การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา ART 1003 ศิลปะวิจักษณ์

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         งานจิตรกรรมฝาผนังไทยมีลักษณะตามข้อใด

(1)       ภาพสามมิติ     

(2) มีระยะใกล้และไกล           

(3) ภาพสองมิติ           

(4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 3 หน้า 41221 – 222 ภาพสามมิติได้แบบอย่างการเขียนมาจากศิลปะตะวันตก ดังนั้นจึงมี ลักษณะเป็นภาพที่มีความลึกและประกอบไปด้วยสี เส้น และเงา ผิดกับภาพเขียนของศิลปะ ตะวันออกที่มักจะประกอบไปด้วยสีและเส้นเท่านั้น ทำให้จิตรกรรมภพเขียนฝาผนังของไทย มีลักษณะเป็นรูปแบน ๆ หรือเป็นภาพสองมิติที่ไมมีความลึก

2.         เส้นที่ให้ความรู้สึกมั่นคง จริงจัง คือข้อใด

(1)       เส้นตั้ง            

(2) เส้นซิกแซ็ก            

(3) เส้นเฉียง    

(4) เส้นนอน

ตอบ 1 หน้า 2651 – 53 (S) ศิลปินจะต้องรู้จักนำเส้นต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับหน้าที่ เช่นเส้นตั้ง จะให้ความรู้สึกมั่นคง จริงจังเส้นซิกแซ็ก จะให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง ตื่นเต้น,เส้นเฉียง จะให้ความรู้สึกรวดเร็วเส้นนอน จะให้ความรู้สึกสงบ นิ่งเฉย ผ่อนคลาย,เส้นโค้งลงสู่พื้น จะให้ความรู้สึกเศร้า เหนื่อยหน่าย ฯลฯ

3.         ถ้าผู้วาดภาพขาดชีวิตจิตใจ ภาพนั้นจะดูเศร้า หมายถึงเส้นที่มีลักษณะอย่างไร       

(1) เส้นตั้งตัดกัน

(2)       เส้นโค้งเป็นวงกลม     

(3) เส้นเฉียงเป็นรูปกรวย        

(4) เส้นโค้งลงสู่พื้น

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

4.         ค่าของความแตกต่างที่เกิดจากแสงและเงาคืออะไร

(1)       ความเข้ม         (2) จุด  (3) รูปร่าง        (4) รูปทรง

ตอบ1 หน้า 56 (S) ความเข้ม (Value) หมายถึง ค่าของความแตกต่างที่เกิดจากแสงและเงาซึ่งคุณค่าของแสงและเงาจะช่วยให้งานศิลปะมีลักษณะเป็นแท่งหรือเป็นกลุ่มก้อน จนทำให้ เกิดเป็นภาพ 3 มิติขึ้น และก่อให้เกิดความงามในทางศิลปะ

5.         รูปทรงที่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและมีโครงสร้างคือข้อใด

(1) เรขาคณิต  (2) อินทรียรูป  (3) อิสระ          (4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 60 (ร) รูปทรง (Form) แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

1.         อินทรียรูป คือ รูปทรงที่มีชีวิต มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน และมีโครงสร้าง

2.         รูปทรงเรขาคณิต คือ รูปทรงที่เกิดจากการสร้างของมนุษย์ให้เกิดเป็นเส้นตรงเป็นรูปมีเหลี่ยมมุม รูปวงกลม รวมถึงการตกแต่งด้วยแบบลายเส้นในการจักสาน เช่น ตะกร้า ชะลอม กระมุง ลายในการถักทอ ฯลฯ

3.         รูปทรงอิสระ คือ รูปทรงที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่มีโครงสร้าง

6.         ข้อใดเที่ยวข้องกับรูปทรงเรขาคณิต

(1) ชะลอมไม้ไผ่           (2) ตะกร้าหวายลายดอกพิกุล

(3)       ภาพเหมือนของดอกตะแบก   (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ4  ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

7.         รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ความรู้สึกแก่ผู้ชมอย่างไร

(1) เอาจริงเอาจัง         (2) มั่นคง         (3) มีพลังสูง    (4) สนุกสนาน

ตอบ 1 หน้า 62 – 63 (S) รูปทรง สามารถสื่อความหมายและความรู้สึกได้เช่นเดียวกับวิธีการของเส้น เช่น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะให้ความรู้สึกหนักแน่น เข้มแข็ง มั่นคงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะให้ ความรู้สึกตรงไปตรงมา เป็นกลาง เคร่งขรึม เอาจริงเอาจังรูปสี่เหลี่ยมคางหมู จะให้ความรู้สึก แปลกใหม่ สนุกสนานรูปวงกลม จะให้ความรู้สึกปลอดภัย มีพลังสูง ฯลฯ

8.         ศิลปินจีนโบราณนิยมเขียนภาพด้วยสีอะไร

(1) ดำ  (2) แดง            (3) ม่วง            (4) เขียว

ตอบ 1 หน้า 66 – 67 (S) ชาวจีนได้คิดค้นและนำสีต่าง ๆ มาใช้ย้อมผ้าหรือย้อมด้ายสำหรับทอผ้า แต่จะไม่นิยมเอามาใช้ระบายในภาพเขียน เพราะชาวจีนมีคติการเขียนภาพด้วยหมึกจีน คือ ใช้สีดำแต่เพียงสีเดียว

9.         สีวรรณะเย็นให้ความรู้สึกแก่ผู้พบเห็นอย่างไร

(1) ตื่นเต้น เร้าใจ         (2) มีพลังสูง    (3) ผ่อนคลายอารมณ์ (4) สนุกสนาน

ตอบ 3 หน้า 3568 (S) สี (Colour) แบงออกเป็น 2 วรรณะ คือ

1. สีวรรณะร้อน จะให้ความรู้สึกตื่นเต้น รุนแรง ขัดแย้ง และสนุกสนานร่าเริง เช่น สีเหลือง ส้ม แสด แดง ม่วงแดง แดงชาด เทาอมแดง ฯลฯ

2. สีวรรณะเย็น จะให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลายอารมณ์ และเรียบง่าย เช่น สีเขียว เขียวอ่อน เขียวแก่ ม่วงน้ำเงิน คราม นํ้าเงิน ฯลฯ

10.       จิตรกรรมผนังถํ้าที่เก่าที่สุด เราพบที่

(1) ทางตอนเหนือของสเปน     (2) ทางตอนใต้ของสเปน

(3) ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส (4) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส

ตอบ 1 หน้า 49 – 51 จิตรกรรมในสมัยโบราณก่อนประวัติศาสตร์มักพบตามถํ้า เช่น ตามผนังถ้ำ และเพดานถ้ำที่อยู่ลึกจากปากถํ้าเข้าไป บางครั้งจึงเรียกว่า ศิลปะถํ้า” โดยถํ้าแรกสุดที่พบ จิตรกรรมภาพเขียนของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าที่สุด คือ ถํ้า Altamira ที่อยู่ทางตอนเหนือ ของสเปน โดยพบภาพเขียนเป็นภาพกวางตัวเมีย ส่วนที่ถํ้า Laussel ในฝรั่งเศส ได้พบภาพเขียน เป็นภาพสัตว์ เช่น รูปม้า วัวไบซัน และกวาง

11. การรู้จักใช้เหล็กของคนก่อนประวัติศาสตร์อินเดียได้รับอิทธิพลจาก

(1) ชาวโรมัน-กรีก        

(2) ชาวอิหร่าน 

(3) ชาวเมโสโปเตเมีย  

(4) ชาวอียิปต์

ตอบ 3 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 38) วัฒนธรรมของคนก่อนประวัติศาสตร์อินเดียได้เจริญ สืบเนื่องต่อกันมาจนถึงยุคโลหะ โดยชาวอินเดียได้เรียนรู้การใช้เหล็กจากชาวเมโสโปเตเมีย จึงปรากฏว่ามีอาวุธแบบแปลกใหม่ที่ทำจากเหล็กและสำริดอีกมาก เช่น การทำหัวลูกศร มีด ดาบ และภาชนะเครื่องสำริด

12.       ตำบลบ้านเชียงแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ของไทยอยู่ในจังหวัดใด

