)       ประทับขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา

(3)       ประทับขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาทสองข้าง พระหัตถ์ทำท่าประคองพระธรรมจักร

(4)       ประทับนั่งสมาธิ เห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว พระหัตถ์ทำท่าประคองพระธรรมจักร

ตอบ 2 หน้า 139 – 140 พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ คือ พระพุทธรูปในท่าประทับนั่งขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาทเพียงข้างเดียว พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา บางครั้งมีฐานเรียบ ไม่มีลวดลายประกอบ ส่วนพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร คือ พระพุทธรูปในท่าประทับนั่งขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง มีฐานเป็นบัวควํ่าบัวหงายและมีเกสรบัวประดับ

5.         พระพุทธรูปสุโขทัยที่งามที่สุด คือปางใด

(1)       ปางสมาธิ        (2) ปางมารวิชัย           (3) ปางอภัยทาน         (4) ปางลีลา

ตอบ 4 หน้า 144 ศิลปะสมัยสุโขทัยจัดเป็นศิลปะยุคทองของพระพุทธรูปไทย เนื่องจากประติมากรรม พระพุทธรูปสมัยนี้จะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบ คือ มีความสวยงามสง่า และมีความ เรียบง่ายตามอุดมคติผิดไปจากศิลปกรรมในสมัยอื่น ๆ โดยพระพุทธรูปสุโขทัยที่มีความงามที่สุด ได้แก่ พระพุทธรูปปางลีลาสำริด ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ระเบียงวัดเบญจมบพิตร

6.         พระพุทธรูปองค์ใดไม่มีพระเกตุมาลา 

(1) พระพุทธสัมพรรณี

(2)       พระนิรันตราย (3) พระพุทธรูปทรงเครื่อง        (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 157190(S) ในสมัยรัชกาลที่4ทรงคิดแบบอย่างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ และโปรดฯให้ หล่อพระพุทธรูปที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์มากยิ่งขึ้น คือ ไม่มีพระเกตุมาลา และให้จีวรเป็นริ้ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมกับมากนัก เช่น พระพุทธสัมพรรณี และพระนิรันตราย

7.         ข้อใดไม่ใช่ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

(1)       จิตรกรรมในวัดคงคาราม จ.ราชบุรี      (2) จิตรกรรมที่วัดวัง จ.พัทลุง

(3)       จิตรกรรมในวัดอินทาราม จ.ชลบุรี      (4) จิตรกรรมในวัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี ตอบ 4 หน้า 154 – 155160 จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ที่เก่าสุด คือ จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นังพุทไธสวรรย์ ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้พบจิตรกรรมที่มี ความสวยงามอีกมากมาย เช่น จิตรกรรมในพระอุโบสถวัดดุสิตารามจิตรกรรมในวิหารหลวงที่วัดสุทัศน์เทพวนาราม กรุงเทพฯจิตรกรรมในวัดคงคาราม จ.ราชบุรีจิตรกรรมที่วัดวัง จ.พัทลุงจิตรกรรมที่พระอุโบสถวัดอินทาราม จ.ชลบุรี เป็นต้น (ส่วนจิตรกรรมในวัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี เป็นศิลปะสมัยอยุธยา)

8.         พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร คือ

(1)       พระพุทธรูปที่นั่งในท่าขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง

(2)       พระพุทธรูปที่นั่งในท่าขัดสมาธิ เห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว

(3)       พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท   (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

9.         ศิลปะของไทยสมัยใดที่นิยมสร้างสถาปัตยกรรมด้วยศิลาแลง

(1) ศิลปะลพบุรี           (2) ศิลปะสุโขทัย         (3) ศิลปะอยุธยา         (4) ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 136148 สถาปัตยกรรมลพบุรีมักจะก่อด้วยศิลาแลงและสร้างเป็นเทวาลัยบนเชิงเขาสูง ส่วนสถาปัตยกรรมสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรีก็มักจะก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน เช่น พระปรางค์วัดพระพายหลวง หรือศาลตาผาแดง จ.สุโขทัย

10.       ประติมากรรมนูนต่ำ คือข้อใด

(1) ภาพปูนปั้นที่เจดีย์จุลประโทน       (2) ลายจำหลักบนใบเสมา

(3)       เหรียญห้าบาทไทย      (4) พระพุทธรูปบนฐานเตี้ย

ตอบ 3 หน้า 41 – 42 ประติมากรรม คือ ศิลปะกรรมซึ่งเป็นรูปทรงสามมิติ มีการกินที่ในอากาศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ประติมากรรมนูนต่ำ คือ รูปที่ปั้นหรือแกะสลักให้ยื่นออกมา จากแผ่นหลัง โดยมีพื้นแบนราบเสมอกันทั่วทั้งองค์ประกอบ เช่น เหรียญเงินตราต่าง ๆ ฯลฯ

2.         ประติมากรรมนูนสูง คือ รูปปั้นหรือแกะสลักที่นูนออกมาจนเกือบหลุดออกจากแผ่นหลัง

3.         ประติมากรรมลอยตัว คือ รูปปั้นที่ไม่มีแผ่นหลัง สามารถดูได้รอบด้านและทุกระดับแนวดู

11.       พระพุทธรูปนิรันตราย ทำขึ้นในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 1  

(2) รัชกาลที่ 2  

(3) รัชกาลที่ 3  

(4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

ข้อ 12. – 16. ข้อใดตรงกับคำตอบที่กำหนดให้ข้างล่างนี้

(1)       เพลโต  (2) ลียอป ตอลสตอย  (3) ศิลป์ พีระศรี

(4)       โสเครตีส          (5) ศิลปะสมัยโบราณ

12.       ศิลปะเป็นความงามที่ได้จากธรรมชาติและต้องมีผลในการเสริมสร้างด้านจิตใจด้วย

ตอบ 4 หน้า 5 โสเครติส (Socrates) ได้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะเป็นความงามที่ได้จาก ธรรมชาติและต้องมีผลในการเสริมสร้างทางด้านจิตใจด้วย

13.       ศิลปะที่มีแต่ความประณีต ความงาม ความบันเทิงใจ ไม่ใช่ศิลปะ แต่เป็นเพียงงานฝีมือ

ตอบ 2 หน้า 5-6 ลียอป ตอลสตอย (Lyof Talstoy) กล่าวถึงความหมายของศิลปะว่า ศิลปะที่มี แต่ความประณีต ความงาม และความบันเทิงเริงใจนั้นหาใช่เป็นศิลปะไม่ แต่เป็นเพียงงานฝีมือ เพราะเป็นงานที่ขาดเงื่อนไขที่จำเป็นอย่างยิ่งของศิลปะ

14.       ผู้ใดเข้าใจและรู้คุณค่าของศิลปะ ผู้นั้นก็อาจจะถึงซึ่งความสุขที่แท้จริง

ตอบ 3 หน้า 6 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระครี ได้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะเป็นสะพานที่เชื่อม คติความเชื่อทางวัตถุกับทางจิตใจ เมื่อผู้ใดเข้าใจและรู้คุณค่าของศิลปะแล้ว ผู้นั้นก็อาจจะถึง ซึ่งความสุขที่แท้จริง

15.       ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 6 เพลโต (Plato) มีความเห็นเกี่ยวกับศิลปะว่า ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ผู้ที่จะเข้าใจและนิยมความงามในศิลปะได้มีเพียงนักปรัชญาเท่านั้น

16.       ศิลปะมิได้สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามหรืออวดสติปัญญา

ตอบ 5 หน้า 14 การสร้างงานศิลปะในสมัยโบราณนั้นมิได้สร้างขึ้นมาเพื่อความสวยงาม หรือเพื่ออวดสติปัญญาแต่อย่างใด หากแต่สร้างขึ้นมาเพื่อความสบายใจหรือเพื่อแสดงถึง ความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาในการดำรงชีพ เช่น ให้ผลผลิต ให้นํ้า ให้แสงแดด ฯลฯ

17.       จังหวัดในข้อใดไม่ปรากฏศิลปะทวารวดี

(1)       นครปฐม ราชบุรี          (2) ลำพูน กาฬสินธุ์

(3) สุพรรณบุรี ลพบุรี   (4) สุราษฎร์ธานี สงขลา

ตอบ 4 หน้า 119 – 120 ศิลปะทวารวดีปรากฏทั่วไปในประเทศไทยทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี ลำพูน นครศรีธรรมราข กาฬสินธุ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีลักษณะของศิลปกรรมที่แตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