(1) จังหวัดนครพนม     

(2) จังหวัดอุดรธานี      

(3) จังหวัดอุบลราชธานี           

(4) จังหวัดนครราชสีมา

ตอบ 2 หน้า 112 (S), (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 40) แหล่งศิลปกรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกแห่งหนึ่งของไทย คือ ศิลปะบ้านเชียง ซึ่งเป็นศิลปกรรม ในสมัยหินใหม่ตอนปลายที่พบมากที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

13.       การแบ่งยุคสมัยของก่อนประวัติศาสตร์

(1)       เราแบ่งจากความประณีตของสิ่งของเครื่องใช้ที่ขุดค้นพบ

(2)       เราแบ่งจากการกำหนดยุคสมัยในศิลาจารึก

(3)       เราแบ่งจากการกำหนดยุคสมัยในจดหมายเหตุ

(4)       เราแบ่งจากวัสดุที่นำมาใช้ทำอาวุธและสิ่งของเครื่องใช้

ตอบ 4 หน้า 4775 มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นยังไม่มีตัวอักษรสำหรับการจดบันทึก ดังนั้น เราจึงแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์จากวัสดุที่นำมาใช้ทำอาวุธและสิ่งของเครื่องใช้ นับตั้งแต่เครื่องใช้ใม้สอยอันทำจากหิน เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ งาช้าง เหล็ก สำริด เปลือกหอย และเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งบ่งบอกให้รู้ถึงถึงความเจริญรุงเรือง ของสังคม ชีวิตความเป็นอยู่และเทคโนโลยีในสมัยนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

14.       จิตรกรรมก่อนประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งออกเป็น

(1) 1 ยุค          (2) 2 ยุค          (3) 3 ยุค          (4) 4 ยุค

ตอบ 2 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 36) จิตรกรรมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของยุโรป แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ 1. แบบออริกเนเชียน (Auiignecian Style)

2. แบบแมกดาเรเนียน (Magdalenian Style)

1 5. จิตรกรรมในสมัยโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์

(1) เราพบทั่วไปในแหล่งที่ทำการขุดค้น           (2) เราพบตามผนังถํ้า เพดานถํ้า

(3) เราพบตามหุบเขา แหล่งที่อยู่อาศัยของคนทั่วไป   (4) เราพบในภาพวาดบนแผ่นจารึก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 10. ประกอบ

16.       ประติมากรรมที่ทำขึ้นครั้งแรกของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

(1) เกี่ยวข้องกับความสวยงามของธรรมชาติ  (2) เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์

(3) เกี่ยวข้องกับความเชื่อถือเรื่องวิญญาณ    (4) เกี่ยวข้องกับความสำคัญของหัวหน้ากลุ่มชน

ตอบ2 หน้า 51 ประติมากรรมที่ทำขึ้นครั้งแรกของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้นจะมีลักษณะกลม และสรีระส่วนต่าง ๆ ได้ขยายออกจนผิดความเป็นจริง แสดงว่าประติมากรรมที่ทำขึ้นมานี้ มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เช่น พบประติมากรรมลอยตัวที่ประเทศเยอรมัน คือ วีนัส วีเลนดอร์ฟ (Venus of Willendorf) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์

17.       ผู้ที่นำพระเวทเข้ามาคือ

(1) พวกเตอร์ก (2) พวกอารยัน            (3) พวกดราวิเดียน      (4) พวกชาวลุ่มแม่นํ้าสินธุ

ตอบ2 หน้า 90 เมื่อชาวอารยันได้เข้ามายึดครองดินแดนแถบลุ่มแมนํ้าสินธุและคงคา ก็ได้นำ คัมภีร์พระเวทเข้ามาเผยแพร่ในอินเดียด้วย ซึ่งคัมภีร์พระเวทนี้มีอิทธิพลต่อคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตำนานเก่าแก่ และนิยายพื้นเมืองของชาวอารยันมาก

18.       เทือกเขาวินธัยแบ่งอินเดีย

(1) ให้เป็นอินเดียเหนืออินเดียใต้         (2) ให้ออกจากประเทศต่าง ๆ ทางตอนเหนือ

(3) ให้เป็นอินเดียตะวันออกและตะวันตก       (4) ให้เป็นอินเดียและศรีลังกา

ตอบ 1 หน้า 81 บระเทศอินเดียมีพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยตอนกลางของประเทศจะมีเทือกเขาวินธัย แบ่งอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งแต่ก่อนนี้ภาคเหนือจะเรียกว่า แคว้นฮินดูสถาน” ส่วนดินแดนทางภาคใต้จะรียกว่า แหลมเดคข่านหรือทักษิณบถ

19. อิทธิพลของศิลปะอิหร่านเข้าสู่อินเดีย

(1)       2 ครั้ง   (2) 3 ครั้ง         (3) 4 ครั้ง         (4) 5 ครั้ง

ตอบ 1 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 46) อิหร่านได้เข้ามาครอบครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ ตั้งแต่ประมาณพุทธกาลจนถึง พ.ศ. 250 ต่อมาในพุทธสตวรรษที่ 17 อิหร่านก็เข้ามมีอำนาจ เหนืออินเดียอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นอิทธิพลของศิลปะอิหร่านจึงปรากฎในศิลปะอินเดียมาก

20.       อารยธรรมอินเดียสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่อินเดีย

(1) ได้รับอิทธิพลของอารยัน    (2) ได้รับอิทธิพลชองอิสลาม

(3) ได้เข้าสู่ฮินดูยุคกลาง         (4) ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว

ตอบ 4 (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 44) อารยธรรมอินเดียแบ่งได้ดังนี้

1.         อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งได้แก  วัฒนธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปา

2.         อารยธรรมอารยัน (ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล)

3.         อารยธรรมฮินดูยุคกลาง (ประมาณ พ.ศ. 1313 – 1743)

4.         อารยธรรมอิสลาม (ประมาณ พ.ศ. 1743 – 2346)

5. อารยธรรมอินเดียสมัยใหม่

(เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2346 ซึ่งเป็นปีที่ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ จนถึงปัจจุบัน)

21.       ศิลปะอินเดียเป็นศิลปะ

(1) นามธรรม   

(2) รูปธรรม      

(3) แบบอุดมคติ          

(4) ที่สร้างขึ้นจากธรรมชาติ

ตอบ3 หน้า 84 ศิลปะอินเดียเป็นศิลปะแบนอุดมคติ (Idealistic Art) คือ การอาศัยรูปร่างจาก ธรรมชาติเป็นเกณฑ์ในการสร้างจินตนาการของศิลปิน และการแสดงออกของศิลปินก็มิได้ แสดงออกให้ตรงตามธรรมชาติ แต่เป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของสังคมมากกว่า

22.       พระพุทธศาสนาในอินเดียเจริญถึงขีดสุดในสมัย

(1) พระเจ้าพิมพิสาร    

(2) พระเจ้าอโศก         

(3) พระเจ้าโมริยะ        

(4) พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2

ตอบ 2 หน้า 90 พระพุทธศาสนาในอินเดียเจริญขึ้นในแคว้นมคธราฐในสมัยของพระเจ้าพิมพิสาร และเจริญขึ้นถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชราวพุทธศตวรรษที่ 3 ดังนั้นใน ยุคแรกเริ่มของการทำศิลปกรรมนี้ พระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทเป็นอย่างมาก

23.       ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนิยมทำพระพุทธรูป

(1) เป็นรูปสัญลักษณ์  

(2) ลอยตัว       

(3) เหมือนภาพสลักนูนสูง       

(4) เป็นภาพสลักนูนต่ำ

ตอม 1 หน้า 92 ศิลปะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น แม้ว่าช่างอินเดียจะทำศิลปกรรมไว้มากมาย แต่ในการสลักภาพนูนสูงแล้ว ช่างยังไม่กล้าแสดงรูปพระพุทธเจ้าเป็นภาพบุคคล แต่จะทำเป็น รูปสัญลักษณ์แทนองคพระพุทธเจ้าในภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือชาดกเท่านั้น

24.       ศสนสถานที่เจาะลึกเข้าไปในภูเขาเป็นผังสี่เหลี่ยมเรียกว่า

(1) ถ้ำวิหาร      (2) ถํ้าเจติยสถาน        (3) ถํ้าอชันตา  (4) ถํ้าอโลร่า

ตอบ 1 หน้า 91 ศาสนสถานที่เจาะลึกเข้าไปในภูเขามีอยู 2 ลักษณะ คือ

1.         ถ้ำวิหาร เป็นศาสนสถานแบบเก่าที่สุด มักมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในทำเป็นห้องเล็ก ๆ เพื่อเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ

2.         ถ้ำเจดีย์สถาน มักมีแผนผังเป็นรูปไข่ ใช้เป็นที่ชุมนุมของศาสนิกชนเพื่อเคารพบูชา พระพุทธเจ้าเท่านั้น

25.       ชาวอินเดียมีความเชื่อเรื่องเทวโลก    

(1) ผิดแปลกไปจากโลกมนุษย์

(2)       บนสวรรค์มีเพียงพระราชวัง พระมหากษัตริย์ เหมือนโลกมนุษย์

(3)       เหมือนกับโลกมนุษย์ทุกประการ        (4) มีเพียงภูเขาและมหาสมุทรที่เหมือนโลกมนุษย์

ตอบ 3 หน้า 83, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 45) ชาวอินเดียมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับโลกสัณฐานหรือเทวโลกว่า มนุษย์โลกและเทวโลกมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ เช่น มีพระมหากษัตริย์ซึ่งก็คือรูปเทวดา มีพระราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็คือเทวาลัยที่สร้างจำลองจากเขาพระสุเมรุ มีมหาสมุทร ภูเขา แม่น้ำ และประชาชน

26.       อารยธรรมเก่าสุดของอินเดีย

(1)       อารยธรรมโมเหนโจดาโรและฮารัปปา (2) อารยธรรมอารยัน

(3) อารยธรรมฮินดู      (4) อารยธรรมอิสลาม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

27.       สถาปัตยกรรมรุ่นแรกของอินเดียสร้างด้วย

(1) ไม้และดินเหนียว    (2)       อิฐปูนสอ          (3) ไม้  (4) ดินเหนียว

ตอบ 1 หน้า 90 นักโบราณคดีให้ความเห็นว่า สถาปัตยกรรมในยุคแรกเริ่มของอินเดียนั้นคงจะสร้างด้วยดินเหนียวและไม้ซึ่งแตกสลายได้ง่าย ด้งนั้นจึงไม่เหลือร่องรอยให้คนรุ่นหลังได้เห็น ทำให้สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่เหลืออยู่ไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 3 แม้ว่าพุทธศาสนา จะเจริญขึ้นในอินเดียตั้งแต่พุทธกาลมาแล้วก็ตาม

28.       สถูปที่เมืองสาญจีและภารหุตเป็นสถูปที่

(1) เลียนแบบจากเนินดิน        (2)       เก่าสุดของอินเดีย        (3) มีส่วนฐานสูงมาก   (4) ถูกข้อ 1 และ          2

ตอบ 4 หน้า 91 – 92 สถูปที่เมืองสาญจีและภารหุตของอินเดีย เป็นสถูปที่สร้างขึ้นตั้งแต่ราวพ.ศ. 400 – 550 โดยการเลียนแบบจากเนินดิน องค์สถูปเป็นรูปโอควํ่า สร้างด้วยอิฐหรือหิน ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสค่อนข้างเตี้ย ดังนั้นจึงถือเป็นสถูปที่เก่าที่สุดและได้เป็นแบบอย่าง แกสถูป ในสมัยหลังต่อมาทั้งในอินเดียและเอเชียอาคเนย์

29.       พระพุทธรูปในศิลปะอินเดียทำขึ้นครั้งแรกในศิลปะ

(1) อินเดียสมัยโบราณ            (2)คันธารราฐ  (3)มถุรา           (4)อมราวดี

ตอบ 2 หน้า 93 พระพุทธรูปอินเดียทำขึ้นครั้งแรกในศิลปะคันธารราฐ (พุทธศตวรรษที่ 6-7)ซึ่งเจริญขึ้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยเมื่อพระเจ้ากนิษะกะแหงเอเชียกลาง ได้ยึดดินแดนนี้ในพุทธศตวรรษที่ 6 แล้ว ก็ได้ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนามหายานด้วยการโปรดให้ สร้างรูปเคารพขึ้นเป็นครังแรก ซึ่งเชื่อว่าพระพุทธรูปในยุคแรกเริ่มนี้คงทำขึ้นโดยช่างกรีก

30.       พระพุทธรูปในศิลปะอินเดียที่เจริญขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6-10 ที่มีแบบอย่างเป็นอินเดียอย่างแท้จริง คือศิลปะ

(1) อินเดียสมัยโบราณ            (2)คันธารราฐ  (3)มถุรา           (4)อมราวดี

ตอบ     4 หน้า 959799 พระพุทธรูปอินเดียเริ่มเป็นแบบอย่างของศิลปะอินเดียในสมัยมถุรา(พุทธศตวรรษที่ 7 – 8) แต่ความเป็นอินเดียอย่างแท้จริงและลักษณะของมหาบุรุษปรากฏขึ้น อย่างครบครันในพระพุทธรูปสมัยอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) ซึ่งถือได้วามีความงาม ตามแบบอินเดียโดยแท้ เพราะไม่เห็นลักษณะของอิทธิพลต่างชาติเลย

31.       ศิลปะคันธารราฐเจริญขึ้นที่ภาคใดของอินเดีย

(1) ภาคตะวันตก         

(2) ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ

(3) ภาคตะวันออก       

(4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

32.       พระพุทธรูปอินเดียสมัยใดที่ได้รับอิทธิพลของกรีกและอิหร่าน

(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ  

(2) ศิลปะตันธารราฐ

(3) ศิลปะมถุรา            

(4) ศิลปะอมราวดี

ตอบ 3 หน้า 95 พระพุทธรูปอินเดียในสมัยศิลปะมถุรา นอกจากจะปรากฏมีอิทธิพลของศิลปะกรีก ที่ผ่านมาทางด้านคันธาระแล้ว ก็ยังปรากฏอิทธิพลของศิลปะอิหร่านที่ผ่านเข้ามาจากการขยายอำนาจ ของพระมหากษัตริย์แห่งอิหร่านในราชวงศ์สัสสาเนียนด้วย แต่อิทธิพลของศิลปะกรีกและอิหร่าน ที่ปรากฏออกมาในศิลปะมถุราก็ยังไม่ชัดเจนนัก เพราะช่างอินเดียได้พยายามดัดแปลงให้เป็น แบบอย่างของอินเดียโดยแท้

33.       ศิลปะอมราวดีเจริญขึ้นแถนลุ่มแม่น้ำใด

(1) ลุ่มแม่น้ำสินธุ         

(2)ลุ่มแม่น้ำคงคา        

(3)ลุ่มแม่น้ำยมุนา        

(4)ลุ่มแม่น้ำกฤษณา

ตอบ 4 หน้า 97 ศิลปะอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ 7-9) เจริญขึ้นทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย แถบลุ่มแม่น้ำกฤษณาโดยเฉพาะที่เมืองอมราวดี นาคารชุนิโกณฑะ ชัคคัยยะเปฎะ และโคลิ ภายใต้การอุปถัมภ์ของราชวงศ์สัตตวาหนะ เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 6

34.       พระพุทธรูปนาคปรกเริ่มทำครั้งแรกในศิลปะอินเดีย

(1) ศิลปะคันธารราฐ   (2)       ศิลปะมถุรา     (3)       ศิลปะอมราวดี (4)       ศิลปะคุปตะ

ตอบ 3 หน้า 121 พระพุทธรูปนาคปรกในอินเดียมีกำเนิดครั้งแรกในศิลปะอมราวดี และทำแต่เฉพาะ ในศิลปะอมราวดีเท่านั้น หลังจากนั้นจึงได้ส่งผลต่อไปยังศิลปะลังกาแบบอนุราชปุระ นอกจากนี้ ยังให้อิทธิพลต่อศิลปะคุปตะและหลังคุปตะของอินเดียอีกด้วย

35.       การยืนเอียงตะโพกของพระพุทธรูปอินเดียเราเห็นครั้งแรกในศิลปะใด

(1) ศิลปะคันธารราฐ   (2)ศิลปะมฤรา (3)ศิลปะอมราวดี        (4)ศิลปะคุปตะ

ตอบ4 หน้า 103 พระพุทธรูปคุปตะมีความงามตามแบบอุดมคติที่ช่างอินเดียยึดตามกฎของ ลักษณะมหาบุรุษ แล้วนำมาประยุกต์เข้ากับความนึกคิดของช่างเอง ดังนั้นพระพุทธรูป จึงมีลักษณะไม่มีเพศ เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดา มักแสดงเป็นภาพเต็มตัวหันด้านหน้า และยืนตริภังค์ (ยืนเอียงตะโพก) บ้าง ยืนตรงบ้าง