18.       คาถา เย ธมฺมาฯ ปรากฏในศิลปะแบบใด

(1)       ศิลปะทวารวดี (2) ศิลปะศรีวิชัย

(3) ศิลปะลพบุรี           (4) ศิลปะสมัยสุโขทัย

ตอบ 1 หน้า 124129 พระพิมพ์ของศิลปะทวารวดีมักสร้างด้วยดินเผาเพื่อไว้สืบพระบวรพุทธศาสนา โดยมักมีพระธรรมหรือคาถา เย ธมฺมาฯ อันเป็นหัวใจของศาสนาปรากฏอยู่ ซึ่งจะแตกต่างจาก พระพิมพ์ของศิลปะศรีวิชัยที่มักทำขึ้นจากคติทางมหายาน โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ดินดิบ เพราะไม่ได้ถือการสืบพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง แต่ถือปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพไปแล้ว

19.       ข้อใดไม่ใช่สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี

(1)       เจดีย์จุลประโทน          (2) เจดีย์วัดพระเมรุ     (3) เจดีย์วัดกู่กุด          (4) เจดีย์วัดเจ็ดแถว

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

20.       พระปรางค์วัดสองพี่น้อง อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดจัยนาท เป็นศิลปกรรมสมัยใด

(1)       ศิลปะสมัยทวารวดี      (2) ศิลปะสมัยศรีวิชัย  (3) ศิลปะสมัยลพบุรี   (4) ศิลปะสมัยเชียงแสน

ตอบ 1 หน้า 129 – 130 ศิลปะสมัยทวารวดีที่ไดัรับอิทธิพลจากศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยจะเห็นได้จาก สถาปัตยกรรมทางตอนเหนือหลายแห่ง เช่น พระปรางค์วัดสองพี่น้อง อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท และเจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยลวดลายปูนปั้นที่ประดับองค์ปรางค์ก็น่าจะได้รับ อิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัยเช่นกัน

21.       พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรกได้รับอิทธิพลจากศิลปะใด

(1)       ศิลปะคุปตะ    

(2) ศิลปะปาละ           

(3) ศิลปะลังกา           

(4) ศิลปะอู่ทอง

ตอบ 2 หน้า 139 พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรก (สมัยเชียงแสนหรือสมัยล้านนา) จะได้รับอิทธิพล จากศิลปะปาละอย่างชัดเจน คือ รัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุเป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรสั้นเหนือพระถันที่ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ และมักนิยมหล่อเป็นสำริดในท่าประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย

22.       พระพุทธรูปนาคปรกสำริดปางมารวิชัย ที่วัดเวียง อำเภอไชยา ได้รับอิทธิพลศิลปะประเภทใด

(1)       ศิลปะทวารวดี 

(2) ศิลปะลพบุรี           

(3) ศิลปะสุโขทัย         

(4) ศิลปะอยุธยา

ตอบ 2 หน้า 129 ประติมากรรมพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะศรีวิชัย จะได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี เช่น พระพุทธรูปนาคปรกสำริดปางมารวิชัย พบที่วัดเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ก็ได้พบรูปเคารพอีกมากมาย เช่น รูปท้าวกุเวร รูปพระอิศวร เป็นต้น

23.       พระพิมพ์ดินดิบ นิยมทำตามศิลปะสมัยใด

(1)       ศิลปะทวารวดี 

(2) ศิลปะศรีวิชัย         

(3) ศิลปะอยุธยา         

(4) ศิลปะรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

24.       ภาพสลักลายเส้นบนแผนหินที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ได้รับอิทธิพลจากศาสนาใด

(1)       ศาสนาพราหมณ์         (2) ศาสนาฮินดู

(3) ศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์          (4) ศาสนาพุทธนิกายมหายาน

ตอบ 3 หน้า 130 ภาพสลักลายเส้นบนแผ่นหินที่วัดศรีชุม จ.สุโขทัย เป็นฝีมือของศิลปินในช่วง กลางพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งเชื่อกันว่าภาพนี้คงได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์ และยังคงความเป็นอินเดียอย่างเห็นได้ชัดโดยอาจจะเป็นต้นเค้าของจิตรกรรมฝาผนังของไทยก็ได้

25.       พระพักตร์สี่เหลี่ยม คิ้วเกือบเป็นเส้นตรง มีไรพระศก พระเกตุมาลามักเป็นกลีบบัวซ้อนกันเป็นลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะสมัยใด

(1)       ศิลปะสุโขทัย   (2) ศิลปะอยุธยา         (3) ศิลปะลพบุรี           (4) ศิลปะเชียงแสน

ตอบ 3 หน้า 135 ลักษณะเฉพาะของศิลปะลพบุรี คือ พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม คิ้วเกือบเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้ามีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 ลงมามักมีไรพระศก (เส้นนูนเหนือ หน้าผาก) พระเกตุมาลาเป็นกลีบบัวซ้อนกันขึ้นเป็นชั้น ๆ และมีพระรัศมีเป็นดอกบัวตูมอยู่ข้างบน

26.       ข้อใดไม่ใช่พระปรางค์แบบขอมในสมัยอยุธยา

(1) พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก         (2) พระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์

(3) พระปรางค์วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ จังหวัดอยุธยา         (4) พระปรางค์วัดพระศรีสรรเพชญ์

ตอบ 4 หน้า 153 ศิลปกรรมสมัยอยุธยายุคที่ 1 เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองขึ้นครองราชย์สมบัติ ในปี พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในปี พ.ศ. 2031 โดยศิลปกรรมในยุคนี้ จะสร้างตามแบบอย่างศิลปะลพบุรี และนิยมสร้างพระปรางค์แบบขอม เช่น พระปรางค์วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลกพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์พระปรางค์วัดราชบูรณะ และ พระปรางค์วัดมหาธาตุ จ.อยุธยา เป็นต้น

27.       พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นสัญลักษณ์ของผู้ใด         

(1) พระสมณโคดมพุทธเจ้า

(2)       พระทีปังกรพุทธเจ้า    (3) พระศรีศากยทศพลญาณ  (4) พระศรีอาริยเมตไตรย

ตอบ 4 หน้า 153 – 154 ศิลปะอยุธยานิยมทำพระพุทธรูปทรงเครื่องกันมาก ทั้งนี้โดยหมายเอาว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระศรีอารียเมตไตรยที่จะทรงตรัสรู้ในภพหน้า จึงมักทำพระพุทธรูปอย่าง พระพุทธเจ้าทรงจำแลงองค์เป็นพระจักรพรรดิเพื่อปราบท้าวพระยามหาชมพู แต่อาจจะมี ลักษณะผิดแปลกไปจากพระพุทธรูปทรงเครื่องของศิลปะลพบุรี คือ พระพุทธรูปทรงเครื่อง ของศิลปะอยุธยาจะมีทั้งทรงเครื่องใหญ่และทรงเครื่องน้อย

28.       สถาปัตยกรรมแบบลพบุรีที่สมบูรณ์ที่สุดในอิทธิพลของศิลปะเขมร คือที่ใด

(1) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี        (2) ปราสาทภูมิโพน จังหวัดสุรินทร์

(3)       ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี (4) ทับหลังวัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี

ตอบ 2 หน้า 137 สถาปัตยกรรมแบบลพบุรีที่สมบูรณ์ที่สุดในอิทธิพลของศิลปะเขมร คือ ปราสาทภูมิโพน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ซึ่งจัดเป็นปราสาทไพรกเมง และปรางค์กู่วัดพระโกณาที่สร้างขึ้นจากคติใน ศาสนาพราหมณ์ โดยลวดลายที่ทับหลังและลักษณะของปรางค์เป็นศิลปะลพบุรีที่ได้รับอิทธิพล จากศิลปะปาปวนของเขมร ซึ่งมีอายุอยู่ราว พ.ศ. 1550 – 1650 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของเขมร

29.       ข้อใดไม่ใช่วัสดุที่นิยมนำมาทำพระพิมพ์ของศิลปะเชียงแสน

(1) ดีบุก           (2)       ทองแดง           (3)       ศิลา     (4)       ถูกทั้งข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 141 พระพิมพ์ของศิลปะเชียงแสนไม่สลักด้วยศิลา แต่มักนิยมหล่อด้วยโลหะ ซึ่งมักเป็น ดีบุกและทองแดงที่ได้จากแถบยูนนานและทางภาคเหนือของไทย แต่จะไม่มีคาถา เย ธมมา สลักไว้ด้านหลังเหมือนพระพิมพ์สมัยทวารวดี จึงแสดงให้เห็นว่าคงไมมีวัตถุประสงค์ที่จะทำขึ้น เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา

30.       รัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุเป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนน” เป็นลักษณะของพระพุทธรูปสมัยใด

(1) ทวารวดี      (2)       ศรีวิชัย (3)       ลพบุรี  (4)       เชียงแสน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21.       ประกอบ

31.       ก่อด้วยศิลาแลง สร้างเทวาลัยบนเชิงเขาสูง” เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใด

(1) ทวารวดี      

(2)       ศรีวิชัย 

(3)       ลพบุรี  

(4)       เชียงแสน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

32.       พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สวยงามที่สุดพบที่ใด

(1)       อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี         

(2) อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

(3) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา       

(4) อำเภอสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท

ตอบ 1 หน้า 128 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สวยงามที่สุดพบที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดยลักษณะ ขององค์และพระพักตร์จะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะคุปตะอย่างชัดเจน และพระโพธิสัตว์ ในศิลปะศรีวิชัยนี้มักจะทรงเครื่องกษัตริย์อย่างครบครัน ซึ่งการทรงเครื่องประดับอย่างมากมายนั้น เป็นอิทธิพลของศิลปะปาละ

33.       จิตรกรรมฝาผนังไทยที่เก่าที่สุด คือที่ใด

(1)       วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย    

(2) วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

(3) เมืองโบราณที่สระโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี 

(4) วัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี

ตอบ 1 หน้า 130 จิตรกรรมฝาผนังไทยที่เก่าที่สุด คือ จิตรกรรมที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และจิตรกรรมในถํ้าศิลปะ จ.ยะลา ซึ่งมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที 18 หรือ กลางพุทธศตวรรษที่ 19 โดยจิตรกรรมที่พบนี้ยังคงรักษาแบบอย่างของศิลปะสมัยศรีวิชัย ไว้ได้มาก แต่คงจะวาดขึ้นใหม่เพื่อการฟื้นฟูศาสนาพุทธ

34.       พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนิยมหล่อด้วยวัสดุใด

(1)       ศิลา     (2) ทองแดง     (3) ดินเผา        (4) สำริด

ตอบ 4 หน้า 146 พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนิยมหล่อด้วยสำริดหรือปูนปั้น มีทั้งปางลีลา ปางประทับนั่ง หรือทำเป็นพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน ส่วนที่สลักด้วยศิลาก็มีบ้างแต่น้อย นอกจากจะทำเป็นพระพุทธรูปเดี่ยวๆ และทำเป็นลายปูนปั้นหรือพระพุทธรูปประดับตัวอาคาร เพื่อให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น

35.       ศิลปะสมัยทวารวดีเป็นศิลปะเกิดขึ้นจากอิทธิพลของศาสนาใดมากที่สุด

(1) ศาสนาพราหมณ์    (2) ศาสนาฮินดู

(3) ศาสนาพุทธนิกายหินยาน  (4) ศาสนาพุทธนิกายมหายาน

ตอบ 3 หน้า 119 – 123214 – 215 ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะสมัยแรกสุดของไทยที่เจริญขึ้นทางภาคกลาง ส่วนใหญ่จะทำขึ้นจากคติทางพุทธศาสนาหินยานอย่างเถรวาทที่ใช้ทั้งภาษาบาลี และสันสกฤตมากที่สุด รองลงมาคือพุทธศาสนามหายาน และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ดังนั้นจึง ปรากฏมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีซึ่งเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากคติทางพุทธหินยาน รวมทั้งศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และศิลปะปาละ-เสนะที่ทำขึ้นจากคติทางพุทธศาสนามหายาน

36.       ท่าประทับนั่งมักขัดสมาธิราบ พระขนงต่อเป็นเส้นเดียวกัน พระเกตุมาลาสั้น” เป็นลักษณะเด่นของ พระพุทธรูปศิลปะสมัยใด

(1) ศิลปะทวารวดี        (2) ศิลปะศรีวิชัย         (3) ศิลปะสุโขทัย         (4) ศิลปะอยุธยา

ตอบ 1 หน้า 121 – 122 ลักษณะของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย แบบอมราวดี คือ ท่าประทับนั่งมักขัดสมาธิราบแบบหลวม ๆ ซึ่งจะขัดไว้แค่เห็นพระบาทเท่านั้น พระขนงต่อเป็นเส้นเดียวกัน พระเกตุมาลาสั้นหรือเกือบไม่มีเลย พระหัตถ์มักทำปางวิตรรกะ คือ พระหัตถ์ยื่นออกมาในระดับพระอุระ และจีบนิ้วพระหัตถ์หัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นวงกลม

37.       ศิลปะหมวดวัดตระกวน จัดเป็นศิลปะสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) อู่ทอง         (3) อยุธยา       (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 1 หน้า 145 – 146 ลักษณะของพระพุทธรูปในศิลปะสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่

1.         หมวดใหญ่ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่งามที่สุด

2.         หมวดกำแพงเพชร 3. หมวดพระพุทธชินราช 4. หมวดเบ็ดเตล็ด หรือหมวดวัดตระกวน

38.       สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยที่มีความสวยงามและสมบูรณ์มากที่สุด คือข้อใด

(1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ            (2) สถูปวัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย

(3) วัดตระพังหลวง สุโขทัย     (4) พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพฯ

ตรบ 2 หน้า 145147 สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยที่มีความสวยงามและสมบูรณ์มากที่สุด คือ

สถูปที่วัดช้างล้อม อ.ศรีลัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งเป็นสถูปเจดีย์ทรงระฆังโอคว่ำ หรือทรงลังกา ที่ได้รับอิทธิพลจากลังกา สำหรับลวดลายใต้องค์ระฆังที่ทำเป็นรูปกลีบบัวประกอบนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพม่า

39.       เมืองศรีวิชัยวัชรบุรี ปัจจุบันน่าจะหมายถึงเมืองใด

(1) ราชบุรี        (2) เพชรบุรี      (3) สิงห์บุรี       (4) ลพบุรี

ตอบ 2 หน้า 133 – 134 ในจารึกปราสาทพระขรรค์ได้กล่าวถึงชื่อเมืองในภาคกลางของไทย รวม 6 เมือง ได้แก่         1. เมืองลไวทยปุระ หรือเมืองลพบุรี 2. เมืองสุวรรณปุระ หรือเมืองสุพรรณบุรี     3. เมืองชัยราชบุรี หรือเมืองราชบุรี

4.         เมืองศัมพูกปัฏฎนะ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองโบราณที่สระโกสินารายณ์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

5.         เมืองศรีวิชัยวัชรบุรี หรือเมืองเพชรบุรี  6. เมืองศรีชัยสิงหบุรี สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น เมืองสิงห์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี แต่บางท่านว่าน่าจะเป็นเมืองสิงห์บุรี

40.       สถาปัตยกรรมที่สร้างปราสาทโดด ๆ ตั้งอยู่บนฐานเตี้ย มีกำแพงแก้วล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยใด

(1) สุโขทัย       (2) อยุธยา       (3) ลพบุรี         (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 3 หน้า 137 สถาปัตยกรรมในศิลปะสมัยลพบุรีจะเริ่มจากการสร้างปราสาทโดด ๆ ตั้งอยู่บนฐานเตี้ยสร้างด้วยอิฐ และมีแผนผังเป็นรูปจัตุรัสยังไม่มีการย่อมุม ยอดปราสาทลดชั้นถอยเข้า หาแกนกลางเรื่อย ๆ จนถึงยอด ต่อมากลุ่มอาคารจะมีความสำคัญมากขึ้น โดยมีกำแพงแก้ว ล้อมรอบ และสิ่งต่าง ๆ จะยิ่งเพิ่มความซับซ้อน ทำให้เกิดความงามอย่างแปลกประหลาด จนกลายเป็นเอกลักษณ์และแบบเฉพาะของศิลปะเขมร