36.       การครองจีวรของพระพุทธรูปมถุรา

(1) ห่มคลุม จีวรเป็นริ้ว (2) ห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา

(3) ห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย ไมมีสังฆาฏิ    (4) ห่มคลุม จีวรเรียบติดกับพระวรกาย

ตอบ3 หน้า 95 – 96, (AR 103 เลขพิมพ์ 30175 หน้า 55) การครองจีวรของพระพุทธรูปมถุราจะเป็นแบบใหม่ คือ ครองเฉพาะจีวรและสบงโดยไม่ปรากฏว่ามีสังฆาฏิ และมักห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย โดยบางครั้งพระพุทธรูปก็จะห่มคลุมซึ่งคงเลียนแบบมาจากศิลปะตันธารราฐ ส่วนอิทธิพลของศิลปะอิหร่านจะปรากฏชัดในเครื่องแต่งกายของเทวรูปบางองศ์ เช่น รูปพระอาทิตย์แต่งกายตามแบบนักรบอิหร่าน ฯลฯ

37.       ศิลปะอิหร่านที่ปรากฏในศิลปะมถุราเราเห็นได้จาก

(1)       พระพักตร์ของพระพุทธรูป      (2) เครื่องแต่งกายของเทวรูปบางองค์

(3) ริ้วผ้าของพระพุทธรูป         (4) ขมวดพระเกศาของพระพุทธรูป

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38.       สถาปัตยกรรมในศิลปะคุปตะนิยมสร้าง       

(1) เลียนแบบจากเครื่องไม้

(2)       เลียนแบบเทวาลัยของศาสนาพราหมณ์         (3) ไว้กลางแจ้ง           (4) ถูกข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 102 สถาปัตยกรรมในสมัยคุปตะจะนิยมสร้างไว้กลางแจ้ง โดยในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2 พุทธศาสนสถานที่สร้างขึ้น เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป ฯลฯ มักจะเลียนแบบจากเทวาลัยของ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งลักษณะทางสถาปัตยกรรมเช่นนี้ได้ให้อิทธิพลต่อการสร้างเจดีย์ของพม่า (Pagoda) และบุโรพุทโธของอินโดนีเซียด้วย

39.       ศิลปะอินเดียเริ่มเสื่อมลงในสมัยใด

(1)       สมัยอมราวดี    (2) สมัยคุปตะ (3) สมัยหลังคุปตะ      (4) สมัยปาละ-เสนะ

ตอบ 3 หน้า 100 – 101109 ศิลปะที่มีความงามสูงสุดในสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9 – 11)ยังคงทำต่อมาอีกจนหมดสมัยของพระเจ้ากุมารคุปต์ในพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากนั้น เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) ศิลปกรรมก็เริ่มเสื่อมลง เพราะถึงแม้ ประติมากรรมที่ทำขึ้นจะยังคงยึดมั่นในลักษณะของมหาบุรุษ แตกไม่มีชีวิตจิตใจอีกต่อไป

40.       ศิลปะอินเดียเสื่อมลงเพราะ

(1)       ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มากจนเกินไป    (2) ยึดถือธรรมชาติมากเกินไป

(3)       เน้นอุดมคติมากจนเกินไป      (4) เสื่อมลงไปเองตามธรรมชาติ

ตอบ 1 หน้า 83109 การที่สังคมในอินเดียมีกฏเกณฑ์และข้อบังคับมากเกินไป ทำให้ช่างอินเดีย ไม่สามารถใช้ความคิดของตนเองในการสร้างสรรค์งานศิลปะได้อีก เพราะช่างต้องการเพียง งานศิลปะที่ตรงตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับอันเกิดจากความเชื่อเท่านั้น จึงเป็นผลให้ศิลปะ อินเดียเสื่อมลงในที่สุด เช่น การเสื่อมลงของศิลปะคุปตะ ซึ่งเป็นศิลปะยุคทองของอินเดีย

41.       สถูปของศิลปะอินเดียสมัยใดให้อิทธิพลต่อบุโรพุทโธของอินโดนีเซีย

(1) สมัยคันธารราฐ      

(2) สมัยมถุรา  

(3) สมัยอมราวดี          

(4) สมัยคุปตะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ

42.       ศิลปะปาละต่างจากศิลปะเสนะ เพราะศิลปะปาละ…

(1) สร้างขึ้นจากคติศาสนาพุทธมหายาน         

(2) นิยมทำรูปเคารพที่มีแผ่นหลังติดอยู่

(3) นิยมทำรูปเคารพประทับนั่งบนอาสน์         

(4) นิยมทำมุทราต่างไปจากศิลปะเสนะ

ตอบ 1 หน้า 105 ศิลปะปาละ (พุทธศตวรรษที่ 14 – 16) คงทำขึ้นเนื่องจากศาสนาพุทธมหายานที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู คือ ลัทธิตันตระหรือวัชรยาน ดังนั้นจึงปรากฏมีรูปพระโพธิสัตว์ รูปเทพ และรูปศักติ (พระมเหสีของเทพ) แต่ต่อมาในสมัยศิลปะเสนะ (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18) ได้กลับไปนับถือศาสนาฮินดู จึงทำให้ศิลปกรรมในสมัยนี้เต็มไปด้วยเทพทางศาสนาฮินดู

43.       ลัทธิศักติหมายถึงลัทธิหนึ่งที่บูชา

(1) พระศิวะ     

(2) พระนารายณ์         

(3) พระมเหสีของเทพ 

(4) พระอุมา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 42. ประกอบ

44.       ศิลปะปาละ-เสนะ

(1)       นิยมหล่อรูปเคารพด้วยสำริด  (2) นิยมสลักรูปเคารพด้วยศิลาทราย

(3) นิยมทำรูปเคารพด้วยปูนบั้น          (4) นิยมทำรูปเคารพด้วยดินเผา

ตอบ 1 หน้า 105 ลักษณะเฉพาะของศิลปะปาละและเสนะ คือ มีแผ่นหลังซึ่งมีลวดลายประดับอยู่ มากมายติดอยู่กับพระพุทธรูป โดยพระพุทธรูปส่วนใหญ่ในสมัยนั้มักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่หล่อด้วยสำริดและสร้างด้วยศิลา แต่ไม่มีความสวยงามเลย

45.       ศิลปะอินเดียสมัยใดที่ไม่นิยมรูปเคารพ         

(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ

(2)       ศิลปะอมราวดี            (3) ศิลปะปาละ-เสนะ (4) ศิลปะอิสลาม

ตอบ 4 หน้า 106 – 107 ศิลปะอิสลาม (พุทธศตวรรษที่ 18 – 23) จะไม่นิยมทำรูปเคารพแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่ปรากฏว่ามีรูปเคารพที่เป็นประติมากรรมเลย แต่สิ่งที่เหลือให้ชื่นชมและมีความงาม ที่แปลกใหม่ คือ จิตรกรรมและสถาปัตยกรรม

46.       ศิลปะทวารวดี

(1) ทำขึ้นจากคติทางศาสนาพุทธหินยานนิกายหนึ่ง   (2) เป็นศิลปะสมัยแรกสุดของไทย

(3)       เป็นศิลปะที่เจริญขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทย          (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 2 หน้า 119 – 120214 ศิลปะทวารวดี เป็นศิลปะสมัยแรกสุดของไทยที่เจริญขึ้นทางภาคกลาง และทำขึ้นจากคติทางพุทธศาสนาหินยานอย่างเถรวาทที่ใช้ทั้งภาษาบาลีและสันสกฤต พุทธศาสนามหายาน และศาสนาฮินดู จึงปรากฏมีอิทธิพลของศิลปะอมราวดีซึ่งเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากคติทางพุทธหินยาน รวมทั้งศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และศิลปะปาละ-เสนะที่ทำขึ้น จากคติทางพุทธศาสนามหายาน