41.       ภาพจิตรกรรมสมัยใดนิยมพื้นเข้ม ตัวบุคคลสีอ่อน เครื่องประดับสีทอง

(1) สุโขทัย       

(2) อู่ทอง         

(3) ลพบุรี         

(4) อยุธยา

ตอบ 4 หน้า 154 จิตรกรรมสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยโดยภาพจิตรกรรมมักนิยมพื้นเข้ม ตัวบุคคลเป็นสีอ่อน เครื่องประดับเป็นสีทอง ส่วนสีที่ใช้เป็นสีดำ ขาว เหลือง และแดง ซึ่งจัดเป็น สีเอกรงค์ (Monochrome) แต่พอมาถึงปลายสมัยอยุธยาก็นิยมใช้สีพหุรงค์ (Polychrome)

42.       มีกำแพงเมืองเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้า มีกำแพงดิน 3 ชั้น มีประตูเมือง 4 ประตู มีสระน้ำใหญ่ 4 สระ นี่คือลักษณะของเมืองใด

(1) สุโขทัย       

(2) อู่ทอง         

(3) ลพบุรี         

(4) อยุธยา

ตอบ 1 หน้า 143 – 144 จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่า สุโขทัยมีกำแพงเมืองเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำเป็นกำแพงดินรวม 3 ชั้น มีประตูเมือง 4 ประตู และมีสระนํ้าใหญ่ 4 สระ คือ ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังสอง และตระพังตระกวน

43.       ข้อใดเป็นจิตรกรรมสมัยธนบุรี

(1)       จิตรกรรมฝาผนังที่วัดช่องนนทรี          

(2) จิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

(3) จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์    

(4) จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถวัดดุสิตาราม

ตอบ 1 หน้า 157 – 158 จิตรกรรมสมัยธนบุรีที่พบมีอยู่น้อยแห่ง เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่วัดช่องนนทรี อ.ยานนาวา กรุงเทพฯ และสมุดภาพไตรภูมิฉบับช่างหลวง ซึ่งเขียนขึ้นตามพระบรมราชโองการ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในปี พ.ศ. 2319 โดยปัจจุบันมีอยู่ 2 ฉบับ คือ อยู่ที่ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ และที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี

44.       เจดีย์ที่เป็นแบบอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัยแท้ เรียกว่าอะไร

(1) เจดีย์ทรงลังกา

(2)       เจดีย์ทรงระฆังโอควํ่า (3) เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์       (4) เจดีย์ทรงย่อมุมไม้สิบสอง

ตอบ 3 หน้า 147 เจดีย์ที่เป็นแบบอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัยอย่างแท้จริง คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่น พระเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัยเก่า และเจดีย์องค์กลางที่วัดเจดีย์ 7 แถว มักนิยมทำเป็นฐานสี่เหลี่ยม 3 ชั้นซ้อนกัน องค์เจดีย์ย่อมุม ยอดเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือรูปดอกบัวตูม ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนด้วย

45.       มุทราของพระพุทธรูปทางมหายาน มุทรา” หมายถึงอะไร  

(1) พระเกตุมาลา

(2)       ไรพระศก         (3) การแสดงอิริยาบถ (4) การแสดงท่าด้วยพระหัตถ์

ตอบ 4 หน้า 83128135, (คำบรรยาย) คำว่า มุทรา” (Mudra) เป็นคำภาษาสันสกฤต หมายถึง การแสดงท่าทางด้วยพระหัตถ์ หรือปางต่าง ๆ ของประติมากรรมที่แสดงด้วยมือ เช่น ปางประทานพร (วรมุทรา) เป็นตน สำหรับมุทราของพระพุทธรูปทางมหายานจะทำเช่นเดียวกับพระพุทธรูปทางหินยาน แต่จะผิดกันตรงที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง (มหายาน) หรือ พระพุทธรูปไม่ทรงเครื่อง (หินยาน) เท่านั้น

46.       พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยมีพระพักตร์แบบใด

(1) วงกลม       (2) สี่เหลี่ยม     (3) รูปไข่          (4) สามเหลี่ยม

ตอบ 3 หน้า 144151 พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยมีความสวยงามอย่างประหลาด ดังคัมภีร์มหากาพย์ ในภาษาสันสกฤตกล่าวว่า พระชงค์เหมือนขากวาง ขาอ่อนเหมือนต้นกล้วย พระกรกลมและเกลี้ยงเกลาเหมือนงาช้าง พระหัตถ์เหมือนดอกบัวที่เริ่มบาน นิ้วพระหัตถ์เหมือนกลีบดอกไม้ พระพักตร์มีลักษณะเป็นรูปไข่ แก้มนูนเป็นวงรี พระนาสิกเหมือนปากนกแก้ว และพระเกศา ขมวดเหมือนก้นหอย

47.       พระแผงหรือพระกำแพงร้อย เริ่มทำในสมัยใด

(1) ทวารวดี      (2) ศรีวิชัย      (3) อยุธยา      (4) รัตนโกสินทร์

ตอบ 3 หน้า 154 พระพิมพ์ในสมัยอยุธยามักทำเป็นรูปเล็ก ๆ หลายองค์บนแผ่นเดียวกัน เรียกว่าพระแผงหรือพระกำแพงร้อย” ซึ่งเริ่มทำกันมาตั้งแต่อยุธยายุคที่ 2 แต่ในสมัยอยุธยาตอบปลาย มักนิยมทำพระพิมพ์เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับอยู่ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว

48.       ในสมัยรัตนโกสินทร์มีศิลปกรรมรูปแบบใหม่คือ พระพุทธรูปปางใด

(1) ปางประสูติ            (2) ปางตัดพระเมาลี    (3) ปางชนะมาร          (4) ปางขอฝน

ตอบ 4 หน้า 157163190 (S) ในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นิยมสร้างพระพุทธรูป ให้เหมือนมนุษย์มากยิ่งขึ้น คือ พยายามเลียนแบบพระพุทธรูปคันธารราฐของอินเดีย โดยการ ทำปางของพระพุทธรูปเพิ่มจากสมัยก่อน ๆ ซึ่งถือเป็นศิลปกรรมรูปแบบใหม่ ได้แก่ พระพุทธรูปปางขอฝนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

49.       พระธาตุหริภุญชัยที่ลำพูน เป็นเจดีย์สมัยใด

(1)       สุโขทัย            (2) อู่ทอง         (3) เชียงแสน   (4) อยุธยา

ตอบ 3 หน้า 141,170-171(S) เจดีย์สมัยเชียงแสนที่ได้รับเอาแบบอย่างจากเจดีย์ทรงกลมของสุโขทัย แต่มาดัดแปลงให้มีฐานสูงขึ้น เช่น พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปางพระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน เป็นต้น

50.       ข้อใดไม่ใช่วิจิตรศิลป์ 

(1) ภาพวาดชาวเขา

(2)       รูปปั้นสมเด็จพระสังฆราช      (3) วัดทุ่งนครที่สร้างเกือบเสร็จแล้ว     (4) ตุ้มหูเพชรของคุณแม่

ตอบ 4 หน้า 81422122 (S) วิจิตรศิลป์ (Fine Art) หมายถึง จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ดุริยางคศิลป์ (ดนตรีและการละคร) และภาพพิมพ์ ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจ ของธรรมชาติจนส่งเสริมให้ศิลปินเกิดความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะ หรือเป็นศิลปกรรม ที่ทำขึ้นจากความสัมพันธ์กันอย่างประณีตของเส้นและมวลสิ่งหรือสีที่มีความผสมกลมกลืนกัน อย่างงดงาม (ส่วนตุ้มหูเพชรของคุณแม่ เป็นศิลปะประยุกต์ที่สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อประโยชน์ใช้สอย)

51.       ศิลปะกินระวางเนื้อที่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า   

(1) ทัศนศิลป์

(2)       วิจิตรศิลป์        

(3) คีตศิลป์และดุริยางคศิลป์  

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 840 ศิลปะกินระวางเนื้อที่ (Space Art) บางครั้งก็เรียกว่า ทัศนศิลป์” (Visual Art or Plastic Art) หมายถึง ศิลปะที่จำกัดระวางเนื้อที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในอากาศด้วยปริมาตร ของศิลปะเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น