47.       พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมในศิลปะ

(1) ทวารวดี      (2) ศรีวิชัย       (3) ลพบุรี         (4) สุโขทัย

ตอบ 2 หน้า 129 พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นสถาปัตยกรรมที่แม้จะได้รับการบูรณะ ซ่อมแซมมาบ้าง แต่ก็ยังคงเห็นลักษณะเดิมของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยอยู่ ในขณะที่ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ที่พบใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีนั้น ได้รับการซ่อมแซมจนเกือบจะ ไม่เห็นสถาปัตยกรรมรูปเดิม

48.       ศิลปะของไทยสมัยใดที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะเขมร

(1) ศิลปะศรีวิชัย         (2)       ศิลปะลพบุรี    (3)       ศิลปะสุโขทัย   (4)       ศิลปะอยุธยา

ตอบ 2 หน้า 132 ศิลปะลพบุรี เจริญขึ้นทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยโดยลักษณะทางศิลปกรรมจะคล้ายคลึงกับศิลปกรรมในเขมร ทังนี้เพราะดินแดนส่วนใหญ่ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเมืองลพบุรีของไทยเคยอยู่ในครอบครองของเขมรมาก่อน

49.       ศิลปะของไทยสมัยใดที่นิยมสร้างสถาปัตยกรรมด้วยศิลาแลง

(1) ศิลปะลพบุรี           (2)       ศิลปะสุโขทัย   (3)       ศิลปะอยุธยา   (4)       ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 136148 สถาปัตยกรรมลพบุรีมักจะก่อด้วยศิลาแลงและสร้างเป็นเทวาลัยบนเชิงเขาสูง ส่วนสถาปัตยกรรมสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรีก็มักจะก่อด้วยศิลาแลงเช่นกัน เช่น พระปรางค์วัดพระพายหลวง หรือศาลตาผาแดง จังหวัดสุโขทัย

50.       พระพุทธรูบทวารวดีรุ่นที่ 2 เป็นอิทธิพลของศิลปะ

(1) อินเดีย       (2)       พื้นเมือง           (3)       เขมร    (4)       สุโขทัย

ตอบ 2 หน้า 123 – 124 พระพุทธรูปทวารวดีแบ่งเป็น 3 รุ่นดังนี้

1.         รุ่นที่ 1 แสดงอิทธิพลของศิลปะอมราวดี คุปตะและหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12

2.         รุ่นที่ 2 แสดงอิทธิพลของศิลปะพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 15

3.         รุ่นที่ 3 แสดงอิทธิพลของศิลปะขอมแบบปาปวนหรือศิลปะลพบุรีตอนต้น มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 15 ลงมา

51.       พระพิมพ์ในศิลปะทวารวดีต่างจากพระพิมพ์ในสมัยศรีวิชัยคือ

(1)       ทำขึ้นเพื่อสืบศาสนาพุทธ        

(2) เป็นพระพิมพ์ดินดิบ

(3) นิยมทำพระกำแพงร้อย      

(4) เป็นพระพิมพ์สำริด

ตอบ 1 หน้า 124129 พระพิมพ์ของศิลปะทวารวดีมักสร้างด้วยดินเผาเพื่อไว้สืบพระบวรพุทธศาสนา โดยมักมีพระธรรมหรือคาถาเย ธมมาฯ อันเป็นหัวใจของศาสนาปรากฏอยู ส่วนพระพิมพ์ ของศิลปะศรีวิชัยนั้นทำขึ้นจากคติทางมหายาน โดยนิยมทำพระพิมพ์ดินดิบเพราะไมได้ถือ การสืบพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง แต่ถือปรมัตประโยชน์ของผู้มรณภาพไปแล้ว

52.       เราทราบคำว่า ทวารวดี” จาก

(1) บันทึกจดหมายเหตุจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น  

(2) บันทึกจดหมายเหตุรายวันของนักพรตจีน

(3) จารึกบนแผ่นทองพบที่นครปฐมและอูทอง            

(4) จารึกบนหลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย

ตอบ2 หน้า 119 เราทราบคำว่า ทวารวดี” จากการพบเหรียญเงิน 3 เหรียญที่มีจารึกว่าศรีทวาราวดีศวรปุณย” พร้อมทั้งจดหมายเหตุจีนจากการบันทึกของหลวงจีนเหี้ยนจัง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ในสมัยราชวงศ์ถัง โดยเขาได้กล่าวถึงอาณาจักรโถโลโปตี้ (ทวารวดี) ว่า อยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร (พม่า) และอาณาจักรอิสานปุระ (เขมร)

53.       ศิลปะอินเดียที่ให้กับศิลปะทวารวดี

(1) ศิลปะอินเดียสมัยโบราณและศิลปะคันธารราฐ    

(2) ศิลปะคันธารราฐและศิลปะมถุรา

(3) ศิลปะมถุราและศิลปะอมราวดี      

(4) ศิลปะอมราวดีและศิลปะคุปตะ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

54.       พระพุทธรูปขัดสมาธิราบคือ

(1)       ประทับขัดสมาธิเห็นฝ่าพระบาทสองข้าง พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา

(2)       ประทับขัดสมาธิเห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา

(3)       ประทับขัดสมาธิเห็นฝ่าพระบาทสองข้าง พระหัตถ์ทำท่าประคองพระธรรมจักร

(4)       ประทับนั่งสมาธิเห็นฝ่าพระบาทข้างเดียว พระหัตถ์ทำท่าประคองพระธรรมจักร

ตอบ 2 หน้า 140 พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ คือ พระพุทธรูปในท่าประทับนั่งขัดสมาธิราบแลเห็นฝ่าพระบาทเพียงข้างเดียว พระหัตถ์ประสานกันบนพระเพลา บางครั้งฐานเรียบ ไม่มีลวดลายประกอบ

55.       เจดีย์จุลประโทนอยู่ที่จังหวัด

(1) สุโขทัย       (2) อยุธย      (3) นครปฐม    (4) ราชบุรี

ตอบ 3 หน้า 124 – 125162 (S) สถาปัตยกรรมในสมัยทวารวดีจะเห็นได้จากรูปเจดีย์เท่านั้นเพราะไม่ปรากฎว่ามีโบสถ์วิหารหลงเหลืออยู่แต่อย่างใด เช่น พระเจดีย์จุลประโทนและเจดีย์ วัดพระเมรุ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นซากอาคารใหญ่ก่อด้วยอิฐ บางครั้งย่อมุมและมีบันไดลงไปข้างล่างเจดีย์วัดกู่กุด จ.ลำพูน ซึ่งจัดเป็นสถาปัตยกรรมทวารวดีตอนปลาย ฯลฯ

56.       เจดีย์วัดกูกุดอยู่ที่จังหวัด

(1) เชียงราย    (2) เชียงใหม่    (3)       ลำพูน  (4)       ราชบุรี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

57.       ศิลปะที่มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินโดนีเซีย

(1) ศิลปะทวารวดี        (2) ศิลปะศรีวิชัย         (3)       ศิลปะลพบุรี    (4)       ศิลปะเชียงแสน

ตอบ 2 หน้า 126 – 127 ศิลปะศรีวิชัย มีอำนาจขึ้นที่เกาะสุมาตราและขยายอำนาจเข้าครอบครอง ดินแดนทางตอนใต้ของไทย โดยศิลปะในสมัยนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะอินโดนีเซีย คือ เป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบ คุปตะและปาละ-เสนะจากอินเดีย

58.       ศิลปะของไทยยุคใดที่ทำประติมากรรมได้สวยที่สุด

(1) ศิลปะเชียงแสน     (2) ศิลปะสุโขทัย         (3)       ศิลปะอยุธยา   (4)       ศิลปะรัตนโกสินทร์

ตอบ 2 หน้า 143 – 144 ศิลปะสุโขทัย ถือเป็นศิลปะยุคทองของศิลปกรรมไทย ทั้งนี้เพราะ ประติมากรรมในสมัยนี้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบ มีความสวยงามสง่า และมีความเรียบง่ายตามอุดมคติผิดไปจากศิลปกรรมสมัยอื่น ๆ

59.       ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มต้นจาก

(1)       พระเจ้าตากสินตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

(2)       พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกตั้งกรุงเทพเป็นราชธานี

(3)       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุหัวขึ้นครองราชย์

(4)       พระบทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์

ตอบ 2 หน้า 156 ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เจริญขึ้นทางภาคกลางของไทย โดยเริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน

60.       งานสร้างสรรค์ศิลปะที่สูงสุดของมนุษย์คือข้อใด

(1) ภาพวาดบนผืนผ้าใบ         (2) โบสถ์ วิหาร (3) บ้านที่อยู่อาศัย     (4) เครื่องประดับเพชร

ตอบ     2 หน้า 2004 (S)12 (S) ศาสนศิลปะ (Religious Art) หรืองานศิลปกรรมในลัทธิความเชื่อถือและศาสนา ถือเป็นงานสร้างสรรค์ที่สูงสุดและเหนือกว่างานสร้างสรรค์ด้านอื่น ๆ เพราะเป็น งานศิลปะที่เกิดจากความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญาที่มีคุณคาเหนือกว่าศิลปะทั้งหลายที่มนุษย์ ได้สร้างขึ้น เช่น ประติมากรรมพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัย ภาพเขียนพุทธประวัติ โบสถ์ วิหาร หรือศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อการบูชาต่าง ๆ เป็นต้น

61.       ศิลปะที่ให้ประโยชน์สุขทางกาย

(1) วิจิตรศิลป์  

(2) ศิลปะประยุกต์      

(3) ทัศนศิลป์   

(4) ศิลปะกินระวางเนื้อที่

ตอบ 2 หน้า 8 – 93 – 4 (S) ศิลปะประยุกต์ (Applied Art) คือ งานศิลปะที่ผู้สร้างตั้งใจสร้าง หรือประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็นการรู้จักนำเอาศิลปะมา ดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แกชีวิตประจำวัน ซึ่งถือเป็นประโยชน์สุขทางกายของมนุษย์ เช่น เครื่องประดับ เครื่องจักร ผ้า เครื่องหนัง เครื่องเคลือบ และเครื่องใช้สอยต่าง ๆ เป็นต้น

62.       ผลของพัฒนาการแห่งรสนิยมเป็นเช่นไร        

(1) เหมือนกันทุกชาติ

(2)       แตกต่างกันไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี  

(3) คล้ายคลึงกันทุกวัฒนธรรม

(4)       ไม่ปรากฏมีพัฒนาการแห่งรสนิยมในสังคมระบอบคอมมิวนิสต์

ตอบ 2 หน้า 5 (S) รสนิยมที่ดีนงานศิลปะ หมายถึง การรู้จักความสัมพันธ์ของโครงสร้างและส่วนประกอบขั้นมูลฐานที่สำคัญของงานศิลปะ โดยต้องพิจารณาถึงรูปลักษณะที่สวยงามและ ประโยชน์ใช้สอยควบคู กันไปด้วย ซึ่งพัฒนาการแห่งรสนิยมที่มีขึ้นของแต่ละชาติจะแตกต่างกัน อันเป็นผลมาจากความแตกต่างของขนบธรรมเนียมประเพณี เชื้อชาติ วัฒนธรรม และประสบการณ์ ของแต่ละบุคคล

63.       ภาพแห่งจินตนาการคือภาพใด

(1) คชสีห์ ลายกนก     

(2) ดอกเบญจมาสสีเหลือง

(3)       รูบปั้นศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี        

(4) ภาพวาดบนผืนผ้าใบชื่อ บ้านชายทุ่ง

ตอบ 1 หน้า 19 (S)31 (S) จินตนาการก้าวไกลหรือความคิดเพ้อฝัน เป็นจินตนาการเหนือความจริง ที่มนุษย์ทำให้แตกต่างไปจากที่ตนเคยเห็น โดยบางทีก็ทำให้ดูลํ้าลึกน่าติดตาม หรือทำให้ชวนสงสัยว่ามีจริงหรือไม่ เป็นไปได้หรืออย่างไร เช่น การที่ช่างเขียนไทยในสมัยก่อน เขียนภาพลายกนก กินรี คชสีห์ นางยักษ์ ม้ามังกร หรือสัตว์ในนิยายโบราณต่าง ๆ

64.       ศิลปะแบบคิวบิสม์ จัดเป็นศิลปะแบบใด

(1) จินตนาการ            (2) กึ่งจินตนาการ        (3) ภาพเหมือนจริง      (4) สเปน

ตอบ     2 หน้า 22138 – 39 (S)57 (S) ศิลปะนามธรรมหรือมโนศิลป์ (Abstract) คือ การถ่ายทอดตามความรู้สึกด้วยใจ โดยการนำเอารูปทรงต่าง ๆ ที่พบเห็นในธรรมชาติมาจัดเสียใหม่ ดังนันจึงอาจจะมีลักษณะกึ่งธรรมชาติ กึ่งนามธรรม และผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติอยู่บ้าง เช่น ศิลปะแบบคิวบิสม์ จัดเป็นศิลปะแบบกึ่งจินตนาการที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม เป็นมุม และบิดเบี้ยว ไม่เป็นรูปทรง แตก็ยังพอพิจารณาดูรูปลักษณะได้ว่าเป็นรูปอะไร

65.       โคลด์ โมเนต์ เป็นศิลปินชนชาติใด

(1) ฝรั่งเศส      (2) อเมริกัน      (3) ยุโรป          (4) สเปน

ตอบ1 หน้า 35 – 36 (S) โคลด์ โมเนต์ (Claude Monet) เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสที่นิยมเขียน ภาพแบบ Impressionist เช่น ภาพเขียนความประทับใจยามรุ่งอรุณ (Impression : Sunrise) ซึ่งศิลปินเขียนด้วยแปรงหยาบ ๆ ทิ้งรอยแปรงไว้ให้แสงของสีผสมกันโดยไม่ต้องเกลี่ยเนื้อสี ให้เสมอกัน

66.       งานศิลปะสำเร็จลงตรงกระบวนการดังนี้

(1)       ศิลปิน-ธรรมชาติ-แรงบันดาลใจ-แสดงออก (2) ศิลปิน-ความชำนาญ-ธรรมชาติ-แสดงออก

(3) ศิลปิน-จินตนาการ-แรงบันดาลใจ-แสดงออก (4) ศิลปิน-จินตนาการ-ธรรมชาติ-แสดงออก

ตอบ1 หน้า 10 – 1136 (S) กระบวนการในการสร้างสรรค์งานศิลปะนั้น เกิดจากการที่ศิลปิน

ได้สัมผัสกับความงามของธรรมชาติแล้วเกิดแรงบันดาลใจหรือเกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ และแสดงออกมาเป็นงานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ โดยการตัดทอนเอาเฉพาะส่วนที่สำคัญและ ส่วนที่มีความหมายต่อผู้พบเห็นเท่านั้น

67.       แรงบันดาลใจของศิลปินได้มาจากสิ่งใด        

(1) ธรรมชาติเท่านั้น

(2)       ธรรมชาติและจินตนาการ        (3) ความดีใจเสียใจ     (4) ความสวยงาม

ตอบ 2 หน้า 10 ถึงแม้ว่าธรรมชาติจะเป็นแรงบันดาลใจอันเร้นลับที่ผลักดันให้มนุษย์สร้างงานศิลปะ ออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง สุดแล้วแต่ประสบการณ์และอารมณ์สะเทือนใจของศิลปินผู้นั้น แต่หากปราศจากอำนาจแห่งความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ อันก่อให้เกิดมโนภาพหรือจินตนาการขึ้น ในจิตใจด้วยแล้ว งานศิลปะก็มิอาจสร้างสรรค์ขึ้นมาได้

68.       การเข้าใจศิลปะได้ดีเยี่ยมควรต้องเข้าใจสิ่งใดก่อน

(1) องค์ประกอบของศิลปะ     (2) ธรรมชาติ (3) โครงสร้างของงานศิลปะ      (4) ทฤษฎีสี

ตอบ 2 หน้า 36 (S) การเข้าใจศิลปะจะต้องเข้าใจธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวก่อนเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจลึกลงไปถึงส่วนสำคัญอื่น ๆ ที่เป็นความสัมพันธ์ของ โครงสร้างในงานศิลปะ เช่น องค์ประกอบของศิลปะ โครงสร้างของงานศิลปะ และทฤษฎีสี

69.       สตรีสูงอายุแต่งตัวเป็นสาววัยรุ่น เรียกสตรีผู้นี้ว่า

(1) มีรสนิยมพัฒนาการไปตามวัย       (2) ไม่มีพัฒนการทางรสนิยม

(3)       สาวสองพันปี   (4) สาวใหญ่

ตอบ 2 หน้า 4 รสนิยมของคนเราทุกคนจะพัฒนาไปตามวัย และย่อมมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้นถ้าเรารู้จักศึกษาและหาประสนการณ์ใหม่ ๆ พร้อมทั้งเอาใจใส่ที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตัวอยู่เสมอ รสนิยมในขั้นพื้นฐานที่มีอยู่ก็จะเกิดมีวิวัฒนาการใหม่และดีขึ้น ยกเว้นแต่ผู้ที่ไม่พยายามจะเอาใจใส่ก้บสิ่ งเหล่านี้เท่านั้น

70.       ในชีวิตประจำวันเราพบกับข้อใดมากที่สุด

(1) วิจิตรศิลป์  (2) ศิลปะประยุกต์ (3) นิเทศศิลป์       (4) อุตสาหกรรมศิลป์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

71. ศิลปะบริสุทธิ์มีประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร

(1) ช่วยให้มีความสุขสบายใจ 

(2) ช่วยให้รู้จักออกแบบเครื่องแต่งกายได้เหมาะสม

(3) ช่วยให้มีความเป็นอยู่สบายขึ้น      

(4) ช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

ตอบ หน้า 4 (S)87 (S) ศิลปะบริสุทธิ์หรือประณีตศิลป์ (Fine Art) เป็นงานศิลปะที่คำนึงถึงประโยชน์ ทางจิตใจ คือ ช่วยให้มีความสุขสบายใจ ทำให้เกิดความประทับใจที่ดื่มดํ่า มีความศักดิ์สิทธิ์ ในทางจิต เกิดอารมณ์สะเทือนใจไม่เสื่อมคลายและไม่สูญหายไปจากความทรงจำ ดังนั้นจึง จัดเป็นงานศิลปะอมตะหรือเรียกว่า วิจิตรศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปะชั้นสูง ได้แก่ งานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์

72.       การแสดงออกถึงความซาบซึ้งในความงามทางศิลปะแสดงออกได้

(1) ทางอารมณ์และความร่าเริง           

(2) ทางอารมณ์และสีสัน

(3) ทางอารมณ์และพุทธิปัญญา         

(4) ทางอารมณ์และการออกแบบ

ตอบ3  หน้า 3 (S)12 – 13 (S) สุนทรียรสหรือรสของศิลปะจะก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในสุนทรียภาพหรือความงามของศิลปะ ซึ่งนับเป็นความเข้าใจที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว โดยการแสดงออกถึงความซาบซึ้งในความงามทางศิลปะมีสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือ 1. ความซาบซึ้งทางอารมณ์   2. ความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา

73.       จุดมุงหมายในการเรียนศิลปะวิจักษณ์

(1) รู้จักวิธีการเบื้องต้นในการอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ        

(2) รู้จักพัฒนารสนิยมให้เหมาะสมกับวัย

(3) รู้จักจัดระเบียบของสิ่งของเครื่องใช้ให้ดูสวยงามขึ้น          

(4) รู้จักหลักในการวาดรูปด้วยสีน้ำมัน

ตอบ 1 หน้า 3  จุดมุ่งหมายในการเรียนวิชาศิลปะวิจักษณ์ คือ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและพิจารณางานศิลปะอย่างมีเหตุผล ตลอดจนเข้าใจประวัติความเป็นมาจนสามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์งานศิลปะได้ กล่าวคือ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งสวยงามเพื่อนำไปใช้ ในชีวิตประจำวัน เกิดทัศนคติที่ดี รู้จักคุณค่าของศิลปกรรม และยังเป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจอย่างมีหลักการ จนสามารถรู้จักวิธีการเบื้องต้นในการอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติได้

74.       ธรรมชาติเป็นแม่แบบให้มนุษย์ เพราะ

(1) ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไว้ไมรู้จักหมดสิ้น (2) ธรรมชาติไม่สามารถปรุงแต่งได้

(3) ธรรมชาติมีความกว้างขวางยิ่งใหญ่           (4) ธรรมชาติให้สิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่เสมอ

ตอบ 1 หน้า 10 – 115 (S) ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไวไมรู้จักหมดสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความงาม ความอัปลักษณ์ และรูปลักษณะแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจ ให้มนุษย์ใช้เป็นแบบในการสร้างงานศิลปะขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าธรรมชาติเป็นแม่แบบของศิลปะ หรือเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะ แต่มิใช่ตัวศิลปะ เพราะศิลปะย่อมหมายถึงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ สร้างขึ้นเท่านั้น

75.       ความรู้สึกในด้านความงามเป็นความหมายเกี่ยวกับข้อใด

(1)       ความลงตัว     (2) ความสมสัดส่วน    (3) รสนิยม       (4) ความมีช่องว่างที่พอเหมาะ

ตอบ3  หน้า 6 – 7 (S) ความรู้สึกในด้านความงาม เป็นสิ่งเดียวกับที่เรียกว่ารสนิยม ซึ่งจะค่อย ๆเติบโตไปสู่สิ่งที่ประณีตกว่า ลึกซึ้งกว่า และมีวิวัฒนาการตามลำดับขั้น ยิ่งถ้ามีการศึกษาหาความรู้ ในงานศิลปะอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้รสนิยมขยับขยายสูงขึ้นไปทีละขั้นโดยที่ผู้นั้นแบบไม่รู้ตัว

76.       เรื่องของศิลปะ กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า คือ   

(1) เรื่องของความงาม

(2)       เรื่องของชีวิตและธรรมชาติ     (3) เรื่องของความมีระเบียบ    (4) เรื่องของกฎเกณฑ์

ตอบ1 หน้า 6 นักปรัชญา ในยุคบัจจุบันมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของศิลปะแตกต่างไปจากนักปรัชญาสมัยเก่า โดยกล่าวว่า ศิลปะคือการสะท้อนความจริงของชีวิตตามที่เป็นอยู่จริง และความแท้จริงนั้นก็คือเรื่องของความงาม ซึ่งความงามของศิลปะอาจจะหมายถึง การพรรณนาเรื่องราวในชีวิตทั้งในแงดีและไม่ดีก็ได้

77.       ปราชญ์ชาวกรีกให้ความหมายของคำว่า ศิลปะ

(1) ต้องมาจากความดีเทานั้น  (2) ต้องมาจากธรรมชาติ

(3)       ต้องลอกเลียนธรรมชาติ         (4) ต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่

ตอบ 3 หน้า 59 (S) นักปรัชญามักจะกล่าวถึงศิลปะว่า มีพื้นฐานมาจากความงามและความดี โดยนักปราชญ์ชาวกรีก ได้ให้คำนิยามว่า งานศิลปะเป็นการลอกเลียนธรรมชาติ(The Imitation of Nature) เช่น โสเครตีส (Socrates) ได้ให้ความหมายว่า ศิลปะเป็นความงามที่ได้จากธรรมชาติ และต้องมีผลเสริมสร้างทางด้านจิตใจด้วย” ฯลฯ

78.       ภาพลายเส้นชื่อ ทางสายกลาง” เป็นภาพของศิลปินท่านใด

(1) ปรีชา เถาทอง        (2) สวัสดิ์ ตันติสุข        (3) ถวัลย์ ดัชนี (4) เขียน ยิ้มสิริ

ตอบ3 หน้า 18 (S) ภาพวาดลายเส้นชื่อ “ทางสายกลาง” ของถวัลย์ ดัชนี เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึง ความพอดี เหมาะเจาะ ไม่ย่อหย่อน และไม่ตึงเขม็ง เป็นสัจภาวะที่ทั้งกายและจิตพบพุทธธรรม ในมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เข้าสู่ความสะอาด ความสว่าง และความสงบอันเป็นความจริงที่สุดของหัวใจพุทธธรรม

79.       ศิลปะกินระวางนื้อที่ หมายถึง

(1) จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม    (2) ศิลปกรรมที่วางไว้กลางแจ้ง

(3) ศิลปกรรมที่ยกไปมาได้      (4) ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม

ตอบ 1 หน้า 840. 87 (S) ศิลปะกินระวางเนื้อที่ (Space Art) บางครั้งก็เรียกว่า ทัศนศิลป์(Visual Art or Plastic Art) หมายถึง ศิลปะที่จำกัดระวางเนื้อที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในอากาศ ด้วยปริมาตรของศิลปะเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น