52.       เพลงสวดบูชาเทพเจ้า จัดว่าเป็น …

(1)       วิจิตรศิลป์       

(2) ทัศนศิลป์   

(3) วาทศิลป์

(4) ศิลปะประยุกต์

ตอบ 1 หน้า 14, (ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ) วิจิตรศิลป์ได้ให้อิทธิพลต่อศิลปะยุคหลัง ๆ อีกมากมาย เช่น โรงพิธีสำหรับบูชาก็กลายเป็นโบสถวิหารที่สวยงาม เพลงสวดบูชาเทพเจ้าที่เคยร้องทำนอง ง่าย ๆ แบบคนป่าก็กลายมาเป็นเพลงที่มีเสียงประสานกันอย่างไพเราะ และการเขียนสีลงบน ใบหน้าก็วิวัฒนาการมาเป็นจิตรกรรมฝาผนังถํ้า เป็นต้น

53.       ข้อใดไมใช่บ่อเกิดของศิลปะ  

(1) ธรรมชาติ

(2)       ความเชื่อและศาสนา  

(3) ภูมิอากาศและภูมิประเทศ 

(4) ทัศนคติเชิงบวกของจิตรกร

ตอบ 4 หน้า 9-17 บ่อเกิดหรือแม่แห่งศิลปะมิได้มาจากธรรมชาติเท่านั้น เพราะสิ่งแวดล้อมรอบ ๆตัวเราย่อมมีผลเป็นอย่างมากต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะ ดังนั้นปัจจัยที่เป็นบ่อเกิดของงานศิลปะ จึงประกอบไปด้วย  1. ธรรมชาติ 2. ความเชื่อถือและศาสนา 3. ภูมิอากาศ ภูมิประเทศและวัสดุที่นำมาใช้ 4. สังคมและระบอบการปกครอง

54.       ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบขั้นมูลฐานของศิลปะ

(1) Line, Value  (2) Shape, Form (3) Space, Texture (4) Colour, Rhythm

ตอบ 4 หน้า 25 – 28 ส่วนประกอบขั้นมูลฐานของศิลปะ (The Elements of Art) ได้แก่

1.         เส้น (Line)   2. คุณค่า (Value)  3. รูปร่าง (Shape)  4. รูปลักษณะ (Form)

5. ช่องไฟ (Space) 6. พื้นผิว (Texture) 7. สี (Colour)

55.       ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคำว่า “Asymmetrical Balance”

(1) ความสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา      (2) ความสมดุลด้วยตา

(3)       ความสมดุลโดยประมาณ        (4) ความสมดุลที่มิได้เท่ากันอย่างแท้จริง

ตอบ 1 หน้า 30 – 3176 (S) ความสมดุล (Balance) หมายถึง ความเท่ากันหรือการถ่วงเพื่อให้เกิด การเท่ากัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.         ความสมดุลที่เท่ากัน (Symmetrical Balance or Formal Balance) คือ ความเท่ากัน หรือสมดุลกันทั้งซ้ายและขวา เช่น ร่างกายของคน สัตว์ ฯลฯ

2.         ความสมดุลไม่เท่ากัน (Asymmetrical Balance or Informal Balance) คือ ความสมดุล ที่มิได้เท่ากันโดยแท้จริง แต่มีการจัดขนาด รูปร่าง สี รูปทรง ฯลฯ ให้แตกต่างกันทั้ง 2 ข้าง หรือมีลักษณะสมดุลด้วยตาโดยประมาณ เช่น ต่างหูข้างหนึ่งเป็นรูปดาวและอีกข้างหนึ่ง เป็นรูปเดือน ฯลฯ

56.       ช่วงจังหวะที่เคลื่อนไหวซํ้ากันมากๆ จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายแก่ผู้พบเห็น ข้อใดคือวิธีการแก้ไข

(1)       วางวัตถุใด ๆ ก็ได้ให้อยู่ตรงระหว่างกลาง

(2)       ลดขนาดของรูปที่ซํ้ากันหรือใช้แบบอย่างที่แตกต่าง

(3)       เพิ่มแสงและเงาลงไปเพื่อให้ภาพมองดูเลือนลาง

(4)       เปลื่ยนพื้นผิวของรูปภาพ

ตอบ 2 หน้า 31 ในบางครั้งช่วงจังหวะ (Rhythm) ที่เคลื่อนไหวซํ้ากันมาก ๆ จะก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย แก่ผู้พบเห็น ดังนั้นศิลปินก็อาจจะแก้ปัญหาโดยการลดขนาดของรูปที่ซํ้ากันหรือใช้แบบอย่างที่แตกต่างกันไปบ้าง เช่น การซํ้ากันของขนาดที่ต่างกัน หรือการซํ้ากันของลวดลายที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้เกิดเป็นรูปร่างใหม่ขึ้น มีท่วงทีและลีลาที่ช่วยให้เกิดความตื่นเต้นแก่ผู้พบเห็นได้

57.       สำริดเกิดจากแร่ธาตุใดผสมกัน

(1) ทองแดง + ดีบุก (2) ทองแดง + ตะกั่ว (3) ดีบุก + ตะกัว  (4) ตะกั่ว + เหล็ก

ตอบ 1 หน้า 68 – 69, (คำบรรยาย) ยุคสำริด (Bronze Age) มีระยะเวลาประมาณ 4,000 – 2,500 B.C. เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มเรียนรู้การใช้ทองบรอนซ์หรือที่เรียกว่า สำริด” คือ โลหะผสมระหว่าง ทองแดงกับดีบุก เพื่อใช้ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ขวานสำริด กำไลแขนสำริด แหวนสำริด ฯลฯ แต่เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในยุคนี้ก็คือ การเริ่มใช้โลหะผสม ทำเงินตราแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

58.       ข้อใดคือเหตุการณ์สำคัญของยุคสำริด

(1) การสูญพันธุ์          (2) มีการใช้เงินตราแลกเปลี่ยน

(3)       มีการยึดอำนาจ           (4) มีสงคราม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

59.       ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่มนุษย์เลือกตั้งถิ่นฐานตามลุ่มแม่นํ้า

(1) เป็นแหล่งทำเลเพาะปลูกที่ดี         (2) การคมนาคมสะดวก

(3)       มีอาหารและเสบียงครบ          (4) เป็นศูนย์รวมของการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

ตอบ 4 (คำบรรยาย) สาเหตุที่มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เลือกตั้งถิ่นฐานตามลุ่มแม่นํ้า มีดังนี้

1.         เป็นแหล่งทำเลที่สามารถเพาะปลูกได้ดี

2.         การคมนาคมทางนํ้า ทำให้มนุษย์ไปมาหาสู่กันได้สะดวก

3.         เป็นแหล่งที่มีอาหารและเสบียงครบถ้วนสมบูรณ์

60.       การเรียงลำดับการพบเครื่องมือในยุคหินข้อใดถูกต้องที่สุด

(1)       หินหยาบ หินขัด หินกะเทาะ   (2) หินขัด หินหยาบ หินกะเทาะ

(3)       หินหยาบ หินกะเทาะ หินขัด    (4) หินขัด หินกะเทาะ หินหยาบ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ลักษณะเด่นของยุคหิน (Stone Age) หรือเรียกว่ายุคก่อนรู้หนังสือ หรือ ยุคก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร คือ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน โดยพัฒนาการของ เครื่องมือในยุคหินจะเริ่มจากเครื่องมือหินหยาบ เครื่องมือหินกะเทาะ และเครื่องมือหินขัด

61.       เครื่องมือสมัยยุคหินเก่าตอนต้นคือ   

(1) ฉมวก

(2)       หัวลูกศร         

(3) ขวานกะเทาะแบบกำปั้น   

(4) เคียวหินเหล็กไฟด้ามไม้

ตอบ 3 หน้า 49 – 53, (คำบรรยาย) ยุคหินเก่า (Paleolithic Period) หรือยุคล่าสัตว์ เป็นยุคที่มนุษย์มีพัฒนาการที่สำคัญ คือ การใช้สติปัญญาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ แบ่งออกเป็น

1.         ยุคหินเก่าตอนต้น ได้แก่ เครื่องมือหินกะเทาะ หรือขวานกะเทาะแบบกำปั้น

2.         ยุคหินเก่าตอนกลาง ได้แก่ การใช้เครื่องมือที่มีด้ามยาว

3.         ยุคหินเก่าตอนปลาย ได้แก่ เครื่องดีดแหลนโดยใช้หลักคานงัด ทำให้พุ่งแหลนไปได้ไกล 1 เท่าตัว และการทำธนูหน้าไม้

62.       Menhir or Standing Stone เป็นอนุสาวรีย์หินแบบใด  

(1) หินตั้งเดียว

(2)       หินตั้งเป็นวงกลม        

(3) โต๊ะหิน       

(4) หินตั้งเป็นแกนยาว

ตอบ 1 หน้า 72, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 37 – 38) วัฒนธรรมหินใหญ่ เป็นวัฒนธรรมของ คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่รู้จักนำเอาก้อนหินมาก่อสร้างอย่างง่าย ๆ โดยตั้งไว้เป็นรูปต่าง ๆ ดังนี้ 1. โต๊ะหิน (Dolmens) 2. หินตั้ง (Standing Stone) หรือแท่งหินที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว (Menhir)

3.         หินตั้งเป็นวงกลม (Stone Circles or Comlechs) 4. หินตั้งเป็นแถวขนาน (Alignments)

63.       ข้อใดแสดงความแตกต่างระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัยประวัติศาสตร์ได้ชัดเจนที่สุด

(1) ตัวอักษร     

(2) เครื่องมือเครื่องใช้

(3)       โบราณสถาน-โบราณวัตถุ      

(4) วิถีชีวิตของคนในสังคม

ตอบ 1 หน้า 47114 (ร), (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงความแตกต่างระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัยประวัติศาสตร์ได้ชัดเจนที่สุด คือ ตัวอักษร ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัยของมนุษย์ กล่าวคือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นยังไม่มีตัวอักษรสำหรับการจดบันทึก การศึกษาศิลปะจึง ศึกษาจากศิลปะวัตถุและซากโครงกระดูกต่าง ๆ ส่วนสมัยประวัติศาสตร์จะมีการใช้ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายและทำความเข้าใจระหว่างกัน การศึกษาศิลปะจึงศึกษาจากลายลักษณ์อักษรที่ได้จดบันทึกขึ้น

64.       ข้อใดคือยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในช่วงเวลาติดต่อกัน

(1) ยุคหินใหม่-ยุคเหล็ก           (2) ยุคหินใหม่-ยุคสำริด

(3)       ยุคหินเก่า-ยุคหินใหม่  (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 49,54-56,(คำบรรยาย) การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามลักษณะศิลปกรรมมีดังนี้

1.         ยุคหิน (Stone Age) แบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคหินเก่า (500,000 – 10,000 B.C.) ยุคหินกลาง (10,000 – 6,000 B.C.) และยุคหินใหม่ (6,000 – 4,000 B.C.)

2.         ยุคโลหะ (Metal Age) แบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคสำริด (4,000 – 2,000 B.C.)

และยุคเหล็ก (2,000 – 1,500 B.C.)

65.       ลักษณะเด่นของยุคหิน คือข้อใด

(1) มีการใช้สำริดทำอาวุธ        (2) พบเครื่องมือเหล็ก

(3)       มีการทำเครื่องประดับ (4) มีการใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

66.       พัฒนาการที่สำคัญของมนุษย์ในยุคหินเก่า คืออะไร

(1) การพูด       (2) การกระทำ

(3) การใช้สติปัญญา   (4) การใช้ความสามารถ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

67.       ข้อใดเป็นหลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอินเดีย

(1) สโตนเฮนจ์ (2) เมืองโบราณโมเหนโจดาโร

(3) โครงกระดูกมนุษย์สไตน์ไฮม์          (4) ภาพเขียนสีวัวป่าที่ถํ้าอัลตามีรา

ตอบ 2 หน้า 5985 อารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะเจริญขึ้นแถบลุ่มแม่นํ้าคงคาและสินธุ ราว 2,500 – 1,500 ปีก่อนพุทธกาล เรียกว่า อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ ดังหลักฐาน ที่เมืองโบราณโมเหนโจดาโรและฮารัปปา ซึ่งพบซากการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ คงได้รับแบบอย่างมาจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียราว 1,800 ปีก่อนพุทธกาล นอกจากนี้ยังพบ โบราณวัตถุสำคัญในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ตราประทับที่ทำจากหินสบู่ในแคว้นปัญจาบ และสิบธุ

68.       ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยแรกของอินเดียได้รับอิทธิพลจากศิลปะประเทศใด

(1) จีน  (2) โรมัน          (3) กรีก            (4) เปอร์เซีย

ตอบ 3 หน้า 93 – 94 การสร้างประติมากรรมพระพุทธรูปอินเดียเป็นรูปเคารพครั้งแรกเกิดขึ้นในศิลปะคันธารราฐ (พุทธศตวรรษที่ 6-7) ซึ่งเชื่อกันว่าพระพุทธรูปสมัยแรกของอินเดียคงทำขึ้น โดยช่างกรีก จึงได้ปรากฏอิทธิพลของกรีกแบบเฮลเลนิสติกอย่างชัดเจนจากพระพักตร์ พระเกศา และการครองจีวรที่แทบจะไม่มีลักษณะของอินเดียเหลืออยู่เลย โดยช่างคันธารราฐ นิยมทำเป็นประติมากรรมลอยตัว แต่ภาพเล่าเรื่องนิยมทำเป็นภาพสลักนูนสูง

69.       หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดต่อไปนี้มีอายุเก่าแก่ที่สุด

(1) คัมภีร์พระเวท        (2) ตำราอรรถศาสตร์

(3) คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์    (4) ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช

ตอบ 1 หน้า 8890, (คำบรรยาย) ก่อนหน้า 1,000 ปีก่อนพุทธกาล ชนเผ่าอารยันได้เข้ามายึดครอง ดินแดนแถบลุ่มแม่นํ้าสินธุและคงคาของอินเดีย โดยได้นำเอาอารยธรรมต่าง ๆ เข้ามาเผยแพร่ ในอินเดีย ดังนี้

1.         คัมภีร์พระเวท เป็นวรรณกรรมทางศาสนาในภาษาสันสกฤต และถือเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด

2.         เริ่มเกิดระบบวรรณะในอินเดียจากสูงไปต่ำ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์และศูทร

3.         เกิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน ฯลฯ

70.       ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำสินธุ

(1)       มีศาสนา

(2) มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ

(3) เป็นอารยธรรมของชาวศกะ

(4) ตั้งอยู่ในประเทศเนปาลปัจจุบัน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 67. ประกอบ

71.       ยุคทองของอินเดียหมายถึงช่วงสมัยใด         

(1) สมัยจักรวรรดิมคธ

(2)       สมัยจักรวรรดิคุปตะ   

(3) สมัยจักรวรรดิเมารยะ        

(4) สมัยอิสลาม

ตอบ 2 หน้า 100 – 103109, (คำบรรยาย) ศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-11) จัดเป็นยุคทอง ของศิลปะอินเดีย ซึ่งเจริญขึ้นในสมัยจักรวรรดิคุปตะ โดยพระพุทธรูปในสมัยนี้จะมีความงาม ตามอุดมคติแบบอินเดีย คือ พระพักตร์ของพระพุทธรูปจะแสดงถึงความเมตตา ความอ่อนโยน ความสงบนิ่ง และความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ซึ่งพระพุทธรูปสมัยคุปตะส่วนใหญ่ จะนิยมแกะสลักด้วยหินทรายแดง

72.       ลักษณะประติมากรรมของโรมัน คือข้อใด     

(1) แข็งทื่อไร้ชีวิตชีวา

(2)       ผิดธรรมชาติ    

(3) สวยงามแบบอุดมคติ         

(4) สมจริงตามธรรมชาติ

ตอบ 4 หน้า 128 – 129 (S), (คำบรรยาย) ลักษณะงานประติมากรรมของโรมันจะสะท้อนบุคลิกภาพของมนุษย์ได้อย่างสมจริงตามธรรมชาติ แต่จะเน้นแกะสลักรูปปั้นบุคคลสำคัญในท่าครึ่งท่อนบน ได้อย่างสมจริง เช่น รอยย่นที่ขอบตา รอยหยักของมุมปาก ผมที่ดูเหมือนเปียกและมัน เนื่องจากเหงื่อ ฯลฯ ทำให้งานประติมากรรมรูปเหมือนมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวต่างไปจาก ศิลปะอื่น ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน

73.       ภาพวัวไบซันที่ถํ้าอัลตามีรา ประเทศสเปน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคใด

(1) ยุคหินเก่า   

(2) ยุคหินกลาง           

(3)       ยุคหินใหม่       

(4)       ยุคโลหะ

ตอบ 1 หน้า 49 – 50, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 35 – 36) จิตรกรรมในสมัยโบราณก่อนประวัติศาสตร์มักพบตามถํ้า เช่น ตามผนังถํ้าและเพดานถํ้าที่อยู่ลึกจากปากถํ้าเข้าไป บางครั้ง จึงเรียกว่า ศิลปะถํ้า” โดยถํ้าแรกสุดที่พบจิตรกรรมภาพเขียนของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าที่สุด คือ ถํ้าอัลตามิรา (Altamira) ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศสเปน พบภาพเขียนสีเป็นภาพ วัวไบซัน (Bison) บนผนังถํ้าจำนวนมากจนไม่อาจนับได้ ซึ่งมีอายุอยู่ในปลายยุคหินเก่าประมาณ 30,000 B.C.