ข้อ 80. – 84. ให้ใช้ตัวเลือกที่เห็นว่ามีข้อความเกี่ยวข้องกันต่อไปนี้เป็นคำตอบ

(1) สถาปัตยกรรม       (2) เรื่องของเส้น สี แสง และเงา          (3) มิเซียม ยิบอินซอย

(4)       ถวัลย์ ดัชนี      (5) ศิลป์ พีระศรี

80.       รูปเหมือนนางมาลินี

ตอบ 5 หน้า 7 (S) ภาพเหมือนของนางมาลินี พีระศรี เป็นผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ส่วนภาพ สันติคาม” นั้น เป็นผลงานของมิเซียม ยิบอินซอย

81.       วิจิตรศิลป์

ตอบ 1 หน้า 822 (S) วิจิตรศิลป์ (Fine Art) หมายถึง จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และภาพพิมพ์ ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของธรรมชาติจนส่งเสริม ให้ศิลปินเกิดความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะ หริอเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นจากความสัมพันธ์กัน อย่างประณีตของเส้นและมวลสิ่งหรือสีที่มีความผสมกลมกลืนกันอย่างงดงาม

82.       สันติคาม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ

83.       ภาพดวงอาทิตย์

ตอบ 4 หน้า 29 – 30 (Sภาพดวงอาทิตย์” ผลงานของถวัลย์ ดัชนี เป็นภาพที่เปรียบเทียบให้เห็นถึงดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงอันแรงกล้าอย่างสมํ่าเสมอนานนับปีโดยไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่น แมลงกว่าง (ส่วนบนสุดของภาพ) ที่ไม่มีความหวั่นไหว มีความหนักแน่น มั่นคงอย่างสมํ่าเสมอ และ แฝงด้วยอำนาจอันเข้มแข็ง ถึงแม้จะมีความรู้สึกเจ็บปวด หรือโกรธแค้น ลักษณะใบหน้า และท่าทางของแมลงกว่างจะไม่เปลี่ยนแปลง หรือแสดงออกมาให้เห็นได้

84.       ความซาบซึ้งทางอารมณ์

ตอบ 2 หน้า 12 (S) ความซาบซึ้งทางอารมณ์ (Emotional Appreciation) เป็นความรู้สึกบนพี้นฐานแห่งความชื่นชมยินดีและความพึงพอใจที่ได้รับจากการสัมผัสกับความงามในองค์ประกอบของเส้น สี แสง เงา รูปทรง ท่าทาง ถ้อยคำสำนวน และอื่น ๆ อันเป็นความรู้สึกประทับใจหรือสะเทือนใจ

ข้อ 85. – 89. ให้ใช้ตัวเลือกที่เห็นว่ามีข้อความเกี่ยวข้องกันต่อไปนี้เป็นคำตอบ

(1) มิลเลต์       (2) โมเนต์        (3) ชอง แกร์    (4) บอตติเชลลี่            (5) ฟานก๊ะ

85.       รูปปิกัสโซ

ตอน 3 หน้า 23 (S) ภาพเขียนรูปปิกัสโซ (Portrait of Picasso) ผลงานของของ แกร์ (Juan Gris)

86.       การเกิดของเทพีวีนัส

ตอบ4  หน้า 13 (S) ภาพเขียนการเกิดของเทพีวีนัส (The Birth of Venus) ผลงานของบอตติเชลลี่(Botticelli)

87.       ภาพชาวนาเก็บข้าวร่วงหล่นหลังฤดูเก็บเกี่ยว

ตอบ 1 หน้า 33 (S) ภาพเขียนชาวนาเก็บข้าวร่วงหล่นหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว ผลงานของมิลเลต์ ซึ่งเป็นศิลปินที่นิยมแสดงความประทับใจในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ

88.       คืนที่แวววาวด้วยดวงดาว

ตอบ 5 หน้า 31 – 32 (S) ภาพเขียนคืนที่แวววาวด้วยดวงดาว (The Starry Night) ผลงานของ ฟานโก๊ะ (Van Gogh)

89.       ความประทับใจในยามรุ่งอรุณ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

90.       ศิลปินที่นิยมแสดงออกด้วยการตัดทอน

(1) ฟานโก๊ะ     (2) โมเนต์        (3) โกแกง        (4) ชอง แกร์

ตอบ 1 หน้า 37 (S) การแสดงออกหรือถ่ายทอดด้วยการตัดทอน (Distortion) เป็นการแสดงออก ที่ศิลปินจะไม่ลอกเลียนธรรมชาติทั้งหมด แต่จะเน้นเฉพาะส่วนสำคัญหรือจุดเด่นที่ก่อให้เกิด อารมณ์สะเทือนใจ ส่วนที่รองลงมาหรือไม่น่าสนใจก็จะตัดทิ้งออกไป ไม่ถ่ายทอดออกมาให้เห็น เช่น ฟานก๊ะ (Van Gogh) เป็นศิลปินที่นิยมแสดงออกด้วยการตัดทอนได้อย่างเหมาะสม

91. ศิลปินที่นิยมแสดงความประทับใจในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ

(1) ฟานโกะ     

(2) มิลเลต์       

(3) โคลด์ โมเนต์          

(4) พอล โกแกง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

92.       ลักษณะเด่นของการเขียนรูปของฟานโก๊ะคือ

(1) ปาดด้วยสีแปรงแล้วไม่เกลี่ยให้เสมอ         

(2) นิยมวาดภาพตัดทอน

(3) นิยมใช้สีสดใส       

(4) นิยมวาดภาพชีวิตชาวนา

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

93.       ศิลปินที่นิยมเขียนภาพแบบ “Impressionist” คือ

(1) ฟานโก๊ะ     

(2)       โมเนต  

(3)       โกแกง 

(4)       บอตติเชลลี่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

94.       ภาพ เมื่อไหร่คุณจะแต่งงาน” เป็นของใคร

(1) ฟานก๊ะ     (2)       พอล โกแกง     (3)       โมเนต์  (4)       มิลเลต์

ตอบ 2 หน้า 39 (S). 41 (S) ภาพเขียนเมื่อไหร่คุณถึงจะแต่งงาน ผลงานของพอล โกแกง (Paul Gauguin)

95.       ความรู้สึกทางด้านความงามของมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อใด

(1) พร้อมกับมนุษย์      (2) ยุคหินเก่า   (3)       ยุคหินใหม่       (4)       มีการก่อสร้างเทวาลัย

ตอบ 1 หน้า 1 (S) ความรู้สึกทางด้านความงาม นับเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่มีติดตัวมา แต่กำเนิด เพียงแต่จะมีความแตกต่างกันในด้านการแสดงออกเท่านั้น จึงเป็นที่ยอมรับกัน โดยทั้วไปว่าจุดเริ่มต้นของศิลปะได้กำเนิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์

96.       ข้อใดเกี่ยวข้องกับความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา

(1) ประติมากรรมศิลปะสุโขทัย           (2) ภาพเขียนพุทธประวัติในโบสถ์วัดสุวรรณาราม

(3) ภาพเหมือนของพอล โกแกง          (4) ถูกข้อ 1 และ 2

ตอบ 4 หน้า 12 – 13 (S), (ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ) ความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา (Intellectual Appreciation) เป็นความรู้สึกอันเนี่องมาจากการมีความเข้าใจใน หลักของความงามทางสุนทรียภาพหรือความงามของศิลปะ โดยการรู้ถึงองค์ประกอบ และวิวัฒนาการของศิลปะ

97.       ข้อใดไม่ใช่วิจิตรศิลป์

(1) จิตรกรรม   (2) ประติมากรรม        (3) สถาปัตยกรรม       (4) ภาพถ่าย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

98.       ข้อใดคือการถ่ายทอดตามความรู้สึกด้วยใจ

(1) นามธรรม   (2) เหมือนจริง (3) ตัดทอน      (4) หุ่นนิ่ง

ตอบ 1 ดูดำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

99.       ภาพสามมิติมีลักษณะอย่างไร

(1) แบนราบ    (2) มีความลึกในภาพ

(3) เส้นคมกริบดังคมมีด          (4) รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

100.    การแสดงออกด้วยการตัดทอนคืออะไร

(1) ภาพเหมือนจริง      (2) ไม่ลอกเลียนธรรมชาติทั้งหมด

(3) ภาพในชีวิตประจำวัน        (4) ลอกเลียนธรรมชาติ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

Advertisement