74.       ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่เทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ

(1) เร   (2) ซุส  (3)       ไอซิส    (4)       โอซิริส

ตอบ 2 หน้า 115 (S), (คำบรรยาย) เทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือมีอยู่หลายองค์ เช่น สุริยเทพเรหรือรา (Re or Ra) เป็นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์เทพโอซิริส (Osiris) เป็นเทพเจ้าแห่งแม่นํ้าไนล์ หรือเทพเจ้าแห่งความตายเทพีไอซิส (Isis) ซึ่งเป็นมเหสีของเทพโอซิริส เป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์เทพโฮรัส (Horus) ซึ่งเป็นบุตรของเทพโอซิริสกับเทพีไอซิส เป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ เป็นต้น

75.       ศิลปะคันธารราฐนิยมทำประติมากรรมตามข้อใด

(1)       ประติมากรรมลอยตัว แต่ภาพเล่าเรื่องเป็นภาพนูนสูง

(2)       ประติมากรรมลอยตัว แต่ภาพเล่าเรื่องเป็นภาพนูนต่ำ

(3)       ประติมากรรมนูนตํ่า ภาพเล่าเรื่องเป็นภาพนูนตํ่า

(4)       ประติมากรรมลอยตัว ภาพเล่าเรื่องเป็นภาพลอยตัว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ

76.       พระพุทธรูปสมัยใดที่แสดงถึงความอ่อนโยน สงบนิ่ง อันเป็นความงามตามอุดมคติแบบอินเดีย

(1) สมัยคันธารราฐ      (2)       สมัยอมราวดี    (3)       สมัยคุปตะ       (4)       สมัยมถุรา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 71.       ประกอบ

77.       ยุคทองของพระพุทธรูปไทย คือสมัยใด

(1) สมัยทวารวดี          (2)       สมัยศรีวิชัย      (3)       สมัยลพบุรี       (4)       สมัยสุโขทัย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

78.       ศิลปะของอินเดียสมัยใดที่ขาดความเป็นเอกลักษณ์และก่อให้เกิดศิลปะที่หลากหลายรูปแบบ

(1) ศิลปะอมราวดี       (2)       ศิลปะคุปตะ    (3)       ศิลปะมถุรา     (4)       ศิลปะหลังคุปตะ

ตอบ 4 หน้า 101 – 102, (คำบรรยาย) ศิลปะหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) เป็นยุคที่ศิลปกรรม ของอินเดียหมดความสวยงามลงไป เนื่องจากช่างผู้ทำมุ่งให้ถูกต้องตามปฏิมาณวิทยาเท่านั้น นอกจากนี้ยังนิยมเลียนแบบทั้งลักษณะและท่าทางของพระพุทธรูปในยุคทอง แต่จะเพิ่มลวดลาย ละเอียดมากขึ้น จึงทำให้ขาดความเป็นเอกลักษณ์และก่อให้เกิดศิลปะที่หลากหลายรูปแบบ

79.       สกุลช่างใดที่นิยมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย

(1) สกุลช่างเบงกอล   (2) สกุลช่างคุชราช

(3)       สกุลช่างโมคุล (4) สกุลช่างในแหลมเดคข่าน

ตอบ 2 หน้า 106 – 107 จิตรกรรมในสมัยศิลปะอิสลาม (พุทธศตวรรษที่ 18 – 23) จะมีหลายสกุลช่าง ด้วยกัน แต่ลักษณะรูปภาพที่เขียนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้

1.         กลุ่มที่นิยมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอินเดีย เช่น สกุลช่างคุชราช

2.         กลุ่มที่นิยมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับราชสำนักและความงามของหญิงสาว เช่น สกุลช่างโมคุล

80.       สกุลช่างใดที่นิยมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับราชสำนักและความงามของหญิงสาว

(1) สกุลช่างเบงกอล   (2) สกุลช่างคุชราช

(3)       สกุลช่างโมคุล (4) สกุลช่างในแหลมเดคข่าน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81.       ชนเผ่าใดเป็นผู้ก่อให้เกิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และระบบวรรณะ

(1) ชนเผ่าอารยัน         

(2) ชนเผ่าติวโตนิก      

(3) ชนเผ่าอินเดียแดง  

(4) ชนเผ่าสุเมเรีย

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

82.       ประเทศอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษด้วยวิธีใด

(1)       การเจรจาด้วยการประนีประนอม

(2)       การสู้รบจนชนะ

(3)       ต่อสู้เรียกร้องแบบอหิงสาภายใต้การนำของมหาตมะ คานธี

(4)       อังกฤษสมัครใจให้เอกราชแก่อินเดียเอง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ประเทศอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ซึ่งเป็นผลมาจากการต่อสู้เรียกร้องแบบอหิงสาภายใต้การนำของมหาตมะ คานธี คือ การประท้วงแบบสันติหรืออารยะขัดขืน หลีกเลี่ยงความรุนแรง โดยจะทำควบคู่ไปกับ สัตยานุเคราะห์ คือ ความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวมั่นคงที่จะยืนหยัดอยู่กับความจริงและความถูกต้อง

83.       ข้อใดจัดลำดับระบบวรรณะในอินเดียได้ถูกต้อง

(1) พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ ศูทร       

(2) กษัตริย์ แพทย์ ศูทร พราหมณ์

(3) แพทย์ ศูทร พราหมณ์ กษัตริย์       

(4) พราหมณ์ กษัตริย์ ศูทร แพทย์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

84.       พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอังสา พระหัตถ์ซ้ายกำอยู่เหนือพระโสณี เป็นพระพุทธรูปในศิลปะใด

(1) สมัยคันธารราฐ      (2) สมัยมถุรา  (3) สมัยคุปตะ (4) สมัยอมราวดี

ตอบ 2 หน้า 95 – 96 การแสดงปางของพระพุทธรูปในศิลปะมธุรา (พุทธศตวรรษที่ 7-8) จะผิดแปลก ออกไป เช่น พระพุทธรูปปางประทานอภัย มักแสดงโดยยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอังสา พระหัตถ์ซ้ายกำอยู่เหนือพระโสณี ซึ่งจะไม่พบลักษณะเช่นนี้ในศิลปะแบบอื่นเลย

85.       พระพุทธรูปสมัยใดที่ทรงเครื่องหรือประดับด้วยเครื่องราชาภรณ์

(1) สมัยมธุรา  (2) สมัยคุปตะ (3) สมัยอมราวดี          (4) สมัยปาละ-เสนะ

ตอบ 4 หน้า 105 ศิลปะปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14 – 16) และเสนะ (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18) จัดเป็นศิลปะยุคเสื่อมที่เจริญขึ้นในแควันเบงกอลของอินเดีย โดยมีลักษณะเฉพาะ คือ พระพุทธรูปมักมีแผ่นหลังติดอยู่และมีลวดลายประดับมากมาย ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป ทรงเครื่องหรือประดับด้วยเครื่องราชาภรณ์ นิยมหล่อด้วยสำริดและสร้างจากศิลา แต่ไม่มี ความสวยงามเลย

86.       หินที่นิยมนำมาแกะสลักพระพุทธรูปสมัยคุปตะ คือหินชนิดใด

(1)       หินทรายแดง   (2) หินทรายเหลือง      (3) หินทรายเขียว         (4) ทินแกรนิต

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 71. ประกอบ

87.       ข้อใดถือเป็นหลักฐานชั้นรอง 

(1) ศิลาจารึก

(2)       เครื่องปั้นดินเผา         (3) ตราประทับดินเผา (4) เอกสารทางประวัติศาสตร์

ตอบ 4 (คำบรรยาย) หลักฐานทางประวัติศาสตร์แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1.         หลักฐานชั้นต้น (ปฐมภูมิ) คือ หลักฐานที่บันทึกไว้ในสมัยที่เรื่องราวนั้นเกิดขึ้น รวมถึงสิ่งปลูกสร้าง และผลผลิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เช่น ศิลาจารึก เครื่องปั้นดินเผา ตราประทับดินเผา ฯลฯ

2.         หลักฐานชั้นรอง (ทุติยภูมิ) คือ บันทึกของผู้ที่ทราบเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง ได้แก่ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เขียนขึ้นภายหลัง โดยอาศัยหลักฐานชั้นต้น เช่น ตำนาน วิทยานิพนธ์ ฯลฯ

ข้อ 88. – 95.    ข้อใดถูกให้ตอบข้อ 1 ข้อใดผิดให้ตอบข้อ 2

88.       จุดมุ่งหมายของการเรียนศิลปะ คือ ช่วยให้วาดภาพได้อย่างสวยงามและสมสัดส่วน ตอบ 2 หน้า 3-4 จุดมุ่งหมายของการเรียนศิลปะวิจักษณ์ มีดังนี้

1.         เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของโครงสร้างของศิลปะ

2.         เพื่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความงามของศิลปกรรม

3.         เพื่อพัฒนารสนิยม

4.         เพื่อศึกษาเรื่องราวของมนุษย่ให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ สภาพสังคม ประเพณี และ วัฒนธรรมของคนในอดีต

89.       การจัดวางเส้น รูปร่าง พื้นผิว และช่องว่าง ถือเป็นโครงสร้างของงานศิลปะ

ตอบ 1 หน้า 330 โครงสร้างของงานศิลปะ (The Structure of Art) หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบ ของเส้น คุณค่า รูปร่าง รูปลักษณะ มวล พื้นผิว และช่องว่างให้มีคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ คือ ให้เกิดมีความสมดุล มีสัดส่วน มีช่วงจังหวะ มีความกลมกลืน มีความขัดแย้ง และมีจุดเด่น ในงานศิลปะ

90.       การประจักษ์ในด้านความงามของศิลปะจะช่วยพัฒนารสนิยมของคนให้ดีขึ้น

ตอบ 1 หน้า 4 รสนิยมของคนเราทุกคนจะพัฒนาไปตามวัย และย่อมมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ถ้าเรารู้จักศึกษาและหาประสบการณ์ใหม่ ๆ พร้อมทั้งรู้จักเอาใจใส่ในสิ่งรอบ ๆ ตัว และ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงตัวอยู่เสมอ โดยนักปราชญ์และศิลปินทั้งหลายให้ความเห็นว่า ความรู้สึก ซาบซึ้งและเข้าใจในศิลปะ หรือการประจักษ์ในด้านความงามของศิลปะ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะช่วยพัฒนารสนิยมของคนให้ดีขึ้นได้

91.       ศิลปะสามารถสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในอดีตได้ แต่ต้องไม่เกิน 50 ปี

ตอบ 2 หน้า 4 – 57 ศิลปะสามารถสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สภาพสังคม ประเพณี และวัฒนธรรม ของคนในอดีตได้ ดังนั้นเราจึงสามารถเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสมัยก่อนได้จาก งานศิลปกรรมทุกชนิด ไม่ว่างานศิลปกรรมนั้นจะมีอายุเก่าแก่เพียงใด ดังที่นักโบราณคดีให้ ความเห็นว่า ศิลปกรรมย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงความเจริญในอดีต และศิลปะย่อมเป็น หลักฐานอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ดีที่สุด

92.       ศิลปกรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

ตอบ 1 หน้า 4 ศิลปกรรมย่อมคู่กับวัฒนธรรมเสมอ เพราะศิลปกรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและ แสดงออกถึงความเจริญของสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และความคิดอ่านของศิลปิน จึงได้ ถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะ ดังนั้นการศึกษาศิลปะจึงอาจกล่าวได้ว่า คือการศึกษา เรื่องราวของมนุษย์

93.       ศาสนาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างศิลปะ

ตอบ 1 หน้า 15 คติแห่งความเชื่อได้มีผลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะมาตลอด จนกระทั่งเกิดมีศาสนาขึ้น ศิลปกรรมทุกแขนงได้เปลี่ยนมารับใช้ศาสนาเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าศาสนาเป็น แรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งคติความเชื่อของศาสนาแต่ละศาสนา ที่แตกต่างกันย่อมเป็นผลให้แบบอย่างและลักษณะของศิลปกรรมแตกต่างกันไปด้วย

94.       ศิลปกรรมทุกแขนงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทำขึ้นจากคติความเชื่อถือ

ตอบ 1 หน้า 14-15 ศิลปกรรมทุกแขนงในสมัยก่อนประวิติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ย่อมทำขึ้นจากคติความเชื่อถือทั้งสิ้น เช่น รูปเทพธิดาวีนัส หรือเทพธิดาแห่งความอุดมสมบูรณ์ จะปรากฏอยู่ในแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไปทั้งในยุโรป และเอเชีย ได้แก่ ที่สเปน ฝรั่งเศส อินเดีย และไทย

95.       แม้คติความเชื่อของศาสนาแต่ละศาสนาจะแตกต่างกัน ก็ไมส่งผลห้แบบอย่างและลักษณะของศิลปกรรม แตกต่างกันไปด้วย

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

ข้อ 96. – 100. จงพิจารณาเลือกคำตอบข้อ 1-4 ใช้ตอบคำถามต่อไปนี้

(1) แบบสีฝุ่น   (2) แบบปูนเปียก

(3)       แบบขี้ผึ้ง          (4) แบบขี้ผึ้งผสมนํ้ามัน

96.       การเขียนภาพแบบใดละเอียดและประณีตที่สุด

ตอบ 1 หน้า 160 – 161 การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบสีฝุ่น (Tempera) เป็นแบบที่ละเอียด และประณีตที่สุด ก่อนจะเขียนต้องเอาฝุ่นสีขาวผสมกับนํ้ากาวที่ทำจากเม็ดในมะขาม โดยคั่วเม็ดมะขามให้ร้อนและแช่นํ้าไว้จนเปลือกนอกล่อนออกแล้วทิ้งไป เอาแต่เม็ดในมะขามมาต้ม จนเป็นวุ้นแล้วละลายกับนํ้าพอสมควร ฉาบทาลงพื้นหลาย ๆ ครั้งและขัดให้เรียบ ทั้งนี้สีที่ใช้ ต้องผสมกับกาวหรือยางไม้ แต่จะต้องรอให้ผนังแห้งสนิทดีก่อน จึงลงมือเขียนได้

97.       วิธีที่ต้องฉาบทาลงพื้นหลาย ๆ ครั้ง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

98.       วิธีที่ใช้กับการเขียนภาพขนาดใหญ่

ตอบ 2 หน้า 160 การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียก (Fresco) เหมาะสำหรับการเขียนภาพ ขนาดใหญ่ เพราะต้องเขียนสีลงบนพื้นผนังที่ฉาบด้วยปูนและทรายเมื่อยังเปียกอยู่ หากปูนอยู่ตัวแล้ว จะเขียนสีลงบนผนังต่อไปอีกไม่ได้ เพราะพื้นผนังที่ฉาบปูนจะไม่ดูดสีที่ละลายนํ้า จึงต้องทำให้เสร็จ ภายใน 4-5 ชั่วโมง ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนเป็นรูปขนาดเล็กและละเอียดจึงเป็นไปไม่ได้

99.       ก่อนจะเขียนต้องเอาฝุ่นสีขาวผสมกับนํ้ากาว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 96. ประกอบ

100.    ต้องทำให้เสร็จภายใน 4-5 ชั่วโมง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 98. ประกอบ

Advertisement